ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวงตรา 3 ดวง/เล่ม 1/ส่วนที่ 1
ศุภมัสดุ ๑๑๖๖ มุสิกะสังวัจฉะระมาฆะมาศ ศุกะปักษยปาฎิบท[2] ดฤษถีคุรุวาระ บริเฉทะกาลกำหนด พระบาทสมเดจ์พระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทรธรนินทราธิราช รัตนากาศภาศกระวงษองคบรมาธิเบศ ตรีภูวเนศวรนารถนายกดิลกรัตนราชชาติอาชาวะไศรยสมุทยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยทราธิบดินทรหริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักขนิตฤทธิฤทธีราเมศวรธรรม์มิกราชาธิราชเดโชไชยะพรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศโลกะเชษฐวิสุทธิมกุฎประเทศคะตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว อันเสดจ์ปราบดาภิเศกผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย เสดจ์ออกพระธี่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริวงษพงษพฤฒาโหราจารย เฝ้าเบี้องบาทบงกชมาศ จึ่งเจ้าพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตรพิพิทวรวงษ[3] พงษภักตยาธิเบศวราธิบดี ศรีรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพีรียบรากรมภาหุ กราบบังคมทูลพระกรรุณาด้วยข้อความนายบุญศรี[4] ช่างเหลกหลวงร้องทุกข[5] ราชกล่าวโทษ พระเกษม
นายราชาอรรถ ใจความว่า อำแดงป้อม ภรรยานายบุญศรี ฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ให้การแก่พระเกษมว่าอำแดงป้อมนอกใจทำชู้ด้วยนายราชาอรรถแล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ไม่หย่า พระเกษมหาพิจารณาตามคำให้การนายบุญศรีไม่พระเกษมพูดจาแพละโลมอำแดงป้อม แลพิจารณาไม่เปน สัจ
ธรรม เข้าด้วยอำแดงป้อม แล้วคัดข้อความมาให้ลูกขุนสานหลวงปฤกษา ๆ ว่า เปนหญิงหย่าชาย ให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากผัวเมียกันตามกฎหมาย จึ่งทรงพระกรรุณาตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย ลูกขุนปฤกษาให้หย่ากันนั้นหาเปน ยุติ
ธรรม ไม่ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่ง ให้เจ้าพญาพระคลังเอากฎหมายณสานหลวงมาสอบกับฉบับ หอหลวง
ข้างที่ ได้ความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่า เปนหญิงหย่าชาย หย่าได้ ถูกต้องกันทังสามฉบับ จึ่งมีพระราชโองการมานพระบันทูลสูรสิงหนาทดำรัสว่า ฝ่ายพุทธจักรนั้น พระไตรยปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์อันสมเดจ์พระพุทธิเจ้าทรงพระมหากรรุณาประดิษฐานไว้ต่างพระองคได้เปนหลักโลกยสั่งสอนบรรพชิตบริษัษยแลฆราวาศบริษัษยได้ประฏิบัดิ[6] รู้ซึ่งทางศุคติภูมแลทุคติภูม แลพระไตรยปิฎกธรรมนั้นฟั่นเฟีอนวิปริตผิดเพี้ยนไปเปนอันมาก ยากที่จะเล่าเรียนเปนอายุศมพระพุทธสาศนาสืบไป ก็ได้อาราธนาประชุมเชีญพระราชาคณะทังปวง มีสมเดจ์พระสังฆราชแลพระธรรมอุดมพระพุทธโฆษาจารยเปนประธาน ฝ่ายราชบัณฑิตยนั้น พญาธรรมปรีชาเปนต้น ให้ทำสังคายนายชำระพระไตรยปิฎกสอบใส่ด้วยอรรฐกะถาฎีกาให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญหญัติ พระไตรยปิฎกจึ่งค่อยถูกถ้วนผ่องใสขึ้นได้ เปนที่เล่าเรียนง่ายใจแก่กลบุตรสืบไปภายหน้า ก็เปนพุทธการกธรรมกองการกุศลอันประเสริฐแล้ว แลฝ่ายข้างอาณาจักรนี้ กระษัตรผู้จดำรงแผ่นดินนั้นอาไศรยซึ่งโบราณราชนิติกฎหมายพระอายการอันกระษัตรแต่ก่อนบัญหญัติไว้ได้เปนบันทัดถาน จึ่งพิภากษาตราสีนเนี้อความราษฎรทังปวงได้โดยยุติธรรม แลพระราชกำหนดบทพระอายการนั้นก็ฟั่นเฟีอนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเปนอันมาก ด้วยคนอันโลภหลงหาความลอายแก่บาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจไว้พิภากษาภาให้เสียยุติธรรมสำหรับแผ่นดินไปก็มีบ้าง จึ่งทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดข้าทูลลอองทุลีพระบาทที่มีสะติปัญญา ได้
อาลักษณ | ขุนสุนทรโวหารผู้ว่าที่พระอาลักษณ | ๑ | ๔ | ๑๑ คน[7] | ||
ขุนสาระประเสรีฐ | ๑ | |||||
ขุนวิเชียรอักษร | ๑ | |||||
ขุนวิจิตรอักษร | ๑ | |||||
ลูกขุน | ขุนหลวงพระไกรสี | ๑ | ๓ | |||
พระราชพินิจใจราชบหลัด[8] | ๑ | |||||
หลวงอัถยา | ๑ | |||||
ราชบัณฑิตย | พระมหาวิชาธรรม | ๑ | ๔ | |||
ขุนศรีวรโวหาร | ๑ | |||||
นายพิม | ๑ | |||||
นายด่อนบาเรียน[9] | ๑ |
ชำระ[10] พระราชกำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวงตั้งแต่พระธรรมสาตรไป ให้ถูกถ้วนตามบาฬี แลเนี้อความมิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกันได้ จัดเปนหมวดเปนเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงพระอุสาหทรงชำระดัดแปลงซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้ ด้วยพระไทยทรงพระมหากรรุณาคุณจให้เปนประโยชน์แก่กระษัตรอันจดำรงแผ่นดินไปในภายหน้าครั้นชำระแล้ว ให้อาลักษณชุบเส้นมึก[11] สามฉบับ ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้ณสานหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตรา พระราชสีห
พระคชสีห
บัวแก้ว ทุกเล่มเปนสำคัญ ถ้าพระ เกษม
ไกรสี เชีญพระสมุดพระราชกำหนดบทพระอายการออกมาพิภากษากิจคดีใดใด ลูกขุนทังปวงไม่เหนปิดตรา พระราชสีห
พระคชสีห
บัวแก้ว สามดวงนี้ใซ้[12] อย่าให้เชื่อฟังเอาเปนอันขาดทีเดียว
- ↑ ประกาศพระราชปรารภนี้ปรากฎมีอยู่ในหน้าต้นแห่งฉะบับหลวงทุกฉะบับ เว้นแต่ฉะบับใดมีตัวบทกฎหมายยืดยาวซึ่งต้องเขียนเป็นหลายเล่มต่อ ๆ กันแล้ว ประกาศนี้จึ่งเขียนฉะเพาะในตอนต้นแห่งเล่มที่ ๑ แต่เล่มเดียว ณ ที่นี้พิมพ์ตามต้นฉะบับหลวง L1 คือ ตามฉะบับที่มีพระธรรมสาตรเขียนไว้ด้วย
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ปาฎิบท" เป็น "ปาฏิบท" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ บางฉะบับว่า พิพิธวงษ หรือ พิพิทธวรวงษ
- ↑ บางฉะบับเขียนว่า บุญสี
- ↑ ต้นฉะบับเขียนว่า ทุคราช ฉะบับอื่นว่า ทุกขราช บ้าง ทุกคราช บ้าง
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ประฏิบัดิ" เป็น "ประฏิบัดิ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ บางฉะบับว่า เข้ากัน ๑๑ คน
- ↑ บางฉะบับว่า ราชรักษาบลัด
- ↑ บางฉะบับว่า บเรียน
- ↑ บางฉะบับว่า ให้ชำระ
- ↑ บางฉะบับว่า หมึก
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ใซ้" เป็น "ไซ้" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)