ประชุมโคลงโลกนิติ/๐๒๐
หน้าตา
หน้า ๘๘-๘๙
๒๐.[ก]
จช ทุชฺชนสํสคฺคา | รช สาธุสมาคมํ | |
กร ปุญฺมโหรตฺตํ | สร นิจฺจมนิจฺจตํ[ข] | |
โลกนิติ |
ก. จงเจ้าแหห่างห้อง | ทุรชน พ่อฮา | |
คลาดคลองกระวีคน | ครุ่นครั้ง |
คือวันหมั่นหาผล | ศีลสืบ | |
เป็นนิตย์จบจิตตั้ง | แห่งห้องอนิจจัง | |
สำนวนเก่า |
ข. อ้าพ่อจงแวะเว้น | นรพาล | |
จงรักสมัครสมาน | ปราชญ์เจ้า |
เพ็ญเพิ่งกุศลสาร | คืนมั่น วันพ่อ | |
เร่งระลึกไตรรัตน์เท้า | ชีพสิ้นสรวงเสวย | |
สำนวนเก่า |
ค. จงนับสัปปุรุษรู้ | บุญกรรม์ | |
จงละหลีกพาลอัน | ชั่วร้าย |
จงสร้างสืบบุญธรรม์ | ทุกเมื่อ[ค] | |
จงนึกนิตย์ชีพคล้าย | ดุจด้วยฟองชล | |
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร |
เชิงอรรถ
[แก้ไข]ก โคลงหมายเลข ๒๐ นี้มีความหมายใกล้เคียงกับโคลงหมายเลข ๒๒๘
ข คาถาหมายเลข ๒๐ ตรงกับใน โลกนีติ ร. และ ธรรมนีติ ร. แต่เขียนต่างไปบ้าง คือ
- ทุชฺชนสํสคฺคา – โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร. ใช้ ทุชฺชนสํสคฺคํ
- รช – โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร. ใช้ ภช
ค จงสร้างสืบบุญธรรม์ ทุกเมื่อ – ไตรพากย์ (๒๔๖๑) ใช้ จงสร้างสืบบุณย์วัน ค่ำต่อ วายนา ซึ่งใน วชิรญาณ (๒๔๖๐), วัดพระเชตุพน (๒๕๑๗), กรมศิลปากร (๒๔๙๐, ๒๕๓๙) จะพิมพ์ข้อความดังกล่าวไว้ในวงเล็บใต้บาทที่สามด้วย
บทอธิบายศัพท์
[แก้ไข]- คลอง – คือ ครรลอง หมายถึง แนวทาง
- เท้า – คือ เท่า ในที่นี้ต้องการรูปวรรณยุกต์โท