ประชุมกฎหมายประจำศก/เล่ม 4/ภาค 1/ตอน 2/เรื่อง 1

จาก วิกิซอร์ซ
สำหรับงานที่มีชื่อทำนองเดียวกัน ดู กฎหมายห้ามสูบฝิ่น
กฎห้ามไม่ให้ซื้อฝิ่นขายฝิ่นสูบฝิ่น
ปีมะแม จุลศักราช ๑๑๗๓

กฎให้ไว้แก่พระสุรัศวดีซ้ายขวาในนอกกฎหมายบอกเจ้าพระยาแลพระยาพระหลวงเมืองเจ้าราชนิกูลขุนหมื่นพันธนายฝ่ายทหารพลเรือนชาวที่มหาดเล็กข้าเฝ้าเจ้าต่างกรมหากรมมิได้กรมฝ่ายหน้าฝ่ายใน แลข้าหลวงกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการณหัวเมืองเอกโทตรีจัตวาปากใต้ฝ่ายเหนือ แลอาณาประชาราษฎรทั้งปวงจนทั่ว ด้วยพระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิบดีศรีวิสุทธิคุณวิบุลยปรีชาฤทธิราเมศวรราชปรมนารถบมพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงจัตุรงคพิธสังฆวัดถุแลทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ เสด็จออกณพระที่นั่งท้องสนามจันทร์ฝ่ายประจิมาภิมุขแห่งพระที่นั่งมหาจักรพัดพิมาน พร้อมด้วยอรรคมหาเสนาโหราพฤกชาติราชมนตรีกระวีมุขมาตย์าประโลหิตาจารย์ทูลลอองธุลีพระบาทโดยอันดับ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า สมเด็จพระมหาบรมกษัตราธิราชแต่ก่อนตั้งพระราชกำหนดกฎหมายไว้ห้ามมิให้ผู้ใดสูบฝิ่นกินฝิ่นซื้อฝิ่นขายฝิ่น จับได้ ให้ลงพระราชอาญาทันทกำกระทำโทษถึงทอนทเวนรีบราชบาท จำใส่ตรุไว้ ผู้สูบฝิ่นกินฝิ่นหาฟังไม่ จนเกิดความเคืองใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกษฐ ก็ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ โปรดกระหม่อมให้แจกกฎหมายประกาศป่าวร้องห้ามปรามไปอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะให้คนชั่วรู้โทษตัวละพยศอันร้าย พระราชฤไทยหมายจะทรงสงเคราะห์สรรพสัตว์ตามบุราณราชประเพณี ทุกวันนี้ผู้สูบฝิ่นกินฝิ่นหากลัวพระราชกำหนดกฎหมายไม่ ลวงพระราชอาญาคบหากันสูบฝิ่นกินฝิ่นชุกชุมขึ้นเป็นอันมาก ที่ยากจนขัดสนทรัพย์หาอันจะซื้อฝิ่นกินมิได้ ใจเกิดกำเริบเป็นพาล คบหาพากันกระทำโจรกำสกฎสดมตัดช่องย่องเบาล่วงลักตีชิงวิ่งราวเอาทรัพย์สิ่งของเครื่องอันมณีมีค่ามาขายจำหน่ายเอาเงินซื้อฝิ่นพอจะได้กินได้สูบรักษาชีวิตไว้ ที่มีทรัพย์สินอยู่แล้วก็ได้ซื้อฝิ่นกินสูบเป็นนิจ คิดทนงหลงโลภมักใหญ่ฝ่ายสูง นึกมั่งมีในใจ เห็นแก่จะได้ เกิดโสมนัศณเมา จำพวกนี้ก็นับเข้าในเมไรยปรมาทการ เหตุมัวเมามิได้คิดอ่านกระทำมาหากินสระสมกองกุศลที่จะยกตนออกจากภพ มีแต่ก่อสร้างปัจวิทเวนกำม์ จะนำตนไปสู่ทุกข์ หาประโยชน์ไม่ ถึงจะทำราชการณรงค์สงครามฉลองพระเดชพระคุณเล่า ก็ว่าใส่ฝิ่น ถ้าไม่มีจะสูบจะกิน ก็ให้เกิดอาเจียนคลื่นเหียนให้หาวหิวอ่อนหลบหลีกนอน เอาราชการมิได้ บ้างก็ให้ปวดมวนร้อนหนาวทุรนทุรายลงท้องตายก็มี เมื่อพิเคราะห์ดูอำนาจฝิ่นให้โทษแก่ผู้กินผู้สูบถึงเพียงนี้ ถ้าจับได้ ก็จะมีโทษ ต้องทุขเวทนาในพระราชอาญาอานาจักรอีกโสถิ์หนึ่ง เป็นโทษแต่ในประจุบัน ครั้นตายไปตกในมหาคาบพณรก นายนิริบาลลงทันธกำม์ทำโทษต้องทุกขเวทนาโดยสาหัดหาที่สุดมิได้ ครั้นพ้นจากคาบพรกแล้ว ก็ต้องไปเปนเปรตวิไสยมีควันไฟพลุ่งออกจากทางปากจมูกเป็นนิจ เพราะเสพย์ผลที่ตนสูบฝิ่นกินฝิ่นผิดเป็นมิฉาชิจร ไม่เห็นทุกขโทษในอนาคตประจุบัน ครั้นจะละไว้ บุคคลที่เป็นพาลสันดานทุจริตก็คบคิดกันลักลอบซื้อฝิ่นขายฝิ่นสูบฝิ่นกินฝิ่นแลจะทำโจรกำ ๆ เริบล่วงเกินพระราชอาญา จะไปทนทุกขเวทนาในอบายภูมิเป็นอันมาก จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าฯ เหนือกระหม่อมสั่งให้มีตราพระราชบัญญัติไว้ เพื่อจะได้เป็นหิตานุหิตประโยชน์ หนึ่ง จะทรงพระราชสมเคราะห์ช่วงรงับดับทุกขโทษแห่งคนร้ายในอนาคตประจุบัน แลในพระราชบริหารบัญญัตินั้นว่า แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่นกินฝิ่นซื้อฝิ่นขายฝิ่น แลเป็นผู้แสมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียว ถ้ามิฟังจับได้แลมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป้นสัจ จะให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนสามยก ทเวนบกสามวัน ทเวนเรือนสามวัน ริบราชบาตบุตรภรรยาแลทรัพย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัวไปเป็นตะพุ้นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนหกสิบที ถ้าผู้ใดมีฝิ่นอยู่ก่อนยังมิได้ห้ามปรามมากน้อยเท่าใดจะขาย ก็ให้เร่งเอาออกไปขายแก่นา ๆ ประเทศเมืองนอกให้พ้นแว่นแคว้นกรุงเทพฯ แลให้ร้อยแขวงกรมการนายบ้านนายอำเภอประกาศป่าวร้องอณาประชาราษฎรลูกค้าวานิชทั้งปวงให้รู้จงทั่ว แลให้กระทำตามพระราชกำหนดกฎหมายนี้จงทุกประการ ผู้ใดมิฟัง จับได้ จะเอาตัวเป็นโทษโดยโทษารณุโทษ

กฎให้ไว้ณวันเสาร์ เดือนเก้า ขึ้นสิบสี่ค่ำ จุลศักราชพันร้อยเจ็ดสิบสาม ปีมแม ตรีศก

(คัดจากต้นฉะบับตัวอักษรเขียนของหอพระสมุดวชิรญาณ เลขที่ ๑๑๖)