ประกาศให้ศาลทรัพย์เชลยนั่งพิจารณาฯ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕
หน้าตา
ประกาศ
ให้ศาลทรัพย์เชลยนั่งพิจารณา
ตามพระธรรมนูญศาลทรัพย์เชลย
พุทธศักราช ๒๔๖๐[1]
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐
และวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.พิชเยนทรโยธิน
ปรีดี พนมยงค์
ด้วยทรงพระราชดำริว่า ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม เป็นการสมควรจะให้ศาลทรัพย์เชลยได้นั่งพิจารณากรณีตามอำนาจในพระธรรมนูญศาลทรัพย์เชลย พุทธศักราช ๒๔๖๐
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระธรรมนูญศาลทรัพย์เชลย พุทธศักราช ๒๔๖๐[2] จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) เป็นอธิบดีผู้พิพากษา หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) และหลวงประสาทศุภนิติ (ประมูล สุวรรณศร) เป็นผู้พิพากษาศาลทรัพย์เชลย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๕ เป็นปีที่ ๙ ในรัชชกาลปัจจุบัน
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัฐมนตรี
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓/ตอนที่ ๒๔/หน้า ๒๒๑/๒๓ เมษายน ๒๔๘๙ — [เชิงอรรถของ วิกิซอร์ซ].
- ↑ มาตรา ๗ เมื่อใดเป็นกาลสมัยสมควรจะให้ศาลทรัพย์เชลยออกนั่งพิจารณา จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ตั้งผู้พิพากษาเป็นศาลมีอำนาจโดยพระธรรมนูญ เพื่อพิจารณาตัดสินกรณีจับทรัพย์เชลยในระหว่างเวลามีสงคราม ตลอดถึงเวลาสงบสงครามแล้วเฉพาะกรณีที่ยังค้างพิจารณาในศาลนั้น ก็ให้บังคับบัญชาชำระให้สำเร็จ
พระธรรมนูญศาลทรัพย์เชลย พ.ศ. ๒๔๖๐ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ หน้า ๓๕๓ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๐ — [เชิงอรรถดั้งเดิม].
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]- พระธรรมนูญศาลทรัพย์เชลย พระพุทธศักราช ๒๔๖๐
- ประกาศพระบรมราชโองการให้ศาลทรัพย์เชลยนั่งพิจารณาตามพระธรรมนูญศาล พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐
- ประกาศยกเลิกประกาศให้ศาลทรัพย์เชลยนั่งพิจารณาตามพระธรรมนูญศาลทรัพย์เชลย พุทธศักราช ๒๔๖๐ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๕ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๙
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"