ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามผู้ใดมีไว้ครอบครอง/๒

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)

ประกาศกระทรวงมหาดไทย[1]

เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใด
มีไว้ในครอบครอง


_______________


ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ซึ่งเสนอข่าวสาร บทความ และข้อเขียน แสดงความคิดเห็นอันส่อไปในทางก่อให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในชาติ หรือชี้นำผู้อ่านให้เกิดความนิยมเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน หรือให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินไม่ว่าวิถีทางใด อันจะเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติ ตามบัญชีรายชื่อดังต่อไปนี้

๑. กบฎ – วรรณกรรมซาดิสม์ เขียนโดย

โกสุมพิสัย

๒. กบฎปากกา จัดพิมพ์โดย

ชมรมสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๓. กวีการเมือง เขียนโดย

โยธิน มหายุทธนา

๔. การต่อสู้ทางชนชั้นและการปฏิวัติสังคม ไม่ปรากฏผู้เขียน

๕. การต่อสู้ของกรรมกรไทย ไม่ปรากฏผู้เขียน

๖. การศึกษาเพื่อมวลชน เขียนโดย

จักรกฤษณ์ นาคะรัต
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
นิโคลัส เบนเนสท์
จูเลียส ไนเยียเร

รวบรวมโดย

สมาน เลือดวงหัด
เริงชัย พุทธาโร

๗. การศึกษาสำหรับผู้ถูกกดขี่ เขียนโดย

เปาโลว์ แฟร์

แปลโดย

ช. เขียวพุ่มแสง

๘. การปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพกับลัทธิแก้ ไม่ปรากฏผู้เขียน

๙. กอ.รมน. องค์การสัตว์นรกของอเมริกันในประเทศไทย เขียนโดย

ยอดธง ทิวทับไม้

๑๐. กลุ่มทุนนิยมผูกขาดในประเทศไทย เขียนโดย

ณรงค์ เพชรประเสริฐ

๑๑. กลั่นจากสายเลือด เขียนโดย

วัฒน์ วรรลยางกูร

๑๒. กรรมกรในระบบนายทุน เขียนโดย

สุภชัย มนัสไพบูลย์

๑๓. กลยุทธในการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย เขียนโดย

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

๑๔. กงล้อประวัติศาสตร์จีน เขียนโดย

สุวรรณ วิริยะผล

๑๕. การวิจัยเพื่อขายชาติ เขียนโดย

รัก เอกราช
ไม้กล้า

๑๖. ก่อนสู่เส้นทาง จัดพิมพ์โดย

องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน

๑๗. ก่อนกลับบ้านเกิด จัดพิมพ์โดย

ชมรมนักแปลนิรนาม

๑๘. กฎหมายสหภาพแรงงานประชาชนจีน ธรรมนูญสหภาพแรงงานประชาชนจีน การประทับแรงงานประชาชนจีน เขียนโดย

แก้ว กรรมาชน

๑๙. กรณีพิพาทไทย – ลาว จัดพิมพ์โดย

กลุ่มนักศึกษาปัญหาไทย – ลาว (จุฬา ฯ)

๒๐. ขบวนการกรรมกรในประเทศไทย เขียนโดย

พิชิต จงสถิตย์วัฒนา

๒๑. ขบวนการเรดการ์ด เขียนโดย

จำลอง พิศนาคะ

๒๒. ขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย เขียนโดย

สุชาติ สวัสดิ์ศรี

๒๓. ความเรียงว่าด้วยศาสนา เขียนโดย

ยอร์จ ทอมสัน

แปลโดย

จิตร ภูมิศักดิ์

๒๔. ความเป็นเอกภาพของชาติกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ เขียนโดย

ปรีดี พนมยงค์
แช่ม พรหมยงค์
อำนาจ ยุทธวิวัฒน์
ภูเขาไฟ
สุพจน์ ด่านตระกูล
สุภัทร์ สุคนธาภิรมย์

๒๕. คาร์ลมากซ์ แปลโดย

จิตร ภูมิศักดิ์

๒๖. ใครสร้างสถานการณ์ จัดพิมพ์โดย

กลุ่มนักศึกษาประชาชนเพื่อต่อต้านสงครามจิตวิทยา

๒๗. คู่มือรัฐประหาร เขียนโดย

พันศักดิ์ วิญญรัตน์

๒๘. ใครละเมิดอธิปไตย เขียนโดย

เขียน ธีระวิทย์
พันศักดิ์ วิญญรัตน์
สุชาติ สวัสดิ์ศรี

๒๙. คัมภีร์ของผู้ถูกกดขี่ เขียนโดย

เปาโลว์ แฟร์

แปลโดย

จิราภรณ์ ศิริสุพรรณ

๓๐. คำประกาศของความรู้สึกใหม่ เขียนโดย

สุชาติ สวัสดิ์ศรี

๓๑. คำประกาศเพื่อสังคมใหม่

จูเลียส ไนยาเร
สันติสุข โสภณศิริ แปลโดย

๓๒. ครอง จันดาวงศ์ และชีวิตบนเทือกเขาภูพานของจิตร ภูมิศักดิ์ ไม่ปรากฏผู้เขียน

๓๓. คาร์ลมาร์กซ์ แรงงานรับจ้างและทุน เขียนโดย

คาร์ลมาร์กซ์

แปลโดย

รจเรข
ปัญญา ประสานชัย

๓๔. คิดอย่างเยาวชนใหม่ จัดพิมพ์โดย

กลุ่มหนังสือตะวันแดง

๓๕. จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน ๑๔ ตุลาคม เขียนโดย

ปรีดี พนมยงค์

๓๖. จงร่วมกันสร้างสรรค์สังคมนิยม เขียนโดย

กิม อิล ซอง

แปลโดย

กิตติกุล

๓๗. จากเล็กซิงตันถึง...สิบสี่ตุลา จัดพิมพ์โดย

ชมรมรัฐศึกษา สจม. พรรคจุฬา – ประชาชน

๓๘. จีน...หลังการปฏิวัติ เขียนโดย

สิทธิสถิตย์

๓๙. โฉมหน้าจีนใหม่ จัดพิมพ์โดย

องค์การบริหาร องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๔๐. โฉมหน้าศักดินาไทย เขียนโดย

จิตร ภูมิศักดิ์

๔๑. มนุษยธรรมกับการต่อสู้ทางชนชั้น เขียนโดย

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

๔๒. มาร์กซ์ จงใจจะพิสูจน์อะไร อย่างไร? เขียนโดย

สุภา ศิริมานนท์

๔๓. ศัตรูประชาชน แปลโดย

กวี ศรีประชา

๔๔. เศรษฐกิจในระบอบประชาธิปไตยแผนใหม่ เขียนโดย

เสิ่นจื้อหย่วน

แปลโดย

ส.ว.พ.

๔๕. เศรษฐกิจของจีน (โดยสังเขป) เขียนโดย

เจิ้งสือ

๔๖. เศรษฐศาสตร์เพื่อมวลชน เขียนโดย

วิภาษ รักษาวาที

๔๗. ศัพทานุกรมปรัชญาว่าด้วยจิตนิยม–วัตถุนิยม เขียนโดย

เมธี เอี่ยมเจริญ

๔๘. แนวทางการต่อสู้ของ นักเรียน นิสิต นักศึกษา จัดพิมพ์โดย

กลุ่มนักศึกษาประชาชนเพื่อพัฒนาชนบท

๔๙. แนวร่วมปลดแอกประชาชนไทย เขียนโดย

โดนัลด์ อี วีเทอร์บี

แปลโดย

แสงเพลิง

๕๐. แนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์โลก เขียนโดย

ฌี่ชุน

แปลโดย

ศรีอุบล

๕๑. นิพนธ์ ๕ บท ประธานเหมาเจ๋อตุง จัดพิมพ์โดย

สำนักพิมพ์ปฏิวัติ

๕๒. ร้อยกรองจากซับแดง เขียนโดย

ประเสริฐ จันดำ

๕๓. รุ่งอรุณ ไม่ปรากฏผู้เขียน

๕๔. แด่เยาวชน ไม่ปรากฏผู้เขียน

๕๕. เบทูนนายแพทย์นักปฏิวัติ ไม่ปรากฏผู้เขียน

๕๖. ปลุกผีคอมมิวนิสต์ เขียนโดย

ธนาลัย

๕๗. ปัญหาและแนวทางการต่อสู้ของผู้หญิง เขียนโดย

ฤดี เริงชัย

๕๘. หลักเศรษฐศาสตร์ มาร์กซิสต์ เบื้องต้น เขียนโดย

เอิร์นเนสท์ แมนเดล

แปลโดย

ทวี หมื่นนิกร

๕๙. หลักลัทธิเลนินกับการต่อสู้ด้วยอาวุธ เขียนโดย

เอ.นูเบอร์ก

แปลโดย

รุ่งอรุณ ณ บูรพา

๖๐. หลักลัทธิมาร์กซ์เลนิน เล่ม ๑–๓ แปลโดย

ทวี หมื่นนิกร

๖๑. โต้ลัทธิแก้ไทยวิจารณ์แห่งวิจารณ์ เขียนโดย

อุทิศ ประสานสภา

๖๒. ตะวันสีแดงส่องทาง เขียนโดย

อุดร ทองน้อย

๖๓. ตะวันสีแดง เขียนโดย

สุทัศน์ เอกา

๖๔. ตะวันดวงใหม่แห่งบูรพา เล่ม ๑–๒

ทวี เกตะวันดี

๖๕. ตื่นเถิดชาวเอเซีย เขียนโดย

วี.ไอ.เลนิน

๖๖. ไทย–ไท จัดพิมพ์โดย

สำนักพิมพ์ไทย–ไท

๖๗. วิญญาณปฏิวัติ เขียนโดย

สีหนาท

๖๘. ทนายแก้ต่าง ของลัทธิล่าเมืองขึ้นใหม่ จัดพิมพ์โดย

สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศปักกิ่ง

๖๙. ด้วยมือที่หยาบกร้าน เขียนโดย

นายผี
รมย์รติวัน
ช. แสงเพ็ญ
คุณาวุฒิ
ไพฑูรณ์ สุนทร
ศิริรัตน์ สถาปนวัฒน์

๗๐. เดินทางซ้าย เขียนโดย

ณรงค์ วิทยไพศาล

๗๑. พิทักษ์เจตนารมณ์วีรชน จัดพิมพ์โดย

ฝ่ายเอกสารและสิ่งพิมพ์ งานรำลึกวีรชน ๑๔ ตุลา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

๗๒. วิพากษ์ นายผี โต้ลิทธิแก้ไทย วิจารณ์แห่งวิจารณ์ อุทิศ ประสานสภา เขียนโดย

อำนาจ ยุทธวิวัฒน์

๗๓. วิพากษ์ ทฤษฎีจอมปลอม เขียนโดย

กระแสทาน
พร สุวรรณ

๗๔. พลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน เขียนโดย

รวี โดมพระจันทร์

๗๕. วีรชนอาเซีย จัดพิมพ์โดย

กองบรรณาธิการ สังคมศาสตร์ปริทัศน์

๗๖. ทัศนคติ ชีวิตที่ก้าวหน้า จัดพิมพ์โดย

กลุ่มพัฒนาวัฒนธรรม

๗๗. โลกทรรศน์เยาวชน เขียนโดย

อนุช อาภาภิรม

๗๘. ไทยกึ่งเมืองขึ้น เขียนโดย นศินี พรหมชมภู

๗๙. วิเคราะห์วรรณกรรม แนวประชาชน เขียนโดย

นศินี วิทูธีรศานต์

๘๐. ที่เขาเรียกกันว่าลัทธิแก้นั้นหมายความว่ากระไร และความเป็นมาแห่งลัทธิรีวิสชั่นนิสม์ เขียนโดย

นายปรีดี พนมยงค์

๘๑. ฟ้าทอง เขียนโดย

อนุช อาภาภิรม

๘๒. ยุทธวิธีของชาวบอลเชวิค เขียนโดย

เจ. วี. สตาลิน

แปลโดย

นพพร สุวรรณพาณิช

๘๓. ผู้หญิง (๑) เขียนโดย

ปนัดดา เลิศล้ำอำไพ
จีรนันท์ พิตรปรีชา
ศรีศักดิ์ นพรัตน์
สุขสันต์ เหมือนนิรุทธ์

๘๔. เยาวชนผู้บุกเบิก แปลโดย

ศรีสารคาม

๘๕. สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง (ทุกภาคทุกตอน) เขียนโดย

เหมาเจ๋อตุง

๘๖. สรรนิพนธ์ การทหารเหมาเจ๋อตุง เขียนโดย

เหมาเจ๋อตุง

๘๗. ผ่าตัดพุทธศาสนา จัดพิมพ์โดย

ฝ่ายวิชาการองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๘๘. วันกรรมกร นครราชสีมา ไม่ปรากฏผู้เขียน

๘๙. ซ้องกั๋ง แบบอย่างลัทธิยอมจำนน เขียนโดย

ศิวะ รณชิต

๙๐. ศาส์นสยาม ไม่ปรากฏผู้เขียน

๙๑. โลกทรรศน์เยาวชน ฉบับเสียงเยาวชน เขียนโดย

อนุช อาภาภิรม

๙๒. สภาพการกดขี่ขูดรีด ชาวนาชาวไร่ไทย เขียนโดย

จรัส จัณฑาลักษณ์

๙๓. เยาวชนแดง "นิทานพื้นเมืองยุคปฏิวัติ" ไม่ปรากฏผู้เขียน

๙๔. ระบบทุนนิยมในสังคมไทย เขียนโดย

จันดา สระแก้ว

๙๕. กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ เขียนโดย

ร้อยตรี เหรียญ ศรีจันทร์
ร้อยพรี เนตร พูนวิวัฒน์

๙๖. ไทย – ไดเจสท์ ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘ บรรณาธิการบริหาร

มนตรี จึงสิริอารักษ์

97. LENIN SELECTED WORKS

98. LENIN ON WORKER'S CONTROL AND THE NATIONALISATION OF INDUSTRY

99. LENIN ON THE UNITY OF THE INTERNATIONAL COMMUNIST MOVEMENT

100. MARX ENGELS LENIN

101. MAN AND THE SCIENTIFIC AND TECHNOLOGICAL REVOLUTION

102. SOCIALISM TODAY

103. TEORIA Y CRITICA PROGRESO

104. YOUTH AND THE PARTY

อาศัยอำนาจตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๓ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ข้อ ๒, ข้อ ๔ และข้อ ๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เอกสารและสิ่งพิมพ์ รวม ๑๐๔ ฉบับ ตามบัญชีรายชื่อข้างต้นนี้ เป็นเอกสารและสิ่งพิมพ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครอง

อนึ่ง ให้เจ้าของผู้ครอบครองเอกสาร และสิ่งพิมพ์ตามบัญชีรายชื่อข้างต้นนี้ และเจ้าของผู้ครอบครองเอกสาร และสิ่งพิมพ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๘ วันที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ นำส่งมอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ ท้องที่ที่ตนอาศัยอยู่ ภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๒๐


สมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔ ตอน ๑๘ ง ฉบับพิเศษ/หน้า ๓-๑๖/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๐




งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"