ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา/เรื่องที่ 30

จาก วิกิซอร์ซ
เอกสารตัวเขียน พ.ศ. 2279 ของนันโทปนันทสูตรคำหลวง
เอกสารตัวเขียน พ.ศ. 2279 ของนันโทปนันทสูตรคำหลวง

เอกสารตัวเขียน พ.ศ. 2279 ของนันโทปนันทสูตรคำหลวง
เอกสารตัวเขียน พ.ศ. 2279 ของนันโทปนันทสูตรคำหลวง

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ทรงนิพนธ์นันโทปนันทสูตรคำหลวงเมื่อปีมะโรง
พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ

"พระบาฬีนนโทปนนทสูตรนี้ พระมหาพุทธสิริเถรเจ้าแต่งไว้แต่ก่อน บ่มิได้ลงพุทธสักราชไว้ว่า เมื่อแรกแต่งพระบาฬีสำเรจนั้น พุทธสักราชได้เท่านั้นเท่านั้น แลเจ้าฟ้าธรงพระผนวชกรมขุนเสนาพิทักษ์ มาธรงแต่งเปนเนื้อความคำประดับครั้งนี้ เมื่อสำเรจนั้น พระพุทธสักราชล่วงไปแล้วได้ ๒๒๗๙ ปีกับ ๓ เดือน ในวาร ๑๕ ฯ  ทุติยาสาธ ปีมโรง นักสัตร อัษฐศก จุลศักราช ๑๐๙๘ ศก แลแต่แต่งพระบาฬีมาคุมเท่าถึงธรงแต่งเนื้อความคำประดับในครั้งนี้ แลจะรู้ว่าวางอยู่นั้นจะได้ไกลกันสักขี่สิบปีนั้นบ่มิได้แจ้ง เมื่อแรกแต่งพระมหาชาติคำหลวงนั้น จุลศักราชได้ ๘๔๔ ศก แต่งนนโทปนนทสูตรคำหลวงครั้งนี้ จุลศักราช ๑๐๙๘ ศก ว่างกันอยู่ถึง ๒๕๔ ปี นนโทปนนทสูตรที่พระบาฬีเปนปรกติอย่างเทศนาทั้งปวงมีอยู่ในพระคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธนั้น ต้งงเอวัมเมก่อน นนโทปนนทสูตรอันมีในพระอัตถกถาแก้พระคัมภีร์อัปปทานนี้ อันพระมหาพุทธสิริเถรเจ้าแต่งเปนพระบาฬีคำประดับนี้ บ่มิได้ต้งงเอวัมเมก่อนเลอย บุคคลผู้มีปัญญาอย่าพึงสงไสยว่านนโทปนนทสูตรนี้นอกคำพระอานนท์แลนอกสังคายนาย นนโทปนนทสูตรนี้มีในสังคายนายแท้จริงแล"

ข้าพระพุทธเจ้านายสัง
นายสา
ชุบพระบาฬี นายทองสุกชุบเนื้อความ พระสมุดขาวอย่างนี้โบกด้วยฝุ่นสามครั้ง จึงลงน้ำกันเชื่อมครั้งหนึ่ง จึงเขียนพระอักษร แล้วจึงลงน้ำกันเชื่อมอีกสามครั้ง แม้นว่าต้องน้ำมิได้ลบเลือนเลอย อย่างโบกด้วยฝ่นแลน้ำกันเชื่อมนี้ ของหลวงโชฎึกนอกราชการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย[1]

พระสมุดนี้ชั่งได้หนัก

  1. ข้อความท้ายเรื่อง นันโทปนันทสูตรคำหลวง