ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 29 พรึสภาคม 2485
ด้วยรัถบานพิจารนาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดงวัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้นไห้สมกับความจเรินก้าวหน้าของชาติซึ่งกำลังขยายตัวออกไปไนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จึงได้ตั้งกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยขึ้นคนะหนึ่ง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาสตั้งกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยนั้นแล้ว เพื่อร่วมกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและส่งเสิมภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริง ภาสาไทยก็เป็นภาสาที่มีสำเนียงไพเราะสละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็นสมบัติของชาติไทยที่มีวัธนธรรมสูงอยู่แล้ว ยังขาดอยู่ก็แต่การส่งเสิมไห้แพร่หลายสมควนแก่ความสำคันของภาสาเท่านั้น
กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุงตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัด เพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห้นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้าง ก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียนภาสาไทยไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น ตัวอักสรที่ควรงดไช้ คือ—
สระ ใ, ฤ, ฤๅ, ฦ, ฦๅ รวม ๕ ตัว
พยัญชนะ ฃ, ฅ, ฆ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ รวม ๑๓ ตัว ส่วน ญ (หญิง) ไห้คงไว้ แต่ไห้ตัดเชิงออกเสีย คงเป็นรูป ญ (ไม่มีเชิง)
ดังนั้น อักสรที่จะไช้ไนภาสาไทย จะมีดังต่อไปนี้
ะ (อะ)ั (อั–)า (อา)ิ (อิ)ี (อี)ึ (อึ)ื (อื)ุ (อุ)ู (อู)เ–ะ (เอะ)เ (เอ)แ–ะ (แอะ)แ (แอ)โ–ะ (โอะ)โ (โอ)เ–าะ (เอาะ)–อ (ออ)–ัวะ (อัวะ)–ัว (อัว)เ–ียะ (เอียะ)เ–ีย (เอีย)เ–ือะ (เอือะ)เ–ือ (เอือ)เ–อะ (เออะ)เ–อ (เออ)เ–ิ (เอิ–)ไ (ไอ)เ–า (เอา)–ำ (อำ)
ก | ข | ค | ง | |||||||||||
จ | ฉ | ช | ซ | ญ | ||||||||||
ด | ต | ถ | ท | ธ | น | |||||||||
บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | |||||||
ย | ร | ล | ว | ส | ห | อ | ฮ |
เมื่อได้งดไช้พญัชนะและสระบางตัวดังนี้แล้ว คนะกรรมการจึงได้วางหลักการเขียนหนังสือไทยไว้อย่างกว้าง ๆ ดังต่อไปนี้
คำที่เคยไช้สระ ใ (ไม้ม้วน) ไห้ไช้ ไ (ไม้มลาย) แทน
คำที่เคยไช้สระ ฤ ฤๅ ไห้ไช้ ร (เรือ) ประกอบสระตามกรนีที่ออกเสียงภาสาไทย เช่น
ฤ ไน พฤษภา ไช้ รึ เป็น พรึกสา
ฤ ไน ฤกษ์ ไช้ เริ เป็น เริกส์
ฤ ไน ฤทธิ์ ไช้ ริ เป็น ริทธิ์
ฤๅ ไช้ รือ
คำที่เคยไช้สระ ฦ ฦๅ ไห้ไช้ ล (ลิง) ประกอบสระตามกรนีที่ออกเสียงภาสาไทย เช่น ฦๅ ไช้ ลือ เป็นต้น
คำที่เคยไช้พญัชนะ ฆ (ระฆัง) ไช้ ค (ควาย) แทน เช่น เฆี่ยน ฆ้อง ไช้ เคี่ยน ค้อง เป็นต้น
คำที่เคยไช้ ฌ (เฌอ) ไช้ ช (ช้าง) แทน
คำที่เคยไช้พยัญชนะวรรค ฎ (ชฎา) ไห้ไช้พยัญชนะวรรค ด (เด็ก แทน โดยลำดับ คือ
ฎ (ชฎา) ไห้ไช้ ด (เด็ก) เช่น ชดา
ฏ (ประฏัก) ไห้ไช้ ต (เต่า) เช่น ประตัก
ฐ (ฐาน) ไห้ไช้ ถ (ถุง) เช่น ฐาน ไห้ไช้ ถาน รัฐ ไห้ไช้ รัถ
ฑ (มณโฑ) ไนกรนีที่อ่านเป็นเสียง ด ไห้ไช้ ด (เด็ก) เช่น บันดิต ไนกรนีที่อ่านเป็นเสียง ท ไห้ไช้ ท (ทหาน) เช่น ไพทูรย์
ฒ (ผู้เฒ่า) ไห้ไช้ ธ (ธง) เช่น เฒ่า ไห้ไช้ เธ่า วัฒนธรรม ไห้ไช้ วัธนธรรม
ณ (เณร) ไห้ไช้ น (หนู) เช่น ธรนี เป็นต้น
คำที่เคยไช้พยัญชนะ ศ ษ ไห้ไช้ ส แทน
คำที่เคยไช้ ฬ (จุฬา) ไห้ช้ ล (ลิง) แทน
อนึ่ง คำที่มิได้มาจากบาลี-สันสกริต ไห้เขียนตามระเบียบคำไทย เช่น บรร (ร หัน) ไห้เขียน บัน, ควร ไห้เขียน (ควน), เสริม ไห้เขียน เสิม, เจริญ ไห้เขียน จเริน, สำคัญ ไห้เขียน สำคัน, ทหาร ไห้เขียน ทหาน, กระทรวง ไห้เขียน กระซวง ฯลฯ ดังจะได้ประกาสหลักเกนท์ลเอียดต่อไป
คนะรัถมนตรีได้พิจารนาหลักที่คนะกรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยเสนอมาข้างต้นนี้ มีความเห็นชอบด้วย จึงลงมติเป็นเอกฉันท์ไห้ไช้สระและพยัญชนะไนภาสาไทยดังกล่าวนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาสนี้เป็นต้นไป
- ประกาส นะ วันที่ ๒๙ พรึสภาคม ๒๔๘๕
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายกรัถมนตรี
บรรณานุกรม
[แก้ไข]- "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 29 พรึสภาคม 2485". (2485, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 59, ตอน 35 ก. หน้า 1137–1141.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (3) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"