ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 6/เล่ม 3/เรื่อง 8

จาก วิกิซอร์ซ
พระราชบัญญัติ
คลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภการรักษาทรัพย์สมบัติซึ่งประชาราษฏรได้อุตสาหประกอบการทำมาค้าขายมีกำไรออมไว้เปนทุนนอนได้แล้ว แต่การรักษาให้ปราศจากอันตรายยังเปนการลำบาก เพราะไร้ที่ฝากฝังอันมั่นคง ส่วนการที่ประชาชนออมสินไว้เพื่อประโยชน์การยืดยาวข้างน่าไม่จับจ่ายเพื่อความเพลิดใจชั่วขณะนี้เปนสิ่งควรอุดหนุนอย่างยิ่ง ทรงพระราชดำริห์ว่า การรักษาสินซึ่งออมไว้เช่นนี้มีทางที่จะทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ได้ ด้วยการตั้งคลังออมสินเพื่อประโยชน์การรับรักษาเงินที่ประชาชนจะนำมาฝากเปนรายย่อยแลรับภาระจัดให้เงินนั้นเกิดผลแก่ผ้ฝากตามสมควร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติคลังออมสิน พุทธศักราช ๒๔๕๖ แลให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ เปนต้นไป

มาตราสถานที่แลลักษณแห่งการซึ่งประชาชนจะฝากหรือถอนเงินก็ดี อัตราดอกเบี้ยซึ่งจะคิดให้ในจำนวนเงินฝากก็ดี เจ้าพนักงานแลวิธีการบังคับบัญชาคลังออมสินก็ดี แลกิจการอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวแก่การตั้ง การจัดแบ่งพแนกน่าที่ แลที่จะจัดการงานให้ดำเนินไปก็ดี จะประกาศให้ทราบเปนกฎข้อบังคับเปนครั้งเปนคราว

มาตราเงินทุนที่ได้มาจากเงินคงพระคลังมหาสมบัติตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือเงินที่รับฝากจากประชาชนก็ดี ให้แยกไว้จากเงินคงพระคลังมหาสมบัติ แลผลอันได้มาแต่เงินทุนที่ว่ามานี้ก็ดี หรือผลอันได้มาแต่เงินฝากซึ่งนำไปลงทุนเพื่อประโยชน์ด้วยประการใด ๆ ก็ดี ให้แยกเก็บไว้เปนพแนกหนึ่งจากผลประโยชน์ของแผ่นดิน

มาตราในการส่งใช้ต้นเงินฝากภายในเวลาอันเปนสัญญากำหนดไว้ในกฎข้อบังคับที่กล่าวมาในมาตรา ๒ ก็ดี แลในการจ่ายดอกเบี้ยในจำนวนเงินฝากที่คงเหลือตามอัตราที่ตั้งไว้เปนกำหนดก็ดี รัฐบาลรับประกันทั้งสิ้น

มาตราในการที่จัดตั้งคลังออมสินขึ้นดังพระบรมราชนิยมอยู่แล้วนั้น ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินคงพระคลังมหาสมบัติแสนบาทให้เปนทุน เพื่อจะได้เริ่มหาผลประโยชน์ไว้จ่ายเปนดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากได้ทีเดียว

มาตราเงินทุนเพื่อหาประโยชน์ตามความแห่งมาตรา ๓ แลมาตรา ๕ นั้น ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเลือกตั้งข้าราชการเปนกรรมการจัดหาผลประโยชน์ที่จะพึงมีพึงได้ ถ้าผลประโยชน์ที่ได้มาหักดอกเบี้ยจ่ายให้แก่ผู้ฝากแล้วเหลือมากน้อยเท่าใด ให้โอนไปบวกเพิ่มเข้าในเงินทุนที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานแสนบาทดังกล่าวในมาตรา ๕ แต่ถ้าผลประโยชน์อันพึงจะได้มานี้มิพอจ่ายเปนดอกเบี้ยให้ผู้ฝากมากน้อยเท่าใด ก็ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินคงพระคลังมหาสมบัติเพิ่มเติมให้จนครบ นับว่าเปนเงินขาดทุนพแนกคลังออมสิน

มาตราบุคคลอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี แม้จะต้องด้วยความอันไม่สามารถในกฎหมายที่จะทำได้ด้วยตนเอง ถ้าปรากฎว่า ได้ถอนต้นเงินที่ตนฝากไว้หรือถอนเงินดอกเบี้ยในต้นเงินนั้นไปจากคลังออมสินแล้ว ให้ถือว่า หมดความชอบธรรมที่จะเริยกร้องเงินนั้น ๆ ได้อีก อนึ่ง การจ่ายเงินฝากหรือดอกเบี้ยในเงินฝากประเภทใด ๆ ให้แก่หญิงที่มีสามีตามกฎข้อบังคับที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัตินี้ไซ้ ให้ถือว่า เปนการจ่ายที่ใช้ได้ตามกฎหมาย แลคำรับเงินที่หญิงบรรทึกไว้นั้น ให้ถือว่า คลังออมสินพ้นจากความรับผิดชอบในเงินนั้น

มาตราให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติประกาศรายงานประจำปี กล่าวด้วยการงานซึ่งคลังออมสินได้จัดทำในระหว่างปีนั้น จำนวนผู้ฝาก จำนวนเงินฝาก จำนวนเงินดอกเบี้ยที่จ่ายแห่งเงินฝาก ผลประโยชน์ที่ได้มาจากเงินทุนตามความในมาตรา ๓ แลมาตรา ๕ แลข้อความอื่น ๆ สุดแต่จะเห็นควร

มาตราในเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีอำนาจตั้งกฎข้อบังคับแลวางระเบียบการที่พึงทำดังกล่าวในมาตรา ๒ เพื่อจัดแลรักษาการให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้ และกฎข้อบังคับนั้น เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแลประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้นับว่า เปนส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัตินี้ แลให้ใช้ได้ตั้งแต่วันประกาศเปนต้นไป

พระราชบัญญัตินี้ได้ตราไว้แต่วันที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕ เปนวันที่ ๘๖๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้