ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา/เรื่องที่ 32

จาก วิกิซอร์ซ
๏ แผนทือพระเมรุพระบรมศภพระรูปณวัดพุไทยสวรรณ่ปีเถาะสัพ"ก ๚๛

๏ - - - - เขียรว่าใม่เหนนั้น ดว้ยฉบับเดีมลบ ใม่เหนอักษร ๛

เรื่องจดหมายการพระศพ
สมเด็จพระรูป วัดพุทไธสวรรค์ กรุงเก่า

[1]๏ วัน ค่ำ จุลศักราช ๑๐๙๗ ปีเถาะสพศ่ก[2] เพลาย่ำฆ้องค่ำแล้ว ๓ บาด สมเดจ์พระรูปเจ้า[3] เสรจ์นิฦๅภาณณ่วัดพุไทยสวัรร ฯ เสดจ์ลงไปณะพระศภ จึงทรํง ฯ สังว่า ให้เชีนสมเดจ์พระบรํมศภขึ้นไปไว้ณ่พระทือนังจักระหวัดไภยชํลมหาปราสาททนั้นแล พระธรรมาฯ กราบทูลพระก่รรุนา ฯ ด้วยการจ่ตั้งเคริองพระมหาก่ถิน[4] สำมรับการสมเดจ์พระบรมศภ แลคนแห่แลจ่หามพญาณุมาดนั้นน้อย มิครํบการ จึง ฯ ทรํง ฯ สังวา ให้วานเอาล้อมพระราชวัง ๖๐ คนแบงให้ข้างพระอพิรํม ๓๐
พระราธียาร ๓๐
๖๐ คํน[5] แลทือจ่ตั้งเครื้องณ่พระธินั้งจักระหวัดนั้น ฯ ก่ให้ตั้งการตามสมควรเทีษ

แลคั้นณ่วัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เพลาบายแล้วโมง ๑ ฯ เสดจ์ ฯ ลงไปเชีนสมเดจ์พระบรมศภ ครั้นเพลาย่ำฆ้องค่ำ ชาวทีจิงเชีนพระเฉลียงเงินเซ้า[6] มารับสมเดจ์พระบรํมโกฏลงพญานุมาด ๓ คานซึ่งตั้งอยู่ณเรือพระทือนั่งนั้น แล้วจึงเชินสมเดจ์พระบรมศภแหเปนกระบวญมาตามทางชณมาต ล้นเกล้า ฯ ก่เสดจ์ ฯ มาด้วย

ครั้นถึงฉหนวนประทับเรือณ่ท่าปราบ[7] แล้ว จึง ฯ ทรํง ฯ สังให้เชีนสมเดจ์พระบรมศภขึ้นจากเรือพระทือนั่งแล้ว แลเรือพระทือนั่งซึ่งล้นเกล้า ฯ ทรงมานั้นถอยหลังไปยประทับณ่ขนานประจำท้าพระราชวังหลวง แลขุนทิพภัยชนคุมพระราธยานทองลงไปยรับเสดจ์ ฯ จิงเชีนเครื่องสิบแปดอยางกลางแหเสดจ์ ฯ ไปหนาจวญทหารใน ใปเฃ้าปรตูท่าปราบตามสมเดจ์พระบรํมศภถึงพระทือนังจักระหวัดภัยชนม่หาปราสาท

แล้วเสดจ์ ฯ ขึ้นเกยฝายขวา แตสมเดจ์พระบรํมศภนั้น ชาวทือเชีนพระเฉลียงเงินต่อชาวเครื่องไปรับสมเดจ์พระบรํมศภเข้าไปในพระทือนั้ง ตั้งเหนิอพระเบญาแลว จิงเชีนเครื่องพระอพิรํม ๕ ชั้นเข้าตั้ง ๓ ด้าน เปนเครื่งสูง ๔ คู้ แลกานฃาดใด้เอามาตั้ง มีแต้งอยู่ในยแผนกเผนทือพระนัี่งขกรระหวัดนั้นแล้ว ครั้นเชีญสมเดจ์พระบรํมศภขึ้นตั้งเหนี้อพระเบจาสำเมรจ์แล้ว ล้นเกล้า ฯ จใด้เสดจ์ ฯ กลับออกไปปรตูท้าปราบ ดูจ ฯ เสดจ์ ฯ มานั้นหามิได้ แลชาววังเชีนพระเฉลียงงา[8] เข้าไปรับเสดจ็ ฯ ณ่เกยหลังพระทืนั่งจักระหวัด แล้วเสดจ์มาทางปรตูหลังพระทือนั่งจักระหวัดมาตามทาง เสดจ์ ฯ เข้าไปข้างในย แลเคริ่องแหนั้นอยุดอยู่แต่ต้นมเกลีอแล้วเสดจ์ ฯ ไปตามท้องฉนวญข้างในยลงเรีอพระธีนั้งณ่ขนานประจำท้า เสดจ์ ฯ ออกมาพระราชวังบวร ฯ ทือเดียว ครั้นถึงวันพระ /๑๕ ค่ำ เสดจ์เข้าไปปรนิบัตรพระสงฆเสม่อวันแล ๓๐ รูป แลพิเสดตั้งเทียบสำรับหน้าโรงข้างฝายซ้าย

แลอยู่ณวัน ค่ำ ปีเถาะสัพ"ก พญาอภัยะมลตรียผู้ว่าทือสมุะหะนาญกรับพระราชโองการ ฯ สังว่า ฤฤจ่ได้เชิ่นสมเดจ์พระบรํมศภเจ้ากรมหลวงโยธาเทพมาจากพระธีนงจักระหวัดไปยังพระเมรุ ณวัน ๑๔ ฯ  ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๔ บาด ให้เจ้าพนักงานแตงการใว้ให้ครํบจํงทุกพนักงาน แลณ่วัน ค่ำ หลวงเทพวรชุนกราบทูลพระก่รรุนาฉลอง ฯ ว่า เมิ่อล้นเกล้า ฯ จ่เสดจ์ ฯ เข้าไปอยูถวายพระเพลิ่งนั้น แลพระทือนั้งจักระหวัดเชิ่นสมเดจ์พระบรํมศภอยู่แล้ว จ่แตงทือรับเสดจ์ขณ่พระธิ่นั่งองไดยแล้วแต่จ่ทรํงพระก่รรุนา จึง ฯ ทรง ฯ สังแก่หลวงเทพว่า พระธีนั่งจักระหวัดนั้นสมเดจ์พระบรํมศภอยู่แล้ว ก่ให้แตงไว้ณ่พระตำนักตึกทือพระปรัดซาย[9] นั้นกอร แลจ่ได้เสดจ์ ฯ ไปอยู่แรมหามิได้ แตให้เตรียมพรม
เสื่อ
ใว้ให้พร้อม ครั้นเพลาเชีนสมเดจ์พระบรํมศภออกจากพระธีนั่งจักระหวัดแล้ว ให้เจ้าพนักงานมาแตงทือรับเสดจ์ ฯ ณ่ พระทือนั้งจักระหวัดตามอยางเมือครั้งสมเดจ์พระบรํมศภณปีฉลูเบญจศกนั้น[10] แลซึ่งจ่ปลุกพระทือนั้งเอยนแลพระตำนักแลเริอนพระราชทานแลโรงพิเสดโรงน้ำร้อนนั้น ให้ทำตามแผนทือเมือครั้งปีฉลูเบญจศกนั้นเทีษ

แลครั้นการสำเรจ์แล้วอยู่ณ่วัน ๑๒ ฯ  ค่ำ เกนให้นายศรีเถียรนายจำหนํง
นายเจษฎา
แจงทือณ่พระทือนั่งจักระหวัด ให้นายปลัดขุนรักษมลเทียรแลหมื่นจง
นายปลัดวัง
ซ้ายสรรวัดตรวจ์ตราดูการ ให้แจงทือรับเสดจ์ ฯ แลคนเขาอยู่รักษาประตูแลการทังปวง

อนึ่งเกนให้นายรัตณบันยง นายจันทมลเทียร คุมพ่นักงานเสิอพรมม่านเบาะแตงทือในพระเมรุแลขุนบำเมร่อภักเอาแผนทือครั้งสมเดจ์พระบรํมศภณปีฉลูเบญจศก ๆ ก่ราช ๑๐๙๕ ปีนั้นไปดู ให้ผูกม่ารทือให่ญยทิดอุดรทางเสดจ์ ฯ ออกพระสงฆนั้นผูกม่ารแพรพืนฃาวปักทองแกมไม่เบญพรรผูกสองไขย แลม่านนั้นสั้นจึงเอาม่านช่องกุฏอย่างดีตอริมเสาทั้งสองข้าง แลสายม่านใขนั้นไว้ข้างเสาหน้าฉารตวันออกฝายซ้าย แลม่ารข้างทือทังสองข้างนั้นม่ารชองกุฏผูกแตเสาพระเมรุ แล้วผูกเสามุคปรตูพระเมรุไปร่วมเอาเกตปรตูทิศอุดรนั้นทัง ๒ ข้าง แลม่ารซึ่งผูกต่อมาถึงปรตูพระเมรุนั้นผูกม่ารหน้ากากพืนแดงทังสองข้างแลม่ารสลักทางเสดจ์ ฯ ชั้นไนยนั้นผูกม่ารมะชลิปตำอยางดีสองไขย แลชั้นนอกนั้นผูกม่ารลายฉีกพืนขาวสองไขย แลจ่ได้มีเพดานผ้าฃาวในทือด้วยหามิได้ แลผูกม่ารต่อหน้าฉารฝายซ้าย ตรํงทือเฝานั้นนั้นเลี้ยวมาตามเกษเอาปรตูมุกทิดบูรรณ ม่านช่องกุฏพืนต่าง ๆ กัน แลผูกม่ารเชีงพระเมรุปลายทือเผ์าเลียวหย่อไปตามเกด ถึงปรตูทิดบูรรนั้นม่ารจ่เลียก แลม่ารวงเดือนพื้นแดง ผูกม่ารทือใหญ่ยฝายขวาเปนทือข้างในยสองผืน แลม่ารสลักทือข้างในย ๓ แหง ปรตูทิดพปัตฉิมแลปรตูทิดทักษินนั้นผูกปรตูแลสองชัน ม่ารจ่เลียวแวกหาสายใขมิได้ แลผูกม่ารณ่เสาพระเมรุต่อม่ารวงเดีอนแลวมาถึงม่ารผูกปรตูทิดทักษิน ผ์ายต่วันตกม่ารลายฉีกพืนขาวทรัพฃาวนั้นพระคลังไนยเอามาสงให้ชาวม่ารผูก ๘ ผืน แลม่ารผูกเชิงพระเมรุแตมุกปรตูทิดทักษินขางต่วันออกเลี้ยวหย่อตามเกดมาถึงปรตูมุกพระเมรุทิดบูรรขางไต้นั้น ชาวม่ารไปญีมม่ารรูปเทวดามาแตวัดพระศรีสรรเพชมาผูกริมมุกข้างเหนี้อนอกม่ารแถวทือเผว์นั้นผืนนึ่งด้วย ประสมกับม่ารจ่เลียกชึ่งผูกเชีงพระเมรุนั้น แลม้านสลักปรตูทิดบูรรชั้น นอก
ไนย
นั้นม่ารลายฉีกพืนฃาวมิได้แวกมีสายไขยหามิได้

อนึ่งผูกม่ารไนยพระมรดํบพระเมรุทองทือเสาแฝดล้อมพระเบญจาทิดอุดร แลทิดบูรรนั้นผูกผูกม่ารแพรพืนเขียวน้ำเงินปักทองแกมไหม่ยเบญพรัรปรดับแวน แลม่ารผูกทิดทักสินแลทิดปัตฉิมนั้นม่านพืนแดงปักทองแถมไหมยเบจพรัรปรดับแวนเหมือนกัน แลผูกม่ารนั้นด้วยสายได้ มีศรีอยู่[11] ตรึงต้นเสากลางเสา แลสอดสายม่ารเข้าในศรีอยู่กลางเสาผูกไขยอยางกผูกพระทือนั่งออกโรง[12] ณ่พระทือนั่งสรรเพชปราสาท แลจ่ได้เอาราวเหลกตางสายม่ารใหญ่ยดุจนึงครังสมเดจ์พระบรํมศภณ่ปีฉลูเบญจศกนั้นหามิได้ ครั้นผูกม่านแล้วรูดรอบผูกเข้าไว้กับเสาพระเมรุทัง ๔ ทิด แลตรึงศรีอยู่ผูกม่าร แลเสาพระเมรุนั้นสูง แลเพดานกำมญีพืนแดงปักทองกัลปะต้นยางเทษซึ่งผูกไนยพระเมรุนั้นสูงพ้นม่ารพระเมรุขึ้นไปย

แลครันณ่วัน ๑๓ ฯ  ค่ำ ๔ ตำรวจ์แลสนํมตำมรวจ์นอกเชีนพระม่หาพิไชยราชรฎกฤษาทานแลพระพิไชยราชรฏโยง พระพิไชยราชรฏ ปรายเข้าตอก/อานหนังสือมาตั้งกระบวญหน้าปรตูตัดขวา[13] ครั้นเพลาบายแล้วโมง ๑ เสดจ์ ฯ มาแต่พรราชงวังบวร ฯ จได้อยูแรมหามิได้ ครั้นเพลาบายแล้วสามโมง เสดจ์ ฯ กลับออกไปยพระราชวังบวร ฯ ต่อเพลาตี ๑๑ ทุ้มจ่รุ้งขึ้น ณ่วัน ๑๔ ฯ  ค่ำ เสดจ ฯ มาแตพระราชวังบวรฯ ขุนทิบภัยชลคุมพระฉเลียงงาลํงไปยรับเสดจฯ ณ่ขนานน้ำปรจำท้าพระราชวังหลวง จึงเสดจ์ขึ้นมาตามพระฉนวญไหญ่ย[14] ออกฉนวญวัดพระศรีสรรเพช เลียวมาตามฉนวญ ปรทับเกยข้างไนยนั้น ได้แหเตบังพระสูรร แลเครีองพระอพิรํมนั้นจ่ได้แหด้วยมิได้ ครั้นเพลารุ้งแล้ว ๔ บาด ชาวทือมารับเอาพระเฉลียงเงินต่อชาวเครีอง เข้าไปเชีนสมเดจ์พระบรํมโกฏขึ้นบนหน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/196หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/197หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/198หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/199หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/200หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/201หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/202หน้า:Prachum Chotmaihet Samai Ayutthaya 2510.djvu/203


  1. อักษรวิธีตามต้นฉบับ
  2. พุทธศักราช ๒๒๗๘
  3. สมเด็จเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมเหสีซ้ายสมเด็จพระเพทราชา เมื่อจะสิ้นพระชนม์ ทรงผนวชเป็นชี จึงเรียกในหนังสือนี้ว่าพระรูป
  4. ที่เรียกเครื่องพระมหากฐินในหนังสือนี้หมายความว่าเครื่องสูง คือ อภิรุม ชุมสาย แลบังแทรกรวมกัน
  5. การที่ถึงกราบบังคมทูลขอเรียนพระราชปฏิบัติเรื่องเกณฑ์แห่ขาด ๖๐ คน ชวนให้เห็นว่า ในครั้งนั้นผู้คนรับราชการจะบกพร่องมิใช่น้อย
  6. พระเสลี่ยงก็เห็นจะทำนองที่เรียกว่าพระเสลี่ยงหิ้ว แต่ในชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ไม่ปรากฏว่ามีเสลี่ยงเงิน
  7. ท่าเจ้าปราบนั้นอยู่ทำนองท่าขุนนางในกรุงเทพฯ
  8. พระเสลี่ยงงาเห็นจะอย่างเดียวกับเสลี่ยงที่เจ้านายทรงในกรุงเทพฯ นี้ สำหรับทรงในพระราชวัง ด้วยเล็กกว่าพระราชยาน
  9. ตำหนักตึกที่ปรัศซ้าย ถ้าหมายความว่าพระปรัศซ้าย ๆ อยู่ระหว่างพระที่นั่งวิหารสมเด็จกับสรรเพชญปราสาท ถ้าหมายความว่าตำหนักตึกหลังพระปรัศซ้าย อยู่ตรงที่พลับพลาตรีมุขใหม่เดี๋ยวนี้
  10. พุทธศักราช ๒๒๗๖ คือพระเมรุพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
  11. ศรีอยู่: สายยู?
  12. พระที่นั่งออกพระโรง เห็นจะหมายว่ามุขเด็จ
  13. ประตูตัดขวา เข้าใจว่าประตูสกัดกำแพงพระราชวังกับกำแพงพระนครข้างตะวันออก
  14. พระฉนวนใหญ่นี้ ตั้งแต่ประตูฉนวนน้ำตลอดไปทางพระมหาปราสาทยังมีรอยถนนอยู่ ทางเสด็จในพระราชวังครั้งกรุงเก่าทำฉนวนมีหลังคาแทบทั้งนั้น ในพระราชวังบวรฯ กรุงเทพฯ ยังเอาอย่างมาทำ