ประชุมโคลงโลกนิติ/๐๒๒
หน้าตา
หน้า ๙๐-๙๑
๒๒.
วิส อคฺคฺรู วิสฺสทานํ | วิสฺสทาตญฺ จ ทนฺตโย | |
วิสฺสํ ทุชฺชนสฺรวางฺค | ภาสิตํ ทิมุขํ ขลุ | |
ไม่ปรากฏที่มา |
ก. มดแดงแมลงป่อง[ก] ไว้ | พิษหาง | |
งูจะเข็บพิษวาง | แห่งเขี้ยว |
ทุรชนทั่วสรรพางค์ | พิษอยู่ | |
ต่อน่าดีหลังเลี้ยว | กลั่นลิ้นนินทา | |
สำนวนเก่า |
ข. มดแดงแมลงป่อง[ก] ไว้ | พิษหาง | |
งูจะเข็บพิษวาง | แห่งเขี้ยว |
ทุรชนทั่วสรรพางค์ | พิษอยู่ มากนา | |
ครั้นมั่นกุมร้ายเกี้ยว | เกี่ยงให้เสียตัว | |
สำนวนเก่า |
ค. มดแดงแมลงป่องไว้ | พิษหาง | |
งูจะเข็บ[ข] พิษวาง | แห่งเขี้ยว |
ทุรชนทั่วสรรพางค์ | พิษอยู่ | |
เพราะประพฤติมันเกี้ยว | เกี่ยงร้ายแกมดี | |
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร |
เชิงอรรถ
[แก้ไข]ก แมงป่อง – วชิรญาณ (๒๔๖๐), กรมศิลปากร (๒๔๙๐, ๒๕๓๙), จารึกวัดพระเชตุพน (๒๕๑๗), นิยะดา (๒๕๓๘) ใช้ แมลงป่อง; ทางกีฏวิทยา "แมลง" ใช้กับสัตว์ที่มีหกขา และมีปีกบิน คณะกรรมการฯ เห็นว่า คำ "แมลงป่อง" ในโคลง ๒๒ ก และ ๒๒ ข น่าจะเป็น "แมงป่อง"
ข จะเข็บ – คือ ตะเข็บ เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับตะขาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า; นิยะดา (๒๕๓๘) ใช้ จรเข็บ
บทอธิบายศัพท์
[แก้ไข]- หลังเลี้ยว – ลับหลังนั้นร้าย
- เกี้ยว – ลดเลี้ยว พัน