ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔

จาก วิกิซอร์ซ
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

เจ้าภาพพิมพ์ในงานปลงศพ

คุณหญิงปฏิภานพิเศษ ( ลมุน อมาตยกุล )

ณ วัดประยุรวงศาวาส

วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙


พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการ


ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ อายุ ๒๖ ปี คำนำ ในงานปลงศพคุณหญิงปฏิภานพิเศษ ( ลมุน อมาตยกุล ) เจ้าภาพมีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือที่เกื้อกูลการศึกษาประวัติศาสตร์ สักเรื่องหนึ่ง เป็นของสำหรับแจกในงาน ขอให้กรมศิลปากร เป็นธุระหาต้นฉบับ กรมศิลปากรเลือกได้ พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเป็นหนังสือที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของผู้ใฝ่ใจในทาง ประวัติศาสตร์ เมื่อเจ้าภาพได้รับเรื่องไปพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ก็แสดงความพอใจ และตกลงรับพิมพ์ ดังปรากฏอยู่ในเล่มนี้ บรรดาพระราชพงศาวดารสยามความเก่า จับเรื่องตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ที่กรมศิลปากรมีต้นฉบับ อยู่เวลานี้ทั้งที่ พิมพ์แล้วและยังมิได้พิมพ์ คือ ( ๑ ) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ มีบานแผนกบอกไว้ดังนี้ " ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอกนักษัตร ณวันพุธเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำทรงพระกรุณาโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อนสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อน แลกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่ หอหนังสือ แลเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้า ด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้ "


ข ได้ความว่า เป็นพระราชพงศาวดารที่สมเด็จพระนารายน์มีพระ ราชโองการให้เรีบเรียงเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓ ความขึ้นต้นแต่แรกสถาปนาพระพุทธรูปพระเจ้าพะแนงเชิง เมื่อปีชวดจุลศักราช ๖๘๖ ( พ.ศ. ๑๘๖๗ ) แลแรกสร้างกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา เมื่อ ปีขาลจุลศักราช ๗๑๒ ( พ.ศ. ๑๘๙๗ ) สืบมาจนถึงปีมะโรง จ.ศ. ๙๖๖ ( พ.ศ. ๒๑๔๗ ) ตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ ( ๒ ) พระราชพงศาวดารฉบับจำลอง จ. ศ. ๑๑๓๖ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ) ได้ ปลีกมาเล่มเดียว เป็นฉบับหลวง เขียนครั้งกรุงธนบุรี ว่าด้วย เรื่องราวตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พิมพ์ อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ สำนวนรัดกุมแลเก่าไล่เลี่ย กับฉะบับหลวงประเสริฐ ( ๓ )พระราชพงศาวดาร ฉบับจำลอง จ. ศ. ๑๑๔๕ (ตรงกับ พ. ศ. ๒๓๒๖ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ ) มี ๒ เล่ม เป็นฉบับปลีก ว่าด้วยเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเล่มหนึ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเล่มหนึ่ง เข้าใจว่ายังไม่มี การชำระแก้ไขต่อเติมในคราวนั้น เพราะบางแห่งบอกไว้ชัดว่า ต้นฉบับขาดที่ตรงนั้นเท่านั้น แล้วปล่อยให้ขาดอยู่ตามฉบับเดิม เมื่อนำสอบกับฉะบับพันจันทนุมาศ ปรากฏว่าฉะบับพันจันทนุมาศแต่งเติมที่ขาดนั้นแล้ว ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๔๕ นี้ ถึงจะมี

ค ไม่ครบบริบูรณ์ ก็เป็นหนังสือที่ดี ในทางรักษารูปสำนวนเก่า แต่ยัง ไม่มีโอกาสพิมพ์ออกให้แพร่หลาย ( ๔ ) พระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า ฉบับหมอบรัดเล เริ่มความตั้งแต่แรกสร้างกรุงเทพ ทราวดีศรีอยุธยา ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร สุดความลงเพียง จ.ศ ๑๑๕๕ (พ.ศ. ๒๓๓๕ ) อันเป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลที่ ๑ ไม่ มีบานแผนกบอกว่าชำระหรือเรียบเรียงเมื่อไร เป็นแต่บอกไว้ที่ปก ในเล่มต้นว่า " พระศรีสุนทรโวหารได้ช่วยชำระดูสอบบ้าง เห็นว่า ถูกต้องอยู่แล้ว " จึงเป็นอันรู้ได้ว่า พงศาวดารฉะบับนี้ได้มีการชำระ กันมาแล้วอย่างน้อยก็ครั้งเมื่อรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่หมอบรัดเลจะได้ นำมาลงพิมพ์ ( ๕ ) พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เริ่มความ ตั้งแต่แรกสถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตน โกสินทร สุดความลง จ. ศ. ๑๑๕๒ (พ.ศ. ๒๓๓๓ ) ได้ความ ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง มีพระราชทานไปให้เซอร์ยอนเบาริง ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชำระพระราชพงศาวดารร่วมกับกรมหลวงวาศาราชสนิท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นต้นมา ( ดูพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔ รวมครั้งที่ ๔ หน้า ๑๖ หรือประชุมพงศาวดารที่ ๖๒ หน้า ๒๓๗ ) เข้าใจว่าการชำระ ครั้งนั้น คงจะได้ทรงกระทำมาถึงปีสุดรัชกาลรัชกาลของพระองค์ ซึ่ง

ฆ สำเร็จเป็นฉบับพระราชหัตถเลขา พิมพ์เมื่อ พ. ศ. ๒๔๔๕ นั้นแล้ว ที่จะเข้าใจดังนี้ ก็เพราะมีคำว่า ภูษามาลา เป็นที่สังเกตอยู่แห่งหนึ่ง แต่ก่อนมาเรียกคำนั้นว่า มาลาภูษา ครั้นเมื่อ พ. ศ. ๒๔๑๑ ปีสุดท้ายของรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในหมายรับสั่งต้นปีว่า มีพระบรมราชโองการห้ามมิให้เรียก มาลาภูษา ให้เปลี่ยนเรียกเป็น ภูษามาลา พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาก็ใช้คำว่า ภูษามาลา จึงสันนิษฐานว่า คงจะทรงชำระมาถึงปีสุดรัชกาลของพระองค์ แต่ เสียดายที่ไม่มีบานแผนกบอกไว้ ชะรอยว่าการทรงชำระจะยังไม่สมบูรณ์ตามพระราชประสงค์ก็อาจเป็นได้ ( ๖ ) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ ( จาด ) ข้อความโดยมากยุติกับกับฉบับหมอบรัดเลพิมพ์ เว้นแต่เรื่องในรัชกาลสมเด็จพระนารายน์ ตอนปลายติดต่อมา มีแปลกออกไปหลายแห่ง พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘ ( ๗ ) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) มีจำนวนสมุดไทยตามลำดับเป็น ๒๒ เล่ม ขาดในระหว่างบ้างบางเล่มเริ่มต้นแต่แรกสถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ต่อมาจนสุด รัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พอเริ่มความตอนต้นกรุงรัตน โกสินทรก็หมดฉบับ แต่สังเกตได้ว่า ยังไม่สุดเรื่อง ที่พิมพ์ใน เล่มนี้เพียงตอนกรุงศรีอยุธยา ส่วนตอนกรุงธนบุรี หวังว่าจะได้พิมพ์ ในโอกาสต่อไป


ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ อายุ ๓๗ ปี


ง พระราชพงศาวดารฉบับนี้ มีบานแผนกบอกไว้ว่า " ศุภมัสดุศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะสัปตศก สมเด็จพระบรมธรรมิกมหาราชาธิราชา พระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลราช ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร " ดังนี้ จุลศักราช ๑๑๕๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๘ อันเป็นปีที่รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ชำระพระราชพงศาวดารนับเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร ยังมีข้อความตอนท้ายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ ( หน้า ๓๗๘ ) กล่าวเป็นบานแผนกเพิ่มเติมไว้อีกว่า " เพียงนี้เรื่องพระเพทราชากับพระเจ้าเสือทำไว้แต่ก่อน บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัย กระทำเรื่องพระนารายน์เป็นเจ้ากับพระเพทราชาพระเจ้าเสือ พระบรมโกศ พระเจ้าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทำศักราช ภัดกันไป" ข้อความตรงนี้น่าจะหมายความว่า เรื่องที่ชำระเรียบเรียงไว้แต่ก่อน ฉะเพาะตอนกรุงศรีอยุธยาสุดลงเพียงสิ้นรัชกาลสมเด็จ พระเจ้าเสือ แล้วมีพระบรมราชโองการให้ท่านเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ร้อยกรองเพิ่มเติมขึ้ นอีก แต่มิได้เอาข้อความปรับปรุงเข้ากับที่แต่ง ไว้ก่อนนั้น คงให้แยกอยู่ต่างหาก การทำเช่นนี้ ให้ความรู้ ในทางตำนานการชำระเรียบเรียงพระราชพงศาวดารเป็นอย่างดี จะ ได้ทราบถ่องแท้ว่า เรื่องแต่ก่อนมีอยู่เพียงไหน แต่งเติมต่อมา อีกเท่าไร มิฉะนั้นจะหาทางสันนิษฐานให้ทราบใกล้ความจริงได้ยาก


จ หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ มีข้อความ แตกต่างจากฉบับหมอบรัดเลแลฉบับพระราชหัตถเลขาหลายแห่ง แม้เพียงเท่าที่พิมพ์ตอนกรุงศรีอยุธยาออกมาให้แพร่หลาย ก็เป็นประโยชน์มากในทางสอบสวนค้นคว้าประวัติศาสตร์สยาม ซึ่งผู้ได้ รับคงยินดีอนุโมทนาร่วมกัน" ในการพิมพ์ครั้งนี้มีเวลาจำกัด เพราะกระชั้นงานมาก เพียง แต่คัดถ่ายจากต้นฉบับสมุดไทย บางฉบับต้องเสียเวลาอ่านทบทวนด้วยเหตุว่าตัวหนังสือลบเลื่อนอยู่มากแห่ง ฉบับหลวงที่อาศัยสอบทานก็มีไม่บริบูรณ์ จึงน่าจะมีการขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง แต่กระนั้น ก็ได้พยายามที่จะให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีที่สุด ได้สอบเรื่องที่ตรงกับฉบับหลวงประเสริฐ แล้วจดศักราชเทียบไว้เห็นที่ต่างกันเป็นด้วย กรมศิลปากรขออนุโมทนากุศลธรรมิกพลีอันอุดม ที่เจ้าภาพสร้างสมบำเพ็ญเพื่ออุทิศมนุญญานิสงส์ อันพึ่งสำเร็จโดยฐานะ สมควรแก่คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ ( ลมุน อมาตยกุล ) เพิ่มพูน ความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นในสัปรายภพเบื้องหน้าต่อไป.

กรมศิลปากร วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ. ศ. ๒๔๗๙



ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุ ๔๔


ประวัติสังเขปคุณหญิงปฏิภาณพิเศษ

คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๓ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๒๘ เป็นบุตรีหลวงฤทธิ์อัคเณย์ ( เอม เอมทัศ ) และ ทัศ เอมทัศ เป็นมารดา บ้านเกิดอยู่ปากคลองดาวคนอง ครั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มาอยู่กินกับพระยาปฏิภานพิเศษ ที่ตำบลไปรษณีย์ หน้าวัดราชบุรณะ จังหวัดพระนคร เกิดบุตรธิดา ด้วยกัน เป็นชาย ๗ คน หญิง ๔ คน ยังคงมีชีวิตอยู่ทั้ง ๑๑ คน คือ ๑ . นายเอก อมาตยกุล ๒. นางทวี อมาตยกุล ๓. นายดาบตรี อมาตยกุล ๔. นายจัตวา อมาตยกุล ๕. นายเบญจะ อมาตยกุล ๖. นางฉัฏฐ์ อมาตยกุล ๗. นายสัปดาห์ อมาตยกุล ๘. นายอัฏฐ์ อมาตยกุล ๙. นายนพ อมาตยกุล ๑๐. นางสาวทัศรี อมาตยกุล ๑๑. นางสาวภาณี อมาตยกุล


(๒) คุณหญิงปฏิภานพิเศษได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคม ครั้นถึงวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เวลา ๑ นาฬิกา ๕ นาฑี ได้ถึงแก่กรรม ณที่บ้านตำบลไปรษณีย์ หน้าวัดราชบุรณะ จังหวัดพระนคร คำณวนอายุ ได้ ๕๐ ปีกับ ๗ เดือน

พระยาปฏิภาณพิเศษ วันที่ ๑ มีนาคม พ. ศ. ๒๔๗๙








ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุ ๔๘ ปี


สารบาญ บานแผนก... ... ... ... ... .... ..... .... .... .... หน้า ๑ แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา... ... .... ..... .... .... .... " ๑ ( ๑ ) รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( อู่ทอง ) เมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยา ๑๖ เมือง.... ..... .... .... ... " ๒ โปรดให้พระราเมศวรยกทัพไปปราบขอม ..... .... .... ... " ๒ โปรดให้พระบรมราชายกทัพไปช่วยพระราเมศวร .... .... " ๒ สถาปนาวัดพุทไธศวรรย์... ... .... ..... .... .... " ๓ เกิดม้าและไก่ประหลาด ... ... .... ..... .... .... ... ... " ๓ สถาปนาวัดป่าแก้ว... ... .... ..... .... .... ... ... ... " ๓ ( ๒ ) รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ครั้งที่ ๑ พระบรมราชาชิงราชสมบัติ... ... .... ..... .... .... ... ... " ๓ ( ๓ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จไปเอาเมืองฝ่ายเหนือ... ... .... ..... .... .... ... . " ๔ เสด็จไปเอาเมืองนครพังคาและเมืองแซรงเซรา... ... ... ... " ๔ เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งที่ ๑... ... .... ..... .... ...." ๔ แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ... ... .... ..... .... .... " ๔ เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก ... ... .... ..... .... .... ... . " ๔ เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งที่ ๒.... ..... .... .... " ๔


( ๔ ) เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งที่ ๓... ... ... .... .... ..." ๕ เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่... ... ... ... ... .... .... ... ... . " ๕ ( ๔ ) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทองลัน สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน... ... ... ... ... .... .... " ๕ ( ๒ ) รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ครั้งที่ ๒ เสด็จเลียบพลขึ้นไปเชียงใหม่... ... ... ... ... .... ... ... ..." ๕ ได้เมืองเชียงใหม่ ... ... ... ... ... .... .... ... ... . ... ...." ๖ สถาปนาวัดมหาธาตุ... ... ... ... ... .... .... ... ... . ... " ๗ ทำพระราชพิธีประเวศพระนคร ครั้งที่ ๑... ... ... ... ... " ๗ พระยาระแวกลอบยกกองเข้ามากวาดเอาเมืองชลบุรี แลจันทบุรี ... ... ... ... ... .... .... ... ... . ... ... ... " ๗ เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพระยาละแวก.... ... ... . ... ... ..." ๗ โปรดให้พระยาชัยณรงค์ครั้งเมืองละแวก.... ... ... . ... ... " ๘ ทำพิธีประเวศพระนคร ครั้งที่ ๒ .... ... ... . ... ... ... ..." ๘ ( ๕ ) รัชกาลสมเด็จพระยาราม เจ้ามหาเสนาบดีคิดกบฎ ... ... ... ... ... .... .... ... ... . " ๘( ๖ ) รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราช โปรดให้สมเด็จพระยารามไปกินเมืองปทาคูจาม... ... ... ... ..." ๙ เสด็จยกทัพหลวงไปเมืองพิษณุโลก... ... ... ... ... .... .... " ๙ เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาแย่งราชสมบัติกัน ... ... .... .... " ๙

(๕ ) ( ๗ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ สถาปนาวัดราชบุรณะ... .... ..... .... .... ..... .... ..... หน้า ๑๐ ก่อพระเจดีย์ ๒ องค์ไว้ที่เชิงสะพานป่าถ่าน.... ..... .... ..... " ๑๐ เสด็จไปเอาเมืองนครหลวง ... .... ..... .... .... ..... .... " ๑๐ โปรดให้นครพระอินท์ราชโอรสครองเมืองนครหลวง ..... .... " ๑๐สร้างวัดมเหยงคณ์... .... ..... .... .... ..... .... .... .... " ๑๐ พระราเมศวรราชโอรสเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ..... .... .... ...." ๑๐ เพลิงไหม้พระราชมนเทียรสถาน..... .... .... ..... .... .... " ๑๑ เพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข.... ..... .... .... ..... .... .... ... " ๑๑ เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๑.... .... ..... .... .... ..." ๑๑ เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒.... .... ..... .... .... " ๑๑(๘ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยกวังทำเป็นวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์.... .... ..... .... .... ... ... " ๑๑ สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท.... .... ..... .... .... ..." ๑๑ พระราชทานชื่อขุนนางตามตำแหน่งนา.... .... ..... .... .... " ๑๑ สถาปนาวัดพระราม.... .... ..... .... .... ... .... .... ..... " ๑๒ แต่งทัพไปเอาเมืองมะละกา.... .... ..... .... .... ... ... .... " ๑๒ แต่งทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน.... .... ..... .... .... ... ... ... " ๑๒ ข้าวแพง.... .... ..... .... .... ....... .... ..... .... .... ... " ๑๒ หล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๕๐ พระชาติ.... .... ..... .... .... " ๑๒ พระยาเชลียงคิดกบฎ.... .... ..... .... .... ... ... ... ... " ๑๓ (๖) พระอินทราชาทรงชนช้างกับหมื่นนคร.... .... ..... .... .... " ๑๓ สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี.... .... ..... .... .... ....... .... " ๑๓สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระผนวช.... .... ..... .... ... " ๑๓ ท้าวมหาบุญชิงเมืองเชียงใหม่.... .... ..... .... .... ... ... .. " ๑๔ เสด็จไปเมืองเชลียง .... .... ..... .... .... ... .... .... ..... " ๑๔ แรกตั้งนครไทย .... .... ..... .... .... ... .... .... ..... .... ..." ๑๔ พระราชทานให้อภิเศกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาล้านช้าง... ... " ๑๔ พระบรมราชาราชโอรสทรงพระผนวช .... .... ..... .... .... ... " ๑๕ ประดิษสถานพระราชโอรสในที่พระมหาอุปราช.... .... ..... .... " ๑๕ มหาราชท้าวลูก พิราลัย .... .... ..... .... .... ... ... ... ..." ๑๕ สมเด็จพระมหาอุปราชไปตีเมืองทะวาย .... .... ..... .... .... " ๑๕ เกิด โค,ไก่, ข้าวสาร ประหลาด .... .... ..... .... .... ... ... " ๑๕ แรกกรอกำแพงเมืองพิชัย.... .... ..... .... .... ... ... ... ... " ๑๕ ( ๙ ) รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระราชพิธีการเบญจเพส .... .... ..... .... .... ... .... .... " ๑๖ พระราชพิธีประถมกรรม .... .... ..... .... .... ...... ... " ๑๖ แรกสร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์.... .... ..... .... .... " ๑๖ แรกหล่อพระศรีสรรเพ็ชญ์.... .... ..... .... .... ... ... ... ..." ๑๖ แรกทำตำราพิชัยสงคราม .... .... ..... .... .... ... ... ... " ๑๗


( ๗ ) แรกทำสารบัญชีพระราชพิธีทุกเมือง... ... .... ..... .... หน้า ๑๗ ชำระคลองศรีษะจรเข้และคลองทับนาง... ... ... ... ... " ๑๗ ขุดได้รูปเทพารักษ์ชื่อพระยาแสนตาแลชื่อบาทสังขก... ...


" ๑๗ คนทอดบัตรสนเท่ห์ ขุนนางถูกฆ่ามาก... ... ... ... ... ." ๑๗ ข้าวแพง ... ... ... ... .... ... .... .... .... .... ... ... ... ." ๑๗ประดิษฐานพระราชโอรสในที่พระมหาอุปราช... ... ... ... " ๑๘ พระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ... ... ... ... .... ... " ๑๘ ( ๑๐ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ( ๑๑ ) รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร ( ๑๒ ) รัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช เสด็จไปเชียงไตรเชียงตราน... ... ... ... .... ... .... .... " ๑๘ เสด็จยกทัพไปปราบเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๑.... ... .... ..." ๑๙ เพลิงไหม้ในพระนคร.... ... .... .... .... ... .... .... ... .. " ๑๙ เสด็จยกทัพหลวงไปปราบเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒.... ... " ๑๙ พระเทียรราชาทรงผนวช .... ... .... .... .... ... .... .... " ๒๐ ( ๑๓ ) รัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า ( ๑๔ ) รัชกาลขุนวรวงศาธิราช ขุนพิเรนทรเทพกับพวกคิดการกบฎ.... ... .... .... .... ... " ๒๓


( ๘ ) ( ๑๕ ) รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ครั้งที่ ๑ ตั้งขุนพิเรนทรเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ครองเมืองพระพิษณุโลก .... ... .... .... .... ... หน้า ๒๙ ตั้งขุนอินทรเทพเป็นเจ้าพระยาศรียาธรรมโศกราช.... ... .... " ๒๙ ตั้งหลวงศรียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดี .... ... .... .... ..." ๓๐ ตั้งหมื่นราชเสน่หาเป็นเจ้าพระยามหาเทพ .... ... .... .... " ๓๐ ตั้งหมื่นราชเสน่หานอกราชการเป็นเจ้าพระยาภักดีชิต ... .... " ๓๐ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมา เหยียบชานพระนคร.... ... .... .... .... ... .... .... ... .. " ๓๑ พระยาละแวกยกทัพมากวาดครัวเมืองปราจินบุรี .... ... .... " ๓๒ ซ่อมแซมกำแพงพระนคร.... ... .... .... .... ... .... .... " ๓๒ สถาปนาวัดวังชัย.... ... .... .... .... ... .... .... .... ... ..." ๓๒ พระราชพิธีประถมกรรม.... ... .... .... .... ... .... .... ... " ๓๓ เสด็จยกทัพหลวงไปปราบเขมร.... ... .... .... .... ... .... " ๓๓ พระยาละแวกถวายนักพระสุโทนักพระสุทันเป็น พระราชบุตรบุญธรรม.... ... .... .... .... ... .... ..." ๓๔ นักพระสุทันครองเมืองสวรรคโลก.... ... .... .... .... ... .... " ๓๔ แปลงเรือแซ่เป็นเรือชัยแลเรือศรีษะสัตว์ต่าง ๆ.... ... .... .... " ๓๕ พระราชพิธีมัธยม.... ... .... .... .... ... .... .... .... ... " ๓๕เมืองละแวกเสียแก่ญวน.... ... .... .... .... ... .... .... ... " ๓๕ ( ๙ ) พระองค์สวรรคโลกยกทัพไปกู้เมืองละแวก .... ... .... .... " ๓๖ เสียพระองค์สวรรคโลกกับคอช้าง.... ... .... .... .... ... ... " ๓๖ พระราชพิธีอาจริยาภิเษก .... ... .... .... .... ... .... .... " ๓๖พระราชพิธีอินทราภิเษก.... ... .... .... .... ... .... .... " ๓๖ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาติดพระนคร " ๓๗ มหาดาวัดภูเขาทอง ศึกออกรับขุดคูตั้งค่ายกันทัพเรือ... ... " ๓๘ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยขาดคอช้าง.... ... .... .... .... ... .... " ๔๒ พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพไปทางเมืองเหนือ.... ... .... .... ... " ๔๙ สมเด็จพระมหาธรรมราชาหลีกพ้นทางทัพพะม่า.... ... .... ...." ๕๐ พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชตัดท้ายพลทัพ พระเจ้าหงสาวดี .... ... .... .... .... ... .... .... ..." ๕๑ กองทัพพระเจ้าหงสาวดีจับได้พระราเมศวร แลพระมหินทราธิราช.... ... .... .... .... ... .... .... " ๕๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้ข้าหลวงขึ้นไปขอพระราเมศวร แลพระมหินทราธิราช.... ... .... .... .... ... .... .... " ๕๒ พระเจ้าหงสาวดีขอช้างพลาย ๒ ช้าง.... ... .... .... .... ... " ๕๓ สถาปนาวัดศพสวรรค์ .... ... .... .... .... ... .... .... ... .. " ๕๔ ตั้งบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรี .... ... .... .... .... ... .... " ๕๕ ตั้งบ้านตลาดขวัญเป็นเมืองนนทบุรี .... ... .... .... .... ... " ๕๕ ตั้งเมืองนครชัยศรี .... ... .... .... .... ... .... .... .... ... " ๕๕


(๑๐ ) รื้อกำแพงเมืองลพบุรี, นครนายก, สุพรรณบุรี .... ... .... .... " ๕๕ พระศรีสินกบฎ.... ... .... .... .... ... .... .... .... ... ...." ๕๕ ฆ่าขุนนางที่เข้ากับพระศรีสินเป็นอันมาก.... ... .... .... ... " ๕๗ มีช้างเผือก ๗ ช้าง.... ... .... .... .... ... .... .... ... .... ." ๕๗ พระเจ้าหงสาวดีขอช้างเผือก ๒ ช้าง.... ... .... .... .... ... " ๕๘ กรุงศรีอยุธยาไม่ให้ช้างเผือก.... ... .... .... .... ... .... .... " ๕๙ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๓ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมา เมืองพระพิษณุโลก.... ... .... .... .... ... .... .... " ๖๑ สมเด็จพระมหาธรรมราชาออกสวามิภักดิ์พระเจ้าหงสาวดี... " ๖๑ พระยาพิชัยรณฤทธิ พระยาวิชิตรณรงค์ ยกทัพไปช่วย เมืองเหนือไม่ทัน.... ... .... .... .... ... .... .... " ๖๕ พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพเรือลงเรือลงมาบรรจบทัพพะม่า ที่เมืองนครสวรรค์ .... ... .... .... .... ... .... .... " ๖๖ ทัพหงสาวดีติดพระนคร.... ... .... .... .... ... .... .... ... " ๖๗ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมออกเป็นไมตรี .... ... .... .... " ๖๙ ทัพหงสาวดีกลับทางเหนือ.... ... .... .... .... ... .... .... " ๗๑ พระยาตานีกบฎ.... ... .... .... .... ... .... .... .... ... .... " ๗๑ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แต่งทูตมาขอ พระเทพกษัตรีย์ราชธิดา .... ... .... .... .... ... .... " ๗๑ พระเจ้าหงสาวดีแต่งให้กองทหารมาสะกัด ชิงพระเทพกษัตรีย์.... ... .... .... .... ... .... .... " ๗๕

( ๑๑ ) ( ๑๖ ) รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งที่ ๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิประทับวังหลัง .... ... .... .... ... " ๗๕ บุรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี.... ... .... .... ... " ๗๖ เมืองเหนือทั้งปวงเป็นสิทธิแก่พระมหาธรรมราชา.... ... .... " ๗๖ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมารบเมืองพระพิษณุโลก... " ๗๗ ทัพกรุงศรีอยุธยายกขึ้นไปช่วยเมืองพระพิษณุโลก.... ... .... " ๗๗ พระมหาธรรมราชาระแวงทัพกรุงศรีอยุธยา .... ... .... .... ... " ๗๗ พระมหาธรรมราชาให้ปล่อยแพไฟ เผากองทัพเรือ กรุงศรีอยุธยา .... ... .... .... .... ... .... .... ... " ๗๘ กรุงหงสาวดีให้พระยาภุกามแลพระยาเสือหาญ ยกกองทัพมาช่วยเมืองพระพิษณุโลก.... ... .... .... " ๗๙ทัพกรุงศรีอยุธยาถอยกลับคืน.... ... .... .... .... ... .... ..." ๗๙ ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตล่าคืนไป .... ... .... .... .... ... .... " ๗๙ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระผนวช.... ... .... .... .... ..." ๘๐ พระมหาธรรมราชา ขอให้พระยาราม ไปเป็นเจ้าเมืองพิชัย .... ... .... .... .... ... .... ..." ๘๑



( ๑๒ ) ( ๑๕ ) รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ครั้งที่ ๒ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาพระผนวช .... ... .... .... .... ... " ๘๒ พระมหาธรรมราชาพาพระนเศร์ไปกรุงหงสาวดี .... ... .... ...." ๘๒ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จขึ้นไปรับพระวิสุทธิกษัตรีย์ กับพระเอกาทศรฐลงมาณกรุง.... ... .... .... .... ... " ๘๓ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้พระยารามแต่ง การป้องกันพระนคร.... ... .... .... .... ... .... .... " ๘๔ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๔ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมา ติดพระนคร.... ... .... .... .... ... .... .... .... ... " ๘๕ พระมหาธรรมราชาเข้าสมทบทัพพระเจ้าหงสาวดี.... ... .... " ๘๖ กรุงศรีอยุธยาขอให้กรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาช่วย... ... ... " ๘๙ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคต.... ... .... .... .... ... .... " ๙๐ ( ๑๖ ) รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งที่ ๒ พระมหาธรรมราชาลวงให้ส่งพระยารามออกไป.... ... .... .... " ๙๖ พระธรรมมาเป็นใส้ศึกอยู่ในกรุง ฯ .... ... .... .... ... ... ... " ๙๙ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาช่วย กรุงศรีอยุธยา.... ... .... .... ... ... ... ... ... ... " ๑๐๑


( ๑๓ ) พระมหาอุปราชราชายกกองไปซุ่มโจมตีทัพ กรุงศรีสัตนาคนหุตแตก... ... ... ... ... .... หน้า ๑๐๒ พระมหาธรรมราชาให้พระยาจักรีไปเป็นใส้ศึกในกรุง... .. " ๑๐๓ พระยาจักรีทำการทรยศต่อชาติไทย... ... ... ... ... ...." ๑๐๔ เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสาวดี... ... ... ... ... " ๑๐๕ พระเจ้าหงสาวดีราชาภิเษกพระมหาธรรมราชา... ... ... " ๑๐๗ ( ๑๗ ) รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชนามาภิไชย... ... ... ... ... ....... ... ... ... " ๑๐๗ พระเจ้าหงสาวดียกทัพกลับไปทางเมืองกำแพงเพ็ชร... ... ..." ๑๐๘ สมเด็จพระมหินทราธิราชสวรรคต... ... ... ... ... .... ..." ๑๐๘ ศึกเขมรครั้งที่ ๑ พระยาละแวกยกกองมาปล้นพระนคร... ." ๑๐๙ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชป้องกันพระนคร... ... ... " ๑๑๑ พระยาละแวกปล้นกรุงไม่สำเร็จ ยกกองกลับคืนไป... ... " ๑๑๑ พระนเรศวรเสด็จขึ้นไปครองเมืองพระพิษณุโลก... ... ... " ๑๑๒ พระเจ้าหงสาวดียกทัพไปรบกรุงศรีสัตนาคนหุต เกณฑ์ให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไปใน กองทัพด้วย... ... ... ... ... ....... ... ... ..." ๑๑๒ ศึกเขมรครั้งที่ ๒ พระยาละแวกยกกองมาปล้นพระนคร... " ๑๑๓ พระยาละแวกปล้นกรุงไม่สำเร็จ ยกกองกลับคืน... ... ... " ๑๑๔


( ๑๔ ) ศึกเขมรครั้งที่ ๓ พระยาละแวกให้กองเรือมาปล้น เมืองเพ็ชรบุรี... ... ... ... ... .... ... ... หน้า ๑๑๔ พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรมาสวามิภักดิ... ... ... ... " ๑๑๕ พระยาจีนจันตุคิดลอบหนีกลับออกไป... ... ... ... ... " ๑๑๕ พระเจ้าหงสาวดีสวรรคต มังเอิงราชบุตร ได้เสวยราชสืบสันตติวงค์... ... ... ... ... .... ... ... " ๑๑๖ เมืองรุมเมืองคังแข็งเมืองต่อกรุงหงสาวดี... ... ... ... " ๑๑๖ พระนเรศวรยกทัพไปช่วยปราบเมืองรุมเมืองคัง... ... ... " ๑๑๖ พระนเรศวรจับเจ้าเมืองรุมเมืองคังได้... ... ... ... ... " ๑๑๘ พระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา... ... ... ... ... ..." ๑๑๙ ขยายกำแพงพระนคร แต่งป้อม แลขุดคูขื่อหน้า... ... ..." ๑๒๐ เกิดกบฎญาณพิเชียร... ... ... ... ... .... ... ... ... " ๑๒๐ ศึกเขมรครั้งที่ ๔ พระยาละแวกยกกองเรือมาปล้น เมืองเพ็ชรบุรี... ... ... ... ... .... ... ... ... " ๑๒๐ ศึกเขมรครั้งที่ ๕ พระยาละแวกให้กองทหารลาด เข้ามาในภาคตะวันออก... ... ... ... ... .... " ๑๒๒ พระนเรศวรแต่งทัพขับไล่กองทหารเขมรแตกกลับไป... ... " ๑๒๓ พระเจ้าหงสาวดีให้นันทสูกับราชสงครามมอพยพ หัวเมืองฝ่ายเหนือ เพื่อตัดกำลังกรุงศรีอยุธยา... ... " ๑๒๓ พระเจ้าหงสาวดีอ้างว่าเมืองอังวะเป็นกบฎ ขอให้ พระนเรศวรยกทัพไปช่วย... ... ...... ... ... .... " ๑๒๔

(๑๕ ) พระนเรศวรยกทัพไปช่วยกรุงหงสาวดี... ... ...... ... หน้า ๑๒๔ ไทยใหญ่อพยพหนีพะม่าไปเมืองพระพิษณุโลก... ... ... .." ๑๒๕ พระนเศวรเสด็จเมืองแครง... ... ... ... .... .... .... ... ." ๑๒๖ พระมหหาเถรคันฉองพาพระยาเกียรติพระยาพระราม มาเฝ้าพระนเรศวรแล้สทูลเล่าเปิดเผยราชการลับ ของกรุงหงสาวดี... ... ... ... .... .... .... ... . " ๑๒๖ พระนเรศวรประกาศอิศระภาพของไทย... ... ... ... ... .. " ๑๒๗ พระนเรศวรทรงพระแสงปืนนกสับยิงข้ามแม่น้ำสะโตง ถูกสุระกำมานายกกองพะม่าตาย... ... ... ... ...." ๑๒๙ นันทสูกับราชสงครามเลิกครัวเมืองกำแพงเพ็ชร อพยพไปกรุงหงสาวดี... ... ... ... .... .... .... " ๑๓๑ พระนเรศวรเสด็จยกทัพตามตีนันทสูกับราชสงคราม... ..... " ๑๓๑ พระยาชัยบูรณ์ชนช้างกับนันทสู ขุนพศรีชนช้างกับ ราชสงคราม... ... ... ... .... .... .... ... ... ... " ๑๓๒ นันทสูกับราชสงครามแตกหนีไป... ... ... ... .... .... .... " ๑๓๒ พระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกแข็งเมือง.... ..... .... ...." ๑๓๒ พระนเรศวรเสด็จยกทัพจากเชียงทองไปเมืองสุโขทัย เพื่อปราบพระยาพิชัยแลพระยาสวรรคโลก... ... ... ... ...." ๑๓๓ ประหารชีวิตพระยาพิชัยแลพระยาสวรรคโลก... ... ... ... " ๑๓๕ พระนเรศวรเสด็จกลับเมืองพระพิษณุโลก... ... ... ... .... " ๑๓๕ พระเจ้าหงสาวดีเตรียมทัพ... ... ... ... .... .... .... ... . " ๑๓๖

(๑๖) พระยาละแวกแต่งทูตมาขอเจริญพระราชไมตรี... ... ... หน้า ๑๓๖ เทครัวอพยพชาวเมืองเหนือลงมาณกรุง... ... ... ... .... " ๑๓๘ พระนเรศวรเสด็จจากเมืองพระพิษณุโลกลงมาประทับ ณ กรุง ฯ... ... ... ... .... .... .... ... ... ... .." ๑๓๘ ศึกหุงสาวดีครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาทางเมืองกำแพงเพ็ชร ให้พระยาพะสิม ยกทัพมาทางเมืองกาญจนบุรี... ... ... ... .... ..." ๑๔๐ ทัพเรือพระยาจักรีไปเมืองสุพรรณบุรี ตีทัพ พระยาพะสิมถอยไปตั้งมั่น ณ เขาพระยาแมน.. ... " ๑๔๐ พระเรศวรแลพระเอกาทศรฐเสด็จยกทัพไปถึง... ... ... ... ." ๑๔๑ สามขนอน โปรดให้พระยาสุโขทัยเป็นนายกอง ยกไปตีทัพพระยาพะสิมแตกหนีกลับไปสิ้น... ... ... " ๑๔๐ พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมายังนครสวรรค์... ... ... ... ... ... " ๑๔๑ พระเทพมนูตีทัพหน้าเชียงใหม่ถอย ทัพเชียงใหม่ เลิกกลับไป... ... ... ... ... ... ... ... ... .... ... " ๑๔๒ แต่งข้าหลวงไปกำหนดแดนกับเขมร... ... ... ... ... ... ... " ๑๔๓ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๒ พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาทางนครสวรรค์... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๔๔ พระยาละแวกให้พระศรีสุพรรณมาธิราชยกทัพมาช่วย.. ... ..." ๑๔๕ พระเจ้าเชียงใหม่เคลื่อนทัพลงมาตั้งมั่นที่ตำบลสระเกษ.. ... .." ๑๔๖


(๑๗ ) พระเจ้าหงสาวดีให้พระมหาอุปรชาคุมพลมาตั้งทำนา เมืองกำแพงเพ็ชร... ... ... ... ... ... ... ... ... หน้า ๑๔๖ พระนเรศวรกับพระเอกาทศรฐตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่ แตกกลับไป... ... ... ... ... ... ... ... ... .... .. " ๑๔๗ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๓ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาทาง เชียงทอง ตั้งมั่นที่ขนอนปากคู ... ... ... ... ... ... " ๑๕๖ พระนเรศวรกับพระเอกาทศรฐออกตีทัพหงสาวดี ... ... ... ..." ๑๕๘ พระเจ้าหงสาวดีถอยทัพไปตั้งปากโมกใหญ่... ... ... ... ... ." ๑๖๐พระนเรศวรกับพระเอกาทศรฐตามไปตีทัพ หงสาวดีที่ปากโมกใหญ่ ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๖๐ พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพกลับไป... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๖๑ ศึกเขมรครั้งที่ ๖ พระเจ้าละแวกให้กองทัพจู่มาตี หัวเมืองตะวันออก ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๖๑ พระยาศรีไสยณรงค์ยกไปตีทัพเขมรแตกยับเยิน... ... ... ... " ๑๖๒ ศึกหงสาวดีครั้งที่ ๔ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาทาง กำแพงเพ็ชร ตั้งมั่นที่บางปะหัน... ... ... ... ... ... " ๑๖๒ พระเรศวรปีนค่ายหงสาวดี ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๖๔ พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพกลับไป ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๖๕ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สวรรคต... ... ... ... ... ... " ๑๖๕


(๑๘ ) ( ๑๘ ) รัชกาลสมเด็พระนเรศวรมหาราช ศึกพระเจ้าหงสาวดีครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดีให้ พระมหาอุปราชยกทัพมาทางพระเจดีย์สามองค์... .หน้า ๑๖๖ ทัพไทยกออกไปขัดรับหน้าศึกที่ทุ่งหนองสาหร่าย ... ... ... .." ๑๗๐สมเด็จพระนเศวรมหาราชทรงชนช้างชะนะ พระมหาอุปราชา... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๗๘ ทัพหงสาวดีแตกยับเยิน ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...." ๑๘๐ โปรดให้ก่อพระเจดียฐานสวมศพพระมหาอุปราชา ที่ตำบลตะพังตรุ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๘๑ ปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่โดยเสด็จไม่ทัน ในงานพระราชสงคราม ... ... ... ... ... ... ... ... ... .... " ๑๘๒ สมเด็จพระพนรัตนป่าแก้วขอพระราชทานโทษ นายทัพนายกอง ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๑๘๒ โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี ให้พระยาพระคลังไปตีเมืองทะวาย ... ... ... ... ... " ๑๘๕ กลับตั้งหัวเมืองฝ่ายเหนือ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๑๘๕ พระเจ้าเชียงใหม่แต่งทูตมาขอสวามิภักดิ์ ... ... ... ... ... ..." ๑๘๗ พระเจ้าเชียงใหม่ขอกำลังขึ้นไปช่วยป้องกัน ทัพล้านช้าง ... ... ... ... ... ... ... ... ... .... " ๑๘๙ โปรดให้พระยาราชฤทธานนท์ยกทัพขึ้นไป ช่วยเชียงใหม่ ... ... ... ... ... ... ... ... ... .... " ๑๘๙ (๑๙ ) พระยาจักรีตีเมืองตะนาวศรีแตก... ... ... ... ... ... ... หน้า ๑๙๐ พระยาพระคลังตีเมืองทะวายแตก ... ... ... ... ... ... ... " ๑๙๑ โปรดให้พระยาศรีไสยณรงค์ครั้งเมืองตะนาวศรี... ... ... ..." ๑๙๓ พระยาจักรีให้ก่อพระเจดีย์ที่พรมแดนระหว่างไทย กับทะวายต่อกัน... ... ... ... ... ... ... ... ... .. " ๑๙๔ เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพระเจ้าละแวก... ... ... ... ... " ๑๙๕ สำเร็จโทษพระยาละแวกผู้ต้นเหตุทำให้เขมร และไทยเดือดร้อน... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๑๖ ทรงชุบเลี้ยงชาวเขมร... ... ... ... ... ... ... ... ... .... " ๒๑๘ พระยาศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตะนาวศรีแข็งเมือง... ... ... " ๒๑๘ โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จไปปราบ พระยาศรีไสยณรงค์... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๑๙ ประหารชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๒๒ โปรดให้พระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี เมืองเมาะสำเลิงสวามิภักดิ์ ... ... ... ... ... ... ..." ๒๒๒ เจ้าฟ้าแสนหวีมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร... ... ... ... ... " ๒๒๓ พระยาละแวก ( ใหม่ ) สวามิภักดิ์ ... ... ... ... ... ... ..." ๒๒๓ โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตั้งมั่นสะสมสะเบียง ที่เมืองเมาะลำเลิง... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๒๗ เมืองเมาะตะมะ, เมืองละเคิ่ง, เมืองขลิก, เมืองบัวเผื่อน, เมืองพะสิม, เมืองตองอู, สวามิภักดิ์ ... ... ... ... " ๒๒๗

( ๒๐ ) พระมหาเถรเสียมเพรียมยุให้พระเจ้าตองอู คิดการใหญ่... ... ... ... ... ... ... ... ... ....หน้า ๒๒๘ พระเจ้าตองอูมีหนังสือขู่เมืองต่าง ๆ ที่สวามิภักดิ์ ต่อไทย ... ... ... ... ... ... ... ... ... .... " ๒๓๒ เมืองต่าง ๆ ที่ขอสวามิภักดิแล้วกลับเป็นปรปักษ์ ต่อไทย... ... ... ... ... ... ... ... ... .... ... ..." ๒๓๒ พระยาพะโรอพยพชาวเมืองเมาะลำเลิงยกหนี ไปอยู่เมืองเมาะตะมะ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๓๓ เสด็จยกทัพหลวงไปเมืองเมาะเลิง... ... ... ... ... ... ... " ๒๓๖ พระเจ้าหงสาวดีประชวร ให้พระเจ้าตองอูยกทัพไป ช่วยป้องกันกรุงหงสาวดี... ... ... ... ... ... ... " ๒๓๘ พระเจ้าตองอูยกทัพไปตั้งอยู่นอกกรุงหงสาวดี... ... ... ..." ๒๔๐ ทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะลำเลิงไปปราบเมือง เมาะตะมะ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๔๒ ทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะตะมะไปปราบ กรุงหงสาวดี... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๔๔ พระเจ้าตองอูเผากรุงหงสาวดีแล้วพาพระเจ้าหงสาวดี หนีไปเมืองตองอู ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๔๔ ทัพหลวงเสด็จจากกรุงหงสาวดีไปเหยียบเมืองตองอู... ... . " ๒๔๕ ขาดสะเบียงและเกิดความไข้ ทัพหลวงถอยจาก เมืองตองอู ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๕๒

( ๒๑ ) โปรดให้สมเด็จ พะเจ้าเอกาทศรฐเสด็จขึ้นไประงับ การวิวาทระหว่างหัวเมืองขึ้นกับพระเจ้าเชียงใหม่... ... .. หน้า ๒๕๒ โปรดให้เจ้าแสนหวีไปครองเมืองแสนหวี... ... ... ... ... " ๒๕๘ เขมรขอพะศรีสุพรรณมาธิราชออกไปครองเมือง... ... ... ..." ๒๖๗ พระยาออนคิดกบฎต่อกรุงกัมพูชา... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๗ เขมรขอกำลังไปช่วยต่อสู้พระยาออน... ... ... ... ... .. ... " ๒๖๗ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา ยกทัพไปช่วยเขมร ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๘ ทัพพระยาออนแตกกระจาย... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๘ สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จประพาสเมืองพระพิษณุโลก... ..." ๒๖๘ เสือร้ายในเมืองพระพิษณุโลก... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๘ สมโภชพระชินราช พระชินศรี ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๖๙ เสด็จประพาสเมืองเพ็ชรบุรี ถึงสามร้อยยอด... ... ... ... ..." ๒๗๐ เตรียมทัพหลวงจะไปปราบอังวะ ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๗๑ เสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงไปทางเชียงใหม่ ... ... ... ... " ๒๗๒ เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธสิหิงค์ ในเมืองเชียงใหม่ ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๓ ทัพหลวงเสด็จไปทางเมืองหางหลวง... ... ... ... ... ... ..." ๒๗๓ สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จไปเมืองฝาง ... ... ... ... ... ..." ๒๗๓ สมเด็จพระนรศวรมหาราชทรงพระประชวรหนัก ... ... ... " ๒๗๓ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคต... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๓

( ๒๒ ) ( ๑๙ ) รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ บรมราชาภิเษกสมเด็จพระเอกาทศรฐ... ... ... ... ... ... หน้า ๒๗๔อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ลงมาณกรุง... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ...." ๒๗๕เมืองไทรบุรีให้ทูตนำเครื่องบรรณาการมาถวาย... ... ... ... " ๒๗๖ พระราชพิธีสงครามาภิเษก... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๗ พระราชพิธีประเวสพระนคร... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๘ ปราบดาภิเษก ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๘ พระบรมนามาภิไชย ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๗๙ สถานาวัดพระวรเชษฐารามมหาวิหาร ... ... ... ... ... ... " ๒๘๐ สร้างพระไตรปิฎกและหอพระสัทธรรม... ... ... ... ... ... " ๒๘๐ ถวายเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเรศวรมหาราช ... ... ... " ๒๘๐ พระยาตองอูแต่งหนังสืออำพรางหัวเมืองขึ้นกรุงหงสาวดี... ..." ๒๘๑ พระเจ้าหงสาวดีถูกวางยาพิาสวรรคต ... ... ... ... ... ... " ๒๘๓ พระยาตองอูแต่งราชทูตมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร... ... " ๒๘๔ พระยาล้านช้างแต่งราชทูตมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร.. ... .." ๒๘๖สถาปนาพระที่นั่งอรรณพ ... ... ... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๘๖ พระราชพิธีอาศวยุช ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๘๗ สถาปนาพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ... ... ... ... ... ... .... " ๒๘๘ พระราชพิธีไสเรือ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๘๙

( ๒๓ ) ตั้งพระราชกำหนกฎหมายพระอัยการ ... ... ... ... ... หน้า ๒๙๑ พระมหาอุปราชเสวยยาพิษทิวงคต... ... ... ... ... ... .. " ๒๙๑ ( ๒๐ ) รัชกาลสมเด็จพระศรีเสาวภาค พระพิมูลธรรม์อนันตปรีชาวัดระฆังเป็นกบฎ... ... ... ... " ๒๙๒ สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน... ... ... ... ... ... ... ..." ๒๙๒ (๒๑ ) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ยี่ปุ่นคุมพวกจะยกเข้าประทุษร้ายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน... " ๒๙๓ พระมหาอำมาตย์คุมพลไร่รบยี่ปุ่นแตกหนีไป แล้ว ได้เลื่อนทีเป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์ ... ... ..." ๒๙๓ ชักพระมงคลบพิตร์จากฝ่ายตะวันออก ไปไว้ฝ่ายตะวันตก.. .." ๒๙๔ เมืองตะนาวศรีเสียแก่พม่า... ... ... ... ... ... ... ... ... ... " ๒๙๔ พรานบุนพบรอยพระพุทธบาท... ... ... ... ... ... .. ... ..." ๒๙๔ โปรดให้สถาปนามณฑปสวมพระพุทธบาท... ... ... ... ... " ๒๙๕ แปลงปัถวิเรือชัยเป็นเรือกิ่ง ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๒๙๕ ทรงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวง... ... ... ... ... ... .. " ๒๙๖ สร้างพระไตรปิฎก... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... " ๒๙๖ ( ๒๒ ) รัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระพันปีศรีสิน ราชอนุชา ต้องหาว่าจะกบฎ... ... ... ... ..." ๒๙๖ เจ้าพระยากลาโหสุริยวงศ์คิดกบฎ ... ... ... ... ... ... .. ..." ๒๙๗ สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๐๐

( ๒๔ ) ( ๒๓ ) รัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ มุขมนตรีเชิญให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ขึ้นครองราชย์ ... ... ... ... ... ... .. ... .... ...หน้า ๓๐๐ ลดต่ำสมเด็จพระอาทิตยวงศ์... ... ... ... ... ... .. ... .. " ๓๐๑ ( ๒๔ ) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง " ๓๐๑ สถาปนาพระอนุชาเป็นพระศรีสุธรรมราชา... ... ... ... ... " ๓๐๓ สถาปนาวัดชัยวัฒนาราม ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๐๓ โปรดให้ช่างไปถ่ายอย่างพระนครหลวงมาสร้าง ที่ริมวัดเทพจันทร์... ... ... ... ... ... .. ... .... ..." ๓๐๓ สร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนตมหาปราสาท... ... ... ... " ๓๐๔ สมภพพระนารายณ์ราชกุมาร... ... ... ... ... ... .. ... ..." ๓๐๕ สถาปนาวัดชุมพลนิกายาราม... ... ... ... ... ... .. ... ..." ๓๐๕ โสกันต์เจ้าฟ้าชัย... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... " ๓๐๕ สมภพพระราชบุตร ๓ องค์ ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๐๖ โปรดให้สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ไปประทับ เรือนเสาไม้ไผ่ริมวัดท่าทราย ... ... ... ... ... ... .." ๓๐๖ เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท ... ... ... ... " ๓๐๖ คนตื่นเอาตำราคุณไสยทิ้งน้ำ... ... ... ... ... ... .. ... ...." ๓๑๐ โปรดให้ขยายกำแกงพระราชวัง... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๑๐ สร้างพระมหาปราสาทพระวิหารสมเด็จ... ... ... ... ... ... ." ๓๑๐


( ๒๕ ) อสุนีลงต้องหลักชัย แต่ไม่ต้องพระนารายน์ราชกุมาร... ...หน้า ๓๑๐ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ยกพวกเข้าปล้นพระราชวัง... ... ... " ๓๑๑ จับพวกสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ได้ให้ประหารชีวิต... ... ... ..." ๓๑๑ พระราชพิธีลบศักราช... ... ... ... ... ... .. ... .... ... .. " ๓๑๑ อสุนีลงต้องหน้าบัน แต่ไม่ต้องพระนารายน์ราชกุมาร... ... ..." ๓๑๗ เกิดเพลิงในพระราชวัง ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๑๘ ( ๒๕ ) รัชกาลสมเด็จเจ้าฟ้าชัย พระนารายณ์ราชกุมารกับพระศรีสุธรรมราชาคิดกบฎ... ... ..." ๓๒๐ สำเร็จโทษสมเด็จพระจ้าแผ่นดิน... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๒๐ (๒๖) รัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช สมเด็จพระนารายณ์มหาอุปราชคิดกบฎ... ... ... ... ... ... " ๓๒๑ เกิดศึกกลางเมือง ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... .. .. " ๓๒๒ สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๒๕ ( ๒๗ ) รัชกาลสมเด็จพระนารายน์ ปราบดาภิเษก... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... ... " ๓๒๖ พระบรมนามาภิไธย ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... .... " ๓๒๖ ลดส่วยษาอากร ๓ ปี ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๒๗กำจัดพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ และพระองค์ทอง... ... ... ... " ๓๒๘หล่อเทวรูป... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... ... ..." ๓๔๐ พระราชพิธีเบญจาพิศ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ...." ๓๔๑ ( ๒๖ ) พระราชพิธีบัญชีพรหม... ... ... ... ... ... .. ... .... หน้า ๓๔๓ ได้ช้างพังเผือกเมืองศรีสวัสดิ์ ... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๔๓ หล่อพระพุทธรูป และเทวรูป ... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๔๕ เขมรอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ... ... ... ... ... ... " ๓๔๖ ต่างประเทศถวายบรรณาการ... ... ... ... ... ... .. ... . " ๓๔๘ พระเจ้าเชียงใหม่ขอกำลังไปช่วยต่อสู้ฮ่อ... ... ... ... ... ..." ๓๔๙ เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองพิษณุโลก ... ... ... ... ... ... " ๓๕๐ เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองสุโขทัย ... ... ... ... ... ... .. " ๓๕๓ ละว้าสวามิภักดิ์... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... " ๓๕๓ มอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร... ... ... ... ... " ๓๕๗ พระเจ้าอัวะให้มังสุระราชเป็นแม่ทัพยกออกตามจับ กองมอญอพยพ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๕๘ โปรดให้พระยาโกษาธิบดี ( เหล็ก ) เป็นแม่ทัพ ยกไปขับไล่กองทัพพะม่า... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๖๑ กองทัพพะม่าแตกยับเยิน... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๖๒ ต้นฉบับขาด ๒ สมุด... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๓๖๓ สมเด็จพระนารายน์สวรรคต... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๖๔ ( ๒๘ ) รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พระบรมนามาภิไธย... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๓๖๔ สถาปนาวัดบรมพุทธาราม... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๖๖

( ๒๗ ) พระยายมราช (สังข์) แข็งเมืองนครราชสีมา... ... ... ... ... " ๓๖๗ โปรดให้พระยาเดโชยกทัพไปปราบนครราชสีมา ... ... ... ... " ๓๖๗ พระยายมราช ( สังข์ ) หนีไปซ่องสุมชาวเมือง นครศรีธรรมราชแข็งเมือง... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๖๘ โปรดให้พระยาเดโชยกทัพไปปราบเมืองนครราชสีมา... ... ..." ๓๖๘ พระยายมราช ( สังข์ ) ตายในที่รบ... ... ... ... ... ... ... " ๓๖๘ สถาปนาและฉลองวัดพระยาแมน... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๖๘ ธรรมเถียรข้าหลวงเดิมเจ้าพระขวัญคิดกบฎ... ... ... ... ... " ๓๖๙ ปราบกบฎธรรมเถียร... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๓๖๙ ( ๒๙ ) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้ช้างเนียม... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... ... ..." ๓๗๑ เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท ... ... ... ... ..." ๓๗๒ พระราชจริยาที่เป็นเหตุให้ถวายพระนามว่า พระเจ้าเสือ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... .. .. .." ๓๗๗ บานแผนกใหม่ บอกเรื่องเจ้าพระยาพิพิธพิชัย แต่งพระราชพงศาวดารต่อ ตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จ พระนารายน์จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พะม่า... ... ... " ๓๗๘ ( ๒๗ ) รัชกาลสมเด็จพระนารายน์ พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์ คิดกบฎ ลอบให้ สำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัยทศราชอนุชา... ... ... ... ... " ๓๗๘

( ๒๘ ) สมเด็จพระนารายน์สวรรคต... ... ... ... ... ... .. ... หน้า ๓๗๙ ( ๒๘ ) รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา สำเร็จโทษกรมพระราชวังหลัง และเจ้าพระยาสุรสงคราม " ๓๘๑ สมภพเจ้าตรัสน้อย... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๓๘๒ ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศส ... ... ... ... ... ... .. " ๓๘๓ ได้ช้างเผือกเมืองสวรรคตโลก... ... ... ... ... ... .. ... ..." ๓๘๓ สถาปนาวัดบรมพุทธาราม... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๘๔ กรุงกัมพูชาธิบดีถวายช้างเผือก... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๘๔ สถาปนาวัดพระยาแมน... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๘๕ ธรรมเถียรคิดกบฎ ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ..." ๓๘๕ ปราบพวกกบฎธรรมเถียร... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๘๗ เกิดกบฎที่เมืองนครราชสีมา... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๘๘ ทัพกรุงยกไปปราบพวกกบฎ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๘๘ พระเจ้ากรุงศรีสันตนาคนหุตขอกองทัพไปช่วย ต่อสู้เมืองหลวงพระบาง... ... ... ... ... ... .. ... " ๓๘๙ โปรดให้พระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพยกไปช่วย กรุงศรีสัตนาคนหุต ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๙๐ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตถวายราชธิดา... ... ... ... ... ... " ๓๙๑ โสกันต์เจ้าฟ้าตรัสน้อย... ... ... ... ... ... .. ... .... ... .. " ๓๙๑


( ๒๙ ) (๒๙) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ สถาปนาวัดโพทับช้าง... ... ... ... ... ... .. ... .... ... หน้า ๓๙๓ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์สมคบกับสำเร็จ โทษเจ้าฟ้าตรัสน้อย... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๓๙๔ เพลิงไหม้มณฑปพระวิหารสุมงคลบพิตร... ... ... ... ... ... " ๓๙๔ ทรงตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล... ... ... ... ... ... .. " ๓๙๕ ( ๓๐ ) รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ สำเร็จโทษพระองค์ดำ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๓๙๕ สมเด็จพระอัยกีเจ้า กรมพระเทพามาตย์สวรรคต... ... ... ... " ๓๙๖ เขมรฝักฝ่ายข้างญวน ทัพกรุงยกไผปราบ... ... ... ... ... ..." ๓๙๗ ขุดตัดคลองโคกขามให้ตรง... ... ... ... ... ... .. ... .... ..." ๓๙๘ ต่อกำปั่นบรรทุกช้างออกไปขายต่างประเทศ ๔๐ ช้าง... ... .." ๓๙๙ กรมหลวงโยธาทิพทิวงคต... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๓๙๙ ชะลอพระพุทธไสยาศน์วัดป่าโมกเลื่อนเข้าไปวัดตลาด... ... .. " ๔๐๐ มีพระราชโองการให้เจ้าฟ้าอภัยเสวยราชสมบัติ... ... ... ... .. " ๔๐๓ ( ๓๑ ) รัชกาลสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระราชวังบวรคิดกบฎ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๐๓ เกิดศึกกลางเมือง... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... ..." ๔๐๓ สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน... ... ... ... ... ... .. ... " ๔๐๔


( ๓๐ ) ( ๓๒ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ตั้งข้าราชการและพระราชวงค์... ... ... ... ... ... .. ... หน้า ๔๐๔ ล้อมช้างแขวงเมืองลพบุรี... ... ... ... ... ... .. ... ... ... " ๔๐๖ จีนายไก้ยกพวกเข้าปล้นพระราชวังหลวง... ... ... ... ... " ๔๐๗ กรุงกัมพูชาธิบดีถวายช้างพังเผือก... ... ... ... ... ... .. " ๔๐๘ กรมหลวงโยธาเทพทิวงคต... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๐๙ สมโภชพระพุทธบาท... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๑๐ สมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี ... ... ... ... ... ..." ๔๑๐ สมโภชพระสารีริกบรมธาตุเมืองสวางคบุรี... ... ... ... ... " ๔๑๐ ทรงตั้งกรมขุนเสนาพิทักษ์เป็นกรมพระราชวังบวร สถานมงคล... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๔๑๑ ฺปฏิสังขรณ์วัดพระราม ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๑๑ ได้ช้างเนียมเมืองไชยา... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๑๒ มอญหงสาวดีแข็งเมืองต่อพะม่า ยกสมิงทอขึ้นเป็น กษัตริย์... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ... " ๔๑๒ กรุงรัตนบุระอังวะแต่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรี " ๔๑๒ ปฏิสังขรณ์วัดภูเขาทอง ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๑๓ พระยาพระรามและพระยากลางเมือง พรรคพวก สมิงทอแตกหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมพาร... ... ..." ๔๑๔ ตำบลบางสะพานเกิดที่ร่อนทอง... ... ... ... ... ... .. ... " ๔๑๕

( ๓๑ ) สมโภชพระพุทธบาท ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ...หน้า ๔๑๕ สมิงทอแตกหนีเข้ามาทางเมืองตาก... ... ... ... ... ... .. " ๔๑๕ เขมรฝักฝ่ายข้างญวน ทัพกรุงยกออกไปปราบ... ... ... ... " ๔๑๖ เจ้าพระยาชำนาญบุรีรักษ์ถึงอสัญญกรรม... ... ... ... ... " ๔๑๖ ล้อมช้างป่าแขวงเมืองลพบุรี... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๑๖ กรมพระยาราชวังบวรต้องรับพระราชอาชญาจนทิวงคต... ... " ๔๑๗ ได้ช้างเนียมเมืองนครชัยศรี ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๑๙ ทรงตั้งกรมขุนพรพินิจเป็นกรมพระราชวังบวร... ... ... ... ..." ๔๒๐ สมโภชพระพุทธบาท... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๔๒๐ สำเร็จโทษเจ้าสามกรม ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๒๒ ( ๓๓ ) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ๓๔ ) รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ กรมพระเทพามาตย์สวรรคต... ... ... ... ... ... .. ... ...." ๔๒๓ เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธออกไปไว้เกาะลังกา... ... ... ... " ๔๒๔ พะม่ายกทัพมาตีเมืองมฤท เมืองตะนาวงศรี... ... ... ... ..." ๔๒๔ พะม่ายกทัพมาประชิดกรุง... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๒๖ พะม่าถอยทัพ พระเจ้าอังวะสวรรคตกลางทาง ... ... ... ... " ๔๒๗ มอญที่เขานางบวชคิดกบฎ... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๒๘ ปราบมอญเขานางบวช... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๒๘ เมืองเชียงใหม่ขอกองทัพไปช่วยต่อสู้พะม่า... ... ... ... ... " ๔๒๘

( ๓๒ ) โปรดใก้พระยาพิษณุโลกยกทัพขึ้ไปช่วยเชียงใหม่ พอกองทัพไปบ้านระแหงก็ได้ข่าวว่าเชียงใหม่ เสียแก่พะม่าแล้ว... ... ... ... ... ... .. ... ... หน้า ๔๒๘ หุยตองจาแข็งเมืองทะวายต่อพะม่า... ... ... ... ... ... .. " ๔๒๙ กรมหมื่นเทพพิพิธออกจากลังกามาอยู่เมืองมฤท โปรดให้รับมาไว้เมืองตะนาวศรีมีข้าหลวงกำกับ... ... " ๔๒๙ สมโภชพระพุทธบาท ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... " ๔๒๙ เตรียมป้องกันรพระนคร ... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๒๙ พะม่ายกทัพมาตีเมืองทะวาย เมืองมฤท เมืองตะนาวศรี เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี ... ... ... ... ... ... .. " ๔๓๐ พระยาพิษณุโลกลาพักหน้าที่ขึ้นไปปลงศพมารดา... ... ... " ๔๓๑ โปสุพลาแม่ทัพพะม่ายกมาแต่เมืองเชียงใหม่ ตีเข้ามา ทางด่านสวรรคโลก... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๓๑ ชาวเมืองลำพูนไม่ช่วยพะม่ารบกรุง... ... ... ... ... ... .. " ๔๓๒ พ่อค้าอังกฤษช่วยรบพะม่า... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๓๒บ้านระจันตั้งค่ายสู้พะม่า... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๓๓ ค่ายบ้านระจันแตก... ... ... ... ... ... .. ... .... ... ... ." ๔๓๔ กรมหมื่นเทพพิพิธอพยพชาวหัวเมืองตะวันออกเข้าตั้ง มั่นในปราจินบุรี... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๓๔ พะม่ายกทัพเรือไปตีปราจินบุรีแตก... ... ... ... ... ... .. " ๔๓๔


( ๓๓ ) กรมหมื่นเทพพิพิธและพระยารัตนาธิเบศรหนีไปอยู่ ในแขวงเมืองนครราชสีมา... ... ... ... ... ... .. หน้า ๔๓๔ กองทัพพะม่ายกเข้าล้อมกรุง... ... ... ... ... ... .. ... ..." ๔๓๕ กองทัพเมืองแพร่ไม่ช่วยพะม่ารบกรุง... ... ... ... ... ... .. " ๔๓๕ เกิดเพลิงไหม้ลุกลามในกรุง... ... ... ... ... ... .. ... .... " ๔๓๖ โจรผู้ร้ายชุกชุมและคนอดโซมาก... ... ... ... ... ... .. ... " ๔๓๖ กองทัพพะม่าเข้ากรุงได้... ... ... ... ... ... .. ... .... ... " ๔๓๗ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พะม่าณวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุรนพศพ จ.ศ. ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐... ... ... ... ... ... " ๔๓๗








ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๕๐ ปี


พระราชพงศาวดาร ฉบับจันทนุมาศ ( เจิม )

บานพะแนก ศุภมัสดุ ศักราช ๑๑๕๗ ปี เถาะสัปตศก (๑ ) (พ.ศ. ๒๓๓๘ ) สมเด็จพระบรมธรรมิกมหาราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัว ผ่านถวัลราชย์ ณกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรง ชำระพระราชพงศาวดาร แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก ( พ.ศ. ๑๘๙๓ ) วันศุกร์ เดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำเพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนคร ศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักขิณาวัฏ ใต้ต้นหมันใบหนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่งสร้างพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอสวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง ( ๑ ) รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ( อู่ทอง ) และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้า

( ๑ ) ตรงกับปีที่ ๑๔ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์


๒ อยู่หัวกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพรัตนราชธานีบุรีรมย์ จึงให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร ขึ้นไปครองราชสมบัติใน เมืองลพบุรี ครั้งนั้น พระยาประเทศราชขึ้น ๑๖ เมือง คือ เมืองมะละกาเมืองชะวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจตร เมืองกำแพงเพ็ชร เมืองนครสวรรค์ แล้วให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร ลงมาแต่ เมืองลพบุรี ทรงพระกรุณาตรัสว่า ขอมแปรพักตร์ จะให้ออกไป กระทำเสีย พระราเมศวรได้ฤกษ์ยกพล ๕๐๐๐ ไปถึงกัมพูชาธิบดีเพลาพลบค่ำ พระยาอุปราช ราชบุตรพระเจ้ากัมพูชาธิบดีทูลว่า ทัพซึ่งยกมาเลื่อนล้าอยู่ยังมิได้พร้อมมูล จะขอออกโจมทัพ พระเจ้ากัมพูชาธิบดีเห็นด้วย พระยาอุปราชก็โจมทัพ ทัพหน้ายังไม่ทัน ตั้งค่าย ก็แตกฉานมาปะทะทัพหลวง เสียพระศรีสวัสดิ์แก่ชาวกัมพูชา ธิบดี มีข่าวเข้ามาถึงพระนคร มีพระราชโองการให้ขุนตำรวจออกไปเชิญสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ผู้เป็นพระเชษฐา อยู่ณเมืองสุพรรณบุรี ครั้นเสด็จเข้ามาถึงพระนครแล้ว พระเจ้าหัวตรัสว่า ให้อังเชิญท่านออกไปช่วยหลานท่าน สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า จึงยกทัพรีบออกไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดี ได้รับเอาชัยชะนะได้ ให้กวาดเอาครัวชาวกรุงกัมพูชาธิบดีเข้าพระนครเป็นอันมาก

๓ ศักราช ๗๑๕ ปีมะเส็งเบญจศก ( พ.ศ. ๑๘๙๖ ) วันพฤหัสบดี เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำเพลา ๒ นาฬิกา ๕ บาท ทรงพระกรุณาตรัสว่า ที่พระตำหนักเวียงเหล็กนั้น ให้สถาปนาพระวิหาร และพระมหาธาตุเป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดพุทไธสวรรย์ ม้าขุนสุวรรณพินิจจัย ตกลูกศีรษะเดียว ตัวเป็น ๒ ตัว ๘ เท้าเดินชิงศรีษะกัน ไก่พระศรีมโหสธ ฟักฟองตกลูกตัวเดียว ๒ ศีรษะ ศักราช ๗๒๕ ปีเถาะเบญจศก ( พ.ศ. ๑๙๐๖ ) ทรงพระกรุณา ตรัสว่า เจ้าแก้สไทยออกอหิวาตกโรคตายให้ขุดขึ้นเผาเสีย ที่ปลง ศพนั้นให้สถาปนาเจดีย์วิหารเป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อวัดป่าแก้ว ศักราช ๗๓๑ ปีระกาเอกศก ( พ.ศ. ๑๙๑๒ ) สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๒๐ ปี ( ๒ ) รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ ๑ ) สมเด็จพระราเมศวรเสด็จมาแต่เมืองลพบุรี ขึ้นเสวยราชสมบัติ ( ๓ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ ๑ ) ครั้นเถิงศักราช ๗๓๒ ปีจอโทศก ( พ.ศ. ๑๙๑๓ ) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เข้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี เสนาบดีกราบทูลว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จเข้ามา สมเด็จพระราเมศวร ก็ออกไปอังเชิญเสด็จเข้ามาพระนคร ถวายราชสมบัติแล้วบังคมลา ขึ้นไปเมืองลพบุรีดังเก่า


๔ ศักราช ๗๓๓ ปีกุรตรีศก ( พ.ศ. ๑๙๑๔ ) สมด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองฝ่ายเหนือ และได้เมืองเหนือทั้งปวง ศักราช ๗๓๔ ปีชวดจัตวาศก ( พ.ศ ๑๙๑๕ ) เสด็จไปเอาเมืองนครพังคา และเมืองแซรงเซรา ศักราช ๗๓๕ ปีฉลูเบญจศก ( พ.ศ. ๑๙๑๖ ) เสด็จไปเอาเมืองช้ากังราว และพระยาไซ้แก้ว พระยากำแหง เจ้าเมืองออก ต่อรบท่าน ๆ ได้ตัวพระยาไซ้แก้สตาย แต่พระยากำแหงและไพร่พล ทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็เสด็จกลับคืนมาพระนคร ศักราช ๗๓๖ ปีขาลฉอศก ( พ.ศ. ๑๙๑๗ ) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าและพระเถรธรรมากัลยาณ แรกสถาปนาพระศรีรัตน มหาธาตุ ฝ่ายบุรทิศหน้าพระบันชั้นสิงห์สูง ๑๙ วา ยอดนพศูล สูง ๓ วา ศักราช ๗๓๗ ปีเถาะ สัปตศก ( พ.ศ. ๑๙๑๘ ) เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก และได้ตัวขุนสามแก้วเจ้าเมือง กวาดครัวอพยพ มาครั้งนั้นมาก ศักราช ๗๓๘ ปีมะโรงอัฐศก (พ.ศ. ๑๙๑๙ ) เสด็จไปเอาเมืองช้ากังราว ได้พระยากำแหง และท้าวผากองคิดกันว่าจะยอทัพหลวง ทำมิได้ ท้าวผากองเลิกทัพหนี เสด็จยกทัพหลวงตามตีทีพ ท้าวผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้ว ทัพหลวงเสด็จกลับคืน


๕ ศักราช ๗๔๐ ปีมะเมียสัมฤทธิศก ( พ.ศ. ๑๙๒๑ ) ไปเอาเมืองช้ากังราวเล่า ครั้งนั้นมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม ศักราช ๗๔๒ ปีวอกโทศก (๑) ( พ.ศ. ๑๙๒๓ ) เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ และให้เข้าปล้นเมืองนครลำปางมิได้ จึงแต่งหนังสือให้เข้าไปแก่หมื่นนคร ให้เจ้าเมืองนครลำปางออกมาถวายบังคม และทัพหลวงเสด็จกลับคืน ศักราช ๗๔๔ ปีจอจัตวาศก (๒) ( พ.ศ. ๑๙๒๕ ) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๓ ปี ( ๔ ) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทองลัน จึงเจ้าทองลันราชกุมารขึ้นเสวยราชสมบัติได้ ๗ วัน ( ๒ ) รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ ๒ ) สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในพระราชวังกุมเอาเจ้าทองลันได้ ให้พิฆาฏเสียณวัดโคกพระยา ศักราช ๗๔๖ ปีชวดฉอศก ( พ.ศ. ๑๙๒๗ ) สมเด็จพระ ราเมศวร ให้เลียบพลขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ตั้งค่ายหลวงใกล้คู เมือง ๑๕๐ เส้น ให้นายทัพนายกองตั้งค่ายล้อม และแต่งการปล้นเอาจงได้ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่ออกมากำแพงกว้างประมาณ

( ๑ ) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ว่า ศักราช ๗๔๘ ขาลศก ( ๒ ) ...................ว่า ศักราช ๗๕๐ มะโรงศก


๖ ๕ วา พระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นยืนถือพัชนีอยู่บนเชิงเทิน ให้ทหารเอาหนังสือแขวนธนูยิงลงมา ในหนังสือนั้นว่า ขอพระราชทานให้งด ๗ วัน จะนำเครื่องราชบรรณาการออกไปจำเริญพระราชไมตรี พระเจ้าอยู่หัวจึงปรึกษาด้วยมุขมนตรี ว่าพระเจ้าเชียงใหม่ให้มีหนังสือออกมาดังนี้ ควรจะงดหรือประการใด มุขมนตรีนายทัพนายกองปรึกษาว่า เกลือกพระเจ้าเชียงใหม่จะเตรียมการมิทัน จึงคิดเป็น กลอุบายมา ขอพระราชทานให้ปล้นเอาเมืองจงได้ สมเด็จ พระเจ้า อยู่หัวตรัสว่า เป็นกษัตริขัติยวงศ์ เขาไม่รบแล้วเราจะให้รบนั้น ดูมิบัควร ถึงมาตรว่า พระเจ้าเชียงใหม่จะมิได้คงอยู่ในสัตยา นุสัตย์ก็ดี ใช่ว่าพ้นมือทหารเรานั้นเมื่อไร ฝ่ายในเมืองเชียงใหม่นั้น ตีแตะบังที่กำแพงพะลายนั้นให้ก่อขึ้นครั้น ๗ วันแล้วพระเจ้าเชียงใหม่มิได้เอาเครื่องจำเริญพระราชไมตรีออกมา นายทัพนายกองข้าทหาร ร้องทุกขราชว่า ข้าวในกองทัพทะนานละ ๑๐ สลึง หามีที่ซื้อไม่ จะขอพระราชทานเร่งปล้น พระเจ้าอยู่หัวบัญชาตามนายทัพนายกอง ทรงพระกรุณาสั่งให้เลิกกองทัพ เสียด้านหนึ่ง ให้เร่งปล้นวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลา ๓ ทุ่ม ๒ บาทเดือนตก เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่ปืนน้อยระดมทั้งสามด้าน เอากระไดหกพาดปีนกำแพงขึ้นไป พระเจ้าเชียงใหม่ต้านมิได้ เทครัวหนีออก เพลา ๑๑ ทุ่มทหารเข้าเมืองได้ ได้แต่นักส้างบุตร พระเจ้าเชียงใหม่องค์หนึ่งมาถวาย พระเจ้าอยู่หัวตรัสต่อนักส้างว่า พระเจ้าเชียงใหม่บิดาท่าน หาสัตยานุสัตย์มิได้ เราคิดว่าจะออกมา

๗ หาเราโดยสัตย์ เราจะคงราชสมบัติ ตรัสดังนั้นแล้วก็ให้นักส้าง ถวายสัตยาสัตย์ พระเจ้าอยู่หัวก็ให้แบ่งไพร่พลเมืองไว้พอสมควร เหลือนั้นก็เทครัวอพยพหญิงชายลงมา ให้นักส้างลงมาส่งเสด็จถึง เมืองสวางคบุรี ทรงพระกรุณาให้นักส้างกลับขึ้นไปครองราชสมบัติ ในเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าเมืองพิษณุโลก นมัสการ พระชินศรี พระชินราช เปลื้องเครื่องต้นทำสักการบูชาสมโภช ๗ วันเสด็จลงมาพระนคร และลาวซึ่งต้อนลงมานั้น ให้ส่งไปไว้เมืองพัทลุง เมืองสงขลาเมืองนคร เมืองจันทบูร แล้วเสด็จออกทรงศีลยัง พระที่นั่งมังคลาภิเศกเพลา ๑๐ ทุ่ม ทอดพระเนตรโดยฝ่ายทิศบูรพ์เห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จปาฏิหารย์ เรียกปลัดวังให้เอาพระราช ยานทรงเสด็จออกไป ให้เอาตรุยปักขึ้นไว้ สถาปนาพระมหาธาตุ นั้นสูง ๑๙ วา ยอดนพศูลสูง ๓วา ชื่อวัดมหาธาตุ แล้วให้ทำ พระราชพิธีประเวศพระนคร แล้วเฉลิมพระราชมนเทียร ขณะนั้นพระยากัมพูชายกเข้ามาถึงเมืองชลบุรี กวาดเอาครัวอพยพหญิงชายในชลบุรี และเมืองจันทบูร คนประมาณ ๖๐๐๐ ๗๐๐๐ กลับไปเมืองกัมพูชาธิบดี พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวให้พระยาชัยณรงค์เป็นทัพหน้าไปถึงสะพานแยก ชาวกัมพูชาออกมา ตีทัพพระยาชัยณรงค์ ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ พระยากัมพูชาก็แตกฉาน พระเจ้าอยู่หัวให้ตั้งค่ายประจันทัพอยู่ ๓ วัน พระเจ้าอยู่หัวยกเข้าตีแตกฉานเข้าเมืองได้ พระยากัมพูชาลงเรือหนี พระเจ้าอยู่หัวลงจาก


๘ ช้าง ให้ยิงปืนนกสับลงไปต้องหม้อดินเป็นเพลิงลุกขึ้น พระยากัมพูชา หนีรอด จับได้อุปราชลูกพระยากัมพูชา ให้พระยาชัยณรงค์อยู่รั้ง เมืองกัมพูชา ไว้คน ๕๐๐๐ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จคืนพระนครศรีอยุธยา ครั้นอยู่มา ญวนยกมารบ ถ้ามาน้อย ชาวกัมพูชาเป็นใจรบ ถ้ามามาก เรรวนไป พระยาชัยณรงค์บอกหนังสือมากราบทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มีหนังสือตอบไป ให้กวาดครัวอพยพยกมาถึงพระนครแล้วให้ทำพิธีประเวศพระนคร แล้วปูนบำเหน็จนายกอง ศักราช ๗๔๙ ปีเถาะนพศก (๑) (พ.ศ. ๑๙๓๐ ) สถาปนา วัดภูเขาทอง เพลาเย็นเสด็จไปพระที่นั่งมังคลาภิเภก ท้าวมล ซึ่งตายแต่ก่อนนั้นมานั่งขวางทางเสด็จอยู่แล้วหายไป สมเด็จ พระราเมศวรบรมบพิตร ก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๖ ปี ( ๕ ) รัชกาลสมเด็จพระยาราม จึงพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติ ๑๔ ปี ศักราช ๗๖๓ ปี มะเส็งตรีศก (๒) (พ.ศ. ๑๙๔๔ ) สมเด็จ พระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้ามหาเสนาบดี และท่านให้กุมเอาตัวเจ้ามหาเสนาหนีรอด ข้ามไปอยู่ฟากปทาคูจาม จึงให้ไปเชิญ สมเด็จพระอินทราชาณเมืองสุพรรณบุรีเสด็จเข้ามาถึง จึงเจ้ามหาเสนาบดียกเข้าปล้นเอาเมืองพระนครศรีอยุธยาได้

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๗๕๗ กุรศก (๒) .......... ว่าศักราช ๗๗๑ ฉลูศก

๙ (๖ ) รัชกาลสมเด็จพระอนัทราชา จึงเชิญสมเด็จพระอินทราราชาขึ้นเสวยราชสมบัติ ให้สมเด็จพระยารามไปกินเมืองปทาคูจาม แล้วพระราชทานเจ้ามหาเสนาบดี ลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทองกระบี่กั้นหยน เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว ศักราช ๗๖๕ ปีมะแมเบญจศก (๑) (พ.ศ. ๑๙๔๖ ) มีข่าว มาว่าพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกเสด็จสวรรคต แลเมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล จึงเสด็จข้นไปเถิงเมืองพระบาง พระยาบานเมือง พระยาราม ออกมาถวายบังคม พระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับ พระนคร แล้วจึงให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าอ้ายพระยากินเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยากินเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพระยากิน เมืองชัยนาท ศักราช ๗๘๐ ปีจอสัมฤทธิศก(๒) (พ.ศ. ๑๙๖๑ ) สมเด็จ พระอินทราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๑๕ ปี เจ้าอ้ายพระยาเจ้ายี่พระยา ยกเข้ามาชิงกันจะเอาราชสมบัติ เจ้าอ้ายพระยามาตั้งตำบลป่ามะพร้าวที่วัดพลับพลาชัย เจ้ายี่พระยามาตั้งอยู่วัดชัยภูมิ จะเข้าทางตลาดเจ้าพรหม ช้างต้นมาปะทะกันเข้าที่เชิงตะพานป้าถ่านทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระแสงของ้าว ต้องพระศอขาดพร้อมกัน ทั้งสองพระองค์ (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๗๗๑ กรุศก ( ๒ )...........ว่าศักราช ๗๘๖ มะโรงศก ๒ ๑๐ ( ๗ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช ( ที่ ๒ ) มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพระยา ทูลการซึ่งพระเชษฐาธิราชขาดคอช้างทั้งสองพระองค์ แล้วเชิญเสด็จเข้ามาในพระนคร เสวย ราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ท่านจึง ให้ขุดเอาพระศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา ไปถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้น ให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็น อารามแล้ว ให้นามชื่อว่าวัดราชบูรณะ ที่เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยาชนช้างกันถึงพิราลัย ให้ก่อพระเจดีย์สององค์ไว้ที่เชิงตะพานป่าถ่าน ศักราช ๗๙๓ ปีฉลูตรีศก (๑) (พ.ศ. ๑๙๖๔ ) สมเด็จพระ บรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ ท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินท์เจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวง ท่าน จึงให้เอาพระยาแก้วพระยาไท และครอบครัว กับทั้งรูปพระโครูปสิงห์สัตว์ทั้งปวงมาด้วย ครั้นถึงพระนครศรีอยุธยา จึงให้เอารูปสัตว์ทั้งปวงไปบูชาไว้ณวัดพระศรีรัตนธาตุบ้าง ไว้วัดพระศรีสรรเพชญ์บ้าง ศักราช ๗๘๖ ปีมะโรงศก (๒ ) (พ.ศ. ๑๙๖๗ ) สมเด็จ พระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์ สมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมารท่าน เสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็น น้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราช ตกออกเป็นโลหิต

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๗๙๓ กุรศก (๒) .....ว่า ศักราช ๘๐๐ มีศก

๑๑ ศักราช ๗๘๘ ปีมะเมียอัฐศก (๑) (พ.ศ. ๑๙๖๙ ) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระราชมนเทียรสถาน ศักราช ๗๘๙ ปีมะแมนพศก (๒) (พ.ศ. ๑๙๗๐ ) ครั้งนั้น เกิดเพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข ศักราช ๗๙๐ ปีวอกสัมฤทธิศก (๓) (พ.ศ. ๑๙๗๑ ) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ และเข้าปล้นเมือง มิได้ พอทรงทรงพระประชวร ทัพหลวงเสด็จกลับคีน ศักราช ๗๙๒ ปีจอโทศก (๔) (พ.ศ. ๑๙๗๓ ) เสด็จขึ้นไป ตีเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง และตั้งทัพหลวงตำบลท้ายกระเษม ครั้งนั้น ได้เชลย ๑๒๐๐๐๐ ทัพหลวงเสด็จกลับคืน ศักราช ๗๙๖ ปีขาลฉอศก (๕) (พ.ศ. ๑๙๗๗ ) สมเด็จ พรบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในสมบัติ ๑๖ ปี ( ๘ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพรราเมศวรเจ้า ผู้เป็นพระราชกุมารขึ้นเสวยราชสมบัติทรงพระนามชื่อพระบรมไตรโลกนาถ ยกวังทำเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์เสด็จมาอยู่ริมน้ำ จึงให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาททององค์หนึ่งแล้วพระราชทานชื่อขุนนางตามตำแหน่งนา ให้เอาทหารเป็นสมุห

(๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๐๒ วอกศก ( ๒ )............ว่าศักราช ๘๐๓ ระกาศก (๓ ).........ว่าศกราช ๘๐๔ จอศก ( ๔ ).......ว่าศักราช ๘๐๖ ชสดศก (๕).......ว่า ศักราช ๘๑๐ มะโรงศก

๑๒ พระกลาโหม เอาพลเรือนเป็นสมุหนายก เอาขุนเมืองเป็นพระ นครบาลเมือง เอาขุนวังเป็นพระธารมาธิกรณ์ เอาขุนนาเป็นเกษตร์ เอาขุนคลังเป็นโกษาธิบดี ให้ถือศักดินาหมื่น และที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดี ที่พระองค์สร้างกรุงนั้น ให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็นพระราม ศักราช ๘๐๒ ปีวอกโทศก (๑) (พ.ศ. ๑๙๘๓ ) ครั้งนั้นคนออกทรพิษตายมากนัก ศักราช ๘๐๓ ปีระกาตรีศก (๒) (พ.ศ. ๑๙๘๔ ) แต่งทัพ ไปเอาเมืองมะละกา ศักราช ๘๐๔ ปีจอจัตวาศก(๓) (พ.ศ. ๑๙๘๕ ) แต่งทัพไป เอาเมืองศรีสพ ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบล บ้านโคน ศักราช ๘๐๕ ปีกุรเบญจศก (๔) (พ.ศ. ๑๙๘๖ ) ข้าวเปลือกแพงเป็นทะนานละ ๘๐๐ เบี้ย เบี้ย ๘๐๐ ต่อเอง เกวียนหนึ่ง เป็นเงิน ๓ ชั่งกับ ๑๐ บาท ศักราช ๘๐๖ ปีชวดฉอศก (๕) (พ.ศ. ๑๙๘๗ ) ให้บำรุง พระพุทธศาสนาบริบูรณ์ และหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๕๐ พระชาติ

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๑๖ จอศก (๒)....ว่าศักราช ๘๑๗ กุรศก (๓ ).ว่าศักราช ๘๑๘ ชวดศก (๔ )...ว่าศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (๕ )....ว่าศักราช ๘๒๐ ขาลศก

๑๓ ศักราช ๘๐๘ ปีขาลอัฐศก (๑ ) (พ.ศ. ๑๙๘๙ ) เล่นการมหรศพฉลองพระ และพระราชทานสมณชีพราหมณ์และวัณริพกทั้งปวง ครั้งนั้นพระยาเชลียงคิดขบถ พาเอาครัวทั้งปวงไปมหาราช ศักราช ๘๐๙ ปีเถาะนพศก (๒) (พ.ศ. ๑๙๙๐ ) พระยา เชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพิษณุโลก เข้าปล้นเอาเมืองสามารถ มิได้จึงยกทัพแปรไปเอาเมืองกำแพงเพ็ชร เข้าปล้นเมือง ๗ วันมิได้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า และสมเด็จพระอินทราชา เสด็จขึ้นไปช่วยเมืองกำแพงเพ็ชรทัน และสมเด็จพระอินทราชาเจ้าตีทัพพระยาเกียรติ์แตก ทัพท่านมาปะทัพหมื่นนคร ได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร และข้าศึกลาวทั้งสี่ช้างเข้ารมเอาช้างพระที่ นั่งช้างเดียว ครั้งนัน พระอินทราชาเจ้าต้องปืนพระพักต์ ทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป ศักราช ๘๑๐ ปีมะโรงสัมฤทธิศก (๓) (พ.ศ. ๑๙๙๑ ) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี ศักราช ๘๑๑ ปีมะเส็งเอกศก (๔) (พ.ศ. ๑๙๙๒ ) สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถเจ้า ทรงพระผนวชวัดจุฬามณีได้ ๘ เดือน แล้วลาผนวช

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๒๒ มะโรงศก (๒)...ว่า ศักราช ๘๒๕ มะแมศก (๓)...ว่าศักราช ๘๒๕ มะแมศก (๓)....ว่าศักราช ๘๒๖ วอกศก (๔)...ว่าศักราช ๘๒๗ ระกาศก


๑๕ ศักราช ๘๑๓ ปีมะแมตรีศก( ๑) (พ.ศ. ๑๙๙๔ ) ครั้งนั้น ท้าวมหาบุญ ซึ่งเมืองเชียงใหม่แก่ท้าวลูก ศักราช ๘๑๕ ปีระกาเบญจศก (๒) (พ.ศ. ๑๙๙๖ ) สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ช้างเผือก ศักราช ๘๑๖ ปีจอฉอศก (๓) (พ.ศ. ๑๙๙๗ ) สมภพ พระราชโอรสท่าน ศักราช ๘๑๘ ปีชวดอัฐศก (๔) (พ.ศ. ๑๙๙๙ ) เสด็จไป เมืองเชลียง ศักราช ๘๒๑ ปีเถาะเอกศก(๕) (พ.ศ. ๒๐๐๒ ) แรกตั้ง นครไทย ศักราช๘๒๒ ปีมะโรงโทศก (๖) (พ.ศ. ๒๐๐๓ ) พระศรี ราชเดโชถึงแก่กรรม ศักราช ๘๒๔ ปีมะเมียจัตวาศก (๗) (พ.ศ. ๒๐๐๕ ) พระยาล้านช้างถึงแก่กรรม พระราชทานให้อภิเศกพระยาซ้ายขวา เป็น พระยาล้านช้าง ศักราช ๘๒๖ ปีวอกฉอศก (๘) (พ.ศ. ๒๐๐๗ ) ทรงพระกรุณา ให้เล่นการมหรสพ ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ ๑๕ วัน

(๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๒๐ ชวดศก (๒)..ว่า ศักราช ๘๓๓ เถาะศก (๓ )...ว่าศักราช ๘๓๔ มะโรงศก (๔)...ว่าศักราช ๘๓๖ มะเมียศก (๕)...ว่าศักราช ๘๓๙ ระกาศก (๖)..ว่าศักราช ๘๔๑ กุรศก (๗)...ว่าศักราช ๘๔๔ ขาลศก ๑๕ ศักราช ๘๒๘ ปีจออัฐศก (๑) ( พ.ศ. ๒๐๐๙ ) พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงผนวช ศักราช ๘๔๗ ปี กุรนพศก (๒) (พ.ศ. ๒๐๑๐ ) สมเด็จพระราชโอรสเจ้า ลาผนวช ประดิษฐานพระองค์ไว้ในที่พระมหาอุปราช ศักราช ๘๔๘ ปีชวดสัมฤทธิศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๑๑ ) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปวังช้างตำบลสัมฤทธิ์บริบูรณ์ ศักราช ๘๓๑ ปีฉลูเอกศก (๔) (พ.ศ ๒๐๑๒ ) มหาราชท้าวลูก พิราลัย ศักราช ๘๓๒ ปีขาลโทศก (๕) (พ.ศ. ๒๐๑๓ ) สมเด็จ พระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จยกทัพไปตีเมืองทะวาย แลเมื่อเมืองทะวายจะเสียนั้น เกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่ง เป็น ๘ เท้า ไก่ฟักฟองตกลูกตัวหนึ่ง ๔ เท้า ไก่ฟักฟองคู่ขอน ตกลูกเป็น ๖ ตัว อนึ่งข้าวสารงอกเป็นใบ ในปีนั้นสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๓๘ ปี ศักราช ๘๓๔ ปีมะโรงจัตวาศก ( ) (พ.ศ. ๒๐๑๕ ) แรกให้ก่อกำแพงเมืองพิชัย

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๔๖ มะโรงศก ( ๒ )....ว่า ศักราช ๘๔๗ มะเส็งศก (๓ ) ......ว่า ศักราช ๘๔๘ มะเมียศก (๔ )...ว่า ศักราช ๘๔๙ มะแมศก (๕ ) ...ว่า ศักราช ๘๕๐ วอกศก (๖) ....ว่า ศักราช ๘๕๒ จอศก

๑๖ (๙) รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๒ ) ศักราช ๘๓๕ ปีมะเส็งเบญจศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๑๖ ) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเด็จ พระรามาธิบดี ศักราช ๘๓๖ ปีมะเมียฉอศก (๒) (พ.ศ. ๒๐๑๗ ) ประดิษฐานพระอัฐิธาตุสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าไว้ในพระสถูป ศักราช ๘๓๘ ปี วอกอัฐศก (๓) (พ.ศ. ๑๐๑๙ ) ท่านประพฤติ การเบญเพส พระองค์ให้เล่นการดึกดำบรรพ์ ศักราช ๘๓๙ ปีระกานพศก ( ๔ ) (พ.ศ. ๒๐๒๐ ) ให้ทำการประถมกรรม ศักราช ๘๔๑ ปีกรุเอกศก (๕) (พ.ศ. ๒๐๒๒ ) แรกสร้าง พระวิหารวัดศรีสรรเพชญ์ สมเด็จพระรามาธิบดี แรกหล่อพระศรี สรรเพชญ์ (๖) ในวันอาทิตย์เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ครั้นเถิงศักราช ๘๔๕ ปีเถาะเบญศก (๗) (พ.ศ ๒๐๒๖ ) วันศกรเดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์ คณนาพระพุทธเจ้านั้น แต่พระบาทถึงยอดพระรัศมี สูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก โดยกว้างได้ ๓ ศอก พระอุระกว้าง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๕๓ กุรศก (๒) ...ว่าศักราช ๘๕๔ ชวดศก (๓)....ว่าศักราช ๘๕๘ มะโมงสก (๔)..ว่า ศักราช ๘๕๙ มะเส็งศก (๕)...ว่าศักราช ๘๖๑ มะแมศก (๖)...ว่าศักราช ๘๖๒ วอกศก (๗)....ว่า ศักราช ๘๖๕ กุรศก ๑๗ ได้ ๑๑ สอก และทองหล่อพระพุทธเจ้าหนัก ๕๓๐๐๐ ชั่ง ทองคำ หุ้มนั้นหนัก ๒๘๖ ชั่ง ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ ชั้น ๒ ขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำ ๒ ขา ศักราช ๘๘๐ ปีมะเมียสัมฤทธิศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๔๑ ) สมเด็จ พระรามาธิบดี แรกให้ทำตำราพิชัยสงคราม และแรกทำสารบัญชี พระราชพิธีทุกเมือง ขณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปคลองศีรษะจรเข้ คลองทับนางจะไปปากน้ำเจ้าพระยาตื้น เรือใหญ่จะเดินไปมาขัดสน จึงให้ชำระ ขุด ได้รูปเทพารักษ์ ๒ องค์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ จาฤกชื่อองค์หนึ่ง ชื่อพระยาแสนตา องค์หนึ่งชื่อบาทสังกร ในที่ร่วมคลองสำโรงกับ คลองทับนางต่อกัน จึงให้พลีกรรมบวงสรวง แล้วรับออกมาปลูกศาลเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ณเมืองพระประแดง ศักราช ๘๘๖ ปีชวดฉอศก(๒) (พ.ศ. ๒๐๔๗ ) ครั้งนั้นงา เบื้องขวาช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกออก อนึ่งในเดือน ๗ นั้น คนทอดบัตรสนเท่ห์ ครั้งนั้นให้ฆ่าขุนนางเสียมาก ศักราช ๘๖๗ ปีฉลูสัปตศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๔๘ )น้ำน้อย ข้าวตายฝอยสิ้น อนึ่งแผ่นดินไหวและเกิดอุบาทว์หลายประการ ศักราช ๘๖๘ ปีขาลอัฐศก(๔) (พ.ศ. ๒๐๔๙ ) ข้าวแพง เป็น ๓ ทะนานต่อเฟื้อง เบี้ย ๘๐๐ ต่อเฟื้อง เกวียนหนึ่ง ๑๑ (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (๒) ......ว่าศักราช ๘๘๖ วอกศก (๓) ...ว่าศักราช ๘๘๘ ระกาศก (๔)....ว่าศักราช ๘๘๘ จอศก ๓ ๑๘ ชั่ง ๒ ตำลึง ๑ สลึง ครั้งนั้นประดิษฐานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระ อาทิตยวงศ์ในที่ มหาอุปราช ให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ศักราช ๘๙๑ ปีมะเส็งเอกศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๕๒ ) ในเพลาราตรีภาค เห็นอากาศนิมิตรเป็นอินทธนูแต่ทิศหรดีผ่านทิศพายัพ มีพรรณสีขาว อยู่มาณวันอาทิตย์เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ สมเด็จ พระรามาธิบดีเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๓๘ ปี (๑๐ ) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ศักราช ๘๗๕ ปีระกาเบญศก (๒) (พ.ศ. ๒๐๕๖ ) สมเด็จ พระบรมราขาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ ๕ ปี (๑๑) รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร สมเด็จพรกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติ ศักราช ๘๗๖ ปีจอฉอศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๕๗ ) สมเด็จพระ ราชกุมารท่านเถิงแก่พิราลัย (๑๒) รัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าได้ราชสมบัติ ศักราช ๘๘๐ ปีขาลสัมฤทธิศก (๔) (พ. ศ. ๒๐๖๑ ) แรก ให้พูนดินวัดชีเชิง ถึงเดือน ๑๑ เสด็จไปเชียงไตรเชียงเชียงตราน ถึง (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่าศักราช ๘๙๑ ฉลูศก (๒)....ว่าศักราช ๘๙๕ มะเส็งศก ( ๓ )...ว่าศักราช ๘๙๖ มะเมียศก (๔ ) ...ว่าศักราช ๙๐๐ จอศก ๑๙ เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำเพลาประมาณยามหนึ่งเกิดลมพายุพัดหนัก คอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองนั้นหัก เรือไกรแก้วนั้นหักแตก อนึ่งเมื่อเสด็จมา แต่เมืองกำแพงเพ็ชรนั้น พระยานารายน์เป็นกบฎ ให้กุมมเอาพระยานารายน์ฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพ็ชร ศักราช ๘๘๗ ปีระกาสัปตศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๖๘ ) วันพฤหัสบดีเดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นแม่ทัพ ยกพลออกตั้งทัพ ชัยตำบลบางบาน วันเสาร์เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ จึงยกทัพหลวง จากที่ทัพชัยไปเถิงเมืองกำแพงเพ็ชร วันอาทิตย์เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำยกทัพไปตั้งเมืองเชียงทอง แล้วยกไปเถิงเมืองเชียงใหม่ ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ เสด็จยกพยุหยาตราทัพหลวงกลับคืนยังพระนครศรีอยุธยาอยู่ณวันพุธเดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ เกิดเพลิงไหม้พระนคร แต่ท่ากลาโหมลงไปเถิงพระราชวังท้ายท่าตลาดยอด ลมหอบเอา ลูกเพลิงไปตกลงตะแลงแกง ไหม้ลามลงไปป่าตองโรงครามฉะไกร ๓ วันจึงดับ มีบัญชีเรือนศาลากุฎีพระวิหารไหม้ ๑๐๐๐๕๐ (๒) เรือน ศักราช ๘๘๘ ปีจออัฐศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๖๙ ) ณวันอาทิตย์ เดือนยี่ขึ้น ๑๑ ค่ำ สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า เสด็จยก พยุหยาตราทัพไปเมืองใหม่ ดำรัสให้พระยาพิษณุโลกถือพล ๒๐๐๐๐ เป็นกองหน้า เสด็จยกพยุหแสนยากรรอนแรมไปโดยระยะทาง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่าศักราช ๙๐๗ มะเส็งศก (๒) ...ว่า หมื่นห้าสิบเรือน (๓) ...ว่า ศักราช ๙๐๗ มะเส็งศก ๒๐ ๑๒ เวนเถิงเมืองกำแพงเพ็ชร เสด็จประทับแรมอยู่ ๑๕ เวน ครั้น ณวันพฤหัสบดีเดือน ๓ ขึ้น ๖ ค่ำเสด็จตั้งทัพชัย เถิงณวันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ จึงยกทัพหลวงเสด็จจากที่นั้น ครั้นณวัน อังคารเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำได้เมืองลำพูนชัย เถิงณวันจันทร์เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ได้เมืองเชียงใหม่ ณวันศุกร์เดือน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำบังเกิด อุบาทว์ มีนิมิตรเห็นโลหิตตกอยู่ณประตูบ้าน และเรือนชนทั้งปวงใน เมืองนอกเมืองทุกตำบล ครั้นณวันจันทร์เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ เสด็จ ยกพยุหยาตราทัพหลวงจากเมืองเชียงใหม่มายังพระนครศรีอยุธยา ศักราช ๘๘๙ ปีกุรนศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๗๐ ) เสด็จสวรรคต ณมัชฌิมวิธีประเทศ มุขมนตรีเชิญพระบรมศพเข้าพระนครศรีอยุธยาสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าเสด็จอยู่ในสิริราชมไหสวรรย์ ๑๔ พระวษามีพระราชโอรส ๒ พระองค์ พระราชโอรสผู้ที่ทรงพระนามชื่อพระ ยอดฟ้า พระชนม์ได้ ๑๑ พระวษา พระโอรสผู้น้องทรงพระนาม ชื่อพระศรีสิน พระขนม์ได้ ๕ พระวษา ครั้นถวายพระเพลิงพระชัยราชาธิราชเจ้าเสร็จแล้ว ฝ่ายพระเทียรราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้านั้น จึงดำริว่า ครั้นจะอยู่ในฆราวาส บัดนี้เห็น ภัยจะยังเกิดมีเป็นมั่นคง ไม่เห็นสิ่งใดที่จะเป็นที่พึ่งได้ เห็นแต่พระ พุทธศาสนาและผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงชัยพระอรหัตต์ จะเป็นที่พึ่งพำนักพ้นภัยอุปัททวันตราย ครั้นดำริแล้วก็ออกไปอุปสมบท เป็นภิกขุภาวะอยู่ในวัดราชประดิษฐาน

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๐๘ มะเมียศก ๒๑ (๑๓ ) รัชกาลสมเด็จพรยอดฟ้า ฝ่ายสมณพราหม ณาจารย์มุขมนตรี กวีราชนักปราชญ์บัณฑิตโหราราชครูสโมสรพร้อมกัน ประชุมเชิญพระยอดฟ้าพระชนม์ได้ ๑๑ พระวษา เสด็จผ่านพิภพถวัลราชประเวณีสืบศรีสุริวงศ์อยุธยา ต่อไป แล้วนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ผู้เป็นสมเด็จพระ ชนนี ช่วยทำบำรุงประคองราชการแผ่นดิน ในปีนั้นแผ่นดินไหว ครั้นศักราช ๘๙๐ ปีชวดสัมฤทธิศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๗๑ ) ณวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ สมเด็จพระยอดฟ้าเสด็จออกสนาม พร้อมด้วยหมู่มุขอำมาตย์มนตรีเฝ้าพระบาทยุคลเป็นอันมาก ดำรัสสั่งให้เอาช้างบำรูงากัน บังเกิดทุรจริตนิมิตร งาช้างพระไฟนั้นหัก เป็น ๓ ท่อน ครั้นเพลาค่ำช้างต้นพระฉัตทันต์ไหลร้องเป็นเสียง คนร้องไห้ ประการหนึ่งประตูไพชยนต์ร้องเป็นอุบาทว์ ครั้นอยู่มา นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เสด็จไปประพาสเล่นณพระที่นั่งพิมานรัถยาหอพระข้างหน้า ทอดพระเนตรเห็นพันบุตรศรีเทพผู้เฝ้าหอพระ ก็มีความเสน่หารักใคร่พันบุตรศรีเทพ จึงสั่งสาวให้เอาเมี่ยงหมาก ห่อผ้าเช็ดหน้าไปพระราชทานพันบุตรศรีเทพ ๆ รับแล้วก็รู้อัชฌาสัย ว่านางพระยามีความยินดีรักใคร่ พันบุตรศรีเทพจึงเอาดอกจำปาส่งให้สาวใช้เอาไปถวายแก่นางพระยา ๆ ก็มีความกำหนัดในพันบุตรศรีเทพเป็นอันมาก จึงมีพระเสาวณีสั่งพระยาราชภักดี ว่าพนบุตรศรีเทพเป็นข้าหลวงเดิม ให้เอามาเป็นที่ขุนชินราช รักษาหอพระข้างใน ให้เปลี่ยน

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๑๐ วอกศก ๒๒ ขุนชินราชออกไปเป็นพันบุตรศรีเทพรักษาหอพระข้างหน้า ครั้น พันบุตรศรีเทพเป็นขุนชินราช เข้าไปอยู่รักษาหอรักษาหอพระข้างในแล้วนางพระยาก็ลอบลักสมัครสังวาสกับด้วยขุนชินราชมาช้านาน แล้ว ดำริจะเอาราชสมบัติให้สิทธิกับขุนชินราช จึงตรัสสั่งพระยาราชภักดี ให้ตั้งขุนชินราชเป็นขุนวรศาธิราช ให้ปลูกจวนอยู่ริมศาลาสารบัญชี ให้พิจารณาเลขสังกัดสมพัน หวังจะให้กำลังมากขึ้น แล้วให้เอา เตียงที่อันเป็นราชอาสน์ตั้งไว้ข้างหน้า สำหรับขุนวรวงศาธิราชนั่ง เพื่อจะให้ขุนนางทั้งปวงอ่อนน้อมยำเกรง แล้วนางพระยาสั่งให้ปลูกจวนให้ขุนวรวงศาธิราชการประตูดินริมต้นหมัน อยู่มาพระยา มหาเสนาพบพระยาราชภักดีจึงพูดว่า เมื่อแผ่นดินเป็นทรยศฉะนี้ เราจะคิดประการใด ครั้นรุ่งขึ้นนางพระยารู้ว่า พระยามหาเสนา พูดกับพระยาราชภักดี จึงสั่งให้หาพระยามหาเสนามาเฝ้าที่ประตูดินครั้นเพลาค่ำพระยามหาเสนากลับออกไป มีผู้แทงพระยามหาเสนา ล้มลง เมื่อจะใกล้สิ้นใจพระยามเสนาจึงว่า เมื่อเราเป็นดังนี้แล้ว ผู้อยู่ภายหลังจะเป็นประการใดเล่า (๑๔) รัชกาลขุนวรวงศาธิราช ขณะนั้นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ มีครรภ์ด้วยขุน วรวงศาธิราช จึงมีพระเสาวณีตรัสปรึกษาด้วยหมู่มุขมนตรีทั้งปวง ว่าพระยายอดฟ้าโอรสเรายังเยาว์นัก สาละวนแต่จะเล่น จะว่าราช กิจการแผ่นดินนั้น เห็นเหลือสติปัญญานัก อนึ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือเล่า มิปกติ จะไว้ใจแก่ราชการมิได้ เราคิดจะให้ขุนวรวงศาธิราช

๒๓ ว่าราชการแผ่นดิน กว่าราชบุตรเราจะจำเริญวัยขึ้น จะเห็นเป็น ประการใด ท้าวพระยามุขมนตรีรู้พระอัชฌาสัยก็ทูลว่า ซึ่งตรัส โปรดมานี้ก็ควรอยู่แล้ว นางพระยาจึงพระเสาวณีตรัสสั่งปลัดวังให้ เอาราชยานและเครื่องสูงแตรสังข์ กับขัตติยวงศ์ออกไปรับขุนวรวงศา ธิราช เข้ามาในราชนิเวศมนเทียรสถาน แล้วตั้งพระราชพิธีราชา ภิเศกยกขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าพิภพกรุงเทพทราววดีศรีอยุธยา จึงเอานายจันผู้น้องขุนวรวงศาธิราชเจ้า บ้านอยู่มหาโลก เป็นมหาอุปราช แล้วขุนวรวงศาธิราชผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน ตรัสปรึกษา กับนางพระยา บัดนี้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยรักเราบ้างชังเราบ้าง หัวเมืองเหนือทั้งปวงก็ยังกระด้างกระเดื่องอยู่ เราจำจะให้หาลงมา ผลัดเปลี่ยนเสียใหม่ จึงจะจงรักภักดีต่อเรา นางพระยาก็เห็นด้วย ครั้นรุ่งขึ้นเสด็จออกขุนนาง สั่งสมุหนายกให้มีตราขึ้นไปหาหัว เมืองเหนือ ๗ เมืองลงมา ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลูเอกศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๗๒ ) ณวันอาทิตย์เดือน ๘ ขึ้น ๕ค่ำ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกับ แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสียณวัดโคกพระยา แต่พระศรีสินน้องชาย พระชนม์ได้ ๗ พรรษานั้นเลี้ยงไว้สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับ ๒ เดือน ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพเชื้อพระวงศ์ กับขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ บ้านอยู่ลานตากฟ้า ๔ คนไว้ใจกัน เข้าไปใน

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๑๐ วอกศก ๒๔ ที่ลับแล้วปรึกษากัน ว่าเมื่อแผ่นดินเป็นทรยศดังนี้เราจะละไว้ดูไม่บังควรจำจะกุมเอาตัวขุนวรวงศาธิราชประหารชีวิตเสีย ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึงว่า ถ้าเราทำได้สำเร็จแล้วจะเห็นผู้ใดเล่า ที่จะปกป้องครองประชาราษฎรสืบไป ขุนพิเรนทรเทพจึงว่า เห็นแต่พระเทียรราชาที่บวชอยู่นั้นจะเป็นเจ้าแผ่นดินได้ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึงว่า ถ้าฉะนั้นเราจะไปเฝ้าพระเทียรราชาปรึกษาให้เธอรู้จะได้ทำด้วยกัน แล้วขุนอินทรเทพ ขุนพิเรนทรเทพ หมื่น ราชเสน่หา หลวงศรียศ ก็พากันไปยังวัดราชประดิษฐาน เข้าไปเฝ้าพระเทียรราชาถวายนมัสการ จึงแจ้งความว่าทุกวันนี้แผ่นดินเกิดทรยศข้าพเจ้าทั้งสี่คนนี้คิดจะจับขุนวรวงศาธิราชฆ่าเสียแล้วจะเชิญพระองค์ลา ผนวชขึ้นครองสิริราชสมบัติ จะเห็นประการใด พระเทียรราชาก็เห็นด้วย ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ จึงว่า เราคิดการทั้งปวงนี้เป็นการใหญ่หลวงนัก จำจะไปอธิษฐานเสี่ยงเทียน จำเพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าพระพุทธปฎิมากรเจ้า ขอเอาพระพุทธคุณเป็นที่พำนักให้ประจักษ์แจ้ง ว่าพระเทียรราชากอบด้วยบุญบารมี จะเป็นที่สาสนูปถัมภกปกป้องอาณาประชาราษฎรได้หรือมิได้ประการใดจะได้แจ้ง พระเทียรราชก็เห็นด้วย ขุนพิเรนทรเทพจึงว่า เราคิดการใหญ่หลวงถึงเพียงนี้ อนึ่งก็ได้เตรียมการไว้พร้อมแล้ว ถ้าเสี่ยงเทียนมิสมดังเจตนา จะมิเสียชัยสวัสดิมงคลไปหรือ ถ้าไม่ เสี่ยงเทียนตก จะไม่ทำหรือประการใด ว่าแล้วต่างคนต่างไป ครั้นค่ำลงวันนั้น ฝ่ายขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หาหลวงศรียศ พระ

๒๕ เทียรราชา ก็ชวนกันฟั่นเทียน ๒ เล่มขี้ผึ้งหนักเท่ากัน ด้ายใส้นั้น นับเส้นเท่ากัน เล่มเทียนนั้นสั้นยาวเสมอกัน แล้วก็พากันไปณอุโบสถวัดป่าแก้ว ฝ่ายพระเทียรราชากราบถวายนมัสการพระพุทธปฎิมากรเจ้าโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงกระทำเสี่ยงวจีจาธิษบานว่า ป่างเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าเสด็จยั้งสถิตเที่ยวโปรดสัตว์อยู่ ย่อมยังโลกอันมีความวิมุติให้สันดานบริสุทธิ์สิ้นสงสัยด้วยพระญาณสัพพัญญู ครั้นพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพาน ก็ ทรงพระมหากรุณาประดิษฐานพระเจดีย์ทั้งห้า พระปฎิมากร พระ มหาโพธิ พระสถูป พระชินธาตุ พระไตรปิฎก ไว้สนองพระ พุทธองค์เป็นที่พึ่งแก่สัตวโลกอันเกิดมาภายหลัง เป็นความสัตย์ แห่งข้าพระพุทธเจ้าฉะนี้ ประการหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าคิดจะได้ราชสมบัติครั้งนี้ ด้วยโลกียจิตต์จะใคร่เป็นใหญ่ จะได้จัดแจงราช กิจจานุกิจให้สถิตอยู่ในยุตติธรรม จะได้เป็นที่พึ่งที่พำนักในนิกรราช บรรสัช ให้มีสุขสมบูรณ์ตามราชประเวณี เป็นความสัตย์ แห่งข้าพระพุทธฉะนี้ถ้วนครบครบสอง แลยังมีความางสัยอยู่ จัก สมลุดังมโนรถแลหรือ หรือมิสมลุประการใดมิได้แจ้ง ข้าพระพุทธเจ้าขอพระบวรคุณานุภาพพระมหาเจดียสถานเจ้าทั้งห้ามีพระพุทธปฎิมากร เจ้าเป็นอาทิ อันพระพุทธองค์ทรงประดิษฐานไว้ต่างพระองค์ แล้ว จึงสัตยาธิษบานทั้งสองสัจจะแห่งข้าพระพุทธเจ้า จงเป็นที่พำนักตัดความสงสัย ข้าพระพุทธเจ้าจะกะรทำสัตย์เสี่ยงเทียนของข้าพระองค์เล่มหนึ่ง ของขุนวรวงศาธิราชเล่มหนึ่ง ถ้าข้าพระองค์จะสมลุมโนรถ ๔ ๒๖ ความปรารถนาด้วยบุญญาธิการโบราณ และปัจจุบันกรรม ควรจะ ได้มหาเศวตฉัตรสกลรัฏฐาธิปไตย อันจะได้ระงับทรยศยุคเข็ญเป็นจลาจลแห่งสมณพราหมณ์เสนาบดีไพร่ฟ้าประชาราษฎร ได้ความเดือดร้อน และได้เป็นมหาอรรคทานทายกอุปถัมภกพระบวรพุทธศาสนาใน วราชัยสวรรยาสืบไป ขอให้เทียนขุนวรวงศาธิราชดับก่อน ถ้ามิสมลุมโนรถปรารถนาแล้ว ขอให้เทียนข้าพระองค์ดับก่อน ขอพระบวร คุณานุภาพและความสัตย์ทั้งสองแห่งข้าพระพุทธเจ้า จงมาตัดความสงสัยให้ปรากฎตามเสี่ยงวจีสัตยาธิษฐาน อันข้าพระพุทธเจ้าอุทิศเสี่ยงเทียนทั้งสองเล่มนี้ เป็นพุทธสักการบูชา และเสี่ยงกระทำด้วยสัตยเคารพนี้เถิด ครั้นอธิษบานเสร็จแล้ว ก็จุดเทียนทั้งสองเล่มนั้นเข้า ฝ่าย ขุนพิเรนทรเทพไปเห็นเทียนขุนวรวงศาธิราชยาวกว่าเทียนพระเทียรราชา ก็โกรธ จึงว่าห้ามมิให้ทำสิ ขืนทำเล่า ก็คายชานหมากดิบทิ้งไป จะได้ตั้งใจทิ้งเอาเทียนขุนวรวงศาธิราชนั้นหามิไ ด้ เป็นศุภนิมิตร เหตุพอทิ้งไปต้องเทียนขุนวรวงศาธิราชดับลง คนทั้งห้าคนก็บังเกิดโสมนัสยินดีนัก ขณะนั้นมีพระสงฆ์องค์หนึ่งครองไตรจีวรครบถือ ตาลิปัตรเดินเข้าไปในพระอุโบสถ ให้พรว่า ท่านทั้งนี้จะได้สำเร็จมโนรถ ความปรารถนาเป็นอันแท้ ทั้งห้าคนก็นมัสการรับเอาพร พระสงฆ์ องค์นั้นกลับออกมาก็หายไป ต่างคนก็ต่างกลับมาที่อยู่ ครั้นประมาณ ๑๕ วัน กรมการเมืองลพบุรีบอกลงมาว่า ช้างพลายสูง ๖ ศอก ๔ นิ้ว หูหางสรัพต้องลักษณะติดโขลง สมุหนายยกกราบทูล ตรัสว่าเราจะขึ้นไปจับ อยู่อีก ๒ วันจะเสด็จ แล้วสั่งให้มีตราขึ้นไปว่าให้กรมการจับ ๒๗ เสียเถิด ครั้นอยู่มาประมาณ ๗ วัน โขลงชักปกเถื่อนเข้ามาทาง วัดแม่นางปลื้ม เข้าพะเนียดวัดซอง สมุหนายกกราบทูล ตรัสว่า พรุ่งนี้เราจะไปจับ ครั้นเวลาค่ำขุนพิเรนทรเทพจึงสั่งหมื่นราชเสน่หานอกราชการ ให้ออกไปคอยทำร้ายมหาอุปราชอยู่ที่ท่าเสื่อ สั่งแล้ว พอพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลกลงมาถึง ขุนพิเรนทรเทพจึงให้ไปบอกโดยความลับ พระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก ดีใจ จึงไปซุ่ม ซ่อนอยู่ที่คลองบางปลาหมอ กับด้วยขุนพิเรนทรเทพ หลวงศรียศ หมื่นราชเสน่หาในราชการ ขี่เรือคนละลำ พลพายมีสาตราครบมือ ฝ่ายหมื่นราชเสน่หานอกราชการ ถือปืนไปแอบคอยอยู่ ทำอาการ ดุจหนึ่งทะนายเลือก ครั้นเห็นมหาอุปราชขึ้นช้างจะไปพะเนียด หมื่นราชเสน่หาก็ยิงถูกมหอุปราชตกช้างลงตาย ครั้นเช้าตรู่ ขุนวรวงศาธิราชกับแม่ศรีสุดาจันทร์ และราชบุตรที่เกิดด้วย กันนั้น ทั้งพระศรีสินก็ลงเรือพระที่นั่งลำเดียวกัน มาตรงคลองสระบัวขุนอินทรเทพก็ตามประจำมา ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ พระยาพิชัย พระยา สวรรคโลก หลวงศรียศ หมื่นราชเสน่หาในราชการ ครั้นเห็นเรือพระ ที่นั่งขึ้นมา ก็พร้อมกันออกสะกัด ขุนวรวงศาธิราชร้องไปว่า เรือใครตรงเข้ามา ขุนพิเรนทรเทพก็ร้องตอบไปว่า กูจะมาเอาชีวิตเองทั้งสองฝ่ายขุนพิเรนทรเทพก็เร่งให้พายรีบกระหนาบเรือพระที่นั่งขึ้นมา แล้วช่วยกันเข้ากลุ้มรุมจับ ขุนวรวงศาธิราชกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ และบุตรซึ่งเกิดด้วยกันนั้นฆ่าเสียแล้วให้เอาศพให้เอาศพไปเสียบประจานไว้


๒๘ ณวัดแร้ง แต่พระศรีสินนั้นเอาไว้ ขุนวรวงศธิราชอยู่ ในราชสมบัติ ๕ เดือน (๑๕) รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช (ครั้ง ที่ ๑) ขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ กับขุนนางทั้งปวงกลับเข้ามารักษาพระราชวัง ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพ จึงให้หลวงราชนิกุล พระรักษ์ มนเทียร และเจ้าพนักงานทั้งปวง เอาเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ ไปยังวัดราชประดิษฐาน อังเชิญพระเทียรราชาให้ปริวติลาผนวชแล้วเชิญเสด็จลงเรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์อลงการ ประดับด้วยเครื่อง สูงมยุรฉัตรพัดโบกจามรมาศ ดาษดาด้วยเรือดั้งกัน แห่เป็นขนัดแน่นโดยชลมารควิถี เสด็จถึงประทับฉนวนน้ำแล้ว เชิญเสด็จเข้าสู่ พระราชวัง ครั้นได้มหามหุติวารศุภฤกษพิชัยดิถี จึงประชุมสมเด็จ พระสังฆราช พระราชาคณะ คามวาสีอรัญวาสี มุขมนตรีกวี มาตยา โหราราชครูหมู่พราหมณ์ปโรหิตาจารย์ ก็โอมอ่านอิศวรเวท วิศณุมนต์ พร้อมทั้งพุทธจักรอาณาจักร มอบเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ถวายภิเศโกทกมุรธารา ปราบดาภิเศกถวัลราชประเพณี สืบศรีสุริวงศ์กษัตริย์ ดำรงแผ่นพิภพมณฑลเสมาอาณาจักร์ กรุงเทพ ทราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดม พระราชนิเวศมหาสถานสืบไป ทรงพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า (๑)

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๑๐ วอกศก ๒๙ ฝ่ายขุนพิเรนทรเทพจึงพาเอาตัวพระศรีสินไปถวาย สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ทรงพระมหากรุณาการุญภาพเลี้ยง พระศรีสินไว้ ครั้นรุ่งขึ้นจึงเสด็จออก หมู่มุขมาตย์มนตรีทั้งปวง พร้อมกันแล้ว ตรัสปรึกษาความชอบขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หาหลวงศรียศ บ้านลานตากฟ้า ๔ คนนี้เป็นประถมคิดและพระหลวงขุนหมื่นหัวเมืองทั้งปวง เป็นผู้ช่วยราชการ พระมหาราชครูทั้งสี่ เชิญพระธรรมนูญหอหลวงมาปรึกษาความซอย เอาบำเหน็จ คั้งเจ้ามหาเสนาธิบดี รับพระอินทราชาเข้ามาแต่เมืองสุพรรณบุรี เข้าพระราชวังได้ เอามาเปรียบให้บำเหน็บ พระราชทาน ลูกสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่ง พานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทอง กะบี่กั้นหยั่น เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เอาคำปรึกษากราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงพระราชดำรัสตรัสว่าน้อยนัก คน ๔ คน นี้เอาชีวิตและโคตรแลกความชอบในแผ่นดิน แล้วตรัสว่า ขุนพิเรนทรเทพเล่า บิดา เป็นพระราชวงศ์พระร่วง มารดาไซร้ ได้เป็นพระราชวงศ์แห่งสมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้า ขุนพิเรนทรเทพเป็นปฐมคิด เอาเป็นสมเด็จ พรมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ให้รับพระราชบัณฑูร ครองเมือง พิษณุโลก จึงตรัสเรียกสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดา ถวายพระนาม ชื่อ พระวิสุทธิกษัตรีย์ เป็นตำแหน่งพระอัครมเหษีเมืองพิษณุโลก เครื่องราชาบริโภค ให้ตั้งตำแหน่งศักดิฝ่ายทหารพลเรือน เรือชัยพื้นดำพื้นแดงคู่หนึ่ง และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ให้สมเด็จ พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าทรงขึ้นไป เอาขุนอินทรเทพเป็นเจ้าพระยา

๓๐ ศรีธรรมโศกราช พระราชทานลูกพระสนมองค์หนึ่ง เจียดทองคู่หนึ่งพานทองคู่หนึ่ง เต้าน้ำทอง กระบี่กั้นหยั่น เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัวเครื่องสูง เอาหลวงศรียศ เป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดีเอาหมื่นราชเสน่หาเป็นเจ้าพระยามหาเทพ พระราชทานลูกพระสนม และเครื่องสูง เครื่องทอง เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว เจ้าพระยามหาเสนาบดี เจ้าพระยามหาเทพ เหมือนกันกับเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช หมื่นราชเสน่หานอกราชการ ที่ยิงมหาอุปราชตกช้างตายนั้น ปูนบำเหน็จให้เป็นเจ้าพระยาภักดีนุชิต เจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระราชทานลูกพระสนมเป็นภรรยา ฝ่ายพระยาพิชัย พระสวรรคโลกนั้น พระยาราชทานบำเหน็จโปรดให้เป็นเจ้าพระยาพิชัย เจ้าพระยาสวรรคโลก พระราชทาน เจียดทองซ้ายขวา กระบี่บั้งทอง เต้าน้ำทอง พระหลวงขุนหมื่นนอกนั้นพระราชทานบำเหน็จความชอบ โดยนุกรมลำดับ แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสสาบาลไว้ ว่ากษัตริย์พระองค์ใดครองพิภพ ภายหน้า อย่าให้แก่ญาติพี่น้องพวกพงศ์สมเด็จพระมหาธรรมราชา ธิราชเจ้า เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช เจ้าพระยามหาเสนา เจ้าพระยามหาเทพ ให้โลหิตตกลงในแผ่นดิน ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดมิได้ กระทำตามเราสาบาลไว้ อย่าให้กษัตริย์พระองค์นั้นคงอยู่ในเศวตฉัตรครั้งนั้นได้ช้างเผือกช้างหนึ่ง


๓๑ ขณะเมื่อแผ่นดินพระนครศรีอยุธยาเป็นทุรยุค ปรากฎขึ้นไปถึงกรุงหงสาวดี สมเด็จพระยาเจ้าหงสาวดีแจ้งประพฤติเหตุไปว่า สมเด็จพระชัยราชาธิราชเจ้าแผ่นดินพระนครศรีอยุธยาสวรรคตแล้ว เสนาบดียกพระยอดฟ้าราชกุมาร พระชนม์ ๑๑ ขวบขึ้นครองราชสมบัติ แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ มารดาพระยอดฟ้า กระทำทุราจารสมรสสังวาสด้วยขุนชินราช ให้ฆ่าพระยอดฟ้าเสีย ยกขุนชินราชขึ้นผ่านพิภพ กรุงทราวดีศรีอยุธยา เสนาพฤฒามาตย์มีความพิโรธเคืองแค้น คิดกันฆ่าขุนชินราช แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์เสีย แผ่นดินเป็นจลาจลสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ทรงพระราชดำริว่า ถ้าพระนครศรีอยุธยาเป็นดังนี้จริง เห็นว่าหัวเมืองขอบขันธเสมาและเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวง จะกระด้างกระเดื่องมิปกติ ถ้ายกกองทัพรุดไปโจมตีเอา เห็นจะได้ พระยานครศรีอยุธยาโดยง่าย ทรงพระดำริแล้วก็ตรัสให้จัดพลทหารรบ ๓๐๐๐๐ ช้างเครื่อง ๓๐๐ ม้า ๒๐๐๐ เศษ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ก็เสด็จยกรุดรีบมาโดยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตีเมืองกาญจนบุรี จับได้กรมการถามให้การว่า พระนครเป็นจลจลก็จริง แต่บัดนี้ พระเทียรราชาได้ครองราชสมบัติ เสนาพฤฒามาตย์และหัวเมืองทั้งปวงพร้อมมูลเป็นปกติกันแล้ว สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า ได้ล่วงเกินมาถึงนี่แล้ว จะกลับเสียนั้นไม่มีเกียรติยศเลย จะเข้าไปเหยียบให้ ถึงชานเมืองพอเห็นพระนครแล้วจะกลับ ประการหนึ่งจะได้ดูมือทหาร กรงศรีอยุธยา ผู้ใดจะออกรับทัพเราบ้าง ตรัสแล้วก็ยกทัพไปตีเมืองสุพรรณบุรี แล้วเดินตัดทุ่งเข้าท้ายป่าโมกข์ ข้ามพลเข้าไปตั้งค่ายหลวง

๓๒ ตำบลลุมพินี ณวันอังคารเดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำ ศักราช ๘๙๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๐๗๓ ) ขณะนั้นมีหนังสือเมืองสุพรรณบุรีบอกราชการเข้าไป ถึงกรุงพอทัพพระเจ้าหงสาวดีถึงทุ่งลุมพลีพร้อมกัน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าตกพระทัย ตรัสให้เร่งพลนอกเมืองในเมือง ขึ้นรักษาหน้าที่เป็นกุลาหล สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตั้งลุมพลี ๓ วัน พอทอดพระเนตรดูกำแพงพระนครศรีอยุธยา และปราสาทราชมนเทียรแล้ว ก็เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีโดยทางมา ขณะเมื่อพระเจ้าหงสาวดียกทัพกลับมานั้น ฝ่ายพระยาละแวกรู้ว่าพระนครศรีอยุธยาผลัดแผ่นดินใหม่ ก็ยกทัพรีบมาถึงเมืองปราจินบุรี ตีจับได้คนถามให้การว่า พระเทียรราชาครองสมบัติเสนาบดีพร้อมมูลกันอยู่ พระยาละแวกมิอาจยกเข้ามา กวาดแต่ครัวอพยพชาวปราจินบุรีแล้วกลับไปเมืองละแวก ครั้นพระเจ้าหงสาวดียกกลับไปแล้ว สมเด็จพระเจ้ามหาจักรีพรรดิราชาธิราชเจ้า คิดแค้นแก่พระยาละแวก ว่ากรุงหงสาวดีดูหมิ่นแล้ว เมืองเขมรมาดูหมิ่นด้วยเล่า ถ้าราชการฝ่าย หงสาวดีสงบลงเมื่อใด เราจะแก้แค้นมันให้จงได้ แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ซ่อมแซมกำแพงนครซึ่งชำรุดปรักหักพัง ให้มั่นคงโดย รอบคอบแล้ว ให้สฐาปนาที่พระตำหนักวังเป็นพระอุโบสถและสร้าง พระวิหารอาราม ให้นามชื่อวัดวังชัย อธิการให้ชื่อพระนิกรม แล้ว ตรัสว่า เมื่อเราอุปสมบทนั้น บินฑบาตขึ้นไปป่าโทนป่าถ่านจนถึง ป่าชมพู อากรซึ่งขึ้นสารพากรเป็นหลวงนั้น ให้เถรเณรไปขอเป็น กัปปิยจังหันเถิด

๓๓ ศักราช ๘๙๓ ปีเถาะตรีศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๗๔) เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ ทำการพระราชพิธีประถมกรรม สมเด็จพระมหาจักร พรรดิราชธิราชเจ้า ตำบลท่าแดง พระกรรมวาจาเป็นพระพฤฒิบาทพระพิเชฐเป็นหัสดาจารย์ พระอินโทรเป็นธรรมการ (๒) ศักราช ๘๙๔ ปีมะโรงจัตวาศก (พ.ศ. ๒๐๗๕ ) สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิราชธิราชเจ้า ฟังข่าวราชการข้างกรุงหงสาดี สงบอยู่ ก็ตรัสให้เตรียมทัพพะนียด ๕๐๐๐๐ ให้เกณฑ์หัวเมือง ปากใต้เป็นทัพเรือไป ให้พระยาเยาว์เป็นทัพ พระยาศรีโชดึกเป็น กองหน้า ถึงณวันอาทิตย์เดือนยี่ขึ้น ๖ ค่ำ เพลาเช้า ๓ โมง ๒ บาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จยกกองทัพหลวงไปโดยทางมัตบองถึงเมืองละแวก ฝ่ายทัพเรือไปข้างปากน้ำพุทไธมาศ เข้าคลองเชิงกระชุม และกองหน้าตั้งห่างเมือง ๑๐ เส้น ทัพหลวงตั้งไกลเมือง ๑๕๐ เส้น ฝ่ายพระยาละแวกเห็นป้องกันเมืองไว้มิได้ จึงให้มีศุภอักษร แต่งเสนาบดีถือมากราบถวายบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในลักษณะนั้นว่า ข้าพระองค์ผู้คอรงกรุงกัมพูชาธิบดี ขอถวายบังคมมาแทบ พระบาทบงกชมาศ สมเด็จพระนั่งเกล้าพระองค์ผู้ทรงอิศวรภาพเป็น ปีนกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุมดมพระราชมหาสถาน ด้วยข้าพระองค์เป็นคนโมหจริต มิได้ คิดเกรงพระเดชเดชานุภาพ และยกทัพเข้าไปกวาดเอาชาวปราจินบุรีอันเป็นข้าขอบขันธเสมากรุงเทพมหานครมานั้น ผิดหนักหนาอยู่แล้ว

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่าศักราช ๙๑๒ จอศก (๒)....ว่ากรมการ ๓๔ ขอสมเด็จพระนั่งเกล้าได้โปรดงดโทษานุโทษแก่ข้าพระองค์เถิด อย่าเพ่อยกพยุหโยธาเข้าหักเอาเมืองก่อนเลย งดไว้ก่อน ๓วัน ข้าพระ องค์จะแต่งเครื่องราชบรรณการออกไปถวาย ขอเป็นข้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ไปตราบเท่ากัลปาวสาน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ทรงพระการุญภาพแก่พระนาละแวก ตรัสกำหนดหาทัพหากอง ให้งดการศึกซึ่ง เข้าหักเมืองโดยศุภอักษรพระยาละแวก ครั้นถ้วนกำหนด ๓ วัน พระยาละแวกก็นำเครื่องราชบรรณาการ กับนักพระสุโท นักพระสุทันอันเป็นราชบุตรออกมาเฝ้า ทูลเกล้ากระหม่อนถวายเป็นข้าพระ บาท สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็สิ้นความพิโรธ จึงตรัสแก่พระยาละแวกว่า ท่านจงรักษาแผ่นดินกรุงกัมพูชาธิบดีโดย ยุติธรรมราชประเพณีสืบมาแต่ในกาลก่อนนั้นเถิด แล้วพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า นักพระสุโทนักพระสุทันนี้ เราจะขอไปเลี้ยงเป็นโอรส พระยาละแวกมิอาจที่จะขัดได้ก็ให้ โดยบัญชาพระเจ้าอยู่หัว แล้ว พระยาละแวกก็ถวายบังคมลาคืนเข้าไปเมือง จัดแจงเครื่องราชูปโภคชายหญิงให้แก่ราชบุตร แล้วก็พามาถวายกราบทูลฝาก สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ทานอย่าวิตกเลย ราชบุตรท่านทั้งสองนี้ ก็เหมือนโอรสแห่งเรา พระยาละแวกมีความยินดีนัก ให้เสนาบดี ไปต้อนครัวอพยพชาวปราจีนบุรีมาส่งยังค่ายหลวง สมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวก็เสด็จยกกองทัพบกกองทัพเรือกลับคืนมา และครัวอพยพ ทั้งนั้นกลับมายังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาให้นักพระสุทันขึ้นไปครองเมืองสวรรคโลก ๓๕ ศักราช ๘๙๕ ปีมะเส็งเบญจศก (๑) ( พ.ศ. ๒๐๗๖ ) ครั้งนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้แปลงเรือแซ่เป็นเรือชัยและเรือศีรษะสัตว์ต่างๆ ศักราช ๘๙๖ ปีมะเมียฉอศก ( พ.ศ. ๒๐๗๗ ) เดือน ๘ ทำการพระราชพิธีมัธยม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ตำบลชัยนาทบุรี ศักราช ๘๙๗ ปีมะเมียสัปตศก (๒) (พ.ศ. ๒๐๗๘ ) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลบางละมุง ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้างอนึ่งในเดือน ๑๒ นั้น ได้ช้างเผือกพลาย ตำบลกาญจนบุรี สูง ๔ ศอกเศษ ชื่อคเชนทโรดม ครั้งนั้นมีข่าวมาว่า เมืองละแวก เสียแก่ญวน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแจ้งว่า นักพระสัตถายกมารบ เมืองละแวก เสียบิดานักพระสุทันนักพระสุโทแก่ญวนแล้ว จำจะให้ออกไปกำจัดเอาเมืองคืน ทรงพระกรุณาตรัสแก่มุขมนตรีว่า จะออก ไปเมืองละแวกครั้งนี้ จะเห็นใครที่จะเป็นแม่ทัพออกไป มุขมนตรี ทั้งปวงปรึกษาพร้อมกันกราบทูลว่า เห็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ บุตรบุญธรรมที่ไปครองเมืองสวรรคโลกออกไป จะได้เอาใจชาวละแวกจึงมีพระราชกำหนดให้หาพระองค์สวรรคโลกลงมาเฝ้า สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า จะให้เจ้าเป็นแม่ทัพออกไป พระองค์สวรรคโลกกราบทูลว่า พระชันษาร้ายถึงฆาต สมเด็จพรเจ้าอยู่หัวตรัสว่า มุขมนตรีปรึกษาพร้อมกันแล้ว ประการหนึ่งแผ่นดินกรุงกัมพูชา ธิบดีก็เป็นของเจ้าอยู่จำจะไป (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๑๔ ชวดศก (๒)...ว่า ศักราช ๙๑๖ ขาลศก ๓๖ ศักราช ๘๙๘ ปีวอกอัฐศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๗๙ ) เดือน ๑๒ พระองค์สวรรคโลกเป็นแม่กองถือพล ๓๐๐๐๐ พระมหามนตรีถือ อาชญาสิทธิ์ พระมหาถือวัวเกวียน ฝ่ายทัพเรือ พระยาเยาว์ เป็นนายกองครั้งนั้นลมขัด ทัพเรือมิทันทัพบกๆ ใกล้ถึงเมืองละแวกพระยารามลักษณ์ซึ่งเกณฑ์เข้าทัพบกนั้น เข้าบุกทัพในกลางคืน ทัพญวนแต่งรับเป็นสามารถ และทัพพระยารามลักษณ์แตกมาปะทะ ทัพใหญ่ ครั้งนั้นเสียพระองค์สวรรคโลกกับคอช้าง เสียช้างม้ารี้พล เป็นอันมาก ศักราช ๘๙๙ ปีระกานพศก (๒) (พ.ศ. ๒๐๘๐ ) ณวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้นค่ำหนึ่งเกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง อนึ่งในเดือน ๓ นั้น ทำพระราชพิธีอาจริยาภิเศก และกระทำการพระราชพิธีอินทราภิเศก ในพระราชวัง อนึ่งในเดือน ๕ นั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชา ธิราชเจ้า พระราชทานสัตสดกมหาทาน และให้ช้างเผือกมีกรอง เชิงเงิน ๔ เท้าช้าง เป็นเงิน ๑๖๐๐ ชั่ง ราชรถ ๗ เล่มเทียมด้วยม้า มีนางสำหรับรถเสมอรถละ ๗ นาง อนึ่งในเดือน ๗ เสด็จไปวังช้าง ตำบลโตรกพระ ได้ช้างพลายพัง ๖๐ ช้าง ศักราช ๙๐๐ ปีจอสัมฤทธิศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๘๑ ) เสด็จ ไปวังช้างตำบลแสนตอ ได้ช้างพลายพัง ๔๐ ช้าง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๑๘ มะโรงศก (๒) ...ว่า ศักราช ๙๑๙ มะเส็งศก (๓) ...ว่า ศักราช ๙๒๑ มะแมศก

๓๗ ศักราช ๙๒๒ ปีชวดโทศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๘๓ ) เสด็จไป วังช้างตำบลวัดกะได ได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง ศักราช ๙๐๔ ปีขาลจัตวาศก(๒) (พ.ศ. ๒๐๘๕ ) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างพลายพัง ๗๐ ช้าง ศักราช ๙๑๐ ปีเถาะเบญจศก (๓) (พ.ศ. ๒๐๘๖) สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงพระดำริว่า ครั้งก่อนเรายกทัพรุดไปพระนคร ศรีอยุธยา พลแต่ ๓๐๐๐๐ ล่วงเข้าตั้งถึงชานเมืองตำบลลุมพลี หามีผู้ใดมาปะทะมือไม่ แต่หากทว่าพลน้อย จะทำการช้าวันมิถนัด ครั้งนี้จะยกไปให้มาก ๑๐ เท่าก็เห็นจะได้พระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงพระดำริแล้ว ให้เกณฑ์พล ๓๐ หมื่น ช้างเครื่อง ๗๐๐ ม้า ๓๐๐๐ ให้พระมหอุปราชาเป็นกองหน้า พระเจ้าแปรเป็นเกียกกาย พระยาสิมเป็นกองหลัง ครั้นณวันอาทิตย์ เดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำเพลาอุษาโยค สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ทรงเครื่องสิริราชปีลันทนาลังกากรณ์ บวรมหาสังวาลเนาวรัตน์ สพักตร์พระอังษาลงกฎ อังคาพยพอย่างอัคราชรามัญวิสัยสำหรับมหาพิชัยรณรงค์เสร็จเสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายมงคลปราบทวีป เป็นราชพาหนะ ประดับเครื่องคเชนทราลังกากรณ์ บวรมหาสารวิภูษิต พร้อมด้วยเสนางค นิกรพิริยโยธาหาญ พลดาบดั้งดาบเขนเป็นขนัดแน่นแสนเสโลห์ โตมรมาศทวนทอง เป็นทิวแถวดาษดา ดูโมหฬาร์เลิศพันลึก อธึก

(๑) .... ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๒๒ วอกศก (๒) ... ว่าศักราช ๙๒๔ จอ (๓)...ว่าศักราช ๙๑๐ วอกศก ๓๘ ด้วยธวัชธงฉานธงชัย รุจิตไพโรจน์อัมพรวิถิเดียรดาษทัพท้าวพระ ยารามัญรายเรียงเป็นระยะ โดยกระบวรพยุหยาตราหน้าหลังทั้งปวงพร้อมเสร็จ ได้เพลามหาศุภฤกษ์ โหราธิบดีลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์กังสดาลดนตรี ศัพท์ฆ้องกลองก้องสนั่นฤนาท ดำเนินธงคลาพยุหโยธาทัพ ออกจากกรุงหงสาวดีรอนแรมมา ๗ วันข้ามแม่น้ำเมาะตะมะ เดินทัพโดยทางสะมิ ขณะนั้นมีหนังสือบอกเมืองกาญจนบุรีเข้ามาว่า ชาวด่านไปถีบด่านถึงตำบลจอยยะ ได้เนื้อความว่า สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยกมา ข้ามพลเมืองเมาะตะมะถึง ๗ วันจึงสิ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ตรัสสั่งให้เทครัวมืองตรีจัตวา และแขวงจังหวัดเข้าพระนครแล้ว มีพระราชกำหนดขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลกว่า ถ้าศึกหงสาวดีมาติดพระนครศรีอยุธยาเมื่อใดให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาเอาทัพเมืองเหนือทั้งปวงเป็นทัพกระหนาบ แล้วตรัสให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายตำบลลุมพลี พล ๑๕๐๐๐ ล้วนใส่เสื้อแดงหมวกแดง ฝ่ายมหานาคบวชอยู่วัดภูเขาทอง ศึกออกรับตั้งค่ายกันทัพเรือตั้งค่ายแต่วัดภูเขาทองลงมาจนวัดป่าพลู พักพวกสมกำลังญาติโยมทาษชายหญิงของมหานาค ช่วยกันขุดคูนอกค่ายกันทัพเรือ จึงเรียกว่าคลองมหานาค เจ้าพระยามหาเสนาถือพล ๑๐๐๐๐ ออก ตั้งค่ายบ้านดอกไม้ป้อมท้องนาหันตรา พลใส่เสื้อเขียวหมวกเขียว พระยาพระคลังถือพล ๑๐๐๐๐ ตั้งป้อมค่ายคู พลใส่เสื้อเหลืองหมวกเหลือง พระสุนทรสงครามถือพล ๑๐๐๐๐ ตั้งค่ายป้อมจำปา

๓๙ พลใส่เสื้อดำหมวกดำ และบันดาการพระนครนั้น ก็ตกแต่งป้องกันเป็นสามารถ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพข้ามกาญจนบุรี ถึงพระนครศรีอยุธยาณวันเสาร์เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ ตั้งค่ายหลวงตำบลกุ่มดอง ทัพพระใหาอุปราชาตั้งค่ายตำบลพะเนียด ทัพพระเจ้าแปร ตั้งค่ายตำบลบ้านใหม่มะขามหยอง ทัพพระยาพะสิมตั้งค่ายตำบล ทุ่งประเชด ครั้นรุ่งขึ้นวันอาทิตย์เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ราชาธิราชเจ้า จะเสด็จยกพยุหโยธาทวยหาญ ออกไปดูกำลังข้าศึก ณทุ่งภูเขาทอง จึงทรงเครื่องราชลังการยุทธ์ เสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์สูง ๖ ศอกคืบ ๕ นิ้ว เป็นพระคชาธาร ประดับคชา ลังกาภรณ์เครื่องมั่นมีกลางช้าง และควาญ พระสุริโยทัยผู้เป็นเอกอัครราชเหษี ประดับองค์เป็นพระมหาอุปราช ทรงเครื่องสำหรับ ราชรณรงค์ เสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์ สูง ๖ ศอกเป็นพระคชาธาร ประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นเสร็จ มีกลางช้างและควาญ พระราเมศวรทรงเครื่องสิริราชลันทนาวราภรณ์ สำหรับพิชัยยุทธสงความเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลจักรพาฬ สูง ๕ ศอกคืบ ๑๐นิ้วประดับคชาภรณ์เครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญ พระมหิหทราธิราชทรงราชวิภูสนาลังกาภรณ์สำหรับพระมหาพิชัยยุทธ์รณรงค์ เสด็จทรงช้างต้นพลายพิมานจักรพรรดิ สูง ๕ ศอกคืบ ๘ นิ้ว ประดับด้วยกุญชร อลงกฎเครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญ ครั้นได้มหาศุภวารฤกษ์ราช

๔๐ ดิถี พระโหราลั่นฆ้องชัยประโคมอุโฆษณ์แตรสังข์อึงอินทเภรี สมเด็จพระมาหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ยาตราพระคชาธาร พระอัครมเหษีและพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์โดยเสด็จ เหล่าคชพยุหดั้งกันแทรกแทรงค่ายค้ำพังคาโคตรแล่น มีทหารประจำขี่ กรกุมปลาย ขอประจำคอทุกตัวสารควาญประจำท้าย ล้อมเป็นกันกงโดยขนัด แล้วถึงหมู่พยุหแสนยากรโยธาทหารเดินเท้า ถือดายดั้งเสโลห์โตมรหอกใหญ่หอกคู่ ธงทวนธนูปืนนกสับคับคั่งซ้ายขวาหน้าหลัง โดยกระ บวนคชพยุหสงคราม เสียงเท้าพลและช้างสะเทือนดังพสุธาดลจุซุดสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า เสด็จยืนพระคชาธาร ประมวลพลและคชพยุห โดยกระบวนตั้งอยู่ณโคกพระยา ฝ่ายกองตระเวนรามัญเห็นดังนั้น ก็เข้าไปกราบบังคมทูล พระเจ้าหงสาวดี โดยได้เห็นทุกประการ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ตรัสว่า ชรอยจะเป็นทัพพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ยกออก มาจะกระทำคชพยุหสงครามกับเรา พระองค์ตรัสให้ยกพลหลวงออกจากค่ายตั้งกระบวน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงเกราะเครื่องพิชัยยุทธ์ย้อมทับถมด้วยวิชาศาสตร์เวชคาถา แล้วสอดพระมหาสุพรรณสังวาลประดับเพ็ชรพื้นถมสรรพคุณเวชคาถาต่าง ๆ ทรงพระมหามาลาลงเลขยันตร์ กันสรรพสาตราวุธภยันตราย สำหรับราชรณรงค์ยุทธ์เสร็จเสด็จทรงช้างต้นพลายมงคลปราบทวีปสูง ๗ ศอกเป็นพระคชาธารประดับคชาภรณ์เครื่องมั่น มีกลางช้างและควาญ เครื่องสูงสำหรับราชรณรงค์แห่โดยขนัด มีหมู่ทหารถือดาบดั้ง ๑๐๐๐๐ ล้อมพระ

๔๑ คชาธาร พระเจ้าแปรประดับเครื่องอลังการพิชัยยุทธ์ ทรงช้าง ต้นพลายเทวนาคพินาย สูง ๖ ศอกคืบ ๗ นิ้วเป็นพระคชาธารประดับคชาภรณ์เครื่องมั่นมีควาญและกลางช้าง ยกเป็นกองหน้า มีทหารดาบสองมือ ๑๕๐๐ ล้อมพระคชาธาร ช้างท้าวพระยารามัญคับคั่งตั้งโดยกระบวนกันกงเป็นขนัด เหล่าพยุหโยธาทหารเดินเท้า ถือสรรพสาตราดาดาษโดยกระบวน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ยกพยุหโยธาทวยหาญออกตั้งยังท้องทุ่งตรงหน้าทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เส้น เสด็จยืนพระคชาธารคอยฤกษ์ จึงตรัสให้พลม้ารำทวนชักชิงคลอง กันไป ให้พลเท้าเริงหน้าทัพ ฝ่ายพลเครื่องเล่นเต้นรำร้องเฮฮา เป็นกุลาหล ฝ่ายพลดาบดั้งดาบ ๒ มือก็รำล่อเลี้ยวกันไปมา ขณะ นั้นสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทอดพระเนตร์ดูบนอากาศ เห็นพระอาทิตย์แจ่มดวงหมดเมฆหมอกแล้ว คิชฌราชบินนำหน้าทัพ ครั้นเห็น ศุภนิมิตรราชฤกษ์ดังนั้น ก็ให้ลั่นฆ้องชัยโฆษณ์แตรสังข์อึงอินทเภรี ขึ้นพร้อมกัน ก็ตรัสให้ขับพลเข้าโจมทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิดำรัสให้แยกพลเป็นปีกกา พลโยธาหารทั้งสองฝ่าย บ้างเห่โห่โกลาหลเข้าปะทะประจันตีฟันแทงแย้งยุทธ์ ยิงปืนระดมสาตราธุมาการตลบไปทั้งอากาศ พลทั้งสองฝ่ายบ้างตายบ้างลำบาก กลิ้งกลาดเกลื่อนท้องทุ่งเป็นอันมาก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกองหน้าพระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปร ๖ ๔๒ ได้ท้ายข้าศึกดังนั้น ก็ชัยพระคชาธารตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ พระสุริโยทัยเห็นพระราชสามีเสียทีไม่พ้ นมือ ข้าศึก ทรงพระกตัญญูภาพก็ขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์สะอึกออกรับ พระคชาธารพระเจ้าแปรได้ล่างแบกถนัด พระคชาธารพระสุริโยทัยแหงนหงาย เสียที พระเจ้าแปรจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องพระอังษา พระสุริโยทัยขาดกระทั่งถึงราวพระถันประเทศ พระราเมศวรกับ พระมหินทราธิราช ก็ขับพระคชาธารลันจะเข้าพระราชมารดา ไม่ทันที พอพระชนนีสิ้นพระชนม์กับคอช้าง พระพี่น้องทั้งสอง พระองค์ถอยรอรับข้าศึก กันพระศพสมเด็จพระราชมารดาเข้าพระนครได้ โยธาชาวพระนครแตกพ่ายข้าศึก รี้พลตายเป็นอันมาก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า จึงให้เชิญพระศพพระสุริโยทัยผู้เป็นพระอัครมเหษีมาไว้ตำบลสวนหลวง ครั้นรุ่งขึ้นพระมหาอุปราชาแต่งพลเข้าตีค่ายพระสุนทรสงคราม ๆ ต่อรบข้าศึกเป็นสามารถ แต่ พลาเช้าจนพลบค่ำ ข้าศึกหนุนแน่นเข้ามาหักค่ายพระสุนทรสงครามแตก เสียค่ายและป้อมจำปา พลตายลำบากมาก รุ่งขึ้นสมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีทรงช้างต้นพลายกามกวมสูง ๗ ศอกตัวทาแดง เสด็จยกพลมาทุ่งลุมพลี ให้ทหารเดินเท้าแซงตามทิวไม้ ๒ ฟากทุ่ง เสด็จ ยืนช้างชี้พระหัตถ์ให้ทหารม้า ๕๐๐ เข้ายั่วหน้าค่ายพระยาจักรี ๆ ก็ขับทหารออกรบ ฝ่ายนายทหารหงสาซึ่งแซง ๒ ชายทุ่งนั้นเห็นได้ที ก็ยกออกโจมตีโอบลงไปเป็นทัพกระหนาบจนใกล้ค่าย ทหารม้าก็ดา


๔๓ ไล่ตะลุมบอนฆ่าฟันทหารพระยาจักรีล้มตายเป็นอันมาก พระยาจักรี และทหารทั้งปวงเสียที ก็ล่าทับเข้าพระนคร ครั้นได้ค่ายพระยาจักรี แล้ว สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็เสด็จกลับเข้าค่ายหลวง ทหารที่ได้ ศีรษะชาวพระนครไปประมาณ ๔ ส่วน ที่มิได้ศีรษะประมาณส่วนหนึ่งสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสให้ปลูกร้านขึ้น แต่งเครื่องมัชชมังษา สุราบานให้รับพระราชทาน ที่มิได้ศรีษะนั้นให้นั่งรับพระราชทานใต้ ถุนร้าน ให้ทหารซึ่งรับพระราชทานบนร้านนั้นราดน้ำล้างมือลงมา ครบ ๓ วันให้พ้นโทษ ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ตรัสแก่มุขมนตรีว่า ทหาหงสาวดียังกำลังกล้ารื่นเริงอยู่ ทั้งสะเบียงอาหารก็ยังไม่ขัดสน จำจะรักษามั่นหน่วงไว้คิดการเดือน คอยทัพเมืองพิษณุโลกซึ่งจะลงมาขนาบนั้นด้วย แล้วจะคิดเอาปืนใหญ่ล้างค่ายทำลายความคิดให้อ่อนลง จึงค่อยคิดการเอาชัยชำนะเมื่อภายหลัง เห็นจะได้โดยง่าย มุขมนตรีทั้งหลายก็เห็นด้วย จึงให้เชิญปืนนารายน์สังหารลงสำเภา ฉ้อขึ้นไปทางบ้านป้อม แต่งทัพกัน ๒ ฝั่งฟากขึ้นไปทางขนอน ปากคู่ ทหารทดมาตั้งกองร้อยคอยเหตุอยู่ ก็เอาข่าวเข้าไปกราบทูล แก่พระเจ้าหงสาวดีว่า ชาวพระนครฉ้อสำเภาขึ้นมา มีทัพบกป้อง กัน ๒ ฝั่งฟาก เห็นทีจะบันทุกปืนใหญ่ขึ้นมาล้างค่าย ทูลยังมิทัน สิ้นคำ ชาวพระนครยิงปืนนารายน์สังหารไป กระสุนตกลงในค่ายใกล้พลับพลาสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ๆ ให้เอากระสุนปืนมาบวงสรวงพลีแล้วให้เลิกไปตั้งค่ายหลวงณทุ่งพุดทะเลา อยู่ ๓ วัน สมเด็จพระเจ้า

๔๔ หงสาวดีเสด็จทรงช้างพระที่นั่งกระโจมทอง ยกพลหลวงออกจากค่ายข้ามโพสามต้นมาตามทุ่งพะเนียด เสด็จยืนช้างอยู่ณวัดสามพิหาร ตรัสให้มหาอุปราชาต้อนพลเข้าหักพระนคร จึงพระยารามให้เอาปืนนารายน์สังหาร ลงใส่สำเภาไม้รักแม่นางไว้ขึ้นไปยิงค่ายสมเด็จ พระเจ้าหงสาวดี ปืนถีบท้ายสำเภาจมลง กระสุนปืนขึ้นไปถูกกิ่ง พระศรีมหาโพธิใหญ่ประมาณ ๓ กำเศษ ขาดตกลงใกล้ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีประมาณ ๓วา ขณะนั้นชาวป้อมมหาชัย ก็ยิงปืนใหญ่ระดมมาต้องพลหงสาวดีคายมาก จะปล้นเอาพระนคร มิได้ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็เสด็จยกทัพกลับยังพลับพลา ฝ่ายสมเด็จพระมหาธรรมราชาแจ้งข่าวขึ้นไปว่า กองทัพสมเด็จพระ- เจ้าหงสาวดีมาติดพระนครศรีอยุธยา ก็เกณฑ์กองทัพเมืองพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองพิจิต เป็นคน ๕๐๐๐๐ลงมาถึงเมืองชัยนาทบุรี ตั้งค่ายมั่น ๒ ฝั่งฟาก แต่งกองร้อย ลงมาสืบถึงแขวงเมืองสิงหบุรี พอพบสมิงจะคร้าน สมิงมะลุม คุมทัพประมาณ ๓๐๐๐๐ ไปลาดหาสะเบียง กองร้อยชาวเมืองพระพิษณุโลกเห็นรามัญมากกว่าก็วิ่งหนี พวกรามัญเอาม้าไล่สะกัดจับได้ ๒ คน คุมตัวมาถวาย สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสถาม นายมั่น ปืนยาว นายคง หนวด ให้การกราบทูลว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ผู้ครองเมืองพระพิษณุโลก แจ้งขึ้นไปว่า ทัพกรุงหงสาวดีมาติดพระ นครศรีอยุธยา จึงยกพลเมืองพระพิษณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองพิจิต เป็นคน ๕๐๐๐๐๐ ลงมาช่วยตีกระหนาบ

๔๕ บัดนี้มาตั้งอยู่ชัยนาทบุรี แต่งให้พ้นโจมจัตุรงค์ พันยงใจหาญ คุมข้าพเจ้าคน ๑๐๐ มาสืบทัพ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีแจ้งดังนั้น ก็ แย้มพระโอษฐแล้วตรัสว่า อ้าย ๒ คน ให้โกนศีรษะเสีย ปล่อย มันขึ้นไปทูลพระมหาธรรมราชา ว่าซึ่งจะลงมาเป็นทัพกระหนาบนั้น เราคอยอยู่ ถ้ามิลงมา ให้มั่นไว้ เราจะขึ้นไปหา สมิงจะคร้านรับสั่งสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ก็เอาตัวนายมั่น ปืนยาว นายคง หนวด ไปโกนศีรษะ แล้วคุมตัวขึ้นไปแขวงเมืองสิงหบุรี นายมั่น นาย คงก็ขึ้นไปถึงชัยนาท ให้ขุนนางนำเฝ้ากราบทูลเนื้อความ ซึ่งพระเจ้า หงสาวดีสั่งมานั้นให้ทราบทุกประการ สมเด็จพระมหาธรรมราชาตรัสถามว่า เองเข้าไปถึงพระเจ้าหงสาวดีนั้น เห็นรี้พลประมาณเท่าใด นายมั่น ปืนยาว นายคง หนวด กราบทูลว่า ข้าพเจ้ามิได้เที่ยวไป เห็นแต่วงค่ายหลวงนั้น พอเต็มทุ่งพุดทะเลา สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงตรัสแก่มุขมนตรีว่า ซึ่งสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสสั่งมาทั้งนี้จะ จริงหรือ มุขมนตรีทั้งปวงกราบทูลว่า สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ลิ้นดำองค์นี้ ได้ยินเล่าลือกันว่าตรัสสิ่งใดเป็นสัตย์จริง สมเด็จ พระมหาธรรมราชาตรัสว่า อันการสงครามจะฟังเอาเป็นสัจจริงนั้น ยากนัก เกลือกเกรางเราจะกระหนาบแลหากสำทับไว้ จะเลิกไปโดยทางมา จำจะแต่งทัพลงไปตั้งรอไว้ดูที แล้วตรัสให้ทัพพระยา สวรรคโลก พระยาสุโขทัย ๒ ทัพ คน ๒ หมื่น ยกลงไปเมืองอินทบุรี ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ตรัสให้ไปสังมหาอุปราชาให้ตีค่ายทุ่งหันตราเสีย จะได้คิดการบรรชิเมือง รุ่งขึ้นณวันอังคาร

๔๖ เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำเพลาเช้าตรู่ พระมหาอุปราชาก็พลทหารไป ตีค่ายเจ้าพระยามหาเสนาๆ นายทัพนายกองต่อสู้เป็นสามารถ ข้าศึกหักเอามิได้ พระมหาอุปราชาโกรธ เสด็จบ่ายช้างไปยืนตรงหน้าค่ายห่างประมาณ ๓เส้น ให้ประกาศแก่นายทัพนายกองว่า มิได้ ค่ายเพลานี้ จะตัดศีรษเสียบเสีย นายทัพนายกองกลัว ก็ต้อน พลทหารดาบดั้งหนุนแน่นหนั่งกันเข้าไปฟันค่ายหักเข้าได้ เจ้าพระยามหาเสนา นายทัพนายกองไพร่พลแตกกลาดลงคลองน้ำ ข้ามไปฟาก วัดมเหยงคณ์ ที่ป่วยเจ็บล้มตายในน้ำก็มาก พระมหาอุปราชาก็ยก กองทัพกลับไปค่าย จึงเสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี กราบทูล ซึ่งมีชัยได้ค่ายให้ทราบทุกประการ ขณะนั้นไพร่พลในกองทัพ ขัดสน สะเบียง แต่งกองทัพออกลาดหาก็มิได้ ที่ได้บ้างซื้อขาย แก่กันเป็นทะนานละเฟื้อง ท้าวพระยาพระหลวงหัวเมือง เอาเนื้อ ความกราบทูล สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสปรึกษาดูความคิดท้าว พระยานายทัพนายกองทั้งปวงว่า สะเบียงอาหารสิขัดสนอยู่แล้ว ๆ ก็จวนเทศกาลฟ้าฝน จะทำการช้าวันมิได้ จำจะเลิกทัพกลับไปแต่ ทว่าจะไปทางใดดี ท้าวพระยามุขมนตรีปรึกษาทูลว่า ถ้าจะ เสด็จไปทางเมืองกำแพงเพ็ชรออกด่านแม่ละเมาะเล่า กองทัพฝ่ายเหนือก็มาตั้งมั่นรับอยู่ณเมืองชัยนาท เกลือกราชการติดพันช้าไป ไพร่พลจะขัดสนโดยสะเบียงอาหารเห็นจะเสียท่วงที แม้นเสด็จไปทางกาญจนบุรีแรกมาเห็นจะสะดวก สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า ซึ่งจะกลับไปทางกาญจนบุรีนั้น เห็นจะขัดสนอีก ด้วยเหตุว่ากองทัพเรายก

๔๗ เหยียบเมืองมา สะเบียงอาหารยับเยินสิ้บอยู่แล้ว ประการหนึ่งได้ สั่งไปถึงพระมหาธรรมราชาว่า ให้ลงมา ถ้ามิลงมาเราจะขึ้นไปตี แลพระมหาธรรมราชามิลงนั้น ดีร้ายจะตั้งมั่นรับ และผ่อนสะเบียงอาหารลงมาไว้มาก เห็นสมคะเนเราอยู่แล้ว ทำไมแก่ทัพพระ มหาธรรมราชาเท่านั้น เพลาเดียวก็จะแตก จะได้สะเบียงอาหารพอ ไพร่พลเราไม่ขัดสน ท้าวพระยานายกองก็บังคมทูลว่า ทรง พระราชดำริครั้งนี้ดีหาที่สุดมิได้ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า ซึ่ง เราจะล่าทัพไปครั้งนี้ จะต้องตีทั้งหน้าทั้งหลัง ด้วยเหตุว่า ทัพ พระมหาธรรมราชามาตั้งอยู่ชัยนาทบุรี เห็นจะรู้ถึงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ๆ จะดีพระทัยว่า ทัพพระราชบุตรเขยมาตั้งสะกัดกระหนาบอยู่แล้ว ดีร้ายจะแต่งทัพตามตัดท้ายพลเราเป็นมั่นคง เราจำจะคิด เอาชัยชะนะทั้งหน้าทั้งหลังให้ได้ ตรัสแล้วมีพระราชกำหนดให้ทัพ พระยาพะสิม ทัพพระยาละเคิ่ง ทัพพระยาเสรี่ยง ทัพพระยาตองอู ทัพพระยาจิตตอง ๕ ทัพ ๆ ละ ๓๐๐๐๐ เป็นคน ๑๕ หมื่น ให้ พระเจ้าแปร เป็นแม่กองยกไปหน้า ถ้าพบทัพพระมหาธรรมราชา ตั้งรับแห่งใดตำบลใด ให้ตีจงแตกแต่ในเพลาเดียว ถ้าล่วงราตรี ไปจะเอาศีรษะนายกองเสียบแทนชะเลย และให้ทัพพระมหา อุปราชารั้งท้าย ถ้ามีทัพพระนครศรีอยุธยาตามมา ได้คิดทัพฬอ ทัพซุ่มจับเอาตัวนายทัพนายกองให้ได้เป็น ๑ คน ๒ คน ถ้ามิ ทำได้ดังนี้จะเอาพระมหาอุปราชาเป็นโทษเถิงสิ้นชีวิต และให้นายทัพ นายกองจัดแจงให้พร้อมอีก ๓ วันจะเลิกทัพจากทัพจากพระนครศรีอยุธยา

๔๘ ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าแจ้งว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา ยกกองทัพเมืองพระพิษณุโลก เมืองสวรรคโลกเมือง สุโขทัย เมืองพิชัย เมืองพิจิต คน ๕๐๐๐๐ คน มาตั้งเมืองชัยนาทบุรีทัพหน้าลงมามาตั้งเมืองอินทบุรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีพระทัยนัก ก็ตรัสแก่มุขมนตรีว่า ถ้าสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี รู้ว่าทัพพระมหา ธรรมราชายกมา เห็นไม่อยู่ช้า ดีร้ายจะเลิกไป ถ้าไปทางเหนือ สมคะเนเรา จะได้กระทบหน้าหลังซ้ำเติมถนัด เกลือกจะหลีกไป ทางสุพรรณกาญจนบุรี จะสลักซ้ำเติมไม่เต็มที่ พระสุนทรสงครามกราบทูลว่า อันสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ประกอบด้วยกำลัง ๓ ประการ คือกำลังปัญญาความคิดหนึ่ง รี้พลมากหนึ่ง มีทหาร กล้าหนึ่ง เห็นไม่ไปทางสุพรรณกาญจนบุรี ด้วยเหตุว่าเป็นต้น ทางมา สะเบียงอาหารยับเยินสิ้นอยู่แล้ว เห็นจะเดินทางเหนือ หมายตีเอาสะเบียงอาหารในกองทัพสมเด็จพระมหาธรรมราชานั้นอีกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เห็นด้วยจึงตรัสว่า ถ้าดังนั้นพระสุนทรสงครามสิเป็นเจ้าเมืองสุพรรณบุรี ชัดเจนป่าทาง ให้คุมทัพ ๕๐๐๐ ลอบออกไปเพลาค่ำพรุ่งนี้ ให้ซุ่มสลักคอยโจมตีทัพพระเจ้าหงสาวดี ให้ได้ บำเหน็จมือมา ถ้ามิได้สลักสำคัญมาจะเอาตัวเป็นโทษ พระสุนทรสงครามก็โดยพระราชบัญชาถวายทานบนไว้ สมเด้จพระเจ้าอยู่หัว จึงตรัสว่า ถ้าพระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพไปทางเหนือ ดุจคำพระสุนทรสงครามว่านั้น ผู้ใดจะไปตาม จึงพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร


๔๙ พระมหินทราธิราช กราบทูลว่า ข้าพเจ้าทั้งสองขอยกตามตีทัพ พระเจ้าหงสาวดีให้เป็นบำเหน็จมือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม ครั้นณวันอาทิตย์เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ เพลา ๒ ยาม ถึงกำหนด พระเจ้าแปร และพระยาพะสิม พระยาละเคิ่ง พระยาเสรี่ยง พระยาตองอู พระยาจิตตอง ก็เลิกทัพเดินเป็นกองหน้า ทัพหลวงพระเจาหงสาวดีเดินเป็นอันดับ และทัพพระมหาอุปราชาก็เดินเป็นกองหลัง พระ มหาอุปราชาแต่งม้า ๕๐๐ ให้อยู่รั้งท้ายคอยเหตุ ถ้าเห็นทัพตามประมาณ ๑๐๐๐ ให้ม้าไปบอกม้าหนึ่ง ถ้าพลประมาณ ๒๐๐๐ ให้ม้าไปบอก ๒ ม้า ถ้าพลประมาณ ๓๐๐๐ ๔๐๐๐ ๕๐๐๐ ก็ไปบอก ๓ ม้า ๔ ม้า เป็นกำหนด ฝ่ายทัพหน้านำเดินตามคลองบางแก้ว ไปตามทิวทุ่งลำแม่น้ำใหญ่ เพื่อรี้พลช้างม้ามากจะได้ อาศัยน้ำ ครั้นเพลารุ่งเช้า ชาวพระนครรู้ว่าทัพสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีเลิกไป มุขมนตรีก็เอากิจจากราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าทัพ พระเจ้าหงสาวดีมิได้ยกไปทางเมืองกาญจนบุรี ไปทางแนวแม่น้ำใหญ่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ คุมทัพ ๑๐๐๐๐ ยกตาม จึงพระราเมศวร พระมหินทราธิราช ปรึกษา กันว่า ซึ่งทัพล่าไปในวันหนึ่งสองวันนี้เห็นจะระวังนัก จะคิดกองทัพ รับเราเป็นสามารถ อันจะรีบจู่โจมเข้าตีนั้น เห็นจะเอาชัยชำนะยาก จะคอยสะกดตามไปวันหนึ่งสองวัน ให้ประมาทลงก่อน ประการหนึ่งจะได้จวนกระทบทัพสมเด็จพระมหาธรรมราชา พะว้าพะวังเป็น ๒ ฝ่ายเราจึงเข้าโจมตี เห็นจะได้ชัยชำนะโดยง่าย ครั้นปรึกษากันแล้ว ๗ ๕๐ ก็สะกดตามไปแต่ห่างทางประมาณกึ่งวัน ฝ่ายทัพม้ากองหน้าไปถึงอินทบุรี เห็นค่ายใหญ่ ๒ ค่าย ก็กลับมาแจ้งแก่นายทัพนายกอง พระยาพะสิม พระยาละเคิ่ง พระยาเสรี่ยง พระยาตองอู พระยาจิตตอง ดีใจ ต่างคนแต่งตัวขี่ช้างพลายกั้นสับประทนต้อนพลเข้าตีค่าย ฝ่าย พระเจ้าแปรทรงช้างพลายมณีฉัตรกั้นพระกลดไปยืนให้ทหารเข้าหักค่ายเหล่าทหารหงสาก็เห่ โห่ลั่นปืนแกว่งหอกดาบดาแข็ง กรเข้าถอน ขวากหนามปีนป่ายหักค่ายเป็นโกลาหล ทหารในค่ายก็วางปืนใหญ่น้อยออกมาต้องพลมอญพะม่าล้มตายเป็นอันมาก ก็ยิ่งหนุนเนื่อง หนักเข้ามาเย่อค่าย แหกค่าย จนถึงได้แทงฟันกันเป็นอันมาก พลพะม่ามอญก็เข้าค่ายได้ ไล่ตะลุมบอนฆ่าฟันตายเป็นอันมาก ซึ่งเหลือนั้นก็หนีกระจัดกระจายขึ้นมากราบทูลสมเด็จพระมหาธรรมราชาโดยซึ่งเสียแก่ข้าศึกนั้นทุกประการ พอผู้ลงไปสอดแนมฟังราชการ ณกรุงเทพมหานครกลับมาทูลว่า ทัพพระเจ้าหงสาวดีเลิกขึ้นมาทางเหนือสิ้นแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาแจ้งว่า กำลังศึกกล้า มากเหลือกำลังดังนั้นเห็นจะรับมิอยู่ คิดจะเลิกหลีกเสียให้พ้นหน้าทัพซุ่มอยู่ณป่าพะเนินฟากตะวันออก แล้วจะคอยตามสะกัดตี จึงตรัสกำหนดให้นายทัพนายกองเลิกออกจากค่าย ให้เป็นหมวดเป็นกองกันนายทัพนายกองก็ทำโดยพระราชบัญชาทุกประการ พวกกองทัพพระเจ้าแปรยกมาถึง เห็นค่ายเปล่า ก็ตั้งอยู่ณเมืองชัยนาท แล้ว ก็บอกลงมายังกองทัพหลวง ขณะเมื่อวันกองหน้าตีค่ายพระยา สวรรคโลก พระยาสุโขทัย ณเมืองอินทบุรีนั้น พระมหาอุปราชา

๕๑ ตรัสปรึกษากับนายกองว่า ล่ามาถึง ๒ วัน ๓ วัน ซึ่ง ทัพพระนครศรีอยุธยามิได้ตามนั้น ชะรอยจะคิดแคลงว่า เราแต่ง ทัพป้องกันระวังอยู่มิได้ประมาท จะคอยสะกดตามมา ๒ วัน ๓ วัน ให้เราประมาทก่อน ประการหนึ่งจะให้ปะทะทัพฝ่ายเหนือซึ่งตั้งอยู่ ณเมืองชัยนาท เมืองอินท์ จึงจะโจมตีให้เราพะว้าพะวัง เห็นจะ คิดดังนี้มั่นคง จำจะซ้อนความคิดชาวพระนครศรีอยุธยา จับเอา นายทัพ และไพร่ไปถวายสมเด็จพระราชบิดาให้เป็นบำเหน็จมือจงได้ตรัสมิทันขาดคำ เห็นม้าเร็วมา ๑๐ ม้า พระมหาอุปราชาก็แจ้งว่า มีทัพตามมาประมาณ ๑๐๐๐๐ จึงให้สมิงพัตเบิด สมิงพัตตะบะ คุมทัพ ๕๐๐๐ ม้า ๒๐๐ ยกไปตั้งซุ่มสงบอยู่ตามทิวไม้ฟากทุ่ง กำหนดว่า ถ้าเห็นทัพอย่าเพ่อให้ตีก่อน ให้ล่วงถลำขึ้นมา ต่อ ได้ยินเสียงปืนรบ จึงให้โจมตีท่อนท้าย จับเอานายทัพนายกอง ให้จงได้ สมิงพัตเบิด สมิงพัตตะบะ ก็ยกไปซุ่มอยู่ตามกำหนดรับสั่ง แล้วก็เดินทัพขึ้นไปตั้งอยู่ทางประมาณ ๒๐๐ เส้น ฝ่ายพระราเมศวร พระมหินทราธิราช ดำริว่า วันนี้เห็นทัพ หงสาวดีจะเถิงเมืองอินทบุรี ได้ติดกับทัพฝ่ายเหนืออยู่แล้ว ก้รีบ เร่งเดินทัพ หวังจะโจมตี ขณะนั้นสมิงพัตเบิด สมิงพัตตะบะ เห็นทัพยกมา ก็สงบสังเกตดู เห็นช้างที่นั่งหลังคาทอง ๒ ช้าง ก็แจ้งว่าเป็นนายพล ก็ได้เสียงปืน ทัพพระมหาอุปราชาก็ยก ออกโจมตีตัดเอาตรงช้างที่นั่ง ทัพชาวพระนครไม่ทันรู้ตัวก็แตกฉานเหล่ารามัญก็ล้อมจับเอาพระราเมศวร พระมหินทราธิราช กับมหาด

๕๒ เล็กท้ายช้าง ๒ คนไปถวายพระมหาอุปราชาๆ ก็พาไปถวายสมเด็จ พรราชบิดา พร้อมกันกับคนพระเจ้าแปร ซึ่งให้ลงมาทูลว่า ค่าย เมืองชัยนาทบุรีก็เลิกหนีไปแล้ว สมเด็จพระจ้าหงสาวดี ดีพระทัย ก็เสด็จไปตั้งประทับแรมอยู่ณเมืองชัยนาท จึงให้เอาพระราเมศวร พระมหินทราธิราชเข้ามาแล้วตรัสว่า เจาทั้งสองสิเป็นข้าศึกกับเรา บัดนี้เราจับได้ จะคิดประการใดเล่า พระราเมศวร พระมหินทราธิราชกราบบังคมทูลว่า ข้าพระองค์นี้ก็จนอยู่แล้ว จะฆ่าเสียก็จะตาย ถ้าพระองค์โปรดพระราชทานชีวิตไว้ก็จะรอด สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีได้ทรงฟังก็แย้มพระโอฐ แล้วตรัสให้พระมหาอุปราชา เอาพระ ราเมศวร พระมหินทราธิราช ไปคุมไว้ ฝ่ายนายทัพนายกอง ซึ่งแตกจากทัพพระราเมศวร พระ มหินทราธิราชก็กลับไปพระนคร เอาเหตุกราบทูล สมเด็จพระ มหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าได้แจ้งดังนั้น ก็ตกพระทัยโทมนัสถึง สมเด็จโอรสทั้งสองพระองค์นัก แล้วแต่งพระราชสารให้พระมหาราชครูปโรหิต ขุนหลวงพระเกษม ขุนหลวงพระไกรสี ถือมาทาง เรือขึ้นไปถึงเมืองชัยนาท ท้าวพระยารามัญนำเข้าเฝ้า ทูลถวาย พระราชสารแด่พระเจ้าหงสาวดี และในลักษณะนั้นว่า พระราชสารสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า พระนครศรี อยุธยา ขอจำเริญทางพระราชไมตรี มายังสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ผู้มีอิศวรภาพใหญ่ยิ่งกว่าขัตติยราชกษัตริย์สามนต์ในชมพูทวีปด้วย พระองค์ยกพยุหโยธาทัพมากระทำยุทธนาการกับพระนครศรีอยุธยา

๕๓ เป็นที่สำเริงราชหฤทัยในบรมกษัตราธิราชโดยบุรประเพณี และเลิกกลับไปโดยปกติ มิได้แพ้พ่าย ฝ่ายราชโอรสแห่งข้ามิได้รู้ในเชิง พิชัยยุทธ์ ยกติดตามมาตีกองทัพพระองค์จับไว้ได้ โอรสทั้งสอง ถึงซึ่งอับปราชัยอยู่แล้ว อุปมาดุจสกุณโปดกอันต้องแร้วพนจรใส่กรง ขังไว้ ขอพระองค์อย่าได้มีอาฆาตจองเวรเลย จงปล่อยโอรสแห่ง ข้าพระองค์ให้คืนมาพระนคร ก็จะเป็นพระเกียรติยศแห่งพระองค์สืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ได้แจ้งในลักษณะพระราชสารดังนั้น ก็แย้มพระโอฐ แล้วตรัสแก่ผู้จำทูลพรราชสารว่า สมเด็จพระเจ้าพี่ เราได้มาอ่อนง้อขอพระราชโอรสแล้วเราอนุญาตให้ จึงดำรัสสั่งพระ ราเมศวร พระมหินทราธิราชว่า เจ้าทั้งสองจงไปทูลแก่พระราชบิดาว่าเราขอช้างพลายมงคลทวีป ช้างพลายศรีมงคล ๒ ช้าง ไปชมเล่น ณกรุงหงสาวดี พระราเมศวร พระมหินทราธิราช และผู้จำทูล พระราชสาร ก็กราบถวายบังคมลาสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี มายัง พระนครศรีอยุธยา สองพระองค์กราบทูลพระราชบิดาว่า ซึ่งตาม ตีกองทัพกลับให้ข้าศึกจับไปไว้ ให้เสียพระยศพระเกียรติ โทษผิด ถึงสิ้นชีวิตอยู่แล้ว ขอพระราชทานโทษครั้งหนึ่งก่อน สมเด็จ พระราชบิดาก็ประทานโทษให้ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช จึงกราบทูลว่า สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี สั่งมาขอช้างพลายศรีมงคล ช้างพลายมงคลทวีป ซึ่งชะนะงา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชา ธิราช ก็ตรัสปรึกษาด้วยมุขมนตรีทั้งปวงว่า พระเจ้าหงสาวดีขอช้าง

๕๔ พลายศรีมงคล พลายมงคลทวีป ๒ ช้างนี้ควรจะให้หรือประการใดท้าวพระยามุขมนตรีกราบทูลว่า พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์คืนมานั้น ก็เป็นทางราชไมตรีอยู่ ชอบให้พลาย ๒ ช้างตอบไปจึงจะควร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ก็ ตรัสให้กรมช้างคุมรีบขึ้นไปถวายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีณเมืองชัยนาทบุรีสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสให้พะม่ามอญรับ และช้างพลายศรีมงคลพลายมงคลทวีป เห็นหมอควาญผิดเสียง ก็อาละวาดไว้มิอยู่ ไล่ แทงช้างแทงคนวุ่นวายทั้งทัพ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าเสียดายเหลือมือพะม่ามอญนัก ให้กรมช้างเอาคืนลงไปเถิด กรมช้างกราบถวายบังคมลาลงมาพระนครศรีอยุธยา ทูลประพฤติเหตุแก่สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทุกประการ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ให้จ่ายสะเบียงอาหารให้ไพร่พลเสร็จแล้ว ก็เสด็จยกทัพกลับไปเมืองหงสาวดี โดยทางเมืองกำแพงเพ็ชรออกด่านแม่ละเมาะ ฝ่ายสมเด็จพระมหาธรรมราชาก็เสด็จลงมาเฝ้ากราบทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ซึ่งได้รบกันกับทัพหงสาวดีทุก ประการ ครั้นกองทัพสมเด็จพระเจ้าหงสาวดียกไปแล้ว สมเด็จพระมหา จักรพพพดิราชาธิราชเจ้าให้แต่งการพระราชทานเพลิงศพพระสุริโยทัยซึ่งขาดคอช้างเสร็จแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ถวายบังคมลา กลับไปยังเมืองพระพิษณุโลก ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ให้สถาปนาที่พระราชทานเพลิงนั้นเป็นพระเจดีย์วิหารเสร็จแล้ว ให้นามชื่อวัดศพสวรรค์

๕๕ แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ไพร่บ้านพลเมืองตรีจัตวาปากใต้ เข้าพระนครนี้น้อย หนีออกอยู่ดงห้วยเขา ต้อนไม่ได้เป็นอันมาก ให้บ้านท่าจีนตั้งเป็นเมืองสาครบุรี ให้เอาบ้านตลาดขวัญตั้งเป็นเมืองนนทบุรี ให้แบ่งเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองนครชับศรี แล้วปรึกษาว่า กำแพงเมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมืองสุพรรณบุรี ๓ เมืองนี้ควรจะล้างเสีย หรือจะเอาไว้ สมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช กับมุขมนตรีพร้อมกัน ปรึกษากราบทูลว่า จะให้ไปรับทัพหัวเมืองนั้น ถ้ารับได้ก็เป็นคุณ ถ้ารับมิได้ ข้าศึกจะอาศัย ให้รื้อกำแพงเสียดีกว่า สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวก็บัญชาตาม แล้วให้ตั้งพิจารณาเลขสังกัดสมพันลำเครื่อง ๒๐๐๐๐๐ เศษ ศักราช ๙๐๖ ปีมะโรงฉอศก (พ.ศ.๒๐๘๗ ) ฝ่ายพระศรีสิน ผู้น้องพระยอดฟ้า พระองค์เอามาเลี้ยงไว้ จนอายุได้ ๑๓- ๑๔ ปี จึงให้ออกบวชเป็นสามเณร อยู่ณวัดราชประดิษบาน พระศรีสินมิได้ ตั้งอยู่ในกตัญญู ส้องสมพวกพลคิดการกบฎ ครั้นทราบจึ่ดำรัสสั่งเจ้าพระยามหาเสนาให้เอาตัวพระศรีสินมาพิจารณา ได้ความเป็น สัตย์ หาประหารชีวิตเสียไม่ ให้แต่คุมตัวไว้ณวัดทะมุขราช (๑) หมื่นจ่ายวดเป็นผู้คุม ครั้นจวนเข้าพระวษา ทรงพระกรุณาตรัสว่า พระศรีสินซึ่งเป็นโทษคุมไว้นั้น อายุจะได้อุปสมบทเป็นภิกขุภาวะ อยู่แล้ว ให้เอามาอุปสมบท จึงทราบว่าพระศรีสินหนีก่อนนั้นเถิง ๓ วัน

(๑) วัดธรรมิกราช ๕๖ ไปซุ่มพลอยู่ณเมืองมดแดง ทรงพระกรุณาดารัสให้เจ้าพระยามหา เสนาไปตาม ฝ่ายพระศรีสินให้ไปขอฤกษ์พระพนรัตน์ป่าแก้ว พระ พนรัตน์ป่าแก้วก็ให้ฤกษ์ว่า ณวันเสาร์เดือน ๘ ขึ้นค่ำหนึ่ง ฤกษ์ดี ให้ยกเข้ามาเถิด และพระยาเดโช พรยาท้ายน้ำ พระยาพิชัย รณฤทธิ หมื่นภักดีศวร หมื่นภัยนรินทร์ ซึ่งเป็นโทษอยู่ก่อนจำไว้ ในที่สงัด ให้หนังสือออกไปวันแรม ๑๓ ค่ำเถิงพระศรีสินว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า รุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ จะให้เอาข้าพเจ้าทั้งห้าคนไปฆ่าเสีย ขอให้พระองค์เข้ามาแต่ในกลางคืนวันนี้ อย่าให้ทันรุ่ง พระศรีสินก็ยกเข้ามาทางหอรัตนชัย เจ้าพระยามหาเสนารู้ว่าพระศรี สินยกเข้ามา ก็ตามเข้ามาข้ามท่า พอช้างเผือกลงอาบน้ำ เจ้าพระยามหาเสนาขี่ช้างเผือกออกมารับพระศรีสินณถนนหน้าบางตรา พระ ศรีสินร้องว่า เจ้าพระยามหาเสนาจะสู้เราหรือ เจ้าพระยามหาเสนาว่าพระราชกำหนดโทษพระองค์ฉันใด โทษข้าพเจ้าดุจฉันนั้น ไสช้าง เข้าชนกัน พระศรีสินตีด้วยขอ เจ้าพระยามหาเสนาตกช้างลง พระ ศรีสินยกเข้าไปทางประตูเสาธงชัย เข้าพระราชวังได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าไม่ทันรู้พระองค์ ลงเรือพระที่นั่งหนีขึ้นไป มหาพราหมณ์ พระศรีสินให้ถอดพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรณฤทธิ หมื่นภักดีศวร หมื่นภัยนรินทร์ออก ฝ่ายพระราเมศวร พระมหินทราธิราชกับเสนาบดีพร้อมกัน เข้ารบพระศรีสินจนถึงตะลุม บอน ล้มตายเป็นอันมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่พระศรีสินนั้นต้องปืนตาย สมเด็จพรมหาจักรพรรดิราชธิราชเจ้า ก็เสด็จคืนเข้าพระราชวัง

๕๗ ครั้นรู้วาพระพนรัตน์ป่าแก้วให้ฤกษ์พระศรีสินเป็นแท้ ก็ให้เอาพระ พนรัตน์ป่าแก้ว และพระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยาพิชัยรณฤทธิหมื่นภักดีศวร หมื่นภัยนรินทร์ ฆ่าเสีย ไปเสียบไว้ณตะแลงแกงกับ ศพพระศรีสิน ครั้งนั้นเมียน้อยขุนนางโจทก์ว่า ผัวเข้าด้วยพระศรีสิน และคอยรับพระศรีสน ถามเป็นสัตย์ให้ฆ่าเสียเป็นอันมาก ศักราช ๙๐๗ ปีมะเส็งสัปตศก (พ.ศ. ๒๐๘๘ ) สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปวังช้างตำบลไทรย้อย ได้ช้างเผือกสูง ๔ ศอก ๑๐ นิ้ว ช้างหนึ่ง ให้ชื่อพระรัตนกาศ ศักราช ๙๐๘ ปีมะเมียอัฐศก (พ.ศ ๒๐๘๙ ) เสด็จไป วังช้างตำบลป่าเพ็ขรบูรณ์ได้ช้างเผือกพลายสูง ๔ศอกเศษ ให้ชื่อ พระแก้วทรงบาศ ในเดือน ๑๐ ปีมะเมียนั้น เสด็จไปได้ช้างเผือกตำบลป่ามหาโพธิ ลูกเป็นเผือกแม่ก็เป็นเผือก ๒ ช้าง ศักราช ๙๐๙ ปีมะแมนพศก (พ.ศ. ๒๐๙๐ ) เสด็จไปได้ ช้างป่าชเลชุปศร เป็นเผือกสูง ๔ ศอก ๕ นิ้วช้างหนึ่ง ให้ชื่อพระบรมไกรศร ครั้นณเดือนอ้ายปลายปี เสด็จไปได้ช้างเผือกตำบลป่าน้ำทรงสูง ๔ ศอกคืบ ให้ชื่อพระสุริยกุญชร ครั้งนั้นพระศรีอยุธยา ไพศาลสมบูรณ์ ด้วยมีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง เกียรติยศปรากฎไปใน นานประเทศทั้งปวง มีกำปั่นลูกค้าเมืองฝรั่งเศส เมืองอังกฤษ เมืองวิลันดา เมืองสุรัต และสำเภาจีน เข้ามาค้าขายเป็นอันมาก สมเด็จ พระสังฆราชพระราชาคณะ และเสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิต ถวาย ๘ ๕๘ พระนามพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือก กิติศัพท์ลือไปถึงกรุงหงสาวดีว่า พระนครศรีอยุธยามีช้างเผือกถึง ๗ ช้าง สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีมีพรทัยจะใคร่ได้สัก ๒ ช้าง จึงมี พระราชสารแต่งให้สมิงโยคราชกับไพร่ ๑๐๐ ถือมาพระนครศรี อยุธยา มุขมนตรีนำเฝ้า ในลักษณะนั้นว่า พระราชสารสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีผู้มีมเหศวรศักราชดานุภาพ ปราบบุรราชธานีน้อยใหญ่ ให้อัปปราชัยไปทั่วทศทิศ อันท้าวพระยา สามนตราชโอนโมสิศนอบน้อมถวายสุรรณบุบผาบรรณาการจะนับมิได้ขอจำเริญทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระเชษฐาธิราช ผู้ผ่านพิภพกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา ด้วยแจ้งกิติศัพท์ขึ้นไปว่า สมเด็จพระ เชษฐาเรา ประกอบด้วยบุญญาธิการเป็นอันมาก มีเศวตกุญชรชาติพลายพังถึง ๗ ช้าง พระราชอนุชาท่านประสงค์จะขอช้างเผือกพลาย ๒ ช้าง มาไว้เป็นศรีในกรุงหงสาวดี ให้สมเด็จพระเชษฐาเราเห็น แก่ทางพระราชไมตรีอนุชาท่านเถิด กรุงหงสาวดีกับพระมหานคร ศรีอยุธยาจะได้เป็นราชสัมพันธมิตรสนิทเสน่หา เป็นมหาพสุธาทองแผ่นเดียวกันไปตราบเท่ากัลปาวสาน ถ้าสมเด็จพระเชษฐาเราจะถือ ทิษฐิมานะ และรักช้าง ๒ ช้างยิ่งกว่าทางพระราชไมตร ก็เห็นว่า กรุงหงสาวดีกับกรุงศรีอยุธยาขาดกันเป็นอันแล้ว น่าที่จะได้ร้อนอกสมณพราหมณามาตยาประชาราษฎร


๕๙ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก ได้แจ้งในลักษณะพระราชสารดังนั้น ตรัสให้มุขมนตรีปรึกษา มุขมนตรี ปรกษาว่า สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำเป็นใหญ่ในรามัญประเทศ พระองค์นี้ มีกฤษฎาธิการผ่านแผ่พระเดชาไปทั้งสิบทิศ และ ให้มีพระราชสารเป็นทางพระราชไมตรี มาขอพระยาช้างตระกูล ๒ ช้างโดยสุนทรภาพสวัสดี แล้วสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ไว้ทาง พระราชไมตรี ครั้งให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์มากมาย อยู่ ควรให้ช้าง จะได้เป็นเกียรติยศไปนานาประเทศ ฝ่ายพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม เจ้าเมืองสุพรรณบุรีปรึกษาว่า ช้างเผือกเป็นศรีมงคลสำหรับพระนคร ซึ่ง จะให้ไปนั้นไม่ควร ถึงสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีมีไมตรีครั้งนั้น ก็ขอ ช้างพลายศรีมงคล และพลายมงคลทวีป ซึ่งชะนะงาทั้งสองช้าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แล้ว หากทว่าเอาไปมิได้ และซึ่งจะส่งพระยาช้างตระกูลไปนัน จะเสียพระเกีรติยศนานาประเทศ จะว่าให้โดย เกรงอานุภาพพระเจ้าหงสาวดี เอาคำปรึกษาทั้งสองฉะบับกราบทูล ทรงพระกรุณาตรัสว่า ถ้าเรามิให้ช้างเผือกไป พระเจ้าหงสาวดียก ใหญ่มา ยังจะป้องพระนครได้หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระ ราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม กราบทูบว่า ถ้าศึก หงสาวดีจะยกใหญ่หลวงมาประการใดก็ดี ข้าพระเจ้าทั้งสามนี้จะขอประกันพระนครไว้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม จึงให้มีพระ ราชสารตอบไป ในพระราชสารนั้นว่า

๖๐ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชรามินทร์ธิบดินทรราเชนทร์ สุริเยนทรยโสดม ราชัยสวรรยาปัตย์ ถวัลราชทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลก นพรัตนราชธานีบุรีรม อุดมด้วยมหาเศวตตระกูลกุญชรชาติอิศวรพงศ์พิศณุพงศ์อันประเสริฐ สนองทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระอนุชาเรา ปผู้ผ่านพิภพกรุงหงสาวดี อันมีอิศราฤทธิราชรณรงค์ ในรามัญประเทศทวีปอัษฎงค์ ด้วยมีพระราชสารมานั้น ได้แจ้งแล้วแต่ว่าเป็นบุรพประเพณี ผู้ใดมีสมภารบารมีเถิงที่บรมจักร แล้วก็มี จักรแก้ว ดวงแก้วมณี นางแก้ว ช้างแก้ว ขุนพลแก้วขุนคลังแก้ว ถ้าหาบุญบารมีไม่ ถึงผู้อื่นจะหาให้ ก็รักษามิได้ธรรมดา ประเทศธานีใด มีนางรูปงาม มีช้างเผือกช้างเนียม บ่อแก้วบ่อทอง ก็เป็นประเพณีที่จะเกิดยุทธนาการ อย่าให้พระอนุชาเราน้อยพระทัยเลย ทูตรับพระราชสารแล้ว กราบถวายบังคมลาไปยังกรุงหงสาวดีถวายพระราชสารทูลประพฤติเหตุทุกประการ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีแจ้งในพระราชสารและกิจจานุกิจทั้งปวง ก็ตรัสว่าขอบใจพระมหาจักรพรรดิ เราต้องประสงค์ช้างเผือกแต่ ๒ ช้าง ควรหรือตัดทาง พระราชไมตรีได้ อันพระนครศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี ตั้งแต่วันนี้ไปจะเป็นปรปักษ์กันแล้ว แล้วตรัสปรึกษาด้วยท้าวพระยามุขมนตรีว่า เรายกไปพระนครศรีอยุธยาเถิง ๒ ครั้งมิได้นั้น เหตุ ๓ ประการ ประการหนึ่งพระนครศรีอยุธยามีน้ำล้อมรอบ ดุจเขาพระสิเนราช อันมีสีทันดรสมุทรแวดล้อมเป็นชั้น ๆ ประการหนึ่งขัดโดยสะเบียงอาหารจะทำการมิได้ อนึ่งเมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมือง

๖๑ กำแพงเพ็ชร เมืองพิชัย ๕ เมืองนี้ (๑) ก็ยังเป็นกำลังกรุงเทพ มหานครอยู่ ทั้งสะเบียงอาหารก็บริบูรณ์ ถ้าได้เมืองฝ่ายเหนือทั้ง นี้ด้วยแล้ว พระนครศรีอยุธยาไม่พันเงื้อมมือเรา จะเห็นประการใด มุขมนตรีทั้งปวงก็เห็นโดยพระราชบริหาร สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ตรัสว่า เราจะยกครั้งนี้จะให้มากกว่าก่อน ๓ เท่า จึงให้มีพระราชกำหนดไปถึงพระเจ้าอังวะราชบุตรเขย พระเจ้าแปร ผู้เป็นราชนัดดาพระเจ้าเชียงใหม่และท้าวพระยาหัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งปวงว่า จะยกไปตีกรุงพระนครศรีอยุธยา ให้เร่งบำรุงช้างม้ารี้พลไว้ ออกพระวษาแล้วให้ยกมาพร้อมกันณกรุงหงสาวดี ฝ่ายพระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร พระเจ้าเชียงใหม่ และท้าวพระ ยาหัวเมืองทั้งปวงแจ้งในพระราชกำหนดแล้ว ก็เกณฑ์ทัพบำรุงช้างม้ารี้พลไว้สรัพ ครั้นออกพระวษาแล้ว ก็ยกทัพมาพร้อมกันณกรุง หงสาวดี ลุศักราช ๙๑๐ ปีวอกสัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๐๙๑) สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี เกณฑ์ทัพหงสาวดี กรุงอังวะ เมืองเชียงใหม่ เมืองพุกาม เมืองปรวน เมืองงแปร เมืองละเคิง เมืองจิตตอง เมืองตองอู. เมืองพะสิม เมืองบัวเผื่อน เมืองเสรี่ยง เมืองตราง เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองทะวาย เป็นคน ๙๐ หมื่น ช้างเครื่อง ๗๐๐๐ ม้า ๑๕๐๐๐ ให้พระมหาอุปราชาเป็นกองหน้า ถือพล ๒๐ หมื่น

(๑) ตามรายชื่อระบุไว้ เพียง ๔ เมือง น่าจะตกชื่อพิจิตรหรือนคร สวรรค์ ไปเมืองหนึ่ง ๖๒ ม้า ๓๐๐๐ ช้างเครื่อง ๑๕๐๐ พระเจ้าอังวะเป็นปีกขวา ถือพล ๑๐ หมื่น ม้า ๑๐๐๐ ช้างเครื่อง ๕๐๐ พระเจ้าแปรปีกซ้าย ถือ พล ๑๐ หมื่น ม้า ๑๐๐๐ ช้างเครื่อง ๕๐๐ พระเจ้าเชียงใหม่เป้นกองหลัง ถือพล ๑๐ หมื่น ช้างเครื่อง ๕๐๐ ม้า ๑๐๐๐ พร้อมเสร็จแล้วเถิงณวันพุธเดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๖ บาท ได้ศุภวารฤกษ์ดิถี สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ก็สอดใส่ฉลองพระองค์ ทรงสุวรรณมหาสังวาล ๗ สายเฉียงพระอังษา ทรงกาญจนามัยมาลาลงกุฎวิจิต พิพิธภูษิตตาการนิลรัตน์ โดยขัตติยเวศวิสัย สำหรับวิชัยราชรณยุทธ์เสร็จ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งพลายเทวนาคพินาย สูง ๖ ศอกคืบ ๕ นิ้วเป็นบรมอัครราชยาน ประดับเครื่องนาเคนทราลังกาภรณ์ บวรสัตตพิธรัตน์ พร้อมด้วยหมู่สรงคพลากรโยธาทวยหาญ เป็นขนัดแน่นสานสินธพพาชีชาติราชบทมุลิกากร บวรองครักษ์กันกง ทรงสรรพศาสตรลังการานานาวุธวิภูษิตพิพิธทวนทงเป็นทิวท้องรัถยางค์เดียรดาษดูโอภาษพันลึก อธึกด้วยธวัชกลึงกลด อภิรมบังสูรย์ส่องคัคณัมพรประเทศไพโรจ ดาษดาด้วยท้าวพระยาเสนามาตยนิกร พิริยพฤนธเรียงรายระดับโดยขะบวนพยุหยาตราซ้ายขวาหลังทั้งปวงเสร็จ ได้เพลามหามหุติฤกษ์โหราลั่นฆ้องชัย ปุโรหิตาจารย์เป่าสังข์ประโคมฆ้อง กลองกาหลดนตรีศัพทอุโฆษณ์ นินนาทนี่สนั่น ดำเนินกระบี่ธุช โบกโบย เคลื่อนพยุหโยธาทัพหลวงออกจากกรุงหงสาวดี ประทับ รอนแรมมา ๗ เวน เถิงเมืองเมาะตะมะ ดำรัสให้ข้ามพลเหนือเมาะ ตะมะ ๕ วันจึงสิ้น แล้วยกมา ๒๐ เวนถึงเมืองกำแพงเพ็ชร สมเด็จ

๖๓ พระเจ้าหงสาวดี ตรัสให้พระเจ้าเชียงใหม่ ตั้งอยู่ต่อเรือรบกะจังเหลาคา ๒๐๐ ลำ ให้พระยาหริภุญชัย พระยานครลำปาง ขึ้นไปเอาเรือ เมืองเชียงใหม่ เมืองนคร เมืองลำพูน ถ่ายเรียงลงมาไว้ตำบล ระแหงให้พร้อมแล้ว สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็เสด็จยกทัพหลวงไป ทางเมืองสุโขทัยตั้งค่ายประทับแรม ให้หาพระสุโขทัย พระยา สวรรคโลกมาเฝ้า ตรัสปราสัย และสั่งให้เตรียมทัพ แล้วเสด็จยกไปเมืองพระพิษณุโลก ตั้งค่ายหลวงตำบลโทก และค่ายทั้งนั้นก็ตั้ง โดยกระบวน ขณะเมื่อกองทัพพระเจ้าหงสาวดียกมาเถิงปลายด่าน สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าแจ้งเหตุ ก็บอกข้อราชการ ให้เรือเร็วลงไป กรุงพระนครศรอยุธยาขอกองทัพช่วย แล้วให้กวาดครัวอพยพแขวงเมือง เข้าเมืองพระพิษณุโลก และแต่งการป้องกันเมืองเป็นสามารถสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยังมิได้สั่งให้เข้าล้อมเมือง ให้ทำแต่บันใด หกบันใดพาดไว้เป็นอันมาก แล้วให้ขุดมูลดินปั้นก้อนใส่ชะลอมกองไว้แต่ละกองสูงกว่ากำแพงเมือง แล้วสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีแต่งเป็น รับสั่งเข้าไปว่า สมเด็จพระเจ้าชะนะสิบทิศเสด็จยกพยุหโยธามาทั้งนี้ จะลงไปพระนครศรีอยุธยา บัดนี้มาเยือนเมืองพระพิษณุโลก ให้ อังเชิญเสด็จพระมหาธรรมราชาน้องเราออกมาหาเรา จะได้เจรจาความเมืองกัน สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าแจ้งดังนั้น ก็ตอบออก ไปว่า แผ่นดินเป็นของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก แลข้าพระองค์จะออกไปเฝ้านั้นมิควร สมเด็จพระเจ้า

๖๕ หงสาวดีตรัสให้กลับเข้ามาอีก ว่าถ้าน้องเรามิออกมาหาเรา เมือง พระพิษณุโลกน้อยนัก แต่ทหารกองหน้าก็จะคับเมือง สมเด็จ พระมหาธรรมราชาเจ้า จึงนิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูปออกไปฟังการพระสงฆ์ออกไป สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีให้นำพระสงฆ์ไปดูมูลดินและบันใดหกบันใดพาดแล้วให้เอาข่าวไปแจ้งแก่น้องเรา ถ้าน้องเรามิออกมา จะให้ทหารถือมูลดินแต่คนละก้อนถมเมืองเสียให้เต็มแต่ นาฬิกาเดียวพระสงฆ์ไปดูแล้ว กลับเข้ามาแจ้งแก่พระมหาธรรมราชาเจ้าโดยได้เห็นและพระเจ้าหงสาวดีสั่งมาทุกประการ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าจึง ปฤกษามุขมนตรีว่า เราคอยกองทัพกรุงเทพมหานครช้าพ้นกำหนด อยู่แล้วก็ไม่ยกขึ้นมา อันศึกพระเจ้าหงสาวดีมาครั้งนี้เป็นอันมาก เสียงพลเสียงช้างเสียงม้า ดังเกิดลมพายุใหญ่ เห็นเหลือกำลัง เรานักถ้าเราจะมิออกไป พระเจ้าหงสาวดีก็จะให้ทหารเข้าหักเหยียบเอาเมือง สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรจะเถิงแก่พินาสฉิบหายสิ้นทั้งพระพุทธศาสนาก็จะเสร้าหมองดูมิควรเลย จำเราจะออกไป เถิงสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าช้างเผือก จะทรงพระพิโรธประการใดก็ดี ก็ตายแต่ตัว จะแลกเอาชีวิตสัตย์ให้รอดไว้ ครั้นรุ่งขึ้นวันอาทิตย์เดือนยี่แรม ๕ ค่ำ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าก็เสด็จออกไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ๆ ตรัสว่า น้องเราไปด้วยเรา ให้เร่งเตรียมพลให้พร้อมใน ๗ วัน สมเด็จพระมหา ธรรมราชาเจ้า ก็จัดพล ๓๐๐๐๐ มาโดยเสด็จในกองทัพหลวง สมเด็จพรเจ้าหงสาวดีก็เสด็จยกลงมาประชุมทัพณเมืองนครสวรรค์

๖๕ ขณะเมื่อพระมหาธรรมราชาเจ้าบอกข้อราชการไปเถิงกรุงเทพ มหานครนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธราชพระเจ้าช้างเผือก ตรัสให้พระยาพิชัยรณฤทธิ พระยาวิชิตรณรงค์ ถือพล ๑๐๐๐๐ ให้ รีบขึ้นไปช่วยเมืองพระพิษณุโลก แล้วพระเจ้าอยู่หัวให้กวาดครัวหัวเมืองตรีจัตวาพรนคร และทัพพระยาพิชัยรณฤทธิ ทัพพระยาวิชิตรณรงค์ ยกไปเถิงแดนเมืองนครสวรรค์ ได้ข่าวว่าเมืองพระพิษณุโลกและ หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง พระเจ้าหงสาวดีได้สิ้นแล้ว แล้วกองทัพ พะม่ามอญก็ลงมาถึงเมืองนครสวรรค์ พระยาพิชัยรณฤทธิ พระยาวิชิตรณรงค์ จะตั้งรับก็เห็นไม่ได้จึงปรึกษากันกันถอยทัพลงไปทูลประพฤติเหตุ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า บัดนี้เมืองพระพิษณุโลกและเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งปวงเสียสิ้นแล้ว กองทัพพะม่ามอญก็ยกล่วงมาต้งอยู่ณเมืองนคร สวรรค์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ลงมาด้วย สมเด็จพระมหาจักร พรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือกแจ้งดังนั้นก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสแก่พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ว่าศึกพระเจ้าหงสาวดี ก็ยกมาแล้ว ตัวทั้งสามคนนี้จะคิดทำเป็นประการใด พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม บังคมทูลว่า บัดนี้กองทัพพะม่า มอญยังประชุมพร้อมมูลกันอยู่ไม่รู้กำลัง ถ้าลงมาใกล้พระนคร แผ่คนออกบางแล้วเมื่อใด จะยกออกตี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม ตรัสให้จัดทหารเป็นเหล่าเป็นกองตั้งไว้กลางเมืองเป็น ๓ กอง แล้ว ให้เร่งรัดตรวจตราซ่อมแปลงการซึ่งจะรักษาพระนคร ทั้ง กลางคือเป็นสามารถ ๙ ๖๖ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งตั้งต่อเรือกะจังเหลาคาอยู่ณเมืองกำแพงเพ็ชรนั้นเสร็จแล้ว ก็ยกทัพเรือลำเลียงลงมาบรรจบ ทัพหลวงเมืองนครสวรรค์ เมื่อสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีจัดแจงทัพบก ทัพเรืออยู่ณเมืองนครสวรรค์ ท้าวพระยานายกองเฝ้าพร้อม จึงตรัสถามสมเด็จพระธรรมราชาว่า เราให้มีราชสารมาขอพญา ช้างตระกูล ๒ ช้าง ควรหรือสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือกไม่ให้ รักช้างยิ่งกว่าเศวตฉัตรอีกเล่า หรือว่ามีผู้ใด ทัดทาน พระเจ้าน้องเรารู้หรือไม่ สมเด็จพระมหาธรรมราชากราบ ทูลว่า ทราบอยู่ เดิมพระเจ้าแผ่นดินให้ปรึกษาว่า พระองค์ให้ พระราชสารมาขอพระยาช้างนี้ ควรให้หรือไม่ควร เสนาบดีปรึกษาว่าควรให้ แต่พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม ปรึกษาว่าช้างเป็นศรีพระนครไม่ควรให้ พระเจ้าแผ่นก็ได้ตรัสตอบว่า แม้น มิให้พระยาช้าง ถ้าพระองค์ยกทัพใหญ่มา ยังจะป้องกันพระนคร ได้หรือ พระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงคราม รับประกัน พระนครไว้ และเหตุดังนี้พระเจ้าแผ่นดินจึงยังมิได้ส่งช้างไปถวาย พรองค์ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีได้ทรงฟังดังนั้น ทรงพระสรวลแล้ว ก็ตรัสว่า เป็นธรรมดาคนโมหจริต มิได้รู้กำลังตนกำลังท่าน เหมือนสัตว์สองจำพวก คือนกน้อย คือกระต่าย และกระต่ายขาตัวสั้นเท่านั้น หมายว่าจะหยั่งท้องพระมหาสมุทรได้ และว่ายน้ำออกไป ยังมิทันได้หยั่ง ก็จมน้ำเถิงแก่กาลกิริยาตาย นกน้อยเล่า ปีกหาง ก็เท่านั้น ชวนพระยาครุฑบินข้ามพระมหาสมุทร และบินแต่พักของตัว

๖๗ ยังมิได้กวักแห่งพระยาครุฑ ก็ตกน้ำทำกาลกิริยาตาย แล้วสัตว์ ๒ จำพวกนี้เหมือนกันกับผู้ปรึกษาและรับประกันพระนครไว้ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสแล้ว รุ่งขึ้นณวันพุธเดือนยี่แรม ๑๐ ค่ำ ศักราช ๙๑๑ ปีระกาเอกศก (พ.ศ. ๒๐๙๒ ) ก็เสด็จยาตราทัพลงมาพระนคร ศรีอยุธยา และทัพพระมหาอุปราชากองหน้า ตั้งค่ายตำบลพะเนียดค่ายพระเจ้าแปรปีกซ้าย ตั้งตำบลทุ่งวัดโพธารามไปคลองเกาะแก้ว ทัพพระเจ้าอังวะปีกขวา ตั้งค่ายตำบลวัดพุทไธสวรรค์มาคลองตะเคียนทัพพระยาตองอู ทัพพระยาจิตตอง ทัพพระยาละเคิ่งเกียกกาย ตั้งค่ายแต่วัดการ้องลงไปวัดชัยวัฒนาราม ทัพพระยาพะสิม ทัพพระยาเสรี่ยงกองหน้าทัพหลวง ตั้งค่ายตำบลลุมพลี ทัพหลวงตั้งตำบลโพเผือก ทุ่งขนอนป่าคู และทัพสมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้า ก็ตั้งตำบลมะขามหยองหลังค่ายหลวง และทัพซึ่งรายรอยพระนครนั้น บันดา แม่น้ำห้วยคลองทั้งปวง ก็ทำสะพานเรือกเดินม้าเดินพลตลอดเถิง กันสิ้นแต่ในวันเดียวนั้นเสร็จ ฝ่ายข้าหลวงชาวพระนครผู้ตรวจการบันดาหน้าที่เชิงเทินกำแพงแลดูข้าศึกตั้งค่ายทำสะพานดังนั้น ก็เอาคดีโดยเห็นกราบทูลว่า เห็นศึกครั้งนี้มากกว่าแต่ก่อน ๓ เท่า ๔ เท่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก ได้แจ้งดังนั้น เห็นเหลือกำลังที่จะแต่ง ทัพออกตีข้าศึก ก็ให้กำชัยตรวจตรารักษาหน้าที่ไว้เป็นสามารถ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีเถิงกรุงพระมหานครได้ ๗ วันแล้ว ไม่เห็นทัพผู้ใดออกมาต่อยุทธ์ จึงให้แต่งพระราชสาร ในลักษณะว่า

๖๘ พระราชสารสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีผู้เป็นอิศราธิปไตย ถวัลราช มไหสวรรย์ในรามัญประเทศ ทรงพระราชกฤษฎาเดชานุภาพผ่าน แผ่อาณาจักรขจรทั่วทิศานุทิศ ดั่งแสงภาณุมาศเมื่อมัชฌันติกสมัย มาเถิงพระเชษฐาเราผู้ผ่านพิภพ กรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา ครั้ง หนึ่งราชบุตรทั้งสองแห่งสมเด็จพระเชษฐา ยกพลโยธาหาญไปตัด ท้ายพล น้องท่านจับได้ ก็ได้ก็มิให้กระทำชีพิตภยันตราย เพื่อจะเผื่อแผ่ผูกราชสมพันธมิตรไมตรี รวมสามัคคีรสธรรมเป็นสุวรรณปัฐพี เดียวกัน อันสนิทมิได้ร้าวฉาน จนพระเชษฐาธิราชให้มีลักษณะ ราชสารขึ้นมาขอ ฝ่ายน้องท่านก็ส่งราชบุตรทั้งสองมายังพระบรมเชษฐา แล้วยกกลับขึ้นไปพระนครหงสาวดี รู้กิติศัพท์ไปว่าพระ เชษฐาธิราชมีกฤษฎาภินิหารมาก กอปด้วยเศวตกุญชรชาติศุภ ลักษณะตระกูลพลายพังถึง ๗ ช้าง จึงให้ทูตาทูตจำทูลลักษณะ ราชสารสุนทรภาพสวัสดี มาขอเศวตกุญชร ๒ ช้างไปไว้เป็นศรี พระนครหงสาวดี พระเชษฐาเรามิได้มีอาลัยในราชสัมพันธมิตร ไมตรี กลับกล่าวกระทบท้าวทำเนียบมาว่า พระนครใดมีนางรูปงามและช้างเผือกช้างเนียม เป็นที่จะเกิดราชดัษกร น้องท่านได้แจ้ง จ่าเป็นจึงต้องยกพยุหโยธาหาญมาตามลักษณะราชสาร บัดนี้ก็มาเหยียบ ชานพระนครเถิง ๗ วันแล้ว ไฉนจึงมิได้ออกมารณรงค์โดยขัตติยาภิรมย์สำเริงราชหฤทัยบ้างเลย ให้เร่งยกพยุหโยธาออกมาสงคราม กันดูเล่นเป็นขวัญตา หรือไม่รณรงค์แล้วก็เชิญเสด็จออกมาสนทนา กัน ถ้ามิออกมาก็อย่าให้พระเชษฐาเราน้องพระทัยเลยน้องท่าน จะชิงเอาเศวตฉัตรให้จงได้ ๖๙ ครั้นแต่งเสร็จแล้วให้ทูตถือเข้าไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ครั้นได้แจ้งในลักษณะพระราชสาร จึงทรงพระราช ดำริว่า ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เห็นเหลือมือเหลือกำลังทหารจะ กู้พระนครไว้ได้ ถ้าเราจะมิออกไป สมณชีพราณ์ประชา ราษฎรไพร่ฟ้าข้าขอบขันธเสมา จะถึงแก่พินาสฉิบหายสิ้น ทั้งพระศาสนาก็จะเศร้าหมอง จำเราจะออกไป มาตรว่าสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีมิคงอยู่ในสัตยานสัตย์ดั่งราชสารเข้ามานั้ นก็ตามเถิด แต่เราจะรักษาสัตยาสัตย์ให้มั่น ทรงพระราชดำริเท่าดังนั้นแล้ว ก็ให้แต่ง ลักษณะพระราชสารกำหนดที่จะเสด็จ ให้ทูตานูทูตถือออกไปถวาย พระเจ้าหงสาวดี แล้วตรัสให้เจ้าพนักงานออกไปปลูกราชสัณฐาคารณตำบลวัดพระเมรุราชิการามกับวัดหัศดาวาสต่อกัน มีราชบัลลัง กาอาศน์ ๒ พระที่นั่งสูงเสมอกัน หว่างพระที่นั่งห่าง ๔ ศอก แล้ว ให้แต่งรัตนตยาอาศน์สูงกว่าราชาอาศน์อีกพระที่นั่งหนึ่ง ให้เชิญ พระศรีรัตนตรัยออกไปไว้เป็นประธาน ครั้นรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์พร้อมด้วยมุขมนตรีกวีชาติ ราชครูโหราโยธาหาญข้ามไป เสด็จขึ้น บนพระที่นั่ง ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี พร้อมด้วยท้าวพระยา มุขมนตรีทั้งปวงเสด็จมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ร้องอัญเชิญเสด็จ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี เสด็จขึ้นบนพระที่นั่งแล้วตรัสว่า สมเด็จพระเจ้าพี่เราให้อาราธนาพระพุทธปฎิมากรเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า มาเป็นประธานก็ดีอยู่แล้ว ขอจงเป็นสักขี

๗๐ ทิพพะยานเถิด อันแผ่นดินกรุงเทพมหานครศรีอยุธยานี้ ยกถวาย ไว้แด่สมเด็จพระเจ้าพี่เรา แต่ทว่าน้องท่านให้มาขอช้างเผือก ๒ ช้างพระเจ้าพี่มิได้ให้ บัดนี้ต้องยกพยุหโยธาหาญ มาโดยวิถีทุเรศกันดาร จะขอช้างเผือกอีก ๒ ช้าง เป็น ๔ ช้าง พระเจ้าพี่จะว่าประการใดสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ตรัสบัญชาให้ สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า จะขอพระราเมศวรไปเลี้ยงเป็นพระราชโอรสถ้าพระเจ้าพี่เราให้แล้วจะยกทัพกลับไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ตรัสว่า ขอไว้เถิด จะได้สืบประยูรวงศ์ สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า พระมหินทราธิราชผู้น้องนั้น ก็จะสืบวงศ์ ได้อยู่ อันจะเอาไว้ด้วยกัน ถ้าพระเจ้าพี่เราสวรรคตแล้ว ดีร้ายพี่น้อง จะหม่นหมองมีความพิโรธกัน สมณพราหมณามุขมนตรีอาณา ประชาราษฎรจะได้ความเดือดร้อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชา ธิราชเจ้าขัดมิได้ ก็บัญชาตาม สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า จะขอพระยาจักรี และพระสุนทรสงครามไปด้วยพระราชโอรส สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าก็ยอมให้ แล้วตรัสว่า อาณาประชาราษฎรหัวเมือง และข้าขอบขันธเสมา ซึ่งกองทัพจับไว้นั้น ขอไว้สำหรับพระนครเถิด สมเด็จพรเจ้าหงสาวดีก็บัญชาให้ สมเด็จ พระมหาจักรพรรดิราชาเจ้า ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร และพระยาจักรี พระสุนทรสงคราม กับช้างพลายเผือก ๔ ช้าง คือพระคเชนทรโรดม พระบรมไกรสร พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ให้สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี แล้วเสด็จเข้าพระราชวัง สมเด็จพระเจ้า

๗๑ หงสาวดีก็เสด็จไปพลับพลา สั่งให้ประกาศแก่นายทัพนายกองว่า อาณาประชาราษฎรพระนครศรีอยุธยานั้น ให้ปล่อยเสียง แล้ว ให้สมเด็จพระราเมศวร พระยาจักรี พระสุนทรสงครามเข้าไปรับบุตรภรรยา ทั้งสามก็เข้ามารับบุตรภรรยา จึงถวายบังคมลาพระเจ้า แผ่นดินออกไปตามพระราชกำหนด ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีมีพระราชบริหารดำรัสสั่ง ให้กองทัพหน้าลวงไปได้ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จยกทัพหลวงไปทางเมืองกำแพงเพ็ชรสมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้า ก็ตามไปส่งเสด็จพระเจ้าหงสาวดี ถึงเมืองกำแพงเพ็ชร แล้วก็กลับมาเมืองพิษณุโลก ขณะนั้นพระยาตานีศรีสุริยต่านยกทัพเรือยาหยับ ๒๐๐ลำ เข้ามาช่วยราชการสงคราม ถึงทอดอยู่หน้าวัดกุฎบางกะจะ รุ่งขึ้นยกเข้ามาทอดอยู่ประตูชัย พระยาตานีศรีสุริยต่านได้ทีกลับเป็นกบฎ ก็ ยกเข้าในพระราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้าไม่ทันรู้เสด็จลงเรือพระที่นั่งศรีสักหลาดหนีไปเกาะมหาพราหมณ์ และเสนาบดีมนตรีมุขพร้อมกันเข้าในราชวัง สะพัดไล่ชาวตานีแตกฉานลงเรือ รุดหน้าหนีไป ฝ่ายมุขมนตรีทั้งปวงก็ออกไปเชิญเสด็จสมเด็จพระมหาจักร- พรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก เสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศมหาสถาน ศักราช ๙๑๒ ปีจอโทศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๙๓ ) พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทราบว่า พระราชบุตรีพระสุริโยทัย ซึ่งขาดคอช้าง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๒๕ กรุศก ปีเดียวกับศึกช้างเผือก ๗๒ แก่กรุงหงสาวดีนั้น จำเริญวัยวัฒนาขึ้นแล้ว พระองค์ก็แต่งทูตานุทูต จำทูลพระราชสาร คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการมาถวาย แด่ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก ในลักษณะพระราชสารนั้นว่า ข้าพระองค์ผู้ผ่านพิภพกรุงศรีสัตนาคนหุต ขอถวายอภิวาทวันทนามายังสมเด็จพระปิตุราธิราช ผู้ผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราช มหาสถาน มเหาฬารอันยิ่งเป็นมิ่งมงกุฎ ด้วยสัตตเศวตกุญชรชาติ ตัวประเสริฐศรีเมือง ข้าพระองค์ยังไป่มีเอกอัครราชกัลยาณี ที่จะสืบศรีสุริยวงส์ ในกรุงศรีสัตนาคนหุตต่อไปมิได้ ข้าพระเจ้าขอ พระราชทานพระราชธิดาอันทรงพระนามพระเทพกษัตรีย์ ไปเป็นปิ่นศรีสุรางคนิกรกัลยา ในมหานครเรศปาจีนทิศ เป็นทางราชสัมพันธมิตรไมตรี สุวรรณปัฐพีแผ่นดินเดียวกันชั่วกัลปาวสาน สมเด็จพรรมหาจักรพรรดิราชาธิราชพระเจ้าช้างเผือก ทราบ ในลักษณะพระราชสาร ก็ให้ประชุมท้าวพระยามุขมนตรีปรึกษา ๆ ว่ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา กับกรุงหงสาวดี ก็เป็นอริชอกช้ำดุจ วรรณโรคอันมีในพระทรวง จะรักษาเป็นอันยาก แลพระเจ้ากรุงศรี สัตนาคนหุต ก็เป็นกรุงกษัตริย์อันใหญ่ ได้มีพระราชสารนอบน้อม มาแล้ว ควรที่ทรงพระกรุณาพระราชทานให้ จะได้เป็นทางพระราช สัมพันธมิตรไมตรี เกลือกมีราชการงานพระราชสงครามภายหน้า จะได้เป็นมหากำลังยุทธนาการ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช

๗๓ พระเจ้าอยู่หัวก็เห็นด้วย ดำรัสให้ตอบพระราชสารขึ้นไป ว่าซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตมีพระทัยจะรวมพระราชโลหิต เป็นมหา สัมพันธมิตรไมตรีนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกอนุญาตแล้ว ให้แต่งมารับเถิด ทูตานุทูตรับพระราชสารกราบถวายบังคมลา ไปยังกรุงศรีสัตนาหุต ถวายพระราชสาร ทูลพฤติเหตุทุกประการ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทราบดังนั้น ดีพระทัยนัก ก็แต่งให้ทูตานุทูตกับไพร่ ๕๐๐ และท้าวนางเถ้าแก่ลงมารับ ขณะเมื่อทูตลงมาถึงนั้น พอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกษัตริย์ทรงพระประชวร หนัก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก ไม่รู้ที่จะผ่อนผัน ฉันใดเลย จึงทรงพระราชจินตนาการว่า แม้นจะมีพระราชสารบอก ขึ้นไปโดยสัตย์ไซ้ ไหนพระเจ้ากรุงสัตนคนหุตเห็นจริง ก็จะว่า เราเจรจาเป็นสอง จะมัวหมองคลองพระราชไมตรีแลไมตรีไป ได้ ออกวาจาแล้วจะให้เสียคำดูมิบังควร พระองค์ก็ยกพระแก้วฟ้าราชธิดา ให้แทนองค์พระเทพกษัตริย์ พระราชทานเครื่องราชุปโภค สำหรับอัคร มเหษีกรุงกษัตริย์ พร้อมด้วยสนมสาวใช้ทาษกรรมกรชาย ๕๐๐ หญิง ๕๐๐ ไปด้วย ทูตกราบถวายบังคมลา เชิญสมเด็จพระแก้ฟ้า ราชบุตรีขึ้นถวาย ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า ใช่องค์พระเทพกษัตรีย์ ก็เสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า เดิมเราจำนงขอพระเทพกษัตรีย์ ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระสุริโยทัย อันเสียพระชนม์แทนพระราชสามีกับ ๑๐ ๗๔ คอช้าง เป็นสกุลวงศ์กตัญญูอันประเสริฐ ตรัสแล้วก็แต่งให้พระยา แสน พระยานคร พระยาทิพมนตรี เป็นทูตานุทูต ให้มาส่งพระ แก้วฟ้าราชบุตรี คืนยังกรุงพระนครศรีอยุธยา แลมีพระราชสาร เครื่องราชบรรณาการ มาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกด้วย ในลักษณะพระราชสารนั้นว่า เดิมพระองค์ประสาทพระเทพกษัตรีย์ให้ กฤติศัพท์นี้ก็ทั่วไป ในนิคมชนบทขอบขันธเสมากรุงศรีสัตนาหุตสิ้นแล้ว บัดนี้พระองค์ ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีเปลี่ยนไปแทนนั้น ถึงมาตรว่าพระแก้วฟ้า ราชบุตรีจะมีศรีสรรพลักษณะโสภาค ยิ่งกว่าพระเทพกษัตริย์ร้อยเท่า พันทวีก็ดี ยังไป่ล้างกฤติศัพท์พระเทพกษัตริย์เสียได้ ก็เป็นที่อับ ประยศชั่วกัลปาวสาน ข้าพระองค์ขอส่งพระแก้วฟ้าราชธิดาคืน จง พระราชทานพระเทพกษัตรีย์แก่ข้าพระองค์ ดุจมีพระราชสารอนุญาตมาแต่ก่อน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก แจ้งในลักษณะพระราชสารและส่งพระแก้วฟ้าคืนมาดังนั้น ก็ละอายพระทัยนัก พอพระเทพกษัตริย์หาประชวรพระโรค จึงตบแต่งการที่จะส่งพระราชธิดาแลจัดเถ้าแก่กำนัสสวใช้ทาษชาย ๕๐๐ หญิง ๕๐๐ ครั้นณเดือน ๕ ศักราช ๙๑๐ ปีกุรตรีศก (๑) ( พ.ศ. ๒๐๙๔ ) จึงมีพระราชโองการดำรัสให้พระยาแมนคุมไพร่ ๑๐๐๐ ไปส่ง พระยาแมนกับทูตานุทูตก็เชิญเสด็จพระเทพกษัตริย์ ขึ้นทรงสีวิกากาญจน์ยานมาศ ไปโดยสถลมรคสมอสอ (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๒๖ ชวดศก ๗๕ ฝ่ายพระมหาธรรมราชา แต่แจ้งว่า พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก จะส่งพระเทพกษัตริย์ขึ้นไปกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ให้ ม้าเร็วถือหนังสือไปถวายพระเจ้าหงสาวดี ๆ ทราบ ก็แต่งให้พระตะบะเป็นนายกอง ฟ้าเสือต้าน มังกลอกหม้อ คุมพล ๑๐๐๐๐ รุดมา ตั้งซุ่มคอยอยู่ตำบลมะเริง นอกด่านเมืองเพ็ชรบูร ออกสะกัดตี ชาวกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้นแตกฉาน ได้พระเทพกษัตรีย์ไปถวาย พระเจ้าหงสาวดี ฝ่ายพระยาลาวซึ่งมารับพระเทพกษัตริย์ ก็เอาคดีทั้งปวงไปกราบทุลพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทุกประการ พระเจ้ากรุงศรีสัตนา คนหุตแจ้งประพฤติเหตุ ก็ทรงพระพิโรธว่า ซึ่งพระเจ้าสาวดีแต่ง รี้พลมาสะกัดรบชิงเอาพระเทพกษัตริย์ไปทั้งนี้ ก็เพราะเมืองพระพิษณุโลกเป็นต้น จำจะแค้นให้ถึงขนาด พระองค์ก็ให้บำรุง ช้างม้ารี้พลจะยกไปเอาเมืองพิษณุโลก ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือกแจ้ง ก็ตรัสให้ไปห้าม พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็งดโดยพระราชโองการมิได้ยกไป (๑๖ ) รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช (ครั้ง ที่ ๑ ) ครั้นศักราช ๙๑๔ ปีชวดจัตวาศก(๑) (พ.ศ. ๒๐๙๕) เดือน ๑๒ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก ก็ยกสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหินทราธิราช เสด็จขึ้นผ่านพิภพไอสุริยสวรรยาธิปัตย์ถวัลราชประเพณี ครอบครองแผ่นดินกรุงพระมหานครศรีอยุธยา สมเด็จ

(๑) ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ ว่า ปีฉลูศก ศักราช ๙๒๗ ๗๖ พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก เสด็จออกไปอยู่วังหลัง ในขณะนั้นพระชนม์ได้ ๕๙ พระพรรษา ส่วนสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินเมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติพระชนม์ได้ ๒๕ พรรษา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก เวนราชสมบัติแล้ว ถึงณวันเดือน ๓ ก็ เสด็จขึ้นไปเมืองลพบุรี ตรัสให้บุรณะอารามพระศรีรัตนมหาธาตุให้บริบูรณ์ แลแต่งปะขาวนางชี ๒๐๐ กับข้าพระ ให้อยู่รักษาพระมหาธาตุ แล้วก็เสด็จลงมายังกรุงพระมหาศรีอยุธยา ครั้งนั้นเมืองเหนือทั้งปวงเป็นสิทธิ์แก่พระมหาธรรมราชาเจ้าอนึ่ง การแผ่นดินในกรุงพระมหานครศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาลงมาประการใด สมเด็จพระมหินทราธิเจ้าแผ่นดิน ต้องกระทำตามทุกประการ ก็ขุ่นเคืองพระราชทัย จึงเอาความ นั้นไปกราบทูลสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก ก็น้อยพระทัย ขณะนั้นพระยารามออกจากที่กำแพงเพ็ชร เอามาเป็นพระยาจันทบูร สมเด็จพระมหินทราธิราช ก็ตรัสกิจการ ทั้งปวงด้วยพระยารามเป็นความลับ แล้วก็ส่งข่าวไปแก่พระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต ให้ยกมาเอาเมืองพระพิษณุโลก จึงพระเจ้ากรุง ศรีสัตนาคนหุต ก็บำรุงช้างม้ารี้พลสรัพ จะยกมาเอาเมือง พิษณุโลก พระมหาธรรมาราชตรัสรู้ว่า พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต จะยกทัพมา มิได้แจ้งในกล ก็ส่งข่าวทูลแก่สมเด็จพระมหินทรา ธิราชเจ้าแผ่นดิน พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ก็ให้พระยาศรีราชเดโช แลพระท้ายน้ำขึ้นไปช่วย แต่สั่งเป็นความลับไปว่า ถ้าทัพ

๗๗ กรุงศรีสัตนาคนหุตล้อมเมืองพระพิษณุโลกเมื่อใด ก็ให้คุมเอาพระมหาธรรมราชาจงได้ เสร็จราชการแล้วจะเลี้ยงให้ถึงขนาด พระยาศรี ราชเดโชไปถึงเมืองพระพิษณุโลก ก็มิไว้ความลับ กลับเอาคดีซึ่ง พระยารามกับสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดการเป็นความลับนั้น ทูลแถลงแก่พระมหาธรรมราชาทุกประการ พระมหาธรรม ราชาแจ้งตระหนัก ก็ให้ข้าหลวงเอาขาวรุดขึ้นไปทูลพระเจ้าหงสาวดี ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ยกช้างม้ารี้พลประมาณ ๒๐ หมื่น โดยทางนครไทย มายังเมืองพระพิษณุโลก พระมหา ธรรมราชาก็ให้กวาดครัวเมืองนอกทั้งปวงเข้ามาในเมืองพระพิษณุโลกแลก็แต่งการที่จะกันเมืองไว้พร้อมเสร็จ ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคน หุตยกมาถึงเมืองพระพิษณุโลกเดือนยี่แรม ๑๓ ค่ำปีฉลูเบญจศก (๑) ก็ตั้งทัพพลับพลาชัยในตำบลโพเรียง ตรงประตูสวรรค์ ไกลออกไปประมาณ ๕๐ เส้น ทัพพระยาแสนสุรินทร์คว่างฟ้า ตั้งตำบลเตาไหพระยามือไฟ ตั้งตำบลวัดเขาพราหมณ์ ทัพพระยานคร ตั้งตำบลสระแก้ว ทัพพระยามือเหล็ก ตั้งตำบลบางสะแก ฝ่ายสมเด็จพระมหินทราธิราชแจ้งกำหนดว่า ทัพกรุงศรีสัตนา คนหุตยกมายังเมืองพระพิษณุโลกแล้ว พระองค์ก็กรีฑาพลเสด็จขึ้น ไปโดยทางชลมารค ตั้งทัพหลวงตำบลพิง พระยารามแลพระยาจักรีเป็นกองหน้าขึ้นไปตั้งตำบลวัดจุฬามณี แลทัพเรือจอดแต่วัดจุฬามณี ทั้งสองฟากน้ำ แน่นตลอดลงไปทัพหลวงณปากน้ำพิง แล้วก็บอก

(๑) ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ ว่า ปีเถาะศก ๙๒๙ ๗๘ ขึ้นไปว่า จะยกเข้าไปช่วยเมืองพระพิษณุโลก พระมหาธรรมราชา ตรัสทราบการอยู่แล้ว ก็ให้ออกมาห้ามมิให้เข้าไป ฝ่ายพระเจ้า กรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งว่า สมเด็จพระมหินทราธิราชยกกองทัพเรือ ขึ้นมาเหมือนกำหนดก็ดีพระทัย ตรัสให้ยกพลเข้าปีนเมือง และ แต่งทหารห่มเสื้อเหลือง ๓๐๐๐ หนุนพลเข้าไป เจ้าหน้าที่เชิงเทิน ก็สาดปืนไฟแหลนหลาว ต้องชาวล้านช้างตายมากนัก พระเจ้ากรุง ศรีสัตนาหุตเห็นดังนั้น ก็เสด็จยกพลเข้ายืนช้างพระที่นั่งแฝงวิหาร อยู่แทบริมคูเมือง ให้เจ้าหน้าที่ทำทุบทุบังตัวข้ามคูเข้าไปขุดถึงเชิงกำแพงเมือง ชาวพระพิษณุโลกผู้รักษากำแพง พุ่งอาวุธลงมามิ ได้ต้อง จึงพระมหาธรรมราชาก็เสด็จไปยืนช้างพระที่นั่ง ตรัสให้ขุน ศรีเอาพลอาษา ๕๐๐ ออกทะลวงฟัน พลลาวก็พ่ายออกไป พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ถอยไปยังค่ายหลวง แลบัญชาให้นายทัพ นายกองตั้งปันชิเมือง ฝ่ายสมเด็จพระมหาธรรมราชา ดำริการที่จะทำลายทัพเรือ ก็ตรัสให้เอาไม้ไผ่ผูกกว้าง ๑๐ วา ยาว ๒๐ วา ๕๐ แพ แล้ว เอาเชื้อเพลิงใส่เต็มหลังแพ ชันน้ำมันยางรดทั่วไปทั้งนั้น และให้ แต่งเรือเร็วไว้ ๒ ลำ สำหรับจะได้จุดเพลิง ครั้นจัดการเสร็จณเดือน ๔ ขึ้น ค่ำเพลาเดือนตก ก็ให้ปล่อยแพติดกันลงไปถึงคุ้งเหนือวัด จุฬามณี เรือเร็ว ๒ ลำก็เอาเพลิงจุดเชื้อไฟหลังแพตลอดขึ้นมาทั้ง สองข้าง เพลิงก็ติดรุ่งโรจน์เป็นอันหนึ่งอันเดียว น้ำที่นั้นตื้นเชี่ยว ก็พัดแพเร็วลงไป กองทัพเรือมิทันรู้ตัว ต่อเห็นแพไฟเต็มแม่น้ำลงมา

๗๙ ก็ตกใจ ลงเรือทับบ้างมิทันบ้าง เยียดยัดคับคั่งเป็นโกลาหล แพไฟ ก็ไหม้เรือต่อกันไป เสียเรือแลผู้คนตายเป็นอันมาก เรือแลคน กองหน้าที่เหลือนั้น ก็ร่นลงไปยังทัพหลวงณปากน้ำพิง ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีแจ้งข่าว เมืองพระพิษณุโลกเกิดศึก ก็ ใช้พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ มาเป็นนายกอง ม้า ๑๐๐๐ พล ๑๐๐๐๐ รุดมาช่วยกันเมืองพระพิษณุโลก พระยาภุกาม พระยา เสือหาญ ก็ยกทัพม้ามาถึงเมืองพระพิษณุโลก เห็นข้าศึกล้อมแล้ว ก็ตีหักเข้าด้านพระยามือเหล็ก ซึ่งตั้งในบางสะแก ทัพพระยามือเหล็กต้านมิได้ ก็พ่ายแยกออกไป พระยาภุกามแลพระยาเสือ หาญ ก็ยกพลเข้าในเมืองพระพิษณุโลกได้ พระยาภุกามแลพระยาเสือหาญกับพลทหารชาวหงสา ก็เข้าไปถวายบังคมพระมหาธรมราชา ๆ ก็ ให้รางวัลแก่ผู้มาช่วยทั้งนั้นเป็นอันมาก สมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดิน รู้ว่าพระเจ้าหงสาวดีให้กองทัพมาช่วยเมืองพิษณุโลก เห็นการศึกไม่สมหมายแล้ว ก็เลิกกองทัพคืนลงมายังพระนครศรี อยุธยา ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเห็นว่าจะเอาเมืองพระพิษณุโลกมิได้ ก็เลิกทัพจากเมืองพระพิษณุโลกคืนไปโดยทางบ้านมุงดอน ชมภู จึงพระยาภุกามแลพระยาเสือหาญ ทูลแก่พระมหาธรรมราชาว่าข้าพเจ้าทั้งสองจะขอยกไปตามตีทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้แตกแานเป็นบำเหน็จมือ พระมหาธรรมราชาก็ตรัสห้าม ว่าศึกใหญ่มิได้แตกฉานล่าไปดังนี้ อันจะยกไปตามนั้นหาธรรมเนียมมิได้ พระยา ทั้งสองก็ทูลว่า พระจ้าหงสาวดีใช้ข้าพเจ้าทั้งสองมาครานี้ ยังไป่

๘๐ ได้รบพุ่งเป็นสามารถ ครั้นข้าพเจ้ามิยกไปตามไซ้ เห็นว่าพระเจ้า หงสาวดีจะลงโทษ พระมหาธรรมราชาก็ตรัสว่าท่านทั้งสองยกมาก็ ได้กระทำการรบพุ่งมีชัยอยู่แล้ว และซึ่งว่าพระเจ้าหงสาวดีจะลงโทษ นั้นเป็นภาระธุระเรา ถ้าท่านมิฟัง จะขืนยกไปให้ได้เห็นจะเสียทีข้าศึกเป็นมั่นคง พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ มิได้ฟังบัญชา กราบ ถวายบังคมลาแล้วก็ยกพลไปตาม ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อล่าทัพไปนั้น บัญชาให้พระยาแสนสุรินทรคว่างฟ้า พระยานคร พระยามือไฟ ทั้งสามทัพนี้อยู่รั้งหลัง ครั้นถึงตำบลวารีและทาง นั้นแคบ พระยาแสนสุรินทรคว่างฟ้า พระยานคร พระยามือไฟ แต่งพลทหารซุ่มไว้ ๒ ข้างทาง แล้วขยับมาตั้งพลอยู่ใกล้ทางประมาณ ๓๐ เส้น แต่งม้าไว้คอยยั่วทัพอันไปตาม พระยาภุกามและพระยา เสือหาญ ยกไปถึงตำบลวารี มิทันรู้ว่าทัพใหญ่ตั้งรับอยู่ในที่นั่น เห็นแต่ม้าเท่านั้นไล่เข้าไป ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ยกพลเข้า ปะทะกันถึงอาวุธสั้น ฝ่ายทหารชาวล้านช้างอันซุ่มไว้นั้น เห็นได้ ทีก็ออกกระโจมตีกระหนาบ ทัพพระยาภุกาม พระยาเสือหาญก็ แตกฉาน ชาวทัพล้านช้างก็ไล่ฟันแทงพลหงสาวดีตายมากนัก นาย ม้าผู้ดีตายหลายคน ทหารพระยาภุกาม พระยาเสือหาญเสียม้าและเครื่องสาตราวุธเป็นอันมาก ก็พ่ายคืนมาเมืองพระพิษณุโลก ครั้น เสร็จการศึก พระยาศรีราชเดโชมิได้ลงไป ก็อยู่ด้วยพระมหาธรรม ราชา แต่พระท้ายน้ำหนีลงไปยังพระนครศรีอยุธยา


๘๑ ถึงณวันเดือน ๘ ปีขาลฉอศก ( จ. ศ. ๙๑๖ พ.ศ. ๒๐๙๗ ) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก ก็เสด็จทรงพระผนวช ข้าราชการก็บวชโดยเสด็จเป็นอันมาก ฝ่ายพระมหาธรรมราชาทราบ พระทัยตระหนักว่า สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดการ ทั้งปวงด้วยพระยารามพิททูลยุยง และสัญญาแก่พระเจ้าล้านช้างให้ ยกมาเอาเมืองพระพิษณุโลก พระองค์ก็ให้มีหนังสือรับสั่งลงไปถึง สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ว่าเมืองพิชัยหาเจ้าเมืองมิได้ จะขอพระยารามขึ้นมาเป็นพระยาพิชัย สมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดิน ครั้นตรัสทราบดังนั้นก็เคืองพระทัย ฝ่ายพระยาราม แจ้งดังนั้น กลัวพระมหาธรรมราชาจะส่งตัวไปหงสาวดี ก็ทูลแก่ สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ว่าข้าพเจ้าได้ฟังซึ่งกิจการในเมืองพระพิษณุโลกนั้น ว่าพระมหาธรรมราชาคิดการทั้งปวงเป็นฝ่ายข้างพระเจ้าหงสาวดี และเอาเมืองเหนือทั้งปวงไปขึ้นแก่พระเจ้า หงสาวดีแล้ว บัดนี้จะย้ายเอาท้าวพระยาผู้ใหญ่ในพระนครไปยัง หงสวดีเล่า และซึ่งพระมหาธรรมราชาบัญชาพระองค์ลงมา เป็นสิทธิดังนี้ ข้าพเจ้าเห็นมิควร ถ้าและศึกหงสาวดีมาถึงพระนครก็ดีข้าพเจ้าขอประกันตกแต่งการป้องกันพระนครไว้ให้ได้ สมเด็จพระมหิน ทราธิราชเจ้าแผ่นดิน เห็นชอบด้วยก็บัญชาพระยาราม (๑๕) รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช (ครั้งที่ ๒ ) สมเด็พระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน และพระยารามก็เอายุบลคดีซึ่งคิดทั้งปวงนั้น กราบทูลแก่พระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก ๘๒ แล้วอัญเชิญพระองค์ลาพระผนวชออกมาครองราชสมบัติ พระเจ้าช้างเผือกก็มิได้รับ จึงสมเด็จพระหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน และ พระยาราม ก็ทูลวิงวอนเป็นหลายครั้ง ว่าบัดนี้ภัยจะมาถึงประชาราษฎรทั้งปวงแล้ว ขอทรงพระกรุณาเสด็จมาครองราชสมบัติ เอาอาณาประชาราษฎรทั้งหลายไว้ให้รอด พระเจ้าช้างเผือกก็ตรัสบัญชาตามสมเด็จพระโอรสาธิราชกราบทูลนั้น จึงเสด็จลาพระผนวชในเดือน ๔ แรม ๑๓ ค่ำ ศักราช ๙๑๖ ปีขาลฉอศก (๑) (พ.ศ. ๒๐๙๗ ) ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีแจ้งข่าวไปว่า พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ ซึ่งให้มาช่วยกันเมืองพระพิษณุโลก กลับเสียทัพแก่ชาวล้านช้าง ก็ ทรงพระโกรธ และให้ม้าใช้มาหาพระยาภุกามและพระยาเสือหาญ ไปจะลงโทษ พระยาภุกาม พระยาเสือหาญกลัวพระราชอาชญาพระเจ้าหงสาวดี ก็ทูลวิงวอนพระมหาธรรมราชา เชิญเสด็จขึ้นไปช่วยขอโทษพระมหาธรรมราชาก็ทรงพระกรุณาแก่พระยาภุกาม พระยาเสือหาญ จึงพาพระเรศราชบุตรเสด็จขึ้นไปถึงเมืองหงสาวดี ทูลขอโทษพระยา ภุกามและพระยาเสือหาญแก่พระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่ามันทั้งสองนี้โทษถึงตายอยู่แล้ว แต่พระน้องเราได้ขึ้นมาขอแล้ว เรายกโทษให้ พระมหาธรรมราชาก็ดสมนัส รักใคร่ในพระเจ้า หงสาวดีเป็นอันมาก ขณะเมื่อพระมหาธรรมราชาเสด็จไปกรุง หงสาวดารนั้น ข่าวแจ้งลงไปถึงกรุงพระมหานครศรีอยุธยา สมเด็จ พระมหินทราธิราช ก็กราบทูลแก่สมเด็จพระราชบิดาว่า พระมหา

(๑) ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ ว่า ศักราชได้ ๙๓๐ ปีมะโรงศก ๘๓ ธรรมราชานี้ มิได้สวามิภักดิต่อพระองค์แล้ว ไปฝ่ายฝากไมตรีแต่เจ้า หงสาวดีถ่ายเดียว จำจะยกทสาพรับขึ้นไปเชิญเสด็จพระเจ้าพี่นางกับราชนัดดา ลงมาไว้พระนครศรีอยุธยา ถึงมาตรพระมหาธรรมราชา จะคิดประการใด ก็จะเป็นห่วงอาลัยอยู่ อันพระมหาธรรมราชาเห็น จะไม่พ้นเงื้อมพระหัตถ์ สมเด็จพระราชบิดาก็เห็นด้วย จึงตรัสให้ พระยารามอยู่จัดแจงรักษาพระนครสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระมหินทร โอรสาราช ก็กรีฑาพลเสด็จโดยชลมารคถึงเมืองพระพิษณุโลก ก็ รับสมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์ กับเอกาทศรฐ อันเป็นพระภาคิไนยราช และครัวอพยพข้าหลวงเดิม ซึ่งให้ขึ้นมาแต่ก่อนนั้น แล้วสมเด็จ พระพระพุทธเจ้าอยู่หัว กับพระมหินทราธิราช ก็เสด็จล่องจากเมืองพระ พิษณุโลก ไปประทับยังเมืองนครสวรรค์ จึงสมเด็จพระมหินทรา ธิราช กราบทูลสมเด็จพระราชบิดาว่า เมืองกำแพงเพ็ชรเป็นทางศึกกำลังศึก จะขอทำลายเมืองกำแพงเพ็ชรเสีย กวาดเทเอาครอบครัว อพยพลงไปไว้ณกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ถึงศึกมีมาก็จะได้หย่อนกำลังลง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสเห็นด้วย ทัพหลวงก็ตั้งยั้งอยู่ ณเมืองนครสวรรค์ สมเด็จพระมหินทราธิราช ก็ยกกองทัพขึ้นไป ยังเมืองกำแพงเพ็ชร ทัพหลวงตั้งค่ายท้ายเมือง พระยาศรีเป็น กองหน้าเข้าตั้งค่ายแทบคูเมือง ฝ่ายขุนอินทเสนา และขุนต่างใจข้าหลวงซึ่งตั้งไปแต่พระพิษณุโลกนั้น แต่รู้ข่าวก็ตรวจจัดรี้พลแต่งกันเมืองกำแพงเพ็ชรเป็นสามารถ ครั้นกองทัพเข้าตั้งแทบคูเมือง ก็แต่ง พลออกหักค่ายพระยาศรี ๆ ก็พ่ายแก่ชาวเมืองกำแพงเพ็ชร จึง

๘๔ พระยาศรีก็แต่งการที่จะปล้นเมืองกำแพงเพ็ชร ก็จัดชาวอาษาใน หมวดพัน ตรีชัยศักดิ์ ๑๐๐๐ แต่งการสรัพก็ยกเข้าปล้นเมืองในเพลากลางคืน เมื่อแรกยกเข้าไปนั้น ชาวเมืองสงบอยู่ ละให้เข้าไปถึงเชิงกำแพง แล้วก็วางปืนไฟ และพุ่งสาตราวุธมาต้องชาวอาษา ๆ ก็พ่ายออกมา แต่ยกเข้าปล้นเมืองถึง ๓ วันรี้พลตายมาก เห็นจะเอาเมือง มิได้ สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า ก็เลิกทัพหลวงคืนลงมายังนครสวรรค์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าช้างเผือก และสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า ก็เสด็จลงมายังพระมหานครศรีอยุธยา ส่วนพระยารามอยู่อยู่แต่งการซึ่งจะกันพระนคร และในหน้าที่กำแพงรอบพระนครนั้น ให้แต่งป้อมเพ็ชรและหอรบระยะไกลกันแต่เส้นหนึ่ง วางปืนใหญ่ไว้ระยะแต่ ๑๐ วา ปืนบะเหลี่ยมจ่ารงมณฑลกระยะใกล้กันแต่ ๕ วา อนึ่งกำแพงพระนครขณะนั้น ตั้งโดยกระบวนเก่าและยัง ไปรื้อลงตั้งในริมน้ำ พระยารามก็ให้ตั้งค่ายรายไปตามริมน้ำเป็น ชั้นหนึ่ง และไว้ปืนจ่ารงมณฑกสำหรับค่ายนั้นก็มากแล้ว ให้ตั้งหอ โทรในกลางน้ำ ไกลริมฝั่งไป ๕ วารอบพระนคร มิให้ข้าศึกเอาเรือ เข้ามาตีริมพระนครได้ ฝ่ายข้าหลวงในเมืองพระพิษณุโลก ครั้นสมเด็จพระมหาจักร พรรดิพระเจ้าช้างเผือก และสมเด็จพระมหินทราธิราช มานำพระวิสุทธิกษัตริย์และเอกาทศรฐ กับครอบครัวอพยพข้าหลวงเดิมลงไปแล้ว ก็ขึ้นม้ารีบไปยังกรุงหงสาวดี กราบทูลแด่พระมหาธรรมราชาเจ้าทุกประการ พระมหาธรรมราชาได้แจ้งดังนั้น ก็ตกพระทัย จึงเข้าไป

๘๕ เฝ้าพระเจ้าหงสาวดี เอาเหตุซึ่งพระยารามกับสมเด็จพระมหินทราธิราชคิดการกันแต่ต้นจนมาหักหาญรับพระวิสุทธิกษัตรีย์ ลงไปกรุงพระ นครศรีอยุธยานั้น ทูลแก่พระเจ้าหงสาวดีทุกประการ พระเจ้า หงสาวดีแจ้งเหตุดังนั้น ก็เคืองพระราชหฤทัย จึงตรัสแก่พระมหา ธรรมราชา ว่าซึ่งกรุงพระมหานครศรีอยุธยา เสียสัตยานุสัตย์กลับเป็นปรปักษ์ข้าศึกแก่พระเจ้าน้องเรานั้น จะละไว้มิได้ พระเจ้าน้องเราเร่งลงไปจัดแจงกองทัพทั้งเจ็ดเมืองเหนือ และเสบียงอาหารไว้ให้ สรัพ เดือน ๑๒ เราจะยกลงไป พระมหาธรรมราชาเจ้ารับบัญชา พระเจ้าหงสาวดีแล้ว ก็ถวายบังคมลามายังเมืองพระพิษณุโลก จัด แจงสะเบียงอาหารช้างม้ารี้พลทั้งเจ็ดเมืองเหนือไว้ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีให้บำรุงช้างม้ารี้พลสรัพ ศักราช ๙๓๐ ปีเถาะสัปตศก (พ.ศ. ๒๐๙๘ ) วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๖ บาท สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็เสด็จทรงปริตโตทกธาราภิเษกเสร็จ เสด็จทรงเครื่องสิริราชวิภูษนาธารกาญจนวิเชียรมาลี มณีมาศมงกุฎ สำหรับวิชัยยุทธ์ราช รณภูมเสร็จ เสด็จทรงช้างต้นพลายชมภูทัด สูง ๖ ศอก ๒ นิ้ว ผูกพระที่นั่งสุวรรณมหามรฎป เป็นบรมอัครยานพาหนะ พร้อมด้วยแสนสุรชาติโยธาพลากรเหี้ยมหาญ พลโล่ห์เขนทวนธนูดูดิเรกมเหาฬาร นานาวุธประภูศักดิสารสินธพดุรงคพาชีชาติพันฤก อธึกด้วยกาญจน กลิงกลด อภิรุมบังสุริยไพโรจรุจิต พิพิธประการ ธงชัยประดาก เป็นขนัดแน่นไสว เดียรดาษด้วยท้าวพระยาพลากรกันกงริ้ว รายระยะ

๘๖ โดยขบวนบทจร พยุหบาตซ้ายขวาหน้าหลังทั้งปวงเสร็จ ได้เพลา มหาวิชัยฤกษ์ โหราลั่นฆ้องชัย ทวิชจารย์เป่าสังข์ประโคนฆ้อง กลองกาหล กึกก้องนฤนาทนี่สนั่นพสุธาดล ดำเนินธวัชลีลาพยุหแสนยากรทัพหลง ออกจากหงสาวดีรอนแรมมา ๒๕ เวนถึงแดน เมืองกำแพงเพ็ชร เสด็จประทับเถลิงราชพลับพลาชัยราชาอาศน์ จึงดำรัสให้พระเจ้าแปรเป็นนายกองทัพเรือ แล้วพระเจ้าหงสาวดีก็ยกลงมาชุมพลทั้งทัพบกทัพเรือณ เมืองนครสวรรค์ และพลพระเจ้า หงสาวดียกมาครั้งนั้น คือพลพะม่ามอญในหงสาวดี อังวะ ตองอูเมืองปรวน และเมืองประแสนิว เมืองกอง เมืองมิต เมืองตาละ เมืองหน่าย เมืองอุมวง เมืองสะพัวบัวแส และเมืองสรอบ เมือง ไทยใหญ่ อนึ่งทัพเชียงใหม่นั้น พระเจ้าเชียงใหม่ประชวร จึงแต่ง ให้พระแสนหลวงพิงชัย เป็นนายกองถือพลลาวเชียงใหม่ทั้งปวง มาด้วยพระเจ้าหงสาวดีเป็นทัพหนึ่ง และกำหนดพลนั้นมีบัญชี ๑๐๐ หมื่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เป็นนายกองถือพลเมืองเหนือทั้งเจ็ดเมือง มาด้วยพระเจ้าหงสาวดีเป็นทัพหนึ่ง ครั้นได้ศุภวารฤกษดิถี พระเจ้าหงสาวดีก็กรีพยุหโยธาทัพ ทั้งปวง ลงมายังพระนครศรีอยุธยา พระเจ้าช้างเผือกละสมเด็จ พระมหินทราธิราชแจ้งข่าว ก็ให้ขับพลเมืองนอกทั้งปวงเข้าพระนครและได้แต่ในแขวงจังหวัดซึ่งอยู่ใกล้พระนครทั้งสี่แขวงนั้นประมาณส่วนหนี่ง และซึ่งมิได้เข้ามานั้นออกอยู่ป่าเป็นอันมาก อนึ่งพลเมือง เล็กน้อยทั้งปวงมิได้เข้าพระนครและออกอยู่ป่ามาก ได้แต่ตัวว่าเมือง

๘๗ และพลสำหรับเจ้าเมืองนั้นเข้ามาพระนคร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ให้พระยารามตรวจจัดพลสรรพายุทธ์ ขึ้นประจำหน้าที่กำแพงรอบพระนครและค่ายทั้งปวงก็มั่นคงนัก แล้วก็แต่งกองแล่นไว้ทั้ง ๔ ด้านรอบ พระนคร ด้านละ ๕ กอง ส่วนพระยารามนั้นตั้งทัพในท้อง สนามหลวง เป็นกองกลางจะได้ยกไปช่วยทั้ง ๔ ด้าน อนึ่งหน้าที่ใด ซึ่งเป็นหน้าที่กวดขัน พระเจ้าอยู่หัวก็ไว้พระกลาโหมและพระยา พลเทพ เมืองชัยนาท เมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี เมืองอินทบุรี เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองนครนายก เมืองสระบุรี เมือง พรหมบุรี เมืองสรรคบุรี เมืองสิงหบุรี เมืองนครชัยศรี เมืองธนบุรี เมือง มฤททั้งนี้ อยู่ประจำหน้าที่แต่มุมหอรัตนชัยลงไปเกาะแก้ว ซึ่งมีแต่คู หาแม่น้ำกั้นมิได้ และหน้าที่ทั้ง ๓ ด้านไซ้แต่ในค่ายไปถึงประตูชัย พระยาพระคลังเป็นนายกองใหญ่ แต่ประตูชัยไปถึงวังชัยพระอินทรานครบาลเป็นนายกองใหญ่ แต่มุมวังชัยไปถึงประตูชีขัน พระท้ายน้ำเป็นนายกองใหญ่ แต่ประตูชีขันไปถึงมุมสารหลวง พระยาศรีราชเดโชเป็นนายกองใหญ่ แต่มุมสารหลวงมาพระราชวัง แต่ พระราชวังไปถึงขื่อหน้า พระยาธรรมาเป็นนายกอง ถือพลทหารใน ทั้งปวงรักษาหน้าที่ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพมาถึงกรุงพระนครศรีอยุธยา ณวันพุธ เดือนอ้ายขึ้น ๑ ค่ำ ตั้งทัพมั่นณตำบลลุมพลี จึงพระยารามก็ ให้เอาปืนนารายน์สังหาร ยาว ๓ วาศอก กระสุน ๑๒ นิ้ว ลากไป ในช่องมุมศพสวรรค์ ให้จังกายิงเอากลางทัพพระเจ้าหงสาวดี

๘๘ ต้องช้างม้ารี้พลตายมาก และกระสุนนั้นไปตกใกล้พลับพลาพระเจ้า หงสาวดี พระเจ้าสาวดีก็ให้เอากระสุนขึ้นสรวงพลี แล้วก็เสด็จ เลิกกองทัพมาตั้งณมหาพราหมณ์ พอทัพยกทัพเรือถึงพร้อม จึงพระเจ้าหงสาวดีก็ตรัสกำหนดให้ทั้งปวงเข้าล้อมพระนคร ในขื่อหน้า ทิศบูรพ์ไซ้ทัพมหาอุปราชาและทัพพระมหาธรรมราชา ทัพพระเจ้า อังวะไปข้างทักษิณ ทัพพระยาทะละและเจ้าฟ้าไทยใหญ่ และพระยาแสนหลวงชาวเชียงใหม่ ไปข้างประจิมทิศ ทัพพระยาพะสิมและ พระยาตองอู ทัพพระยาอภัยคามณี พระยาเลา พระยาตะบะ พะตะเบิด ตั้งทิศอุดร ฝ่ายทัพหลวงก็ยกไปตั้งณวัดมเหยงคณ์ และทัพอันล้อมพระนครทั้งสี่ด้านนั้น เมื่อแรกยกเข้าล้อมนั้นตั้งไกล ริมน้ำออกไปประมาณ ๓๐ เส้น และเอาไม้ตาลเป็นค่ายพูนดินกัน ปืนใหญ่ กว่าจะตั้งมั่นลงได้ ชาวพระนครวางปืนใหญ่ออกไป ต้องพลพระเจ้าหงสาวดีตายมากนัก ครั้นค่ายมั่นกันปืนใหญ่ได้ แล้วประมาณ ๑๐ วัน ก็ยกเข้ามาตั้งค่ายอีกชั้นหนึ่ง ห่างค่ายเดิม ๑๐ เส้น ยังประมาณ ๒๐ เส้นจะริมน้ำ ชาวพระนครแต่งพล อาษาออกทะลวงฟัน แล้ววางปืนใหญ่ออกไปต้องพลพระเจ้าหงสาวดีเมื่อตั้งค่ายนั้นตายมากนัก และนายทัพนายกองเห็นจะตั้งค่ายใน กลางวันมิได้ให้ลอบเข้าตั้งกลางคืนเป็นช้านาน จึงตั้งค่ายชั้นนั้นมั่น ลงได้ แล้วพระเจ้าหงสาวดีก็ให้ยกเข้าตั้งค่ายอีกชั้นหนึ่งเล่า ให้ ถึงริมน้ำคูเมือง และค่ายชั้นนี้ตั้งยากนัก ด้วยชาวพระนครวาง ปืนใหญ่ และปืนจินดา จ่ารง มณฑก ถนัดเต็มแม่นยำ พลทั้งปวง

๘๕ ต้องปืนไฟตายมากนักจึงพระเจ้าหงสาวดีให้ขุดอุโมงค์ ให้พลทั้งปวงเดินเข้ามาเป็นหลายแห่งหลายสาย ครั้นถึงริมแม่น้ำที่จะตั้งค่ายนั้นก็ขุดเป็นอุโมงค์แล่นหากันโดยหน้าค่าย และลอบตั้งค่ายนั้นในกลางคืน แล้วห้ามพลทั้งปวงให้สงบมิให้มี่ฉาว ฝ่ายในพระนครรู้ว่าชาวหงสาวดีขุดอุโมงค์เดิน ก็เอาปืนใหญ่ยิงออกไปมิได้ต้องข้าศึก ก็จัดกองอาษาออกไปทะลวงฟันได้หัวเข้ามาถวายหลายครั้ง และชาวหงสาวดีตั้งค่ายชั้นนั้นเป็นเดือนเศษจึงตั้งได้ แต่พระเจ้าหงสาวดียกมาให้ตั้งค่ายล้อมเป็น ๓ ครั้ง ประมาณ ๒ เดือน จึงเข้าล้อมได้ถึงริมแม่น้ำคูเมือง ฝ่ายสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า จึงดำรัสแก่พระยาราม ให้มีศุภอักษร ขึ้นไปถึงเมืองล้านช้าง ขอกองทัพลงมาช่วย พระยาราม ก็แต่งศุภอักษรโดยพระราชบริหารเสร็จแล้ว จึงแต่งให้ขุนราชเสนา ขุนมหาวิชัย กับไพร่ ๕๐ คนถือขึ้นไปยังเมืองล้านช้าง เมื่อศึกหงสาวดียกมาล้อมพระนคร และตั้งค่ายได้ ๓ ครั้ง พระเจ้าช้างเผือกเสด็จเลียบพระนครมิได้ขาด และแต่งกองอาษาออกไปกองละ ๑๐๐๐ กองละ ๒๐๐๐ ทั้งสี่ด้าน เป็นหลายหมู่หลายกอง ได้รบด้วยชาวหงสาวดีซึ่งเข้ามาตั้งค่ายนั้นทุกวัน และได้ฆ่าฟันชาว หงสาวดีตาย ได้หัวเข้ามาถวายก็มาก ฝ่ายพลหงสาวดีแม้นล้มตาย เท่าใด พลทั้งปวงก็มิได้แตกฉานยิ่งยกหนุนกันเข้ามา ป้องกันให้ ตั้งค่าย ครั้นตั้งค่ายล้อมทั้งสี่ด้านแล้ว พระเจ้าหงสาวดีก็ตรัสแก่ พระมหาอุปราชราชา พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ ท้าวพระยาทั้งหลายว่าเราไปรบเมืองทุกแห่งไซ้ ครั้นยกเข้าล้อมได้แล้วดังนี้ ก็แต่งการที่ ๑๒ ๙๐ จะเข้าปีนปล้นเอาได้ด้วยแบพลัน และแผ่นดินอยุธยานี้เป็นราชธานีใหญ่หลวง เอาสมุทรเป็นคูคั่นรอบ ดุจเขาพระสิเนรุราช อันมีแม่น้ำสีทันดรนทีรอบคอบ และที่จะปล้นได้ไซ้ เห็นแต่ขื่อหน้าด้านเดียว ถึงดังนั้นก็ดี จะปล้นเอาเหมือนนครทั้งปวงนั้นมิได้ และซึ่งจะเอาอยุธยานครนี้ เราจะแต่งการเป็นงานปีจึงจะได้ ให้ท้าวพระยาและ นายทัพนายกองทั้งปวง ให้รักษาแต่มั่นไว้ อย่าเพ่อรบพุ่ง ให้แต่งกันออกลาดหาข้าวไว้เป็นสะเบียงเลี้ยงไพร่พลทั้งปวง ให้ครบปีหนึ่ง แล้ว จะให้สำรวจเอาให้ถ้วนตัวคนจงทุกหมู่ทุกกอง ถ้านายทัพนายกอง ผู้ใดสะเบียงพลนั้นมิครบเถิงปีไซ้ จะให้ลงโทษแก่นายทัพนายกองผู้ นั้นเถิงสิ้นชีวิต จึงท้าวพระยาทั้งหลาย ก็แต่งพลไว้ประจำค่ายทั้งปวงแต่พอรบพุ่งป้องกันหน้าค่าย แล้วก็แต่งพลออกไปลาดหาข้าว ทุก หมู่ทุกกองโดยพระราชกำหนด ก็ปลูกยุ้งฉางใส่สะเบียงทั้งปวงไว้ ครั้นเถิงกำหนดที่จะกำหนด พระเจ้าหงสาวดีก็แต่งให้สมิงพัตเบิดเป็นกองสำรวจทุกทัพทุกกอง และสะเบียงพลทั้งปวงนั้น ก็ครบปีหนึ่ง ดุจพระราชกำหนด แต่หมวดมะโดดข้าหลวงเดิมนั้น สะเบียงมิครบปีพระเจ้าหงสาวดีก็ให้ลงโทษเถิงสิ้นชีวิต ขณะนั้นพระเจ้าช้างเผือกทรงพระประชวรหนักได้ประมาณ ๒๕ วันก็เสด็จสวรรคต ๑๖ รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช ( ครั้งที่ ๒ ) ศักราช ๙๓๐ ปีเถาะสัปตศก ( พ.ศ. ๒๐๙๘ ) อยู่ใน ราชสมบัตินั้น ๒๒ ปี ครั้นพระเจ้าช้างเผือกสวรรคตแล้ว สมเด็จ


๙๑ พระมหินทราธิราชพระเจ้าแผ่นดินมิได้นำพาการศึก และเสด็จอยู่แต่ ในพระราชวัง ไว้การทั้งปวงแก่พระยาราม ให้บังคับบัญชาตรวจ ทหารทั้งปวงผู้รักษาหน้าที่รอบพระนครนั้น พระยารามขี่คานหามทองมีมยุรฉัตรประดับซ้ายขวา และพลทหารแห่หน้าหลังเป็นหนั่นหนา แต่พลถือปืนนกสับนั้น ๗๐๐ เที่ยวเลียบหน้าที่ทุกวัน และเกณฑ์พล ออกรบชาวหงสาวดีเป็นสามารถ ขณะนั้น พระยาจักรรัตนถือพลออกไปหักค่ายข้าศึกณท้ายคู และเผาค่ายหน้าที่พระยาเกียรติได้ประมาณเส้นหนึ่ง พลศึกอันประจำค่ายพ่ายลงไป จึงพระยาเกียรติยกพลออกรบ พระยาจักรรัตน์ถลำลง ไปก็เสียตัว และชาวอาษาก็พ่ายเข้ามาพระนคร พระยาเกียรติจับ พระยาจักรรัตน์ไปถวายแก่พระเจ้าหงสาวดี ๆ ทรงพระโกรธแก่พระยาเกียรติ ตรัสแก่พระมหาอุปราชาว่า ซึ่งพระยาเกียรติมิได้รักษาค่าย ให้มั่น ให้ชาวพระนครออกมาเผาเสียได้ มิลงโทษพระยาเกียรตินั้น ด้วยประการใด พระมหาอุปราชากราบทูลว่า พระยาเกียรติเสีย คายก็จริง แต่ทว่าได้นายกองซึ่งถือพลออกมารบนั้น ฯ ข้า ฯ เห็น ว่าโทษพระยาเกียรติกลบลบกันจึงมิได้ลงโทษ พระเจ้าหงสาวดี ทรงพระโกรธแก่พระมหาอุปราชาว่า ถึงพระยาเกียรติจับได้นายกอง ดียังมิคุ้มโทษ และพระมหาอุปราชาว่าพระยาเกียรติคุ้มโทษแล้ว และมิได้เอาโทษพระยาเกียรตินั้น เห็นว่า มหาอุปราชามิได้เอาใจ ลงในการศึก อย่าให้มหาอุปราชาอยู่บังคับการศึกในทัพนั้นเลย จะ ไปแห่งใดก็ตามใจเถิด ให้มหาอุปราชาเอาแต่ช้าง คนขี่ท้าย กลาง

๙๒ ไปด้วย กว่านั้นอย่าให้เอาไป พระเจ้าหงสาวดีก็ให้ขับพระมหา อุปราชาเสีย แล้วก็ให้ลงโทษแก่พระยาเกียรติถึงสิ้นชีวิต พระมหา อุปราชากลับมายังทัพ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็ใช้สนองพระโอฐมา ขับพระมหาอุปราชา ให้ไปจากทัพจงฉับพลัน ขณะนั้นพระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ กลัวอาชญาพระเจ้าหงสาวดี มิอาจทูลขอโทษพระมหาอุปราชาได้ พระมหาอุปราชาก็ให้ไปทูลแก่พระมหาธรรมราชาว่า สมเด็จพระราชบิดาทรงพระโกรธ ขับเราเสียจากกองทัพ และพระ เจ้าแปร พระเจ้าอังวะจะทูลขอโทษนั้น พ้นกำลังทูลมิได้ และซึ่งจะช่วยเราคราวนี้ เห็นแต่เจ้าพี่เราพอจะทูลขอโทษเราได้ เมื่อพระมหา อุปราชาให้มาทูลแก่พระมหาธรรมราชานั้น พระเจ้าหงสาวดีใช้สนองพระโอฐมาไล่ว่าให้พระมหาอุปราชาเร่งไปจงพลัน จึงพระมหาอุปราชากลัวพระราชอาชญา ก็แต่งตัวจะขึ้นช้างไปจากทัพ จึงพระมหา ธรรมราชาตรัสให้ข้าหลวงไปห้ามพระมหาอุปราชา ว่าให้งดอยู่เราจะ ไปทูลขอโทษก่อน พระมหาธรรมราชาก็เสด็จมาทูลขอโทษพระมหา อุปราชา พระเจ้าหงสาวดีก็โปรดยกโทษให้ ขณะนั้น พระเจ้าหงสาวดี ให้ พระเจ้าแปรยกทัพเรือลงไปโดยคลองสะพานขายข้าว ไปออกเอาบางไทร เลี้ยวขึ้นมาตั้งท้ายคู กันมิให้เรือขึ้นล่องเข้าออกได้ แล้วพระเจ้าแปรก็แบ่งทัพเรือลงไป ลาดถึงเมืองนนทบุรี เมืองธนบุรี เมืองสมุทรปราการ ขณะนั้นสำเภาจีนจังจิ๋ว มิทันรู้ว่าศึกหงสาวดีมาล้อมพระนคร ก็ใช้ใบเข้ามาถึง หลังเต่า พระเจ้าแปรก็ยกทัพเรือออกไปจะตีเอาสำเภาจีนจังจิ๋ว ๆ ก็

๙๓ รู้ว่า ศึกมาล้อมพระนคร และแต่งทัพเรือลงมาลาด จีนจังจิ๋วก็ใช้ใบสำเภาออกไปและทัพเรือพระเจ้าแปรยกออกไปเห็นสำเภาจีนจังจิ๋วคลาด ออกไปลึกแล้ว จะตามเอามิได้ก็ยกทัพคืนมา พระเจ้าหงสาวดีก็ ทรงพระโกรธแก่พระเจ้าแปร ว่าสำเภาจีนเข้ามาถึงปากน้ำแล้ว และ มิได้ติดตามออกไปเอาจงได้ ให้สำเภาจีนหนีไปรอดนั้น พระเจ้าแปร ผิดนัก จึงสั่งให้เอาตัวพระเจ้าแปรไปทะเวนรอบทัพ แล้วให้คงเป็นนายกองทัพเรือดุจเก่า ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี ก็แต่งทหารให้เข้าหักค่าย ริมน้ำด้านประตูหอรัตนชัย พระยารามและพระกลาโหม พระอินทรา พระมหาเทพ พระมหามนตรี และพระหลวงขุนหมื่นหัวเมืองทั้งหลายช่วยกันเอาใจลงในราชการรบพุ่งป้องกันไว้มิให้ชาวหงสาวีหักเข้ามา ได้ และพระมหาเทพแต่งพลอาษาออกทะลวงฟันชาวหงสาวดีก็แตก ฉานเป็นหลายครั้ง และการศึกนั้นช้าอยู่ พระเจ้าหงสาวดีทรงพระ โกรธก็ให้เอานายทัพนายกองไปลงโทษ แล้วจึงบัญชาการให้พระมหาอุปราชา ไปตั้งค่ายตำบลวัดเขาดินตรงเกาะแก้ว พระเจ้าอังวะ บุตรเขยนั้น ตั้งค่ายตำบลวัดสะพานเกลือ พระเจ้าแปรผู้หลาน ตั้งค่ายตำบลวันจันทร์ตรงบางเอิ่ยน ให้เร่งถมดินเป็นถนนข้ามแม่น้ำเข้าไปให้ถึงฟากทั้งสามตำบลจงได้ พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระ เจ้าแปร ก็มาเร่งให้ทำตามรับสั่ง ชาวพระนครเจ้าหน้าที่เห็นดังนั้น ก็เอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก สมเด็จพระ เจ้าหงสาวดีเสด็จทอดพระเจตรเห็นว่ายังหาเป็นถนนขึ้นได้ไม่ ก็ตรัส ว่า พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร สามคนนี้

๙๔ จะให้ถมถนนข้ามคูเท่านี้ยังมิได้ ที่ไหนจะได้กรุงศรีอยุธยาเล่า ถ้าและตายลงบ้างสักคนหนึ่งเมื่อใด จึงจะเป็นถนนขึ้นได้ ตรัสเท่า ดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับไปพลับพลา และพระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ยิ่งเกรงพระราชาอาญา จึงดำรัสให้เอาไม้โตนดทำทุบ ทูบังพล ขนมูลดินเข้าไปถมถนน ชาวพระนครก็วางปืนใหญ่ออก มา พลล้มตายเป็นอันมาก ผู้ตรวจการเห็นดังนั้นก็เอาเนื้อความเข้ากราบทูลสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทุกประการ พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสถามผู้เข้ามาทูลว่า พลแบกมูลดินตายลงคนหนึ่ง เป็นมูลดินกี่ก้อน ผู้ตรวจการทูลว่า คนตายคนหนึ่งเป็นมูลดินประมาณ ๗ ก้อน ๘ ก้อน พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสว่า เอาเถิด แล้วไปบอกเจ้าหน้าที่ให้เร่งพลขนมูลดินถมถนนเข้าไปอย่าให้ขาดได้ ผู้ตรวจการก็เอามาทูลพระมหา อุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ตามรับสั่งทุกประการ พระมหาอุปราช พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ก็เร่งให้พวกพลทั้งปวงถมถนนทั้งสามตำบลมิได้ขาด ทั้งกลางวันและกลางคืน และการถมถนน ถึง ๓ เดือนจึงถึงกำแพงพระนคร ฝ่ายพระยาราม พระกลาโหม พระมหาเทพเห็นศึกแหลมเข้ามา ก็ตั้งค่ายในกำแพงชั้นหนึ่งเป็นวงพาด เอาปืนใหญ่ปืนมรฑก มาตั้งไว้หน้าค่ายนั้น ฝ่ายคนอยู่รักษากำแพงและเชิงเทินนั้นก็ยังรบพุ่งป้องกันอยู่ และพระเจ้าหงสาวดีให้ยกพลเข้าไปโดยถนนมุมเกาะแก้ว และเอาทัพเรือตีกระหนาบแล้วเอาปืนจ่ารงมรฑก นกสับ ยิงแยงระดมเอาเจ้าหน้าที่ดังห่าฝน ชิงเอาเกาะแก้ว นั้น ชาวทหารอาษาซึ่งอยู่หน้าที่เกาะแก้วนั้น จะรบพุ่งป้องกันไว้ มิได้

๙๕ ก็พ่ายลงมายังค่ายซึ่งตั้งไว้นั้น และชาวหงสาวดีรุกเข้ามาทำลายกำแพงมุมเกาะแก้วได้ ในขณะนั้นพระยารามก็สลดใจลง จะบังคับบัญชาการศึกไปไม่สิทธิดุจก่อน ก็คิดด้วยท้าวพระยามุขมนตรี ทั้งหลายว่าจะป้องกันศึกสืบไปเห็นพ้นกำลัง และเราจะแต่งออกไป ให้เจรจาเป็นทางไมตรีจะเห็นประการใด ท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายก็ว่า ซึ่งจะเป็นไมตรีนั้นแต่ยังมิได้รบพุ่งกัน นี้สิได้รบกันเป็นสามารถแล้ว รี้พลพระเจ้าหงสาวดีเสียหายเป็นอันมากดังนี้แล้ว พระเจ้า หงสาวดียังจะรับเป็นทางราชไมตรีได้หรือ และท้าวพระยาทั้งหลายก็ มิลงด้วยพระยาราม แต่นั้นมาท้าวพระยามุขมนตรีลูกขุนทหารทั้งปวง มิฟังบังคับบัญชาพระยารามต่อไป ต่างคนต่างรบข้าศึก และพระมหิน ทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ก็มิเอาพระทัยลงในการสงครามหามิได้ ละให้แต่มุขมนตรีทั้งหลายรบพุ่ง ในขณะนั้นพระมหาเทพ ถือพลอาษาอยู่รักษาหน้าค่าย มุมเกาะแก้วที่กำแพงทะลายนั้น ข้าศึกหงสาวดียกเข้ามาปล้นค่ายเป็นหลายครั้ง และพระมหาเทพก็รบป้องกันไว้ ข้าศึกจึงมิหักเข้ามาได้ อนึ่งพระเจ้าลูกเธอพระศ รีเสาวราช เสด็จมายืนช้างพระที่นั่งให้พลอาษาช่วยพระมหาเทพรบแล้วแต่งทหารอาษาออกทลวงฟัน แล้ว ก็วางปืนใหญ่ยิงแยงออกไปต้องพลหงสาวดีตายเป็นอันมาก ข้าศึก จะปล้นเอาค่ายนั้นมิได้ ก็ตั้งประชิตกันอยู่ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีทรงพระดำริว่า กรุงพระมหานครศรีอยุธยานี้ ป้องกันเมืองไว้เป็นสามารถ ซึ่งจะหักเอาโดยง่ายนั้นยากนัก แล้วก็จวนเทศกาลฝนจะตกอยู่แล้ว

๙๖ จะลำบากไพร่พลนัก จึงตรัสด้วยพระมหาธรรมราชาว่า จำเราจะเพโทขายเอาตัวพระยารามผู้เป็นเจ้าการป้องกันพระนครไว้ได้แล้วก็จะเบา มือลงเห็นจะได้เมืองถ่ายเดียว พระมหาธรรมราชา ก็แต่งนาย ก้อนทองข้าหลวงเดิม ให้ถือหนังสือลอบเข้าไปถึงขุนสนมข้าหลวง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าช้างเผือกไปเอาลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก กับด้วยพระวิสุทธิกษัตรีย์นั้น ขุนสนมก็ส่งหนังสือนั้นเข้าไปถวายแก่พระ เจ้าอยู่หัวกรมฝ่ายใน และในลักษณะหนังสือนั้นว่า พระเจ้าช้างเผือกตรัสคิดด้วยพระยาราม จึงแต่งการรบพุ่งป้องกันไว้ ละให้เสี ยสัตย์คลองพระราชไมตรีนั้น บัดนี้พระเจ้าช้างเผือก เสด็จสวรรคตแล้วังแต่พระยาราม และพระทัยพระเจ้าหงสาวดียังไม่เสียคลองพระราชไมตรี ถ้าและพระเจ้าแผ่นดินส่งตัวพระยาราม ผู้ก่อเหตุออกมาถวายแล้ว พระเจ้าหงสาวดีก็จะเป็นทางราชไมตรี สืบไป มิให้ยากแก่สมณชีพรมหมณ์อาณาประชาราษฎรทั้งปวง จะเลิกทัพกลับไปพระนครหงสาวดี จึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฝ่ายในรู้แจ้งแล้ว ก็เอาหนังสือนั้นมาแถลงแก่สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินๆ ได้ฟังโดยลักษณะหนังสือนั้น ก็ให้หาท้าวพระยาเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงมาประชุมกันปรึกษาว่า ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีให้ส่งพระยารามออกไปแล้วจะเป็นทางไมตรีนั้น ยังเห็นควรประการใด หรือมิชอบจะส่ง จึงท้าวพระยาอำมาตย์ทั้งปวงปรึกษาว่า ถ้าพระเจ้าหงสาวดีจะเป็นราชไมตรี จึงควรจะส่งพระยารามออกไป อย่าให้ยากแก่อาณาประชาราษฎร

๙๗ ทั้งปวง และพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ก็สั่งให้แต่งหนังสือ ตอบออกไป ว่าถ้าพระเจ้าหงสาวดีจะเป็นไมตรีสัจจริงดุจให้หนังสือเข้ามานี้ไซร้ ก็จะส่งพระยารามออกไป จึงนายก้อนทองรับเอาหนังสือ ออกไป แต่พระมหาธรรมราชา ๆ ก็สั่งให้นายก้อนทองเข้าไปอีกเล่า ว่าพระเจ้าหงสาวดีจะเป็นราชไมตรีสุจริตจริง ให้ส่งตัวพระยาราม ออกไปซึ่งจะเอาพระยารามไว้ ในพระนครนั้นจะได้ยากแก่อาณาประชา ราษฎรทั้งปวงนั้นดูมิบังควร ฝ่ายท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลาย มิได้ รู้กลพระเจ้าหงสาวดี สำคัญว่าจริง ก็พร้อมกันทูลสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน จึงให้ส่งพระยารามออกไปแก่พระเจ้าหงสาวดี สม เด็จพระมหินทราธิราชจึงตรัสสั่งแก่นายก้อนทอง ให้ออกไปทูลแก่พระมหาธรรมราชาว่า จะส่งพระยารามออกไปกำหนดให้มารับเถิด ครั้นนายก้อนทองไปแล้ว พระเจ้าแผ่นดินให้จำพระยาราม แต่งคนคุมออกไปส่ง แล้วให้อาราธนาพระสังฆราชกับพระภิกษุ ๔ องค์ ไปด้วย ครั้นพระสังฆราชและผู้คุมพระยารามไปถึง พระมหาธรรมราชาให้ถอดจำ พระยารามออกแล้วพาเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าหงสาวดี ๆ ให้เบิกพระ สังฆราชเข้ามาแล้ว ตรัสให้หาพระมหาอุปราชาและท้าวพระยาทั้งปวง มาประชุมหน้าพลับพลา พระเจ้าหงสาวดีก็ตรัสแก่ท้าวพระยาทั้งหลายว่าพระเจ้าแผ่นดินศรีอยุธยา ให้สังฆราชเอาพระยารามผู้ก่อเหตุมา ส่งแก่เรา แล้วว่าจะขอเป็นพระราชไมตรีด้วยเราดุจก่อน ท้าวพระยา ทั้งหลายจงปรึกษาดู ยังจะช่วยรับเป็นพระราชไมตรีหรือประการใดท้าวพระยาทั้งหลายทูลว่า ซึ่งได้พระยารามออกมาแล้วดังนี้ เสมือน ๑๓ ๙๘ ได้แผ่นดินอยุธยา อันซึ่งนะเป็นราชไมตรีนั้นหาต้องการไม่ ขอให้ยก เข้าหักเอากรุงจงได้ พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสว่า เราเป็นกษัตริย์จะทำสงครามสืบไป ซึ่งจะทำดังนี้หาควรไม่ แล้วก็สั่งนายทัพนายกอง ทั้งปวงให้รักษาแต่มั่นไว้อย่าให้ประชิรบพุ่งเข้าไป ฝ่ายชาวพระนครก็มิได้รบ ต่างคนต่างสงบอยู่ทั้งสองฝ่าย จึงพระเจ้าหงสาวดี สั่งพระสังฆราชเข้ามา ว่าถ้าพระเจ้ากรุงมหานครอยุธยาจะเป็นทางพระราชไมตรีด้วยเรา จงให้เจ้าแผ่นดินและท้าว พระยาผู้ใหญ่ทั้งปวงออกมาถวายบังคมแก่เรา ๆ จึงจะรับเป็นทางพระราชไมตรีด้วย ครั้นพระสังฆราชเข้ามาถึงกรุงถวายพระพรแก่สมเด็จพระมหินทราธิราช โดยคำพระเจ้าหงสาวดีสั่งให้เข้ามานั้น จึงท้าว พระยาทั้งหลายทูลพระมหินทราธิราช ว่าการทั้งนี้และพระเจ้าหงสาวดี หากคิดเพโทบายล่อลวงให้ออกไป แล้วจะกุมเอาตัวท้าวพระยาผู้ใหญ่ทั้งปวงไว้ แล้วจะให้เข้ามาเอาครัวอาณาประชาราษฎรทั้งหลาย อพยพไปเป็นชะเลย และศึกครั้งนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวาย ชีวิตรบพุ่งป้องกันจนถึงขนาด จึงสมเด็จพระมหินทราธิราชก็ตรัสให้ ท้าวพระยาทั้งหลายปรึกษาเป็นหลายครั้ง ก็ลงใจด้วยกันเป็นคำเดียวว่าจะอาษารบพุ่งไว้ แต่พระยาธรรมานั้นมิลงได้ด้วยท้าวพระยาทั้งปวง ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี คอยทูตจะออกมาแต่พระนครช้าอยู่ถึง ๗ วัน แล้วก็มิได้ออกมา จึงตรัสแก่พระมหาธรรมราชา ว่ากรุง นครศรีอยุธยามิให้ทูตออกมาเจรจาการเมืองกันและช้าอยู่ดังนี้ เห็นว่ามิเป็นพระราชไมตรีกันแล้ว เราจะให้แต่งการทีจะปล้นดุจหนหลังมา

๙๙ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ก็ทูลแก่พระเจ้าหงสาวดีว่า จะขอให้งดก่อนข้าพระเจ้าจะเข้าไปแถลงการทั้งปวง ให้พระเจ้าแผ่นดินและท้าวพระยาผู้ใหญ่เห็นแท้ว่า จะเป็นทางราชไมตรีจริงอย่าให้ยากแก่สมณชี-พราหมณ์อาณาประชาราษฎรทั้งหลาย พระเจ้าหงสาวดีตรัสบัญชาโดยสมเด็จมหาธรรมราชา ๆ ก็เสด็จยังพระราชยานมายืนอยู่อยู่ตรงหน้าที่พระมหาเทพ จึงร้องเรียกเจ้าหน้าทีเข้าไปว่า เราจะเข้าไประงับการแผ่นดิน และพระมหาเทพเจ้าหน้าทียิงปืนกระสุนใหญ่น้อยออกไป พระองค์ก็ลงจากพระเสลียง ขุนอินทรเดชะก็แยกพระองค์วิ่งกลับออกมา สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็มาเฝ้าพระเจ้าหงสาวดี แล้วกราบทูลว่าไปทุกประการ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสว่า ชาวพระนคร ศรีอยุธยานี้มิไว้ ใจนั้น ก็เป็นสำหรับกรรมทีจะให้เสียพระนคร ซึ่งจะพ้นมือเราไปนั้นหาไม่ แล้วพระเจ้าหงสาวดีก็ให้นายทัพนายกองทั้งปวงเร่งประชิทำการทั้งกลางวันและกลางคืน ชาวพระนครก็รบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ ขณะนั้นพระเจ้าลูกเธอพระศรี เสาวราชถือพล ๑๕๐๐๐ตั้งเป็นกองกลางอยู่ท้องสนามหลวง ถ้าเจ้าหน้าที่มาทูลว่าข้าศึกเข้ามาหักหาญด้านใดนัก ก็มิได้ทูลพระราชบิดาก่อน แต่งทหารให้ไปช่วยรบ ทุกครั้ง ส่วนสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดิน มิได้เอาพระทัย ใส่ในการศึก มาคิดแคลงพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวราช ว่าการ ศึกหนักเบามิได้มาแจ้งก่อน ทำแต่อำเภอใจ จึงให้หาพระศรีเสาวราชเข้ามาแล้ว สั่งให้พระยาธรรมาเอาตัวพระศรีเสาวราชไปล้างเสียณวัด

๑๐๐ พระราม และข้าราชการนายทัพนายกองทหารทั้งปวงก็เสียใจ แต่ เหตุว่ารักบุตรภรรยาอยู่ก็อุตส่าห์รบป้องกันไว้ทุกหน้าที่ ฝ่ายขุนราชเสนา ขุนมหาวิชัยกับไพร่ ๕๐ คนพากันเล็ดลอดขึ้นไปถึงเมือง ล้านช้าง จึ่งเอาศุภอักษรนั้นออกให้แก่เสนาบดี ในศุภอักษรนั้นว่า ศุภอักษรบวรสถาผล วิมลเชษฐคุณานันต วิกสิตวิจิตรคัมภี ราชาวศัย ในท่านอัครมหาเสนาธิบดินทร์ นรินทรามาตย์ อันสวามิประวาสบาทมุลิกากร บวรยุคลเรณุมาศ ในพระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหา ดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชมหาสถาน มีมธุรจิตต์สนิทเสน่หา มายังเสนาบดีณกรุงศรีสัตนาคนหุตว่า บัดนี้กรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา มีราชดัษกรคือพระเจ้าหงสาวดี กอบด้วยโลภเจตนาหาหิริโอตตับปะมิได้ ยกกองทัพมาปสัยห์กระทำย่ำยีพระนคร ศรีอยุธยา สมณพราหมณาจารย์และไพร่ฟ้าประชากร ได้ความ เดือดร้อนหนัก และกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา ก็เป็นเขื่อนเพ็ชรเขื่อนขันธ์แก่กรุงศรีสัตนาคนหุต ถ้าว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่กองทัพ หงสาวดีแล้ว เห็นว่าศึกหงสาวดีจะติดถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตด้วย ขอเชิญเสด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ยกพยุหโยธาทัพลงมาช่วยรณยุทธ์ปราบปรามข้าศึกให้อับปราชัยประลาสไปแล้ว จะได้ช่วยกัน ดำริการที่จะตอบแทนแก้แค้นพระเจ้าหงสาวดีให้ถึงขนาด และเสนาบดีครั้นแจ้งในสุภอักษรแล้ว ก็พาขุนราชเสนา ขุนมหาวิชัย เข้าเฝ้าทูลโดยสำเนาศุภอักษรเสร็จสิ้นทุกประการ

๑๐๑ พระเจ้ากรุงศรีสั ตนาคนหุตแจ้งดังนั้นก็ทรงพระโกรธ จึงตรัสว่าพระเจ้าหงสาวดีมิได้ตั้งอยู่ในขัตติยราชตามประเพณีประพฤติพาลทุจริตและให้ทหารมาสะกัดชิงเอาพระเทพกษัตริย์ไปครั้งหนึ่งแล้วมิหนำยังมีน้ำใจกำเริบยกพยุหโยธามากระทำย่ำยีพระนครศรีอยุธยาอีกเล่า จำเราจะยกไปตีเป็นทัพกระหนาบ ดูหน้าพระเจ้าหงสาวดีจะทำเป็นประการใด ทั้งทางพระราชไมตรีกรุงศรีอยุธยาก็จะวัฒนาการสืบไป แล้ว จึงมีพระราชกำหนดให้เตรียมทหารขุนหมื่นนายช้าง ๓๐๐ ม้า ๓๐๐๐ ครั้นณวันเสาร์เดือน ๓ แรม ๕ ค่ำ ได้ศุภวารดิถีมหามงคลฤกษ์ประเสริฐก็เสด็จทรงช้างพระที่นั่ง พร้อมด้วยแสนท้าวพระยาลาว และพยุหโยธาหาญแห่โดยขบวนซ้ายขวาหน้าหลัง ดั้ง แซง เป็น ขนัดแน่นด้วยเครื่องสรรพสาตราวุธ ยกอออกจากกรุงศรีสัตนาคนหุตประทับรอนแรมมาโดยวิถีทางสถลมารค ฝ่ายด่านเมืองนครไทยรู้ข่าว่ากองทัพเมืองล้านช้างยกลงมา ก็บอกข่าวราชการลงไปให้ราบทูลพระมหาธรรมราชา ๆ แจ้งดังนั้นแล้วจึงเอาบอกขึ้นไปเฝ้าทูลพระเจ้าหงสาวดี ว่าบัดนี้กองทัพกรุงศรีสัตนา คนหุตยกมาทางเมืองเพ็ชรบูร จะลงเมืองสระบุรีเป็นทัพกระหนาบ พระเจ้าหงสาวดีแจ้งแล้ว ตรัสถามพระยารามว่า กองทัพกรุงศรีสัตนา คนหุตยกมานี้ มาช่วยเองหรือบอกขึ้นไปขอให้มาช่วย พระยารามกราบทูลว่า สมเด็จพระมหินทราธิราช สั่งข้าพเจ้าให้มีศุภอักษร ขึ้นไปขอกองทัพลงมาช่วย พระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า ซึ่งกองทัพ กรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาครั้วนี้ ครั้นจะละไว้ ให้เข้ามาใกล้ ชาวพระ

๑๐๒ นครจะแข็งมือขึ้น การทีจะทำเอาพระนครจะช้าวันไป จำเราจะตี ให้แตกฉานแต่ไกล แล้วสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระยาราม เอาช่างที่มีฝีมือมาแกะตราให้เหมือนตราพระราชสีห์เสร็จแล้ว จึง แต่งเป็นศุภอักษรว่า ทัพพระเจ้าหงสาวดีย กมาครั้งนี้ กองทัพกรุงพระมหานคร ศรีอยุธยาแต่งออกรับ ก็หาหักหาญได้ไม่ บัดนี้ให้ตั้งมั่นไว้ แต่งให้คนออกลาดกระเวนตัดสะเบียง กองทัพชาวหงสาวดีก็ขาด สะเบียงลง จวนจะเลิกกองทัพถอยไปอยู่แล้ว ให้เชิญเสด็จพระ เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เร่งยกพยุหโยธาทัพลงมาทำการตีกระหนาบ ก็จะได้ชัยชำนะโดยง่าย ครั้นแต่งเสร็จแล้วจึงสั่งพระมหาธรรมราชา ให้แต่งไทยซึ่งมีสติปัญญาไว้ใจได้ ถือรีบขั้นไปให้กองทัพยกเร่งลงมา แล้วสั่งพระมหา อุปราชาว่าให้แต่งกองทัพขึ้นไปคอยสะกัดตี พระมหาอุปราชาก็ เสด็จยกพยุหยาตราทัพ โดยสถลมารคแนวน้ำแควป่าศักฟาก ตะวันออกพักพลซุ่มไว้ใกล้เมืองสระบุรีทั้งสองฟากน้ำ ฝ่ายผู้ถือศุภอักษรไปพบกองทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต รเมืองเพ็ชรบูร เสนาบดีนำเข้าเฝ้าทูลข้อความตามศุภอักษรทุก ประการ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแจ้งแล้ว มิได้มีวิจารณญาณสำคัญว่าจริงดีพระทัยนัก ก็ยกกองทัพรุดรีบลงมาเมืองสระบุรี ถึงตำบลหมากสอง ต้นกองทัพยังมิทันพร้อม พระมหาอุปราชาเห็นได้ ทีแล้วให้ทหารเข้าโจมตี กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตไม่ทันรู้ ตัวก็

๑๐๓ แตก รี้พลเจ็บปวดล้มตายเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตก็ ขึ้นช้างหนีไป กองทัพพระมหาอุปราชาไล่ตีติดตามไปได้ช้างม้าเป็น อันมาก จับพลลาวได้ประมาณ ๑๐๐เศษ แล้วยกกลับลงมาเฝ้าพระเจ้าหงสาวดี แล้วก็ทูลถวายช้างม้ากับชะเลยชาวล้านช้างซึ่งได้มานั้นพระเจ้าหงสาวดีดีพระทัย จึงให้ปล่อยชาวล้านช้างไปแจ้งเหตุทั้งปวงใน พระนคร ฝ่ายพระมหินราธิราชเจ้าแผ่นดินและนายทัพนายกองทั้งปวงแจ้งว่า กองทัพพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเสียแก่ชาวหงสาวดีก็เศร้าใจ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี คิดการซึ่งจะเข้าหักเอาพระนครให้จงได้ ฝ่ายสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงคิดว่า ถ้าจะหักเอาพระนครโดยกำลังทหารนั้น ๆ เห็นจะเสียไพร่พลเป็นอันมากจึงให้หาพระยาจักรีมาว่า ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีได้ขึ้นไปครั้งพระราเมศวรนั้นมาเฝ้าแต่สอง ให้สาบาลแล้วจึงตรัสปรึกษาเป็นความลับ ว่าแต่ก่อนท่านกับเราก็เป็นข้าพระเจ้าช้างเผือก ครั้งนี้เรามาเป็นข้าพระเจ้าหงสาวดีด้วยกันแล้ว ฝ่าย พระเจ้าช้างเผือกก็สวรรคตแล้ว ตัวเราก็ได้ทำความชอบ แต่ตัว ท่านยังหามีความชอบสิ่งใดไม่ เราคิดจะให้ท่านมีความชอบไว้ต่อ พระเจ้าหงสาวดี เราเห็นอุบายอันหนึ่งซึ่งจะเป็นความชอบของท่านตราบเท่ากัลปาวสาน ถ้าท่านเป็นใจด้วยแล้วก็จะได้พระนคร โดยง่าย พระยาจักรีก็รับว่าจะสนองพระคุณไปกว่าจะสิ้นชีวิต สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงเอาความลับทั้งนี้ไปกราบทูลแก่พระเจ้าหงสาวดีๆ ก็ยินดิ่นัก จึงอุบายให้เอาพระยาจักรีมาลงพระราชอาชญาแล้วจำไว้แล้วให้พะม่ามอญลาวคุมอยู่ ๓๐ คน ครั้นอยู่มาประมาณ ๕ วัน

๑๐๔ ๖ วัน จึงสมเด็จพระมหาธรรมราชาแต่งให้คนลอบไปปล่อยพระยาจักรีเข้าไปในกรุงทั้งสังขลิกพันธนา เข้าหน้าที่พระยาธรรมา ตรงวัด ศพสวรรค์ในเพลากลางคืน ครั้นรุ่งขึ้นพระเจ้าหงสาวดีทำเป็นให้ ค้นหาพระยาจักรีทุกกองทัพไม่พบ แล้วก็ให้เอาผู้คุม ๓๐ คนไป ตระเวนรอบกองทัพ แล้วประหารชีวิตเสียบไว้หน้าค่ายพระยาธรรมาในเพลานั้น พระยาธรรมาก็พาเอาตัวพระยาจักรีเข้าไปเฝ้า สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินสำคัญว่า พระยาจักรีหนีมาได้จริง มีความยินดีนัก ก็ให้ถอดเครื่องพันธนาออกแล้ว จึงพระ ราชทานบำเหน็จรางวัลเป็นอันมาก แล้วให้พระยาจักรีบังคับบัญชาการซึ่งจะป้องกันพระนคร แล้วสมเด็จพระมหินทราชธิราชเจ้าแผ่นดิน พระราชทานอาชญาสิทธิให้แก่พระยาจักรี ให้แห่เครื่องสูง มี ปี่กลองชะนะแตรสังข์ประโคมเที่ยวตรวจหน้าที่ และพระยาจักรี นั้นจัดแจงค่ายคูประตูหอรบ บำรุงทะแกล้วทหารรบพุ่งโดยฉัน อันจริงมาได้ประมาณเดือนหนึ่ง แต่นั้นไปเห็นเจ้าหน้าที่ใดรบพุ่ง กล้าหาญ ก็พาลเอาผิดให้ลงโทษว่าละหน้าทีเสีย มิได้เป็นใจ ต่อราชการ แล้วก็เอาพลเรือนมาเป็นทหาร เอาทหารมาเป็น พลเรือน นาทัพนากองทั้งปวงก็เสียใจ การศึกก็ถอยกำลังลง แล้วให้หนังสือลับกำหนดออกไปว่า ณวันศุกร์เดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ ให้ยกเข้ามา ฝ่ายพระเจ้าหงสาว ดีแจ้งดังนั้น ก็กำหนดให้นายทัพนายกองทั้งปวงซึ่งจะเข้าหักเอาพระนคร แล้วแต่งทหารเป็น ๔ เหล่า ๆ

๑๐๕ หนึ่งใส่เสื้อดำ ถือดาบดั้ง เหล่าหนึ่งใส่เสื้อเขียว ถือดาบ ๒ มือ เหล่าหนึ่งใส่เสื้อแดง ถือปืนนกสับคาบชุด เหล่าหนึ่งใส่เสื้อสีม่วง ถือหอกทวนดาบสะพายแล่ง แล้วพระเจ้าหงสาวดีสั่งให้พระมหาธรรมราชากับพระมหาอุปราชา ถือพลทั้งนี้ยำเข้าไปโดยถนนเกาะแก้ว และพระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ยกเข้าตามหน้าที่พร้อมกันทั้งสามถนนเจ้าหน้าที่ก็สาดปืนไฟแหลนหลาวออกมา ต้องพลทหารหงสาวดีล้มตายเป็นอันมาก พลข้าศึกก็มิได้ถอย เยียดยัดหนุนเนื่องกันเข้าไปมิได้ ขาดเสียงพลเสียงปืนดังแผ่นดินจะไหว และกองทัพพระมหาธรรมราชาพระมหาอุปราชาโจมตีหักเข้าไปได้ค่ายพระมหาเทพ ๆ แตกถอยเข้าไปตั้งรับอยู่ตำบลหน้าวัดโควัดกระบือ แล้วก็แตกเข้ามาตั้งรับตำบลวัด เผาข้าว ก็ระส่ำระสายแตกกระจัดพรัดพรายคุมกันไม่ติด ข้าศึกก็ เข้าเมืองได้ เมื่อเสียกรุงเทพพระมหานครแก่พระเจ้าหงสาวดีนั้นณวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ศักราช ๙๓๑ ปีมะโรงอัฐศก ( ๑ ) ( พ.ศ. ๒๐๙๙ ) เพลาเช้า ๓ นาฬิกา ขณะนั้นจึงพระมหาอุปราชา กับสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ก็เสด็จเข้ามายืนช้างพระที่ นั่งในหน้าพระราชวัง จึงสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินเห็นว่า พระนครศรีอยุธยา เสียแก่พระเจ้าหงสาวดีแล้ว ก็เสด็จด้วยพระราชยาน ออก ( ๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๓๑ มะเส็งศก ( พ.ศ. ๒๑๑๒ ) ณวันอาทิตย์เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ ( ผิดกัน ๑๓ ปี ) ๑๔ ๑๐๖ ไปยังสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าพระราชวัง จึงพระมหา อุปราชากับสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า พาเอาสมเด็จพระมหิน ทราธิราชเจ้าแผ่นดิน ออกไปถวายพระเจ้าหงสาวดีณพลับพลาวัด มเหยคณ์ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระมหิน ทราธิราชเจ้า จึงตบพระหัตถ์ลงที่ราชาอาศน์ แล้วตรัสเชิญเสด็จ พระมหินทราธิราชเจ้าให้เข้ามานั่ง สมเด็จมหินทราธิราชเจ้าก็คลาน เข้าไปตามรับสั่ง แต่ทว่าหาถึงที่ตบพระหัตถ์ไม่ สมเด็จพระเจ้า หงสาวดีจึงยกพานพระศรี ยื่นมาให้สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าเสวย และสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าก็มิได้เสวย พระเจ้าหงสาวดีก็หยิบเอาพระศรีในพานประทานให้ สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าก็รับเอามากำไว้สักครู่หนึ่งแล้วจึงเสวย สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี จึงหยิบเอาบ้วนพระโอฐสั่งให้ สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าก็มิได้บ้วนลง สมเด็จ พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสว่า ซึ่งเรายกพยุหยาตราโยธาทัพมากระทำ สงครามทั้งนี้ เป็นเพื่อกษัตริย์ขัติยราช จะเอาเกียรติยศแผ่ไปทั่ว ขอบขันธเสมาอาณาจักร ให้กว้างขวางในทิศทั้งปวง เจ้า อย่าโทมนัสน้อยพระทัยเลย จะเชิญขึ้นไปอยู่ยังกรุงหงสาวดีด้วยกันแล้วพระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสสั่งแก่พระมหาธรรมราชา ให้นำสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าไปบำรุบำรุงไว้ แล้วก็ให้พระมหาอุปราชา เข้าไปในเมือง เก็บเอาครอบครัวอพยพชาวเมืองศรีอยุธยาทั้งปวง แล้วให้เอารูปภาพทั้งปวงจะส่งขึ้นไปเมืองหงสาวดีให้สิ้น แล้วพระ เจ้าหงสาวดีจึงตรัสแก่พระมหินทราธิราชเจ้า ว่าให้จัดแจ้งพระสนม

๑๐๗ ราชบริวาร และเครื่องราชบริโภคทั้งปวงออกมา จะได้คืนให้ไป ด้วยกัน แล้วมีพระราชบัญชาตรัสแก่พระมหาธรรมราชา ให้ จัดแจงเครื่องราชปิลันธนาสุวรรณภาชนสำหรับขัตติยาธิบดี และพระสนมราชบริวาร ส่งให้พระมหินทราธิราชด้วยเถิด สมเด็จ พระมหาธรรมราชาก็จัดแจงตามรับสั่งทุกประการ แล้วพระเจ้า หงสาวดีก็อัญเชิญสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เสด็จขึ้นเสวยสมบัติกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา และพระเจ้าหงสาวดีให้พระยานคร ศรีธรรมราช พระศรีอัครราช ขุนเกษตราธิบดี ขุนรักษ์มนเทียร หมื่นนรินทรเสนี และขุนหมื่นทั้งปวง ๑๐๐ คน กับไพร่ชายหญิงอพยพ ๑๐๐๐๐ หนึ่ง ให้อยู่สำหรับกรุงพระนครศรีอยุธยา (๑๗) รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครั้นศักราช ๙๓๑ ปีมะโรงอัฐศก (พ.ศ. ๒๐๙๙ ) วันศุกรเดือนอ้ายขึ้น ๖ ค่ำ (๑) พระเจ้าหงสาวดีให้แต่งการพระราชพิธีราชา ภิเษกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ผ่านพิภพในกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา ให้พระนามสมเด็จพระเจ้าสรรเพชญวงศ์กรุสุริโคดม บรมมหาธรรมราชาธิราชราเมศ ปริเวทธรรมิกราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรเทพ สมมติราชบรมบพิตรพระพุทธเจ้า กรุงพระมหานครศรีอยุธยา มหา (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๘๓๑ มะเส็งศก เถิงวันศุกร เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ


๑๐๘ ดิลกรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชสถาน แล้วพระเจ้าหงสาวดีคิดให้พระสุทรสงครามอันส่งไปหงสาวดีเมื่อขณะศึกคราวครั้งนั้น อยู่เป็นพฤฒามาตย์สำหรับพระองค์ และให้เมืองนครพร้อมกับพลทหาร ๓๐๐๐ ให้อยู่ระวังพระนคร เมื่อครั้งได้พระนครเสวยราชสมบัตินั้นพระชันษาได้ ๕๔ พระวรษา ครั้นราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาเสร็จบริบูรณ์แล้ว สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีเสด็จเลิกพยุหบาตบาตราโยธาทัพกลับไปทางเมืองกำแพงเพ็ชร สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าก็โดยเสด็จครั้นถึงแดนแครง สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าทรงพระประชวร หนัก ลักไวทมูเอาพระอาการมาทูลสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ๆ จึงพระราชทานแพทย์ไปรักษา แล้วตรัสคาดโทษแพทยาว่า ถ้าสมเด็จ พระมหินทราธิราชเจ้าสิ้นชีพทิวงคต จะลงโทษถึงสิ้นชีวิต ครั้น รุ่งขึ้นพระเจ้าหงสาวดีเสด็จมาเยือน จึงว่าอุตส่าห์เสวยยาและพระอาหาร อย่าท้อแท้พระทัย เราจะได้ไปด้วยกัน ครั้นให้พระราชโอวาท ดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับมาพลับพลา และสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี แต่ประทับแรมอยู่ที่นั่น ๑๘ เวน สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าก็สวรรคต สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงพระโกรธ ตรัสสั่งให้ลงพระอาชญาแก่แพทย์พะม่ามอญไทย ๑๑ คนแล้ว พระราชทานเพลิงแล้วทรงพระ กรุณาให้เอาพระอัฐิ กับพระสนมและเครื่องราชบริโภคทั้งปวง ให้ พะม่ามอญลาวคุมลงมาส่งยังพระนครศรีอยุธยา แล้วสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็เสด็จไปเมืองหงสาวดี


๑๐๙ แล้วจึงสมเด็จพระมหาธรรมราชา ก็ให้ปโรหิตและชีพ่อ พราหมณาจารย์มาปรึกษาจัดแจง ตั้งแต่พระราชทานเลี้ยงเสนาอำมาตย์ราชสกุลวงศาท้าวพระยาน้อยใหญ่ ตามตำแหน่งนามาแต่ก่อนนั้นแล้วสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จทรงพระดำริ ตรัสให้เอาพระสุนทร สงครามขึ้นเป็นพระยาธรรมาธิบดี เอาพระยาศรีทันเป็นพระยากระเสบเอาพระยาเพทราชาเป็นอินทราธิบดี เอาพระยาศรีทันเป็นพระยา กระเสบ เอาพระยาเพทราชาเป็นอินทราธิบดี พระนครบาลเอาเป็นพระ ยารองเมือง เอาขุนหลวงพระไกรศรีมาเป็นพระยาเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม เอาพระศรีเสาวราชเป็นพระศรีราชเดโช เอาพระจันทบูร เป็นพระท้ายน้ำ ให้พระศรีอัครราชคงทีเป็นพระคลัง เอาขุนจันทร เป็นพลเทพ แล้วก็ตั้งพระหัวเมืองมนตรีมุขทหารพลเรือนทั้งปวงทุกกระทรวงเสร็จแล้ว จึงให้ตั้งช่องจัดไพร่พลหมู่องครักษ์จักรนารายน์ ชาวด่านชาวเรือ และหมู่ทหารอันกำจัดทั้งปวง ประมูลเข้ามาโดยหมู่โดยกรม แล้วจึงให้จัดไพร่หมู่สิบสองพระกำนันทั้งปวงอันกระจัด พรัดพรายนั้น มาประมูลไว้โดยหมู่โดยกรม รับราชการกรุงพระนครแล้วตั้งท้าวพระยาสามนตราช และพระหัวเมืองทั้งปวงให้ออกไป ครองอาณาประชาราษฎร ในหัวเมืองใหญ่น้อยและเมืองเอกทั้งปวงสำหรับขันธเสมากรุงพระมหานครศรีอยุธยา ตามประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนมา ศักราช ๙๑๙ ปีมะเส็งนพศก ( พ.ศ.๒๑๐๐ )เดือนยี่( ๑ ) พระยาละแวกยกช้างม้าริ้พลมาโดยทางนครนายก และไพล่พลพระยาละแวก ( ๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๓๒ มะเมียศก ๑๑๐ มาครั้งนั้นประมาณ ๓๐๐๐ จึงกรมการเมืองนครนายกส่งข่าวมาถวายมุขมนตรีจึงเอาหนังสือขึ้นบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๆ ทราบข้อราชการแล้ว จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ตรัสสั่งให้ท้าวพระยาพระหัวเมืองมุขมนตรีทั้งหลายปรึกษาว่า พระยาละแวกยกช้างม้าริ้พลมาดังนี้ ท้าวพระยาทั้งหลายจะคิดประการใด จึงพระยาเพทราชาผู้เป็นพระยา นครบาล ก็ทูลพระกรุณาว่า กรุงพระมหานครไซ้พึ่งเป็นขึ้น รี้พล บอบช้ำเบาบางยังไป่มิได้สมบูรณ์ และพลทหารซึ่งจะขึ้นประจำหน้าที่รอบพระนครนั้น เห็นมิครบหน้าที่ อนึ่งปืนใหญ่น้อยสำหรับพระนครนั้นพระเจ้าหงสาวดีก็ให้เอาไปเป็นอันมาก แล้วปืนซึ่งตั้งซ่องป้อมนั้น เป็นอันน้อย อนึ่งทั้งดินประสิวก็น้อย มิได้ประมูลไว้สำหรับที่จะ กันพระนคร และซึ่งจะตั้งอยู่รบป้องกันพระนครครั้งนี้ เห็นพ้นกำลัง ขอเชิญเสด็จขึ้นไปยังเมืองพิษณุโลกให้พ้นสัตรูก่อน และท้าวพระยา มุขมนตรีหัวเมืองทั้งหลาย ก็ลงเป็นคำเดียวกันด้วยพระยาเพทราชา สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ตรัสบัญชาตามท้าวพระยาทั้งหลาย จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแกขุนเทพอรชุน ให้แต่เรือพระที่นั่งและเรือประเทียบทั้งปวงให้สรรพ ในขณะนั้น พระเพ็ชรรัตนณเพ็ชรบุรีมีคดี ทรงพระกรุณาเอาออกจากราชการ พระเพ็ชรรัตนก็คิดเป็นขบถ และซ่องสุมคนชาวนอกทั้งปวงได้มากแล้ว คิดจะปล้นทัพหลวงเมื่อเสด็จ ขึ้นไปนั้น จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสถามขุนเทพอรชุนยังคิดเห็นประการใด จึงขุนเทพอรชุนทูลพระกรุณาว่า พระเจ้าละแวกยก มาครานี้มิได้เป็นศึกใหญ่ และขอทรงพระกรุณาเสด็จอยู่ และรบพุ่ง

๑๑๑ ป้องกันพระนครให้รู้จักกำลังข้าศึกก่อน ครั้นจะด่วนละพระนครเสียไซ้เกลือกพระเจ้าหงสาวดีจะตรัสติเตียนได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสเห็นชอบด้วยซึ่งขุนเทพอรชุนทูลพระกรุณานั้น ก็มีพระราชโองการ ตรัสสั่งขุนเทพอรชุน ให้เตรียมเรือพระที่นั่ง และตรวจจัดพลสำหรับ เรือพระที่นั่งนั้นให้สรรพ ฝ่ายพระเจ้าละแวก ยกทัพเข้ามาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยาและตั้งทัพในตำบลบ้านกะทุ่ม ขณะนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสให้เมืองนครพรหม และพลหงสาวดี ๓๐๐๐ อยู่ประจำหน้าที่ใน ข้างหน้า แล้วท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลาย ตรวจจัดพลทหารขึ้นประจำหน้าที่กำแพงและรายกันอยู่รอบพระนคร พระเจ้าละแวกก็ยกพลเข้ามา พระเจ้าละแวกมายืนช้างในสามพิหาร และพลข้าศึกรายกัน มาถึงวัดโรงฆ้อง เถิงวัดกุฎีทอง แล้วเอาช้างมายืนในวัดหน้าพระเมรุราชิการามประมาณ ๓๐ ช้าง พลประมาณ ๕๐๐๐ พระเจ้าละแวกให้พลทหารลงเอาเรือประมาร ๕ ลำข้ามเข้ามาปล้นในมุมเจ้าสนุก สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เสด็จไปยืนพระราชยาน และให้พลทหารขึ้นรบพุ่งข้าศึกก็แพ้ออกไป จึงตรัสให้ยิงปืนจ่ารงเอาช้างข้าสึกซึ่งยืนอยู่ใน สามพิหารนั้น ต้องพระจัมปาธิราชขี่ช้างมาเป็นกองหน้าพระเจ้าละแวกและพระจัมปาธิราชก็ตายกับคอช้าง พระเจ้าละแวกก็ยกพลกลับคืน ไปยังทัพบ้านกะทุ่ม ยกเข้ามาปล้น ดังนั้นถึง ๓ วันก็มิได้ และพระเจ้าละแวกก็ยกทัพคืนไป กวาดเอาคนในบ้านนาและนครนายกไปยัง เมืองละแวกเป็นอันมาก ในขณะนั้น พระเจ้าละแวกแต่งพลมาลาด

๑๑๒ ตระเวนทั้งทางบกและทางเรือเป็นหลายครั้ง และเสียชาวจันทบูร ชาวระยอง ชาวฉะเชิงเทรา ชาวนาเริ่งไปแก่ข้าศึกละแวกเป็นอันมาก ศักราช ๙๒๐ ปีมะเมียสัมฤทธิศก (๑) ( พ.ศ. ๒๑๐๑ ) สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงจัดแจงแต่งให้สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตร (๒) อันเป็นสมเด็จพระโอรสาธิราช ขึ้นไปเสวยราชสมบัติ ณเมืองพระพิษณุโลกมหานคร ขณะนั้นพระชนม์ได้ ๑๖ วษา ลุศักราช ๙๒๖ - ๙๓๗ ปีชวด ฉอศก (พ.ศ.๒๑๐๗) ณวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำนั้น พระเจ้าหงสาวดียกรี้พลไปเมืองล้านช้าง ให้มาอัญเชิญสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเสด็จไปด้วย แต่สมเด็จเอกาทศรฐ อันเป็นตรุณราชบุตร พระราช บิดาตรัสให้อยู่รักษาพระนคร ฝ่ายสมเด็จพระราชบิดากับพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ยกช้างม้ารี้พลไปถึงตำบลหนองบัวในจังหวัดเมืองล้านช้างขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงพระประชวรทรพิษ (๓) พระเจ้าหงสาวดีตรัสให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับพระนเรศวรเสด็จกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา ครั้งนั้นพระเจ้าล้านช้างป้องกันรักษาเมือง เป็นสามารถ ทัพหงสาจะหักเอาพระนครมิได้ พอจวนเทศกาลวสันตฤดูก็ยกทัพกลับไป

( ๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๓๓ มะแมศก ( ๒ ) ..ว่า สมเด็จพระนารายน์บพิตรเป็นเจ้า ( ๓ ) ... ว่า ศักราช ๙๓๖ จอศก ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงพระประชวรทรพิษ

๑๑๓ ศักราช ๙๒๗ ปีฉลู สัปตศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๐๘ ) วันศุกรเดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ พระเจ้าละแวกยกกองทัพเรือเข้ามาอีก ใกล้ถึงปากน้ำพระประแดงเจ้าเมืองธนบุรีและกรมการทั้งหลายรู้ข่าวว่าพระเจ้าละแวกยกมา ก็ส่งข่าวขึ้นมาให้กราบทูลถวาย ส่วนเรืออันมาเป็นทัพหน้า พระเจ้าละแวก ก็ไล่ตามเรือซึ่งตระเวนชเลนั้นติดเข้ามาเมืองธนบุรี และกรมการทั้งหลายมิทันแต่งการที่จะรบพุ่งป้องกันเมือง ต่างคนก็ ต่างเอาครัวหนี พระเจ้าละแวกก็ยกเข้ามาในปากน้ำพระประแดง ก็ลาดจับชาวเมืองธนบุรี ชาวเมืองนนทบุรี ไปเป็นชะเลย จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสให้เอาเมืองยโสธรราชธานีเป็นนายกองและขุนหมื่นทั้งหลาย กับพลทหาร ๒๐๐๐ และเครื่องสาตราวุธบรรจุเรือไล่ ๔๐ ลำ และให้ยกลงไปต้านข้าศึกละแวก ครั้นเมืองยโสธรราชธานียกทัพเรือลงไปถึงเมืองนนทบุรี ก็พบข้าศึก ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ ข้าหลวงก็แพ้แก่ข้าศึกละแวก และเสียหมื่นราชามาตย์ ข้าศึกจับได้เป็น เอาไปถวายพระเจ้าละแวก เมืองยโสธรราชธานีและข้าหลวงทั้งปวง ก็พ่ายขึ้นมายังพระนคร พระเจ้าละแวกก็ให้จับเอา คนทั่วจังหวัดเมืองธนบุรีได้มากแล้ว ก็ยกทัพขึ้นมายังพระนคร ตั้ง ทัพในขนอนบางตะนาว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็ตรัสให้ท้ายพระยาทั้งหลาย ตรวจจัดพลทหารขึ้นประจำหน้าที่กำแพงพระนคร แล้วแต่งการที่จะรบพุ่งพระนคร พระเจ้าละแวกก็ยกทัพเรือเข้ามาแฝงอยู่ข้าง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๓๗ กรุศก ๑๕ ๑๑๔ วัดพระพะแนงเชิง ให้เรืออันเป็นทัพหน้าประมาณ ๓๐ ลำ พายเข้ามาจะเข้าปล้นในตำบลนายก่าย ขณะนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จอยู่ในหอราชคฤห์ตรงเกาะแก้วนั้น และท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายชุมกันในที่นั้น ครั้นเรือข้าศึกเกือบเข้ามา จึงวางปืนใหญ่ ณป้อมนายก่าย ต้องพลข้าศึกตายมากนัก แล้วก็ตรัสให้พลทหารเอาเรือออกไปยั่ว และข้าศึกปวงก็พ่ายลงไป พระเจ้าละแวกเห็นจะปล้นพระนครมิได้ ก็เลิกทัพคืนลงไปตั้งอยู่ณปากน้ำพระประแดง แล้วก็ แต่งให้ขึ้นไปลาดตระเวนจับคนถึงสุพรรณบุรี นครชัยศรี สาครบุรี ราช บุรี ไดุ้นหมื่นกรมการและไพร่ชายหญิงอพยพเอาลงเรือล่องไปเป็น อันมากแล้วพระเจ้าละแวกให้เอารูปเทพารักษ์ทองสัมฤทธิทั้งสององค์ชื่อพระยาแสนตาและบาทสังขกร อันมีมเหศักขภาพ ซึ่งอยู่ณเมือง พระประแดง อันขุดได้แต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีนั้นไปด้วย พระเจ้าละแวกก็เลิกทัพกลับไปเถิงเมืองละแวก ศักราช ๙๒๘ ปีขาลอัฐศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๐๙ ) พระเจ้าละแวกแต่งกองทัพเรือ ใช้ให้พระยบาอุเทศราชและพระยาจีนจันตุยกทัพเรือมาอีก พลประมาณ ๓๐๐๐๐ ยกเข้าตีเอาเมืองเพ็ชรบุรี พระศรีสุรินทรฦาไชย เมืองเพ็ชรบุรีกับกรมการทั้งหลาย แต่งการรบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ และข้าศึกยกเข้าปล้นเมืองเถิง ๓ วัน รี้พลข้าศึกก็ตายมากจะปล้นเอาเมืองมิได้ พระยาจีนจันตุให้ทานบลแก่พระเจ้าละแวกว่า จะ

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๐ ขาลศก

๑๑๕ เอาเมืองให้จงได้ ถ้ามิได้ให้ลงโทษเถิงสิ้นชีวิต มิได้เมืองเพ็ชรบุรี พระยาจีนจันตุกลัวว่าพระเจ้าละแวกจะลงโทษ พระยาจีนจันตุก็พาเอาครัวอพยพทั้งปวงหนีเข้ามายังพระมหานครศรีอยุธยา สมเด็จพระ พุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาแก่พระยาจีนจันตุ ตรัสให้พระราชทานเป็นอันมาก ครั้นอยู่มาพระยาจีนจันตุมิได้สวามิภักดิ ซึ่งพระกรุณาตรัสเลี้ยงดูนั้น พระยาจีนจันตุก็ลอบตบแต่งสำเภาที่จะหนีจาก พระนคร ครั้นถึงวันอาทิตย์ เดือนยี่ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศกเพลาค่ำประมาณ ๒ นาฬิกา พระยาจีนจันตุพาเอาครัวส่งลงสำเภาหนีล่องลงไป ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเสด็จลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก เสด็จอยู่ในวังใหม่ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยก ทัพเรือตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น แล้วตรัสให้ เรือประตูกัน และเรือท้าวพระยาทั้งหลายเข้าล้อมสำเภาพระยาจีนจันตุและได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ พระยาจีนจันตุเอาสำเภาเข้าสกระหนาบกัน และแต่งไล่สำเภาในจังหวัดในนั้น สมเด็จพระนเศวรบรมบพิตรเป็น เจ้า ตรัสให้เอาเรือประตูเรือกันเข้าจดค่ายสำเภาพระยาจีนจันตุ จะให้พลทหารป่ายปีนสำเภาขึ้นไป แล้วเอาเรือพระที่นั่งเข้าไปให้ชิดสำเภาแล้วทรงปืนนกสับยิงถูกจีนผู้ใหญ่ตาย ๓ คน พระยาจีนจันตุก็ยิง ปืนนกสับมาต้องรางปืนต้นอันทรงนั้นแตก และพระยาจีนจันตุรบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ พลทหารข้าหลวงจะป่ายปีนขึ้นสำเภามิได้ พระยาจีนจันตุให้เร่งดล้สำเภาหนีลงไป จึงสมเด็จพระนเรศวรบรมราชา ธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็เสด็จตามรบพุ่งลงไปถึงบางกอก พระยาจีนจันตุ

๑๑๖ ก็ให้เร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำตกเถิงกลางทะเล จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เสด็จหนุนทัพสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชพิตร เป็นเจ้าลงไป แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จขึ้นมายังพระนคร ศักราช ๙๒๙ ปีเถาะนพศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๑๐ ) สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีทรงพระประชวร เถิงณวันเสาร์เดือนยี่ขึ้น ๙ ค่ำ เสด็จสวรรคตพระชนม์ได้ ๖๕ พระวษา แต่อยู่ในราชสมบัติ ๓๕ พระวษา มังเอิงราชบุตร ผู้เป็นพระมหาอุปราชได้ผ่านสมบัติในกรุงหงสาวดี ตั้งให้ มังสามเกลียดราชบุตรเป็นพระมหาอุปราชา และเมื่อพระเจ้าหงสาวดีขึ้นผ่านพิภพสมบัติใหม่ บ้านเมืองยังมิปกติ ฝ่ายเมืองรุม เมืองคัง ก็ยังขัดแข็งเมืองอยู่นั้น จึงแจ้งข่าวลงมาถึงพระนเรศวรเป็นเจ้า ๆ ก็เสด็จลงมาณกรุงฯ กราบทูลสมเด็จพระบรมราชบิดา ตามคดีข้อความซึ่งแจ้งมานั้นทุกประการ แล้วจะขอถวายบังคมลาขึ้นไปช่วยการสงครามเมืองหงสาวดี จะได้ฟังซึ่งกิจการในเมืองหงสาวดีด้วย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสบัญชาตาม จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ถวายบังคมลากลับคืนมายังเมืองพิษณุโลก แล้วให้ตรวจเตรียม รี้พลโยธาช้างม้า โดยกระบวนพยุหยาตรทัพ พลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐๐๐๐ ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๑๕๐๐ ครั้นได้ศุภฤกษ์ก็เสด็จ ทรงช้างพระที่นั่ง ยกทัพหลวงขึ้นไปเถิงตำบลพระตำหนักไม้ไผ่ ไกล

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก

๑๑๗ เมืองหงสาวดี ๓ เวน ก็พักพลอยู่ที่นั่น จึงบอกหนังสือเข้าไป พระ เจ้าหงสาวดีแจ้งก็ดีพระทัย จึงให้แต่งสะเบียงอาหารและเครื่องเสวย ลงมาถวาย แล้วก็นำเสด็จขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าหงสาวดีๆ จึงตรัสว่า ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ยกรี้พลขึ้นมาเถิงเราครั้งนี้ เราก็มีความยินดี หาที่สุดมิได้ ด้วยเมืองหงสาวดีครั้งนี้ ฝ่ายหัวเมืองทั้งปวงเห็นพระราชบิดาหาบุญไม่แล้ว ก็ไม่เป็นปกติเหมือนแต่ก่อน เราจึงแต่งกองทัพ จะให้พระมหาอุปราชากับพระสังขทัตและพระเจ้าเชียงใหม่ ยกไป ตีเอาเมืองรุม เมืองคัง และเมืองล้านช้างให้จงได้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงฟังทุกประการ แล้วก็กราบทูลเจ้าหงสาวดีว่า ข้า พระองค์แจ้งข่าวลงไปเถิงจึงยกขึ้นมาช่วยการพระราชสงคราม พระ เจ้าหงสาวดีก็ตรัสให้สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า กับพระมหาอุปราชาพระเจ้าเชียงใหม่ พระสังขทัต ยกไปตีเมืองรุม เมืองคัง เมือง ล้านช้างให้จงได้ ทั้งสี่พระองค์ก็ถวายบังคมลายกทัพไปเถิงเมืองรุมเมืองคัง แล้วให้ตั้งค่ายปลูกราชสัณฐาคารไว้ท่ามกลางเสร็จ ปรึกษาราชการ พร้อมกัน ทั้งสี่พระองค์นั้นไพร่พลมากนัก จะสับสนที่คนปนกัน วุ่นวายนัก จึงสมเด็จพระนเศวรบรมราชาธิราช เสด็จไปเถิงเมืองล้ายช้างแล้วเสด็จไปเถิงอัตปือแดนเมืองจาม ไว้แต่พระมหาอุปราชา พระเจ้าเชียงใหม่กับพระสังขทัต ให้ตีเอาเมืองรุมเมืองคังนั้น ครั้นปรึกษา พร้อมกันแล้ว พระมหาอุปราชาจึงยกขึ้นไปรบก่อน

๑๑๘ วันจันทร์เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เพลา ๔ ทุ่มเดือนตก ฝ่ายข้าศึกก็คัดก้อนศิลาลงมา ทับรี้พลตาย เป็นอันมาก ขึ้นมิได้ เพลาจวนรุ่ง กู้ถอยลงมาค่าย ครั้นวันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ ทัพพระสังขทัต ยกขึ้นไปรบพุ่งกัน ข้าศึกก็คัดก้อนศิลาลงมาทับรี้พลตายเป็นอันมาก จะขึ้นหักเอาพระนครมิได้ก็ถอยลงมาค่าย ครั้นณวันพุธเดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำเพลา ๑๐ ทุ่ม พระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นตีจะหักเอาเมืองมิได้ ก็ถอยกลับคืนมา พอสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จ ยกทัพกลับมาแต่เมืองล้านช้าง เมืองอัตปือแดนเมืองจาม เถิง วันพฤหัสบดีเดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ เสด็จตั้งทัพหลวงแทบภูเขานั้น ตรัสให้เอาพลปืนนกสับรายขึ้นทั้ง ๒ ข้าง ยิงข้าศึกอันกลิ้งศิลาลงมานั้น ต้องปืนนกสับล้มตายเป็นอันมาก จะกลิ้งศิลาลงมาอีกมิได้ จึงให้พลทหารปีนขึ้นไปรบพุ่งฆ่าฟันล้มตายเป็นอันมาก จับได้ตัว เจ้าเมืองรุมเมืองคังแล้ว สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตร เป็นเจ้ากับพระมหาอุปราชา พระสังขทัต พระเจ้าเชียงใหม่ ก็คุม เอาตัวเอาเมืองรุมเมืองคังเลิกทัพกลับเถิงเมืองหงสาวดี แล้วพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็พาเอาเจ้าเมืองรุมเมืองคัง คนโทษ ขึ้นกราบบังคมทูลถวายพระเจ้าหงสาวดี แจ้งข้อราชการสงครามที่ซึ่งได้ชัยชำนะมานั้นทุกประการ แล้วสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีก็มีน้ำพระทัยยินดี ตรัสชมฝีมือและความคิดสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า แล้วพระราชทานพานทององค์หนึ่งใส่ภูษาหนัก ๕ ชั่ง จำหลัก เป็นรูปเทวดา พระมหาอุปราชาก็น้อยพระทัยแก่พระนเรศวรนั้นนักแล้ว

๑๑๙ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็ทูลลาพระเจ้าหงสาดี ๆ ก้ตรัสให้มังทู มังอนันต์ มังอสาระจะอุกาง สมิง พัตเบิต ลงไปอยู่หัวเมืองรายทาง ให้จ่ายสะเบียงเลี้ยงไพร่พลไปกว่าจะถึงแดนพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า เสด็จ ยกพยุหยาตราไปถึงพระพนมตรัดให้ปิดทองพระมหาธาตุนั้นแล้ว ก็ถวายพระภูษาเป็นฉัตรธงบูชาพระมหาธาตุ แล้งจึงยกทัพหลวงคืนมา ยังเมืองพระพิษณุโลก ถึงแล้วเสด็จเปลื้องเครื่องทรงออกบูชาถวาย พระชินราชเจ้า พระชินศรีเจ้า ให้กระทำการสรัพสมโภชมีการมหรสพ ๓ วัน แล้วเสด็จนำเอาทหารมาเฝ้าสมเด็จพระราชบิดาณกรุงเทพ มหานคร จึงเอาคดีซึ่งให้ยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดี ได้รบพุ่ง มีชัยชำนะแก่ข้าศึกนั้น กราบทูลให้ทราบ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระทัยยินดีนัก ให้แต่งการสมโชสมเด็จพระอัครโอรสาธิราชเจ้า ๗ วัน แล้วก็พระราชทานปูนบำเหน็จแก่ทแกล้วทหารทั้งปวงโดย สมควร ครั้นเสร็จการสมโภชแล้ว สมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้า ก็กราบถวายบังคมลากลับคืนไปสถิตณเมืองพระพิษณุโลก ลุศักราช ๙๓๒ ปีมะเมียโทศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๑๓ ) สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสให้เหลือกกำแพงรอบพระนครลงไปตั้งเถิงริมแม่น้ำแล้ว ให้ตบแต่งป้อมหัวรบชายเขื่อนรอบพระนครแล้ว ให้ขุดคูในด้านขื่อพระนครเบื้องบุรพทิศนั้น ให้กว้างกว่าคูเก่า แล้ว ให้ตบแต่งการที่จะป้องกันราชศัตรูนั้นเป็นมั่นคง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๒ มะโรงศก ๑๒๐ ลุสักราช ๙๓๓ ปีมะแมตรีศก (๑) ขณะนั้นเกิดกบฎญาณพิเชียรเป็นจลาจลในจังหวัดแขวงหลวง และญาณพิเชียรนั้น เรียนคิดโกหกกระทำการเป็นวิปริตแก่ชาวชนบทประเทศนั้น และซ่องสุมเอาพวก เป็นอันพวกกบฎได้มาก ญาณพิเชียรก็ซ่องสุมคนในตำบลบ้าน ยี่ล้น จึงขุนมงคลแขวง ส่งข่าวกบฎนั้นเข้ามาถวาย จึงสมเด็จ บรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ก็มีพระราชโองการตรัสใช้เจ้าพระยา จักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก ให้ยกพลทหารออกไปเอาพวกกบฎ ญาณพิเชียร จึงเจ้าพระยาจักรีและขุนหมื่นทั้งหลาย ยกออกไป ตั้งทัพในตำบลบ้านมหาดไทยนั้น กบฎญาณพิเชียรก็ยกพลพวก ทั้งปวงมารบเจ้าพระยาจักรี ส่วนชาวมหาดไทยอันยืนหน้าช้างเจ้าพระยาจักรีนั้น ยอมเป็นพวกกบฎญาณพิเชียร ครั้นได้รับพุ่งกัน พันชัยธุชก็ปีนท้ายช้างขึ้นฟันเจ้าพระยาจักรีตายกับคอช้าง ไพร่พล ทั้งปวงอันไปด้วยเจ้าพระยาจักรีนั้นก็แตกฉาน เสียขุนหมื่นตายใน ที่รบนั้นเป็นหลายคน ครั้นเสียเจ้าพระยาจักรีแล้ว ชาวชนบท ก็เข้าเป็นพวกกบฎญาณพิเชียรมากนัก แต่ชายสกรรจ์เป็นคนเครื่องประมาณ ๓๐๐๐ กบฎญาณพิเชียรตั้งพันชัยธุชเป็นพระยาจักรี ตั้งหมื่นศรียี่ล้นชื่อพระยาเมือง กบฎญาณพิเชียรก็ยกไปเมืองลพบุรี คิดจะเอาเมืองลพบุรีจงได้ แล้วเข้าตั้งอยู่ในเมืองลพบุรีนั้น ในขณะนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสให้พระยาศรีราชเดโชออกไปอยู่ซ่อมกำแพง เมืองลพบุรี ครั้นพระยาศรีเดโชรู้ว่ากบฎญาณพิเชียรยกไปเมือง

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก ๑๒๑ ลพบุรี พระยาศรีราชเดโชตบแต่งการรบพุ่งป้องกัน จึงกบฎญาณพิเชียรก็ยกไปเถิงเมืองลพบุรี ขี่ช้างเข้าไปยืนในหัวตรี แล้วให้ พวกพลกบฎเข้าไปปล้นในที่นั้น จึงพระยาศรีราชเดโชก็มายืนช้างให้ รบพุ่งกันจึงชาวเทศชื่ออมวดีแฝงต้นโพธิ์ยิงปืนนกสับเอาตัวกบฎ ต้องญาณพิเชียรฟุบลงตายในทัพนั้น กบฎทั้งปวงแตกฉานออกไป และ ต่างคนต่างหนีกระจัดพรัดพรายทุกตำบล พระยาศรีราชเดโชก็เอา อมวดีซึ่งยิงกบฎญาณพิเชียรตายนั้นเข้ามาถวาย จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสให้พระราชทานแก่อมวดีนั้นมากนัก แล้วตรัสให้ข้าหลวงออกไปจับพวกกบฎทั้งปวงนั้นได้มาก บรรดาจะลงพระราชอาชญาไซ้ เหตุด้วยพระองค์ทรงทศพิธราชธรรม ก็ มิได้ลงพระราชอาชญา และให้แต่สักหมายหมู่เข้าประสมหมู่ โดยโทษนั้น และเมื่อปีมะเส็งนพศก (๑) เถิงเดือน ๓ พระเจ้าละแวกยกพลมาโดยเรือประมาณ ๗ หมื่น มาเอาเมืองเพ็ชรบุรี ในขณะนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสให้เมืองยโสธรราชธานี เมืองเทพราชธานีออก ไปรักษาเมืองเพ็ชรบุรี จึงพระศรีสุรินทรฦาชัย เจ้าเมืองเพ็ชรบุรีและเมืองยโสธรราชธานี และเมืองเทพราชธานี ก็ช่วยกันตบแต่งการที่จะรบพุ่งป้องกันเมืองนคร พระเจ้าละแวกยกกองทัพมาเถิง พระเจ้าละแวกให้พลขึ้นล้อมเมืองเพ็ชรบุรีอยู่ ๓ วัน พระเจ้าละแวกให้ยก เข้าปล้นเมืองเพ็ชรบุรี และให้พลทหารเอาบันไดพาดปีนกำแพงเมือง (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๓ มะเส็งศก ๑๖ ๑๒๒ และชาวเมืองเพ็ชรบุรีรบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ และข้าศึกชาวละแวกต้องสาตราวุธเป็นสามารถนัก และจะปีนปล้นมิได้ก็พ่ายออกไป แต่พระเจ้าละแวกยกเข้าปล้นดังนั้นถึง ๓ ครั้ง จะปล้นเอาเมืองเพ็ชรบุรีมิได้ แต่พระเจ้าละแวกก็คิดว่าจะปล้นแต่ครั้งหนึ่ง ถ้ามิได้ไซ้จะเลิก ทัพคืนไป ขณะนั้นเจ้าเมืองเพ็ชรบุรี และเมืองยโสธรราชธานี เมืองเทพราชธานี มิสมัคร์สมานด้วยกัน และต่างคนต่างบังคับบัญชาและ อยู่ป้องกันแต่หน้าที่เองซึ่งได้เป็นพนักงานรักษานั้น มิได้มาพร้อมมูล คิดอ่านด้วยกัน ซึ่งจะคิดอ่านแต่งการป้องกันข้าศึก ครั้นเถิงแรม ๘ ค่ำพระเจ้าละแวกก็ยกเข้าปล้นซึ่งคลองกระแชงและประตูบางจานข้าศึกตามตลอดเข้าเผาหอรบทะลายลง และปีนกำแพงเข้าได้ในที่นั้น ก็เสียเมืองเพ็ชรบุรีแก่พระละแวก แล้ว เจ้าเมืองเพ็ชรบุรี เมืองยโสธรราชธานี เมืองเทพราชธานี ตายในที่ นั้น พระเจ้าละแวก ให้จับเอาชาวเมืองเพ็ชรบุรีทั้งปวงไปเป็นชะเลยแล้วพระเจ้าละแวกก็เลิกทัพคืนไปเมือง ลุศักราช ๙๓๔ ปีวอกจัตวาศก (พ.ศ. ๒๑๑๕ ) เดือน ๑๑ สมเด็จพระนเศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ลงมาแต่เมืองพระพิษณุโลก เสด็จอยู่ในวังใหม่ ในขณะนั้น (๑) พระเจ้าละแวกแต่งทัพพระทัศราชา พระสุรินทราชา ให้ยกช้างม้า และพลประมาณ ๕๐๐๐ มาลาดตระเวนในด้านตะวันออก

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่าศักราช ๙๔๔ มะเมียศก ๑๒๓ สมเด็จพระนเศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้าตรัสว่าข่าวว่าศึกมาลาดตระเวนนั้น ก็ทรงเร่งม้าเร็วและพลทหารล้อมวัง ๓๐๐๐ เสด็จออกไป ตรัสให้เมืองชัยบุรีและขุนหมื่นชาวม้า พลทหาร ๕๐๐ ไปเป็นทัพหน้า และให้เร่งออกไปควบด้วยทัพเมืองศรีถมอรัตน์ ให้ป้องกัน ครัวอพยพอยู่ในด่าน จึงเมืองชัยบุรี และเมืองศรีถมรัตน์เอาพลเข้า ซุ่มอยู่ ๒ ข้างทางที่ข้าศึกจะมานั้น พลหัวหน้าศึกยกมาประมาณ ๑๐๐๐ เถิงที่เมืองชัยบุรีและเมืองศรีถมอรัตน์ซุ่มอยู่นั้น ครั้น ข้าศึกเกือบเข้ามา เมืองชัยบุรี เมืองศรีถมอรัตน์ ก็ยกพลออก ต่อข้าศึกๆ ก็แตกฉานซ่านเซ็นหนีไป จึงเมืองชัยบุรี เมืองศรีถมอ รัตน์ ตามตีข้าศึกไปจนเถิงทัพใหญ่ และไล่ฟันแทงข้าศึกตายมาก พระทศราชา พระสุรินทราชา ก็เลิกทัพหนีคืนไปเมืองละแวก สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า เสด็จเถิงเมืองชัยบาดาล ก็ตรัสรู้ว่า ข้าศึกพ่ายแพ้ไปแล้ว ก็เสด็จเลกทัพกลับคืนมายังพระนครศรีอยุธยา ลุศักราช ๙๓๕ ปีระกาเบญจศก เดือน ๕ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี ก็มีได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ทรงพระดำริว่า พระนเรศวรประกอบ ไปด้วยปัญญาหลักแหลมลึกซึ้ง ทั้งการสงครามก็องอาจกล้าหาญ นานไปเห็นจะเป็นเส้นศัตรูต่อเมืองหงสาวดีเป็นมั่นคง จำจะคิดแต่งอุบายให้ไปเอาตัวพระนเรศวรขึ้นมา จะกระทำพระนเรศวรเสียให้จงได้สำเร็จแล้วเมืองหงสาวดีจะกว้าง เผื่อขอบขันธเสมาออกไป อนึ่งทั้ง พระเจ้าอาผู้เป็นเจ้าอังวะก็คิดแข็งเมืองอังวะด้วยเล่า พระเจ้าหงสาวดี

๑๒๔ ปรึกษาว่า จะให้ยกกองทัพลงมาเทครอบครัวอพยพหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ไปไว้เป็นกำลังในเมืองหงสาวดี การศึกพระนเรศวรจะได้ถอยกำลังลง ครั้นดำริแล้วจึงตรัสให้นันทสูกับราชสงคราม ถือพล ๑๐๐๐๐ ไปตั้งยุ้งฉางอยู่เมืองกำแพงเพ็ชร นันทสูกับราชสงคราม ก็ยกไปตั้งอยู่กระทำการณเมืองกำแพงเพ็ชรตามรับสั่ง และซึ่งพระ เจ้าหงสาวดี ก็ยกช้างม้ารี้พลเสด็จไปเมืองอังวะ ไว้พระมหาอุปราชาและอภัยคามณีรัตนณเมืองหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีเป็นอุบายทั้งนี้ ก็เพราะมหาอุปราชากราบทูลยุยงกระทำร้ายแก่พระนเรศวรเป็นเจ้า จึงพระมหาอุปราชาให้มีศุภอักษร บอกมาเถิงพระนเรศวรว่า บัดนี้ กรุงรัตนบุรีรมย์อังวะเป็นกบฎแข็งเมืองต่อพระเจ้าหงสาวดี ให้เชิญ พระนเรศวรยกรี้พลมาช่วยการสงคามติดกรุงรัตนบุรีอังวะ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า แจ้งดังนั้นสำคัญว่าจริง ก็เสด็จไปทูลลาพระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตาม สมเด็จ พระนเรศวรเป็นเจ้า ก็กราบถวายบังคมลาขึ้นมายังเมืองพระพิษณุโลกจึงกำหนดให้ตรวจเตรียมพลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐๐๐๐ ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๑๕๐๐ ไว้พร้อม ครั้นศักราช ๙๓๖ ปีจอฉอศก (๑) วันอาทิตย์เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำเพลา ๑๑ ทุ่ม ๙ บาท ประกอบด้วยเพ็ชรฤกษ์ เสด็จทรงเครื่องพิชัยภูษาแล้วเสร็จ ทรงพระคชาธารพร้อมด้วยพลพยุหแสนยากร ทอดพระเนตรเห็นบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฏิหารย์แต่บุรทิศ ผ่านพระ (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๖ วอกศก

๑๒๕ คชาธารไปโดยประตูชัยแสน ไปเถิงตำบลรัดยมท้ายเมืองกำแพงเพ็ชร ณวันพุธเดือน ๓ แรม ๙ ค่ำเพลาบ่าย ๕ โมง เกิดวาตพายุฝนตก ห่าใหญ่ แผ่นดินไหวเป็นอัศจรรย์ ครั้นรุ่งขึ้นก็ยกทัพหลวงไป เถิงเมืองกำแพงเพ็ชร ตั้งประทับแรมอยู่ตำบลหนองปลิง ๓ เวน แล้วก็ยกทัพหลวงเสด็จไปโดยทางเชียงทอง เสด็จเถิงกุ่มตะเมา นั้น จึงพระยากำแพงเพ็ชรส่งข่าวไปถวายว่าไทยใหญ่เวียงเลือ เสือต้านเกรียกกาย ขุนปลัด มังทราง มังนิว อ้ายหลวงกับนายม้า ทั้งปวง อันอยู่ณเมืองกำแพงเพ็ชรพาครัวอพยพหนี พะม่ามอญ ตามไปทัน ได้รบพุ่งกันที่ตำบลหนองปลิงเป็นสามารถ พะม่ามอญ แตกแก่ไทยใหญ่ ๆ ทั้งปวงยกไปทางเมืองพิษณุโลก สมเด็จ พระนเรศวรเป็นเจ้าทราบดังนั้น ก็ให้ม้าเร็วไปบอกแก่หลวงโกษา และลูกขุนอันอยู่รักษาเมืองพระพิษณุโลก ว่าซึ่งไทยใหญ่หนิ่มานั้นเกลือกจะหนิ่ไปเมืองอื่น ให้แต่งออกอายัดด่านเมืองเพ็ชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาตระการ แสเซา ให้มั่นคงไว้ อย่าให้ไทยใหญ่ออกไป รอดได้ หลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงทราบดังนั้น ก็แต่งออกไป กำชับด่านทางทั้งปวงตามรับสั่ง ฝ่ายไทยใหญ่นั้นก็พาครอบครัวตรงเข้าเมืองพระพิษณุโลก หลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงก็รับพิทักษ์รักษาไว้ ฝ่ายนันทสูกับราชสงคราม มีหนังสือมาให้ส่งไทยใหญ่ หลวงโกษาและลูกขุนผู้รักษาเมืองพระพิษณุโลก ก็มิได้ส่ง


๑๒๖ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า เสด็จยกพยุหแสนยากรไปถึงเมืองแครงณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ขณะนั้นรู้ข่าวไปถึง ซักแซกะยอถาง เจ้าเมืองแครง ให้ปลัดเมืองออกมาทูลว่า ขอเชิญเสด็จพักพลอยู่แต่นอกเมืองแครงก่อน สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ให้พักพลอยู่ใกล้อาตามพระมหาเถรคันฉอง แล้วตรัสให้ข่าวขึ้นไป ถึงพระเจ้าหงสาวดีว่า ยกทัพมาถึงเมืองแครงแล้ว พระเจ้าหงสาวดีทราบดังนั้นแล้วก็มีความยินดี ว่าครั้งนี้เราจะสมคิดแล้ว จึงให้จัดแจงกองทัพ ๑๐๐๐๐ ออกไปซุ่มไว้ ที่ต่อทางสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จะเสด็จขึ้นไปนั้น ไกลเมืองหงสาวดีทางวันหนึ่ง แล้วตรัสให้พระยาเกียรติ พระยาพระรามลงไปรับ ถ้าพระนเรศวรยกล่วงขึ้นมาแล้ว เราจะยกทัพหลวงออกตีหน้า ให้พระยาเกียรติ พระยาพระรามเอา กองทัพนี้ตีกระหนาบหลัง จับเอาตัวพระนเรศรประหารชีวิตเสียให้ จงได้ เมืองหงสาวดีจึงจะเป็นอิสสระภาพไพศาลกว่าพระนครทั้งปวงพระยาเกียรติ พระยาพระรามกราบถวายบังคมลา ยกกองทัพไปเถิงเมืองแครง ก็ทูลแก่สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าว่า พระเจ้าหงสาวดี ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้มารับเสด็จขึ้นไป ทูลดังนั้นแล้วก็ถวายบังคมลาไปมนัสการพระมหาเถรคันฉองผู้เป็นอาจารย์ แล้วแจ้งความซึ่งพระเจ้าหงสาวดีคิดทำการทั้งปวงนั้น ให้พระมหาเถรคันฉองฟัง ทุกประการ พระมหาเถรคันฉองแจ้งดังนั้น มีใจกรุณาแก่สมเด็จ พระนเรศวรเป็นเจ้าเธอหาผิดมิได้ อนึ่งด้วยพระราชกฤษฎาภินิหารบารมี สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าจะได้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา

๑๒๗ และอาณาประชาราษฎร ให้ถาวรวัฒนาการสืบไป ครั้นเพลาค่ำก็พาพระยาเกียรติ พระยาพระรามเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า แล้วถวายพระพรว่า พระยาเกียรติ พระยาพระรามนี้ เป็นสานุศิษย์ของรูปมาบอกว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าแจ้งดังนั้น จึงตรัสถามพระยาเกียรติพระยาพระ รามว่าเหตุผลประการ ใดพระเจ้าหงสาวดีคิดจะทำร้ายแก่เรา พระยาเกียรติ พระยาพระรามก็กราบทูลตามความซึ่งพระเจ้าหงสาวดีคิดและสั่งนั้นทุกปะการ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าได้ทรงทราบ ก็น้อย พระทัยคิดอาฆาตแก่พระเจ้าหงสาวดี จึงตรัสแก่พระมหาเถรคันฉอง ว่าซึ่งพระผู้เป็นเจ้าเมตตาบอกเหตุการณ์แก่ข้าพระเจ้าทั้งนี้ พระคุณ หาที่สุดมิได้ อันพระผู้เป็นเจ้าอยู่ในเมืองมอญนี้ พระเจ้าหงสาวดี แจ้ง อันตรายก็จะมีเป็นมั่นคง ข้าพระเจ้าจะนำพระผู้เป็นเจ้ากับพระยาเกียรติ พระยาพระราม และญาติโยมทั้งปวงลงไปอยู่พระนครศรี อยุธยาจะได้ปฎิการสนองคุณพระผู้เป็นเจ้า และปลูกเลี้ยงพระยาเกียรติ พระยาพระรามโดยกตเวทีธรรมประเวณี พระมหาเถรคันฉองและพระยาเกียรติ พระยาพระราม ก็พร้อมโดยพระราชบริหาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็ตรัสมุขมาตยาโยธาทหารทั้งปวงว่าเราหาความผิดมิได้ ซึ่งพระเจ้าหงสาวดิ่คิดร้ายต่อเราก่อนนั้น อันแผ่นดินพระมหานครศรีอยุธยา กับแผ่นดินเมืองหงสาวดี ขาดจาก ทางพระราชไมตรีกัน เพราะเป็นอกุสลกรรมนิยมสำหรับทีจะให้ สมณพราหมณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน ตรัสแล้วพระหัตถ์

๑๒๘ ขวาทรงพระสุวรรณภิงคาร หลั่งอุทกธาราลงเหนือพื้นพระสุธาดล จึงออกพระโอฐตรัสประกาศแก่เทพเจ้าทั้งหลาย อันมีมหิทธิฤทธิ์ และทีทิพจักขุทิพโสต ซึ่งสิตอยู่ทุกทิศานุทิศจงเป็นทิพพะยานด้วย พระเจ้าหงสาวดิ่มิได้ตั้งอยู่โดยคลองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณีเสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจจริตคิดจะทำภยันตรายแก่เรา ตั้งแต่วันนี้ไป กรุงพระมหานครศริ่อยุธยา กับเมืองหงสาวดิ่ มิได้ เป็นสุวรรณปัฐพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อน ขาดจากกันแต่วันนี้ไปตราบเท่ากัลปาวสาน ครั้นพระราชบริหารประกาศเป็นฉินทภาถอุตัยมหานครเสร็จแล้ว พระราชโองการตรัสสั่งท้าวพระยาเสนามุขมนตรีทั้งปวงว่า เราจะยกทัพกลับลงไปพระนครครั้งนี้ จะพาพระมหาเถรคันฉอง และญาติโยม กับพระยาเกียรติ พระยาพระรามไป แล้วจะตีกวาด ครอบครัวมรามัญหัวเมืองรายทางไปด้วย ครั้นวันศุกร์ เดือน ๖ แรม ๓ ค่ำ เพลาตี ๑๑ ทุ่ม ให้เอาพระคชาธารเข้าเทียบเกย ทอดพระเนตรเห็นพระสารีริกบรมธาตุ เสด็จปาฎิหาย์มาแต่ประจิมทิศ ผ่านพระคชาธารไปข้างบุรพทิศ จึงเสด็จพยุหบาตรยาตราทัพออกจากเมืองแครง พระมหาเถรคันฉอง พระยาเกียรติ พระยาพระราม และญาติโยมก็มาโดยเสด็จ ฝ่าย นายทัพนายกองก็แยกย้ายกันตีครัว ต้อนครัวรายทางมาได้ประมาณ ๑๐๐๐๐ เศษ ครั้นเถิงฝั่งแม่น้ำสะโตง ก็ให้เที่ยวเก็บเรือ หาไม้ผูก พ่วงแพเร่งข้ามครอบครัวรี้พลช้างม้าทั้งปวงเถิงฟากทั้งสิ้นแล้ว ก็ให้ เผาเรือทำลายแพเสีย ครั้นพระเจ้าหงสาวดีแจ้ง จึงให้พระมหาอุปราชา

๑๒๙ ถือพล ๑๐๐,๐๐๐ ให้สุระกำมาเป็นกองหน้า ตามมาเถิงแม่น้ำสะโตงฟากหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ให้นายทัพนายกองนำพระมหาเถรคันฉองกับครอบครัวรีบไปก่อน แต่ พระองค์กับทหารลำลอง ๑๕,๐๐๐ นั้นยังรออยู่ริมฝั่ง จึงทอดพระเนตรไปเห็นสุระกำมากองหน้า ใส่เสื้อแดงขี่ช้างยืนอยู่ริมฟากน้ำ ตรัส ให้ทหารเอาปืนหามแล่น และปืนนกสับคาบชุดยิงระดมไปเป็นอัน มากก็ไม่เถิง จึงสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ทรงพระแสงปืนนกสับยาวกว่าคืบ ยิงไปต้องสุระกำมาตกจากคอช้างตาย รี้พลรามัญ ทั้งนั้นเห็นอัศจรรย์ ด้วยแม่น้ำนั้นกว้างเหลือกำลังปืน ก็กลัวพระเดช เดชานุภาพ และพระมหาอุปราชามิอาจจะตามมาได้ ก็เลิกทัพกลับไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็เสด็จยกมาโดยทางเมืองกาญจนบุรี ครั้นเถิงพระนครศรีอยุธยา ก็กราบทูลสูรายเรื่องยุบลคดีทั้งปวง ถวายให้ทราบทุกประการ สมเด็จพระราชบิดาแจ้งดังนั้นจึงตรัสว่า เรามิได้ความผิดสักสิ่ง พระเจ้าหงสาวดีมิได้ตั้งอยู่ในคลองธรรม เสียสัตยานุสัตย์ประพฤติพาลทุจจริตอิจฉาจาร เป็นวิสมโลภต่อเราฉะนี้ก็เพราะผลวิบากแห่งสัตว์ เป็นสำหรับกาลกลียุค ตั้งแต่นี้ไปมอญ กับไทยจะเป็นปรปักษ์แก่กัน สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็กราบทูลว่าถึงมาตรว่าพระเจ้าหงสาวดียกพยุหแสนยากรมาเท่าใด ๆ ก็มิได้เกรง ข้าพระเจ้ามีแต่ชีวิตจะสนองคุณมิให้เคืองฝ่าพระบาท สมเด็จพระราชบิดากับสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ดำริการกันเสร็จแล้ว จึงปรดให้ พระมหาเถรคันฉ่องอยู่วัดพระมหาธาตุ พระราชทานสัปทน กรรชิง ๑๗

๑๓๐ คานหาม คนหาม จังหัน นิตยภัตร เครื่องสมณบริขารต่าง ๆ ฝ่ายพระยาเกียรติ พระยาพระรามนั้น ก็พระราชทานซึ่งเจียดทอง เต้าน้ำทองกระบี่บั้งทอง เงินตรา เสื้อผ้าพรรณนุ่งห่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก และครอบครัวมอญซึ่งกวาดต้อนลงมานั้น ก็พระราชทานให้พระยาเกียรติ พระยาพระราม ควบคุมว่ากล่าวด้วย แล้วพระยาเกียรติ พระยาพระรามนั้น ให้อยู่ตำบลบ้านขมิ้น ริมวัดขุนแสนญาติโยมพระมหาเถรคันฉ่องนั้นให้อยู่ตำบลบ้านหลังวัดนก แล้วสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าก็กราบทูลถวายบังคมลากลับมายังเมืองพระ พิษณุโลก เสด็จไปถวายนมัสการพระชินราชพระชินศรี ทรงพระ ราชูทิศศรัทธา เปลื้องเครื่องสุวรรณลังกาขัตติยาภรณ์ออกกระทำ สักการบูชาแล้ว เสด็จออกพร้อมด้วยมุขมนตรี ขณะนั้นหลวงโกษาและลูกขุนทั้งปวงผู้รักษาเมืองนั้น ก็นำบรรดานายไทยใหญ่เข้าเฝ้า จึงบังคมทูลว่า มีหนังสือนันทสู ราชสงคราม ซึ่งมาตั้งอยู่ณเมือง กำแพงเพ็ชร์ มาให้ส่งไทยใหญ่และครัว ซึ่งหนีมาอยู่ณเมืองพระพิษณุโลก ข้าพระพุทธเจ้าตอบไปว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว มิได้เสด็จอยู่ ซึ่งจะส่งไปนั้นยังมิได้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ทราบดังนั้น จึงตรัสให้มีหนังสือตอบไปว่า ธรรมดาพระมหากษัตรา ธิราชผู้ดำรงทศพิธราชธรรมนั้น อุปมาดังร่มพระมหาโพธิอันใหญ่ และมีผู้มาพึ่งพระราชสมภาร หวังจะให้พ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ ซึ่งนันทสูกับราชสงคราม จะให้ส่งไทยใหญ่ไปนั้น ไม่ควรด้วยคลอง ขัตติยราชประเพณีธรรม ๑๓๑ ฝ่ายนันทสูกับราชสงคราม แจ้งดังนั้น ก็ปรึกษากันว่า สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ยกพยุหยาตราทัพขึ้นไปเมืองหงสาวดี ครั้งนี้ เหตุไฉนจึงไม่กลับโดยทางเมืองกำแพงเพ็ชรเล่า บัดนี้ มีหนังสือเป็นคำฉกรรจ์จองอาจมาดังนี้ เห็นประหลาดนัก เราจะอยู่มิได้จำจะเลิกครัวเมืองกำแพงเพ็ชรอพยพไปเมืองหงสาวดี จึงจะมีความชอบข่าวทั้งนี้ก็แจ้งไปถึงเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าให้ประชุมท้าวพระยาเสนามุขมนตรี ปรึกษากันว่า ซึ่งเราจะละให้ชาวเมืองกำแพงเพ็ชรฉิบหายพรัดพรายจากภูมิลำเนานั้นมิชอบ เราจะยกไปตีนันทสูกับราชสงครามมิให้ เอาครัวเมืองกำแพงเพ็ชรไปได้ ท้าวพระยาเสนามุขมนตรีทั้งปวง เห็นพร้อมโดยพระราชบริหาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็ตรัส ให้ข้าหลวงไปกุมเอาพะม่ามอญ ซึ่งมาอยู่ประจำหัวเมืองฝ่ายเหนือ ส่งลงไปกรุงเทพมหานครสิ้นแล้ว กำหนดไปแก่พระยาสวรรคโลก พระยาพิชัย ให้ไปโดยเสด็จ ยกไปเอานันทสูกับราชสงคราม จึงให้ตรวจเตรียมรี้พลช้างม้า ครั้นรวันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ เพลาสายแล้ว ๕ บาท ก็เสด็จยกพยุหยาตราทัพ จากเมืองพระพิษณุโลก ไปยังเมืองกำแพงเพ็ชร ฝ่ายนันทสูกับราชสงครามรู้ข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเสด็จออกมา เลิกรี้พลช้างม้าหนีไปจากเมืองกำแพงเพ็ชร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทราบ จึงตรัสให้พระยาชัยบูรณ์และขุนพศรี และพระหัวเมืองทั้งปวง ยกรี้พลช้างม้าเป็นกองหน้า

๑๓๒ ทัพหลวงเสด็จตามไป พระยาชัยบูรณ์ตามไปทันเถิงตำบลแม่ระกา นันทสูกับราชสงครามก็จัดรี้พลช้างม้า ออกมารบพุ่งพระยาชัยบูรณ์และข้าหลวงทั้งปวงเป็นสามารถ ในขณะนั้นพระยาชัยบูรณ์ขี่ช้างพลายปีนพระรามได้ชนช้างกับนันทสู ช้างนันทสูได้ล่าง ช้างพระยา ชัยบูรณ์ชนเสียทีเบนไป นันทสูจ้วงฟันด้วยของ้าวต้องนิ้วชี้พระยา ชัยบูรณ์กระทบขอขาด ช้างพระยาชัยบูรณ์กลับได้ล่างค้ำถนัด ช้างนันทสูทานกำลังไม่ได้คว้างพ่ายไป ขุนพศรีขี่ช้างพลายศัตรูวินาสได้ชนด้วยช้างราชสงครามเป็นสามารถ ช้างราชสงครามก็พ่ายแพ้ แก่ช้างข้าหลวงทั้งสอง และนันทสูกับราชสงครามก็รุดหนีไปโดยทางเชียงทอง ครั้งนั้นได้ไทยใหญ่ชาวแสนหวี อันมาอยู่ณเมืองเชียงทองสกรรจ์และครัวอพยพประมาณ ๒๐,๐๐๐ เศษ แต่ผู้มีบรรดาศักดินั้นเจ้าฟ้าเมืองจี่ เจ้าเมืองแจใหม่ เมืองปาก สมิงตีมายาเยิวและ ไทยใหญ่เข้ามาทั้งปวง ก็เอาครัวอพยพออกมาสู่พระราชสมภาร แล้วจึงแต่งช้างม้ารี้พลทหาร ไปช่วยติดตามติ่นันทสูกับราชสงครามเถิงตำบลแม่หรางซาง แล้วก็กลับคืนมาทัพหลวงที่ตำบลเชียงทองนั้น ฝ่ายพระยาพิชัยข้าหลวงเดิมแจ้งว่า สมเด็จพระเรศวรเป็นเจ้ากับพระเจ้าหงสาวดีเป็นปรปักษ์แก่กัน ก็คิดการกบฎ มิได้มาตามพระราชกำหนดให้หานั้น และพระยาพิชัยก็เข้าเอากรมการและครัวอพยพชาวพิชัยขึ้นไปหาพระยาสวรรคโลก และชวนกันแข็งเมือง พระยาสวรรคโลกก็ลงด้วยพระยาพิชัย แต่หลวงปลัด ขุนยกรบัตร


๑๓๓ ขุนนันทนายกไซ้ ก็มิลงด้วยพระยาทั้งสอง ๆ ก็ให้เอาหลวงปลัด ขุนยกรบัตรขุนนันทนายกจำไว้ สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็ตรัสรู้ว่าพระยาทั้งสองชวนกันแข็งเมือง ก็ยกทัพหลวงเสด็จจากเชียงทองไป เอาเมืองสวรรคโลก เสด็จไปโดยทางสุโขทัย ครั้นเสด็จเถิงสุโขทัย ก็ตั้งทัพหลวงตำบลวันฤษีชุม จึงทรงพระกรุณาตรัสให้ชาวพ่อชุมนุม พราหมณาจารย์ เอาน้ำในบ่อพระสยมภูวนาถ และเอาน้ำตระพัง โพยศรีมาตั้งบูชาโดยพิธีกรรม เป็นน้ำสัตยาธิฐาน และเอาพระศรีรัตนตรัยเจ้าเป็นประธาน ให้ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขอำมาตย์ทหารทั้งหลายกินน้ำสัตยา ครั้นรุ่งก็ยกทัพหลวงโดยทางเขาดับ และเสด็จเถิงเมืองสวรรคโลก ครั้นวันศุกรเดือน ๘ ขึ้น ๕ ค่ำ ตั้ง ทัพหลวงหน้าวัดใหม่งาม สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตร เป็นเจ้า พระองค์ทรงทศพิธราชธรรม ก็ทรงพระกรุณาแก่พระยา ทั้งสอง ก็ตรัสให้ข้าหลวงเข้าไปร้องว่า ให้พระยาทั้งสองออกมา ถวายบังคม และทรงพระกรุณามิได้เอาโทษเลย และพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก ทำอุกอาจต่อรบพุ่งข้าหลวงแล้ว ตรวจจัดไพร่พล ขึ้นหน้าที่เชิงเทินกำแพง ประกาศกันเมืองสวรรคโลก จึงพระยา ทั้งสองก็ฆ่าหลวงปลัด ขุนยกรบัตร ขุนนันทนายก ซึ่งมิลงด้วยนั้น ฆ่าเสียแล้วก็ตัดศีร์ษะซัดออกมายังข้าหลวงอันเข้าไปรบนั้น สมเด็จ พระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็ตรัสให้ยกพลทหาร เข้าปล้นเมืองสวรรคโลก ในเพลาค่ำวันเสด็จเถิงนั้น ปล้นใน

๑๓๔ ประตูสามเกิดแห่งหนึ่ง ปล้นในประตูป่าม่อแห่งหนึ่ง ปล้นในประตูสะพานจันทร์แห่งหนึ่ง ปล้นแต่ค่ำจนเถิงเที่ยงคืน และเผาป้อมชั้น นอกประตูสามเกิดนั้น จึงมีพระราชโองการตรัสถามโหราจารย์ว่า ยังจะได้เมืองสวรรคโลกหรือ โหราจารย์ก็ถวายบังคมทูลพระกรุณา ว่าจะได้เมืองสวรรคโลก และซึ่งปล้นข้างประตูสามเกิดนี้ เห็นจะ ได้ด้วยยาก ถ้าปล้นข้างทิศดอนแหลมไซ้เห็นจะได้ง่าย เพราะทิศ ข้างนั้นเป็นอริแก่เมือง จึงมีพระราชโองการตรัสให้พระยาชัยบูรณ์ ขุนหลวงธรรมไตรโลก ขุนราชรินทร ยกพลจากประตูสะพานจันทร์ มาตั้งอัดประตูข้างทิศดอนแหลม แล้วให้เร่งแต่งการอันจะเข้าปล้น เมืองนั้น อนึ่งในประตูสามเกิดและประตูป่าม่อ ก็ให้แต่งพลทหาร รบพุ่งกันยังรุ่ง ครั้นรุ่งขึ้นณวันเสาร์เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ก็ยกทัพ หลวงมาตั้งประตูข้างดอนแหลม แล้วให้เร่งแต่งการเข้าปล้นเมืองนั้น จงได้ ชาวเมืองยิงปืนไฟแล้วพุ่งสาตราวุะมาต้องพลทหารป่วยเจ็บ และจะปืนป่ายกำแพงขึ้นมิได้ สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็ตรัสให้ลงโทษแก่ขุนอินทรเดชะ ผู้เป็นยกรบัตร อันขับ ต้อนคนเข้าปืนเมือง และขุนหมื่นทหารทั้งหลาย ให้มัดตระเวน รอบทัพ จึงขุนอินทรเดชะและขุนหมื่นทั้งหลายถวายทานบนว่า จะขอเข้าปล้นปืนเมืองให้ได้ จึงพระยาชัยบูรณ์บังคมทูลพระกรุณาว่า ซึ่ง ไป่มิได้ตั้งค่ายปซิแล้วและจะป่ายปืนปล้นเอาเมืองดังนี้ พลทหาร ทั้งหลายจะปืนป่ายมิสะดวก เพราะชาวเมืองได้ป้องกันเป็นอัน ถนัดง่าย และจะขอทำค่ายปชิกันพลทหารทั้งหลายซึ่งจะยิงตอบชาว

๑๓๕ เมือง และจะปลูกหอรบขึ้นให้สูงเทียมกำแพงเมือง และจะเอาพลปืนไฟขึ้นบนหอรบนั้น ให้ยิงข่มเข้าไป อย่าให้ชาวเมืองยิงพุ่งแทง ทหารผู้ปืนนั้นได้ เห็นจะได้เมืองโดยง่าย สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชราชบพิตรเป็นเจ้าเห็นชอบด้วย ตรัสบัญชาให้พลทหารทั้งปวงตัดไม้หมากพร้าวตั้งค่ายประชิดริมคูเมือง แล้วปลูกหอรบขึ้น ๓ แห่ง สูงเทียมกำแพงเมืองตามพระยาชัยบูรณ์ทูล ครั้นเถิงณวันจันทร์เดือน ๘ แรม ๓ ค่ำเพลาชายแล้ว ๒ นาฬิกา ๕ บาท ยกพลทหารเข้าเผาประตูดอนแหลม หอผ่านประตูนั้นทลาย ลงมา จึงพลทหารเอาบันใดหกเข้าพาดกำแพงเมือง ปีนเข้าไปในเมืองสวรรคโลกได้ และตัวพระยาสวรรคโลกก็หนีไปพึ่งอยู่บนกุฎี พระสงฆ์ในวัดไผ่ใต้ และทหารก็ได้ตัวพระยาสรรคโลกในวัดนั้น เอามาถวาย ส่วนพระยาพิชัยหนีจากเมืองสวรรคโลกไปเถิงแดน กระจุกจะไปยังเชียงใหม่ ชาวด่านก็กุมเอาพระยาพิชัยมาถวาย สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็ตรัสให้ทะเวนแล้ว ฆ่าพระยาทั้งสองนั้นเสียแล้ว เทเอาครัวอพยพทั้งปวงมายังเมือง พระพิษณุโลก และให้อารธนารูปพระยาร่วง พระยาฦๅ อันรจนา ด้วยงาช้างเผือกงาดำนั้นมาด้วย ครั้นเถิงณวันพฤหัสบดีเดือน ๘ แรม ๖ ค่ำ เพลายัง ๒ บาท จะรุ่ง ให้เรียกช้างพระที่นั่งประทับเกย เห็นพระสารีริกธาตุเสด็จปาฎิหาริย์แต่ตะวันตก ผ่านช้างพระที่นั่งมาตะวันออก โดยทางที่เสด็จ มานั้น เท่าผลหมากพร้าวปอก ก็ยกทัพหลวงเสด็จคืนมาโดยทาง

๑๓๖ น้ำขุ่น มาทางพิชัย เสด็จมาเถงเมืองพระพิษณุโลกณวันอังคาร เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ และฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีตั้งแต่รู้ว่า สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าพาเอาพระมหาเถรคันฉอง และญาติโยม กับพระยาเกียรติ พระยาพระราม และกวาดเอาครัวรายทางอพยพเป็นอันมาก กลับไปยัง เมืองนครศรีอยุธยา ข้างนันทสู ราชสงคราม เล่า ก็มาแจ้งเหตุทุกประการ ทรงพระพิโรธอาฆาตหมายจะเอาพระนครศรีอยุธยาให้ จงได้นั้น พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้เกณฑ์ทัพทุกหัวเมืองขึ้น เมืองออก เตรียมไว้เป็นอันมาก และบำรุงช้างม้ารี้พลเสนาโยธา ทหารเครื่องสาตราวุธไว้จงสรัพ และตรัสให้พระเจ้าเชียงใหม่ เกณฑ์กองทัพรี้พลลำเครื่องให้ได้ ๑๐๐,๐๐๐ ช้างม้าพร้อมด้วยเครื่อง สาตราวุธ และให้พระเจ้าเชียงใหม่ต่อเรือรบเรือไล่เรือลำเลียงไว้ให้ ได้เรือ ๑๐๐๐ ลำ เถิงเทศกาลเดือน ๑๑ - ๑๒ จะให้พระเจ้าเชียงใหม่กับพระยาพะสิม ยกทัพบกทัพเรือลงไปตีเอาพระนครศรีอยุธยาให้จงได้นั้น พระเจ้าเชียงใหม่ก็ได้เกณฑ์กองทัพช้างม้ารี้พลลำเครื่อง ๑๐๐,๐๐๐ และแต่งให้เรือลำเลียงได้เรือ ๑๐๐๐ ลำ ตามรับสั่ง พระเจ้าหงสาวดีทรงพระบัญชามานั้น และให้บำรุงช้างม้าสะเบียงอาหารไว้พร้อมทุกประการ และเมื่อขณะนั้น พระเจ้าละแวกได้ข่าวไปว่า สมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้าเมืองพระพิษณุโลก มีบารมีพระเดชเดชานุภาพ พระเจ้าละแวกคิดปรึกษาด้วยท้าวพระยามนตรีมุขทั้งหลาย ก็แต่งหนังสือเป็น

๑๓๗ ทางพระราชไมตรี และให้ขุนเทพโกษา หมื่นชัยสงคราม นายเทพศรีช้าง ให้ถือหนังสือมา จึงให้เอาผู้ถือหนังสือทั้งสามนั้นมาวางไว้ ในแดนระยอง กรมการอันอยู่ประจำด่านระยองนั้น ก็ได้ตัวผู้ถือหนังสือทั้งสามคน จึงจัดส่งเข้ามาถวายแก่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในลักษณะหนังสือนั้นว่า พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีรำพึงถึงพระคุณสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา และสมเด็จพระนเรศวรบรมราชา ธิราชบพิตรเป็นเจ้า กรุงพระพิษณุโลก ได้เสวยราชครองพิภพกรุงศรีอยุธยา โดยโบราณพระมหากษัตราธิราชนั้น เห็นว่าบุญญานุภาพประเสริฐดีหนักหนา จึงพระเจ้ากัมพูชาธิบดีก็รำพึงคิดถึงพระคุณสมเด็จพระวรเชฎฐาธิราช ซึ่งทรงพระกรุณาเอาสมเด็จพระไอยกา ธิราชเป็นพระราชบุตร และดำกลให้เสวยราชครองพิภพ และยก แผ่นดินกรุงกัมพูชาธิบดีให้นั้น และซึ่งพระคุณนั้น พระเจ้ากรุง กัมพูชาธิบดีก็รำพึงดุจพระมหาโพธิ และองค์พระสรรเพ็ชญดาญาณเหตุนั้นจึงจะแทนพระคุณคือกตัญญูกัตเวทีโดยรีดฉบับธรรม และ พระยากัมพูชาธิบดี และท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขสมณพรามณาจารย์ทั้งหลาย ขอเป็นพระราชไมตรี ด้วยพระบาทสมเด็จบรม บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ จึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ตรัสให้สลักหนังสือนั้นขึ้นไปถวายแก่สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ถึงพระพิษณุโลก ก็สบพระราชหฤทัยซึ่งพระเจ้าละแวกขอเป็นพระราชไมตรีนั้น สมเด็จ ๑๘ ๑๓๘ พระเรศวรบรมราชาบพิตรเป็นเจ้า ก็ตรัสให้แต่งพระราชสารลง ในแผ่นทอง แล้วและตรัสใช้เมืองศรีภิรมย์ ขุนพศรี หมื่นรามรงค์ ทูลจำพระราชสารและเครื่องบรรณาการไปเมืองละแวกในเดือน ๘ ปฐมาสาธนั้น แต่เมืองพระพิษณุโลกมา มาโดยทางนาเวียงเมืองนครราชสีมา ไปโดยทางนาเวียงเมืองนครหลวงซึ่งพระยาละแวกอยู่ นั้น เถิงเดือน ๘ ทุติยาสาธ สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ตรัสให้ ขุนอินทรเดชะ เป็นนายกองช้างเครื่อง ๓๐ ม้าเครื่อง ๑๐๐พล ๓๐๐๐ ให้ไปลาดเถิงเมืองเชียงใหม่ ในวันจะยกทัพนั้น โพธิ์ใหญ่ในกำแพงสนามหน้าวังนั้น หาเหตุการณ์มิได้ และกิ่งข้างตะวันตกนั้นหักลง กิ่งใหญ่ประมาณ ๒ อ้อม และให้ฟังข่าวคราวในเมืองหงสาวดิ่ เถิงวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ ขุนอินทรเดชะก็คืนลงมาเถิงเมือง พระพิษณุโลก ในเดือน ๙ นั้นมี พระราชกำหนดสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้ขึ้นไปเทครัวอพยพชาวเมืองเหนือทั้งปวง ลงมายังกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ตรัสให้ถ่ายข้าวและเทครัวอพยพทั้งปวงเมืองพระพิษณุโลก เมืองกำแพง เพ็ชร เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองพิจิตร ลงมายังกรุงพระมหา นครศรีอยุธยา ตามพระราชกำหนดขึ้นไปนั้นเสร็จ เถิงวันศุกร เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้าก็เสด็จจากเมืองพระพิษณุโลก ลงมายังพระมหานครศรีอยุธยา

๑๓๙ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ ตรัส ให้บำรุงการทีจะป้องกันพระนคร และซ่อมกำแพงปราการต้ายเตี้ย และหอรบทั้งปวงรอบพระนครแล้ว ก็ให้ขุดคูเมืองเบื้องบุรพทิศนั้น ให้กว้างลึกเป็นแม่น้ำประจงกันรอบพระนครแล้ว ก็ให้ถ่ายข้าวเทครัวอพยพเมืองนอกทั้งปวงเข้ามาในพระนคร แล้วซ่องจัดทหารอาษา ทั้งหลายทุกหมู่ทุกกรม ตกแต่งเครื่องสรรพยุทธ์ไว้ให้สรัพที่จะกัน ราชสัตรูอันจะยกมานั้น ส่วนเมืองศรีภิรมย์และขุนพศรี หมื่นรามรงค์ ซึ่งทูลจำพระราชสารไปเมืองละแวกนั้น ครั้นไปเถิงพระเจ้าละแวกก็ให้ตกแต่งรับพระราชสาร ให้เบิกเมืองศรีภิรมย์และขุนพศรี หมื่นรามรงค์ เข้าถวายบังคม และได้ฟังลักษณะพระราชสารนั้น พระเจ้าละแวกก็ยินดีซึ่งจะได้เป็นราชไมตรีนั้น พระเจ้าละแวกให้รางวัลแก่ทูตานุทูตผู้ไปทั้งปวง นั้นมาก พระเจ้าละแวกก็ใช้พระราชาอุภัย พระอินทราเดโช พระทรงคเชนทร์ หลวงศรีราชนคร หลวงมฤทธีคเชนทร์ หลวง นเรนทมฤทธิ ทูลจำพระราชสารและเครื่องราชบรรณาการ มาด้วย เมืองศรีภิรมย์ ขุนพศรี หมื่นรามรงค์ ครั้นทูตานุทูตชาวละแวกมาเถิงพระนคร จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ ตรัสให้เบิกทูตานุทูต เข้ามาถวายบังคม ตรัสให้พระราชทานแก่ทูตานุทูตนั้นแล้ว ก็ ตรัสให้แต่งพระราชสารไปตอบพระเจ้าละแวก และตรัสให้พระศรี เสาวราช ขุนหลวงธรรมาทิตย์ ขุนมงคลรัตน์ ขุนจันทราเทพ ขุน

๑๔๐ เทียรฆราช หมื่นธรรมเถียร ทูลจำพระราชสารและเครื่อง ราชบรรณาการ ไปด้วยทูตานุทุตอันมานั้น และเถิงศักราช ๙๔๗ ปีกรุสัปตศก (๑) ( พ.ศ.๒๑๑๘ ) ณวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ เพลาบ่าย ๓ โมง ๖ บาท ขณะนั้น พระเจ้าหงสาวดีตรัสให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกช้างม้ารี้พล ทัพบกทัพเรือพลประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ลงมาโดยทางเมืองกำแพงเพ็ชร และให้ พระยาพะสิม ผู้เป็นอา ยกช้างม้ารี้พลประมาณ ๓๐,๐๐๐ มาโดยทางกาญจนบุรี และทัพพระยาพะสิมนั้น ยกมาเถิงสุพรรณบุรี ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้ายขึ้นค่ำหนึ่ง ฝ่ายทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยังไป่ ได้มาเถิงเมืองนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสรู้ข่าวศึกอันยกมาทั้งสองทางสามทางนั้น ก็ตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พลทัพบก ทัพเรือไว้สรัพ ให้พระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก เป็นกองทัพเรือ ตรัสให้พระยาพระคลังเป็นยกรบัตร ให้ยกทัพเรือนั้นไปเมืองสุพรรณ บุรี ครั้นทัพเรือไปเถิงเมืองสุพรรณบุรี ได้รบพุ่งกันด้วยทัพพระยา พะสิมซึ่งตั้งในสุพรรณบุรีนั้น ก็วางปืนใหญ่ขึ้นไปแต่เรือรบ ต้อง พลข้าศึกตายมากนัก และทัพพระยาพะสิมนั้น จะตั้งอยู่มิได้ ก็เลิก ทัพกลับออกไป โดยราชสิงหะ และไปตั้งทัพมั่นในตำบลเขาพระยาแมน เถิงวันพุธเดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ เพลาเที่ยงคืนแล้ว ๒ นาฬิกา ๙บาท จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จพยุหยาตราจากพระนครศรีอยุธยาไปโดยชลมารค จึงเสด็จขึ้น ( ๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๖ วอกศก ๑๔๑ เหยียบซึ่งชัยภูมิในลุมพลี และให้พระพิชัยสงครามฟันไม้ข่มนาม แล้วเสด็จจากลุมพลี สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าเป็นทัพหลวง สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จอยู่พระนคร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ไปไว้ท่าเรือในอินทรบุรี จึงเสด็จพยุหยาตราทัพขึ้นโดยสถลมารค ไปตั้งทัพหลวงในตำบลสามขนอน และเมื่อตั้งทัพอยู่สามขนอนนั้น ม้าตัวหนึ่ง ออกลูกเป็น ๒ ตัวหัวเดียว มีเท้าตัวละ ๔ ชิงหัวกัน จึงมีพระราชโองการตรัสให้พระยาสุโขทัยเป็นนายกอง และท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลาย ยกช้างและพล ๑๐,๐๐๐ ออกไปตีทัพพระยาพะสิมณเขาพระยาแมน ทัพหน้าข้าศึกก็ได้รบพุ่งกัน ข้าศึกก็แตกฉานแก่พลข้าหลวง ก็ได้ช้างม้ามามาก และได้ฉางชื่อ และมอญพะม่าตาย ในที่รบนั้นก็มาก พระยาพะสิมก็เลิกทัพหนีไป จึงแต่งทหารข้าหลวงตามไปเถิงกาญจนบุรี และทัพหลวงตั้งอยู่ตำบลสามขนอนนั้น ๗ วัน จึงเสด็จยกทัพหลวงเลี้ยวคืนมาโดยทางสุพรรณบุรี ก็เสด็จมายังพระนครศรีอยุธยา ครั้นทัพพระยาพะสิมแตกฉานพ่ายไปแล้ว ในเดือนเดียวนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ยกช้างม้ารี้พลประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ มาเถิงนครสวรรค์ทั้งทัพบกทัพเรือ และพระเจ้าเชียงใหม่ยังไป่มิรู้ข่าวว่า ทัพพระยา พะสิมพ่ายไปแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็ยกลงมาเถิงชัยนาทบุรี พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้ชัยกะยอสู และนันทกะยอสู ยกช้างม้าและพลประมาณ ๑๕,๐๐๐ มาเป็นทัพหน้า ลงมาตั้งเถิงบางพุดซา และบางเกี่ยว หญ้า จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

๑๔๒ แจ้งข่าว ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือขึ้นไปโดยลำแม่น้ำใหญ่ตั้งตำบลชะไวก็ตรัสให้พระเทพมนู เป็นนายกอง ขุนรามเดชะ เป็นยกรบัตร ยก ทัพม้า ๒๐๐ และพลทหารอาษา ๓๐๐๐ ขึ้นไปตีทัพข้าศึก อันมา ตั้งตำบลบางเกี่ยวหญ้านั้น พระเทพมนูและขุนรามเดชะ ก็ขึ้นไปตั้งเป็นทัพซุ่มอยู่ในป่า ครั้นข้าศึกออกเกี่ยวหญ้าช้างก็ดี ออกลาด หากินก็ดี พระเทพมนูและขุนรามเดชะ ก็ไล่ฆ่าฟันแทงเอาข้าศึกออกเอาหญ้าช้างหญ้าม้า และลาดหากินทุกตำบลนั้น และไล่ข้าศึกเข้าไปจนค่ายทุกวัน ชาวทหารอาษาได้ฟันแทงข้าศึกตายมาก ได้ช้างม้า และชะเลยส่งมาถวายมาก ข้าศึกจะตั้งอยู่มิได้ที่บางพุดซานั้น ก็เลิกทัพขึ้นไปหาทัพใหญ่ในชัยนาทบุรี พระเทพมนูและขุนรามเดช ตามตีข้าศึกขึ้นไปเถิงชัยนาทบุรี เข้าโจมตีทัพข้าศึกในกลางคืน และได้ฟันแทงข้าศึกตายมาก แล้วก็ยกทัพคืนลงมายังพระนคร ขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่จึงรู้ข่าวทัพพระยาพะสิมซึ่งยกมาทางกาญจนบุรีนั้น แตกฉานพ่ายหนีไปแล้ว และพระเจ้าเชียงใหม่ก็คิดด้วยท้าวพระยาทั้งหลาย ว่ากำหนดพระเจ้าหงสาวดีให้มาไซ้ ว่าให้ทัพพระยาพะสิมคอยด้วยกันกับทัพเรา และซึ่งไปมิทันควบกัน และทัพพระยาพะสิมแตกฉานพ่ายไปแล้วดังนี้ ควรเราจะยกทัพคืนไปฟังกำหนดพระเจ้าหงสาวดีก่อน อนึ่งเรายกมาครานี้ ไป่มิได้บำรุงการ ศึกมาเป็นสามารถ และเรายกมาด้วยรวดเร็วให้ทันตามกำหนด พระเจ้าหงสาวดี เพราะทัพพระยาพะสิมยกมาทางนี้ก่อนแล้ว และ จะควบกันให้จงได้ และซึ่งมิได้ควบกันดังนี้ เราจะยกทัพคืนไปก่อน

๑๔๓ จะบำรุงการศึกไว้ถ้าพระราชกำหนดพระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าเชียงใหม่ก็เลิกทัพจากชัยนาทบุรีคืนไปเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ แจ้งว่าทัพเชียงใหม่ยกเลิกไปแล้ว ก็เสด็จกลับมายังพระนคร แจ้งเหตุแก่พระราชบิดา ทุกประการ และศักราช ๙๓๗ ปีกรุสัปตศก (พ.ศ.๒๑๑๘) พระเจ้าละแวกก็ใช้พระอุภัยพงศ์และหลวงสุภาทิพ ทูลจำพระราชสารและเครื่องราชบรรณาการมาด้วยพระศรีเสาวราช และทูตานุทูตทั้งหลายอันไป ณเดือน ๔ ปืกุรนั้น ในลักษณะพระราชสารพระเจ้าละแวกมาครานั้นว่า ขอให้หล่อน้ำษิโณทก ตั้งสีมาจารึกสำหรับด่านพระราชไมตรี ตามประเวณีโบราณพระมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนมา พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ แต่งท้าวพระยามุขมนตรี และสมณพราหมณาจารย์ทั้งหลาย ไปหลั่งน้ำษิโณทก ฝ่ายมุขมนตรีและเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก เจ้าพระยาสุโขทัย พระยาเทพณรงคฦาชัย พระพลเทพ พระศรีภูริปรีชาและขุนหมื่นทั้งหลาย ฝ่ายพระสงฆ์ไซ้ สมเด็จพระสังฆราชคามวาสิอรัญญวาสี พระครูสะดำ พระครูฉะเวียง และพระสงฆ์ ๒๐ รูป ฝ่ายพราหมณาจารย์ไซร้ พระ มเหธรราชสุภาวดี พระราชปโรหิตาจารย์ พระเทพาจารย์ พระโหรา ธิบดี และชีพ่อพราหมณาจารย์ ๑๐ คน ฝ่ายพระเจ้ากัมพูชาธิบดี ก็แต่งเจ้าฟ้าทลหะ พระยาธรรมเดโช พระยาจักรีรัตน์ พระศรีภูริปรีชาและท้าวพระยาเสนาบดี และสมณพราหมณาจารย์ ในกรุงกัมพูชา

๑๔๔ ประเทศนั้น มาหล่อน้ำษิโณทก จึงท้าวพระยาเสนาบดี และสมณ พราหมณาจารย์ทั้งสองฝ่าย ก็ชุมกันในตำบลบ้านท้ายสระเกษ ตบแต่งการที่จะหล่อน้ำษดิโณทกในที่นั้น เถิงวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ ก็ประกองด้วยศุภฤกษ์ จึงฝังสีมาจาตึกสัตยาธิฐานลงในศิลาบาตร์ แล้วก็หลั่งน้ำษิโณทกตกเหนือมหาปัฐพี เป็นสักขีพะยาน เพื่อจะให้พระราชไมตรีสีมานั้น ทั้งสองฝ่ายมั่นคงตรงเท่ากัลปาวสานแล้ว ก็ให้อุปสมบทกรรม ภิกษุ ๖ รูปในที่นั้น ในขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ เลิกทัพขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่พระเจ้าหงสาวดีก็ทรงพระโกรธแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ว่าซึ่งมิได้ยก ลงไปให้ทันกำหนด กองทับพระยาพะสิม ๆ จึงเสียทีแก่ข้าศึก และ พระยาพะสิมเลิกทัพคืนไปนั้น เมื่อศักราช ๙๔๗ ปีชวดอัฐศก ( พ.ศ.๒๑๑๙ ) พระเจ้าหงสาวดีดำรัสแต่งให้พระยาอภัยคามณี ซักแซกะยอถ่าง เมืองโยคราช ๓ นายและท้าวพระยาทั้งหลายไปเข้ากำกับทัพพระเจ้าเชียงใหม่ ให้เร่งยก ลงไปตีเอากรุงพระมหานครศรีอยุธยาให้จงได้ พระเจ้าเชียงใหม่แจ้งพระราชกำหนดแล้ว ก็จัดช้างม้ารี้พลทัพบกทัพเรือพร้อมด้วยเครื่อง สัตราวุธ และให้พระยาเชียงแสนถือพล ๑๕,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๑๕๐ ม้าเครื่อง ๑๐๐๐ แล้วพระเจ้าเชียงใหม่ก็ยกช้างม้ารี้พลทั้งทัพบก ทัพเรือออกจากเมืองเชียงใหม่ มาชุมพลทั้งปวงในเชียงทอง จึง เคลื่อนทัพนั้นลงมาชุมพลถึงนครสวรรค์ ในวันอังคารเดือนอ้ายขึ้น

๑๔๕ ค่ำหนึ่ง พลพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาครานั้น ทั้งชาวหงสาวดีและ ชาวเชียงใหม่อันมาด้วยกันทั้งปวงนั้น ช้างเครื่องประมาณ ๓๐๐ ม้าประมาณ ๓๐๐๐ พลประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ และทัพนั้นเร่งบก ลงมาตั้งทัพมั่นในตำบลสระเกษปากชะไว ทั้งทัพบกทัพเรือ ตั้งค่าย อยู่เป็นสามารถ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ ก็ตรัสให้ถ่ายข้าวและเทครัวเข้าในพระนครสรัพแล้ว ก็ให้ตรวจ จัดรี้พลเครื่องสรรพยุทธ์ไว้สำหรับหน้าที่กำแพงรอบพระนคร โดยพนักงานท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายเสร็จ ก็แต่งทหารอาษา ออกไปทำงานนอก ซ่องสุมคนซึ่งซ่านเซ็นพระนครทุกตำบล อัน หนึ่งชาวนอกพระนครทั้งปวง อันยังซ่านเซ็นอยู่ป่าโดยทางข้าศึกจะ ยกมา ก็มีพระราชกำหนดออกไปให้คุมกันเป็นหมู่เป็นกอง ทำการนอกพระนครศรีอยุธยา มิให้ข้าศึกออกลาดหากินได้สะดวก เมื่อครั้งนั้นพระเจ้าละแวกแจ้งข่าวออกไปว่า กองทัพหงสาวดียกมากระทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา จึงดำรัสปรึกษาด้วยท้าว พระยาเสนามุขมนตรี ว่ากรุงกัมพูชาธิบดีกับพระนครศรีอยุธยา พึ่ง เป็นทางพระราชไมตรีกัน บัดนี้มีปัจจามิตรข้าศึกมารบ ครั้นจะมิ ไปช่วย พระราชไมตรีจะไม่ถาวรวัฒนาสืบไป จำจะให้กองทัพยก ออกไปช่วย ท้าวพระยาเสนามุขมนตรีทั้งหลายก็เห็นด้วย พระเจ้าละแวกก็ให้พระศรีสุพรรณมาธิราช ผู้เป็นพระอนุชา ถือพล ๑๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๑๐๐ ม้าเครื่อง ๓๐๐ ยกเข้ามาช่วยโดยทางด่านเมือง ๑๙ ๑๔๖ ปราจีนบุรี กรมการบอกเข้ามาให้กราบทูล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัสให้หลวงราชเสนาภักดี กับขุนพิพิธวาที หมื่นพจนาพิจิตร ออก ไปรับพระศรีสุพรรณมาธิราชเข้ามาเฝ้า แล้วตรัสสั่งให้กองทัพเขมร ตั้งอยู่ตำบลวัดพระพะแนงเชิง ครั้นณวันพฤหัสบดีเดือนอ้ายแรม ๒ ค่ำ พระเจ้าเชียงใหม่ ให้ยกทัพบกทัพเรือล่องลงมาตั้งค่ายมั่นตำบลวัดสระเกษ แล้วแต่ง ให้เจ้าเมืองพะเยาคุมทัพม้า ๑๐๐๐ ไปลาดจับคน และให้ดูกองทัพกรุงจะออกมาตั้งอยู่ตำบลใด ๆ บ้าง เจ้าเมืองพะเยาก็ยกทัพม้าเข้า มาถึงสะพานขายข้าว ก็เที่ยวเผาบ้านเรือน พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จออกไปโดยชลมารคถึงสะพานขายข้าว ก็ตรัสให้พลทหารรบพุ่งพลข้าศึกนั้นก็ถอยคืนไปหาทัพใหญ่ จึงเสด็จกลับเข้ามาพระนคร ฝ่ายทัพพระเจ้าเชียงใหม่ตั้งอยู่ตำบลวัดสระเกษนั้น แต่เดือนอ้ายถึงเดือน ๔ และพระเจ้าเชียงใหม่จะได้ตบแต่งให้เข้ามารบพุ่งหา มิได้ และพระเจ้าเชียงใหม่คิดการสึกนั้นเป็นงานปี และจะตั้งอยู่ อย่าให้ชาวพระนครออกมาทำนาได้ ให้ถอยกำลังแล้วจึงจะเข้ารบ พุ่งเอา พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้เรือลำเลียงข้าวสะเบียงลงมาแต่เมืองเชียงใหม่ เลี้ยงไพร่พลทั้งปวงมิได้ขาด ครั้นเถิงปีฉลูนพศก พระเจ้าหงสาวดีก็ให้มหาอุปราชาคุมพล ๒๐,๐๐๐ มาตั้งทัพทำนาในเมืองกำแพงเพ็ชร อนึ่งพระเจ้าหงสาวดี ก็ให้ตั้งแต่บำรุงการศึกทั้งปวงไว้ ว่าครั้นออกพระวษาแล้ว พระเจ้า

๑๔๗ หงสาวดีจะยกพลศึกลงมายังกรุงพระมหานคร ส่วนทัพพระเจ้าเชียงใหม่ก็ตั้งอยู่ตำบลสระเกษ และทัพพระยาอภัยคามณีตั้งเป็น ทัพหน้าในตำบลตลาดกรวด พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ ตรัสรู้ข่าวซึ่งพระมหาอุปราชามาตั้งทำนาในเมืองกำแพงเพ็ชร จึงตรัสพิพากษาด้วยท้าวพระยาพฤฒามาตย์มนตรีทั้งหลายว่า ซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่มาตั้งอยู่เป็นช้านาน และมิได้ยกเข้ามารบพุ่งดังนี้ไซ้ เห็น ว่าจะอยู่ท่าทัพพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งจะยกมาเถิง จึงจะควบกันยกเข้า มาทีเดียว และเราจะละให้พระเจ้าเชียงใหม่ ตั้งอยู่ดังนั้นมิควร ควร ยกทัพหลวงออกไปตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่ อย่าให้ตั้งอยู่ได้ และทัพพระเจ้าหงสาวดีคิดว่าคิดว่าจะยกมานั้นมิว่างจะยกลงมาได้ในปีนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ ก็ตรัสให้ตรวจช้างม้ารี้พล ทัพบกทัพเรือ ณวันพุธเดือน ๕ ขึ้นค่ำหนึ่ง เพลารุ่งแล้ว ๔ นาฬิกา ๒ บาท ก็เสด็จพยุหยาตราจากพระนครโดยชลมารค ตั้งทัพชัย ในลุมพลี เถิงวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสให้เทียบเรือรบเรือไล่ทั้งปวง ก็เสด็จด้วยพระชลวิมานขึ้นไปเถิงป่าโมกน้อย เพื่อจะดูกำลังข้าศึก ยังจะรบพุ่งหรือประการใด จึงพระเจ้าเชียงใหม่ก็ใช้สะเรนันทสู เอาช้างเครื่อง ๓๐ ม้าเครื่อง ๕๐๐ พลทหาร ๕๐๐๐ ยกเข้ามาป่าโมกน้อย พระบาท สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสรู้ว่าข้าศึกยก

๑๔๘ เข้ามา ก็ให้เทียบเรือรบเรือไล่ทั้งปวงเข้าฝั่ง ให้พลทหารอาษาขึ้นบก ยกไปตั้งต่อข้าศึก แล้วก็เสด็จขึ้นทางบกทั้งสองพระองค์ เสด็จด้วยสุพรรณรัตนปาทุการองพระบาท และตรัสให้พลทหารทั้งปวงขึ้นยอใต้บางสายพลาย ท้องที่ปากน้ำคลองบ้านเฉียน บ้านรี คลองลุมพลี เหนือบ้านกระสอบ สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ทรงพระแสงปืนนกสับยิงถูกนายม้าผู้ดี และนายม้านั้นห่มเสื้อสัก กะหลาด และได้ดาบทองและม้านั้นมาถวาย ข้าศึกอันยกมาทั้งปวงนั้นก็พ่าย ทหารอาษาก็ไล่ฟันแทงข้าศึกไปจนหน้าค่ายตายมาก จึงพระยาอภัยคามณีและท้าวพระยาแสนขุนแสนหมื่นทั้งหลายอันเป็นทัพหน้า แต่งช้างเครื่องออกมาประมาณ ๑๐๐ ม้าประมาณ ๑๐๐๐ พลประมาณ ๑๐,๐๐๐ ยกเป็นศึกใหญ่ออกมาปะทะพลทหารข้าหลวง ๆ ก็ลาดถอย พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัส เห็นข้าศึกยกใหญ่ออกมาตีพลข้าหลวง และจะล่าถอยลงเรือมิได้ จึงเสด็จด้วยเรือพระที่นั่งขึ้นไปเหนือคลองป่าโมกน้อย และขนาบเรือพระที่นั่งทั้งสองเสด็จอยู่กันพลเรือรบ และพลทหารอันอยู่ริมน้ำนั้นข้าศึกก็วางช้างม้ารี้พลมาเถิงริมน้ำ และได้รบพุ่งกัน พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงปืนนกสับยิงต้องข้าศึกตายมาก ข้าศึกพุ่งสาตราวุธมากตกถึงเรือพระที่นั่ง จึงพระ บาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระราชอนุชา ก็ให้สอดเรือพระที่นั่งเสด็จเข้าไปข้างฝั่ง กันเรือพระที่นั่ง

๑๔๙ สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้าพระเชษฐาธิราช จึง มีพระราชโองการตรัสให้ยิงปืนใหญ่ในเรือรบเรือไล่ทั้งปวงขึ้นเอา ช้างม้าข้าศึก ก็ต้องช้างม้าข้าศึกและพลล้มตายเป็นอันมาก ข้าศึก ทั้งปวงก็พ่ายไป พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว จึงตรัสแก่สมเด็จ พระอนุชาธิราช และท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงว่า พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพแสนลงมาตั้งอยู่ณสระเกษเถิง ๔ - ๕ เดือนแล้ว เพิ่ง ได้เห็นฝีมือกำลังทหารวันนี้ ดีร้อยจะเป็นเขาสงคราม ใน ๒ - ๓ วัน นี้จะยกมาอีก ถ้าจะยกลงมาเราจะตีให้เถิงสระเกษทีเดียว ตรัสเท่า ดังนั้น ก็มิได้เสด็จกลับลงมาลุมพลี ตั้งอยู่ณป่าโมก ฝ่ายพระเจ้าเชียงให ม่แจ้งว่า สะเรนันทสู พระยาเชียงแสนแตกขึ้นไป ก็ทรงพระโกรธ สั่งให้ประหารชีวิตเสีย พระยาพะเยา น้องพระเจ้าเชียงใหม่กับท้าวพระยาแสนขุนแสนหมื่น ทูลขอโทษ ให้แก้ตัว พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้โทษ แต่ทว่าให้ไปทะเวนประจาน รอบทัพ แล้วตรัสปรึกษาแก่นายทัพนายกองและแสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงว่า พระยาเชียงแสน สะเรนันทสู แตกข้าศึกขึ้นมา พระนเรศร์ พี่น้องจะมีใจกำเริบ จะยกขึ้นมาตีเถิงค่ายเรา คิดจะยกลงไปหัก เสียก่อน ท้าวพระยานายทัพนายกองทั้งปวงก็เห็นด้วย และจึงใช้ให้พระยาเชียงแสน สะเรนันทสู ถือพล ๑๕,๐๐๐ คนทั้งหลายตกแต่ง ช้างม้ารี้พลจงสรัพ และพรุ่งนี้เช้าเราจะยกเข้าไปตีทัพอันยกออกมา ดังนั้น

๑๕๐ ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสรู้ว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะยกพลเข้ามารบทัพหลวง รุ่งขึ้นณวันพฤหัสบดีเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำนั้น ตรัสให้ทัพพระเทพมนูและท้าวพระยาพระหัวเมืองทั้งหลายอันเป็นทัพหน้านั้น ยกพลข้าม ไปฟากตะวันตก และบรรดาช้างม้ารี้พลตั้งอยู่ฝ่ายทัพหลวงไซ้ ทัพ พระยาสุโขทัยเป็นกองหน้า พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้า อยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จด้วยพลายมงคลทวีป เป็นพระคชาธาร ยกช้างม้ารี้พลมาฟากตะวันตกนั้น สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้า ก็มีพระราชรำพึงว่า ให้ข้าศึกวางมาจนเกือบ แล้ว จะข้ามช้างพระที่นั่งตัดเอากลางทัพข้าศึกนั้นจงได้ จึงมีพระราช โองการตรัสให้ม้าใช้ไปสั่งแก่พระเทพมนู ให้ลาดทัพถอยก่อน แต่ ป้องกันอย่าให้พลแตกฉาน ครั้นม้าใช้ไปสั่งแก่พระเทพมนู ๆ จึงว่าแก่ม้าใช้ให้มากราบทูลพระกรุณา ว่าข้าศึกยกมาจะใกล้ถึง กันแล้ว ครั้นจะล่าถอยไซ้ เห็นจะพ่ายแก่ข้าศึกทีเดียว พระเทพมนู มิได้ลาดถอยตามรับสั่ง จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งม้าใช้ไปสั่ง ครั้งหนึ่งเล่า พระเทพมนูก็มิได้ลาดทัพถอย จึงตรัสใช้ขุนนรินทรเสนี ไปสั่งแก่พระเทพมนูให้เร่งลาดทับถอย พระเทพมนูมิฟังไซ้ ให้เอา พระเทพมนูลงจากคอช้าง และลงโทษถึงสิ้นชีวิต จึงขุนนรินทรเสนี ก็ไปว่าแก่พระเทพมนูตามพระราชโองการตรัสสั่งนั้น พระเทพมนู จะล่าทัพ เมื่อพระเทพมนูลาดทัพถอยออกนั้น พลหัวหน้าได้รบพุ่งประจันบานกันแล้ว ครั้นล่าทัพถอย ข้าศึกได้ใจ ก็วางใหญ่เข้ามา

๑๕๑ พลทหารกองหน้าพระเทพมนูทั้งปวงก็พ่ายลงมา จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสให้โหราจารย์ดู และดูสกุณเพลา บัดเดียวนั้นก็ได้เพลาอันประเสริฐดี โหราธิบดีก็ลั่นฆ้องชัยประโคมแตรสังข์ จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธ เจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จกรีธาช้างม้ารี้พลข้ามไป ครั้นช้าง พระที่นั่งข้ามถึงฝั่ง บัดเดียวทัพพระเจ้าเชียงใหม่ก็พ่ายแพ้ไป สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จตามตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่อันพ่ายไปนั้น พลทหารอาษาทั้งปวงไล่ฟันแทงข้าศึก ทั้ง ผู้ดีและผู้ใหญ่ในริมถนนและกลางทุ่งนั้นมากนัก และท้าวพระยา ฝ่ายข้าศึกคอขาดกับคอช้างในสมรภูมินั้น คือพระยาพะเยา น้อง พระเจ้าเชียงใหม่ พระยาลวะ พระยากาว พระยานครล้านช้าง พระยาเชียงราย มางยามงีบ โยคราช เจพยอางขบูร สะเรนันทสู เมืองเตริน แสนเชียงใหม่ ตายในที่นั้นประมาณ ๑๐๐๐ มีเศษ อนึ่งช้างใหญ่ฝ่ายข้าศึกตกโคลนสองช้าง และพลทหารอาษารุมแทง รุมฟันช้างอันตกโคลนตายในที่นั้นทั้งสองช้าง ได้ม้า ๑๐๐ ม้า ช้างใหญ่ ๒๐ ช้าง พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จตามตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่ อันพ่ายไปนั้นเถิงปากน้ำชะไว และ ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงผู้เป็นสมเด็จพระราชบิดา ดำรัสให้เตรียม รี้พลและเรือนั่งดั้งกัน เรือรบเรือไล่พร้อมเสร็จ และพระราชทาน เรือที่นั่งรองและเรือทั้งปวงให้พระศรีสุพรรณมาธิราช น้องพระเจ้า

๑๕๒ ละแวกโดยเสด็จด้วย ครั้นเถิงณวันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๕ บาทได้ศุภฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ยกพยุหยาตรา เสด็จโดยชลมาครด้วยพระชลวิมานขึ้นไป และซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ก็รู้ รีบเงาในค่ายหลวง ในวันนั้นเพลาจวนค่ำ สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตั้งทัพหลวงอยู่ปากน้ำชะไว จึง มีพระราชโองการกำหนดแก่ท้าวพระยาพระหลวงหัวเมืองทั้งหลายว่าเพลาย่ำรุ่งแล้วจะยกพลทหารเข้าหักค่ายพระเจ้าเชียงใหม่ให้จงได้ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แตกขึ้นไปเถิงค่าย เสียพระทัยมิได้คิด ที่จะรับรอง ครั้นแจ้งว่ากองทัพพระนเรศวรยกตามขึ้นมาเถิง ปากน้ำชะไว เกรงจะรบอยู่จะหนีมิพ้น ครั้นเพลาค่ำก็ขึ้นช้างเร็วเลิก หนีรุดไป ครั้นรุ่งขึ้นวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๑๑ ค่ำ เพลาเช้าโมง เศษ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า กับสมเด็จพระอนุชาธิราช เสด็จยก พยุหโยธาทัพใกล้เถิงค่ายสระเกษ แจ้งว่าพระเจ้าเชียงใหม่เลิกทัพ หนีไปเถิงปากพุดซา มิได้ทันพระเจ้าเชียงใหม่ ทหารกองหน้า จับได้พระยาเชียงแสน และแสนหลวง ล่ามแขก มางจอจวย ลูก แม่นมพระเจ้าเชียงใหม่ ได้ช้างม้าเป็นอันมาก แต่ช้างพังพลาย ใหญ่ .....ศอกนิ้วได้ ๑๒๐ ช้าง ได้ม้า ๕๐๐ เศษ แต่ช้างใหญ่ ๖ ศอกคืบมีเศษ พลายจนาทศักดิ์ ๑ พลายมรุดตองอู ๑ พลายมณีจักรพรรดิ ๑ พลายสิงดำ ๑ พลายมงคลชาตรี ๑ พลายแขแม ๑ พลายแก้วไกลาศ ๑ พลายโบสถา ๑ ช้างพระเจ้าเชียงใหม่ ๑ พลายหัตถีราชา ๑ พลายเกิดสวัสดี ๑ พลายภาพยาว ๑ พลาย

๑๕๓ ยาตรา ๑ พลายแปด ๑ พลายสีบุญเรือง ๑ พลายลำชาย ๑ พลายมหากุณฑล ๑ และได้พะม่ามอญลาวเชียงใหม่ล้านช้าง ไทยใหญ่ชายหญิง ๑๐,๐๐๐ มีเศษ ได้เรือรบเรือสะเบียง ๔๐๐ มีเศษและได้เครื่องสรรพยุทธ์ เครื่องม้าปืนใหญ่ จ่ารงมณฑก นกสับ มาก และได้เครื่องราชาบริโภคพระเจ้าเชียงใหม่ แตรเงิน แตรทอง โจมหุ้มทองสำรับหนึ่ง พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสามพระองค์ แต่งพลทหารให้ตามพระเจ้าเชียงใหม่ถึงเมืองนครสวรรค์ และทัพหลวงตั้งอยู่บางพุดซานั้น ทั้งทัพบกทัพเรือ ๕ วัน เถิงวันพุธ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์ เสด็จโดยชลมารค มายังกรุงพระนครศรี อยุธยา ฝ่ายพระศรีสุพรรรมาธิราช น้องชายพระเจ้าละแวก ยกกองทัพมาช่วยการสงครามตามเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ได้ให้ทัพเขมร ช่วยรบพุ่งติดตามลอดลัดสะกัดจับข้าศึก ที่แตกพลัดพวกเพื่อนเลื่อยล้านั้นได้เป็นอันมากมาถวาย แล้วพระศรีสุพรรณมาธิราช ขี่เรือพระ ที่นั่งรองล่องตามเสด็จถึงตำบลโพธิ์สามต้น เข้าจอดเรือหยุดพักให้ผู้คนพลไพร่ขุนนางรับพระราชทานอาหารอยู่นั่นก่อน สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ๆ เสด็จมาตามทีหลัง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเสด็จ มาถึงที่ตรงเรือพระศรีสุพรรรมาธิราชจอดอยู่นั้น พระศรีสุพรรณมา ธิราชถือทิฎฐิมานะว่าตัวเป็นเจ้าผู้ใหญ่ มิได้ถวายบังคมแก่สมเด็จ พระนเรศวรเป็นเจ้า ๆ ทรงพระโกรธ ว่าพระศรีสุพรรณมาธิราชทิฎฐิ ๒๐ ๑๕๔ มานะจองหองไม่เกรงพระองค์ หารู้ว่าจะผิดไม่ ดั่งสิงคาลโปฎก จึงตรัสสั่งตำราวจให้เอาลาวซะเลยที่จับมานั้นคนหนึ่ง ไปตัดศีรษะเสียบไว้ที่ตรงเรือพระศรีสุพรรณมาธิราช ให้ได้ความเจ็บอายแก่คนทั้งหลายให้เห็นโทษตัวผิด แล้วสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ก็เสด็จไปยัง พระนคร ฝ่ายพระศรีสุพรรณมาธิราชเห็นดังนั้น ก็บังเกิดโทมนัสขัดเคืองยิ่งนัก ปานประหนึ่งจะวิวาทกันขึ้นในเพลานั้น ระงับโทโสลงเสียได้ แล้วจึงพาทัพเขมรเข้าไปยังพระนคร เข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาพระราชทานรางวัลแก่พระศรีสุพรรณมาธิราช และ ขุนนางตามที่สมควร ให้เลี้ยงดูทหารไพร่เขมรในกองทัพทั้งปวงอยู่ ๒ - ๓ วัน พระศรีสุพรรณมาธิราชจึงกราบทูลถวายบังคมลา แล้ว ยกทัพกลับไปยังพระนครกัมพูชาธิบดี ครั้นเถิงจึงพระศรีสุพรรณมา ธิราชเข้าเฝ้าพระเจ้าละแวก และกราบทูลซึ่งข้อราชการ ที่ได้ไป ช่วยการสงครามนั้นสิ้นเสร็จทุกประการ และจึงกราบทูลซึ่งเหตุอันสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้ากระทำประจานให้ได้ความอัปยศเจ็บอาย ที่โพธิ์สามต้นนั้น พระศรีสุพรรณมาธิราชกราบทูลว่า ข้าพระเจ้าไปช่วยการศึกครั้งนี้ ได้ความอัปยศอดอายนัก ณวันนั้นจักขุมืด ไม่เห็นอะไรเลย น้อยใจนักแทบจะวิวาทกันขึ้น เขาข่มเหงดูถูกเรา นักแล้ว แต่นี้ไปเห็นจะขาดจากทางพระราชไมตรี แล้วพระศรีสุพรรณมาธิราชกราบทูลแก่พระเชษฐาธิราชทั้งนี้เป็นกรรมนิยม เป็นเหตุจะ ให้เสียเมืองละแวกนั้น ครั้นพระเจ้าละแวกได้ฟังดังนั้น บังเกิดโทนัส

๑๕๕ ขัดเคือง มีทิฎฐิมานะตรัสว่า เราก็เป็นกษัตริย์ เขาทำการดูหมิ่น เราดังนั้น แกล้งตัดทางพระราชไมตรีเสีย เขากระทำไม่เห็นแต่ทาง พระราชไมตรีเราแล้ว แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ทางพระราชไมตรีจะ ภินนาการขาดกัน ตั้งแต่วันนั้นพระเจ้าละแวกกับน้องชายคิดร้ายอาฆาตแก่กรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่ ครั้นแตกพ่ายไปเถิงเมืองกำแพงเพ็ชรแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็เจรจาด้วยพระมหาอุปราชา แถลงการซึ่ง ได้รบพุ่งแตกฉานทั้งปวงนั้น แล้วก็แต่งหนังสือข่าวส่งไปถวายแก่ พระเจ้าหงสาวดี แล้วพระเจ้าเชียงใหม่ก็คืนไปเมืองนครสวรรค์ พระมหาอุปราชาไซร้ตั้งอยู่ทำนาในแขวงเมืองกำแพงเพ็ชร แล้วเอา พลเมืองใหม่ต่อเรือกะจังเลาคา เรือรบทั้งปวง อันหนึ่งแต่งให้ไปซ่องสุมคนอันซ่านเซ็นอยู่ป่า ในจังหวัด เมืองเหนือทั้งปวง เมืองพิษณุโลก ให้พระศรีเสาวราชมาอยู่ เมืองสุโขทัยไซร้ ให้พระองค์ทองมาอยู่ ให้หลวงจ่ามาอยู่เมืองสวรรคโลก ให้ชื่อเป็นพระยาสวรรคโลก ให้ซ่องคนอันซ่านเซ็นอยู่ทั้งปวงนั้นให้อยู่โดยภูมิลำเนา จึงพระเจ้าหงสาวดีรู้ข่าวว่า พระเจ้าเชียงใหม่พ่ายขึ้นไปพระเจ้าหงสาวดีเร่งให้บำรุงการทั้งปวงไว้ให้สรัพ แล้วให้กำหนดมาแก่ พระเจ้าเชียงใหม่ ให้แต่งเรือลำเลียงข้าวสะเบียงให้ครบรี้พลพระเจ้า หงสาวดีอันยกมานั้น


๑๕๖ ศักราช ๙๔๙ ปีฉลูศก ( พ.ศ.๒๑๒๐ ) เดือน ๑๒ นั้น (๑) พระเจ้าหงสาวดียกช้างม้ารี้พลมาโดยทางเชียงทอง และชุมพล ทางบกทางเรือทั้งปวงในกำแพงเพ็ชร ทัพพระเจ้าหงสาวดีนั้น ช้างประมาณ ๑๐๐๐ ม้าประมาณ ๗๐๐๐ พลประมาณ ๒ แสน และเรือกะจังเลาคาทั้งปวง ๗๐๐ ลำฝ่ายทัพพระมหาอุปราชา ช้างประมาณ ๔๐๐ ม้าประมาณ ๓๐๐๐ พลประมาณ ๕๐,๐๐๐ พระเจ้าหงสาวดีไซร้ยกช้างม้ารี้พลลงมา ครั้นวาเถิงนครสวรรค์ ให้ทัพพระมหาอุปราชาและพระยาตองอูยกมาทางฟากตะวันออก ทัพพระเจ้าหงสาวดีไซร้ ยกมาทางฟากตะวันตก เถิงวันพฤหัสบดีเดือนยี่ขึ้น ๒ ค่ำ พระเจ้า หงสาวดียกทัพใหญ่เข้ามาตั้งมั่นในขนอนปากคู และให้นายหมวด ลูกพระเจ้าหงสาวดี และนักพระราม มาตั้งตำบลมะขามหยองทัพหนึ่งและให้ตั้งขุดคูเอาดินพูนค่ายขึ้นเป็นกำแพงดิน ให้พระยานครมา ตั้งตำบลปากน้ำพุดทะเลาทัพหนึ่ง พลประมาณ ๑๕,๐๐๐ ให้นันทสูมาตั้งตำบลขนอนบางลางฟากตะวันออกทัพหนึ่งพลประมาณ ๕๐๐๐ เรือกะจังเลาคาประมาณ ๔๐๐ อยู่สำหรับทัพนั้นส่วนพระมหาอุปราชาและพระยาตองอู ก็ยกทัพมาโดยทางลพบุรีและสระบุรี แล้วเข้าตั้งทัพมั่นในตำบลชายเคือง พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองคตรัสให้ตกแต่ง การที่จะป้องกันพระนครนั้นให้มั่นคงแล้ว ก็ให้ชุมท้าวพระยาพฤฒามาตย์ เสนานตรีมุขสมณพราหมณาจารย์ทั้งหลาย

( ๑ ) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๔๘ จอศก ๑๕๗ จึงพระราชโองการตรัสพิพากษาการศึก ด้วยท้าวพระยาพฤฒามาตย์ทั้งหลายว่า พระเจ้าหงสาวดียกพลศึกมาตรานี้เป็นใหญ่หลวง เห็นจะได้รบพุ่งกันเป็นสามารถยิ่งกว่าศึกพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาคราวที่แล้วนั้น เราจะเพื่อยกทัพใหญ่ออกไปรบพุ่ง และให้ท้าวพระยาพระ หัวเมืองขุนหมื่นทั้งหลาย ตรวจตราจัดพลทหารอาษา ทัพยกทัพเรือ ทั้งปวงให้สรัพไว้ และจะแต่งพลทหารอาษา แต่เป็นกองเล็กไปกันให้ราษฎรทั้งปวงเกี่ยวข้าว ซึ่งเหลืออยู่ในท้องนาอันรอบพรนครนั้นให้ ได้จงสิ้นเชิงก่อน อย่าให้ได้เป็นกำลังแก่ข้าศึกนั้นได้ ครั้นเราได้ ตกแต่งบำรุงการทั้งปวงสรัพแล้ว และเห็นควรที่จะยกออกไปตีทัพ ข้าศึกนั้นได้ไซร้ ก็จะยกออกไปโดยเวลาอันควรนั้น พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัส ให้แต่งขุนหมื่นทหารอาษาทั้งหลาย ถือพลอาษาออกไปเป็นหลายกองและป่าวให้ราษฎรทั้งปวงออกไปเกี่ยวข้าวทุกตำบล และพลทหารซึ่งออกไปกันให้เกี่ยวข้าวนั้น ได้รบพุ่งด้วยข้าศึก ได้ข้าศึกและหัวข้าศึก เข้ามาถวายทุกวันมิได้ขาด พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสามพระองค์ ก็ให้พระราชทานรางวัลแก่ขุนหมื่นชาวทหารทั้งปวง โดยบำเหน็จอันได้รบพุ่งมาและน้อยตามสมควรนั้น ในขณะนั้น สมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ตรัสให้เจ้าพระยากำแพงเพ็ชรบังคับราชการในที่กลาโหม จึงตรัสให้เจ้าพระยากำแพงเพ็ชร ถือ พลทหารล้อมวังออกไปกันให้ราษฎรทั้งหลายเกี่ยวข้าวในทุ่งชายเคือง ที่ ทัพมหาอุปราชาแต่งพลประมาร ๑๐๐๐ ยกเข้ามา รบพุ่งเป็นสามารถ

๑๕๘ เจ้าพระยากำแพงเพ็ชรก็พ่ายเข้ามาพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธ เจ้าอยู่หัวทั่งสองพระองค์ ตรัสทรงพระโกรธแก่พระยากำแพงเพ็ชรบรรดาจะให้ลงโทษโดยโทษานุโทษไซร้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาแก่เจ้าพระยากำแพงเพ็ชร ว่าเป็นแต่พอ่เรือนมิได้เป็นทแกล้วทหาร จึงตรัสขอโทษแก่เจาพระยากำแพงเพ็ชรนั้น แต่พระ บาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ แล้วก็ให้ ตราภาคทัณฑ์ไว้แก่เจ้าพระยากำแพงเพ็ชร พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสพิพากษาด้วยท้าวพระยาเสนามาตย์โยธาทั้งหลายว่า ซึ่งเจ้าพระยากำแพงเพ็ชรพ่ายเข้ามาให้ข้าศึกได้ใจดังนี้เราจะไว้ช้ามิชอบ ชอบเรา จะยกทัพหลวงออกตีทัพพระมหาอุปราชา อย่าให้ตั้งในชายเคืองนั้นได้ และข้าหลวงราษฎรทั้งปวงจึงจะได้ออกไปเกี่ยวข้าวในท้องทุ่งสะดวกพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งให้ตรวจพลทหารอาษา ให้เอาเครื่องสรรพยุทธ์ปืนใหญ่และปืนจ่ารง มณฑก นกสับ ลงบรรจะเรือรบเรือไล่ ๒๐๐ ลำนั้น สรัพจึงแต่งทหารให้ลอบออกไปทางบกทางเรือที่ชอบกล และจะไว้เรือและปืนใหญ่รบข้าศึก เพื่อจะยั่วให้ไล่เข้ามานั้น อนึ่งที่จะซุ่มทหารไว้เมื่อจะวางปืนใหญ่ แล้วและจะให้ออกทะลวงฟันเอาข้าศึกนั้น ครั้นดู ท่าทางเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสอง พระองค์ ก็เสด็จโดยชลมารคด้วยพระชลวิมาน และเรือท้าวพระยาพระหัวเมืองขุนหมื่นทหารทั้งปวง แห่โดยขบวนหน้าหลัง จึงเสด็จ

๑๕๙ ออกไปในชายเคืองที่ทัพพระมหาอุปราชาตั้งอยู่นั้น แล้วตรัสให้ทหาร อาษาขึ้นไปยั่วข้าศึกเถิงใกล้ค่าย และข้าศึกก็ยกออกมาได้รบพุ่งกัน และข้าศึกก็วางลงมาเถิงริมน้ำ จึงวางปืนใหญ่และปืนจ่ารง มณฑก นกสับ ขึ้นไปแต่เรือรบ ต้องพลช้างม้าข้าศึกตายมาก และพลข้าศึก นั้นขังต่อรบพุ่งอยู่เป็นสามารถ ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จลงเรือพระที่นั่งลำเดียวกัน และเสด็จออกยืนหน้าแคร่พระที่นั่งทั้งสองพระองค์ทรงปืนนกสับ ยิงต้องข้าศึกช้างม้าและคนตายมากนัก จึงพลปืนไฟตอบมาเป็นสามารถฝ่ายข้าศึกก็ลงมาสะกัดข้างหลังเรือพระที่นั่ง แล้วยิงปืนไฟตอบมา เป็นสามารถ และเรือรบข้าหลวงทั้งปวงพ่ายมาสิ้นแล้ว ยังแต่เรือ พระที่นั่งและเรือรบ ๕ ลำ อยู่ยิงตอบกันไปมา และข้าศึกยิงปืนไฟ มาต้องฉลองพระองค์ สมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมบพิตรพระพุทธ เจ้าอยู่หัวอันทรงนั้น แต่ปลายพระหัตถ์ขาดขึ้นไปถึงต้นพระพาหุ อนึ่งข้าศึกยิงปืนไฟมาต้องคนในเรือกันนั้น แต่กระสุนปืนนกสับข้าศึก ยิงมานั้น ตกอยู่ณเรือพระที่นั่งนับประมาณ ๓๐ กระสุน พอเพลาค่ำเสด็จคืนเข้าพระนคร ครั้นณวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ เพลา ๑๑ ทุ่ม สม เด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า กับสมเด็จพระอนุชา เสด็จยกพยุหยาตราทัพออกจากพระนครข้ามไป สมเด็จพระเชษฐาทรงช้างต้นเจ้าพญา ปราบไตรจักร สูง ๖ ศอก ๑๑ นิ้ว ติดน้ำมันหน้าหลังสมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้า ทรงพระคชาธารจักรมหิมา สูง ๖ ศอกคืบ ติดน้ำมัน

๑๖๐ หน้าหลัง เจ้าพระยามหาเสนา ขี่ช้างปราบไตรภพ สูง ๖ ศอกคืบ เจ้าพระยาจักรี ขี่ช้างแก้วสังหาร สูง ๖ ศอก ๔ นิ้วเอาขุนหมื่น กองช้างนอก ขี่ช้างพังกันกลางหว่างละ ๔ ช้าง ให้มอญเข้าไป ร้องหน้าค่ายพระเจ้าหงสาวดีว่า มีหนังสือบอกพรมหาอุปราชา ให้มากราบทูล ให้เร่งเปิดประตูรับเจ้าหน้าที่ นายประตูร้องว่า จะกราบทูลก่อนจะเปิดยังมิได้ สักครู่หนึ่ง ในค่ายพระเจ้าหงสาวดีวางปืน จ่ารง มณฑก นกสับ ระดมมา สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า กับ พระอนุชาธิราชเป็นเจ้า เห็นว่าข้าศึกรู้ตัวแล้วก็เสด็จลงเรือพระที่นั่ง คืนเข้าพระนคร ครั้นณวันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินออกไปตั้งทัพชัย ตำบลวัดช่องลม ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๗ ขึ้น ๘ ค่ำ เอาปืนพระกาลมฤตยูราชใส่สำเภาขึ้นไปยิงค่ายพระเจ้าหงสาวดีณขนอนปากคู พระเจ้าหงสาวดีชาวพระนครเอาปืนใหญ่ใส่สำเภามายิงได้ถึงค่าย ก็เลิก ทัพไปตั้งปากโมกใหญ่ ครั้นวันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ สมเด็จพระนเรศวร เป็นเจ้า กับสมเด็จพระอนุชาธิราช ยกขึ้นไปตีทัพพระเจ้าหงสาวดี ถึงปากโมกใหญ่ เสด็จทางชลมารค แต่ทัพบกยก ๒ ฟากฝั่ง ข้าศึกขนาบตีทัพบก ๒ ฟากฝั่ง ทัพกรุงแตกยกย่นลงมาถึง ทัพหลวง และกระสุนปืนข้าศึกยิงลงมาต้องบ่อโทนเรือพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ศรีษะขรั้นออกไป สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า

๑๖๑ กับสมเด็จพระอนุชาธิราช ก็กรีธาทัพขึ้นบกข้าทหารล้วนถืออาวุธสั้น สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพรงแสงดาบ ๒ พระหัตถ์ และทัพบกซึ่งยกลงมานั้นก็มีน้ำใจ กลับหน้าพร้อม กัน สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้ากับสมเด็จพระอนุชาธิราช ก็ต้อน พลทะลงไล่ฟันข้าศึกๆ ก็แตกฉานตายและลำบากเป็นอันมาก แล้ว ก็เสด็จกลับเข้าพระนคร ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ยกมาติดพระนครถึง ๖ เดือน จนถึงวสันตฤดู เสียพลทหารเป็นอันมาก เห็นจะเอาพระนครมิได้ ก็เลิกทัพกลับไป ขณะเมื่อทัพพระเจ้าหงสาวดียกมาถึงนั้น ข่าวแจ้งออกไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดีประเทศ พระเจ้าละแวกก็ดีพระทัย จึงแต่งให้ เจ้าฟ้าทลหะ พระยาเดโช พระยาราชนายก พระยามโนไมตรี พระยาสวรรคโลก แสนทองฟ้ากับทหาร ๑๐,๐๐๐ ให้เจ้าฟ้าทลหะ เป็นแม่ทัพ ยกเข้ามาตีหัวเมืองแถบตะวันออก เจ้าฟ้าทลหะมิได้ เดินตามทางใหญ่ ลัดมาท่าป่า สี่ เส้น มาบ้านหอกด่านควายเข้าจุตี เมืองปราจีนแตก กรมการเมืองนครยกบอกเข้ามา สมุหนายกขึ้น กราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทราบ ก็ทรงพระโกรธ จึงตรัสแก่สมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราช ราชโอรสว่า เหตุไฉนพระ เจ้าละแวกจึงกลับมาเป็นปัจจามิตรดังนี้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า กราบบังคมทูลฉลองพระราชโองการว่า พระเจ้าละแวกมิได้ตั้งอยู่ ในสัตยานุสัตย์ ปราศจากวิจารณญาณ ฟังคำน้องชายให้เสียทางพระพระราชไมตรี คอยแต่ซ้ำกันดังนี้ ความแค้นข้าพระบาทดังต้องปืน ๑๖๒ พิศม์ ขอให้พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช กับพลทหาร ๕๐๐๐ ยกออกไปตี พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็บัญชาตามและพระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช กราบถวายบังคมลา แล้วก็ยกไปทางบ้านนาเริ่ง ถึงเมืองนครนายกณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ แรม ๗ ค่ำ ครั้นณวันศุกร์ เดือน ๖ แรม ๘ ค่ำ เพลา ๒ โมงเช้า ทัพเขมรก็ยกตีเข้ามาถึงเมืองนครนายก พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช ก็ยกออกตีเขมรถอยไปทางด่านหณมาณออกทางด่าน พระจาฟก พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช ก็ตีไปจนสิ้นแดนกองทัพเขมรเจ็บป่วยล้มตายรายทางไป จับใด้เป็น และเครื่อง สาตรวุธเป็นอันมาก พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช ก็กลับเข้ามาตั้งอยู่ณเมืองปราจีนแล้วก็บอกเข้ามาว่า กองทัพเขมรนั้นแตกไปแล้วจะขอมาทำราชการฉลองพระเดชพระคุณ ส่งเขมรชะเลยและเครื่องสาตราวุธเข้ามาถวาย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงให้ตอบออกไปว่า ทัพหงสาวดียังมิได้แตกฉาน จะไว้ใจแก่พระเจ้าละแวกมิได้ เกลือกจะแต่งกองทัพยกเข้ามาอีก จะเสียปัจจันตชนบทอย่าเพ่อให้พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช ก็เลิกทัพกลับเข้ามา ให้อยู่รักษาหัวเมืองแถบตะวันออกก่อน ต่อเมื่อใดทัพหงสาวดีแตก ไปแล้ว จึงให้เลิกทัพกลับเข้ามา ครั้นแจ้งว่าทัพหงสาวดีแตกไปแล้ว พระยาศรีไสยณรงค์ พระยาศรีราชเดโช ก็เลิกทัพกลับเข้ามา ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี ครั้นเถิงพระนครแล้ว ก็ทรงพระดำริ แต่ที่จะเอากรุงพระมหานครศรีอยุธยา ก็ให้จัดทะแกล้วทหาร บำรุง ๑๖๓ ช้างม้ารี้พลสรรพสาตราวงุธสะเบียงอาหาร กระสุนดินประสิวไว้ให้พร้อมเสร็จ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีให้เตรียมทัพนั้น พล ๕๐๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๓๐๐๐ ม้า ๑๐,๐๐๐ ให้พระมหาอุปราชากับพระเจ้าเชียงใหม่นั้น เข้ากระบวนทัพด้วยกัน ครั้นณวันอาทิตย์เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง ศักราช ๙๔๐ ปีขาลสัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๑๒๑ ) เพลาอุษาโยค สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ก็ทรงเครื่องพิชัยยุทธนาลังกาภรณ์วิภูษิตพัตรโพกมหิมาดูมโหฬาราดิเรก สำหรับขัติยราชรามัญประเทศโดยวารดิถีเสร็จ ครั้นได้เพลามหามุตุฤกษ์มังคลา โหราธิบดี ลั่น ฆ้องชัย ชีพ่อพราหมณ์ถวายเสียงสังข์ประนังศัพท์ฆ้องกลองกาหล สนั่นนินนาทเสด็จทรงช้างพลายชัยมงคลเป็นราชพาหนะ ประดับ เครื่องคชาภรณ์อลังการเคลื่อนพยุหโยธาหาญโดยกระบวนซ้ายขวาหน้าหลัง พลดาบดั้งโตมรสลอนสล้าง พลเล่ห์โล่ห์ทวนทองสลอนยะยาบพลดาบเขนเป็นขนัดเรื่อรายดูสุดสายตาไสว ถือธงชัยธงฉานวาลวิชนี กลิงกลดบดบังแสงทินกรไพโรจน์โชตนาการพันลึก อธึกดูพร้อม พรั่งดาษดา รอนแรมมาโดยสถลมารค ข้ามแม่น้ำเมาะตะมะเข้าทางเมืองกำแพงเพ็ชร เสด็จเถิงที่ใกล้กรุงพระนครศรีอยุธยาณวันอังคารเดือนอ้ายแรม ๑๔ ค่ำ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตั้งทัพค่ายบางปะหันพระมหาอุปราชาตั้งค่ายกุมดอง พระเจ้าแปรตั้งค่ายสีกุก พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งตำบลวัดสังกะวาด สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าตรัสทราบว่าทัพพระเจ้าหงสาวดียกมา ก็ม้าทวนกับทหาร ๓ กอง กองหนึ่ง ๒๒ คน กองหนึ่ง ๔๒ คน

๑๖๔ กองหนึ่ง ๗๒ คน ขึ้นม้าถือทวนครบ เมื่อยกออกไปกองหน้าข้าศึก ออกมารบ ทหารกรุงเทพมหานครตีแตกฉานเข้าไป สมเด็จพระ นเรศวรเป็นเจ้าทรงคาบพระแสงดาบกับทหารปีค่ายขึ้นไป ข้าศึก ในค่ายเอาทาวนแทงพลัดตกลงมาเป็นหลายครั้ง ขึ้นมิได้ จึงทรงม้า ที่นั่งกลับเข้ามาพระนคร ข้าศึกจึงเอาการซึ่งได้รบพุ่งไปกราบทูล สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ตรัสถามเสนาบดีว่า พระนเรศวรออกมาทำเป็นอย่างทหารดังนี้ เหมือนหนึ่งเอาพิมเสนมาแลกเกลือ พระราชบิดานั้นจะรู้หรือหาไม่ เสนาบดีกราบทูลว่า เห็นพระราชบิดาจะไม่รู้หรือรู้แล้วจะมิได้ให้ออก มาทำ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสสั่งว่า พระนเรศวรทำศึกอาจหาญ หนัก ถ้าออกมาอีก ถึงมาตรว่าเราจะเสียทหารมากก็จะแลกเอาตัว ให้จงได้ แล้วสั่งให้จัดทหารที่มีฝีมือสันทัด ทุกทัพทุกกองให้ได้ ๑๐,๐๐๐ เอาไปช่วยค่าลักไวทำมูทหารทดตำบลลุมพลี ถ้าพระ นเรศวรออกมาตีค่าย ให้กุมเอาเป็นจงได้ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทรงม้าพระที่นั่งออกไปทหาร ๓ กอง ทัพล้อมวง ๑๐๐๐ ถือโตมรและดาบดั้งออกไป ได้รบพุ่งกันแต่ เพลาเช้า ๓ โมงจนถึง ๔ โมงข้าศึกแตกเข้าไปอยู่สักครู่หนึ่ง กลับ เอาม้า ๓๐ ออกมายั่วทัพ จึงแต่งเป็นปีกฉนางและกองซุ่มไว้ ปีกหนึ่ง ลักไวทำมู ปีกหนึ่งทหารทด สมเด็จ พระนเรศวรเป็นเจ้าทรงม้า ทวนไล่ข้าศึกเข้าไป และข้าศึก ๒ ปีกออกหุ้มพระองค์และทหารนั้น เข้าไว้ ลักไวทำมูถือดาบดั้งเข้ามาจะกุมเอาพระองค์ ๆ ทรงแทรกด้วย

๑๖๕ พระแสงทวนถูกลักไวทำมู ๆ ฟันต้องพระแสงทวนเป็นแผล แต่ลัก ไวทำมูตาย ทหารทดถือโตมรและหอกใหญ่ตรงเข้ามา ทรงฟัน ด้วยพระแสงดาบถูกสะพายแล่งล้มลงตาย ก็เสด็จกลับเข้ามาพระนคร สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ให้เข้ามาตีค่ายชาวพระนคร ถึง ๒-๓ ครั้งมิได้แตกฉาน จึงตรัสว่าจวนเทศกาลฟ้าฝนน้ำนองอยู่แล้ว ก็ส่งให้เลิกทัพเสด็จกลับไปเมืองหงสาวดี ครั้นลุศักราช ๙๔๑ ปีเถาะเอกศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๒๒ ) วันอาทิตย์เดือน ๘ แรม ๑๓ ค่ำ สมเด็จพระมหาธรรมราชาเจ้าทรง พระประชวร ครั้นณวันอังคารเดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ เสด็จสวรรคตพระชนมายุได้ ๗๖ พระวษา อยู่ในราชสมบัติ ๒๒ ปี (๑๘ ) รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าพระชนมายุ ๓๕ พระวษาได้ขึ้นเสวยสมบัติ (๒) แต่งการถวายพระเพลิงสมเด็จพระราชบิดาเสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสแก่มุขอำมาตย์ ว่าแผ่นดินกรุงกัมพูชากุรุ ราฐนั้น ผู้ใดครองสมบัติจิตต์มักเป็นสันดานพาลทุจจริต เหมือน พระเจ้าละแวกบิดานักพระสุโท นักพระสุทัน เมื่อศึกกรุงหงสาวดียก มาคราวแรก ครั้งสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้าผ่านพิภพใหม่นั้น พระ

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๕๒ ขาลศก (๒).....ไม่กล่าวถึงการราชาภิเศก เป็นแต่เล่าว่าศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก วันจันทร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท

๑๖๖ เจ้าละแวกยกทัพเข้ามาพลอยซ้ำตีกวาดเอาครัวอพยพชาวเมืองปราจีน บุรีไปจนสิ้น สมเด็จพระบรมราชอัยกาเสด็จยกออกไปปราบ จึง ถวายนักพระสุโท นักพระสุทัน ราชบุตรเข้ามา แล้วนักพระสัตถาไปเอาทัพญวนมาตีฆ่าบิดานักพระสุโท นักพระสุทันเสีย นักพระสัตถา ได้สมบัติกรุงกัมพูชาธิบดีเป็นพระเจ้าละแวก ครั้นแผ่นดินของพระ ราชบิดาเรา ก็ยกทัพจู่มาถึงวัดสามพิหาร จนเสียพระจำปาธิราช ลูกชาย ก็ยังหาเข็ดหลาบไม่ มีศึกหงสาวดีมาติดพระนครครั้งใด ก็มีแต่ยกทัพมาพลอยซ้ำตีกวาดเอาประชาราษฎรข้าขอบขันธเสมาไปทุก ๆครั้ง แล้วกลับแต่งทูตานุทูตมาขอเป็นทางพระราชไมตรี สมเด็จพระบรมราชบิดาเรามิได้มีพระทัยอาฆาต เพื่อมิให้เสียธรรมราชประเพณี จนปันเขตต์แดนปักศิลา อันศึกพระเจ้าเชียงใหม่ยกมา พระเจ้าละแวกให้น้องชายเข้ามาช่วยงานพระราชสงคราม น้องชาย นั้นมิได้มีสติสัมปชสัมปชัญญะ ดุจหนึ่งสิงคาลชาติโปฎกพระเจ้าละแวกก็ปราศจากวิจารณปัญญามีแต่พาลทุจจริในสันดาน ละสัตย์สุจริตธรรมเสีย กลับยกทัพมาตีปัจจันตชนบทอีกเล่า ความแค้นของเรา ดังว่าเสี้ยนยอกอยู่ในอุราไม่หายเลย และครั้งนี้แผ่นดินเป็นของเรา แล้ว เราจะยกไปแก้แค้นเอาโลหิตพระเจ้าละแวกล้างบาทาเสียให้จงได้ตรัสแล้วสั่งให้เกณฑ์สกรรจ์ลำเครื่องหยิบแสน ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๑๕๐๐ น้ำลงแห้งเท้าช้างเท้าม้าแล้วจะยกไป ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดี แจ้งข่าวไปว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาดับสูญทิวงคตแล้ว จึงตรัสแก่พระมหาอุปราชา ว่าเจ้ากับมหาราชเจ้า

๑๖๗ พระนครเชียงใหม่ จงยกทัพลงไปฟังอิงกิดาการดู พระนครศรี อยุธยาผลัดแผ่นดินใหม่ เสนาพฤฒามาตย์ราษฎรทั้งปวงจะเป็นจลา จลประการใดบ้าง ถ้าพอจะทำได้ ให้ทำอย่าให้เสียที พระมหาอุปราชากราบทูลสพระราชบิดาว่า โหรทายว่าชัณษาข้าพระพุทธเจ้าร้ายหนักสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่า พระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีบุตร การสงครามไม่พักให้พระบิดาใช้เลย ต้องห้ามเสียอีก และซึ่งเจ้าว่าเคราะห์ร้ายอยู่แล้วก็อย่าไปเลย เอาผ้าสตรีนุ่งเสียเถิดจะได้สิ้นเคราะห์พระมหาอุปราชาได้ฟังรับสั่งดังนั้น กลัวพระราชอาชญาพระราชบิดา ก็มาตรวจเตรียมช้างม้ารี้พล และมีพระราชกำหนดไป ถึงพระเจ้าเชียงใหม่ให้ยกมา พระเจ้าเชียงใหม่แจ้งในพระราชกำหนดแล้วก็ ยกทัพมากรุงหงสาวดี ศักราช ๙๔๒ ปีมะโรงโทศก (พ.ศ. ๒๑๒๓ )พระมหาอุปราชา พระเจ้าเชียงใหม่ ยกพล ๕๐๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๗๐๐ ม้า ๓๐๐๐ มาข้ามเมืองเมาะตะมะ มาโดยทางแม่กษัตริย์ เข้าทางพระเจดีย์สามองค์ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ครั้นณวันอาทิตย์ ดือนอ้าย ขึ้น ๖ ค่ำ มีพระราชดำรัสสั่งให้เกณฑ์หัวเมืองปากใต้ทัพหนึ่ง เสร็จแล้วกำหนดพระกฤษ์จะยกไปเอาเมืองละแวก ครั้นณวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำจึงมีพระราชโองการ สั่งมุขผู้ใหญ่ให้รักษาพระนคร ตรัสว่าทัพพระเจ้าหงสาวดีแตกครั้งนี้เป็นทัพซึ่งจะบำรุงช้างม้ารี้พล และจะกลับในน้ำลงปีนี้เห็นจะไม่ทัน แต่ทว่าจะไว้ใจมิได้ เกลือกจะคลั่งสงครามยกมา ถ้ายกมาก็ให้รักษาเมืองไว้ท่าเราเดือนหนึ่งให้ได้

๑๖๘ สั่งแล้วพอเพลาเย็นมีหนังสือแต่เมืองกาญจนบุรีบอกเข้ามาว่า ทัพ พระมหาอุปราชา พระเจ้าเชียงใหม่ ยกมาถงเมืองกาญจนบุรี ทำสะพานข้ามอยู่แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบดังนั้น ก็ดำรัสว่าเราเทียบรี้พลช้างม้าไว้จะยกไปเอาเมืองละแวก บัดนี้ทัพหงสาวดียกมา อีกเล่า จำยกออกไปเล่นสนุกกับทัพมอญเสียก่อน แล้วมีพระราชกำหนดไปให้พระอมรินทฦๅชัย เจ้าเมืองราชบุรี แต่งคน ๕๐๐ ขึ้น ไปซุ่มอยู่ ถ้าข้าศึกข้ามสะพานแล้วให้สะพานเผาเสียจงได้ ฝ่ายพระมหาอุปราชา เสด็จยกทัพหลวงถึงกาญจนบุรี เห็นเมืองร้างเปล่าไม่มีคน ก็เข้าพระทัยว่าชาวพระนครรู้การแล้ว จึง เทครัวอพยพเข้าเมืองสิ้น เสด็จประทับแรมอยู่ณเมืองกาญจนบุรี ให้เที่ยวลาดจับคนจะถามกิจการก็มิได้ ส่วนพระยาจิดตองกองหน้าก็เร่งทำสะพานข้ามเสร็จ รุ่งขึ้นพระมหาอุปราชาก็เสด็จกรีธาทัพหลวงมาโดยมารควิถี ถึงตำบลพนมทอนเพลาชายแล้ว ๓ นาฬิกา บังเกิด วายุ เวรัมภวาต พัดหวนหอบธุลีฟุ้งผันเป็นกงจักร กระทบถูกมหาเศวตฉัตร ซึ่งกั้นมาหลังพระคชาธารนั้นพับลง พระมหาอุปราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็ตกพระทัย ให้โหรสำหรับทัพทำนายถวายพยากรณ์ว่าเหตุนี้ถ้าเพลาเช้าในเที่ยงร้าย นี่ชายแล้วเห็นเป็นศุภนิมิตรที่พระองค์จะมีชัยได้พระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระราชบิดาจะเลื่อนทางพระองค์ขึ้นจากที่เศวตฉัตรมหาอุปราชา เถลิงถวัลราชราชัย ศวรรยาในกรุงหงสาวดีเป็นมั่นคง พระมหาอุปราชาตรัสได้ฟังดังนั้น ก็ยังมิวางพระทัย จนเสด็จถึงตำบลตะพังตรุแดนสุพรรณบุรี ให้ตั้งทัพ

๑๖๙ ชัยโดยขบวนแล้ว ตรัสให้กองม้า ๓๐๐ ลาดมาดูถึงตำบลเอกราช บางกะทิงว่าทัพชาวพระนครจะตั้งรับอยู่ตำบลใดบ้าง ส่วนสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าตรัสปรึกษาด้วยมุขมาตยาทั้งปวง ว่าข้าศึกมหาอุปราชายกมาครั้งนี้ เรา จะกรีธาพลออกต่อยุทธนาการกลางแปลงดีหรือจะตั้งมั่นรับในพระนครดี มุขมนตรีกราบทูลว่าพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าทราบอยู่ว่า พระมหาอุปราชาเกรงพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้งเมื่อเสด็จไปช่วยงานพระราชสงคราม กรุงหงสาวดีไปตีเมืองรุม เมืองคังครั้งหนึ่งแล้ว และครั้งเมื่อสมเด็จพระเจ้าหงสาวดับพระมหาอุปราชา คิดเป็นการลับ ลวงให้เสด็จขึ้นไปทำร้ายทำมิได้จนทันวันทัพหลวงกวาดเอามหาเถรคันฉองกับพระเกียรติ พระยาพระราม และญาติ โยมครั้งอพยพในชนบทประเทศเขตต์ขันธเสมากรุงหงสาวดี มาข้าม ฟากแม่น้ำสะโตง พระมหาอุปราชาตามมาทันฟากละฝั่งฟากน้ำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระแสงปืนนกสับยิงข้ามฝั่งมหานทีอันกว้างต้องสุระกำมานายกองหน้าตาย พระมหาอุปราชาและท้าวพระยาสมิงรามัญ ก็ขยาดฝีพระหัตถ์ เกรงพระเดชเดชานุภาพเป็น ๒ ครั้ง แล้ว และซึ่งพระมหาอุปราชายกมาครั้งนี้ประหลาดนัก ด้วยศึกพ่าย ไปเดือน ๗ ไปทันบำรุงช้างม้ารี้พลถึงขนาด และเดือน ยี่ (๑) ยกมา

(๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๕๔ มะโรงศก วันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ๒๒ ๑๗๐ ถึงพระนครนี้เห็นเร็วนัก ดีร้ายจะได้ข่าวว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคต คิดว่าแผ่นดินเป็นจลาจล จึงรุดมาโดยทำนองศึก ครั้นจะรับมั่นในกรุง ข้าศึกจะได้ใจ ขอเชิญเสด็จทัพหลวงยกออกตั้งนอกกรุง แต่งกองทัพเข้าปะทะฟังกำลังศึกดู ถ้าศึกหนักจึงทัพหลวงเสด็จออกหักต่อภายหลัง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ได้ทรงฟังมุขมนตรีกราบทูลดังนั้นก็ชอบพระทัยนัก แย้มพระโอฐ ดำรัสว่า ซึ่งปรึกษาการสงครามครั้งนี้ต้องความดำริเรา บัดนี้ทัพเราเตรียมอยู่บางขอดพร้อมอยู่แล้ว ให้ยกไปตั้งปากโมก เอาแต่ ทัพหัวเมืองตรีจัตวา ๒๓ หัวเมืองเป็นคน ๕๐,๐๐๐ ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่กอง ให้พระยาราชฤทธานนนท์ เป็นยกรบัตร ยกไปขัดรับหน้าข้าศึก อยู่ ณตำบลทุ่งหนองสาหร่าย พระยาศรีไสยรงค์ พระยาราชฤทธานนท์ กราบถวายบังคมลาออกมาจัดแจงไพร่พล ยกทัพไปโดยพระราชบัญชาสั่งนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้โหราหาฤกษ์ พระโหราธิบดีหลวงโลกทีป ขุนเทพพยากรณ์คำนวณพระฤกษ์ถวายว่า สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวได้จัตรงคโชคสรรพฤกษ์พร้อมมีชัยข้าศึก ขอเชิญเสด็จจากพระนคร ณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๕ บาท สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้สมุหนายก กำหนด ทัพหลวงเสด็จโดยชลมารคไปตั้งทัพชัยพ้นปากโมก สมุหนายกก็แจกพระราช กำหนด ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ฝ่ายทหารพลเรือนเตรียมการอัน จะเสด็จพระราชดำเนินนั้นเสร็จ

๑๗๑ ครั้นณวันอาทิตย์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำเพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๕ บาท สุมหุดีมหาวิชัยฤกษ์ สมเด็จพระบาทบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องสำหรับพิชัยสงคาม ก็เสด็จ ทรงเรือพระที่นั่งศรีสมรรถชัย สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ทรงเรือพระ ที่นั่งไกรสรมุข พิมาน อันอลังการรจนาด้วยมหาเศวตฉัตร ขนัดเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังศรีรวีวัน บังแทรกสลอนสลับ สรรพ ด้วยกรรชิงกลิงกลดจามรดาษดาดูมะโหฬารเลิศพันลึก อธึกด้วย กระบี่ ธงฉานธงชัย แลสว่างไสวไพโรจน์ด้วยเรือประจำนำท้าวพระยาสามนตราราชเรียงเป็นระยะ โดยกระบวนพยุหยาตราหน้าหลังทั้งปวงพร้อมเสร็จ พออุดมฤกษ์พระโหราธิบดีก็ ลั่นฆ้องชัยราชครูทิชาจารย์ เป่ามหาสังข์ทักษิณาวัฎ ประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรีฆ้องกลอง ก้อง นี่สนั่นมหาอรณพน ที่เคลื่อนเรือกระบวนพยุหยาตราโดยชลมารค ก็เถิงประทับขนานหน้าพลับพลาชัยป่าโมก เพลาบ่ายแล้ว ๒ นาฬิกา ๔ บาท เสร็จจัดทัพประทับแรมอยู่ที่นั้น กำหนด ๑๑ ทุ่ม ๓ บาท ทัพหลวงจะเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อเพลา ๑๐ ทุ่มสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินนิมิตร์ว่า น้ำ นองท่วมป่ามาฝ่ายประจิมทิศ ลุยชลธีเที่ยวไปพบมหากุมภีล์ตัวใหญ่ ได้สรรพยุทธนาการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประหารกุมภีล์ตาย ประทมตื่นขณะนั้นตรัสให้โหรทาย พระโหราธิบดีทูลทำนายว่าศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง จะได้ถึงซึ่งมหายุทธหัตถี แต่ทว่าพระองค์จะมีชัย จะลุยไล่ประหารปัจจมิตร์ข้าศึก ดุจพระสุบินว่าเที่ยวลุยกระแสน้ำฉะนั้น

๑๗๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟังดีพระทัยนักทรงเครื่องสำหรับราชรณยุทธ์ สรัพเสร็จเสด็จยังเกยคอยฤกษ์ ทอดพระเนตร์เห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จปาฏิหารย์ ช่วงเท่าผลส้มเกลี้ยงมาแต่ขิณทิศ เวียนเป็นทักขิณาวัฏแล้วเสด็จผ่านไปอุดรทิศ ทรงพระปีติสร้านไปทั้งพระ องค์ ยกพระหัตถ์ถวายทัศนัขสโมธาน อธิษฐานขอสวัสดิชัยแก่ปรปักษ์พระโหราธิบดีก็ให้ประโคมแตรสังข์ดุริยาวคดนตรีพร้อมกัน สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงช้างต้นเจ้าพระยาไชยานุภาพ ติดน้ำมันหน้าหลัง เป็นราชพาหนะ สมเด็จพระนุชาธิราชเจ้าทรงช้างต้นเจ้าพญา ปราบไตรจักร ติดน้ำมันหน้าหลังเป็นพาหนะ พร้อมด้วยช้างท้าว พระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวง เสด็จพยุหยาตราทัพโดย แถวสถลมารค ไปเข้าที่เสวยตำบลบ้านละแก้วละเล่า แล้วเสด็จยกไป ตามท้องทุ่งเพลาเที่ยง พระอาทิตย์ทรงกลดร่มช้างพระที่นั่งไปจนบ่าย ๓ โมง พอกะทั่งกองหน้าซึ่งตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย เสด็จประทับเกยใต้ฉายาไม้ประดู่ใหญ่อันสถิตย์เหนือจอมปลวก เอาเป็นนิมิตร์ ครุฑนามชัยภูมิ สั่งให้เร่งตั้งค่ายกองหน้าหลังปีกซ้ายขวาเป็นนิมิตร์ครุฑนามชัยภูมิ สั่งให้เร่งตั้งค่ายกองหน้าหลังปีกซ้ายขวาเป็นกระบวนปทุมพยุหะ ฝ่ายสมิงจะคร้าน สมิงเปอ สมิงทราย ม่วน นายกองม้าคอยเหตุเห็นกองทัพหน้าและทัพหลวงดังนั้น ก็ขับม้าวางใหญ่กลับไปค่ายตะพังตรุ เอาคดีนั้นทูลแด่พระมหาอุปราชาทุกประการ พระมหาอุปราชาแจ้งดังนั้น ก็ทรงพระดำริว่า ชะรอยจะเป็นทัพพระนเรศร์ถ้ามิดังนั้นจะเป็นทัพจะเป็นทัพเอกาทศรฐน้องชายยกมาเป็น ๑๗๓ มั่นคง แล้วตรัสถามสมิงนายกองม้า ว่าคะเนพลประมาณสัก เท่าใด สมิงจะคร้าน สมิงเปอแลสมิงทรายม่วน กราบทูลว่า พลประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ ถึง ๑๘๐,๐๐๐ พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้นจึงตรัสปรึกษาแก่นายทัพนายกองว่า ทัพพระนครยกครานี้ก็เป็น ทัพใหญ่อยู่แล้ว แต่ทว่าน้อยกว่าเรา ๒- ๓ เท่า จำจะยกทุ่มตี เอาทัพแรกนี้ให้แตกฉานยับเยิน แล้วภายหลังก็จะเบามือลง เห็น จะได้พระนครศรีอยุธยาโดยง่าย นายทัพนายกองก็เห็นโดยพระ บัญชา พระมหาอุปราชากำหนดแก่นายทัพนายกอง ให้เตรียมพล แต่ในเพลา ๓ ยามให้พร้อม ตี ๑๑ ทุ่มจะยกเอารุ่งไว้หน้า นายทัพนายกองก็จัดแจงกระบวนทัพเทียบตามรับสั่งทุกประการ ครั้นเพลา ๑๑ทุ่ม พระมหาอุปราชาก็สอดฉลองพระองค์ทรงเกราะสุวรรณ ประดับพลอย สะพักสังวาลย์มรกต ๓ สาย ทรงสุวรรณรัตน มหามงกุฏอย่างขัตติยราชรามัญ ยอดเงื้อมไปหน้าดุจเศียรวาสุกรี แล้วทรงเครื่องสำหรับกันสรรพาวุธพร้อมเสร็จ เสด็จทรงช้างต้น พลายพักกอสูง ๖ ศอกคืบ ๕ นิ้ว ติดน้ำมันหน้าหลังเป็นพระคชาธารกั้นเศวตฉัตร สมิงนันทะมาง เป็นกลางช้าง เจ้าเมืองมะลวน ควาญ พร้อมด้วยแวงจัตุลังคบาท และหน้าช้างพระมหาอุปราชานั้นทวนทอง ๔๐๐ ถัดออกมานั้นวางปืนจ่ารงค์มณฑลนกสับกระแบงแก้วดาบโล่ห์ดาบดั้งสิ่งละ ๕๐๐ และมังจาชะโรพี่เลี้ยงพระมหาอุปราชานั้นเป็นกองหน้า ขี่ช้างพลายพัดชะเนียงสูง ๖ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ติด น้ำมันหน้าหลัง สมิงปราบศึกเป็นกลางช้าง สมิงมือเหล็กเป็นควาญ

๑๗๔ พระมหาอุปราชาให้แต่งช้างชนะงาผูกคชาธาร มีเศวตฉัตรทั้ง สิบหกช้างพรางไว้ และจัดสมิงรามัญที่เข้มแข็งขี่ประจำครบอยู่หน้าช้างมังจาชะโรพระพี่เลี้ยง มีช้างดั้งกั้นแซกแซงเป็นขนัด แล้ววางปืนจ่ารงค์มณฑกนกสับหามแล่น และพลดาบโล่ห์ดั้งดาบสองมือ สิ่งละ ๑๐๐๐ เป็นชั้น ๒ ออกไป แล้วช้างท้าวพระยารามัญ เกียก กายกองหน้าและพลเดินเท้า ๒๐ หมื่น พลม้า ๓๐๐๐ แซง ๒ ฟากทุ่ง ทัพหลังนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ขี่ช้างพลายชมพูทัตสูง ๖ ศอก คืบ หนึ่ง ติดน้ำมันหน้าหลัง พระยาเชียงแก้วหลานเป็นกลางช้าง แสนหาญใจศึกเป็นควาญ กอบไปด้วยช้างดั้งกันแซกแซง พล เดินเท้า ๑๑ หมื่น พระอุปราชาจัดทัพเป็นสัตเสนา ๗ แถว ๆ ละ ๗ กอง เป็น๔๙ กอง พร้อมพลาพลทวยหาญให้ลั่นฆ้องใหญ่ ฆ้องกระแตตีรับตามหมวดกองยกจากค่ายตะพังตรุ ครั้งนั้นสนั่น นฤนาทด้วยศัพทสำเนียง เสียงช้างเสียงม้าดุจแผ่นพสุธาจะถล่มลง ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ขณะเมื่อเสด็จประทับอยู่ณฉายา ไม้ประดู่เร่งให้ตั้งค่ายมั่น ทอดพระเนตรเห็นม้ารามัญตามชายทุ่ง ควบกลับไป ก็ตรัสแก่มุขมนตรีว่า พลม้าซึ่งกลับไปนั้นเห็นที พระมหาอุปราชาให้มาคอยเอาเหตุไปแจ้ง ดีร้ายเพลาพรุ่งนี้จะได้ ยุทธ์ใหญ่ ให้กองทัพพระยาศรีไสยณรงค์ พระยาราชฤทธานนท์ เร่งยกไปแต่ในเพลาตี ๑๑ ทุ่มปะทะหน้าข้าศึกฟังกำลังดู และในกองทัพหลวงก็ให้พร้อมไว้แต่ในเพลาย่ำรุ่ง ท้าวพระยานายทัพนายกองก็ตรวจเตรียมโดยพระราชกำหนด

๑๗๕ ครั้นอรุณรุ่งแสงสุริโยภาค พระบาทสมเด็จบรมพิตรพระ พุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จยังเกย ตรัสให้ท้าวพระยาใน กองทัพหลวง ยกกองไปตั้งกระบวนเบญจเสนา พระยาศรีราช เดโชชัยขี่ช้างพลายโจมไตรภพ ถือพล ๑๐,๐๐๐ เป็นกองหน้า พระยาพิชัยรณฤทธิ์ขี่ช้างพลายจบไตรจักร์ ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกขวาพระยาพิชิตรณรงค์ขี่ช้างพลายจู่โจมทัพ ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกซ้ายพระยาเทพอรชุนขี่ช้างพลายจับโจมยุทธ์ ถือพล ๑๐,๐๐๐ เป็นเกียก กาย พระยาพิชัยสงครามขี่ช้าง ฝ่ายพลแมน ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกขวา พระยารามกำแหงขี่ช้างพลายแสนพลพ่าย ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกซ้าย และหน้าพระคชธารออกไปปลายเชือกนั้น ขุนดจมจัตุรงค์ขี่ช้างพลายกุญชรชัย ขุนทรงเดชขี่ช้างพลาย ไกรสรเดช ถือพลเขนทองข้างละ ๕๐๐ พระราชมนูขี่ช้างพลาย หัสดินพิชัย ถือพลปิ่กลองชะนะซ้ายขวาข้างละ ๕๐๐ และ หลวงพิเดชสงครามขี่ช้างพลายบุญยิ่ง หลวงรามพิชัยขี่ช้างพลายมิ่งมงกุฎ ถือพลดาบโล่ห์ดาบดั้งข้างละ ๕๐๐ พระราชวังสันขี่ช้างพลายแก้วมาเมือง ถือพลอาษาจาม ๕๐๐ พระเสนาภิมุข ขี่ช้างพลายเฟื่องภพไตร ถือพลอาษาญี่ปุ่น ๕๐๐ ถัดนั้นทหารทะลวงฟันคู่พระทัย ๑๓๖ คน ถือดาบเขน ๒๒ คน ถือดาบโล่ห์ ๔๒ คนถือดาบสองมือ ๗๒ คน หน้าพระคชธารนั้นหัวหมื่นพันทะนายสี่พระตำรวจล้วนดาบสะพายแล่ง ถือทวนทอง ๕๐๐ กำหนดทั้งกอง ทัพหลวงเป็นพล ๑๐๐,๐๐๐ ให้เอาพลายภูเขาทองขึ้นระวางสะพัก

๑๗๖ ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพสูง ๖ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ติดนำมันหน้าหลัง ผูกคชาภรณ์เครื่องมั่นปักมหาเศวตฉัตรเป็นพระคชาธาร เจ้ารามราฆพ เป็นกลางช้าง นายมหานุภาพควาญ และแวงจัตุลังคบาทนั้น พระมหามนตรีอยู่เท้าหน้าฝ่ายขวา พระมหาเทพอยู่เท้าหน้าฝ่ายซ้าย หลวง อินทรเทพอยู่เท้าหลังเบื้องขวา หลวงพิเรนทรเทพอยู่เท้าหลังเบื้องซ้าย และพระคชาธารสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้านั้นพลายบุญเรือง ขึ้นระวางสะพัดชื่อเจ้าพระยาปราบไตรจักร์ สูง ๖ ศอกคืบ ติดน้ำมันหน้าหลังผูกคชาภรณ์เครื่องมั่นปักบวรเศวตฉัตร หมื่นภักดีศวรเป็นกลางช้าง ขุนศรีคชคงควาญ และปีกทัพหลวงนั้น พระยามหาเสนาขี่ช้าง มารประลัย ถือพล ๑๕,๐๐๐ เป็นปีกขวา พระยาจักรีขี่ช้างพลายไฟภัทกัลป์ ถือพล ๑๕,๐๐๐ เป็นปีกซ้าย พระยาพระคลังขี่ช้างพลายจักร์มหึมา ถือพล ๑๐,๐๐๐ เป็นยกรบัตร พระราชสงคราม ขี่ช้างพลายสังหารคชสีห์ ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกขวา พระราม รณภพขี่ช้างพลายมณีจักรพรรดิ ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกซ้าย พระยาท้ายน้ำขี่ช้างพลายสวัสดิพิชัย ถือพล ๑๐,๐๐๐ เป็นกองหลัง หลวงหฤทัยขี่ช้างพลายทรงภูบาล ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกขวา หลวงราช ภักดีขี่ช้างพลายสารภูธร ถือพล ๕๐๐๐ เป็นปีกซ้าย ประดับด้วย หมู่หมวดคเชนทรดั้งกันแซกแซง สลับค่ายคำพังคาโคตแล่นล้วน สารพหะดูมหิมา อันท้าวพระยาเสนาบดีพิริโยธาทวยหาญ แสนยาพลากรพร้อมพรั่ง ตั้งตามขบวนเบญจยุทธเสนางคนิกรเสร็จ พระมหาราชครูสิวะพราหมณ์ โหราธิบดี ก็อัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระ

๑๗๗ พุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ สรงมุรธาราภิเศก ถวายอาเศียรพาทอวยชัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเครื่องประดับสำหรับราชกษัตริย์ สู่สมรภูมิสงคราม วันนั้นวันอาทิตย์ ทรงพระแสงธนูแล้วเสด็จขึ้น เกยคอยฤกษ์ และชีพ่อพราหมณ์ทำโขลนทวารละว้าเส้นไก่ ขุนมหาพิชัยตัดไม้ข่มนามเสร็จแล้ว พอได้ยินสำเนียงปืนยิงยุทธ์แยงสุดเสียงตรัสให้หมื่นทิพเสนาเอาม้าเร็วไปฟังราชการ เห็นทัพหน้าพ่ายเป็นอลหม่าน หมื่นทิพเสนาพาเอาขุนหมื่นในกองหน้าเข้ามาเฝ้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสถาม เหตุใดพ่ายข้าศึก ขุนหมื่นกราบทูลพระ กรุณาว่า ยกขึ้นไปเถิงท้ายโคกเผาข้าวเพลาเช้าประมาณโมงเศษ พบกองทัพรามัญยกมาปะทะ ตีกันเถิงตะลุมบอน ศึกหนักกว่า ทุกครั้งจึงพ่าย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสดูความคิดมุขมนตรีว่า ทัพหน้าพ่ายดังนี้จะคิดประการใด เสนาบดีมนตรีมุขกราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จ ทัพหลวงตั้งมั่นอยู่มั่นอยู่ก่อน แต่งทัพไปตั้งรับหน่วงไว้ ต่อได้ทีแล้วจึงยกทัพหลวงออกทำยุทธหัตถี เห็นจะได้ชัยชนะ สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวไม่เห็นด้วย ดำรัสว่า ทัพหน้าแตกฉานมาแล้วและจะแต่งทัพ ออกรับไว้ ก็จะมาปะทะกันเข้าจะพลอยให้แตกเสียอีก ชอบให้ เปิดลงมาทีเดียว ให้ข้าศึกไล่ละเลิงใจเสียกระบวนมา เราจึงยก ทัพใหญ่ยอข้าศึก เห็นจะได้ชัยชะนะโดยง่าย ท้าวพระยามุนตรี ทั้งปวงกราบถวายบังคมพร้อมกัน เห็นโดยพระราชดำริ สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้หมื่นทิพเสนา หมื่นราชมาตย์ เอาม้าเร็ว ๒๓ ๑๗๘ ขึ้นไปประกาศแก่นายกองพลทหารทั้งปวง อย่าให้รอรับเลย ให้เปิดลงมาทีเดียว ฝ่ายทัพรามัญเห็นทัพชาวพระนครพ่ายมิได้ตั้งรบ ก็ยิ่งมีใจกำเริบไล่ระส่ำระสายมิได้เป็นกรบวน สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเสด็จคอยฤกษ์ ทอดพระเนตร เห็นมหาเมฆตั้งขึ้นมาแต่ทิศพายัพ แล้วกลับเกลื่อนคืนกระจายอันตรธานไป พระสุริยเทวบุตรจรัสแจ่มดวงในนภาดลอากาศ พระมหาราชครูพระครูปโรหิตาจารย์โหราธิบดี ก็ลั่นฆ้องชัยดำเนินธง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นพระคชาธาร สมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบวรราชอนุชา เสด็จทรงเจ้าพระยาปราบไตรจักร์เป็นพระคชาธาร พลหารก็โห่สนั่นบันลือศัพท์แตรสังข์เสียงประโคมฆ้องกลองชนะกลองศึก สะท้านสะเทื้อนประหนึ่งแผ่นดินจะไหว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ยาตราพระคชาธาร เป็นบาทย่างสะเทินมาเบื้องขวาปะฝ่ายซ้ายข้าศึกเจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร์ ได้ยินเสียงพลและเสียงฆ้องกลองศึกอึงคนึง ก็เรียกมันครั่นครื้น กางหูชูหางกิริยาป่วนเดินเป็นบาตรอย่างใหญ่เร็วไปด้วยกำลังน้ำมัน ช้างท้าวพระยามุขมนตรีและโยธาหาญซ้ายขวา หน้าหลังทังนั้นตกลงไปมิทันเสด็จพระคชาธารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ใกล้ทัพหน้าช้าศึก ตรัสทอดพระเนตรเห็นพลพะม่ารามัญ ยกมานั้นเต็มท้องทุ่ง เดินดุจคลื่น ในพระมหาสุมทร ข้าศึกไล่พลชาวพระนครมครั้งนั้น สลับซับซ้อน กันมิได้เป็นกระบวน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ขับ

๑๗๙ พระคชาธารเข้าโจมแทงช้างม้ารี้พล ไล่ส่ายเสยถีบฉัดตะลุมบอน พลพะม่ารามัญล้มตายเกลื่อนกลาด ช้างข้าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธาร ก็หกหันตลบปะกันไปเป็นอลหม่าน พลพะม่ารามัญ ก็โซมยิงธนูหน้าไม้ปืนไฟ ระดมเอาพระคชาธารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และธุมาการก็ตลบมืดเป็นหมอกมัวไปมิได้เห็น กันประจักษ์ พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร จะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระ โอฐลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระ เนตรเห็นช้างเศวตฉัตร ๑๖ ช้าง มีช้างตั้งช้างกันยืนอยู่เป็นอันมากแต่มิได้เห็นพระมหาอุปราชา ครั้นเหลือบไปฝ่ายทิศขวาพระหัตถ์ ก็เห็นช้างเศวตฉัตรช้างหนึ่ง ยืนอยู่ณ ฉายาไม้ข่อย มีเครื่องสูง และทหารหน้าช้างมาก ก็เข้าพระทัยตระหนักว่าช้างพระมหาอุปราชาพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ขับพระคชาธารตรงเข้าไป ทหารหน้าช้างข้าศึกก็วางปืนจ่ารงค์ทณฑกนกสับตระแบงแก้ว ระดมยิงมิได้ ต้องพระองค์และพระคชาธาร สมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้า จึงตรัสร้องเรียกด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำ ยุทธหัตถีด้วยกันให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไป ไม่มีกษัตริย์ที่จะได้กระทำยุทธหัตถีแล้ว

๑๘๐ พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้น ละอายพระทัยมีขัติยราชมานะ ก็บ่ายพระคชาธารออกมารับ เจ้าพระยาไชยานุภาพเห็นช้างข้าศึก ก็ไปด้วยฝีลันน้ำมันมิทันยั้งเสียที พลายพัทกอได้ร่างแบกรุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้าเบี่ยงพระมาลารับ พระแสงของ้าวมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพญาไชยนุภาพสะบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายทัพกอเพลียกเบนไปสมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้าได้ทีจ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่าย ต้องพระ อังษาเบื้องขวา พระมหาอุปราชาตลอดลงมาจนประฉิมมุราประเทศซบลงกับคอช้าง และนายมหานุภาพควาญพระคชาธารพระนเศวรเป็นเจ้านั้นต้องปืนเข้าศึกตาย ขณะเมื่อสมมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้า ชนช้างด้วยพระมหา อุปราชานั้น เจ้าพระยาปราบไตรจักร์ซึ่งเป็นพระคชาธารสมเด็จ เอกาทศรฐก็เข้าชนด้วยพลายพัดชะเนียงช้างมังจาชะโร เจ้าพญาปราบไตรจักร์ได้ล่าง พลายพัดชะเนียงเสียทีเปนไป สมเด็จ เอกาทศรฐจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องคอมังจาชะโรขาดตาย กับคอช้าง หมื่นภักดีศวรกลางช้างสมเด็จเอกาทศรฐนั้นต้องปืน ข้าศึกตาย ขณะเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทำคชสง ครามได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาและมังจาชะโรแล้ว บรรดาท้าว พระยามุขมนตรีนายกองซ้ายขวาหน้าหลังทั้งปวง จึงมาทัน เสด็จได้เข้ารบพุ่งแทงฟันข้าศึกเป็นสามารถ และพลพะม่ามอญทั้งนั้น

๑๘๑ ก็แตกกระจัดกระจายไปเพราะพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวตรัสให้นายทัพนายกองทั้งปวงยกไปตามจับข้าศึกแล้ว เสด็จ คืนยังพลับพลา พระราชทานชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นเจ้าพญาปราบหงสา บรรดามุขมนตรีนายทัพนายกองซึ่งยกตามข้าศึกนั้น ได้ฆ่าฟันพะม่ามอญโดยทางไปถึงกาญจนบุรี อาศพเกลื่อนไป แต่ตะพังตรุนั้นประมาณ ๒๐,๐๐๐ เศษ จับได้เจ้าเมืองมะลวนและนายทัพนายกองกับไพร่เป็นอันมาก ได้ช้างใหญ่สูง ๖ ศอก ๓๐๐ ช้าง พลายพังระวางเพรียว ๕๐๐ ม้า ๒๐๐๐ เศษ มาถวาย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสให้ก่อพระเจดียฐานสวมศพ พระมหาอุราชาไว้ ตำบลตะพังตรุ ขณะนั้นโปรดพระราชทาน ช้างหนึ่งกับหมอและควาญ ให้เจ้าเมืองมะลวนกลับขึ้นไปแจ้งแก่ พระเจ้าหงสาวดี พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จกลับเข้าพระนคร แล้วดำรัสว่า เจ้ารามราฆพกลางช้างกับขุนศรีคชคงควาญ ซึ่งได้ผะจญข้าศึกจนมีชัยชะนะด้วยพระองค์นั้น ก็ปูนบำเหน็จพระราชทานยศถาศักดิ์เครื่องอุปโภคบริโภค เสื้อผ้าเงินทอง ฝ่าย นายมหานุภาพควาญช้าง หมื่นภักดีศวรกลางช้าง ได้ โดยเสด็จงานพระราชสงครามจนถึงสิ้นชีวิตในท่ามกลางศึกนั้น มีความชอบให้เอาบุตรภรรยามาชุปเลี้ยง พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เงินทองเสื้อผ้าโดยสมควร เสร็จแล้วมีพระราชดรัสให้ปรึกษาโทษนายทัพ นายกองว่า ข้าศึกยกมาเถิงยกมาเถิงพระนคร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑๘๒ ทั้งสองพระองค์ ตั้งพระทัยจะรักษาพระบวรพุทธศาสนาและสมณ พราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎร มิได้คิดเหนื่อยลำบาก พระองค์ ทรงพระอุตสาหะเสด็จยกพยุหโยธาทัพออกไปรณรงค์ด้วยข้าศึก และนายทัพนายกองกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระราชอาชญา มิได้ โดยเสด็จพระราชดำเนินให้ทัน ละแต่พระคชาธารสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทั้งสองพระองค์ให้เข้าอยู่ในท่ามกลางข้าศึก จนได้กระทำ ยุทธหัตถีมีชัยแก่พระมหาอุปราชาเสร็จ โทษนายทัพนายกองทั้งนี้ จะเป็นประการใด พระมหาราชครู พระครูปโรหิตทั้งปวงปรึกษาใส่ด้วยพระอัยการศึก พบพระราชกฤษฎีกาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดำเนินพระราชสงคราม และเกณฑ์ผู้ใดเข้าในกระบวนทัพแล้ว และมิได้ โดยเสด็จให้ทันขณะยุทธ์ ท่านว่าโทษผู้นั้นเป็นอุกฤษฎ์ ให้ประหารชีวิตเสีย อย่าให้ผู้อื่นดูเยี่ยงอย่าง เอาคำพิพากษา กราบทูล มีพระราชดำรัสสั่งให้เอาตามลูกขุนปรึกษา แต่ทว่าบัดนี้จวนจาตุทสีปัณณรสีอยู่ ให้เอานายทัพนายกองจำเรือนตรุไว้ก่อน ๓ วันพ้นแล้วจึงให้สำเร็จโทษโดยพระอัยการศึก ครั้นณวันอาทิตย์เดือนอ้าย แรม ๑๕ ค่ำ สมเด็จพระนพรัตน์ป่าแก้วและพระราชคณะ ๒๕ รูป เข้ามาถวายพระพรถามข่าว ซึ่งเสด็จงานพระราชสงคราม ได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยแก่พระมหา อุปราชา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็แถลงการซึ่งปราบปัจจามิตร์ให้ ทุก

๑๘๓ ประการ สมเด็จพระนพรัตน์จึงถวายพระพรถามว่าพระราชสมภารมีชัยแก่ช้าศึกอีก เป็นไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องราชทัณฑ์เล่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสบอกว่า นายทัพนายกองเหล่านี้อยู่ในกระบวน ทัพโยม มักกลัวข้าศึกมากกว่าโยม ละให้แต่โยมสองคนพี่น้องฝ่า เข้าไปในท่ามกลางศึกจนได้กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชามีชัยชะนะแล้ว จึงได้เห็นหน้ามัน นี่หากว่าบารมีของโยม หาไม่แผ่นดินจะเป็นของชาวหงสาวดีเสียแล้ว เพราะเหตุดังนี้โยมจึงให้ลงโทษ โดยพระอัยกาศึก สมเด็จพระนพรัตน์จึงถวายพระพรว่า อามาตมภาพพิเคราะห์ดูข้าราชเหล่านี้ ที่จะไม่รักไม่กลัวพระราชสมภารเจ้านั้น หามิได้ และเหตุทั้งนี้จำเป็นที่จะให้พระเกียรติยศพระราชสมภรเจ้า เป็นมหัศจรรย์ เหมือนสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์เจ้า เมื่อพระองค์ เสด็จเหนืออปราชิตบัลลังก์ใต้ควงพระมหาโพธิ ณเพลาสายัณห์ ครั้งนั้นเทพยุเจ้ามาเฝ้าพร้อมอยู่ทั้งหมื่นจักรวาฬ และพระยาวัสดีมารยกพลาพลเสนามารมาประจญครั้งนั้น ถ้าได้เทพเจ้าเป็นบริวาร และมีชัยแก่พระยามาร ก็หาสู้เป็นมหัศจรรย์นักไม่ นี่ผะเอิญให้หมู่อมรอินทร์พรหมทั้งปวงปลาสนาการหนีไปสิ้น ยังแต่พระองค์เดียวอาจสามารถผะจญพระยามารธิราชกับพลเสนามาร ให้อับปราชัยพ่ายแพ้ได้ จึงสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าได้พระนามว่า พระพิชิตมารโมลีศรีสรรเพชุดาญาณเป็นมหัศจรรย์ดาลดิเรก ทั่วอนันตโลกธาตุ เบื้องบนตราบเท้าเถิงภวัคพรหม เบื้องต่ำตลอดเถิงอโธภาคอเวจี เป็นที่สุด ก็เหมือนพระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ครั้งนี้

๑๘๔ ถ้าเสด็จพร้อมด้วยเสนาคนิกรโยธาทวยหาญมาก และมีชัยแก่ พระมหาอุปราชานั้น หาสู้เป็นมหัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศปรากฎ ไปในนานาประเทศธานีใหญ่น้อยทั้งนั้นไม่ พระราชสมภารเจ้าอย่า ทรงปริวิตกโทมน้อยพระทัยเลย อันเหตุที่เป็นนี้เพื่อเทพเจ้าทั้งปวง อันรักษาพระองค์ จักสำแดงเกียรติยศดุจอาตมภาพถวายพระพร เป็นแท้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฟังพระนพรัตน์ถวายวิสัชนากว้างขวางออกพระนามสมเด็จพระบรมโมลีโลกครั้งนั้น ระลึกพระคุณาอันยิ่ง ก็ทรงพระปีตีโสมนัสตื้นเต็มพระกมลหฤทัยปราโมทย์ ยกพระกรประณมเหนือพระอุตมางคสิโรดนมัสการออกพระโอฐว่า สาธุ ๆ พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ควรหนักหนา สมเด็จพระนพรัตน์เห็นว่า พระมหากษัตริย์คลายพระโกรธแล้ว จึงถวายพระพรว่า อาตมภาพพระราชาคณะทังปวงเห็นว่า ข้าราชการซึ่งเป็นโทษเหล่านี้ผิดหนักหนาอยู่แล้วแต่ทว่าได้ทำราชการมาแต่ครั้งสมเด็จพระบรมราชอัยกาสมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวง และทำราชการมาใต้ละอองธุลีพระบาทของพระ ราชสมภารเจ้าแต่เดิมมา ดุจพทุธบริษัทสมเด็จพระบรมครูก็เหมือน กัน ขอพระราชทานบิณฑบาตรโทษคนเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่งเถิด จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้าขอแล้วโยมก็จะให้แต่ทว่าจะให้ไปตีเมืองตะนาวศรี เมืองทะวาย แก้ตัวก่อน สมเด็จพระพนรัตน์ก็ถวายพระพรว่า การซึ่งจะใช้ไปตีบ้านเมืองนั้น สุดแต่

๑๘๕ พระราชสมภารเจ้าจะสมเคราะห์ ใช่กิจสมณ แล้วสมเด็จพระนพรัตน์พระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรลาไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งให้ท้าวพระยาพระหัวเมืองมุขมนตรีพ้นโทษ พระราชกำหนให้พระยา จักรีถือพล ๕๐,๐๐๐ ไปตีเมืองเมืองตะนาวศรี ให้พระยาพระคลังถือพล ๕๐,๐๐๐ ยกไปตีเมืองทะวาย พระยาจักรี พระยาพรคลัง นายทัพนายกองก็ถวายบังคมลา ยกไปโดยพระราชกำหนด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรัสว่า ซึ่งเราทิ้งเมืองฝ่ายเหนือเสีย เลิกครอบครัวลงมานั้น ก็หาสิ้นทีเดียวไม่ ครั้งนี้ศึกหงสาวดีก็ถอย กำลังลงแล้ว เถิงมาตรว่าจะมีมาก็ไม่เกรง เราจะบำรุงเมืองทั้งนี้ ให้เป็นเกียรติยศไว้ตราบเท่ากัลปาวสาน จึงสั่งให้พระยาชัยบูรณ์ เป็นเจ้าพระยาสนศรีครองเมืองพิษณุโลก ให้พระศรีเสาวราชไปรักษาเมืองสุโขทัย ให้พระองค์ทองไปรักษาเมืองพิชัย ให้หลวงจ่าไป รักษาเมืองสวรรคโลก บรรดาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง ก็ให้เจ้า เมืองกรมการแต่งไปเรียกร้องรวบไพร่พล ซึ่งแตกฉานซ่านเซ็น อยู่ป่าดงนั้นทุกหัวเมือง ฝ่ายเจ้าเมืองมะลวนชาวหงสาวดี ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าจับได้ ให้ปล่อยกลับไปนั้น ก็พบนายทัพนายกองพะม่ามอญซึ่งแตกฉานซ่านเซ็นโดยด่านโดยทางไป รวบรวมกันได้ก็พากันกลับไป กรุงหงสาวดี เข้าเฝ้ากราบทูลพฤติเหตุซึ่งพระมหาอุปราชาเสียพระ ชนม์ชีพกับคอช้างนั้น ให้ทราบทุกประการ ๒๔

๑๘๖ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีแจ้งดังนั้น ก็เสียพระทัยโทมนัส คิดอาลัยเถิงพระราชบุตร แล้วทรงพระโกรธแก่นายทัพนายกองว่า นเรศร์กับเอกาทศรฐน้องชาย เข้ามารบแต่ ๒ ช้าง เป็นคนกลาง คนควาญช้าง ๖ คนเท่านั้น ทัพเราเถิง ๕๐๐,๐๐๐ เถิงมาตรว่าจะมิถือสาตราวุธเลย จะประหารด้วยก้อนดินแต่คนละก้อน ก็จะ ไม่ควรนามืออีก นี่ละให้เสียราชโอรสแห่งเรา ไหนจะเลี้ยงไปได้ ให้ลงพระราชอาชญาทั้งนายทั้งไพร่แล้วจำใส่เรือนตรุไว้ อยู่ประมาณ ๖- ๗ วัน พระเจ้าหงสาวดีทรงพระราชดำริว่า นเรศร์ทำการ ศึกว่องไวหลักแหลมมองอาจนัก จนถึงยุทธหัตถีมีชัยแก่มหาอุปราชาเอกาทศรฐเล่าก็มีชัยแก่มังจาชะโร เห็นพี่น้อง ๒ คนนี้จะมีใจ กำเริบยกมาตีพระนครเราเป็นมั่นคง แต่ทว่าจะคิดเอาเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท เมืองทะวาย ก่อน จำจะให้นายทัพนายกองและไพร่ ซึ่งไปเสียทัพมานี้ ให้ยกลงไปรักษาเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท เมืองทะวาย ไว้ให้ได้ ศึกจึงจะไม่เถิงกรุงหงสาวดี ครั้นทรง พระดำริแล้วเพลารุ่งเสด็จออก ตรัสสั่งให้ถอดนายทัพนายกองออกจากสังขลิกพันธนาการแล้ว ให้เร่งยกลงไปรักษาเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท เมืองทะวาย ไว้ให้ได้ ถ้าเสียเมืองตะนาวศรี เมือง มฤท เมืองทะวาย แก่ข้าศึก จะเอานายทัพนายกองและไพร่ทั้งนี้ ใส่เล้าเผาเสียให้สิ้นทั้งโคตร นายทัพนายกองทั้งปวงกราบถวาย บังคมลายยกกองทัพไปจากกรุงหงสาวดี


๑๘๗ ฝ่ายพระเจ้าเชียงใหม่แจ้งอิงกิดาการในกรุงเทพพระมหานครขึ้นไปเสร็จสิ้นทุกประการ ก็เกรงพระเดชเดชานุภาพ จึงตรัสแก่แสน ท้าวพระยาลาวทั้งปวง ว่าบัดนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงเทพมหานคร ศรีอยุธยาถึงแก่สวรรคต สมเด็จพระนเรศวรราชราชบุตรได้ครองราชสมบัติ พระมหาอุปราชายกลงมา ได้ทำคชพยุหะถึงแก่พิราลัย กับคอช้าง แล้วทัพกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา ก็ยกออกไปตี เมืองมฤท เมืองทะวายอยู่แล้ว อันหมู่ราชปรปักษ์ที่จะเข้าไปรอต่อยุทธ์ด้วยกรุงพระนครศรีอนยุธยานั้น ดุจหนึ่งฝูงมิคชาติอันเข้าไปต่อศักดาเดชด้วยพระยาไกรสรสิงหราช ถ้าจะมิฉะนั้นดุจหนึ่งโลมชาติสกุณปักษาอันเข้าไปรอเปลวเพลิง มีแต่พินาศฉิบหายลงทุกที บัดนี้เล่าพิเคราะห์ดูพระเจ้าหงสาวดี เสียพระมหาอุปราชาบุตร เหมือนหนึ่งพระกรเบื้องขวาขาด สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้ากับสมเด็จพระอนุชา ธิราชเล่า ทรงพระราชกฤษฎาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น ดุจหนึ่งพระ ทินกรสถิตลอยอยู่เหนืออากาศอันปราศจากเมฆขณะเมื่อเพลาเที่ยงแสงรัสมีมีแต่กล้าขึ้น ที่ไหนกรุงหงสาวดีจะพ้นเงื้อมพระหัตถ์ จำเราจะลงไปอ่อนน้อมถวายราชบรรณาการ พึ่งพระเดชเดชานุภาพจึงจะพ้นภยันตราย แสนท้าวพระยาลาวทั้งปวงได้ฟังราชบัญชาก็มีความยินดี ดุจหนึ่งมัณฑุกชาติ อันพ้นจากปากอสรพิศม์ พระเจ้าเชียงใหม่ จึงให้แต่งลักษณะพระราชสาร ให้นันทะพะยะกับแสนหนังสือ และแสนหลวง จำทูลพระราชสารคุมเครื่องพระราชบรรณาการ


๑๘๘ มาโดยด่าน เมืองตาก พระยากำแพงเพ็ชรก็แต่งหมื่นกรมการ คุมทูตลงมาถึงพระนครศรีอยุธยา อัครมหาเสนาธิบดีจึงเข้ากราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จออกณพระที่นั่งมังคลาภิเศก พร้อมด้วยหมู่มุขอุภัยสมุหมนตรีกวรราชปโรหิตา โหราจารย์ เฝ้าพระบาทบงกชมาศดาษดาดังดวงดารากรกรายรอบพระรัชนีกรเทวบุตร จึงดำรัสให้เบิกทูตานุทูตเข้าเฝ้า พระศรีภูริปรีชา อ่านในลักษณะพระราชสารนั้นว่า พระเจ้าเชียงใหม่ผู้เป็นอาธิปตัยในมลานประเทศ ขอน้อมสิโรดมถวายวันทนประณาม มาแทบพระบวรบาทยุคลสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ด้วยข้าพระบาทแต่ก่อนขัดพระราชอาชญาท่านผู้เป็นอิสสราธิบดีในรามัญประเทศมิให้ จำยกพยุหโยธามากระทำจลาจลแก่กรุงพระมหานครศรีอยุธยาเป็นหลายครั้ง ให้เคืองใต้เบื้องบาทบงกชมาศ ขอพระองค์จงพระมหาการุณยภาพ บัดนี้ ข้าพระบาทจะขอเอาพระราชกฤษฎาเดชาภาพอภินิหารบารมีปกเกษเกล้า ดุจหนึ่งปริมณฑลร่มมหาโพธิ ถ้าพระองค์จะเสด็จยกพยุห โยธาทัพไปแห่งใด จะขออาษาโดยเสด็จงานพระราชสงครามกว่า จะสิ้นกำลังข้าพระองค์ ให้นันทพะยะกับแสนหนังสือ แสนหลวง จำทูลพระราชสารเชิญเครื่องมงคลราชบรรณาการ ลงมาจำเริญ ทางพระราชไมตรี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟัง ทรงพระโสมนัส จึงมีพระราชปฎิสันถานปราสัยแก่ทูตานุทูต ๓ นัดแล้ว ดำรัสสั่งให้พระ

๑๘๙ ราชทานเสื้อผ้าเงินตราแก่ทูตานุทูต โดยฐานนานุกรมแล้ว แต่ง ตอบพระราชสารส่งทูตานุทูตกลับไป ฝ่ายนันทะพะยะกับแสนหนังสือ แสนหลวง ขึ้นไปเข้าเฝ้า พระเจ้าเชียงใหม่ ทูลราชกิจเสร็จสิ้นทุกประการ พระเจ้าเชียงใหม่ ก็โสมนัส ดุจหนึ่งผู้เดินมาตามสถลรัถยากันดารไกลในเพลาเที่ยง ร้อนกระวนกรวายด้วยแสงภานุมาศกล้า และมีผู้เอาน้ำอันเย็นใส มาโสรจสรงให้เย็นสบาย ขณะนั้นพอมีหนังสือบอกเจ้าเมืองเชียงแสนมาว่า ชาวด่านเมืองเชียงแสนกับชาวด่านเมืองล้านช้าง ไปตระเวณด่านพบ กันเข้า วิวาทฆ่าฟันกันตาย บัดนี้พระเจ้าล้านช้างแต่งให้พระยา หลวงเมืองแสนเป็นแม่ทัพ พลประมาณ ๗๐๐๐ ยกตีขึ้นมาเถิง เมืองเชียงแสน ได้รบพุ่งกันอยู่แล้ว ขอให้พระเจ้าพื้นบาทหอคำจัดกำลังมาช่วยค้ำเอา พระเจ้าเชียงใหม่ได้ทราบก็ให้กองทัพไปช่วย แล้วแต่งหนังสือบอกลงไปให้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวว่ากองทัพล้านช้างยกลงมาตีเมืองเชียงแสน ขอให้กองทัพกรุง ขึ้นมาช่วย แต่งแล้วสั่งให้พระยาหลวงเมืองแก้ว หมื่นโยธากับ ไพร่ ๒๐ คนถือลงไป ครั้นถึงกรุงพระนครศรีอยุธยา อัครมหา เสนบดีนำหนังสือบอกเข้ากราบบังคมทูล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสทราบ จึงดำรัสให้พระยาราชฤทธานนท์ ถือพล ๕๐๐๐ สรัพไปด้วยเครื่องสาตรา วุธใฝหญ่น้อย ช้างเครื่อง ๕๐๐ ม้า ๒๐๐ เอาพระรามเดโชซึ่งเป็น

๑๙๐ ชาวเชียงใหม่ขึ้นไปด้วย แล้วจึงดำรัสสั่งพระยาราชฤทธานนท์ว่า ถ้าสำเร็จราชการแล้ว ให้พระรามเดโชอยู่ช่วยราชการพระเจ้า เชียงใหม่ พระยาราชฤทธานนท์กราบถวายบังคมลายกทัพขึ้นไป ณเมืองเชียงใหม่ ครั้นเถิงเข้าเฝ้าพระเจ้าเชียงใหม่ต่างแจ้งราชการ โดยควรแล้ว ก็ยกไปตั้งณเมืองเชียงแสน ฝ่ายกองทัพล้านช้างแจ้งว่า กองทัพกรุงเทพมหานครยกขึ้น ไป ก็งดการรบไว้ พระยาราชฤทธานนท์กับพระยาหลวงเมืองแสน แม่ทัพล้านช้างเจรจาความเมืองกัน พระยาหลวงเมืองแสนเกรง พระเดชเดชานุภาพก็เลิกทัพกลับไปเมือง พระยาราชฤทธานนท์ ก็ให้พระรามเดโชอยู่ช่วยราชการ เมืองเชียงแสนโดยพระราชกำหนด พระยาราชฤทธานนท์ก็เลิกทัพ กลับมาเถิงกรุงเทพมหานคร กราบทูลซึ่งได้ไประงับกองทัพล้านช้างกับกองทัพเมืองเชียงแสนเสร็จสิ้นทุกประการ ฝ่ายทัพพระยาจักรีก็เถิงเมืองตะนาวศรี ทัพพระยาพระคลังเถิงเมืองทะวาย เจ้าเมืองตะนาว เจ้าเมืองทะวาย ก็บอกหนังสือขึ้นไป ณเมืองหงสาวดี ฝ่ายนายทัพกองรามัญ ก็ยกมาเถิงเมือง เมาตะมะ พอเรือถือหนังสือบอกเมืองตะนาวศรี เมืองมฤท เมืองทะวาย ไปเถิงเมืองเมาะตะมะ ว่ากองทัพได้รบพุ่งกันเป็นสามารถและทัพไทยครั้งนี้หักหาญ ชาวเมืองตะนาว เมืองทะวาย รับกลางแปลงมิหยุด บัดนี้ได้แต่รักษาหน้าที่อยู่ และกองทัพ ไทยเข้าล้อมเมืองตะนาวได้ ๙ วัน ล้อมเมืองทะวายได้ ๗ วันแล้ว

๑๙๑ ขอกองทัพเร่งลงไปช่วยโดยเร็ว เมืองตะนาว เมืองมฤท เมืองทะวาย จึงจะพ้นเงื้อมมือข้าศึก เจ้าเมืองเมาะตะมะบอกข้อราชการขึ้นไปกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีแจ้งดังนั้น ก็แต่งให้ข้าหลวงลงไปเร่งกองทัพให้รีบยกไปช่วยให้ทัน ฝ่ายเมื่อพระยาจักรียกมาเถิงแดนเมืองตะนาวศรี ตีบ้านรายทางกวาดผู้คนได้เป็นอันมาก แล้วก็ยกเข้ามาล้อมเมืองตะนาวศรี ชาวเมืองรบป้องกันเป็นสามารถ ๑๕ วัน พระยาจักรีแต่งทหาร เข้าปล้นเมืองในเพลาตี ๑๑ ทุ่ม พอรุ่งขึ้นเช้าประมาณโมงเศษ ก็เข้าเมืองได้ ฝ่ายกองทัพพระยาพระคลังยกตีแดนเมืองทะวาย ชาวทะวายยกออกมารับ ก็แตกเสียเครื่องสาตราวุธล้มตายเป็น อันมาก พระยาพระคลังก็ยกเข้าไปพักพลตั้งค่ายริมน้ำฟากตะวัน ออกเหนือคลองละห่ามั่นแล้ว ก็ยกข้ามไปล้อมเมืองไว้ อยู่เถิง ๒๐ วัน ทะวายจาเจ้าเมืองทะวายเห็นเหลือกำลังจะรักษาเมืองไว้มิได้ก็แต่งให้เจตองวุ่นกับทกออกไปขอออกเป็นข้าขอบทเสมา ถวาย ดอกไม้เงินทอง ขณะเมื่อพระยาจักรีได้เมืองตะนาวศรีนั้น คิดว่ากองทัพเมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ จะยกทุ่มเทลงมาช่วย จึงจัดให้สลุบ ลูกค้าฝรั่งลำหนึ่ง แขก ๒ ลำ เรือรบ ๑๕๐ ลำ ให้หลวงเทพอรชุนเป็นแม่กองเรือ ถือพล ๑๐,๐๐๐ ยกขึ้นไปเมืองทะวายโดยทางชเล


๑๙๒ ให้พระยาศรีไสยณรงค์ คุมไพร่ ๑๐,๐๐๐ อยู่รักษาเมืองตะนาวศรี และพระยาจักรีก็ยกพล ๓๐,๐๐๐ ขึ้นไปเมืองทะวายทางบก ฝ่ายหลวงเทพอรชุนซึ่งเป็นแม่ทัพเรือนั้น ยกขึ้นมาเถิงตำบลบ้านการบ่อแดนเมืองทะวาย พอพบเรือสมิงบากอง สมิงพะตะบะ ยกมาแต่เมืองเมาะตะมะ เรือบรรทุก ๒๐๐ ลำ พลประมาณ ๑๐,๐๐๐ จะลงไปช่วยเมืองตะนาว ได้รบกันแต่เช้าจนเพลาเที่ยง พอคลื่นหนักก็ทอดรอยิงกันอยู่ ฝ่ายพระยาพระคลังได้เมืองทะวายแล้ว คิดว่าพระยาจักรี ตีเมืองตะนาว เมืองมฤท จะได้หรือมิได้ก็ยังไม่รู้ จึงแต่งให้ พระพิชัยสงคราม พระรามกำแหง คุมไพร่ ๕๐๐๐ บรรจุเรือรบ ๑๐๐ ลำยกไปช่วยพระยาจักรี ขณะเมื่อพระพิชัยสงคราม พระรามคำแหง ยกออกมาพ้นปากน้ำเมืองทะวายไปแล้ว พอได้ยินเสียงปืนรบกัน จึงให้ขุนโจม จัตุรงค์กับเรือรบกองหน้า ๓ ลำลงไปสืบ ขุนโจมจัตุรงค์ก็ไปเถิงหลวงเทพอรชุน แล้วกลับขึ้นมาแจ้งราชการทุกประการ พระพิชัยสงครามพระรามกำแหง แจ้งดังนั้น ก็ตีกระหนาบเข้าไป ฝ่ายหลวงเทพอรชุนก็ตีกระทบขึ้นมา วางปืนกำปั่นไปต้อง สมิงบากองตาย เรือสมิงพะตะบะแตก จมน้ำตายทั้งนายและไพร่ กองทัพมอญทั้งนั้นแตกกระจัดกระจาย บ้างหนีเข้าฝั่งชักใบกลับไปตายในน้ำและต้องปืนตายเป็นอันมาก ได้เรือบรรทุกเรือรบปืนใหญ่ ปืนน้อยและเครื่องสาตราวุธต่าง ๆ จับได้เป็นประมาณ ๕๐๐ เศษ

๑๙๓ ก็แจ้งว่ากองทัพบกยกมาช่วยเมืองทะวายด้วย พระพิชัยสงคราม พระ รามคำแหง หลวงเทพอรชุน ก็พาเข้าไปณเมืองทะวาย พอพระยา จักรียกมาเถิง นายกองทัพเรือทั้งสามคนก็เอามอญชะเลยและเรือรบปืนใหญ่ปืนน้อยเครื่องสาตราวุธนั้น เข้าไปให้พระยาจักรี พระยาพระคลัง แล้วแจ้งว่ากองทัพบกยกมาช่วยเมืองทะวาย บัดนี้ข้ามแม่น้ำเมาะตะมะแล้ว พระยาจักรี พระยาพระคลัง แจ้งนั้น ก็แต่งทัพเป็น ๒ ทัพ ทัพพระยาจักรีเดินทางฟากตะวันออก ทัพพระยาพระคลังเดินทางฟากตะวันตก ไปซุ่มอยู่ทั้งฟากโดยทางทัพมอญจะยกมา ฝ่ายท้าวพระยารามัญนายทัพนายกองยกมาใกล้เมืองกะลิอ่องมิได้รู้เหตุว่าเมืองตะนาวเมืองทะวายเสียแล้ว ก็แยกทัพกัน เจ้าเมืองมะลวนเดินทางกะลิอ่องมาเสือ ข้ามฟากตะวันออก ทัพเจ้าเมือง กะลิดตองปุเดินทางริมชเลฟากตะวันตก มาเถิงตำบลป่าเหนือบ้าน หวุ่นโพ ทัพไทยซึ่งอยู่ทั้งสองฟาก เห็นทัพพะม่ารามัญยก ถลำลงมาก็ออกโจมตี ทัพมอญมิทันรู้ ก็แตกกระจัดกระจายไป กองทัพไทยทั้งสองฟากจับได้ช้างพลาย ๑๐๐ เศษ ม้า ๑๐๐๐ เศษมอญพม่า ๔๐๐ เศษ เครื่องสาตราวุธเป็นอันมาก ได้นายทัพ นายกอง ๑๑ คน พระยาจักรี พระยาพระคลัง บอกข้อราชการเข้ามาให้กราบทูล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ก็ดีพระทัย ตรัสให้ตอบออกไปให้พระยาศรีไสยณรงค์อยู่รั้งเมืองตะนาวศรี ให้เอาทะวายจา ๒๕ ๑๙๔ เจ้าเมืองทะวายเข้ามาเฝ้า พระยาจักรีพระยาพระคลัง จัดแจงบ้านเมืองเสร็จ ก็ให้ยกกลับเข้ามาเถิด พระยาจักรี พระยาพระคลังแจ้งดังนั้น ก็บอกลงไปเมืองตะนาวตามพระราชบรรหารทุกประการ และให้ทะวาจเป็นเจ้าเมืองทะวาย อยู่ดังเก่า ให้จัดชาวเมืองทะวายเป็นที่ปลัด ชื่อออกพระปลัดผู้หนึ่ง ให้เป็นยกรบัตรชื่อออลังปลังปลัดผู้หนึ่ง เป็ฯที่นาชื่อออละนัดผู้หนึ่ง เป็นที่วังชื่อคงแวง ทัดคงจาเป็นที่เมือง ครั้นตั้งแต่งขุนหมื่นผู้ใหญ่ ผู้น้อย และจัดแจงบ้านเมืองเป็นปกติเสร็จแล้ว ครั้นเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ พระยาจักรี พระยาพระคลัง ก็พาเอาตัวทะวายจา เจ้าเมืองกับผู้มีชื่อตั้งไว้ ๖ คนนั้นเข้ามาด้วย ขณะนั้นยกกองทัพมาโดย มองสาย เถิงตำบลภูเขาสูงช่องแคบ แดนพระนครศรีอยุธยากับเมืองทะวายต่อกัน หาที่สำคัญมิได้ จึงให้เอาปูนในเต้าแห่งไพร่พลทั้งปวง มาประสมกันเข้าเป็นใบสอ ก่อเป็นพระเจดียฐานสูง ๖ ศอก พอ หุงอาหารสุกสำเร็จแล้ว ยกทัพเข้ามาเถิงกรุงพระนครศรีอยุธยา เข้าเฝ้ากราบทูล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทราบดังนั้นก็มีความยินดี จึงโปรดให้พระยาจักรี พระยาพระคลัง และนายทัพ นายกองพ้นโทษ และมีพระราชกำหนดให้ประชุมท้าวพระยามุข มนตรีกวีราชปโรหิตจารย์ทุกหมู่ทุกกระทรวง ครั้นเถิงวันพระราชกำหนด สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จออก


๑๙๕ ให้เบิกแขกเมืองทะวายจากับขุนนาง ๖ คนเข้าเฝ้า และพระราชทานเครื่องบริโภคอุปโภค แล้วตรัสพระราชโอวาทโปรดให้ทะวายจากับ ขุนนาง ๖ คนกลับออกไปรักษาเมืองทะวาย ลุศักราช ๙๔๓ ปีมะเส็งตรีศก (พ.ศ. ๒๑๒๔ ) สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสว่า เมืองตะนาว เมืองมฤท เมืองทะวาย เมืองเชียงใหม่นั้น เป็นของเราอยู่แล้ว เห็นศึกหงสาวดีจะห่างลง จำจะ ยกไปแก้แค้นพระเจ้าละแวกให้ได้ น้ำลงแห้งเท้าช้างเท้าม้า และ จะยกไปได้ ครั้นเถิงณวันเสาร์เดือนยี่ขึ้น ๕ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ทั้งสองพระองค์ ตรัสให้เตรียมพลณ ทุ่งหันตราสกรรจ์ ลำเครื่อง ๑๐๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๑๕๐๐ ให้พระราช มนูถือพล ๕๐๐๐ เป็นกองหน้า ครั้นศุภวารฤกษ์ดี ก็ยก ทัพหลวงเสด็จไปโดยทางสถลมารค ล่วงด่านพระจาฤกออกไป ฝ่ายพระเจ้าละแวกแจ้งข่าวว่า ทัพกรุงศรีอยุธยายกออกมา จึงให้พระยาแสนทองฟาคุมพล ๑๐,๐๐๐ ตั้งอยู่ณเมืองโพธิสัตว์ ให้พระยาบวรนายกคุมพล ๑๕,๐๐๐ ไปตั้งรับอยู่ณเมืองบัตบอง ขณะ เมื่อพระยาแสนทองฟา พระยาบวรนายก ไปตั้งนั้น ก็แต่งให้พระยาราชดิงษากับพระยามโนไมตรี เจ้าเมืองมัตบอง คุมพล ๕๐๐๐ ไปตั้งซุ่มอยู่ณบ้านระนำ ตำบลทาษ ฝ่ายทัพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยกไปข้ามลำน้ำโตนด ก็เข้าบ้านระนำช่องแคบ พระยาราชดิงษาเห็นกองหน้าถลำขึ้นไปก็ โจมตี ทัพพระราชมนูก็แตกลงมาเถิงหน้าช้างพระที่นั่ง สมเด็จ

๑๙๖ พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ให้ก็แยกทัพ ตีกระหนาบขึ้นไป และกองทัพเขมรแตก รี้พลล้มตายลงเป็น อันมาก สมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้าทรงพระพิโรธว่า พระราชมนู เป็นกองหน้า ให้เสียทีแก่ข้าศึกจนปะทะทัพหลวงดังนี้ ผิด ตรัส ให้ลงโทษเถิงสิ้นชีวิต สมเด็จเอกาทศรฐ ผู้เป็นอนุชาธิราช กราบทูลว่า พระราชมนูเป็นนายกองทัพหน้า ปล่อยข้าศึกลง มาปะทะทัพหลวงนั้น โทษเถิงสิ้นชีวิต แต่ทว่าได้โดยเสด็จงาน พระราชสงครามก็มาก ประการหนึ่งศึกก็ยังมีอยู่ ขอพระ ราชทานโทษไว้ ให้ทำราชการแก้ตัวครั้งหนึ่ง สมเด็จพระนเศวร เจ้าเป็นก็บัญชาโทษโดยพระอนุชาธิราช แล้วดำรัสให้พระราชมนู เร่งยกไปตีมัตบองและเมืองโพธิสัตว์ให้แตกฉาน ทัพหลวงเสด็จ ยกตาม พระราชมนูก็ยกไปตีเมืองมัตบอง และเมืองโพธิสัตว์แตกฉานทั้งสองตำบล และได้ผู้คนเป็นอันมาก และเครื่องสาตราอาวุธ ถวายเป็นอันมาก ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยกพยุหยาตราทัพไปเถิงเมืองละแวก ตรัสให้มุขมนตรีนายทัพนายกองเข้าล้อมเมือง แต่ง ทหารเข้าหักค่ายกำแพงเมือง ชาวเมืองรบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ เข้ามิได้ แต่ล้อมเมืองอยู่เถิง ๓ เดือนเศษ จนไพร่พลนายกอง ทัพหลวงขัดสะเบียงอาหาร แต่งให้ออกลาดค้นหาสะเบียงอาหาร ก็มิได้ ข้าวแพงเป็นทะนานละบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑๙๗ ตรัสว่า เรายกมาครั้งนี้หมายจะได้ข้าวในท้องนาก็หาสมคิดสมคะเน ไม่ ฝ่ายกรุงกัมพูชาธิบดีเล่า ฝนแล้ง ต้นข้าวในท้องนาก็ได้ ฝนน้อย ประการหนึ่งมิได้ มีทัพเรือลำเลียงมาด้วย กองทัพ เราจึงขัดสนสะเบียง เสียทีมิได้เมืองดังนั้นก็ดี แต่พอรู้จักกำลัง ศึกหนักมือเบามืออยู่แล้ว จำเป็นจะถอยทัพเรากลับไปก่อน ครั้นณวันอังคารเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เลิกทัพกลับมายังพระนคร ตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พลไว้ปีหน้า จะยกไปเอาเมืองกัมพูชาธิบดีให้ได้ ลุศักราช ๙๔๔ ปีมะเมียจัตวาศก (พ.ศ. ๒๑๒๕ ) เดือน ๑๒ ข้างแรม พระเจ้าหงสาวดีเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน จึงตรัส ปรึกษาด้วยท้าวพระยามุขมนตรีทั้งปวงว่า ในปีมะเส็งนั้นเห็นประหนึ่งทัพพระนเศวรจะมาเถิงกรุงหงสาวดี และสงบอยู่มิได้มานั้น ราชการทางพระนครศรีอยุธยาจะเป็นประการใด ถ้าจะแต่งกองทัพไปตรวจด่าน จะได้ฟังซึ่งกิจาการแห่งเมืองไทยได้ตระหนักด้วย ท้าว พระยามุขมนตรีทั้งปวงเห็นโดยพระบริหาร สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ก็ตรัสให้พระเจ้าแปรถือพล ๕๐๐,๐๐๐ ช้าง ๒๐๐ ม้า ๕๐๐ ยกไปตรวจด่านทาง และให้ฟังกิจคดีศัพท์ทุกประการ ถ้าแผ่นดินพระ นครศรีอยุธยายังเป็นของพระนเรศวรอยู่ ก็อย่าให้ล่วงด่านแดนเข้า ไป แต่หญ้าเส้นหนึ่งก็อย่าได้ทำอันตรายเสีย ครั้นได้ศุภวารดิถีอุดมฤกษ์ พระเจ้าแปรก็ถวายบังคมลา คุมช้างม้ารี้พลไปตรวจทางตระเวณด่านโดยสถลมารค ครั้นเถิงด่านต่อ

๑๙๘ แดนก็แจ้งว่าแผ่นดินเป็นของพระนเรศวร พระเจ้าแปรมิได้อยู่ใน พระราชบัญญัติพระเจ้าหงสาวดี คิดกำเริบจะเอาความชอบ ก็ยกล่วงด่านแดนเข้ามาตั้งอยู่ณตำบลสังขะลา เจ้าเมืองกาญจนบุรีรู้ข่าว ก็ตรวจตรารักษาค่ายคูประตูหอรบไว้ให้มั่นคง ก็เร่งบอกเข้าไปให้ กราบทูล สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทราบดังนั้น ก็ตรัสว่าจะไปเล่นตรุษเมืองละแวกสิ สงกรานต์ก็ชิงมาก่อนเล่า เราจะยกออกไปเล่นสงกรานต์กับมอญให้สนุกก่อนเถิด แล้วกำหนดให้เกณฑ์ทัพพลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๑๑๐๐ ให้ตั้ง พิธีโขลนทวาร ตัดไม้ข่มนามตำบลลุมพลี ตั้งทัพชัยทุ่งภูเขาทอง ครั้นณวันอาทิตย์ เดือนอ้ายขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้เพ็ชรฤกษ์อันอุดม สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ทรงพลายโจมจักรพาฬเป็นพระคชาธารประดับด้วยคชาภรณ์เครื่องมั่น สมเด็จเอกาทศรฐ ทรงพลายตูร นาษเป็นพระคชาธาร ประดับด้วยเครื่องคชาภรณ์เสร็จ จะยก พยุหแสนยากรทวยหาญโดยกระบวน ให้พระยาศราชเดโช ถือพล ๕๐๐๐ เป็นกองหน้า ยกไปโดยทางเมืองสุพรรณบุรี ครั้นเสด็จเถิงเมืองกาญจนบุรี เสด็จยกประทับแรม จึงมีพระราชบรรหารดำรัสพระมหาเทพ ให้ถือพลประทับ ๕๐๐๐ ไปตั้งซุ่ม อยู่ที่ริมทางทัพพระเจ้าแปรยกมา ถ้าทัพของข้าศึกแตกถอยไป ยกออกโจมตี ซ้ำเติมให้แตกฉานยับเยินจงได้ พระมหาเทพก็ยกไปซุ่มอยู่ตามรับสั่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จยกพยุหยาตรา

๑๙๙ ทัพจากเมืองกาญจนบุรีไปเถิงตำบลสังขะลา ก็ให้ตั้งค่ายประชิด แล้ว ก็ให้ทหารขึ้นไปร้องหน้าทัพนั้นว่า อ้ายมอญเหล่านี้หาเกรงพระเดชา นุภาพไม่หรือ ล่วงแดนเข้ามาใย บัดนี้พระกาฬเสด็จมาประหารชีวิตเองทั้งปวงแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็แยกทัพ ขับพระคชาธาร พร้อมด้วยทหารซ้ายหน้าหลัง ก็รุกเข้าโจมตี ฆ่าฟัน ยิงแทงพะม่ามอญแตกฉานล้มตายลงเป็นอันมาก พระเจ้าแปรเห็นเหลือกำลังจะต่อต้านทานมิได้ก็รุดหนี ทหารกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาก็ยกตามไป ฝ่ายทัพพระมหาเทพซึ่ งไปซุ่มอยู่นั้น เห็นได้ทีก็ออกโจมตีแทงฟันข้าศึกตายและลำบากเกลื่อนกลาดไปตามชายป่าชายดง จนเถิงพระเจดีย์สามองค์ ก็จับได้พะม่ามอญและช้างม้าเครี่องสาตราวุธ มาถวายเป็นอันมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เลิกทัพกลับเข้าพระนคร ครั้นวันพฤหัสบดี เดือน ๓ ขึ้น ๖ ค่ำ ก็ปูนบำเหน็จมุขมตรีนายทัพนายกองทั้งปวงโดยสมควร แล้วมีพระราชบริหารสั่งพระยา นครนายก พระยาปราจิน พระวิเศษ เมืองฉะเชิงเทรา พระสระบุรี ๔ หัวเมือง ให้พระยานครนายกเป็นแม่กองใหญ่ คุมพล ๑๐,๐๐๐ ออกไปตั้งค่ายขุดปลูกยุ้งฉางถ่ายน้ำลำเลียงไว้ตำบลท้ายน้ำ รักษา ไว้ให้มั่นคง อย่าให้เสียทีแก่ข้าศึกได้ ฝ่ายพระยานครนายก พระยาประจิม พระวิเศษ เมืองฉะเชิงเทรา พระสระบุรี ก็กราบถวายบังคมลาแล้วก็ไปกระทำตามพระราชบัญชาสั่งทุกประการ

๒๐๐ ฝ่ายพระเจ้าแปร เมื่อแตกทัพหนีมาเถิงเมืองหงสาวดี เหลือ รี้พลช้างม้าประมาณกึ่งหนึ่ง พระเจ้าหงสาวดีทรงพระพิโรธตรัสว่า พระเจ้าแปรนี้ล่วงพระบริหาร ให้เสียรี้พลช้างม้าดังนี้ ให้ประหารชีวิตเสีย ท้าวพระยามุขอำมาตย์กราบบังคมทูลขอชีวิตไว้ พระเจ้า หงสาวดีก็โปรดพระราชทานชีวิต แต่ให้ถอดออกเสียจากที่ยศถา นาศักดิ์แห่งตน ลุศักราช ๙๔๕ ปีมะแมเบญจศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๒๖ ) สมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้า ครั้นเสร็จการพระราชทานพิธีอาสวยุชแล้ว มีพระราช บริหารสั่งให้เกณฑ์ทัพเตรียมไว้ และพลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๑๕๐๐ กำหนดเดือนไว้จะยกไปกรุงกัมพูชาธิบดีให้เกณฑ์ทัพเมืองนครราชสีมา ๑๐๐๐ ยกตีลงมาทางตะพานแสง ไปเอาเมืองเสียมราบ ตีฟากตะวันออกตั้งตะโพงสวาย และให้ เกณฑ์ทัพเรือเมืองปากใต้ ๒๕๐ ลำ ให้พระยา เพ็ชรบุรีเป็นแม่ทัพเกณฑ์เรือลำเลียงเมืองนคร เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองไชยา ๒๐๐ ลำ บรรทุกข้าวลำเลียงให้ได้ ๒๐๐๐ เกวียน ทั้งทัพเรือ และทัพลำเลียงเป็นคน ๒๐,๐๐๐ สรัพไปด้วยเครื่องสาตราวุธ ปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิว ให้ไปตีเอาเมืองปาสักทัพหนึ่ง ให้ กองทัพอาษาจามและกองทัพเมืองจันทบูร คุมเรือรบ ๑๕๐ ลำ พลรบพลแจว ๑๐,๐๐๐ สรัพไปด้วยเครื่องสาตราอาวุธปืนใหญ่น้อยกระสุนดินประสิว ให้พระยาราชวังสันเป็นแม่ทัพ ตีไปทางปากน้ำพุทไธมาศ (๑) ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก

๒๐๑ แล้วให้ทัพบกทัพเรือหัวเมืองทั้งนี้กำหนดเดือนไว้ ขึ้น ๕ ค่ำให้ยกพร้อมวันทัพหลวงเสด็จ ท้าวพระยาพระหลวงหัวเมืองก็จัดแจงทัพบกทัพเรือไว้โดยพระราชกำหนด ครั้นณวันศุกร เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัสให้ไปตั้งพิธีชุมพลตำบลทุ่งหันตรา เถิงณวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกา ๕ บาท สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอาภรณ์วิจิตรอลังกาประดับสำหรับพิชัยยุทธ์เสร็จ ครั้นได้เพ็ชรฤกษ์มงคล อันประเสริฐ พระโหราลั่นฆ้องชัย ชีพ่อพราหมณ์ถวายเสียงสังข์สมเด็จพระนเศวรบรมเชษฐาธิราชเจ้า ทรงพระยาไชยานุภาพเป็น พระคชาธาร สมเด็จเอกาทศรฐ ทรงพระยาปราบไตรจักรเป็น พระคชาธาร เข้าโขลนทวาร พระสังฆราชพนรัตน์ ประน้ำพระ พุทธมนต์ พระยานนท์ตัดไม้ข่มนามโดยสาตร พร้อมด้วยเสนามาตย์ นิกรทวยหาญแห่แหนโดยกระบวนพยุหยาตราเป็นขนัด แซงเอกฉัตร ชุมซ้ายขวา วาลวิชนีบังพระสุริยาการ์ โกลาหล ศัพทสำเนียง แตรสังข์ฆ้องกลองอึงอลวนเสร็จ เสด็จกรีธาพลเดินโดยสถลมารค ทางด่านพระจาฤก ประทับแรมไปตามระยะก็เถิงตำบลค่ายทำนบ ฝ่ายพระยานครนายก พระยาปราจิน พระวิเศษ เมืองฉะเชิงเทรา พระสระบุรี ผู้อยู่รักษาค่ายฉางข้าว จึงมาเฝ้าทูลข้อราชการและจำนวนข้าวเสร็จสิ้นทุกประการ จึงดำรัสให้พระสระบุรีคุมพล ๑๐๐๐ อยู่รักษาค่ายฉางข้าว แล้วให้แต่งกองทัพออกไปลาดตระเวณฟังราชการให้ ๒๖ ๒๐๒ เถิงทัพหลวง แต่พระยาปราจิน พระวิเศษ กับพล ๙๐๐๐ยกไป เข้ากระบวนด้วยทัพหลวงนั้น ตั้งตำบลพะเนียดทางรวมที่จะไปเมือง มัตบอง และเมืองนครเสียมราบ จึงมีพระราชหารให้พระราชมนู เป็นแม่กองหน้า คุมพล ๒๕,๐๐๐ ยกไปแก้ตัว ตีเอาเมืองมัตบองและโพะสัตว์ พระราชมนูและนายทัพนายกองทั้งปวงกราบถวาย บังคมลาแล้ว ก็ยกไปตามพระราชกำหนด ครั้นรุ่งขึ้นวันหนึ่ง กองทัพหลวงก็เสด็จยกพยุโยธาทหารตามไป ฝ่ายพระเจ้าละแวก ขณะเมื่อเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ แต่งคนให้มาสอดแนมเอาข้อราชการ ได้เนื้อความว่า กรุงนครศรีอยุธยา น้ำแห้งเท้าช้างม้าแล้ว จะยกทัพบกทัพเรือออกมาตีกรุงตีกรุงกัมพูชา ธิบดี จึงให้จัดแจงแต่งการป้องกันรักษาพระนครเป็นสามารถ ฝ่าย ชาวเมืองรายทางให้ทำค่ายหอรบที่ปรักหักพังนั้น ให้ซ่อมแปลง ขึ้นใหม่ให้มั่นคงทุกๆ เมือง และเมืองมัตบองนั้น มีพลทหารรักษา ๑๐,๐๐๐ ให้พระยามโนไมตรีเป็นแม่ทัพ เมืองโพธิสัตว์ พระยา สวรรคโลก เจ้าเมืองเป็นแม่ทัพ ถือพล ๒๐,๐๐๐ แล้วให้พระศรีสุพรรณมาธิราชผู้เป็นอนุชา ถือพล ๓๐,๐๐๐ ออกมาตั้งรับอยู่ณเมืองโพธิสัตว์มัตบองมิได้ขาด ทางเรือนั้น แต่งกองทัพเป็น ๒ ทัพ ให้พระยาวงศาธิราช คุมเรือกุไลแงซาย ๑๕๐ ลำ พลรบพลแจว ๑๐,๐๐๐ สรัพไปด้วยเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อย กระสุนดินประสิวแล้วส่งไปรักษาเมืองปาสัก ให้พระยาภิมุขวงศา คุมเรือกุไลแง


๒๐๓ ซาย ๑๕๐ ลำ พลรบพลแจว ๑๐,๐๐๐ สรัพไปด้วยเครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อย กระสุนดินประสิวพร้อม ให้ลงไปรักษาเมือง จตุมุขปากกระสัง ซึ่งกองทัพเรือข้าศึกะมายกมาทางพุทไธมาศนั้น ให้พระยาจีนจันตุยกเอาพลเมืองสำโรงทอง เมืองเชิงกระสม เมือง กะปอด กะโพงสม เป็นคน ๕๐,๐๐๐ ให้ไปรักษาเมืองปากน้ำ พุทไธมาศ แลซึ่งฝ่ายกองทัพบกนั้น พระราชมนูยกข้ามลำน้ำโตนด ไปใกล้ตำบลลำพัดชายป่าระนำ ที่เขมรเคยซุ่มทัพแต่ก่อน ก็จัดพลพร้อมเสร็จเป็นทัพตี ส่วนพระราชมนูขี่ช้างพลายจู่โจมทัพ มีทหาร ๓๐๐ ถือหอกเดินหน้าช้าง ครั้นถึงป่าระนามก็มิได้เห็นกองทัพเขมรแล้วก็ยกล่วงเข้าไป ฝ่ายพระมโนไมตรีซึ่งรักษาเมืองมัตบองแจ้งว่า กองทัพ ไทยยกมา จึงปรึกษาแก่นายทัพกองทั้งปวง ว่าพระนเรศวรเป็น เจ้าเสด็จยกมาครั้งนั้นเป็นทัพรุก รี้พลก็น้อย ประการหนึ่งข้าว ในท้องนาเราก็เสีย ข้าศึกหาได้เป็นกำลังไม่ จึงเลิกทัพกลับไป ครั้งนี้เห็นเป็นเถือกเถาใหญ่หลวงนัก รี้พลช้างม้าก็มาก แล้วก็ตั้ง ยุ้งฉางถ่ายลำเลียงรายทางออกมา ซึ่งเราจะรับปะทะหน้าศึกเหมือนครั้งก่อนนั้นไม่ได้ จะรักษาเมืองให้มั่นไว้ดูกำลังข้าศึกก่อน ถ้าเห็น หนักเหลือกำลังบอกขอทัพมาช่วย นายทัพนายกองทั้งนั้นก็เห็น ด้วยพระยามโนไมตรี จึงให้ตรวจหน้าที่เชิงเทินตระเตรียมสาตราวุธซ่อมแซมขวากหนามให้แน่นหนา แล้วให้ทำสะพานเรือกข้าม แม่น้ำ ๓ สะพานต่อหัวเมือง กลางเมือง ท้ายเมือง และตั้งค่าย

๒๐๔ กระหนาบต้นสะพานข้างละ ๒ ค่าย ให้รักษาค่าย ๆ ละ ๕๐๐ แล้วแต่งให้หมื่นศรีสะเหน็จ คุมกองตระเวนและม้าออกไปนั่งทางคอย เหตุ ถ้าศึกยกมาให้ปืนเป็นสำคัญ ฝ่ายทัพหน้า พระราชมนูยกเดินมา แต่งเป็นกองเสือป่า แมวเซา สามพวก เจ็ดพวก เล็ดลอดมราก่อน ยังทางประมาณ ๑๐๐ เส้นจะถึงเมืองมัตบอง พบเขมรกองได้รบยิงกัน จับได้ ๓ คน ส่งไปให้พระราชมนูถามแจ้งความเสร็จแล้ว ก็ตบมือ หัวร่อ จึงว่าซึ่งพระยามโนไมตรีเจ้าเมืองมัตบอง คิดรับเรากับเมือง ไม่ออกมารับเอากลางแปลงนั้น สำคัญว่ามั่นอยู่แล้วหรือ เห็นหา มั่นรับเราได้สักนาฬิกาหนึ่งไม่ อุปมาเหมือนนุ่นและสำลี ไหนเลย จะทานกำลังมหาวาตพายุใหญ่ได้ ว่าเท่าดังนั้นแล้วก็นัดนายทัพ นายกอง ให้ยกเข้าตัมัตบองให้ได้แต่ในเพลานี้ ฝ่ายนายทัพ นายกองพร้อมกัน ยกเข้าตีค่ายซึ่งกันรับต้นสะพานทั้งหกค่าย ได้ เขมรซึ่งแตกออกจากค่ายนั้น บ้างวิ่งมาน้ำ บ้างข้ามสะพาน เข้าประตู ค่ายเมืองคั่งกัน พระราชมนูเห็นดังนั้น ก็ขับทหารไล่ไป ตามสะพาน แทงฟันเขมรล้มตายในน้ำบนบกเป็นอันมาก หักเข้า เมืองได้จุดไฟเผาเมืองขึ้น ครอบครัวชาวเมืองแตกตื่นอึงออกไปจาก ค่ายได้บ้าง จับได้พระยามโนตรี ครอบครัว ช้างพลายพัง ๒๐ ช้าง ม้า ๕๐ ปืนใหญ่น้อย เครื่องสตราวุธเป็นอันมาก พอทัพหลวงเสด็จเถิงตั้งตำบลปราสาทเอก พระราชมนูก็คุมตัวพระยามโนตรี มาถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ถามพระยามโน

๒๐๕ ไมตรี ให้การกราบทูลว่า พระเจ้าละแวกให้พระศรีสุพรรณมาธิราช ผู้เป็นพระอนุชา ถือพล ๓๐๐๐๐ ตั้งรับอยู่เมืองบริบูรณ์ตำบลหนึ่ง ให้พระยาสวรรคโลก เจ้าเมืองโพธิสัตว์ ถือพล ๒๐๐๐๐ ตั้งรับอยู่ ณเมืองโพธิสัตว์ตำบลหนึ่ง ฝ่ายกองทัพไปรับอยู่ทางเรือนั้น ให้ การกราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงตรัสถามว่า ถ้าและเมืองโพธิสัตว์และเมืองบริบูรณ์ ๒ ตำบลนี้แตกแล้ว เห็นกรุงกัมพูชาธิบดีจะเสีย หรือไม่ พระยามโนไมตรีให้การกราบทูลว่า ซึ่งเมืองจะเสียมิเสียนั้น จะกราบทูลเกรงจะเป็นเท็จ สุดแต่พระราชดำริการเป็นต้น แต่ข้า พระเจ้าเห็นว่า ซึ่งกองทัพรับอยู่ ๒ ตำบลนี้ อุกหมาเหมือนหน้าสำเภากรุงกัมพูชาธิบดีเป็นท้ายสำเภา ถ้าหน้าสำเภาต้องคลื่นและพายุ ใหญ่ แตกหักชำรุดรั่วอับปางลงแล้ว และท้ายสำเภาจะรักษาไว้นั้น เป็นอันยากนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ได้ทรงฟังดังนั้น แย้มพระโอฐแล้วตรัสว่า พระยาเขมรคนนี้พูดจาหลัก แหลมให้เอาไว้ใช้ ตรัสเท่านั้นแล้ว สั่งพระยานครนายกให้ คุมพล ๓๐๐๐๐ อยู่รักษาเมืองมัตบอง เกลี่ยกล่อมเขมรเกี่ยวข้าว เก็บข้าวในท้องนา ใส่ยุ้งฉางไว้ ให้ได้จงมาก ขณะเมื่อเมืองมัตบองแตกดังนั้น พอคนเร็วม้าใช้เขมรเมืองโพธิสัตว์ ออกมาฟังราชการ มาเถิงบ้านละลวด พอพบตะละพาด พระยาพระเขมร นายหมวดนายกอง และไพร่กองทัพเมืองมัตบอง แตกเข้ามา ก็พากันกลับไปเมืองโพธิสัตว์ แจ้งแก่พระยาสวรรคโลก

๒๐๖ ทุกประการ พระยาสวรรคโลกแจ้งดังนั้น ก็บอกหนังสือส่งตัวพระยาเขมรทั้งปวงเข้าไปยังกรุงกัมพูชาธิบดี แล้วจึงปรึกษานายทัพ นายกองว่า พระยามโนไมตรีมิได้แต่งทัพออกรับที่กล้า และกองซุ่มกองโจรดูกำลังก่อน ละให้ศึกเข้ามาจนเถิงเมือง จนเสียครอบครัว ยับเยิน ข้าศึกก็มีน้ำใจกำเริบหนักขึ้น จะเอาเป็นอย่างมิได้ เราจะยกออกไปกลางทาง นายทัพนายกองก็เห็นด้วย พระยาสวรรคโลก ก็ให้ผ่อนครอบครัวออกเสียจากเมือง แล้วยกออกไปตั้งรับลำน้ำลงกุบเอาน้ำไว้หลัง หมายจะมิให้ข้าศึกอาศัยไว้ จึงแต่งเป็นกองโจร ๖ กอง ๆ ละ ๕๐๐ แล้วสั่งว่าได้ทีจึงทำ ถ้ามิได้ทีให้เลิกเข้าป่า ถ้าเห็นศึกหนักเหลือกำลังให้ลาดเข้ามาเราจึงจะยกออกช่วย กองโจร ก็ไปทำตามพระยาสวรรคโลกสั่ง ฝ่ายพระราชมนู ครั้นพระยานครนายกอยู่รักษาเมืองมัตบองแล้ว ก็กราบทูลถวายบังคมยกเข้าไปเมืองโพธิสัตว์ กองทัพหลวง ก็เสด็จตามเข้าไป ทัพหน้าพระราชมนูยกเข้าไปเถิงตำบลหนองจอกฝ่ายเขมรกองโจรก็รับ ทัพหน้าก็ตีแตก แต่เขมรรับรายทางเข้าไป เข้าไปหาทัพใหญ่ พระราชมน ก็ยกทหารหนุนเนื่องกันเข้าไป ฝ่ายพระยาสวรรคโลกได้ยินเสียงปืนรบสักครู่หนึ่ง พอเห็นเขมรแตกทัพไทยไล่ติดเข้ามา พระยาสวรรคโลกให้ตีฆ้องกลองสัญญา โยกธง ยกทหารออกไปรับ ได้รบกันกับทัพหน้าพระราชมนูจนเถิง


๒๐๗ ตะลุมบอนฟันแทง พระราชมนูเห็นดังนั้น ก็ทบทหารแผ่ออกตี ประดาเข้าไป ทัพเขมรก็ไม่อยู่ ก็แตกส้มตายป่วยเจ็บเป็นอันมาก พระยาสวรรคโลกขึ้นช้างข้ามน้ำหนีไปได้ ทัพไทยได้ช้างพลายพัง ๕๐ ช้าง ม้า ๑๐๐ กับเครื่องสาตราวุธ จับได้เขมรเป็นอันมาก และยกตามเข้าไปได้เมืองโพธิสัตว์ ก็บอกลงไปเถิงทัพหลวง สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนินยกเข้ามาตั้งเมืองโพธิสัตว์ ฝ่ายพระราชมนู นายทัพนายกองเข้ามาเฝ้าพระบาท ยุคล ทูลถวายช้างม้าเครื่องสาตราวุธแลเขมรชะเลยทั้งปวง สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการสั่งให้พระยาปราจินกับพล ๓๐๐๐ ตั้งอยู่เก็บรวมสะเบียงอาหารณเมืองโพธิสัตว์ แล้วตรัสปรึกษาราชการแก่สมเด็จพระอนุชาธิราช ว่าเมืองโพธิสัตว์มัตบองเราก็ได้ แล้ว แต่เมืองบริบูรณ์นั้น พระเจ้าละแวกให้น้องออกมาตั้งรับ รี้พลก็มาก เห็นจะพร้อม ๓ ประการ ทั้งอาชญาก็จะกล้า ทหารก็จะแข็งมือเครื่องสาตราวุธก็จะพร้อม ถึงกระนั้นก็ดี อุปมาเหมือนหนึ่งพญานาคราช เถิงแม้นมาตรมรเดชานุภาพมากก็ดี หรือจะอาจมาทานกำลังพระยาครุฑได้ เราจะหักเอาให้ได้ในพริบตาเดียว ตรัสเท่าดัง นั้นแล้วส่งให้ทัพหน้าเร่งยกล่วงเข้าไป อย่าให้พลทหารคั่งกัน ครั้นเพลาตี ๓ ยาม ได้เพ็ชรฤกษ์พระจันทร์ทรงกลดส่องสว่างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงเครื่องสำหรับพิชัยยุทธ์เสร็จ ก็เสด็จยกพยุหโธาทัพจากเมืองโพธิสัตว์ ฝ่ายพระยาสวรรคโลก นายทัพนายกองซึ่งแตกมานั้น ก็ไปเถิงเมืองบริบูรณ์ เข้าเฝ้าพระ

๒๐๘ ศรีสุพรรณมาธิราช ทูลแจ้งข้อราชการซึ่งได้รบแก่ข้าศึกทุกสิ่ง ทุกประการ พระศรีสุพรรณมาธิราชได้แจ้งดังนั้นก็ตกพระทัย จึงแต่งกองตระเวณเป็นเสือป่าผลัดเปลี่ยนกัน ออกไปลาดคอยดูข้าศึกทั้งหลายให้จุดเผาข้าวต้นในท้องนาเสียแล้ว บอกข้อราชการเข้าไปรกรุง กัมพูชาธิบดี ฝ่ายพระเจ้าละแวกแจ้งว่า เมืองโพธิสัตว์มัตบองเสียแก่ข้าศึกแล้ว ก็เสียพระทัย จึงให้พระยานเรศวรคุมพล ๑๐,๐๐๐ ยกไปช่วยเมืองบริบูรณ์ ฝ่ายสมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้า เสด็จพยุหยาตราทัพรอนแรมตามทางมา ๓ คืน ก็เชิงชายป่าทุ่งหน้าเมืองบิรบูรณ์ กองหน้าพบเขมรกองตระเวณเข้า ได้รบยิงกัน เขมรแตกวิ่งเข้าเมือง พระศรีสุพรรณมาธิราชแจ้งดังนั้น ก็ตรัสว่าศึกไทยได้ ทียกเข้ามา ครั้นจะ แต่งกองทัพออกรับ เกลือรับมิอยู่ทหารก็เสียใจ ประการหนึ่งศึก ก็ยังมั่น ชุมกันอยู่ ต่อเมื่อใดแผ่บางออกแล้วเราจึงจะยกออกตีทีเดียว ให้แต่ตรวจตรารักษาหน้าที่เชิงเทินไว้ให้มั่นคง อย่าให้ข้าศึกเข้าแหก หักเอาได้ ตรัสเท่าดังนั้นแล้วก็มิได้แต่งออกรับ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า เห็นทัพเขมรมิได้ยกออกมารบพระองค์ได้ยังทัพ จึงมีพระราชบริหารกำหนดให้นายทัพนายกองเข้าล้อมเมืองรบหักเอาให้ได้ในเพลานี้ ฝ่ายนายทัพนายกองทั้งปวง ก็แบ่งปันกันเป็นหน้าด่าน ยกล้อมโอบรบเข้าไป ฝ่ายเขมรก็รบก็รบยิงธนูหน้าไม้ปืนไฟออกมาเป็นสามารถ

๒๐๙ กองทัพไทยก็มิได้ถอย ขุดคูมุดดินเป็นสนามเพลาะบังตัวรุกเข้าไป พอเพลาพลบค่ำก็ประจบกัน ที่ชิดก็เข้าถอนขวากหนาม ปีนค่าย ยื้อค่ายฟันค่าย จนเถิงได้ฟันแทงกัน ฝ่ายพระศรีสุพรรณมาธิราชเห็นศึกหนักเหลือกำลังจะรับมิอยู่ขึ้นช้างพระที่นั่งได้ทหาร ๑๐,๐๐๐ ก็แหกออกไป ทัพไทยก็เข้าเมือง ได้ ไล่ฟันแทงเขมรเจ็บป่วยล้มตาย กองทัพเขมรก็หนีระบาดกัน ออกทุกหน้าที่ กองทัพไทยจับได้พระยาเสนาธิบดี เจ้าเมืองบริบูรณ์หลวง ขุน หมื่น ไพร่เขมร ปืนใหญ่น้อยเครื่องสาตราวุธเป็นอันมาก ได้ช้างพลายพังใหญ่น้อย ๗๕ ช้าง ม้า ๒๐๐ เศษ ฝ่ายพระศรีสุพรรณมาธิราช แหกออกจากค่ายได้ ยังพลรีบเดินในเพลากลางคืน เถิงตำบลบ้านผงรอ พบทัพพระยาราชนเศวร ซึ่งพระเจ้าละแวกให้ออกมาช่วย ก็พากันถอยเข้าเมือง ขึ้นเฝ้าแจ้ง ราชการแก่พระเจ้าละแวกทุกประการ พระเจ้าละแวกได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพระโกธร ตรัสคาดโทษพระศรีสุพรรณมาธิราช และนายทัพ นายกองแล้ว จึงให้ตรวจตราป้อมค่ายผู้รักษาหน้าที่เชิงเทินหอรบ ชั้นนอก ซ่อมแปลงขวากหนาม เอาปืนใหญ่น้อยขึ้นใส่ป้อมและ ประตูเมือง หน้าที่นั้นห่าง ๑๐ วาไว้ ปืนหลักแก้วบอกหนึ่ง ถัดเชิงเทินเข้ามาไว้กองหนุนกองละ ๓๐๐ ห่างกันกัน ๓ เส้น เชิงเทินชั้นกลางนั้นไว้กองขัน ๔ กอง ๆ ละ ๓๐๐๐ ให้พระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นอนุชาอยู่ด้านเหนือ พระราชบุตรอยู่ใต้ เจ้าฟ้าทะละอยู่ด้าน ตะวันออก พระยาราชนเรศรอยู่ด้านตะวันตก เชิงเทินชั้นในไว้กอง ๒๗ ๒๑๐ ใหญ่ ๔ กอง ๆ ละ ๕๐๐๐ ในกรบวนทัพหลวง แล้วแต่งหนังสือ ให้พระยามนตรีเสนหาถือไปเมืองญวน ขอกองทัพมาช่วย ครั้นเพลาอุษาโยค พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จออก พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ราชปโรหิตนายทัพนายกองกราบถวายบังคมเฝ้าบาทยุคลเกลื่อนกลาด พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงสั่งให้คุมเอาตัวพระยาเสนาธิบดี พระ หลวง ขุน หมื่น นายทัพนายกองทั้งปวง ก็ให้กราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ จึงมี พระราชดำรัสให้พระวิเศษ เมืองฉะเชิงเทรา เป็นพระยาวิเศษ ให้เป็นนายกองทัพ คุมพล ๓๐๐ ตั้งอยู่ณเมืองบริบูรณ์ ปลูกยุ้งฉาง รวบรวมสะเบียงอาหารไว้เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินยกพยุหยาตราทัพโดยลำดับ ประมาณดิถี ๒ คืนก็เถิงกรุงกัมพูชาประเทศ ทัพหลวงตั้งค่ายมั่นใกล้เมืองทางประมาณ ๗๐ เส้น ตรัสให้นายทัพนายกอง ตั้งค่ายล้อมประชิดเมือง ให้พระราชมนูอยู่ด้านตะวันตก พระยา ศรีราชเดโชด้านใต้ พระยาท้ายน้ำอยู่ด้านตะวันออก พระยามหา โยธาอยู่ด้านเหนือ ขณะเมื่อทัพหลวงตีค่ายรายทางเข้ามาเถิงเมืองโพธิสัตว์นั้น กอง ทัพพระยาราชวังสันเข้าตีได้เมืองพุทไธมาศ พระยาจีนจันตุแม่ทัพเขมรตายในที่รบ และยกเข้ามาณปากกระสังได้รบกับกองทัพเรือพระยาวงศาธิราช ฝ่ายกองทัพพระยาเพ็ชรบุรีเข้าตีเมืองปาสักได้รบกับกองทัพเรือพระยาวงศาธิราช กองทัพเขมรแตก เขมรจมน้ำตายเป็นอันมาก

๒๑๑ พระยาวงศาธิราชก็ต้องปืนใหญ่ตาย กองทัพใหญ่ได้เมืองปาสักกับสำเภาจีนลูกค้า ๑๕ ลำ สลุบฝรั่ง ๒ ลำ เรือรบเรือไล่ปืนใหญ่น้อยเครื่องสาตราเป็นอันมาก พระยาเพ็ชรบุรีก็ยกรุดตามขึ้นเถิงปากกระสัง เห็นกองทัพพระยาวังสันกับเขมรยังรบกันอยู่ พระยาเพ็ชรบุรีก็ยกตีกระหนาบเข้าไป กองทัพเขมรทานมิได้ก็แตก พระยาราชวังสันกับ พระยาเพ็ชรบุรี ๒ ทัพบรรจบกันเจ้า ก็รีบยกขึ้นตีได้เมืองจัตุรมุข แล้วยกขึ้นไปบรรจบกองทัพหลวงณเมืองละแวก ฝ่ายกองทัพพระยานครราชสีมา ซึ่งตีเมืองนครเสียมราบฟากทะเลสาปตะวันออก ก็ยกมาตั้งค่ายมั่นกะพงสวาย พร้อมกันกับ กองทัพเรือพระยาเพ็ชรบุรี พระยาราชวังสัน พระยานครราชสีมา พระยาพระหลวง หัวเมือง นายกองทั้งปวงก็พากันขึ้นไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณค่ายเมืองละแวก กราบทูลซึ่งได้รบรายทาง และได้สำเภาจีน และสลุบฝรั่ง เครื่องสาตราวุธปืนใหญ่น้อย เสร็จสิ้น ทุกประการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระโสมนัส จึงดำริการที่จะเข้าหักค่ายเมือง แล้วจึงมีพระราชโองการสั่งนายทัพ นายกองค่ายล้อมทั้งปวงให้เร่งเดินค่ายประชิดเข้าไปให้ใกล้ ห่างเมืองแต่เส้นหนึ่ง ๓๐ วา ให้ตั้งป้อมพูนดินทั้งสี่มุม มุมละ ๒ ด้าน เอา ปืนใหญ่ทัพเรือขึ้นยิงกวาดตามเชิงเทิน บรรดาประตูเมืองนั้น ก็ให้ตั้งป้อมเอาปืนใหญ่ขึ้นยิงด้วย หน้าที่ผู้ใดทหารบางอยู่นั้น ให้ กองทัพเรือกองทัพเมืองนครราชสีมา ยกมาบรรจบเร่งทำการให้แล้วพร้อมแต่ใน ๓ วัน ถ้าผู้ใดมิแล้วตามกำหนด จะตัดศีร์ษะเสีย

๒๑๒ ฝ่ายนายทัพนายกองกลัวพระราชอาญา กราบถวายบังคมแล้ว ก็เร่งทำตามพระราชบัญชาทั้งกลางวันกลางคืน พระบาทสมเด็จพระพุทะเจ้าอยู่หัว จึงให้แต่งเป็นหนังสือว่า หนังสือเราผู้เป็นนายกพลากรทหารทัพหน้า อันเป็นสวามีประวาสบาทมุลิกากร บวรรัตนามาศ ดุจหนึ่งจักรแก้วอันอยู่ในใต้ เบื้องบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา อันมีพระบุญเดชมากดุจดวงพระทินกรส่องโลก มายังพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ซึ่งเป็นใหญ่ในกัมพูชาประเทศ แต่ก่อนกรุงกัมพูชาธิบดี เคยถวายหิรัญสุวรรณมาลาเครื่องราชบรรณาการ สองพระนครก็ เป็นปฐพีเดียวกัน สมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรก็ได้ความ สุขานุสุข เป็นไฉนพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี มิได้ตั้งอยู่ในสัตยานุสัตย์คิดอหังการกลับเป็นปัจจมิตร ให้เคืองใต้บาทยุคลเอาโลหิตมาเป็น น้ำล้างดาบทหารไทย จะให้เหลืออยู่แต่น้ำกับฟ้า ป่ากับดิน ดังนี้ ก็ดู มิควร บัดนี้ก็เสด็จพระราชดำเนินมาเถิงพระนครแล้ว อันจะได้ชัยชำนะและมิชัยชำนะนั้น พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีหาเข้าพระทัยไม่ หรือ ไม่ออกมากราบถวายบังคมพระบาทยุคล ถวายเศวตบวรฉัตรเห็นชีวิตจะยืนยาวไปได้หรือ หมายจะได้ชัยชำนะก็ให้เร่งยกพยุห โยธาออกมา ทำสงครามกันดูเล่นเป็นขวัญตา ถ้ามิออกมาใน ๓ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จะให้ทหารเข้าพลอกแผ่นดินเสียแต่ในพริบตาเดียว


๒๑๓ ครั้นแต่งเสร็จแล้ว ก็ให้พระยาเสนาธิบดีเจ้าเมืองบริบูรณ์ กับพระยาพระเขมร ซึ่งทัพเรือจับได้มานั้นถือเข้า พระยาพระเขมรทั้งปวงกราบถวายบังคมแล้ว ก็นำหนังสือเข้าไปถวายพระเจ้าละแวก แล้ว ทูลซึ่งได้รบทางเรือเสร็จสิ้นทุกประการ พระเจ้าละแวกได้แจ้ง ในหนังสือ และเสียกองทัพเรือ ก็ยิ่งเสียพระทัยนัก จึงตรัสว่า อ้ายเหล่านี้ไปรบศึก กลับเป็นพวกปัจจามิตรเป็นทูตถือหนังสือเข้ามา อีกเล่า โทษมันเถิงตาย ให้เอาไปจำมั่นไว้ ตรัสว่าดังนั้นแล้วก็ เสด็จออกเลียบพระนคร ทอดพระเนตรเห็นกองทัพไทยเดินค่าย ประชิดเข้าใกล้ จึงบัญชาให้จุดปืนใหญ่น้อยยิงระดมออกไป ต้องพลข้าศึกตายเป็นอันมาก ทำการเข้าไปมิได้ พระราชมนู พระยา ศรีเดโช พระยาท้ายน้ำ พระยามหาโยธา เห็นดังนั้น ก็ให้ขุด ดินถมขึ้นบังเดิน เขมรยิงมาไม่ถูก แล้วเร่งให้ถมมูลดินเป็นป้อม ขึ้นสูงกว่าค่ายเมือง เอาปืนใหญ่ขึ้นจังกา ๒ วัน ๓ คืนก็เสร็จ ฝ่ายพระเจ้าละแวกเห็นดังนั้น ก็ให้ตั้งค่ายสอบค่ายเมืองสูงขึ้น เป็นค่ายบังตาศึกหลังเชิงเทินนั้น ๓- ๔ วา ให้ชัดค่ายปีกกาแล้วไว้ประตูลับเป็นช่องเดิน เสียงหน่วยปืนใหญ่ยิงตอบโต้กันมิได้ขาด ทั้งกลางวันกลางคืน พลเขมรซึ่งรักษาที่เชิงเทินนั้น ต้องปืนเจ็บ ป่วยล้มตายเป็นอันมาก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเห็นการพร้อมพอจะหักเอาเมืองได้ จึง ให้โหราฤกษ์ จะได้ฤกษ์วันใด ได้ฤกษวันศุกร์เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีวอกฉอศก ( จ.ศ. ๙๔๖ พ.ศ . ๒๑๒๗ ) เพลา ๑๐ ทุ่ม ๕ บาท จึง

๒๑๔ ดำรัสพระราชกำหนดให้พระราชมนูขี่ช้างพลายจู่โจมทัพ คุมทหาร ๓๐๐๐ เข้าไปโดยถนนประตูด้านตะวันตก ให้พระยาศรีราชเดโช ขี่ช้างพลายจับโจมยุทธ คุมทหาร ๓๐๐๐ เข้าโดยถนนประตูด้านใต้ให้พระยาท้ายน้ำขี่ช้างพลายมารประลัย คุมทหาร ๓๐๐๐ เข้าโดยถนนประตูด้านตะวันออก ให้พระยามหาโยธาขี่ช้างพลายไฟภัทกัลย์คุมทหาร ๓๐๐๐ เข้าโดยถนนประตูด้านเหนือ ช้างนั้นให้ใส่หน้าร่าห์เกือกเหล็ก ทหาร ๑๒,๐๐๐ ให้ใส่เกือกเสื้อหนังหมวกหนัง ฝ่ายค่ายประชิดทั้งปวงนั้น ให้ระดมจุดปืนใหญ่เข้าไปตามประตูและกวาด เชิงเทิน แต่ ๓ ยามไปนำกว่าจะเถิงฤกษ์ อย่าให้พลเขมรมาช่วยกันถนัดได้ แต่ทว่าเป็นเพลากลางคืนเห็นจะไม่พร้อม ให้คอยดูดวงพลุ แลฟังเสียงฆ้องกลองแตรสังข์เป็นสำคัญ ได้ฤกษ์แล้วก็ให้ทหารเข้า หักเอาเมืองให้ได้จงทุกด้าน ถ้าผู้ใดมิเข้าได้ จะตัดศีร์ษะเสียบ นายทัพนายกองทั้งปวงแจ้งพระราชกำหนดกราบถวายบังคมแล้ว ก็ ไปเตรียมการตามรับสั่ง ครั้นเพลา ๓ ยามเจ้าหน้าที่ทั้งปวง ก็ระดมปืนเข้าไปในเมือง ต้องพลเขมรเจ็บป่วยล้มตายเป็นอันมาก ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องสำหรับขัติยราชรณยุทธ สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า ทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นพระคชาธาร สมเด็จเอกาทศรฐทรงเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นพระคชาธาร พร้อมด้วยโยธาหาญเสด็จยืนช้างพระที่นั่งข้างประตู อุดรทิศหน้าที่พระยามหาโยธา ได้เพ็ชรฤกษ์ จึงให้ประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ จุดเพลิง พลุขึ้นเป็นสำคัญ พลทหารทั้งสี่ด้านเห็นสำคัญ

๒๑๕ ก็ให้โห่ขึ้นพร้อมกัน พระยามหาโยธา พระยาศรีราชเดโช พระยา ท้ายน้ำ พระราชมนู ก็ขี่ช้างนำหน้า ยกทหารเข้าไปจะทำลายประตูเมือง เขมรซึ่งรักษาหน้าที่ริมประตูและรักษาประตู ก็ยิงธนูหน้าไม้ ปืนใหญ่น้อยออกมาทั้งสี่ด้าน พลทหารไทยเจ็บป่วยล้มตายก็มิได้ ถอย พระยามหาโยธาก็ขับช้างเข้าให้แทงประตูถีบประตูเป็นสามารถพอรุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ศักราช ๙๔๖ ปีวอกฉอศกประตูก็พังลง ทหารไทยกรุเข้าเมืองได้ไล่ฆ่าฟันเขมรตายเป็นอันมากเขมรกองขันกองกลางทั้งสองขั้น ก็มิได้รบ ทิ้งเครื่องสาตราวุธเสีย หนีกระจัดกระจายออกจากเมืองบ้างไปหาครอบครัวบ้าง พระราชบุตรนั้นก็หนีไปด้วย จับได้พระยาละแวกกับพระศรีสุพรรณมาธิราช และญาติประยุรวงศ์ สนมกรมในท้าวพระยาพระเขมร ครอบครัวพลเมืองเป็นอันมาก พลทหารก็กุมเอาพระเจ้าละแวกพันธนาการเอามาถวาย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวแย้มพระโอฐ แล้วมีพระโองการตรัสถามพระเจ้าละแวกว่า ท่านเป็นกษัตริย์ขัติยราช บำรุงแผ่นดินกรุง กัมพูชาธิบดี มีกุรุราษฎร์เป็นแว่นแคว้นขันธเสมา ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ก็มีปัจจันตชนบทเป็นแว่นแค้น และสองพระนครนี้ก็เป็นราชธานีใหญ่ ถ้าจะใคร่ได้สมบัติในพระนครศรีอยุธยา แผ่เสมามณฑลให้กว้างขวาง เหตุไฉนจึงมิยกเป็นพยุหโยธาไปกระทำสงครามให้ต้องทำนองขัติยราชรณยุทธ์ อันเป็นที่บันเทิงหฤทัยกษัตราธิราช แต่ก่อน จึงคอยแต่ข้าศึกหงสาวดีมาติดพระนครศรีอยุธยาครั้งใด ก็มีแต่ยกพลไปพลอยซ้ำเติมตีเอาเมืองชนบทประเทศ กวาดเอาอพยพ

๒๑๖ มาเมืองทุกครั้ง ทำดุจกาอันลอบลักฝูงสกุณปักษาฉะนั้น ควรด้วย ราชประเพณีและหรือประการใด ก็ครั้งนี้เถิงซึ่งอับปราชัยแก่เราแล้ว ก็จะคิดฉันใดเล่า ให้ว่าไปตามสัตย์ตามจริง จะได้เป็นเยี่ยงอย่างกษัตริย์ไปภายหน้า พระเจ้าละแวกกราบถวายบังคมแล้วทูลว่า ซึ่งข้าพระองค์เป็นคนโลภเจตนามิได้กระทำสงครามตามราชประเพณีกษัตริย์ ไปลัก ลอบกระทำเสี้ยนหนามแกพระนครศรีอยุธยานั้นโทษผิดเถิงตาย ถ้าพระองค์พระราชทานชีวิตไว้ กรุงกัมพูชาธิบดีจะได้เป็นข้าขันธเสมากรุงเทพมหานคร ถ้ามิเลี้ยงก็ก้มหน้าตาย สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟังคำพระเจ้าละแวกดังนั้นจึงตรัสว่า เราได้ออกวาจาไว้แล้วว่า ถ้ามีชัยแก่ท่าน เราจะทำพิธีปฐมกรรมเอาโลหิตท่านล้างบาทาเสียให้จงได้ ท่านอย่าอาลัยแก่ชีวิตเลย จงตั้งหน้าหาความชอบในปรโลกนั้นเถิด บุตรภรรยาญาติประยุรวงศ์นั้น เราจะเลี้ยงไว้ให้มีความสุขดุจแต่ก่อน ตรัสเท่านั้นแล้วก็มี พระราชบริหารแก่มุขมนตรี ให้ตั้งการพิธีปฐมกรรมโดยสาตร (๑) พระ โหราธิบดีพ่อพราหมณ์ ก็จัดแจงการนั้นเสร็จ จึงเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นบนเกย เจ้าพนักงานองครักษ์เอาตัวพระเจ้าละแวก (๑) ฉบับหลวงประเสริฐกล่าวแต่เพียงว่า ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก ณวันศุกร์เดือนยี่ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท เสด็จพยุห ยาตราไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัยตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้น ได้ตัวพระยาศรีสุพรรณในวันอาทิตย์เดือน ๔ แรม ๑ ค่ำนั้น

๒๑๗ เข้าใต้เกย ตัดศีร์ษะเอาถาดทองรองโลหิตขึ้นไปชำระพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว พระโหราธิบดีลั่นฆ้องชัย ชีพ่อพราหมณ์เป่าสังข์ประโคมดุริยดนตรี ถวายมุธาภิเศกทรงอาเศียรภาพโดยสาตรพิธี เสร็จ เสด็จเข้าพลับพลา รุ่งขึ้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องสำหรับราชรณยุทธ์เสร็จ สมเด็จพระนเศวรเป็นเจ้า ทรงม้าพระที่นั่งราชพาหนะสูง ๓ ศอกคืบ ๒ นิ้ว สมเด็จเอกาทศรฐทรงม้าพระที่นั่งพลาหก สูง ๓ ศอกคืบ พร้อมด้วยหมู่เสนางคนิกรโยธาทหาร แห่โดยกระบวน ซ้ายขวาหน้าหลังเศวตฉัตรบังพระสุริย ชุมสาย พัดโบก พัชนี มีฆ้องกลองแตรสังข์ประโคมนฤนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเลียบพระนคร ครั้นเพลาชายแล้ว ๒ นาฬิกาเสด็จกลับยังค่ายหลวง มีพระราชโองการสั่งเสนาธิบดีมนตรีมุขทั้งปวงว่าบุตรภรรยาญาติวงศ์พระเจ้าละแวก และสมัครพักพวกครัวอพยพ ซึ่งจับได้ไว้มากน้อยเท่าใดให้เข้ารวมไว้ให้นายทัพนายกองหลัง คุม ล่วงไปก่อน ๗ วัน ทัพหลวงจึงจะเลิกไป ท้าวพระยาทั้งหลายรับพระราชโองการแล้ว ก็มาตรวจจัดครอบครัวพระเจ้าละแวก และไพร่พลในเมืองซึ่งได้ไว้นั้น เป็นคนอพยพ ๓๐,๐๐๐ เศษ แล้วแต่งกองหลังคุมลงไปโดยพระราชบัญชา ครั้นกองทัพซึ่งคุมครอบครัวยกไปได้ ๗ วันแล้ว ครั้นณวันอังคารเดือน ๕ แรม ๕ ค่ำ เพลา ๑๑ ทุ่ม ๕ บาท พระบาทสมเด็จบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องอลัง ๒๘ ๒๑๘ การ์สรรพาภรณ์ภูษิตสรัพเสร็จ สมเด็จพระนเรศวรบพิตรเป็นเจ้า ทรงพังเทพลีลา ผูกพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ สมเด็จเอกาทศรฐทรง พังเทพาลลาศ ผูกพระที่นั่งหลังคาทอง อลงกรฎด้วยเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ บังรวิวันแซกสลอนสลับ สรัพด้วยโยธาทวยหาญ แห่ รวดริ้วระยะกันกง พร้อมเสนาพยุหะ ดูมหิมาดาดาษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จจากกรุงศรียโสธรนครอินทปัตถ์กุรุรัตนราชธานี ฝ่ายทัพพระยานครราชสีมา ก็เลิกกลับไปโดยทางนครเสียมราบ แต่เรือขังอยู่ ๒ วันจึงล่วงไปตามชลมารค ออก ปากน้ำเมืองพุทไธมาศสิ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จรอนแรมมาโดยมารควิถี สิ้นแดนกัมพูชาประเทศ ทัพรายทาง นั้นก็เลิกโดยเสด็จมาเป็นกระบวนหลัง สิ้น ๑๓ วันทัพหลวง ก็เสด็จเถิงกรุงเทพมหานครศรีอยุธยา และบุตรภรรยาญาติวงศ์ พระเจ้าละแวก แลครัวพระยาเขมรมีชื่อนั้น ก็ทรงพระกรุณาให้ จัดแจงตั้งบ้านเรือนแล้ว พระราชทานเครื่องอัญมณีทั้งปวงโดยควร ครั้นนายทัพนายกองทัพเรือเถิงพระนครพร้อมเสร็จ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลโดยความชอบ พระราชมนูนั้น ให้เป็นที่เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี สมุหพระกลาโหมพระราชทานพานทอง เต้าน้ำทอง เจียดทองซ้ายขวา กระบี่ฝักทองเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมากโดยถานาศักดิ์ ครั้นณวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๒ ค่ำปีจออัฐศก (จ.ศ. ๙๔๘ พ.ศ. ๒๑๒๙ ) กรมการเมืองกุยบุรีเข้ามาว่า พระยาศรีไสยณรงค์ซึ่ง

๒๑๙ ให้ไปรั้งเมืองตะนาวศรี เป็นกบฎ โกษาธิบดีกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณายังแคลงอยู่ จึงโปรดให้มี ตราแต่งข้าหลวงออกไปหา พระยาตะนาวศรีก็มิมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธ จึงให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า เสด็จพระราช ดำเนินยกทัพออกไป และทัพสมเด็จพระอนุชาเสด็จออกไปครั้งนั้น พล ๓๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๓๐๐ ม้า ๕๐๐ ทัพปากใต้เมืองไชยา เมืองชุมพร เมืองคลองวาน เมืองกุย เมืองปราน เมืองเพ็ชรบุรี ๖ เมือง คน ๑๕,๐๐๐ ชุมทัพตำบลบางตะพาน เดินทัพทางสิงขร ฝ่ายพระยาตะนาวศรีรู้ว่า สมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออกมา ก็คิดเกรงพระเดชเดชา นุภาพเป็นอันมาก จะหนีก็เห็นไม่พ้น จะแต่งทัพออกรับก็เหลือกำลัง จนสิ้นคิดแล้วก็นิ่งรักษามั่นไว้ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงเมืองตะนาวศรี สั่งให้ตั้งค่ายล้อมไว้โดยรอบ แต่ทัพหลวงนั้นตั้งใกล้ เมือง ๕๐ เส้น จึงทรงแต่งเป็นหนังสือรับสั่งเข้าไปว่า พระยาตะนาวศรีเป็นข้าหลวงเดิม สัตย์ซื่อมั่นคง ได้ทำราชการโดยเสด็จงานพระราชสงคราม มีความชอบแต่หลังมากมายนัก จึงทรงพระกรุณาให้มากินเมืองตะนาวศรี นี่ยังหาเสมอความชอบไม่อีก แต่ จำเป็นด้วยเห็นว่า เมืองตะนาวศรีเป็นหน้าศึก ครั้นจะให้ผู้อื่นมาอยู่ มิวางพระทัย จึงให้พระยาศรีไสยณรงค์ออกมาอยู่ต่างพระเนตร์พระกรรณ เนื้อความทั้งนี้ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจ และซึ่งข่าวเข้าไปว่า พระยาตะนาวศรีคิดการกบฎ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่เชื่อ จึงมี

๒๒๐ ตราออกมาให้หา ก็มิเข้าไปเฝ้า เนื้อความจึงมากขึ้น จึงตรัสให้เรา ออกมา เรามีความเมตตานักอยู่ พระยาตะนาวศรีผิดแต่ครั้งเดียว ดอก ให้ออกมาหาเราเถิด จะกราบทูลขอโทษไว้ครั้งหนึ่ง ถ้าจะมาก็ให้มาในวันนี้ ถ้ามิมา เห็นจะรับทัพเราได้ ก็ให้แต่งป้องกันเมืองให้มั่นคง พระยาตะนาวศรีแจ้งในหนังสือดังนั้นจึงคิดว่า เราทำการ ล่วงเกินความผิดเถิงเพียงนี้แล้ว และซึ่งมีหนังสือรับสั่งมาทั้งนี้ เป็น ราชอุบายศึก ออกไปก็คงตาย ผิดชอบก็จะอยู่สู้ไป เถิงจะตายก็ให้ ปรากฎชื่อไว้ภายหน้า พระยาตะนาวศรีมิได้ออกมา เพลารุ่งแล้วนาฬิกาหนึ่ง สมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถ บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงเครื่องอลังการประดับสำหรับพิชัยยุทธ์เสร็จ ทรงเจ้าพระยาปราบไตรจักรเป็นพระคชาธาร พร้อมด้วย ท้าวพระยาพลทวยหาญเป็นขนัดแน่น เสโลโตมรมาศดูพันลึก ทั้ง ทวนทองธงทิวเป็นท่องแถวไสว อำไพด้วยมหาเอกฉัตรกลิงกลด บดบังทินกร บวรบังแทรกชุมสายพรายพรรณดาษดา ศัพทโกลาหล กึกก้อง กลองชะนะแตรสังข์สนั่นนินนาท พระบาทสมเด็จกรีพลเลียบทอดพระเนตรดูท้องที่ซึ่งจะให้พลทหารเข้าปีนเมือง ฝ่ายพระยาตะนาวศรีออกมายืนถือหอกกั้นสัปทนอยู่บนเชิงเทินแลเห็นพลสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า เหมือนสายน้ำอันไหลหลั่งถั่ง มาเมื่อวสันตฤดู และได้ยินเสียงปี่กลองแตรสังข์ตกใจตลึงไป หอก พลัดตกจากมือมิได้รู้ บ่าวไพร่ทั้งปวงเห็นดังนั้นก็เสียใจ พูดเล่ากัน ต่อไปว่า นายเราเห็นจะป้องกันไว้มิได้ พลทหารทั้งปวงก็ยิ่ง

๒๒๑ ครั่นคร้ามพระเดชเดชานุภาพเป็นอันมาก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบดูรอบเมืองตะนาวศรี เห็นหน้าที่ข้างอุดรทิศจะเข้าได้ เสด็จกลับมายังค่ายหลวง จึงมีพระราชกำหนดให้นายทัพนายกอง ทำ บันได ๑๐๐อันปลายบันไดให้ผูกพลุเพลิงพะเนียงจงครบเพลาตี ๑๑ ทุ่ม ถ้าได้ยินเสียงปืนใหญ่ ๓ นัดแล้ว ให้เอาบันได้พาดจุดพลุพะเนียงปีน เอาเมืองให้ได้ ท้าวพระยามุขมนตรีนายทัพนายกองรับพระราช โองการแล้ว ก็มาจัดแจงการทั้งปวงไว้สรัพ กับพลทหารอาษา ๑๐๐๐ ซึ่งจะเข้าปีนเมืองพร้อมกันเสร็จ ครั้นเพลา ๓ ยามสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นบนเกยคอยฤกษ์ เดชะพระบารมีสมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัว ถ้ามีชัยแก่ข้าศึกครั้งใด ก็ให้เห็นศุภนิมิตรประจักษ์ทุกครั้ง พอเพลา ๓ ยาม ๗ บาท พระสารีริกบรมธาตุใหญ่เท่าผลส้มเกลี้ยง เสด็จผ่านด้านตะนาวศรี มาแต่ทิศอุดรไปเฉียงอาคเน พระรัศมีสว่างวาบไปทั้งอากาศและปฐพี สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเห็นดังนั้น ทรง พระปิติโสมนัสถวายทัศนัขสโมธาน เหนือพระศิโตรม์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วสั่งปโรหิตาจารย์ทั้งหลาย ให้ประโคมแตรสังข์ดุริยดนตรี ปี่พาทย์ฆ้องชัยในทันที ให้ฝรั่งแม่นปืน จุดจ่ารงคร่ำทองท้ายที่นั่ง ๓ บอกไล่กันเป็นสำคัญ ฝ่ายนายทัพนายกองได้ยินเสียงปืนใหญ่เป็นสำคัญ ก็ให้ทหารรุดกันเอาบันไดพาดกำแพงเมือง จุดพลุพะเนียงเสียงเป็นโกลาหล เจ้าหน้าที่เห็นดังนั้นก็ตกใจ จะออกยืนรบพุ่งก็ทนเพลิงมิได้ ทิ้งหน้าที่ เสีย ฝ่ายทหารข้าหลวงก็เข้าเมืองได้ พอเพลารุ่งขึ้นก็กุมเอาตัว

๒๒๒ พระยาตะนาวศรี พันธนามาถวายยังค่ายหลวง สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวให้ลงพระราชอาชญาเฆี่ยนยกหนึ่ง ๓๐ ที แล้วบอกข้อราชการ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระนเรศบพิตรเป็นเจ้า ตรัส ได้แจ้งว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าได้เมืองตะนาวศรีแล้ว จับได้พระยาศรีไสยณรงค์ดังนั้น ก็มีพระทัยปรีดา จึงทรงพระกรุณาให้มีตราตอบ ออกไปว่า อย่าให้ส่งเข้ามาณกรุงเลย ให้ตระเวณแล้วตัดศรีษะเสียบประจานไว้ณเมืองตะนาวศรี อย่าให้ผู้ใดดูเป็นเยี่ยงอย่าง และให้พระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าก็ทำตามพระราชบัญชาสมเด็จพระบรมเชษฐาทุกประการ ครั้นจัดแจง เมืองตะนาวศรีเป็นปรกติราบคาบแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จ พระราชดำเนินกลับมายังกรุงเทพมหานคร เฝ้าสมเด็จพระบรมเชษฐากราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ สมเด็จพระนเรศวรบรมบพิตรมีพระทัย โสมนัส ตรัสชมพระกฤษฎาธิการสมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นอันมาก ครั้นวันอังคารเดือน ๑๒ แรม ๕ ค่ำ มีหนังสือพระยากาญจนบุรีส่งตัวสมิงอุปกอง ซึ่งถือหนังสือเจ้าเมืองเมาะลำเลิงเข้ามา สมุห นายกกราบบังคมทูล ในหนังสือว่า หนังสือพระยาพโร เจ้าเมืองเมาะลำเลิง ขออวยสิริสวัสดิมาเถิงพระยากาญจนบุรี ด้วยข้าพเจ้ากับพระยาลาวเจ้าเมืองเมาะตะมะ เกิดมหากัลหะแก่กัน พระยาลาวจะยกมาตีเมืองข้าพเจ้า ๆ หาที่พึ่งมิได้ จะขอเอาพระเดชเดชานุภาพพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว อันมีพระบุญราษีพระเกียรติยศธิการมหิมา ดุจหนึ่งสมเด็จพระเจ้ามันธาตุ

๒๒๓ ราชจาตุรงคทีปจักรพรรดิ อันมีพระราชเดชาวราฤทธิอาณาจักร แผ่ไปในทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อย ๒๐๐๐ เป็นบริวาร เป็นฉัตรแก้วกั้นเกษ จะขอกองทัพยกไปช่วยกันเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ได้ทราบดังนั้น ทรงพระโสมนัส จึงพระราชทานเสื้อผ้า เงินตราแก่อุปกองโดยสมควร ตรัสให้พระยาศรีไสยณรงค์ถือ พล ๒๐๐๐ สรัพไปด้วยสาตราวุธยกไปเมืองเมาะลำเลิง พระยาลาว เจ้าเมืองเมาะตะมะรู้ว่า กองทัพไทยยกมาตั้งอยู่ณเมืองเมาะลำเลิง ก็กลัวพระเดชเดชานุภาพ มิได้คิดอาฆาตต่อไป ขณะเมื่อพระยาศรีไสยไปช่วยกันเมืองเมาะลำเลิงนั้น เจ้าฟ้าแสนหวีเถิงแก่พิราลัย มีราชบุตร ๒ คนแต่ต่างมารดากัน พี่น้อง ทำยุทธกัลหะซึ่งสมบัติกัน ผู้น้องสู้มิได้กลัวพี่ชายจะฆ่าเสีย ครั้น รู้ว่ากองทัพไทยมาตั้งอยู่ณเมืองเมาะลำเลิง ก็พาพรรคพวกบ่าวไพร่ประมาณ๑๐๐เศษหนีลงมาหาพระยาศรีไสยณเมืองเมาะลำเลิง พระยาศรีไสยก็บอกส่งตัวเจ้าฟ้าแสนหวีมายังกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงพระมหากรูณาการุญภาพ แก่เจ้าฟ้าแสนหวี และพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมากเลี้ยงไว้โดยนาศักดิ์ ลุศักราช ๙๔๙ ปีกุรนพศก พ.ศ. ๒๑๓๐ ราชบุตรนักพระสัตถาผู้เป็นพระเจ้าละแวก เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จไปปราบ ขณะเมื่อทหารข้าหลวง เข้าเมืองละแวกในเพลากลาง คืนนั้น ราชบุตรมาอยู่หน้าที่ ครั้นทัพไทยเข้าเมืองได้แล้ว ความกลัว

๒๒๔ ก็มิได้ไปหาบิดา หนีออกจากหน้าที่กับบ่าวประมาณ ๓๐ คน เข้าป่า พากันหนีไปเถิงแดนเมืองล้านช้าง ครั้นรู้ว่ากองทัพหลวงเสด็จ พระราชดำเนินกลับไปกรุงพระมหานครศรีอยุธยาแล้ว พากันกลับมา ยังเมืองละแวก เสนาบดีเหลืออยู่กับสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร จึงพร้อมกันยกพระราชบุตรท่านขึ้นราชาภิเศก เป็นพระเจ้าละแวก ครอบครองแผ่นดินแทนพระบิดา พระเจ้าละแวกครั้นได้ครองสิริราชสมบัติแล้ว ก็อุตส่าห์บำรุงสมณชีพราหมณาจารย์ โดยยุติธรรมราชประเพณีมาได้เดือนเศษ จึงตรัสปรึกษาเสนาบดีกวีมุขทั้งหลายว่า แต่ก่อนพระราชบิดาเราไปกระทำเสี้ยนหนามต่อกรุงพระมหานครศรีอยุธยา มิได้เกรงพระเดชเดชานุภาพสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ อันทรงอิศวรภาพ ดุจสุริยเทวบุตร จันทรเทวบุตร อันมีรัศมีสว่างทั่วโลกธาตุ ความพินาสฉิบหายจึงเถิงพระองค์และญาติประยุรวงศ์ในกรุงกัมพูชาธิบดี และครั้งนี้เราจะทำดุจพระบิดานั้นไม่ได้ จำจะอ่อนน้อม ขอเอาพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้ากรุงเทพมหานครศรีอยุธยา เป็นที่พึ่งที่พำนักมีความสุขสวัสดีจะได้มีแก่เรา ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด เสนาบดีมนตรีมุขทั้งปวงกราบทูลว่า ซึ่งพระองค์ดำรัสนี้ สมควรนัก ขอพระราชทานให้แต่งดอกไม้ทองเงินเครื่องบรรณาการ มีพระราชสารไปอ่อนน้อม โดยราชประเพณีเมืองขึ้นเมืองออกกรุงเทพ มหานครแล้ว ศรีสวัสดิพิพัฒนมงคลก็บังเกิดมีไปตราบเท่ากัลปาวสาน พระเจ้าละแวกได้ฟังดังนั้นยินดีนัก จึงให้แต่งดอกไม้ทองเงิน จัดเครื่องราชบรรณาการเป็นอันมาก แล้วแต่งลักษณะราชสารให้ออกยาวงศาบดี

๒๒๕ พระเสน่หามนตรี หลวงวรนายก เป็นทูตานุทูตจำทูลพระราชสาร คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการมา ครั้นเถิงด่านปราจินบุรี กรมการก็ คุมทูตานุทูตเข้าไปยังกรุงเทพมหานคร เสนาบดีนำเอากิจจานุกิจ กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ดำรัสให้เบิกทูตเฝ้าณมุขเด็จหน้าพระที่นั่งมังคลาภิเศก ตรัสพระราชปฏิสันถาร ๓ นัดแล้ว พระศรีภูริปรีชาก็อ่านพระราชสาร ในลักษณะนั้นว่า ข้าพระองค์ครองกรุงอินทปัตถ์กุรุรัตนราชธานี ขอถวายบังคมมาแทบพระวรบาทบงกชมาศ สมเด็จพระผู้จอมมงกุฎกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน ด้วยพระบิดาข้าพระองค์มิได้รักษาขอบขันธเสมาโดย ราชประเพณี กระทำพาลทุจริตมิได้รู้จักกำลังตนกำลังท่าน มาก่อ ให้เกิดเป็นปรปักษ์แก่กรุงเทพพระมหานคร อุปมาดังจอมปลวกมาเคียงเข้าพระสิเนรุราชบรรพต มิดังนั้นดุจมิคชาติตัวน้อย องอาจ ยุทธนาด้วยพญาราชสีห์ อันมีมเหศรศักดานุภาพ ก็เถิงแก่การพินาศจากไอสุริยศวรรยานั้น ก็เพื่อผลกรรมอันได้ทำมาแต่ก่อน และข้า พระองค์ครองแผ่นดินเมืองละแวกครั้งนี้ จะได้เอาเยี่ยงอย่างพระบิดานั้นหามิได้ จะขอเอาพระเดชเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ปกเกล้าปกกระหม่อมดุจฉัตร์แก้วแห่งท้าวมหาพรหม อันมีปริมณฑลกว้างขวางร่มเย็นไปทั้งจักรวาฬ ข้าพระองค์ของถวายสุวรรณหิรัญรัตนมาลาบรรณาการ มาโดยราชประเพณี สืบไปตราบเท่ากัลปาวสาน ๒๙ ๒๒๖ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟัง ก็มีพระทัยเมตตาแก่พระ สุธรรมราชาพระเจ้าละแวกองค์ใหม่เป็นอันมากสั่งให้ตอบพระราช สารไปว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้อาฆาตจองเวรแก่ราชบุตรนัดดา นักพระสัตถาหามิได้ และซึ่งบิดาท่านเป็นไปจนเถิงการพิราลัยนั้น ก็เพื่อเวรานุเวรแต่อดีตติดตามมาให้ผลเห็นประจักษ์ และให้พระเจ้าละแวกองค์ใหม่นี้ ครอบครองไพร่ฟ้าประชาราษฎรโดยยุติธรรม ราชประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าแต่ก่อนนั้นเถิด และสั่งให้เจ้าพนักงานตอบเครื่องราชบรรณาการ และพระราชทานเสื้อผ้าเงินตรา แก่ทูตานุทูตโดยสมควร อยู่ ๓ วันทูตก็กราบถวายบังคมลาไปยัง กรุงกัมพูชาธิบดี ครั้นเข้าเดือน ๕ ปีชวดสัมฤทธิศก (จ.ศ. ๙๕๐ พ.ศ. ๒๑๓๑) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้บำรุงช้างม้ารี้พลไว้ เดือน ๑๒ จะยกไป เมืองเมาะตะมะเมืองหงสาวดี ในเดือน ๕ นั้นมีหนังสือบอกพระยา ศรีไสยเข้ามาว่า ซึ่งพระเจ้าแปรผู้เป็นราชนัดดาเสียทัพกลับไปเมือง หงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีเอาโทษถอดเสียจากที่ถานาศักดิ์ ไพร่พลรามัญซึ่งไปกับพระเจ้าแปรนั้น จับได้ใส่เล้าคลอกเสีย ที่แตกฉาน ซ่านเซ็นไปภายหลังรู้เนื้อความดังนั้น ก็กลัวตายมิได้เข้าบ้านเมือง คบกันเป็นพวกเป็นเหล่าออกอยู่ป่า แต่งข้าหลวงไปจับก็ต่อรบ และ หัวเมืองทั้งปวงนั้น เห็นว่าพระเจ้าหงสาวดีถอนพระเจ้าแปรเสีย ก็ เสียใจ พากันกระด้างกระเดื่องเป็นอันมาก และกรุงหงสาววดี เห็นจะเสียแก่มอญกบฎ

๒๒๗ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ได้ทรงฟังดังนั้น จึงพระ ราชทานพระราชอาชญาสิทธิ์ ให้พระยาจักรีเป็นนายทัพยกพล ๑๕,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๑๐๐ ม้า ๒๐๐ ออกไปตั้งมั่นปลูกยุ้งฉาง ทำไร่นาณเมืองเมาะลำเลิงไว้ท่าทัพหลวง จึงดำรัสให้เจ้าฟ้าแสนหวี ไปด้วยพระยาจักรี แล้วเกณฑ์ทัพเมืองทะวาย ๕๐๐๐ ให้ขึ้นไปตั้ง ตำบลเกาะพะรอกเมืองอังราว ขอบฝั่งชเลตะวันตก หนุนทัพเจ้าพระยาจักรี ๆ จะได้ใช้ราชการสะดวก และกองทัพพระยาศรีไสย ให้เอา ไว้แต่ตัวพระยาศรีไสย พรรคพวกนั้นให้กลับเข้ามารับราชการกรุง ฯ ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีกราบถวายบังคมลายกไปเมืองเมาะลำเลิงแล้วตั้งค่ายขุดคูปลูกยุ้งฉาง กะเกณฑ์มอญชาวเมืองเมาะลำเลิงและไทยกองทัพ ทำไร่นาและตั้งทำเรือรบเรือไล่เป็นอันมาก พระยาศรีไสย กับพรรคพวก ก็กลับเข้ามารับราชการ ฝ่ายเจ้าเมืองเมาะตะมะ เจ้าเมืองละเคิ่ง เจ้าเมืองขลิก เจ้าเมืองบัวเผื่อน เจ้าเมืองพะสิม เจ้าเมืองตองอู รู้ว่าสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวณกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ให้กองทัพเจ้าพระยาจักรียกมาตั้งทำไร่นาณเมืองเมาะลำเลิงไว้เป็นสะเบียง เดือนอ้ายปลายปีทัพหลวงเสด็จจะยกไปตีเอาเมืองหงสาวดี ต่างคนต่างเกรงพระเดชเดชานุภาพ ก็แต่งพะม่ามอญผู้ดี ให้ถือหนังสือเครื่องบรรณาการ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร เสนาบดีเอากราบทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัว ดำรัสให้เบิกพะม่ามอญผู้ถือหนังสือเข้าเฝ้า และในหนังสือ เจ้าเมืองเมาะตะมะ เจ้าเมืองพะสิม เจ้าเมืองบัวเผื่อน เจ้าเมือง

๒๒๘ ขลิก ๔ เมืองนี้ว่าจะขอเป็นข้าขันธเสมากรุงเทพมหานครไปตราบเท่า กัลปาวสาน แต่หนังสือพระยาตองอู พระยาละเคิ่งนั้นว่าจะขอพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร ถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์เสด็จ พระราชดำเนินไปเอาเมืองหงสาวดีเมื่อใด พระยาตองอู พระยา ละเคิ่งจะขอยกพลมาคอยทัพ โดยเสด็จงานพระราชสงคราม สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวได้แจ้งในลักษณะอักษรทุกเมืองดังนั้น มีพระทัย โสมนัส ตรัสให้พระราชทานรางวัลแก่พะม่ามอญผู้มานั้นเป็นอันมาก แล้วให้พระราชทานสิ่งของแก่เจ้าเมืองทั้งปวงโดยถานาศักดิ์ จึงให้ ตอบหนังสือไปแก่ท้าวพระยามอญทั้งปวง ผู้ถือหนังสือก็กราบถวายบังคมลาไปเมือง ขณะเมื่อผู้ถือหนังสือกลับไปเถิงเมืองตองอูนั้น พระมหาเถรเสียมเพรียมเจ้าอธิการรู้ จึงเข้าไปหาพระยาตองอูแล้วถามว่า มหาบพิตรจะเอามอญไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างกรุงศรีอยุธยาหรือ พระยา ตองอูฟังพระมหาเถรว่าก็สงสัย จึงถามว่าใยพระผู้เป็นเจ้าจึงว่า ดังนี้ พระมหาเถรจึงว่า อาตมภาพแจ้งว่า มหาบพิตรมีหนังสือ ถวายเครื่องบรรณาการไปอ่อนน้อม ว่าถ้าพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจะยกมาตีเมืองหงสาวดีเมื่อใด มหาบพิตรจะยกไปโดยเสด็จงานพระราชสงคราม เพราะเหตุฉะนี้อาตมภาพจึงว่า พระยาตองอูจึงตอบว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่รู้หรือ ว่าสมเด็จพระนเรศรบรมบพิตรเป็นเจ้า และสมเด็จ เอกาทศรฐ สองพระองค์นี้ทรงศักดานุภาพมาก ดุจหนึ่งพระสุริย เทเวศ ส่องโลกเมื่อเพลามัชฌันติกสมัย ศึกหงสาวดีลงไปกระทำ

๒๒๙ ครั้งใด ก็มีแต่แตกฉานยับเยินขึ้นมาทุกครั้ง บัดนี้พระเจ้าหงสาวดี ก็สิ้นเขี้ยวศึกเขี้ยวสงครามแล้ว แล้วได้ข่าวมาว่า ปลายปีก็จะยกทัพ มาเอาเมืองหงสาวดี เมืองหงสาเห็นว่าไม่พ้นเงื้อมพระหัตถ์ท่านแล้ว เมืองมอญทั้งปวงก็ไปอ่อนน้อมสิ้น โยมเห็นเหตุดังนี้ จึงมีหนังสือ ถวายเครื่องบรรณาการไปอ่อนน้อมบ้าง พระมหาเถรได้ฟังดังนั้น หัวร่อแล้วว่า พระนเรศวร ๒ พระ องค์พี่น้อง มีศักดานุภาพเข้มแข็งศึกสงครามนั้น อาตมภาพก็แจ้ง อยู่สิ้น เถิงมีชัยแก่ชาวหงสา ก็แต่ในแว่นแคว้นขันธเสมากรุง มหานครศรีอยุธยา จะได้ล่วงเกินเถิงแดนนี้ก็หามิได้ และอาตม ภาพพิเคราะห์ดูลักษณะราษีมหาบพิตร ก็เห็นจะได้เป็นใหญ่ในรามัญประเทศอยู่ ไฉนน้ำพระทัยมหาบพิตรกับลักษณะจึงผิดกันนัก อัน ลักษณะมหาบพิตรนี้ในตำราว่าองอาจดุจหนึ่งท่านพระบรมโพธิสัตว์เสวย พระชาติเป็นกะแต อาจสามารถจะวิดน้ำในมหาสมุทรให้แห้ง มิดังนั้นจะมีมานะเหมือนนกน้อยอันบินแข็งกว่าพระยาครุฑ ข้ามมหาสาครทะเลอันใหญ่ และน้ำพระทัยมหาบพิตรอ่อนประดุจสตรีอันกลัว ปีศาจหลอกหลอนนั้น ตำราของอาตมภาพนี้ผิดเสียแล้ว เห็นจะ เอาไว้มิได้ จำจะทิ้งน้ำเผาไฟเสีย ว่าแล้วพระมหาเถรทำลาลุกจะไป พระยาตองอูยิ้มแล้วยกมืออาราธนาว่า พระผู้เป็นเจ้าอย่าเพ่อไปก่อน พระมหาเถรทรุดนั่งลงดังเก่า พระยาตองอูจึงว่า อันตำรา ของพระผู้เป็นเจ้าเห็นจะไม่ผิดกับใจของโยม แต่บัดนี้โยมยังอ่อน ความคิดอยู่ อุปมาดังบุรุษอันหลงอยู่ในถ้ำอันมืด ถ้าพระผู้เป็นเจ้า

๒๓๐ ช่วยเอาแสงแก้วมาส่องให้สว่างเห็นหนทางแล้ว ก็จะเดินโดยทาง โดยสะดวก พระมหาเถรจึงว่า การอันนี้ใช่กิจสมณะ แต่อาตมภาพ เสียดายพระศาสนา กับเอ็นดูอาณาประชาราษฎรในรามัญประเทศ ทั้งปวง ก็จะช่วยทะนุบำรุงไปตามสติปัญญา และซึ่งมหาบพิตรว่ายังอ่อนปัญญาความคิดอยู่นั้น จะคิดอย่างไรให้ว่าไปเถิดจะช่วยชี้แจงให้ พระยาตองอูได้ฟังดังนั้น ดีใจกราบก้มนมัสการพระมหาเถรแล้วว่า โยมประมาณดูรี้พลเมืองหงสาวดีและเมืองขึ้นทั้งปวง จะ มากกว่าพระนครศรีอยุธยาอีก แต่ทว่ามากก็เหมือนน้อย ด้วยไป เข้าอ่อนน้อมต่อกรุงพระนครศรีอยุธยามาก จะคิดอ่านให้กลับใจมา ได้นั้นยากนัก พระมหาเถรหัวร่อแล้วว่า การเพียงนี้จะยากอะไรมี แม้นจะ แกงให้อร่อยหม้อหนึ่งเห็นจะยากกว่าอีก พระยาตองอูจึงว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าโปรดโยมให้ได้เป็นใหญ่ในรามัญประเทศสมคิดแล้ว จะสนองพระคุณไปกว่าจะสิ้นชีวิต พระมหาเถรยิ้มแล้วจึงว่า มหาบพิตรก็เป็นราชนัดดาพระเจ้า หงสาวดี หัวเมืองทั้งปวงก็นับถือมากมายอยู่ จงมีหนังสือไปประกาศ แก่หัวเมืองทั้งปวงว่า กรุงหงสาวดีเป็นราชธานีใหญ่ แต่ครั้ง พระเจ้าช้างเผือกมาตราบเท่าทุกวันนี้ ยังมิได้ไปเป็นชะเลยแก่เมืองใดและกรุงนี้แต่พระเจ้าแปรเสียที่มา สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีเอาโทษ ถอดเสียที่ถานาศักดิ เราได้ยินข่าวว่า หัวเมืองทั้งปวงพากัน

๒๓๑ ลอบใช้คนถือหนังสือคุมเครื่องบรรณาการไปน้อมแก่กรุงศรีอยุธยา เราก็ยังไม่เชื่อ จึงแส้งแต่งคนถือหนังสือไปบ้าง หวังจะฟังซึ่งกิจการ ให้แน่ ก็ได้ความประจักษ์ว่า เมืองเมาตะมะและหัวเมืองทั้งปวง คิดกบฎ คนเหล่านี้หารักชีวิตและโคตรไม่หรือ เร่งบอกมา เราจะเอาความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี แล้วจะยกทัพไปจับ ฆ่าเสียให้สิ้นโคตร ถ้าและเมืองทั้งปวงรู้สึกว่าได้คิดผิด แล้วจะ คืนหาความชอบ ก็จะงดความไว้ครั้งหนึ่งก่อน แต่ทว่าให้คิดอ่าน จับไทยกองทัพซึ่งมาตั้งอยู่เมืองเมาะลำเลิง ส่งมาให้ได้บ้างจึงจะเห็นจริง ถ้ามหาบพิตรมีหนังสือไปดังนี้ ดีร้ายหัวเมืองทั้งปวงก็จะสะดุ้ง ตกใจกลัว ก็จะกลับใจคิดอ่านจับไทย ก็จะเกิดอริวิวาทกับไทย ทางไมตรีก็จะขาดกัน เมื่อทัพพระเจ้ากรุงศรีอยุธยายกมา ก็จะ ได้เป็นรั้วขวากรั้วหนามกันให้ช้าลงไว้ ประการหนึ่งมหาบพิตรจงบำรุงช้างม้า เอาใจรี้พลไว้ให้รื่นเริง ถ้าได้ข้าวว่าทัพกรุงพระนคร ศรีอยุธยายกล่วงแดนมาเมื่อใดแล้ว จงเร่งยกพลไปเมืองหงสาวดี ทำทีประหนึ่งว่าจะมาช่วยงานพระราชสงคราม ให้ไว้ใจแล้ว เข้า ปลอมปล้นเอาเมืองหงสาวดี เชิญสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี และกวาดครัวอพยพไพร่พลเมืองข้าวปลาอาหารมาเมืองตองอูให้สิ้น เถิงมาตร ว่าทัพพระนเรศร์ ยกติดตามมาเถิงเมืองตองอูก็ดี เมื่อเราตัดสะเบียงอาหารเสียให้ได้สิ้นแล้ว ก็ในจะเลิกทัพกลับเอง ถ้าศึก กลับไปแล้วพระเจ้าหงสาวดีก็อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์พระองค์ ก็จะสิทธิ์


๒๓๒ ขาดขึ้นกว่าเก่าร้อยเท่าพันทวี จะคิดประการใดก็จะสำเร็จ และซึ่ง อามาตภาพว่ามาทั้งนี้ มหาบพิตรเห็นดีชั่วประการใด พระยาตองอูมีความยินดีกราบนมัสการแทบบาทพระมหาเถรแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วว่าพระผู้เป็นเจ้าคิดนี้ ดังเทพดาแว่นแก้ว มาส่องให้สว่าง เห็นทั้งกลางวันกลางคืน พระคุณนั้นหาที่สุดมิได้ พระมหาเถรจึงว่า มหาบพิตรเร่งมีหนังสือไปเถิด ถ้าขัดสน ไปภายหน้าจึงให้ไปบอก อาตมาภาพช่วย แล้วพระมหาเถรก็ ลาไปอาราม รุ่งขึ้นพระยาตองอูก็แต่งหนังสือตามถ้อยคำพระมหาเถรว่า ให้คนถือไปประกาศแก่หัวเมือง ฝ่ายพระยารามัญหัวเมืองทั้งปวงแจ้งในหนังสือพระยาตองอูดังนั้นก็ตกใจกลัว ต่างคนต่างปรึกษากรมการนายบ้านนายอำเภอ ว่า เราทำการครั้งนี้ หมายจะลับก็ไม่ลับ พระยาตองอูรู้ความสิ้น จึงมีหนังสือมาว่ากล่าว ทั้งนี้เพื่อเพราะเอ็นดูเราเป็นตระกูลรามัญ ครั้นจะขืนพ้นหน้า จะพึ่งกรุงเทพมหานครศรีอยุธยาทีเดียวก็เป็นระยะทางไกล จะต้องคำบุราณว่า กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ ด้วยพระยา ตองอูมีกำลังรี้พลมาก แล้วพระเจ้าหงสาวดีก็นับถือว่า เป็นเชื้อ พระวงศ์ จะว่าประการใดสิทธิขาด จำเราจะหาความชอบคืน จับเอาไทยส่งเข้าไปให้ได้ คิดกันดังนั้นก็แต่งหนังสือขึ้นไปเถิงพระยาตองอูเป็นใจความว่า


๒๓๓ ข้าพระเจ้าหัวเมืองทั้งปวง ขอน้อมเศียรเกล้ายังบังคมมาเถิงใต้เบื้องบาทพระยาตองอู ด้วยข้าพระเจ้าทั้งปวงเป็นคนโมหะ คิดประทุษต์จิตต์ผิดไปนั้น พวกข้าพระเจ้าทั้งปวงเถิงที่ตาย ซึ่งโปรดให้มีหนังสือชี้แจงมาให้ข้าพเจ้าเห็นผิดแลนั้น ดุจเทพดามาชุปเอา ชีวิตข้าพระเจ้าแลชีวิตไพร่ฟ้าประชากรเป็นคืนมานั้น พระคุณไม่มี ที่จะเปรียบได้ ข้าพระเจ้าขอกระทำตามโอกาศ เอาเป็นที่พึ่ง พำนักสืบไป แล้วก็ส่งหนังสือให้ผู้ถือหนังสือกลับไปเมืองตองอู พระยาตองอูแจ้ง ในหนังสือดังนั้นก็มีความยินดี ตั้งแต่นั้นมา ก็บำรุงช้างม้าเอาใจไพร่พลในเมืองตองอู ให้รักใคร่เป็นอันมาก ฝ่ายพระยาลาวเมืองเมาะตะมะสั่งท้าวพระยารามัญทั้งปวง ให้คิดจับกองทัพไทยให้ได้ จะได้ส่งเข้าไปเมืองตองอูเอาความชอบ ท้าวพระยารามัญทั้งปวงก็คอยช่องจะจับไทยให้ได้ ครั้นณเดือนอ้ายข้าวสุก เหล่าไทยออกไปเกี่ยวข้าวณทุ่งนาเมาะลำเลิงแต่พวกขุนจบ ๑๕ คน ออกไปเกี่ยวข้าวอยู่ริมชายป่า สมิงสุระนายบ้านจอยยะกับพวกรามัญ ๑๐๐ ลอบคอยอยู่ในป่า ครั้นเห็นได้ทีก็วิ่งกรูกันจับขุนจบและพวกไปได้ ๙ คน ไพร่ ๕ คนหนีได้ ก็วิ่งไปบอกกองทัพ ว่ามีรามัญประมาณ ๑๐๐ เศษ มาจู่จับขุนจบ กับไพร่ไป ๙ คน กลับมาแจ้งพระยาจักรี ๆ จึงหาตัวพระยาพะโร เจ้าเมืองเมาะลำเลิงมาถามว่า เหตุผลทั้งนี้เป็นประการใด เจ้า เมืองเมาะลำเลิงไม่รับ ว่ามิได้รู้ เจ้าพระยาจักรีมิฟัง จะให้จำ พระยาพะโร ๆ เห็นความจะไม่พ้นตัว จึงอุบายว่า จะขอไปตาม ๓๐ ๒๓๔ เอามอญเหล่าร้ายให้จงได้ เจ้าพระยาจักรีมิทันพิเคราะห์ สำคัญ ว่าจริง ก็ปล่อยตัวไป พระยาพะโรจึงคิดกับกรมการว่า เราจะ ไปตามจับบ่าวของเรากะไรได้เล่า เถิงจะแก้ไขประการใด ความ อันนี้เห็นจะไม่ลับ จะนิ่งอยู่ดังนี้ จะพากันตายเสียสิ้น จำจะหนี ข้ามไปเมืองเมาตะมะ คิดเห็นพร้อมกันแล้ว ก็แต่งคนเร็วเอาการ ไปแจ้งแก่พระยาลาว ก็เอาเรือมาคอยรับครัวเพลา ๒ ยาม พระยา พะโรก็พาครัวอพยพออกจากเมือง พอรุ่งก็ลงเรือข้ามไปเมืองเมาะตะมะเพลารุ่งเช้าเจ้าพระยาจักรีรู้ว่า พระยาพะโรเจ้าเมืองเมาะลำเลิง เทครัวหนีไปสิ้น ก็แต่งกองทัพตามเถิงฝั่งน้ำ ไม่ทัน จะกลับไป ฝ่ายพระยาพะโรก็แจ้งพระยา ลาวเจ้าเมือง เมาะตะมะทุกประการ พระยาลาวจึงว่า ซึ่งทำการมิได้ ไทยมาเสียทีเสียครั้งนี้ ก็แล้วไปเถิด แต่เราวิตกว่า ท่านอยู่ณเมืองเมาะลำเลิงนั้น อุปมาเหมือนมฤคชาติอันอยู่ในปากเสือ ซึ่งพากันอพยพมาได้สิ้น เรา มีความยินดีนัก จึงค่อยคิดอ่านกันใหม่ จะเกรงอะไรกับกองทัพไทยเท่านี้ แล้ว เจ้าเมืองเมาะตะมะ แต่งกองทัพโจร ๒๐๐-๓๐๐ ให้เที่ยวเป็นเสือป่า ถ้าเห็นไทยออกเที่ยวท่องหากินแลเกี่ยวข้าว ก็ให้ลอบฆ่าตี พอจะจับตัวได้ก็ให้จับตัวมา ถ้าเห็นทำได้ จึงให้ทำ ถ้าเห็นทำมิได้อย่าให้ทำ สุดแต่อย่าให้เสียที กองรามัญทั้งปวง แจ้งกำหนดดังนั้นแล้ว ก็ข้ามไปซุ่มอยู่ในป่าใกล้น้ำ ครั้นเห็น ไทยออกเกี่ยวข้าวก็ลอบแทง แต่ทำดังนี้เนือง ๆ นายทัพ นายกองทั้งปวงก็เอาเหตุไปแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรี ๆ เห็นมอญกลับเป็น

๒๓๕ ขบถ ทำการกำเริบหนักขึ้น ก็บอกหนังสือเข้ามาให้กราบทูลเสร็จสิ้นทุกประการ เสนาบดีก็นำหนังสือบอกเจ้าพระยาจักรีขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบ ก็ทรงพระโกรธตรัสว่าเจ้าพระยาจักรีเป็นผู้ใหญ่ ก็เคยทำศึกสงครามมา ยังว่าจะไปตีเอาเมืองเหล่านี้ ก็หาตีได้ไม่ เจ้าเมืองเมาะลำเลิงเข้าสามิภักดิ ขอ กองทัพออกไปช่วยรักษาเมือง ไพร่บ้านพลเมืองปกติอยู่สิ้น ฝ่ายเมืองเมาะตะมะ เมืองละเคิ่ง เมืองบัวเผื่อน เมืองพะสิม เมืองขลิก เมืองตองอู เล่าก็มาอ่อนน้อม ควรหรือให้เป็นได้เถิงเพียงนี้ ประการหนึ่งเมืองเมาะลำเลิงก็อยู่ฟากน้ำตะวันออก เหมือนอยู่ใน กำมือ ก็ยังให้หลีกหนีไปได้ด้วยเล่า ทำศึกดุจทารกอมมือ ครั้นจะ ให้ฆ่าเสียก็เสียดายคมหอกคมดาบ ตรัสนั้นก็สั่งให้มีตราตอบ คาดโทษออกไปว่า เจ้าพระจักรีจะตีเอาเมาะตะมะได้หรือมิได้ ถ้าเห็นได้ถ่ายเดียวแล้วให้ตีเอา ถ้าเห็นได้ให้รักษาค่ายเมาะลำเลิง ไว้ให้มั่น ทัพหลวงเสด็จพระราชดำเนินออกไปเถิงจึงจะตีเมือง เมาะตะมะทีเดียว ผู้ถือหนังสือก็กลับไปแจ้งแก่เจ้าพระยาจักรีทุกประการ เจ้า พระยาจักรีแจ้งในท้องตรารับสั่งดังนั้น ก็กลัวพระราชอาชญาเป็น อันมาก แล้วเร่งรัดให้นายทัพนายกองทำเรือรบเรือไล่เสร็จแล้วก็ให้ ลากลงไว้กลางน้ำ แล้วคิดแต่งกองทัพทั้งปวงกำกับให้เกี่ยว ข้าว ๔ กอง ๆ ละ ๕๐๐ คอยสะกัดตีมอญกบฎทุกวัน พวกมอญ เห็นกองทัพไทยมาก ต้านทานมิได้ก็หลบหลีกเข้าในป่า นายทัพ

๒๓๖ นายกองให้เร่งเกี่ยวข้าวเบาและข้าวหนัก ในแขวงเมืองเมาะลำเลิง นวดขนเข้าไว้ในยุ้งฉางได้ประมาณ ๒๐๐๐ เกวียน ส่วนพระยาลาวเจ้าเมืองเมาตะมะ แต่งชาวด่านให้มาประจำข่าวราชการอยู่ทางแม่ลำเมา ทางตองอู ทางแม่จัน ทางแม่กษัตริย์ ให้ว่าทัพหลวงนครกรุงศรีอยุธยาจะยกมาหรือ ๆ มิมา ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้นให้หนังสือตอบมายังเมืองเมาะลำเลิงแล้ว ก็มีพระราชโองการแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุข ทั้งปวง ให้เตรียมทัพพร้อมเสร็จ กำหนดทัพหลวงจะเสด็จโดยชลมารคณวันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้นค่ำหนึ่ง ไปขึ้นบกเมืองกาญจนบุรี ให้กองทัพบกทั้งปวงล่วงไปคอยรับเสด็จให้พร้อม ท้าวพระยานายทัพนายกองก็ยกช้างม้ารี้พลไปยังเมืองกาญจนบุรีตามพระราชกำหนด ครั้นเถิงณวันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้นค่ำหนึ่ง เพลารุ่งแล้ว ๒ นาฬิกาได้มหาอุดมฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องอลงการสรรพาภรณ์วิชัยสรัพเสร็จ เสด็จลงสู่พระที่นั่งกนก รัตนวิมานมหานาวา อันรจนาด้วยกาญจนบริบูรณ์มณีชัชวาลย์ทั้งคู่ ดูพันลึก อธึกด้วยเรือจำนำท้าวพระยาสามนตราชฝ่ายหารพลเรือน เรียงประจำจับฉลากสลอนสลับคับคั่ง โดยกระบวนพยุหยาตรา พระโหราราชครูธิบดีศรีทิชาจารย์ ก็ลั่นฆ้องชัยให้คลายเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ อันทรงพระพุทธปฎิมากรทองนพคุณ บรรจุพระสารีริกบรมธาตุ ถวายพระนามสมญาพระชัยนั้นก่อนแล้ว เรือกระบวนหน้า ทั้งปวงเดินโดยลำดับ เรือพระที่นั่งแลเรือแห่ซ้ายขวากระบวนหลัง

๒๓๗ ทั้งปวง ก็โดยเสด็จดาดาษในวนณพระมหาทีธาร ประทับรอนแรม ๕ เวนก็เถิงเมืองกาญจนบุรี เสด็จยังพลับพลาที่ประทับ สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จแรมพักช้างม้ารี้พลจัดกองทัพ ๓ เวน และ กองทัพหลวงเสด็จครั้งนั้น พลสกรรจ์ลำเครื่อง ๑๐๐,๐๐๐ ช้างเครื่อง ๘๐๐ ม้า ๕๐๐ ครั้นรุ่งขึ้นจะเสด็จในเพลา ๑๐ทุ่มสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินว่า ยังมีสิงคาละตัวน้อยมาคาบลากเอาพระยาคชสารตัวใหญ่ไปสู่ประเทศแห่งตนได้ ในพระสุบินว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสเห็นประหลาด เสด็จตามไปจะชิงเอาพระยาคชสารก็มิได้ ด้วยป่านั้นเป็นทุเรศกันดาร เท่านั้นก็บรรทมตื่นพอตี ๑๑ นั้น จึงตรัสให้พระโหราซ้ายขวาพยากรณ์ พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ทำนายว่า เสด็จ พระราชดำเนินมาครั้งนี้ เพื่อจะไปกระทำยุทธนาการด้วยพระเจ้า หงสาวดี เอาฐานะพระเจ้าหงสาวดีเป็นที่ตั้ง ดังพญาคชสาร ซึ่ง ว่ามีสิงคาละตัวน้อยมาขบคาบเอาพญาคชธารสารไปได้นั้น ดีร้ายจะมี ปฎิปักษ์เมืองหนึ่ง แต่ว่าเป็นเมืองน้อยมาปลอมปล้นลักต่ำพระ องค์พระเจ้าหงสาวดีลงเสียจากเศวตฉัตร แล้วพาไปเมืองแห่งตน ทัพหลวงจะได้เสด็จติดตามไป แต่ทว่าเห็นจะมิได้พระเจ้าหงสาวดี คืนมา จะขัดสนด้วยเหตุสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นแท้ พระสุบินนี้เป็นเทพสังหรณ์บอกเหตุ ใช่จะร้ายสิ่งใดหามิได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ครั้นตรัสได้ทรงดังนั้นแล้ว จึง ทรงพระกรุณาตรัสว่า ซึ่งทำนายทั้งนี้โดยลักษณะพระสุบิน แต่เรา

๒๓๘ มาเห็นว่า พระเจ้าหงสาวดีเป็นใหญ่ในรามัญประเทศแต่ครั้งพระบรมราชาธิบดีมา เป็นปึกแผ่นมั่นคงดุจเขาพระสุเมรุราช และซึ่งผู้ใด จะอาจเอื้อมทำอันตรายนั้น เห็นยังไม่ได้ก่อน จำเราจะยกไปแก้แค้นเมืองเมาตะมะ และหัวเมืองรามัญทั้งปวง ซึ่งประทุษร้ายหมิ่นเรา ให้สาแก่ใจ จึงค่อยคิดราชการต่อไป ตรัสแล้วรุ่งขึ้น ๓ นาฬิกา ๖ บาท เพลาได้มหาเพ็ชรฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ทรงเครื่องสำหรับพิชัยสงครามเสร็จ สมเด็จพระนเรศวรบพิตรเป็นเจ้าเสด็จทรงช้างพระที่นั่งเจ้าพญาปราบไตรจักรเป็นพระคชาธาร สมเด็จเอกาทศรฐบรมนาถ เสด็จทรงช้างพญาจักร เป็นพระคชาธาร ประดับด้วยพิริยทวยหาญแห่เป็นขนัดแน่น แสนสินธพยุหสมุหดู พิลึกดาดาษด้วยธงทิวแถวทวนทองหน้าพระคชาธาร อลังการด้วยเครื่องอภิรุมชุมสายพรายพรรณ กลิ้งกลดจามรมาศบังบรมทิพากร อันจรัสส่องแสง อุโฆษด้วยเสียงกาหลห้องกลองชะนะนำเสด็จ โดยมารควิถีแถวเถื่อนทุเรศ ประทับรอนแรม ๗ วันบรรลุด่านพระเจดีย์สามองค์ เสด็จไปประทับแรมตั้งค่ายหลวงลำน้ำแม่กษัตริย์ ฝ่ายชาวด่านรามัญซึ่งมาคอยประจำฟังข่าวอยู่นั้น เห็นกองทัพยกมา ก็ลอบไปดูในป่า ประจักษ์แจ้งว่ากองทัพหลวงแล้ว ก็รีบเอา เนื้อความไปแจ้งแก่เจ้าเมาะตะมะ ๆ จึงบอกข้อราชการไปเมือง หงสาวดีแลเมืองตองอู ขณะเมื่อหนังสือบอกเมืองเมาะตะมะไปเถิงนั้น พระเจ้าหงสาวดีประชวรอยู่ จึงสั่งแก่เสนาบดีว่า ราชการครั้งนี้เราป่วยอยู่แล้ว ให้

๒๓๙ คิดรักษาพระนครให้ดี แล้วให้บอกไปเถิงพระเจ้าตองอูหลานเรา ให้ ยกพลมาช่วยการสงคราม เสนบดีบอกข้อราชการไปยังเมืองตองอู และหัวเมืองทั้งปวง ให้ยกมาช่วยป้องกันเมืองเมาะตะมะ และใน เมืองหงสาวดีนั้น ก็เกณฑ์ไพร่พลรักษาหน้าที่เชิงเทินตามธรรมเนียม ฝ่ายพระยาตองอู จึงให้ไปอาราธนาพระมหาเถรเสียมเพรียมเข้ามาณเรือน แล้วบอกประพฤติเหตุให้พระมหาเถรฟังทุกประการ แล้วว่าพระผู้เป็นเจ้าช่วยคิดให้โยมด้วย พระมหาเถรได้ฟังหัวเราะแล้วว่า มหาบพิตรกลัวพระนเรศร์ นักอยู่หรือ พระยาตองอูจึงว่า พระผู้เป็นเจ้าช่วยทำนุบำรุงอยู่แล้ว โยมหากลัวไม่พระมหาเถรยิ้มแล้วจึงว่า มหาบพิตรอย่าวิตกเลย ซึ่งพระนเรศร์ พี่น้องยกมานี้ อุปมาเหมือนเทพดาอันจรในจักรราษีมาอุดหนุนให้ ชาตามหาบพิตรโชคตกทวารลักษณะจันทร์จะขึ้นนระอยู่แล้วอย่าช้าเลยจงเร่งยกพลลงไปเมืองหงสาวดี แล้วแต่งม้าใช้ถือหนังสือไปเถิง พระยาลาวเมืองเมาะตะมะ ว่าให้เร่งกวาดไพร่พลหัวเมืองซึ่งขึ้นแก่เมืองเมาะตะมะเข้าไว้ในเมืองให้มั่นคง แล้วให้ตั้งค่ายคูให้มั่นคง จงช่วยกันเป็นใจรบอย่าให้กองทัพกรุงพระนครศรีอยุธยข้ามมาได้ ถ้าศึกหนักแน่นประการใดให้บอกมา เราจะยกลงไปช่วย แต่บัดนี้ เราจะไปเฝ้าพระเจ้าหงสาวดีคิดราชการก่อน มหาบพิตรมีหนังสือ ไปเอาใจเมืองเมาะตะมะดังนี้แล้ว จงแต่งม้าเร็ว ๒๐ - ๓๐ ม้าให้ไป


๒๔๐ ประจำฟังข่าวอยู่นั่น แล้วให้ผลัดเปลี่ยนกันเอาช่วยมาแจ้งจงเนือง ๆ ถ้าศึกไทยกับรามัญยังไม่ติดกันเข้า อย่าเพ่อทำจะเสียการ ถ้าศึก ตีติดกันเข้าเมื่อไรแล้ว ก็ให้ทำการใหญ่เถิด และเมื่อจะเข้าเมือง หงสาวดีมาเมืองตองอูนั้นแล้ว ให้จุดเผาบ้านเรือนสะเบียงอาหารในเมืองหงสาวดีให้สิ้น กำลังศึกก็ถอยลง ถ้าเห็นยังติดตามมา ก็ ให้เอาของพระเจ้าหงสาวดีสิ่งหนึ่งสองสิ่ง แต่งคนถือหนังสือไปถวายหน่วงทัพไว้ แต่การกันเมือง ไว้ให้มั่นคง เถิงมาตรจะเสียของไปนิด ก็อย่าเสียดายเลย อุปมาเหมือนดอกไม้หล่นไปดอกหนึ่งสองดอก ถ้าต้นรากบริบูรณ์อ ยู่แล้วก็ในจะผลิดอกออกผลสืบไป พระมหาเถร จึงสั่งความแก่พระยาตองอูทุกประการ แล้วก็ลาไปอาราม พระยาตองอูก็เกณฑ์ทัพ ๑๐,๐๐๐ สรัพไปด้วยสาตราวุธพลเครื่อง นอก นั้นให้กวาดต้อนเข้าในเมืองสิ้น และเกณฑ์ให้ขึ้นรักษา หน้าที่เชิงเทิน ครั้นพิชัยฤกษ์ดีแล้ว พระยาตองอูก็ยกพล ๑๐,๐๐๐ ลงมา ยังเมืองหงสาวดี ตั้งกองทัพอยู่นอกเมือง พระยาตองอูเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าหงสาวดีในพระราชวัง พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสปราสัยพระยาตองอู ว่าทัพพระนเรศร์ยกมาครั้งนี้ใหญ่หลวง หลานเราจง ช่วยคิดราชการป้องกัน อย่าให้เมืองมอญไปเป็นชะเลยกรุงพระนคร ศรีอยุธยาได้ พระยาตองอูกราบทูลว่า พระองค์อย่าทรงพระวิตกเลยข้าพเจ้าจะขอทำราชการฉลองพระคุณกว่าจะสิ้นชีวิต ทูลแล้วพระยาตองอูก็ลาพระเจ้าหงสาวดีออกมายังกองทัพ แต่พระยาตองอูเวียน เข้าไปเฝ้าเยือนพระเจ้าหงสาวดีเนือง ๆ ชาวหงสาวดีซึ่งรักษาหน้าที่

๒๔๑ เชิงเทียนเข้าออกนั้น ก็ไม่รังเกียจชาวตองอู ไว้ใจให้เข้าออกทั้ง กลางวันกลางคืน ฝ่ายพระยาลาวเมืองเมาะตะมะนั้น ครั้นแจ้งในหนังสือบอก ดังนั้นสำคัญว่าจริง มิได้รู้ว่าเป็นอุบาย ก็แต่งคนถือหนังสือไป ขับต้อนเจ้าเมืองกรมการและราษฎรบรรดาเป็นเมืองขึ้นแก่เมืองเมาะ ตะมะ ให้ยกไปเมืองเมาะตะมะให้สิ้น เจ้าเมืองกรมการและราษฎรเมืองขึ้นแก่เมาะตะมะ ๓๒ หัวเมือง ที่คิดเห็นว่าเจ้าเมืองเมาะตะมะจะสู้กองทัพได้ก็ยกกันเข้ามา ที่เห็นว่าจะสู้ทัพกรุงมิได้ก็ไม่เข้ามา ยกครอบครัวอพยพเข้าป่าเป็นอันมาก ฝ่ายเจ้าเมืองเมาะตะมะ ก็จัดตรวจรี้พลทหารใหญ่น้อยรักษาหน้าที่ทั้งป้องกันเมืองเป็นสามารถ ฝ่ายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จประทับแรมพักช้างม้ารี้พลณพระตำบลแม่กษัตริย์ ๓ เวน ครั้นวันศุกร์ (๑) เดือน ๓ แรมค่ำหนึ่ง เพลา ๑๐ ทุ่ม บังเกิดชัยนิมิตรบันดาลให้เสนางคนิกรโยธาทวยหาญในกองทัพรื่นเริง เปล่งออกมาซึ่งศัพทสำเนียงกึกก้องโกลาหล ครั้นเพลา ๑๐ ทุ่ม พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงเครื่องสรรพนิลวัตถาลังกาภรณ์วิภูษิต สำหรับขัตติยราชรณยุทธ์แล้ว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นบนเกย ทอดพระเนตรเห็นช้างพระที่นั่งทั้งสองซึ่งประทับอยู่นั้น (๑) ถ้าเดือน ๓ ขึ้นค่ำหนึ่ง เป็น วันเสาร์จริง เดือน ๓ แรมค่ำหนึ่ง ก็น่าจะเป็นวันอาทิตย์ ๓๑ ๒๔๒ ยกงวงขึ้นปรามาศลูบคลำงาเบื้องขวา แล้วร้องก้องโกญจนาทนี่สนั่นในพนัสแนวสีขรเขตต์ เป็นชัยนิมิตร ๒ ประการ ทั้งศัพท สำเนียงเสนาคนิกรโยธาหาญ ก็ทรงพระโสมนัสปรีดา พระโหรา ธิบดีก็ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ปโรหิตาจารย์ เป่าสังข์ถวายชัยมงคล เสียงศัพท์เภรีฆ้องกลองโกหล ประโคมกึกก้องนฤนาท สมเด็จ พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จทรงพลายพันจักร สูง ๕ ศอก ๓ นิ้ว ผูกพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ สมเด็จพระราชอนุชาทรงหลายแก้วอุดร สูง ๕ ศอก ผูกพระที่นั่งหลังคาทอง ตรัสให้เคลื่อนพลพยุโยธา ทหารโดยกระบวนซ้ายขวาหน้าหลัง สลับไปด้วยแถวทวนทงดูพันลึกอธึกมโหฬารดิเรก โกลาหลด้วยเสียงพลกุญชรชาติอาชาไนย เดินโดยสถลมารควิถี ประทับรอนแรม ๖ เวน ก็เสด็จเถิงเมือง เมาะลำเลิง เจ้าพนักงานประโคมฆ้องกลองแตรสังข์กึกก้องโกลาหล ก็เสด็จเปลื้องสิริราชรณยุทธ์สัณฐาคารในค่าย ที่เจ้าพระยา จักรี และเจ้าพนักงานตั้งไว้รับเสด็จนั้น เจ้าพระยาจักรีและมุขมัจจามหาอำมาตย์ กวีราชโหราชจารย์ และนายทัพนายกองทั้งปวงเฝ้า พระบาทยุคลดาษดา ดังดวงดาวดารากรล้อมรอบพระรัชนีกรเทวราชเจ้าพระยาจักรีกราบทูลข้อราชการเสร็จสิ้นทุกประการ ก็เสด็จพักพล อยู่ ๓ เวนพอหายเลื่อยล้า แล้วดำรัสให้โหราฤกษ์ได้มหาเพ็ชรฤกษ์ ณวันพฤหัสบดีเดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๕ บาท จึงมีพระราชบรรหารสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ ให้พระกาญจนบุรีเป็นยกรบัตร และท้าวพระยาหัวเมืองพลทหารอาษา

๒๔๓ ๒๐,๐๐๐ บรรจุเรือรบเรือไล่เตรียมไว้ เถิงฤกษ์ดีแล้วจะให้ข้ามไป ตีเอาเมืองเมาะตะมะ ครั้นณวันพฤหัสบดี เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำเพลาย่ำรุ่ง สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จทรงสุวรรณสิริราชอลังการยุทธ์สำหรับราชรณรงค์เสร็จ เสด็จทรงช้างพระที่นั่งไปยืนอยู่ณริมฝั่งแม่น้ำเมาะลำเลิง ครั้นเพลา ๕ บาทได้มหาเพ็ชรฤกษ์ พระโหราธิบดีศรี ทิชาจารย์ลั่นฆ้องชัยเป็นสำคัญ เจ้าพระยาจักรีนายทัพนายกอง ก็ ยกพลเรือรบเรือไล่ข้ามไปรบเอาเมืองเมาตะมะ พระยาลาวก็แต่ง เรือรบเรือไล่ออกมารบ ก็พ่ายแพ้แก่พลทหารข้าหลวง ๆ ก็ไล่สำรุก ขึ้นป่ายปีนเอาเมืองเมาะตะมะนั้นได้ พระยาลาวและท้าวพระยามอญกบฎทั้งปวง ก็พากันหนี แลพลทหารข้าหลวงไล่ฟันมอญกบฎหญิง ชายทั้งปวงตายสิ้นทั้งเมืองเมาะตะมะนั้น อนึ่งมอญซึ่งหนีจากเมืองเมาะตะมะไปซอกซอนอยู่ทุกตำบล และทหารข้าหลวงตามไปไล่ ฆ่าฟันแทงตายมาก ส่วนตัวพระยาลาวไซร้ขึ้นช้างหนีไปประมาณ ๕๐ เส้น และหมื่นสุดจินดาตามได้ตัวพระยาลาวเอามาถวาย ช้างม้าเครื่องสรรยุทธ์ในเมืองเมาะตะมะนั้นก็มาก สมเด็จพระบาทบรม บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งพระองค์ ก็ลงพระราชอาชญาแก่ พระยาลาว พระบาทสมเด็จบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้ห้ามช้างม้าทั้งปวงเสร็จ เถิงณวันศุกรเดือน ๓


๒๔๔ แรม ๑๓ ค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสอง พระองค์ ก็เสด็จด้วยชลวิมานข้ามแม่น้ำเมาะลำเลิง ไปตั้งทัพหลวง ในเมาะตะมะ ในขณะนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสทรงพระโกรธแก่เจ้าพระยาจักรี และตรัสให้จำขังไว้ในเมืองเมาะลำเลิง และไว้พระยาธนบุรี นอกราชการ และขุนหมื่นทั้งปวง ให้อยู่รักษาเมืองเมาะลำเลิงด้วยพระยาจักรี และมีพระราชกำหนดให้ซ่องสุมเอามอญอันซ่านเซ็นทั้งปวง ให้เข้าอยู่ในเมืองเมาะลำเลิง ตรัสให้พระยาสวรรคโลกและ พระยาพิชัย พระยากาญจนบุรี และขุนหมื่นทั้งหลาย อยู่รั้งเมืองเมาะตะมะ และซ่องสุมมอญอันซ่านเซ็นทั้งปวงเข้าอยู่เมืองเมาะตะมะ เถิงณวันเสาร์เดือน ๓ แรม ๑๔ ค่ำ ก็ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาตะมะ เสด็จโดยสถลมารคเถิงฝั่งน้ำสะโตง ฝ่ายพระยาตองอูอยู่ในเมืองหงสาวดี ครั้นได้ยินข่าวว่าทัพหลวงเสด็จไป พระยาตองอูแต่งให้ม้าประจำข่าวเถิงเมืองเมาะตะมะ ครั้น รู้ข่าวว่าเสียเมืองเมาะตะมะแล้ว พระยาตองอูก็เข้าเมืองหงสาวดี แลให้เผาเย่าเรือนทั้งปวงเสีย แล้วก็พาพระเจ้าหงสาวดีรุดหนีไปยังเมืองตองอู ฝ่ายทัพหลวงไซร้ ครั้นเถิงฝั่งสะโตง พระบาทสมเด็จบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสสั่งพระมหาเทพ เป็นนายกองทัพม้า ๒๐๐ ให้ยกไปก่อนทัพหลวง แล้วตรัสใช้พระยาเพ็ชรบุรี ให้ยกช้างม้า และพล ๓๐๐๐ หนุนทัพพระมหาเทพ จึงยกทัพหลวงข้าม

๒๔๕ แม่น้ำสะโตง แล้วเสด็จเถิงเมืองหงสาวดี ในวันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ทัพหลวงตั้งในตำบลสวนหลวง จึงพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จเข้าไปนมัสการพระพุทธเจ้าพระเมาะเตาในเมืองหงสาวดี ในขณะนั้น พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสแก่ท้าว พระยาเสนบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่า พระยาตองอูแต่งทูตานุทูตถือ ราชสารไปเถิงพระนครขอเป็นพระราชไมตรีด้วยเรา และสัญญานัดว่าให้ยกทัพหลวงมาแล้ว จะช่วยกันรบเอาเมืองหงสาวดี และพระยา ตองอูก็ไม่อยู่ท่าทัพหลวง และยกมาปล้นเอาเมืองหงสาวดีเอง อนึ่งครั้นรู้วาเรายกมายังเมืองหงสาวดี พระยาตองอูก็มิได้ตบแต่งทูตานุทูตสำหรับการพระราชไมตรี และพระยาตองอูหนีไปเมืองตองอูนั้น เห็นว่าพระยาตองอูมิได้ครองโดยสัตยานุสัตย์ซึ่งเป็นพระราชไมตรีด้วยเรานั้นควรเราจะยกทัพหลวงไปหาพระยาตองอูเถิงเมืองตองอู ให้รู้ท่าซึ่ง พระยาตองอูจะเป็นไมตรีด้วยเราหรือ หรือพระยาตองอูมิเป็นไมตรี ด้วยเรา พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสให้พระธนบุรี และขุนเพ็ชรภักดี และขุนหมือนทั้งหลายอยู่รักษาเมืองหงสาวดี แล้วยกทัพหลวงเสด็จไปจากเมืองหงสาวดี ยกไปทางเมืองตองอู สวนพระยาละเคิ่ง ซึ่งใช้ทูตานุทูตถือพระราชสารมาถวายบังคมขอเป็นพระราชไมตรี และว่าพระยาละเคิ่งจะยกช้างม้ารี้พลมาช่วยงานพระราชสงคราม และเมื่อทัพหลวงเสด็จเถิงเมืองหงสาวดี ครานั้น

๒๔๖ พระยาละเคิ่งมิได้ยกทัพมาเองดุจพระราชสารมานั้น พระยาละเคิ่งก็ ใช้แต่ท้าวพระยาให้ยกทัพเรือพล ๕๐๐๐ มาถึงตำบลมะตาร และสั่งท้าวพระยาผู้มานั้นให้ยกพลขึ้นมาเข้าทัพหลวง โดยเสด็จงานพระราชสงคราม จึงพระยาผู้เป็นนายกองนั้น ก็ให้เถิงพระยาพระราม ให้กราบทูลพระกรุณว่า จะขอมาถวายบังคม และจะยกพล ๕๐๐๐ นั้นเข้าทัพหลวง โดยเสด็จตามกำหนดพระยาละเคิ่งสั่งมานั้น พระบาทบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสแก่ท้าวพระยาเสนาบดีมนตรีมุขทั้งหลายว่า พระยา ละเคิ่งให้สัตย์ปฎิญาณว่าจะยกมาเอง ช่วยการพระราชสงคราม และซึ่งพระยาละเคิ่งมิได้ยกทัพมาเอง และใช้ท้าวพระยาให้ถือพลมาเข้าทัพเรา ครานี้แลเราจะเอาชาวละเคิ่งไปโดยสัตย์นั้นดูมิควร จึง มีพระราชโองการตรัสสั่งพระยาพระราม ให้ห้ามชาวละเคิ่งมิให้โดยเสด็จ และให้แต่งพระราชรางวัลไปแก่ท้าวพระยาชาวละเคิ่งผู้มานั้นโดยบรรดาศักดิแล้ว ก็ให้ขึ้นไปยังเรือทัพเรือ ส่วนพระยาตองอู ครั้นไปเถิงเมืองตองอู แต่งพม่าผู้ดีชื่อมังรัดออง และคนประมาณ ๒๐๐ ให้ถือหนังสือมาถวาย และพระธำมรงค์เพ็ชรสามยอดสำหรับพระเจ้าทรงธรรม ให้มังรัดออง ถือมาถวายโดยคลองพระราชไมตรี จึงพระมหาเทพม้าไปเป็น ทัพหน้า ยังประมาณ ๓๐๐ เส้นจะเถิงเมืองตองอู ก็พบชาวตองอู ซึ่งพระยาตองอูใช้มานั้น พระมหาเทพก็มิได้พิจารณาว่าทูตานุทูต พระมหาเทพใช้ชาวม้าให้ไล่จับเอาชาวตองอูอันมานั้น ได้ตัวรัดออง

๒๔๗ ผู้ถือหนังสือพระยาตองอูนั้น จำคงส่งมาถวายเถิงทัพหลวง พระ บาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรงพระโกรธแก่พระมหาเทพ ว่าซึ่งพระยาตองอูใช้มาเป็นราชทูต และ พระมหาเทพให้จับเอามาเป็นชะเลยนั้นมิชอบ ตรัสให้ลงพระราชอาญาแก่พระมหาเทพ และก็ให้ปล่อยมังรัดอองนั้นขึ้นไปยังเมืองตองอู ให้ว่าพระยาตองอูว่า สมเด็จพระบาทบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ยกทัพหลวงเสด็จมาคราวนี้ไซร้ จะเอาเมืองหงสาวดีและซึ่งพระยาตองอูให้ราชทูตเอาสารไปเชิญพระบาทสมเด็ จบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จมาเอาเมืองหงสาวดี และ พระยาตองอูจะยกพลมาช่วยแล้วไซร้ พระยาตองอูมิได้อยู่ท่าทัพหลวงและซึ่งปล้นเมืองหงสาวดีนั้น ได้ช้างดีม้าดีเท่าใดไซร้ ให้แต่งไปถวายโดยคลองพระราชไมตรี และทรงพระกรุณาจะเสด็จขึ้นไปยัง พระนคร ครั้นมังรัดอองเข้าไปเถิงเมืองตองอู พระยาตองอูก็ใช้มัง รัดอองให้ออกมาเล่า ให้กราบทูลพระกรุณาว่า จะขอให้ทัพหลวงตั้งอยู่แต่ในที่เสด็จเถิงนั้น ขออย่าเพ่อยกเข้าไป และพระยาตองอูจะแต่งราชสารและเครื่องบรรณาการช้างม้า ซึ่งได้ในเมืองหงสาวดีนั้นส่ง ออกมาถวาย จึงพระยาพระรามกราบทูลพระกรุณาว่า ที่เชิญทัพหลวงให้คอยอยู่นั้น เหตุพระยาตองอูจะแต่งการป้องกันเมืองยังไม่สรัพ จึงอุบายให้ออกมาห้าม ประสงค์จะแต่งการที่จะรบพุ่งนั้นให้สรัพ ขออัญเชิญทัพหลวงเสด็จเข้าไป อย่าทันให้พระยาตองอูตบแต่งบ้านเมืองให้มั่นคง พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์

๒๔๘ ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งให้มังรัดอองนั้น คืนเข้าไปยังเมืองตองอู ให้ว่าแก่พระยาตองอูว่า ถ้าพระยาตองอูมิได้เสียสัตย์ เป็นพระราชไมตรีไซร้ ให้แต่งท้าวพระยาผู้ใหญ่ออกมา ครั้นให้ส่งมังรัดออง เข้าไปแล้ว พระยาตองอูมิได้แต่งท้าวพระยาผู้ใด ๆ ออกมาหามิได้ ก็ยกทัพหลวงเสด็จเข้าไปเถิงเมืองในวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกรนั้น (๑) ฝ่ายพระยาตองอูแต่งการบ้านเมือง ก็มิได้แต่งให้ออกเจรจาความเมืองโดยคลองพระราชไมตรี รุ่งขึ้นณวันอังคาร พระบาทสมเด็จบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็เสด็จไปยืนพระคชาธาร ก็ให้พลทหารเข้าล้อมเมืองตองอู และแต่งค่ายล้อมรอบเมืองตองอู ๔ ด้าน หน้าค่ายในด้านข้างทักษิณซึ่งทัพหลวงเสด็จอยู่นั้นไซร้เป็นพนักงานพระยาศรีสุพรรณ พระยาท้ายน้ำ หลวงจ่าแสน หมื่น (๑) เมื่อสมเด็จพระนเรศชวรมหาราช โปรดให้เตรียมกองทัพ จะยกไปปราบมอญพะม่านั้น กล่าวไว้ว่า ในปีชวดสัมฤทธิศก คือ จ.ศ. ๙๕๐ พ.ศ. ๒๑๓๑ ( ดูหน้า ๒๒๖) แต่ครั้นถึงตอนทัพหลวงยกเข้าเหยียบ ชานเมืองตองอู กลับว่าเป็นปีกุร ซึ่งจะย้อนถอยไปเป็นปีกุร จ.ศ. ๙๔๙ ก่อนปีชวด จ.ศ. ๙๕๐ นั้นไม่ได้ ถ้ายุติเอาปีกุรหลังนี้เป็นหลัก ปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๙๕๐ ก็ต้องเลื่อนมาเป็น จ.ศ. ๙๖๐ ปีจอสัมฤทธิศก ส่วนปีกุรเป็นเอกศก จ.ศ. ๙๖๑ พ.ศ. ๒๑๔๒ ตรงกับที่กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช ๙๖๑ กรุศก วันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู


๒๔๙ ศรีสงคราม ขุนราชนีกุล นอกราชการ ขุนแผลงสท้าน พระยาจ่า แสนหลวง พระยานคร เป็นนายกอง ในด้านข้างบูรพ์ไซร้ พนักงานพระเพ็ชรบูรณ์ พระยาสุพรรณบุรีหลวงมหาอำมาตยาธิบดี เป็นนายกอง ในด้านข้างอุดรไซร้ เป็นพนักงานเจ้าพระยาพิษณุโลก พระยากำแพงเพ็ชร และหมื่นภักดีศร เป็นนายกอง ในด้านข้างประจิมไซร้ เป็นพนักงานพระยานครสีมา เมืองสิงหบุรี ขุนอินทรบาล แสนภูม โลกเพ็ชรสรการ บังคับบัญชา ในหน้าค่ายทั้งสี่ด้านนั้น ตรัสให้เจ้าพระยาพิษณุโลก และขุนราชนิกูลนอกราชการ ตรวจจัดทั้งสี่ด้านและพลับพลาชัยทัพหลวงไซร้ ตั้งใกล้ค่ายล้อมนั้น ประมาณ ๑๐ เส้น ในขณะนั้นพระยาตองอูได้ยินดีข่าวว่าทัพหลวงเสด็จไป พระยาตองอูให้ย้ายช้างใหญ่ทั้งปวงไปไว้นอกเมืองตองอู เอาไปไว้เถิง ตำบลแม่ซางใกล้แดนเมืองอังวะ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ตรัสใช้พระมหาเทพเป็นนายกอง ขุน คชภักดี เมืองคชโยธา แลขุนหมื่นอาษา ให้ไปลาด จึงพระมหาเทพและข้าหลวงทั้งปวงยกไปเถิงตำบลแกนตอง แล้วยกไปเถิงแม่ซาง ได้ช้างพลายพังซึ่งพระยาตองอูให้เอาไปซ่อนไว้นั้น ๕๐ เศษ ในนี้ แต่ช้างพลายรายปลอกกะยอสูง ๗ ศอก พลายเทวนาคพินายสูง ๖ ศอก คืบ ๕ นิ้ว พลายปลองรุรายภักสูง ๖ ศอก ๗ นิ้ว พลายละลุมแทง สูง ๖ ศอกนิ้ว พลายนีลาตองสูง ๖ ศอก ๖ นิ้ว พลายลานนิกนาง สูง ๖ ศอกนิ้ว พลายปลอกหละเนียบผยูสูง ๖ ศอก ๘ นิ้ว พลาย ๓๒

๒๕๐ หัศปิสาจสูง ๖ ศอก ๕ นิ้ว พลายมัตมูสูง ๖ ศอก ๘ นิ้ว พลายเนย จรัดการสูง ๖ ศอก ๓ นิ้ว พลายยูมาตางสูง ๖ ศอก ๒ นิ้ว พลายกลวรายชะวาสูง ๖ ศอก พลายพิจิตรสูง ๕ ศอกคืบกับ ๑ นิ้ว พลายชัยมงคลสูง ๖ ศอก ๘ นิ้ว พลายรายปลอกหลสูง ๖ ศอก พลายรายเรียมนางสูง ๖ ศอก พลายราชสงครำสูง ๖ ศอก พลายชมภูทับ สูง ๖ ศอก ๒ นิ้ว พลายนักเบสูง ๕ ศอก ๕ นิ้ว พลายสีหนาทสูง ๕ ศอก ๕ นิ้ว พลายสวรรคโลกสูง ๕ ศอกคืบ ๑๑ นิ้ว พลายราย ผอนสูง ๕ ศอกคีบ ๗ นิ้ว พลายรายพักตร์ปองกะยอสูง ๕ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พลายสัพพางคุลาสูง ๕ ศอกคืบ ๑๑ นิ้ว พลายเขมรัฐชะวาสูง ๖ ศอก ๕ นิ้ว พลายรายพักตร์กันเลียงสูง ๖ ศอก ๔ นิ้ว พลายจำกะยองสูง ๕ ศอกคืบ ๘ นิ้ว พลายอนันตโยธาสูง ๕ ศอกคืบ ๑ นิ้วพลายรายพักตร์คำยางสูง ๖ ศอกคืบ ๒ นิ้ว พลายตมายพระยาแพร่สูง ๖ ศอก พลายเขยกรมักไปสูง ๕ ศอกคืบ ๖ นิ้ว พังมระพันคง สูง ๔ ศอกคืบ ๑ นิ้ว พังอะมะหลอมสูง ๕ ศอกคืบ ๓ นิ้ว พังสูรสูง ๔ ศอกคืบ ๕ นิ้ว แล้วได้ช้างพังช้างโขลงพวกหนึ่งเอามาถวาย เถิงณวันเสาร์ เดือน แรม ๑๓ ค่ำ พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ตรัสให้พลทหารยกเข้าปีนกำแพงปล้นเมืองตองอู ชาวเมืองตองอูป้องกันเมืองเป็นสามารถ การปล้น นั้นเป็นกลางวัน และพลทหารป่วยเจ็บมาก พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้


๒๕๑ มิได้ปล้น ก็ให้คลายคืนออกเอามาเข้าค่าย จึงตรัสให้แต่งไปลาด ทุกตำบลทั่วจังหวัดเมืองตองอู จนเถิงแดนเมืองอังวะ และได้สะเบียงเป็นอันน้อยนัก ข้าวแพงเป็นทะนานละ ๑๐ สลึง ๓ บาท ไพร่ทั้งหลายมิได้อยู่เป็นมั่วมูนในทัพหลวง และหน้าค่ายล้อมเมืองทั้งปวงนั้น กระจายออกไปลาดหากินทุกตำบล อนึ่งไพร่พลหลวงทั้งหลาย ขัดสะเบียงล้มตายก็มากนัก ขณะนั้น พระเจ้าเชียงใหม่ไม่ได้มาเป็นข้าหลวง แต่ขณะก่อนและเมื่อพระยาตะนาวศรียกทัพขึ้นไปเชียงใหม่ ห้ามชาวล้านช้าง ทั้งนั้น พระรามเดโชเข้าทัพไปด้วยพระยาตะนาวศรี ๆ ก็แต่งพระ รามเดโชให้มาอยู่ซ่องในเมืองเชียงราย เชียงแสน อันเป็นแก่ พระเจ้าเชียงใหม่นั้น ให้มาขึ้นแก่พระเจ้าเชียงรายตามประเวณี พระรามเดโชไปเถิงเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน ชาวเมืองทั้งสองเมืองนั้นก็สมัครด้วย พระราเดโชเป็นเจ้าเมือง ก็มิได้มาออกแก่ พระเจ้าเชียงใหม่ ส่วนท้าวพระยาหัวเมืองอันขึ้นแก่พระเจ้าเชียงใหม่ มาก็สมัครสมานด้วยพระราเดโช ๆ ได้กำลังรี้พลมาก ก็คิดจะรบ เอาเมืองเชียงใหม่ จึงพระเจ้าเชียงใหม่จะยกพลไปโดยเสด็จมิได้แล้วแต่งหลวงอันเป็นราชบุตร และท้าวพระยาช้างม้ารี้พลขึ้นไปตามทัพหลวงเถิงเมืองตองอู ฝ่ายเจ้าเมืองแสนหวีเถิงแก่กาลพิราลัย หาผู้จะครองเมือง มิได้ จึงเสนาบดีแต่งเครื่องราชบรรณาการไปทูลเกล้า ฯ ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวณเมืองตองอู กราบทูลขอเจ้าฟ้าแสนหวี ซึ่งได้มา

๒๕๒ เป็นข้าเฝ้า ขณะตรัสใช้พระยาศรีไสยไปช่วยกันเมืองเมาะลำเลิงนั้น คืนไปเป็นเจ้าเมืองแสนหวี ในขณะนั้น ทัพหลวงนั้น ตั้งอยู่ล้อมเมืองตองอูเถิง๓เดือน และแต่งให้ไปลาดทุกตำบลไซร้ มิได้สะเบียงอันจะเลี้ยงไพร่พลทั้งปวงใน ทัพหลวงนั้น ข้าวแพงเป็นทะนานละตำลึง อนึ่งก็เป็นเทศกาลฟ้าฝนพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ ก็ยกทัพหลวงจากเมืองตองอู มาโดยทางกลอกหมอ ครั้นทัพหลวงเสด็จเถิงตำบลคับแค สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอัญเชิญพระบาทสมเด็จเอกา ทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มายังพระลานชัย ก็มีพระราชโองการดำริด้วยกันว่า แผ่นดินเมืองเชียงใหม่เป็นจลาจลเพื่อพระรามเดโช และพระยาน่าน พระยาฝางและท้าวพระยาชาวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงอันขึ้นแก่พระเจ้าเชียงใหม่นั้น ชวนกันคิดร้าย และจะรบพระเจ้าเชียงใหม่ดังนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็อัญเชิญ พระบาทสมเด็จเอกทศรฐอิศวร บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จไปเชียงใหม่ ระงับท้าวพระยาทั้งปวงซึ่งคิดร้ายแก่พระเจ้าเชียงใหม่นั้น ตรัสให้ทัพพระยากำแพงเพ็ชร ทัพพระยาท้ายน้ำ ทัพ พระยาเพ็ชรบูรณ์ ทัพพระยานครสวรรค์ ทัพพระยาชัยนาท ไปโดยเสด็จ และทัพพระหลวง ทัพพระยาแสนหลวง ทัพพระยานครเป็น ทัพหน้า แล้วดำรัสให้เจ้าฟ้าแสนหวีโดยเสด็จไปด้วย ถ้าเสร็จ ราชการแล้วจึงให้ส่งขึ้นไปยังเมืองแสนหวี จึงพระบาทสมเด็จเอกา ทศรฐอิศวร บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยกทัพหลวง

๒๕๓ เสด็จโดยทางเชียงใหม่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เสด็จมาโดยทาง สะโตง มายังเมืองเมาะลำเลิง ส่วนข้าหลวงอันแต่งไว้ให้ส่งมอญ ทั้งปวงนั้น ก็ส่งมอญอันกระจัดพรัดพรายทั้งปวง ให้เข้าอยู่ที่ภูมิลำเนาในเมืองเมาะลำเลิงและเมืองเมาตะมะนั้นให้มาก จึงตรัสให้พระยา พลอยู่ตั้งเมืองเมาะลำเลิง และเมาะตะมะนั้นแล้ว ก็ยกทัพหลวงเสด็จมายังกรุงพระนคร พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จเถิงตำบลท่าหอด ในวันอังคารเดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ แรมทัพอยู่ในตำบลท่าหอดนั้น ๑๕ วัน มีพระราชโองการตรัสแก่เจ้าพระยาศรีเดโช ให้แต่งข้าหลวงไปหาพระยาหลวงเมืองน่าน พระยาฝาง พระรามเดโช พระยาพลศึกพ่าย พระยาสาด พระยา แพร่ พระยาลวะ พระยาเชียงของ พระยาพะเยา พระยาพะยาก พระยาเมืองยอง พระยาขวา และหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงทุกเมืองและแต่งข้าหลวงไปอยู่ประจำทุกเมือง จึงพระเจ้าเชียงใหม่ก็แต่งเครื่องบรรณาการให้นันทะพะยะเอามาถวาย และให้กราบทูลพระกรุณาว่า ทัพหลวงเสด็จมานี้ พระเจ้าเชียงใหม่ก็ชื่นชมนักหนา เห็นว่ากิจกังวลทั้งปวงก็สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยพระเดชพระราชสมภาร และว่าพระเจ้าเชียงใหม่ยกไปเมืองเชียงรายไซร้ พระยาฝางทำเพโทบายว่าจะยกมาช่วยพระเจ้าเชียงใหม่และกวาดเอาไพร่พลลูกค้าม้าขายในแดนเมืองเชียงใหม่ทั้งปวงไป


๒๕๔ ยังเมืองฝาง จึงพระเจ้าเชียงใหม่จะอยู่รบเอาเมืองเชียงรายมิได้ และกลับคืนเมือง ขอเชิญทัพหลวงเสด็จไปเอาเมืองฝาง จึงพระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธ เจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสแก่นันทะพะยะ ผู้มากราบทูล พระกรุณานั้น ให้ไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ว่า ทรงพระกรุณาตรัส ใช้ข้าหลวงให้ไปหาพระยาฝาง และท้าวพระยาทั้งปวงแล้ว จะอยู่ท่าฟังข่าวนั้นก่อน ถ้าเห็นว่าพระยาฝางมิได้สวามิภักดิ์ไซร้ จึงจะยก ทัพหลวงเสด็จไปเอาเมืองฝาง ครั้นนันทะพะยะ รับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ๆ ก็ให้หมื่นตองอูและนายสีนาทมากราบทูลพระกรุณาเล่าว่าในเมืองเชียงใหม่ข้าวแพงนัก ทรงพระกรุณาจะเสด็จอยู่ท่าฟังข่าว ซึ่งหาท้าวพระยาทั้งนั้น เห็นจะเป็นการช้านาน และรี้พลทั้งปวง เห็นจะขาดสะเบียง ขออัญเชิญเสด็จไปเอาเมืองฝางยังแล้ว เพราะเมืองฝางเป็นเสี้ยนสัตรูใหญ่หลวงนัก ครั้นหมื่นตองอู นายสีนาท มาเถิงทัพหลวงในวันนั้น พระยาฝางให้หมื่นหลวงชาย นำเอาเครื่องบรรณาการมาถวาย ส่วนพระยาน่านให้แสนเด็กชาย นำเอาเครื่องบรรณากามาถวาย และเถิงพร้อมกัน จึงหมื่นหลวงชายแลแสน เด็กชาย กราบทูลพระกรุณาว่า พระยาฝางและพระยาน่าน แต่ง ดอกไม้ทองเงินจะถวายบังคมในภายหลัง พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองดารตรัสสั่งแก่หมื่นตองอู และนายสีนาท ให้

๒๕๕ ไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ โดยเนื้อคดีซึ่งพระยาฝางแลพระยาน่าน ให้กราบทูลพระกรุณานั้น เมื่อทัพหลวงเสด็จแรมทัพอยู่ในตำบลท่าหอดนั้นข้าวแพงนัก พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสถามพระยาแสนหลวงว่า ไพร่พลขัดสะเบียงดังนี้ จะเพ่อยกทัพหลวงไปตั้งแห่งใด จึง พระยาแสนหลวงกราบทูลพระกรุณา ขอเชิญเสด็จยกทัพหลวงไปตั้ง ในตำบลเมืองเถิน เพราะที่นั้นใกล้ท่าเรือ พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มิพระราชโองการ ตรัสใช้ขุนวิสูตรเสนา และขุนราชสรจันทร์ ให้ไปทูลพระเจ้าเชียงใหม่ ว่าทัพหลวงเสด็จไปตั้งในตำบลเมืองเถิน ณวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้นค่ำหนึ่ง พระบาทสมเด็จเอากา ทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยกพลพยุหจากท่าหอดไปตั้งในตำบลเมืองเถิน จึงพระยาฝางก็ให้แต่งเครื่องดอกไม้ทองเงินและเครื่องบรรณา การมาถวาย จึงพระยาหลวงเมืองน่าน ก็ให้พระยาชัยสงครามถือ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง และเครื่องบรรณาการมาถวาย พระรามเดโช ก็ให้พระยาสาดและแสนวิชยามาต ถือดอกไม่เงินทองแลเครื่องบรรณาการมาถวาย จึงพระเจ้าเชียงใหม่ ก็ใช้เพี้ยหลวงคุมคามมากราบทูลพระกรุณาว่า พระเจ้าเชียงใหม่ใช้ฉางกองจาและเพี้ยหลวงคุมคมไปยัง เขมราฐ และใกล้เมืองฝาง พระยาฝางก็ให้คุมเอาตัวฉางกองจาและ

๒๕๖ เพี้ยหลวงคุมคาม หมื่นทองฝางเก่า จำไว้ อนึ่งพระเจ้าเชียงใหม่เมื่อ ตั้งทัพอยู่ณเมืองเชียงราย และใช้งอซอ แสนท่าช้าง แสนขวาง ให้ เอาช้างขึ้นไป พระยาฝางก็ให้จับเอาผู้มีชื่อทั้งนี้ฆ่าเสีย และยังแต่ งอซอผู้เดียวให้เกราะไว้ และบัดนี้ด้วยเดชะพระราชสมภาร พระยาฝางให้ปล่อยฉางกองจา และเพี้ยหลวงคุมคาม และงอซอ มาด้วยหมื่นทองฝาง เถิงเมืองเชียงใหม่แล้ว พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการตรัสสั่งเพี้ยหลวงคุมคามให้ทูลพระเจ้าเชียงใหม่ว่า พระยาฝาง แสนหลวงเมืองนาด และพระยารามเดโช แต่งดอกไม้เงินทองมาถวายแล้ว ตัวจะลงมาถวายบังคมภายหลัง พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตรัสขุนทรงภารา และขุนศรี ถือพระราชวังสารไปเมืองเขมราฐ จึงแสนหลวงเมืองนาด และท้าวพระยาแสนหมื่น เจ้าเมืองนาด ก็ลงมาถวายบังคม และแสนหลวงเมืองนาดถวาย ช้างพลาย ๖ ศอกมีเศษ ถวายช้างพัง ๒ ช้าง ถวายม้าดี ๒๐ ม้า เครื่องบรรณาการมาก อนึ่งท้าวพระยาแสนหมื่นอันมาด้วยแสนหลวงเมืองนาดนั้น ถวายนั้นและเครื่องบรรณาการก็มาก อนึ่งพระยาฝาง และท้าวพระยาแสนชาวเมืองฝางลงมาถวายบังคม พระยาฝาง ถวายช้างพลายงารัดทองช้างหมื่นชาวเมือง สูง ๖ ศอกเศษ ช้างพังรูปดี ๒ ช้าง ถวายม้า ๓๐ ม้า และเครื่องบรรณาการก็มาก อนึ่ง ท้าวพระยาแสนหมื่นอันลงมาด้วยพระยาฝางนั้น ถวายม้าและเครื่อง

๒๕๗ บรรณาการก็มาก อยู่ ๓วัน พระราเดโช และท้าวพระยาแสนหมื่นชาวเมืองเชียงแสนและเชียงราย ก็มาถวายบังคม พระรามเดโช ถวายช้างพลายพรสะดึกช้างหนึ่ง สูง ๕ ศอกคืบ ช้างพลายมรนากช้างหนึ่ง ถวายม้า ๕๐ ม้า และเครื่องบรรณาการก็มาก อนึ่ง ท้าวพระยาแสนหมื่นอันด้วยพระรามเดโชนั้น ถวายเครื่องบรรณา การก็มาก พระยาพลเศิกพ่าย น้องพระยาหลวงเมืองน่าน ก็ลงมาถวายบังคม และถวายช้างพลายบุญเรือฤทธิ์หนึ่ง สูง ๕ ศอกคืบ เศษ ถวายม้าและเครื่องบรรณาการก็มาก พระยาแพร่ พระยาลวะ พระยาเชรียง พระยาเชียงของ พระยาพะเยา พระยาพะยาก พระยาเมืองยอง และท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง ก็ถวายบังคม และถวายช้างม้า และเครื่องบรรณาการก็มากนัก และท้าวพระยา แสนหมื่นทั้งปวงนี้ เอาช้างมาตั้งทัพอยู่ล้อมพระราชวังและรับ ราชการ พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้หมื่นอินทรรักษา ให้ขึ้นไปทูลแด่พระเจ้าเชียงใหม่ ว่าท้าวพระยาทั้งปวงมาถวายบังคม และได้รับ ราชการอยู่ในทัพหลวงแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็ยินนักหนา เพราะ ท้าวพระยาทั้งนั้น กำลังรี้มั่งคั่งนัก ถ้าและพระกรุณามิได้ เสด็จไประงับไซร้ เห็นว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะยืนแก่ท้าวพระยาทั้งนี้ มิได้ และด้วยเดชะพระราชสมภารเสด็จไป จึงแผ่นดินเมือง เชียงใหม่มิได้จลาจล คงอยู่แก่พระเจ้าเชียงใหม่ อนึ่งเมื่อทัพหลวง ๓๓ ๒๕๘ เสด็จอยู่เมืองเถินนั้น พลทหารล้อมวังเป็นอันน้อยนัก เพราะข้าวแพงและชี้พลทั้งปวงซ่านเซ็นลงมา ยังอยู่ในทัพหลวงประมาณ ๓๐๐ เศษอนึ่งช้างม้าก็น้อยนัก ฝ่ายท้าวพระยาลาวทั้งนั้นไซร้ ก็ย่อมมีกำลังช้างรี้พล มั่งคั่งทุกเมือง และท้าวพระยาทั้งปวงมาราบคาบที่นี้ ด้วยเดชานุภาพพระราชสมภาร จึงพระเจ้าเชียงใหม่ พระยาพะเยา นำเอาช้างพลายมาณช้างหนึ่ง สูง ๗ ศอกเศษลงมาด้วยหมื่นอินทรรักษา เอามาถวายในตำบลเมืองเถิน แล้วพระยาเจ้าเชียงใหม่ก็แต่งเครื่องบรรณา ให้แสนหมื่นถือลงมาถวายเป็นหลายครั้ง ฝ่ายพระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไประงับท้าวพระยาทั้งหลายในเมืองเชียใหม่ นั้นราบคาบแล้ว ก็ตรัสให้ส่งเจ้าฟ้าแสนหวีไปโดยทางเชียงใหม่ ไป ยังเมืองแสนหวีแล้ว พระราชทานตรัสให้ช้างม้าและเครื่องกระยาประสาทไปแก่เจ้าฟ้าแสนหวีนั้นมาก อยู่มาพระมหาเทวีพระเจ้า เชียงใหม่เถิงแก่อนิจกรรม พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้แสนหนังสือเดินลงมา กราบทูลพระกรุณา ขอพระทุลองขึ้นไปช่วยแต่งการศพพระมหาเทวีและแต่งพระชัยทีปะ ผู้น้องพระทุลอง ลงมาถวายบังคมอยู่เฝ้า จำนำพระบาทในทัพหลวง ในเมืองเชียงใหม่นั้นเกิดทรพิษข้าวแพงนักพระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชโองการตรัสใช้หลวงเทพเสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม ลงมายังกรุงพระนครศรีอยุธยา เอาลำเลียงข้าวขึ้นไปยังทัพหลวง และ

๒๕๙ พระราชทานให้ขึ้นไปแก่พระเจ้าเชียงใหม่ จึงได้เลี้ยงไพร่พลประชาราษฎรทั้งปวงในเมืองเชียงใหม่นั้น ส่วนขุนพรหมสุรินทร์ ข้าหลวง ผู้ไปอยู่รั้งเมืองฝางนั้น เกิดเหตุการ ชาวเมืองฝางคิดร้าย ก็ลอบ ทำร้ายแก่พระพรหมสุรินทร์ จึงมีข่าวลงมากราบทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้พระยานครและพระรามเดโช ขึ้นไปอยู่ในรั้งเมืองฝาง ครั้นท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง ลงมาถวายบังคมเสร็จแล้ว เถิงเดือน ๑๑ พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้หมื่นนนทบาลลงมากราบทูลพระกรุณา แด่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ให้หมื่นนนทบาล แถลงการซึ่งเสด็จขึ้นไประงับท้าวพระยาทั้งปวงราบคาบนั้น ถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง ในขณะนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จคืนมา แต่การพระราชสงคราม ก็มิได้เสด็จเข้ามายังกรุงพระนคร และ ตั้งทัพหลวงเสด็จอยู่แต่เมืองสุพรรณบุรี ครั้นหมื่นนนทบาลมา เถิงเมืองสุพรรณบุรีเสด็จอยู่นั้น หมื่นนนทบาลก็เอากิจจานุกิจทั้งปวงกราบทูลพระกรุณาถวายแด่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ๆ ก็มีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หมื่นนนทบาล ให้ขึ้นไปกราบทูลพระบาท สมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ขอ เชิญเสด็จขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ ให้เอาท้าวพระยาทั้งปวงไปให้สมัคสมาด้วยพระเจ้าเชียงใหม่ ครั้นหมื่นนนทบาลขึ้นไปเถิงทัพหลวง กราบทูลพระกรุณาโดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชโองการ

๒๖๐ ตรัสนั้น พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็มีพระราชโองการตรัสใช้ข้าหลวงขึ้นไปหาพระรามเดโชในเมืองฝาง ว่าทัพหลวงเสด็จไปยังเมืองเชียงใหม่ และให้พระ ราเดโชลงมาถวายบังคมในเมืองเชียงใหม่ จึงตรัสใช้ข้าหลวง ให้ขึ้นไปทูลแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ว่าทัพหลวงจะเสด็จขึ้นตั้งในเมืองลำพูน และให้พระเจ้าเชียงใหม่ออกรับเสด็จในเมืองลำพูน จะเอาท้าวพระยาท้าวหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงมอบแก่พระเจ้าเชียงใหม่ ให้สมานด้วยกัน ขณะนั้นพระเจ้าเชียงใหม่รู้ข่าว ก็แต่งท้าวพระยาแสนหมื่นให้ออกมาปลูกตำหนักรับทัพหลวง แล้วก็แต่งตำหนักที่พระเจ้าเชียงใหม่จะเสด็จออกมาอยู่เองนั้น เถิงณวันอาทิตย์เดือนอ้ายขึ้น ๑๑ ค่ำ พระบาทเด็จเอกาทศ รฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ยกทัพหลวงเสด็จจากเมืองเถิน และพระยาหลวงเมืองน่าน เพยเสนหลวงพิงชัย พระยา ฝาง และท้าวพระยาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งปวง และพระชัยทีปะ ลูกพระเจ้าเชียงใหม่ก็ไปโดยเสด็จ จึงยกทัพหลวงไปตั้งเมืองลำพูน ในขณะนั้น ช้างรี้พลฝ่ายท้าวพระยาลาวทั้งปวงนั้น ล้อมทัพหลวง อยู่เป็นหนักหนา พระเจ้าเชียงใหม่รู้ว่า ท้าวพระยาทั้งปวงพร้อมมูล ในทัพหลวง และช้างม้ารี้พลมากนัก บรรดาพระเจ้าเชียงใหม่จะออกมารับทัพหลวงไซร้ ก็คิดสงสัยเกรงขาม และได้ออกมารับเสด็จใน เมืองลำพูนนั้น พระราเดโช ครั้นมีพระราชกำหนดขึ้นไปหา ก็ยก

๒๖๑ ลงมาจากเมืองฝางจะมายังทัพหลวงในเมืองลำพูน ก็เอาช้างม้ารี้พลเดินกรายเมืองใหม่มา พระเจ้าเชียงใหม่ก็แต่งทัพม้าไทยใหญ่ออก ไปซุ่มไว้ ซึ่งทางพระราเดโชจะยกมานั้น ครั้นเช้ามืดชาวเข้าม้าไทยใหญ่ก็ยกเข้าตี ทัพพระรามเดโชมิทันรู้ตัวก็แตกฉาน พระรามเดโชจะลงมา ยังทับหลวงมิได้ คืนไปเมืองฝาง พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็ตรัสรู้การซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่คิดสงสัย และมิได้ลงมายัง ทัพหลวงนั้น จึงมีพระราชโองการตรัสให้ท้าวพระยาพระหัวเมืองมนตรีมุขทั้งปวงพิพากษาว่า ซึ่งทรงพระกรุณาให้เรายกพลากรมาทั้งนี้ เพราะเหตุว่าทรงพระเมตตาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ เพื่อจะให้ระงับท้าวพระยาลาวทั้งปวง อันกระด้างกระเดื่องเป็นปัจจามิตรแก่พระเจ้า เชียงใหม่ ให้ปกติราบคาบ ท้าวพระยาลาวทั้งปวงก็มาพร้อมกันณเมืองเถินสิ้น ฝ่ายพระเจ้า เชียงใหม่ก็มิได้ลงมา เรื่องความทั้งนี้ก็ทราบลงไปเถิงฝ่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณ ธรรมอันมหาประเสริฐ ดำรัสเห็นว่า เมืองเชียงใหม่ยังปกติ จึงให้ เรากลับขึ้นมาระงับเสียให้จงได้ พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้ลงมา กลับ แต่งทัพม้ามาซุ่มไว้ตีพระรามเดโช อันลงมาตามกำหนดอีกเล่า และซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ทำดังนี้ ยังเห็นประการใด มุขมนตรีทั้งปวง ปรึกษาว่า เดิมแผ่นดินเมืองใหม่เป็นจลาจล พระเจ้าเชียงใหม่ หาที่พึ่งมิได้ จึงให้ไปกราบทูลเบื้องบาทยุคล ขอเอาพระเดชเดชา นุภาพปกเกล้าปกกระหม่อม พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรง

๒๖๒ พระกรุณาแก่พระเจ้าเชียงใหม่ จะให้คงอยู่ในเศวตฉัตรจึงเชิญพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมาในสมัยใช่ฤดูกาล ป่วยการรี้ พลมาก ครั้นทัพเสด็จมาเถิงท่าหอด ตรัสให้ข้าหลวงไปหาท้าว พระยาลาว อันกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้าเชียงใหม่ เดชะพระเดชา นุภาพ ท้าวพระยาลาวทั้งปวงมิอาจจะขัดแข็งอยู่ ก็พากันมากราบ ถวายบังคมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ในทัพหลวงณเมืองเถินสิ้น พระ เจ้าเชียงใหม่ก็หามาไม่ ด้วยมิได้เกรงพระเดชเดชานุภาพ มีแต่ กลัวพระยาลาวทั้งปวงมากกว่าพระราชอาชญาอีก สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงพระโทมนัสเคืองพระทัย ต้องทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินกลับขึ้นมาเถิงเมืองลำพูน กำหนดให้พระเจ้าเชียงใหม่ มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมกันกับพระยาลาว เพื่อพระราชทาน พระราโชวาท ให้พระยาลาวสมัคสมาอ่อนน้อมต่อพระเจ้าเชียงๆใหม่ก็มิ ได้ลงมา กลับแต่งทัพม้าใหญ่ มาซุ่มตีพระรามเดโชอันจะลงมา เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท จนพระรามเดโชมามิได้ต้องกลับคืนไป เมืองฝาง และพระเจ้าเชียงใหม่โมหจิตต์ มิได้เชื่อพระเดชเดชา นุภาพแล้ว ซึ่งจะเสด็จโปรดอีกนั้นเหลือการ อนึ่งไพร่พลทัพหลวง และไพร่ท้าวพระยาทั้งปวง ก็ขัดสนสะเบียงนัก ขอเชิญเสด็จพระ ราชดำเนินทัพหลวง เสด็จกลับยังกรุงพระมหานครจึงควร แล้วนำคำพิพากษากราบทูลพระกรุณา จึงมีพระราชโองการตรัสว่า พระเจ้าเชียงใหม่เป็นคนหลวงอยู่แล้วแลจะละเสีย เหมือนไม่อนุกูลพระเจ้าเชียงใหม่ ประการหนึ่ง

๒๖๓ ก็จะเสียเกียรติสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ผู้ทรงพระคุณอันมหาประ เสริฐไป ทั้งพระองค์ก็ทรงพระโกรธติโทษเราได้ ช่วยให้ข้าราชการ ผู้มีสติปัญญาเข้าไปว่ากล่าวชี้แจง ให้พระเจ้าเชียงใหม่ออกมาจงได้ แลให้ม้าตำรวจ ๓๐ ม้าขึ้นไปหาพระรามเดโชลงมาสมัคสมานเสีย จึงควร ฝ่ายเสนาข้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบถวายบังคมเห็นด้วยพระดำริทุกประการ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้หมื่นอินทรักษา กับพระชัยทีปะ โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ เข้าไปยังเมืองเชียงใหม่ ให้หมื่นเพ็ชรไพรี หัวหมื่นตำรวจ ๓๐ ม้า ไปหาพระรามเดโชณเมืองฝาง ครั้นหมื่น อินทรักษาช้าหลวงกับพระชัยทีปะ ไปเถิงพระเจ้าเชียงใหม่ จึงทูลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาอุตสาหะ เสด็จพระราชดำเนินยกทัพหลวงขึ้นมาเถิงเมืองลำพูน กำหนดให้ลงไปเฝ้า ทรงพระกรุณาจะเอาพระยาลาวทั้งปวงสมัคสมานมอบให้ เหตุไฉนพระองค์จึงมิได้ไปเฝ้าแล้วลอบแต่งทัพม้า ตีพระรามเดโชอันจะลงไปเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทอีกเล่า พระองค์ทำดังนี้ควรอยู่แล้วหรือ บัดนี้พระเจ้าอยู่หัว ขัดเคือง ให้เสนาพฤฒามาตย์ปรึกษา ๆ ให้เชิญเสด็จยกทัพหลวง กลับมายังกรุงพระมหานคร แต่ทว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรง พระอาลัยเถิงพระองค์ว่า ถ้าทัพหลวงเสด็จกลับ เห็นว่าเมืองเชียงใหม่ จะตั้งอยู่มิได้ เสียดายที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรมารพระองค์เสด็จมา ให้ข้าพเจ้าเข้ามาทูลพระองค์ อย่าให้วิตกเกรงขามท้าวพระยาลาว


๒๖๔ ทั้งปวงเลย เป็นภาระธุระสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะระงับการกลึ ให้สงบจงได้ พระชัยทีปะทูลชี้แจงพระเดชเดชานุภาพ ที่ท้าวพระยาลาวเกรงขามให้ฟังทุกประการ พระเจ้าเชียงใหม่ได้แจ้งดังนั้นมีความยินดีนัก ครั้นเพลารุ่งเช้าพระเจ้าเชียงใหม่ก็ยกช้างม้ารี้พลโดยสมควรลงมายังเมื องลำพูน เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลขอโทษที่มิได้ลงมาเฝ้าและลอบทำร้ายพระรามเดโชทุกประการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสได้ทรงฟังพระเจ้าเชียงใหม่ กราบทูลแย้มพระโอฐแล้วมีพระราชโองการตรัสว่า ซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่ มิได้มาตามกำหนดนั้น เพราะท่านมิได้เชื่อพระบวรบุญญานภาพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ผู้ทรงพระกฤษฎาภินิหารอันประเสริฐ ตรัสเท่านั้นแล้ว ก็ให้หาท้าวพระยาลาวทั้งปวงเข้ามาเฝ้า จึงมี พระราชบริหารตรัสแก่พระยาฝาง และท้าวพระยาแสนหลวงทั้งปวงว่าเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองกษัตริย์สืบมาแต่โบราณราชประเพณี พระ เจ้าเชียงใหม่เล่า ก็เป็นกษัตริย์สืบสุริยวงศ์มาหลายชั่วแล้ว ซึ่งท่าน ทั้งปวงคบคิดกันเป็นปัจจามิตรข้าศึก จะรบเอาเมืองเชียงใหม่นั้น เถิงมาตรว่าจะได้สมบัติในเมองเชียงใหม่ก็ดี ความทรยศอันนี้ก็จะปรากฎอยู่ชั่งฟ้าดิน ดูมิบังควร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาการุญภาพท่านทั้งปวงและพระเจ้าเชียงใหม่ จึงดำรัสให้เราอุตสาหะมา หวังจะให้ท่านทั้งปวงสามัคคีรส สุนทรภาพสโมสรสุจริตดุจกาลก่อนท้าวพระยาทั้งหลายจะว่าประการใด

๒๖๕ ท้าวพระยาแสนหลวงทั้งปวงกราบถวายบังคมพร้อมกัน แล้วกราบทูลว่า พระเจ้าอยู่หัวโปรดประการใด จะกระทำตามทุกประการ พระเจ้าเชียงใหม่กราบทูลพระกรุณาว่า ท้าวพระยาทั้งปวงปราณีประนอมแล้ว ข้าพระองค์มิได้มีอาฆาตจองเวรแก่ท้าวพระยา ทั้งหลาย จะถวายสัตย์ปฎิญาณได้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวตรัสได้ฟังดังนั้น ดีพระทัย ตั้งแต่นั้นพระเจ้าเชียงใหม่กับท้าวพระยาแสนหลวงแสนเมืองทั้งปวง ก็มิได้มีความพิโรธอาฆาตแก่กันต่อไป พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้กลับเข้าไป เมืองเชียงใหม่ อยู่ทัพหลวงเถิง ๘ เวน ฝ่ายหมื่นเพ็ชรไพรีกับพระรามเดโช ก็มาเถิงพร้อมกันกับพระเจ้าเชียงใหม่ แสนหลวงเมืองทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ตรัสให้พระราชโอวาทโดยยุติธรรมสามัคคีรส พระเจ้าเชียงใหม่กับพระรามเดโชก็สิ้นเวรพยาบาทกัน ครั้นรุ่งขึ้นก็เสด็จพระราชดำเนิน พอพระเจ้าเชียงใหม่และท้าวพระยาลาวทั้งปวง กระทำสัตย์ปฎิญาณถือน้ำพระพิพัฒน์ต่อพระเจ้าเชียงใหม่ ๆ ก็ถวายสัตย์ต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จำเพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้าซึ่งมิได้อาฆาตจองเวรแก่ท้าวพระยาทั้งหลาย เป็นอันสุจริต สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ตรัสให้โอวาทสั่งสอนพระเจ้าเชียงใหม่ และท้าวพระยาทั้งหลายเป็นอเนกบรรยาย แล้วก็เสด็จพระราชดำเนินกลับ เข้ามายังราชพลับพลาอาศัย จึงดำรัสแก่พระเจ้าเชียงใหม่ และ ๓๔ ๒๖๖ พระรามเดโช ท้าวพระยาแสนหลวงแสนเมืองทั้งปวง ให้ไปอยู่รักษาเมืองดังเก่า บำรุงประชาราษฎรขอบขันธเสมาโดยยุติธรรมประเพณี ให้ถาวรคณนาสืบไป ครั้นณวันอังคาร เดือนอ้ายแรม ๔ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จพระราชดำเนินยกพยุหโยธาทัพออกจากเมืองลำพูนแลพระเจ้าเชียงใหม่ พระรามเดโช ท้าวพระยาแสนหลวงแสนเมือง ทั้งปวง ก็ตามมาส่งเสด็จเถิงตำบลจอมทอง แล้วยกแยกกับไป บ้านเมืองโดยพระราชกำหนด แต่พระชัยทีปะ ลูกพระเจ้าเชียงใหม่ และพระยาเด็กชาย และนักทะกะยอสู นั้นลงมาโดยเสด็จ พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จลงมาเถิงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็มีพระราชหฤทัยปรีดาภิรมย์หนักหนา และสรรเสริญพระเดชเดชานุภาพพระราชสมภารพระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวรบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จไประงับท้าวพระยาทั้งปวงให้ราบคาบนั้น เมื่อครั้งลุศักราช ๙๒๕ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๑๓๓ ) นั้น ณเมืองละแวกแต่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จบรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เสด็จยกทัพหลวงไปปราบราชสัตรูในเมืองละแวกและเทเอาครอบครัวบุตรภรรยาพระเจ้าละแวก อพยพทั้งปวงเข้ามาอยู่ ณกรุงพระมหานครแล้ว และอยู่ภายหลังมานั้น ลูกพระเจ้าละแวกซึ่ง


๒๖๗ แตกหนีไปอยู่เมืองลานช้างนั้น ก็กลับมายังเมืองละวกคืนแล้ว ให้ประมูลไพร่พลเมืองทั้งปวงเข้ามาตั้งเมืองละแวก ขึ้นเสวยราชสมบัติแทนที่บิดา จึงแต่งดอกไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการให้เข้ามา ทูลเกล้า ฯ ถวายทุกปีมิได้ขาด ครั้นพระเจ้าละแวกองค์นั้นเถิงแก่ กรรมพิราลัยไปแล้ว จะหาผู้ใดปกครองแผ่นดินเมืองละแวกนั้นมิได้ จึงสมพราหมณาจารย์ และท้าวพระยามนตรีมุขทั้งปวง แต่ง ดอกไม้เงินทองแลเครื่องบรรณาการ มาถวายบังคมพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ขอพระศรีสุพรรณมาธิราช ผู้น้องพระเจ้าละแวกก่อนนั้น ไปครอบครองแผ่นดินเมืองละแวก พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ทรง พระกรุณา พระราชทานเครื่องบริโภคสำหรับมหากษัตริย์ ให้เอา พระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นพระเจ้าละแวก แล้วตรัสให้เจ้าพระยา สวรรคโลก พระยาพันธารา และพลหาร ๓๐๐๐ เอาพระศรี สุพรรณมาธิราชไปส่งเถิงเมืองละแวกโดยเรือทางเรือ ในปีขาลโทศกนั้น ลุศักราช ๙๕๓ ปีเถาะตรีศก (๑) (พ.ศ. ๒๑๓๔ ) พระศรีสุพรรณมาธิราช ผู้เป็นพระเจ้าละแวก ให้พระยากลาโหม ผู้ลูกเขยมากราบทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ว่า พระยาออนอันหนีไปด้วยซ่องพรรคในตำบล แสนสะโทงนั้น ประมูลซ่องพรรคทั้งปวงได้มากแล้ว ว่าจะยกมารบ (๑) ฉบับหลวงปรเสริฐว่า ศักราช ๙๖๕ เถาะศก ทัพพระเจ้า ฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้

๒๖๘ พระเจ้าละแวก พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็มีพระราชโองการตรัสให้แต่งทัพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชา และช้างเครื่อง ๕๐ ม้า ๑๐๐ พล ๑๐,๐๐๐ ทัพพระยาธรรมาธิบดี พระยาสวรรคโลก พระยากำแพงเพ็ชร พระยาสุโขทัย พระยาพันธารา ยกไปโดยทางโพธิสัตว์ และมีพระกำหนดไปให้พระเจ้าละแวก ยกทัพออกมาบรรจบด้วยทัพสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอแล้ว ให้ยกไปตีทัพพระยาออนในตำบลแสนสะโทงนั้นครั้นตีทัพพระยาออนแตกฉานแล้ว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยกทัพคืน มา โดยทางพระนครหลวง มาถวายบังคับพระบาทสมเด็จพระพุทธ เจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ เมื่อทัพหลวงเสด็จอยู่ในเมืองเพ็ชรบุรี ในปีเถาะตรีศกนั้น พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปประพาสโดยทางชลมารค เสด็จด้วยพระชลวิมาน อันอลัง การอลงกฎรจนา ดูมหิมาดาดาษด้วยบริหาร แสนศฤงคารประดับ สรัพเสร็จ เสด็จเถิงเมืองพระพิษณุโลก ตั้งตำหนักในตำบลวัดจันทร์ ฝ่ายพระคชาธารสารสินธพพาหนะ และช้างต้นม้าต้นทั้งปวงไซร้ ทรงพระกรุณาตรัสให้ไปโดยทางชลมารค รับทัพหลวงในเมืองพระ พิษณุโลก พระบาทสมเด็จเอกาทศรฐอิศวร บรมนาถบรมบพิตรพระ พุทธเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไปนมัสการพระชินราช ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุในเมืองพระพิษณุโลกนั้น แล้วก็เสด็จไปประพาศในจังหวัดเมืองพระพิษณุโลกนั้นทุกตำบล ในขณะนั้นกรมการเมืองพระพิษณุโลก กราบทูลพระกรุณาว่าเสือร้ายนักย่อมมาบีฑาผู้ในค