ประชุมกฎหมายประจำศก/เล่ม 8/ภาค 6/เรื่อง 14

จาก วิกิซอร์ซ
พระราชบัญญัติ
พิกัดกระเษียรอายุลูกทาษลูกไทย

 ศุภมัศดุ ลุจุลศักราช ๑๒๓๖ โสณสังวัจฉระ สาวันมาศ ชุณปักษ นวมีดิถี ศุกรวาร ปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามรัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชวงษซึ่งประดิษฐานแลดำรงค์ศิริราชสมบัติรัตนราไชมหัยสวริยาธิปัติณกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสฐาน ซึ่งเปนพระมหานครบรมราชธานีใหญ่ในราชอาณาจักรแดนสยามฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ แลเปนบรมราชาธิราชอันใหญ่ในประเทศราชที่ใกล้เคียง คือ ลาว กะเหรี่ยง มลายูประเทศ แลอื่น ๆ ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ เสด็จออกพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติเบื้องบูรพาทิศาภาคแห่งพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงสถิตยเหนือบวรราชอาศน์อันพิจิตรบันจง แปรพระภัตร์ตรงทักษิณทิศาภิมุข พร้อมด้วยท่านที่ปฤกษาราชการแผ่นดินเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยลำดับ ทรงพระอนุสรคำนึงถึงธรรม์เนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณ ธรรมเนียมใดเปนการเจริญ มีคุณมีประโยชน์เปนยุติธรรมแล้ว อยากจะทรงทำนุบำรุงให้วัฒนาการเจริญยิ่งขึ้นให้ดำรงค์ไปได้สิ้นกาลนาน ถ้าธรรมเนียมใดไม่เปนการเจริญแก่ประชาชาวพระนคร ไม่เปนคุณเปนประโยชน์ ไม่เปนยุติธรรม ก็อยากจะทรงเลิกถอนเสีย แต่จะต้องค่อยตัดรอนผ่อนไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลตามเวลากว่าจะเรียบร้อยไปได้ ก็แต่ในราชบัญญัติเดิมอันโบราณราชกระษัติย์ตั้งไว้ตามคัมภีร์พระธรรมสาตรว่าด้วยลักษณทาษ ๗ จำพวก คือ ทาษสีนไถ่ ๑ ลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ย ๑ ทาษได้มาแต่บิดามารดา ๑ ทาษท่านให้ ๑ ทาษอันได้ด้วยช่วยกังวลทุกข์ร้อน ๑ ทาษได้เลี้ยงมาเมื่อกาลทุพิกขไภย ๑ ทาษไปรบศึกได้มาเปนเชลย ๑ เปน ๗ จำพวกด้วยกันดังนี้ อันทาษ ๗ จำพวกนี้ นับว่า เปนทาษโดยกระบินเมืองท่าน ถ้าไม่มีเงินมาให้แก่เจ้าทาษครบค่าแล้ว ก็ไม่มีเวลาที่จะพ้นยากจากทุกข์เปนไทยได้ ฝ่ายลูกทาษซึ่งเกิดแต่ทาษทั้ง ๗ จำพวกนั้น ตั้งแต่ออกจากครรภ ภอลืมตา ก็ต้องนับว่า เปนทาษมีค่าตัวไปจนอายุถึงร้อยปีแล้วก็ยังไม่หมดค่าตัว คือ ท่านคิดอายุตั้งแต่เดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือน ชาย ๖ บาท หญิงตำลึง ๑ จนชายอายุ ๒๖ ปีถึง ๔๐ ปี เตมค่าสิบสี่ตำลึง หญิงอายุ ๒๑ ปีถึง ๓๐ ปี เตมค่าสิบสองตำลึง ถ้าชายอายุเกิน ๔๐ ปี หญิงอายุเกิน ๓๐ ปี จึงได้ลดถอนค่าตัวลง จนอายุถึง ๑๐๐ ปียังมีค่าตัว ชายตำลึง ๑ หญิงสามบาท ยังหาขาดค่าตัวไม่ เปนธรรมเนียมเดิมมีมาดังนี้ ดูประหนึ่งหามีความกรุณาแก่ลูกทาษไม่ ด้วยลูกทาษที่เกิดมาไม่ได้รู้ไม่ได้เหนสิ่งใดเลย บิดามารดาชั่วไว้ แล้วยังภาลูกให้เปนทาษไปจนสิ้นชีวิตรอิกเล่า เพราะรับโทษทุกข์ของพ่อของแม่เท่านั้น หาควรที่จะเอาเปนทาษจนตลอดชีวิตรไม่ ถ้าจะโปรดเลิกถอนให้ลูกทาษหลุดค่าตัวเสียทีเดียว นายเงินผู้ไม่มีความเมตากรุณา ก็จะไม่ให้ทาษมารดาเลี้ยงรักษาลูก เพราะเหนว่า ลูกทาษเกิดมาไม่เปนคุณไม่เปนประโยชน์แก่นายเงิน ๆ ก็จะเอาทาษที่เปนพ่อแม่ไปใช้การงานของตัว มิให้เลี้ยงรักษาลูก ๆ นั้นก็จะเปนอันตรายตายเสียเปนอันมาก เพราะนายเงินจะแกล้งฉนี้ จำต้องผ่อนให้เปนประโยชน์แก่นายเงินบ้าง ให้ลูกทาษภอมีเวลาหลุดเปนไทยได้บ้าง ถ้าลูกทาษเปนชาย ครั้นหลุดพ้นค่าตัวแล้ว จะได้รับจ้างทำมาค้าขายฝึกหัดวิชาการ แลจะได้บรรพชาอุปสมบทบ้าง ถ้าเปนหญิง หลุดพ้นเปนไทย ได้ผัวได้ลูก มีช่องที่จะประกอบกิจทำมาหากินได้บ้าง เมื่อเปนดังนี้ จะเปนการรุ่งเรืองเจริญแก่ประชาชาวพระนครสยามโดยแท้ จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำหรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินตราพระราชกฤษฎีกาเปนพระราชบัญญัติไว้ให้พระบรมวงษานุวงษ แลข้าราชการทุกกระทรวงบวงการฝ่ายทหารพลเรือน แลอาณาประชาราษฎร์ในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองเอกโทตรีจัตวาฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือ ให้ทราบทั่วกันว่า จุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก นี้ เปนปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาพิเศกในพระมหาเสวตรฉัตร เปนปีมหามงคลอันประเสริฐ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นพระราชบัญญัติลักษณลูกทาษนี้ว่า ตั้งแต่นี้สืบไป

 มาตรา  ถ้าลูกทาษชายหญิงเกิดเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมโรง สัมฤทธิศก นี้เปนต้นไป ให้คิดค่ากระเษียรอายุตั้งแต่เดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือนจนอายุ ๘ ปีเต็มค่าตัว ตั้งแต่ ๘ ปีต่อไป ให้ลดกระเษียรอายุลงทุกปี ถึงอายุ ๒๑ ปี ขาดค่า ให้ลูกทาษพ้นค่าตัวเปนไทย ๚ะ

 มาตรา  ตรางกระเษียรอายุลูกทาษ ทรงพระราชบัญญัติตั้งใหม่ ให้ใช้แต่ลูกทาษแลบุตรราษฎรที่ยังเปนไทยไม่เปนทาษ จำเพาะแต่ที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก แลปีมเสง เอกศก ต่อ ๆ ไป คือ ชายอายุเดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือน กระเษียรอายุเงินตำลึงกึ่ง ๔ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือน สองตำลึง ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน สองตำลึงกึ่ง ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน สามตำลึง ๑ ปี ๒ ปี สี่ตำลึง ๓ ปี ๔ ปี ห้าตำลึง ๕ ปี ๖ ปี หกตำลึง ๗ ปี ๘ ปี แปดตำลึง ๙ ปี ๑๐ ปี ๑๑ ปี เจ็ดตำลึง ๑๒ ปี ๑๓ ปี ๑๔ ปี ห้าตำลึงกึ่ง ๑๕ ปี ๑๖ ปี ๑๗ ปี สามตำลึงกึ่ง ๑๘ ปี ๑๙ ปี ๒๐ ปี ตำลึง ๑ ๚ะ

หญิงอายุเดือนหนึ่ง ๒ เดือน ๓ เดือน ตำลึงหนึ่ง ๔ เดือน ๕ เดือน ๖ เดือน ตำลึงกึ่ง ๗ เดือน ๘ เดือน ๙ เดือน สองตำลึง ๑๐ เดือน ๑๑ เดือน สองตำลึง ๑ ปี ๒ ปี สามตำลึง ๓ ปี ๔ ปี สี่ตำลึง ๕ ปี ๖ ปี ห้าตำลึง ๗ ปี ๘ ปี เจ็ดตำลึง ๙ ปี ๑๐ ปี ๑๑ ปี หกตำลึง ๑๒ ปี ๑๓ ปี ๑๔ ปี ห้าตำลึงสามบาท ๑๕ ปี ๑๖ ปี ๑๗ ปี สามตำลึง ๑๘ ปี ๑๙ ปี ๒๐ ปี สามบาท ถึง ๒๑ ปี หมดค่าตัวทั้งชายทั้งหญิง ตรางกระเษียรอายุทั้งขึ้นทั้งลดดังนี้ ถ้าคนเกิดในปีเถาะ นพศก ขึ้นไป แลจะตัดสินคดีถ้อยความอื่น ๆ ให้ใช้กระเษียรอายุในกรมศักเดิมเมื่อจุลศักราช ๙๕๕ ปีรกา เบญจศก โน้น ๚ะ

 มาตรา  ลูกทาษชายหญิงซึ่งเกิดในเรือนเบี้ยนายเงินตั้งแต่ปีมโรง สัมฤทธิศก ต่อไป จะอยู่กับนายเงินเดิมตลอดไปจนอายุถึง ๒๑ ปีก็ดี ไม่ได้อยู่กับนายเงินเดิม จะยักย้ายวางเงินไปอยู่กับนายเงินที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ในระหว่างยังไม่ถึง ๒๑ ปีก็ดี ให้คิดพิกัดกระเษียรอายุตามขึ้นตามลดต่อไปทุก ๆ นายเงิน กว่าลูกทาษชายหญิงอายุจะได้ถึง ๒๑ ปี พ้นค่าตัวเปนไทย ๚ะ

 มาตรา  ลูกทาษ เปนชายก็ดี เปนหญิงก็ดี ที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก แลในปีอื่น ซึ่งจะช่วยไถ่กันต่อ ๆ ไปนั้น ให้คิดกระเษียรอายุขึ้นลดตามพิกัดแบบนี้ คือ ค่าตัวเดิมอ้ายกอผัว อีขอเมีย ๒ คน เงิน ๓ ชั่งห้าตำลึง เกิดลูกในเรือนเบี้ยนายเงินที่หนึ่ง ๒ คน ชายชื่อ อ้ายคอ หญิงชื่อ อีงอ อยู่กับนายเงินที่หนึ่งจนอายุอ้ายคอได้สามปี อีงอได้ ๓ เดือน วางเงินไปอยู่กับนายเงินที่สอง ๆ ต้องเติมเงินขึ้นค่ากระเษียรอายุส่วนลูกทาษติดมา อ้ายคอ ๓ ปี ห้าตำลึง อีงอ ๓ เดือน ตำลึง ๑ ตราไว้ในกรมธรรมเปนแผนกส่วนค่ากระเษียรอายุลูกทาษเงินหกตำลึง รวมทั้งค่าตัวอ้ายกอ อีขอ พ่อแม่ เปนเงิน ๓ ชั่ง ๑๑ ตำลึง ถ้าอยู่กับนายเงินที่สอง ๕ ปี อายุอ้ายคอได้ ปี ๘ เตมค่าแปดตำลึง อายุอีงอได้ ๕ ปี ๓ เดือน ห้าตำลึง แล้ววางเงินไปอยู่กับนายเงินที่สาม ๆ ต้องเพิ่มเงินขึ้นค่ากระเษียรอายุอ้ายคอสามตำลึง เก่าใหม่เปนแปดตำลึง อีงอสี่ตำลึง เก่าหม่เปนห้าตำลึง ตราไว้ในกรมธรรม์เปนแผนกส่วนอ้ายคอ อีงอ รวมทั้งค่าตัวอ้ายกอ อีขอ พ่อแม่ เปนเงิน ๓ ชั่ง สิบแปดตำลึง อยู่กับนายเงินที่สาม ๘ ปีกับ ๖ เดือน อายุอ้ายคอได้ ๑๖ ปี ๖ เดือน ค่าตัวลดอยู่แต่สามตำลึงกึ่ง อายุอีงอได้ ๑๓ ปี ๙ เดือน ค่าตัวลดอยู่แต่ ๕ ตำลึงกึ่ง แล้ววางเงินไปอยู่กับนายเงินที่ ๔ นายเงินที่ ๓ ต้องลดเงินค่าตัวส่วนอ้ายคอสี่ตำลึงกึ่ง เอาแต่สามตำลึงกึ่ง ส่วนอีงอ เอาขึ้นกึ่งตำลึง เปนห้าตำลึงกึ่ง รวมเก้าตำลึง นายเงินที่ ๔ ต้องออกเงินช่วยไถ่ตราไว้ในกรมธรรม์เปนแผนกส่วนลูกทาษอ้ายคอเก่า แปดตำลึง ลดสี่ตำลึงกึ่ง ฅงสามตำลึงกึ่ง อีงอเก่า ห้าตำลึง ขึ้นกึ่งตำลึง คงห้าตำลึงกึ่ง รวม ๙ ตำลึง รวมทั้งค่าตัวอ้ายกอ อีขอ เปนเงิน ๓ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ถ้าอยู่กับนายเงินที่ ๔ ได้ ๓ ปีกับ ๗ เดือน อายุอ้ายคอได้ ๒๐ ปีกับเดือน ๑ ส่วนอ้ายคอหลุดพ้นค่าตัวเปนไทย แต่อีงออายุได้ ๑๗ ปีกับ ๔ เดือน ลดค่าตัวลงอยู่แต่สามบาท อ้ายกอ อีขอ อีงอ วางเงินไปอยู่กับนายเงินที่ ๕ นายเงินที่ ๔ ต้องลดส่วนค่าตัวอีงอลงสี่ตำลึง สามบาท เอาแต่สามบาท ด้วยอีงออายุ ๑๗ ปีกับ ๔ เดือน ย่างเข้าใน ๑๘ ปี พิกัดกระเษียรอายุลดลงอยู่สามบาท แล้วนายเงินที่ ๕ ต้องออกเงินช่วยไถ่ รวมทั้งค่าตัวอ้ายกอ อีขอ อีงอ เปนเงินตรา ๓ ชั่ง ๕ ตำลึง สามบาท ถ้าอยู่กับนายเงินที่ ๕ ได้ ๒ ปีกับ ๘ เดือน อายุอีงอได้ ๒๐ ปีกับ ๒ เดือน ส่วนตัวอีงอ หลุดพ้นค่าตัว เปนไทย แต่อ้ายกอ อีขอ พ่อแม่ ค่าตัวคง ๓ ชั่ง ๕ ตำลึงตามเดิม ถ้าอ้ายกอ อีขอ อ้ายคอ อีงอ คนใดคนหนึ่ง ตายเสียในระหว่างนายเงินใดนายเงินหนึ่ง ก็ให้คิดยกส่วนค่าตัวผู้ตาย ผู้ยัง เปนภัพแก่นายเงินตามพระราชกำหนดกฎหมายเดิม ๚ะ

 มาตรา  ว่า ตั้งแต่จุลศักราช ๑๒๓๖ ปีจอ ฉศก นี้ไป ผู้มีสินมีทรัพย์จะรับช่วยไถ่คนยากจนขาดแคลนมาเปนทาษลงใหม่ก็ดี ทาษเก่าที่วางเงินมาแต่นายอื่น ๆ ก็ดี ซึ่งมีลูกทาษเกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก ติดมาด้วยไซ้ ให้ผู้เปนเจ้าเบี้ยนายเงินพร้อมกันกับอำเภอกำนันแลตัวทาษทำสารกรมธรรม์เขียนด้วยเส้นหมึกให้ชัดเปนส่วนออกว่า ลูกทาษชายหญิงเกิดในปีนั้น ๆ อายุได้เท่านั้น เงินค่าตัวตามกระเษียรอายุใหม่เท่านั้น ให้ตัวทาษเขียนชื่อมันเอง ฤๅจ้างวานเขาเขียนชื่อมัน ไว้ในท้ายกรมธรรม์ แล้วประทับตราอำเภอกำนันไว้เปนสำคัญจงทุกฉบับ ๚ะ

 มาตรา  ทวยราษฎรซึ่งเปนไทยยังมิได้ทุกขยากลงเปนทาษ ผิว่าขัดสนข้นจนขาดแคลน บิดามารดาปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาว์พี่ชายพี่หญิงจะเอาบุตรหลานที่เกิดตั้งแต่ปีมโรง สัมฤทธิศก อายุต่ำกว่า ๑๕ ปีลงมา ไปขายฝากประจำเชิงกระยาดอกเบี้ยไว้กับท่าน ลงชื่อในกรมธรรม์เจ้าสิน ตัวเบี้ยจะรู้ก็ดี มิรู้ก็ดี ว่า เปนสิทธิโดยกระบินเมืองท่าน เพราะบิดามารดาญาติผู้ใหญ่เปนอิศรภาพตามพระราชกำหนดใหม่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ ปีเถาะ นพศก แต่ให้ขายได้ตามพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ๚ะ

 มาตรา  ถ้าบุตรหลานที่เกิดตั้งแต่ปีมโรง สัมฤทธิศก จำเริญไวยอายุได้ ๑๕ ปีขึ้นไปถึง ๒๐ ปี นับว่า รู้เดียงสาการผิดชอบแล้ว บิดามารดาญาติผู้ใหญ่จะเอาไปขายประจำเชิงกระยาดอกเบี้ยท่านใส่ชื่อในกรมธรรม์ไซ้ ต้องให้มันตัวเรือนเบี้ยรู้เหนลงกำแหงแกงใดเขียนชื่อไว้เปนสำคัญ จึ่งเปนสิทธิ์ได้แก่เจ้าสิน ค่าตัวมันตัวเบี้ยขึ้นเบี้ยลดตามพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ถ้าตัวเบี้ยมิรู้มิเหนไม่ได้เขียนชื่อด้วยลายมือเอง แลไม่ได้จ้างไม่ได้วานเขาเขียนชื่อไซร้ อย่านับว่าเปนทาษเลย ๚ะ

 มาตรา  ลูกทาษก็ดี ลูกไทยก็ดี ที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นไป อายุได้ถึง ๒๑ ปี บิดามารดาวงษาคณาญาติฤๅตัวมันเองก็ดีขาดแคลนลง จะไปขายฝากประจำเชิงกระยาเบี้ยไว้กับท่านไซร้ ห้ามมืให้เจ้าสินผู้มีทรัพย์รับช่วยไถ่มาเปนทาษตนเปนอันขาด ถ้าลูกทาษลูกไทยที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นไป อายุถึง ๒๑ ปีแล้วก็ดี ฤๅอายุจะมากเกินขึ้นไปถึง ๒๕ ปีก็ดี ถึง ๓๐ ปีก็ดี ๓๕ ปีก็ดี ๔๐ ปีก็ดี ๔๕ ปีก็ดี ๕๐ ปีก็ดี ยากจนขาดแคลนลง จะกล่าวเท็จหลอกลวงท่านว่า ข้าพเจ้ามิได้เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก ในปีมเสง เอกศก เปนต้นไป ข้าพเจ้าเกิดในปีเถาะ นพศก ฤๅปีขาน อัฐศก ฤๅปีฉลู สัปตศก พ้นขึ้นไปแล้ว มันมีอาสนไปขายตัวประจำเชิงกระยาเบี้ยท่านไซร้ ให้ท่านผู้มีทรัพย์รับช่วยไถ่เปนเจ้าเบี้ยนายเงินชำระไถ่ถามผู้ซึ่งจะมาเปนตัวเบี้ยว่า เกิดปีใด จุลศักราชเท่าไร แล้วจดหมายปากคำไว้ให้เปนแน่ในศาลกรมธรรม์ว่า มันเกิดปีนั้น นักษัตรศกเท่านั้น ถ้าภายหลังมันกลับถ้อยคืนคำเปนอย่างอื่นไซร้ จงปรับโทษมันผู้ทาษเท็จโดยถานกระบัดสินท่านในลักษณทาษ มาตรา ๑๔ โน้น ถ้าเจ้าสินอยากใช้ทาษ มิได้ถามเอาปากคำมันตราไว้ในสารกรมธรรม์ให้แน่ชัด แล้วรับช่วยไถ่มาเปนทาษ ถ้าตัวทาษมันว่า มันเกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นไป ซึ่งเปนปีที่ห้ามในพระราชบัญญัติไซร้ ให้ปรับไหมเจ้าเบี้ยนายเงินเปนภัพในเงินค่าตัวทาษซึ่งมีในสารกรมธรรม์นั้น ๚ะ

 มาตรา  ถ้าผู้มีทรัพย์รับช่วยไถ่ลูกทาษลูกไทยที่เกิดในปีมโรง สัมฤทธิศก เปนต้นไป อายุได้ ๒๑ ปี พ้นหนี้หลุดค่าตัวเปนไทยแล้วนั้นมาเปนทาษ มิได้เปนสิทธิ์แก่เจ้าสินโดยพระราชบัญญัติ ถึงกรมธรรม์มีศุภมาศวันคืนชื่อตัวเบี้ยจำนวนเงินประการใด ตัวเบี้ยจะไปจากเจ้าเบี้ยเจ้าเงินได้ตามลำพังใจ เจ้าเบี้ยเจ้าเงินจะตามกุมเกาะมาว่ากล่าวไม่ได้ เงินค่าตัวเปนภัพแก่เจ้าเบี้ยเจ้าเงินโดยโทษล่วงพระราชกฤษฎีกา ๚ะ

 มาตรา ๑๐ ลูกทาษลูกไทยอายุถึง ๒๐ ปีพ้นค่าตัวจากเจ้าเบี้ยนายเงินแล้ว มันเหล่านั้นศักข้อมือหมายหมู่แล้วก็ดี ยังมิได้ศักข้อมือขาวก็ดี ให้เจ้าเบี้ยนายเงินเดิมฤๅเจ้าหมู่มุลนายใหม่ทำหางว่าวศักแปลงยื่นต่อกรมพระศุรัศวดีให้ศักแปลงเปนทาษพ้นค่าตัวมีศักดินา ๑๐ ไร่จงทุกคน ถ้านายเดิมแลเจ้าหมู่ใหม่แกล้งปิดบังเสือกไสไม่นำตัวทาษพ้นค่าตัวไปศัก จงปรับไหมมีโทษแก่ผู้ปิดบังจงหนักตามพระราชกฤษฎีกา ๚ะ

 มาตรา ๑๑ ทวยไพร่หลวงจ่ายไพร่หลวงส่วนไพร่หลวงคงเมืองกองอัทมาทกองมหันตโทษวิเศศโรงสีสดึงโรงไหมโขลนโรงทานบันดาค่าคนหลวงลอบลักปลอมแปลงไปทำสารกรมธรรมขายประจำเชิงกระยาดอกเบี้ยไว้กับท่าน มันเกิดลูกในเรือนเบี้ยท่านตั้งแต่ปีมโรง สำฤทธิศก เปนต้นไป อายุลูกเรือนเบี้ยถึง ๒๑ ปีไซ้ ให้เจ้าเบี้ยนายเงินไปแจ้งความต่อกรมพระศุรัศวดีให้เจ้าหมู่พาเอามันไปศักคงหมู่ ส่วนพ่อมันส่วนแม่มันคงออกเดือนใช้เจ้าเข้าเดือนใช้นายตามพระราชกำหนดเดิม ๚ะ

 มาตรา ๑๒ ว่า ในลักษณทาษเดิม มาตรา ๒๐ ครั้งมหาศักราช ๑๓๕๙ ปีมแมนักษัตร์ นั้น คือ ตรงกับจุลศักราช ๗๙๙ ปีมแม นพศก โน้น มีความว่า ชายหญิงมีอาสนขายตัวเองไว้กับท่านให้ท่านใช้ ถ้าลูกชายลูกหญิงอายุตั้งแต่ ๑ เดือน ๒ เดือนติดตามพ่อแม่พี่ป้าน้าอามาอยู่ด้วย มิได้เข้าในอาสนตัวเบี้ยซื้อขาย ลูกนั้นโตใหญ่ขึ้น จะไป ให้นายเงินคิดแบ่งเอาค่าเข้าป้อนสองส่วน ดังนี้ อย่าให้ต่อไป ให้ยกเลีกมาตรา ๒๐ นั้นเสีย แต่นี้สืบไป ทวยราษฎรชายหญิงขาดแคลนข้นจนมีอาสนมาขายตัวอยู่กับท่าน ถ้าลูกชายหญิงติดตามพ่อแม่พี่ป้าน้าอามาอยู่ด้วย แต่มิได้เข้าชื่อเปนตัวเบี้ยในกรมธรรม์ท่าน ถึงลูกชายหญิงนั้นจะติดมาอยู่ตั้งแต่อายุได้ ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือนขึ้นไปจนถึง ๗ ขวบก็ดี ฤๅอายุเกิน ๗ ขวบขึ้นไปก็ดี อย่าให้เจ้าเบี้ยนายเงิยคิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนกับทารกเปนเงินค่าตัว อย่าเอาทารกนั้นเปนทาษต่อไปเปนอันขาด ๚ะ

 พระราชบัญญัติลูกทาษลูกไทยนี้ ให้เจ้าเบี้ยนายเงินผู้มีทาษแลจะช่วยไถ่ทาษให้ตั้งอายุลูกทาษลงเรือนเงินไว้ในสารกรมธรรม์ให้ชัดดังในมาตรา ๕ ให้เสร็จแต่ในปีจอ ฉอศก นี้ ต่อไปตั้งแต่ณวันเดือน ๕ ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีกุญ ยังเปนฉศก ให้ผู้ชำระตัดสินกิจคดีของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยลูกทาษลูกไทยทำตามพระราชบัญญัติใหม่จงทุกข้อทุกประการ ๚ะ