ข้ามไปเนื้อหา

ประชุมโคลงโลกนิติ/เชิงอรรถ

จาก วิกิซอร์ซ

ทรงได้รับสถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดตามที่ปรากฏในพระสุพรรณบัฏเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่ง "กรมสมเด็จพระ" เปลี่ยนเป็น "สมเด็จกรมพระยา" พระนามที่ปรากฏในเอกสารต่าง ๆ จึงมีพระอิสริยยศที่ต่างกันตามแต่ว่าเอกสารนั้น ๆ เขียนขึ้นในช่วงเวลาใด.

หอพระสมุดวชิรญาณ, จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ตลอดจนรัชกาลที่ ๕ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์, ๒๔๕๗), หน้า ๕๕. สะกดการันต์ตามต้นฉบับ.

กรมศิลปากร, "ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๑ จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต" ใน ประชุมพงศาวดาร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มที่ ๑๒ (กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า, ๒๕๑๓), หน้า ๔๙๒-๔๙๓. สะกดการันต์ตามต้นฉบับ.

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๔), หน้า ๘๖.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๑), หน้า ๔๒๖-๔๒๗. สะกดการันต์ตามต้นฉบับ.

หมายถึง นางสาวทรงสรรค์ นิลกำแหง.

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ เล่มที่ ๑ (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๔), หน้า ๒๒๒-๒๒๓.

ประชุมจารึกภาคที่ ๑ ให้ความหมายว่า "เห็นข้าวของท่านก็ไม่อยากยินดี เห็นทรัพย์ของท่านก็ไม่อยากยินร้าย" คือ ไม่อยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่นนั่นเอง.

ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๑ ไม่ระบุชื่อผู้แปล ต่อมาในฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๙ จึงระบุชื่อ "นาคะประทีป" แต่บางตำรากล่าวว่า เป็นผลงานร่วมกันของพระยาอนุมานราชธนกับพระสารประเสริฐ.

สะกดการันต์ตามต้นฉบับ.

โคลงส่งท้ายสองบทปรากฏอยู่ในหนังสือพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ได้แก่

"สี่ร้อยแปดบทสิ้น สุดแสวง
ข้ายุคลบาทแปลง เปลี่ยนถ้อย
ผ่อนผิดเพิ่มเติมแสดง ใดขาด เขียนแฮ
เพียงประพาฬพู่ร้อย เรียบได้โดยเพียร
เขียนลงคัดเลือกแล้ว หลายยก
ถวายแด่สมเด็จดิลก เลิศหล้า
ขอเอาพระเดชปก เปนปิ่น ปักแฮ
เฉลิมพระยศอยู่ช้า ชั่วร้อยพันปี"

สะกดการัตน์และวรรคตอนตามต้นฉบับ "คำนำเฉภาะเรื่อง" ของพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) อธิบดีกรมศึกษาธิการ ในหนังสือ สอนอ่าน จินตกระวีนิพนธ์ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ จัดพิมพ์ครั้งแรก ร.ศ. ๑๒๓ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ร.ศ. ๑๒๖ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.

โคลงส่งท้ายสองบทปรากฏเฉพาะในเล่ม ประชุมโคลงโลกนิติ แต่ไม่ปรากฏในเล่มที่เป็นพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร มีว่า

"สารสืบฉบับสิ้น เสร็จสนอง
ชำระเรื่องคงของ เก่าแก้
ผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลงลอง ลิขิต เดิมนา
ล้วนโอวาทปราชญ์แท้ ถี่ถ้วนควรถนอม"
(สำนวนเก่า)
"จำลองลักษณ์แล้วเนิ่น นานครัน
มีหมดบทสิ่งสรรพ์ เสร็จสิ้น
ไว้สำหรับผู้ปัญ ญาโฉด เฉาแฮ
ขอจงเจริญสวัสดิ์พ้น ยศหยิ้งยาวนาน"
(สำนวนเก่า)