ข้ามไปเนื้อหา

ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวงตรา 3 ดวง/เล่ม 1/ส่วนที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
กฎมณเทิยรบาล[1]
1

ศุภมัศดุ ศักราช ๗๒๐ วันเสา เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ชวดนักสัตวศก สมเดจพระเจ้ารามาธิบดีบรมไตรโลกนารถมหามงกุฏมนุษวิสุทธิสุริยวงษองคพุทธางกูรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวมทรงทศพีธราชธรรมถวัลราชประเวนีศรีบรมกระษัตราธิราชพระบาทธดำรงภูมิมณฑลสถลสีมาประชาราษฎรบรมนารถบรมบพิดร เสดจ์สถิตยในรัตนสิงหาศบัญชรสิงห์ แลสมเดจ์พระเจ้าหน่อพุทธางกูรสุริวงษแลสมเดจ์พระพรรณเมศวรนั่งเฝ้า แลพญาเอกสัตราชพระมหาอุปราชแลมหาเสนาจตุสดมมุกขมนตรีพิรียโยธามาตแลตำรวจในตำรวจนอกมหาดไทลูกขุนทหารพ่อเรือนซ้ายขวาเฝ้าพระบาทในที่นั้น จึ่งตั้งพระราชอาาไอยการทหารพ่อเรือน ชาย
หญิง
สมณพราหมณาจารยแลวานิชนิกรนรประชาราษฎรทังหลาย

2

ฝ่ายกระษัตรแต่ได้ถวายดอกไม้ทองเงินทังนั้น ๒๐ เมือง คือ เมืองนครหลวง เมืองศรีสัตนาคณหุต เมืองเชียงใหม่ เมืองตองอู เมืองเชียงไกร เมืองเชียงกราน เมืองเชียงแสน เมืองเชียงรุง[2] เมืองเชียงราย เมืองแสนหวี เมืองเขมราช เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองใต้ทอง เมืองโคตรบอง เมืองเรวแกว ๑๖ เมืองนี้ฝ่ายเหนือ เมืองฝ่ายใต้ เมืองอุยองตะหนะ เมืองมลากา เมืองมลายู เมืองวรวารี ๔ เมือง เข้ากัน ๒๐ เมือง ถวายดอกไม้ทองเงิน[3]

พญามหานครแต่ได้ถือน้ำพระพัท ๘ เมือง คือ เมืองพิศณุโลก เมืองสัชนาไล เมืองศุโขไท เมืองกำแพงเพชร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เมืองตนาวศรี เมืองทวาย

3

กำหนดพระราชกฤษฎีกาไอยการพระราชกุมารพระราชนัดดา ฝ่ายพระราชกุมารเกิดด้วยพระอัคมเหษีคือสมเดจ์หน่อพระพุทธเจ้า อันเกิดด้วยแม่หยัวเมืองเปนพระมหาอุปราช เกิดด้วยลูกหลวงกน[4] เมืองเอก เกิดด้วยหลานหลวงกินเมืองโท เกิดด้วยพระสนมเปนพระเยาวราช

4

หน่อสมเดจ์พระพุทธเจ้าได้อภิรม ๓ ชั้น พระอุปราชได้อภิรม ๒ ชั้น พระเจ้าลูกเธอกินเมืองมีกลีบบัวขาว พระลูกเธอพระเยาวราชอภิรมกลีบทองกั้นกันเชิงหุ้มผ้าแดง พระเยาวราชช้างตัวหนึ่ง ม้าตัวหนึ่ง คน ๒๐ มากกว่านั้นเอาออก กินเจียดแว่นฟ้า สมเดจ์หน่อพระพุทธเจ้าขี่ทิพยานทอง พระอุปราชขี่ทิพยานนาก

5

พระเจ้าลูกเธออกินเมือง ขี่พระยานนุมาศกลีบบัว พระอัคมเหษีสรงด้วยสหัสธาราเงิน มีราชทยาน มีกรมผู้ ชาย
หญิง
มีหอพระ มีพระธินั่งออกโรง มีสมโพธ มีเลี้ยงลูกขุนถวายบังคมตรุดสาท ใช้พระราชกฤษฎีกา มีขุนสนม มีขุนช้าง มีขุนม้า มีเรือกัน เรือแห่

6

หน่อพระพุทธิเจ้านั่งธินั่งเทริด พระอุปราชานั่งที่นั่งท้องพระโรง เตียงทองสูง ๒ ศอกมีเบาะเจียม

พระเจ้าลูกเธอกินเมือง นั่งธินั่งสูงศอกหนึ่งมีเจียมขลิบ

พระอุปราชนั่งธินั่งกวดรัดเสื่อขลิบ พระเจ้าลูกเธอเกิดด้วยลูกหลวงเอางานหนเรือนนั่งหน้าหลัง

7

ถ้าเสดจ์ด้วยพระราชทยาน ลูกอัคมเหษี ลูกพระอัคชายา ลูกแม่หยัวเมือง ลูกหลวง นั่งบนราชทยานด้วย ลูกหลานหลวง ลูกพระสนม นั่งหลั่นลงหน้าหลัง

8

พระลูกเธอกินเมืองถวายบังคมแก่สมเดจหน่อพระพุทธิเจ้า พระเยาวราชถวายบังคมแก่พระเจ้าลูกเธอกินเมือง

เมืองลูกหลวง คือ เมืองพิศณุโลก เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพช เมืองลพบุรี เมืองสิงคบุรี

เมืองหลานหลวง คือ เมืองอินทุบรี เมืองพรหมบุรี

9

ไอยการบันดาศักดิ์นา ๑๐๐๐๐ ในเมือง ขี่ยั่วกันชิงหุ้มผ้าขาว บันดาศักดิ์นา ๑๐๐๐๐ หัวเมือง ขี่คานหามเก้าอี้กันชิงหุ้มผ้าขาว

บันดาศักดิ์หัวเมืองนา ๕๐๐๐ ขี่ยั่วร่มทงยู บันดาศักดิ์นา ๓๐๐๐ ขี่ยาน

10

ไอยการนา ๑๐๐๐๐ กินเมืองทัง ๔ ฝ่าย มีร่มปลิกสองคันทานตระวันเบื้อคู่หนึ่ง กันชิง[5] หุ้มผ้าแดงคันหนึ่ง เรือกูบแมงดาคฤ ๓ ตอนบดลาดสาวตคุกหัวท้ายนั่งหน้าสองคานหามเก้าอี้ทองศิรเพศมวยทองแตรลางโพง[6] ๓ คู่แลปี่กลองครั้นมาถึงขนอนหลวง ลดเครื่องทังปวงบ ไว้แต่กันชิงคานหาม

ฝ่ายท้าวนั่งเมือง ศิรเพศมวยทองกันชิงหุ้มผ้าขาวหย้อนหมากหย้อนน้ำรองตลุ่มเรือคฤ ๓ ตอนบดลาดคานหามทองเก้าอี้ทอง

11

นา ๑๐๐๐๐ กินเมืองหมวกล่ามทอง ขี่ยั่วยานกันชิงหุ้มผ้าขาวเรือคฤ ๓ ตอนบดลาดขี่ลานลายทองทังสรรพางกินเจียดเงินถมยาดำรองตลุ่มเรือคฤ ๓ ตอนเลวหาบดลาดมิได้กแอเลี่ยมทอง

นา ๑๖๐๐ กินเมือง เจียดเบื้ออหักรองตลุ่มกั้งกแอทาชาต

12

แลพระราชกำหนฎพระราชกฤษฎีกาไอยการทหารพ่อเรือนซึ่งขี่เรือเข้ามาเฝ้า ครั้นถึงศาลา ชาวห้ามเรียกเรือลดลงจากแอย่างจากลาน เรือปทุมเรือลูกค้าให้เข้ามาในนั้น แลฝ่ายข้างใต้ ครั้นถึงศาลาปูนห้าม เรียกเรือลดลงจากแอย่งจากลาน เรือปทุนเรือลูกค้ามิให้เข้ามาในนั้น ไอยการชาวเรือห้ามตามซ้ายตามขวา

13

แลฝ่ายทางบกถึงศาลาฝาแฝดแลปตูท่าหญ้า ลดช้างลดม้ายั่วยานคานหามร่มทงยูกันชิงกแอแห่มาแต่หน้าพุทธาวาศจนถึงจวนองครักษธนูแห่มาจนห้องพล

แลราชกุญทังปวงมิให้เดิรทางลูกขุน ให้เดิรทางหลังพุทธาวาศ มีพานรองชานผ้า กินเจียดรองพานเจียดกระเจียดมุกตามตำแหน่งราชกุญ ลูกเธอหลวง หลานเธอหลวง

14

ไอยการแต่ท่าสิบเบี้ยถึงปตูช้างเผือก แต่ท่าสิบเบี้ยถึงจวนองครักษธนู ไอยการพิทักทิวา รักษาราตรี แต่ประตูช้างเผือกถึงขนาน ไอยการตำรวจใหญ่ แต่ขนานมกอกน้ำ ไอยการหมื่นเทพทวาร แต่ท่อถึงประตูเสดาะเคราะห์มาถึงชีขันตลาดยอด ไอยการจาปราม แต่ประตูพระวิฆเณศวรถึงพุทธราวาศ ไอยการองครักษธนู แต่หัวสนามถึงประตูแสดงราม ไอยการบำเรอภักดิ แต่หัวสนามถึงฉานคลี ไอยการขุนดาบซ้าย แต่ฉานคลีถึงโรงช้างหล้อ ไอยการขุนดาบขวา

อนึ่ง นา ๑๐๐๐๐ แลนา ๕๐๐๐ แลนา ๓๐๐๐ มาถึงนา ๘๐๐ ห้ามแห่แลขี่ม้าเข้ามาในสนาม ไอยการขุนดาบห้าม ถ้าขุนดาบมิได้ห้ามปรามไซ้ โทษขุนดาบ ๓ ประการ ทีหนื่ง[7] ให้ภาคธรรม สองทีส่งมหาดไทยจำ สามทีส่งองครักษจำ

ลูกขุนผู้ใดขุนดาบห้ามปรามมิฟัง ต่อด่าต่อเถียงไซ้ มีโทษ ๓ ประการ ๆ หนึ่งให้ส่งมหาดไท ประการหนึ่งให้ส่งองครักษ ประการหนึ่งให้สักลงหญ้าช้าง

15

แต่ประตูแสดงรามถึงสระแก้ว ไอยการหมื่นโทวาริก ผิ้วผู้ ชาย
หญิง
เจรจาด้วยกันก็ดี นั่งในที่สงัดก็ดี อนึ่่ง ทอดแหแลตกเบดสุ้มซ้อนช้อนชนาง แลร้องเรือเป่าขลุ่ยเป่าปีตีทับขับรำโห่ร้องนี่นัน ไอยการหมื่นโทวาริก ถ้าจับได้ โทษ ๓ ประการ ประการหนึ่งให้ส่งมหาดไท ประการหนึ่งในส่งองครักษ ประการหนึ่งให้สักลงหญ้าช้าง

แต่ท่อน้ำขวาถึงจวน ไอยการขวา แต่ท่อน้ำซ้ายถึงจวนกลาง ไอยการซ้าย

16

ไอยการแต่หอกลองถึงเจ้าไสรแลตลาดยอด แขวงขุนธรณีบาล แต่หอกลองถึงประตูไชยแลเจ้าไสร แขวงขุนทราบาล แต่หอกลองมาถึงป่ามพร้าว ท่าชีมาถึงท้ายบางเอียน แขวงขุนโลกบาล แต่หอกลองมาถึงบางเอียน มาถึงจวนวัง แขวงขุนนรบาล

17

ไอยการอายัดแต่ป้อมท้ายสนมถึงประตูฉนวนประจำท่า เปนหน้าที่พนักงานตำรวจใน ซ้าย
ขวา
ว่ากล่าวคนแลกึ่ง แต่ประตูฉนวนประจำท่าถึงประตูเสาธงไชย เปนหน้าที่พนักงานทหารใน ซ้าย
ขวา
ว่ากล่าวคนแลกึ่ง แต่ประตูเสาธงไชยถึงป้อมท่าคัน แต่ป้อมท่าคันถึงศาลาสารบัญชี[8] แต่ป้อมศาลาสารบาญชีถึงป้อมศาลาพระสุมงคลบพิตร แต่ป้อมพระสุมงคลบพิตรถึงป้อมมุมวัดรามาวาศ แต่ป้อมมุมวัดรามาวาศถึงป้อมสวนองุ่น เปนหน้าที่ชาวกำแพงล้อมวังซ้ายขวาว่ากล่าวคนแลกึ่ง แต่ป้อมสวนองุ่นถึงป้อมท้ายสนม เปนหน้าที่พนักงาน[9] สนมซ้ายขวาว่ากล่าวคลกึ่ง

18

ไอยการลูกขุนทหารหมู่ไพร่พลอ้างเรี่ยวแรงอุกเลมิด พนักงานกระลาโหม

แลปืนไฟ พนักงานอินทราช

คน พนักงานพรมราช

เรือ พนักงานเทพราช

ไม้ พนักงานทิพราช

19

ไอยการลูกขุนพ่อเรือนหมู่ไพร่พลหารโทษอาา แลช้างม้างาเชือกเรือสังกัดกฎหมายแลหญ้า แลงานณรงคสงครามทังนี้ พนักงานมหาดไท

ช้างไข้งาช้าง พนักงานพันพานุราช

ม้า พนักงานพันเภา คน พนักงานพันพุท

เรือแลทาง พนักงานพันจัน

20

อนึ่ง ในท่อน้ำในสระแก้ว ผู้ใดขี่เรือคฤเรือปทุนเรือกูบแลเรือมีสาตราวุธแลใส่หมวกคลุมหัวนอนมา ชายหญิงนั่งมาด้วย อนึ่ง ชเลาะตีด่ากัน ร้องเพลงเรือเป่า ปี่
ขลุ่ย
สีซอดีดจเข้กระจับปี่ตีโทนทับโห่ร้องนี่นัน อนึ่ง พิริยหมู่แขกขอมลาวพม่าเมงมอญมสุมแสงจีนจามชวานานาประเทษทังปวงแลเข้ามาเดิรในท้ายสนมก็ดี ทังนี้ไอยการขุนสนมห้าม ถ้ามิได้ห้ามปรามเกาะกุมเอามาถึงศาลาให้แก่เจ้าน้ำเจ้าท่า แลให้นานาประเทศ[10] ไปมาในท้ายสนมได้ โทษเจ้าพนักงานถึงตาย

แลซึ่งต่างประเทศ[10] เดิรไปมาได้แต่ถึงโรงช้างฬ่อ ถ้าเข้าในสนามไซ้ ไอยการขุนดาบเอามาว่ากล่าว ถ้าขุนดาบมิได้เอามาว่า โทษขุนดาบส่งแก่มหาดไท

21

อนึ่ง ถ้าเสดจ์หนเรือ ผู้บันดาแห่ขุนดาบขุนเรือแลเรือประตูดั้งแนมกันประทับอยู่ก็ดี ไปมาก็ดี แลเรือผู้ร้ายคือกระบถโจรเมาเล่าบ้าก็ดี แลถวายของถวายฎีกาก็ดี แลเข้ามาในประตูมหาดไทประตูขุนดาบประตูตำรวจถึงเรือดั้งเรือกั้น ให้โบกผ้า ถ้ามิฟัง ให้คว่างด้วยอิดด้วยไม้ด้วยดาบ ถ้ามิฟัง ให้ว่ายน้ำยุดเอาเรือออกมา ถ้าทอดพระเนตรเหนแลตรัสเรียกเข้าไปไซ้ ให้เอาเรือใช้รับ ถ้าแลผู้ใดเข้าไปแลมิได้ห้ามแหนไซ้ โทษขุนดาบขุนเรือตำรวจในฟันฅอริบเรือน

22

อนึ่ง ถ้าลมพยุใหญ่ เรือพระธินั่งจทนมิได้ไซ้ ให้เอาเรือกันเรือแนม[11] รับ ถ้าเรือกันเรือแนมรับมิได้ ให้เอาเรือดั้งรับ ถ้าเรือดั้งรับมิได้ ให้เอาเรือปตูรับพระธินั่ง

23

อนึ่ง สมเดจ์หน่อพระพุทธิเจ้าก็ดี พระราชกุมารก็ดี มีกิจแลเข้ามาในเรือประตูไซ้ ให้เรือประตูโบกผ้า ถ้ามิฟัง ให้คว่างด้วยอิดด้วยไม้หัวต้าย ถ้ามิฟัง ให้พุ่งด้วยหอก ถ้าทอดพระเนตรเหนตรัสเรียกให้เข้ามาไซ้ ให้เอาเรือปะตูรับ อย่าให้เข้ามาด้วยเรือเอง ครั้นมาถึง ให้อยู่แต่แคมเรือ ให้ขุนตำรวจนั่งกลางกันอยู่ ถ้ามิทำตาม โทษถึงตาย

24

อนึ่ง หัว หมื่น
พัน
ภดาษ[12] จ่าชาวเลือกชาววังบันดาลงเรือนั้น ยังมิถึงที่ประทับ แลหยุดเรือประเทียบ โทษถึงตาย ถ้าประเทียบเข้าประทับ แลเรือประเทียบเข้าติดแล้ว ให้ลงน้ำว่ายขึ้นบก ถ้าอยู่กับเรือ โทษฟันฅอ

อนึ่ง ถ้าเรือประเทียบล่ม ให้ชาวเรือว่ายน้ำหนี ถ้าอยู่กับเรือ โทษถึงตาย

25

ถ้าเรือประเทียบล่มก็ดี ประเทียบตกน้ำก็ดี แลว่ายน้ำอยู่บันดาตาย ให้ภูดาษแลชาวเรือยื่นเสร้าแลซัดหมากพร้าวให้เกาะตามแต่จะเกาะได้ ถ้ามิได้ อย่ายึด ถ้ายึดขึ้นให้รอด โทษถึงตาย ถ้าซัดหมากพร้าวให้รอด รางวันเงินสิบตำลึง ขันทองหนึ่ง ถ้าเรือประเทียบล่ม มีผู้อื่นเหน แลซัดหมากพร้าวเอาขึ้นให้รอด โทษทวีคูนตายทังโคต

อนึ่ง เรือประเทียบล่ม แลซัดหมากพร้าวเข้าไปริมฝั่ง โทษฟันฅอริบเรือน

26

อนึ่ง ตัดเรือประเทียบ โทษถึงตาย ข้ามเรือจวนประเทียบ โทษถึงตาย อนึ่ง ถ้าเสดจ์ไล่เรือ แลเรือลูกขุนผู้ใดไปโดยทางลัดเลี้ยวหนีมาให้ทันพระธินั่ง โทษฟันฅอริบเรือน

อนึ่ง ท้าวพญามนตรีมุขลูกขุนหัว หมื่น
พัน
ทังปวงฝ่าประเทียบก็ดี ตัดประเทียบชั่วลำเรือก็ดี โทษฟันฅอริบเรือน

อนึ่ง ผู้ใด ตี
ด่า
กันเข้ามาตัดหน้านางเทพี โทษเท่าฝ่าประเทียบ

27

ถ้าตัดฉานหลังพนักงานมหาดไทนอก ถ้าตัดฉานหน้าพนักงานขุนดาบกลาง ตัดหน้าขุนเรือใน โทษตาม หนัก
เบา
ฟันฅอริบเรือนลงหญ้าศักถ้าดาบ ถ้าเสดจ์ขนานหน้าวัง ตำรวจในลง ถ้าเสดจ์ในสระแก้ว หฤๅไทยราชภักดีลง ถ้าเสดจ์หนในมกอกน้ำออกมา ขุนสนมแลกันยุบาดราชเสวกแลมหาดเลกนักเทษลง

ถ้าเสดจ์เหนเรือแลประเทียบฝ่ายในลงก็ดี แต่นักเทษขันทีแลทนายเรือลง

28

อนึ่ง ถ้าเสด็จออกเลี้ยงในสนามไชยสนามจันแลพิมานรัทยาก็ดี ขุนสนมหฤไทยราชภักดีกันยุบาตรราชเสวกเฝ้า

อนึ่ง ถ้าเบิกนา ๑๐๐๐๐ แลนา ๕๐๐๐ แลลูกขุนผู้ใดถวายบังคมในสนามไชยสนามจันพิมานรัทยาก็ดี หฤๅไทยราชภักดีกันยุบาดราชเสวกฃานขันหมากเอาถวายบังคม

ถ้าเสดจ์เรือพระธินั่ง แลให้เอาลูกขุนผู้ใดถวายบังคม ให้สมุหประทานนายแวงสนมขานขันหมาก

29

อนึ่ง ชาววังชาวสนมตำรวจในบันดาขานขันหมากแลมิได้ขานขันหมาก โทษหวะปาก ถ้างานพระราชพิทธีแขกเมืองถวายบังคม ฆ่าเสียทังโคต

อนึ่ง ผู้บันดาขานขันหมาก คือ ชาววังตำรวจในชาวสนม มิได้ดูกาละเทสะ แลขานพร้อมกันทีเดียว โทษตัดปาก

30

อนึ่ง ไอยการตำรวจใน ถ้าเสดจ์ขึ้นเฃาแลเข้าถ้ำขน[13] ปรางเข้าพระวิหาร ให้ขุนดาบเข้าค้น แล้วให้ตำรวจในเข้าค้น แล้วให้นายแวงค้น แล้วให้กันยุบาดค้นเล่า เปน ๔ ถ่า จึ่งเชิญเสดจ์ เมื่อเสดจ์ ตำรวจในแนมสองข้าง นายแวงถัด ขุนตำรวจขุนดาบอยู่แต่ข้างล่าง ครั้นเสดจ์ถึงใน ตำรวจในอยู่บานประตูข้างใน นายแวงอยู่บานประตูข้างนอก ขุนดาบอยู่เชิงบันใดเชิงเขา ถ้าเสดจ์แลมีผู้ร้ายคือกระบถแลคนปลอมก็ดี สุนักขเสือหมีโคกระบืองูพิศม์ก็ดี โทษขุนดาบหนึ่ง โทษตำรวจในหนึ่ง โทษนายแวงหนึ่ง ถึงตาย ถ้าเสดจ์ด้วยพระราชทยาน แลฝ่ายในติดไซ้ แลตำรวจในมิได้แห่ ๆ แต่ตำรวจสนมแลหฤๅไทยราชภักดี แลรักษาองคแห่หลัง

31

อนึ่ง ถ้าเสดจ์ทรงม้า แลให้ขุนช้างชาวช้างขี่ช้างไล่ไซ้ ให้ขุนช้างทำคาใส่ฅอ ครั้งหนึ่งให้กราบทูลพระกรรุณาว่าช้างเหลือมือ ถ้ามิฟังแลจำให้ไล่ไซ่ ให้วางจงสิ้นเชิง อย่ารั้งพระธินั่ง จึ่งจะพ้น ถ้ามิทำตามไอยการดั่งนี้ พระธินั่งเปนอันตรายไซ้ ให้เอาผู้ขี่ช้างฆ่าเสียทังโคต

อนึ่ง ถ้าเสดจ์ทรงม้า แลให้ขุนช้างชาวช้างขี่ไล่พระธินั่งไซ้ อย่าไกลนัก อย่าชิดนัก

32

ไอยการม้า ถ้าเสดจทรงม้า ขุนม้าแนมกลาง ขุนตำรวจแนมสองข้างแคบ นายแวงแนมสองข้างหาง ถ้าเสดจ์ทรงม้าประภาษกลางคืน ให้ขุนม้านายม้าจูงมีเทียรมีใต้มีส้มแทงลิ้นแลแคบง่องแส้กันชีพบังเหียนดอนคลีทวนรองไปโดยเสดจ์ มีม้าใช้ไปสองม้าเหดุการป่วยเครื่องจฉลันแทน

33

ถ้าทรงม้าคลีแลเรียกขุนหมื่นหัวพันแลนายม้าจูงเข้าด้วยธินั่งไซ้แลจชงโคนนั้น ให้ล้วงท้องตัดชายหาง อย่าเอาหน้าม้า ม้าขุนม้านั้นให้แต่หัวเทียมท้ายม้าพระธินั่ง ผู้ใดมิได้ทำตามไอยการแลละเมิดไซ้ โทษศักถ้าดาบ โทษลงหญ้า โทษฆ่าเสีย

34

อนึ่ง ลูกขุนหมื่นทังปวงแต่นา ๓๐๐๐ ถึงนา ๑๖๐๐ ถ้าขี่ม้าแลเครื่องม้าผิดไอยการ คือ หมอนอานแลเครื่องม้านั้นทองดวงคร่ำถมไหม ไอยการขุนม้า

35

ไอยการม้าขวาแต่หัวสนามมาถึงเสาทงไชย ม้าซ้ายแต่เสาธงไชยถึงท้ายสนาม ท้าวพญามนตรีมุกขหัวเมืองลูกขุน[14] หัวหมื่นขี่ช้างม้ายั่วยานกลายหน้าโรงม้ามิลงไซ้ ให้ชาวม้าห้าม มิฟัง ให้ไหมจัตุรคูนทวีคูน

อนึ่ง เมียจัตุสดมมาถึงเมียนา ๑๐๐๐ กั้งกันชิงหน้าโรงม้า ผิดด้วยไอยการ

36

อนึ่ง ถ้าเสดจ์ทรงพระธินั่งช้าง แลให้ชาวม้าขุนม้าหมื่นม้านายม้าจูงขี่ม้าไล่ช้างพระธินั่งไซ้ อย่าไกลนัก อย่าใกล้นัก แต่พอบังควร

37

ไอยการช้างหลวงช้างหมื่นช้างบลัดช้างนายช้างท้ายช้างนายต้นเชือกสานใหญ่สานกลางจำลองหมอควานการกรมช้างอัษฐคชพังคากะโจมเขื่อนค่ายแนมกันทรงบาศในรวางนอกรวาง ถ้าทรงพระกรรุณาจะเสดจ์ช้างพลายพังคาจำลอง ให้ทำตามไอยการ ให้มีฃอส้อมชนักตระคนซองหางบาศเชือกติดตาม อนึ่ง ทรงพระกรรุณาจเสดจ์ให้ผูกช้างมีสัตวเปนธินั่งไซ้ ให้ขุนช้างชาวช้างกราบทูลขอถวายชีวิตรอย่าเชิญเสดจ์ลง

38

อนึ่ง ถ้าทรงพระกรรุณาให้เอาช้างไส่งาด้วยพระธินั่งไซ้ ช้างนั้นมีพาศรี ช้างพระธินั่งต่ำตา ให้ทูลฃอถวายชีวิตร

ถ้าเสดจ์ทรงช้างชน ให้ผู้ขี่ชนนั้นรั้งช้างกดช้างจงหนัก ถ้าเหนจะเอาไว้มิหยุด ให้ทูลจงได้ ๓ ครั้ง

39

อนึ่ง พระธินั่งเสดจ์เข้าต่อเถื่อน แลเถื่อนมีพาษี พระธินั่ง[15] ต่ำ[16] อย่าควาน ควานอย่าให้ฃอ อนึ่ง จทรงบาศ แลเถื่อนมีพาสีก็ดี ตรัสเรียกบาศ อย่ายื่น แลไอยการให้ควาน ๆ ทัง ๔ ประการดั่งนี้ ให้ขุนช้างชาวช้างว่าแก่ขุนตำรวจให้เอากราบทูลพระกรรุณา ครั้งหนึ่งให้หมายบอกแก่จ่าแลชาวช้าง ถ้าทรงพระกรรุณามิฟัง ทูลฃอถวายชีวิตร ถ้ามิฟังแลเสดจ์ ให้นอนกลิ้งเข้าไปหว่างงาให้ช้างแทง จึ่งจะชอบด้วยไอยการ ผี้แลขุนช้างชาวช้างมิได้ทำตามพระไอยการดั่งกล่าวมาไซ้ ถ้าพระธินั่งเปนอันตราย ให้เอาชาวช้างฆ่าเสียทังโคต

40

ถ้าเสดจ์ทรงบาศไซ้ ผู้ขี่กลางบันดายื่นบาศนั้นให้ดูกาละเทสะ ถ้าเถื่อนค่ำตา เรียกบาศ ให้ยื่น ถ้าช้างพระธินั่งต่ำตา เรียกบาศ อย่ายื่น ถ้าฟันลงกับฅอช้าง ขอรับพระราชอาา มิทำตามพระไอยการ โทษถึงตาย

41

ถ้าพระธินั่งเข้าต่อเถื่อนคล้องกลางแปลง แลช้างค้ำช้างค่ายเขื่อนทวนหอกช้างติดสองช้าง พระธินั่งแลติดเถื่อนเติบ แลช้างทวนหอกมิเข้าช่วยทัน โทษถึงตาย

42

อนึ่ง ถ้าเสดจ์ช้างพระธินั่งเข้าคล้องกลางแปลง แลช้างแนมช้างกันช้างค่ายให้เข้าตามกระบวน แลช้างหอกช้างทวนซึ่งองครักษนารายบันดาแซงกันอยู่โดยกระบวนนั้น แลเถื่อนเข้าจวนพระธินั่งเปนอันตรายไส้ ผู้ขี่ช้างทังปวงนั้นโทษถึงตาย แลฝ่ายองครักษนารายหัวหมื่นหัวพันหัวรองภูดาษหัวปากนั้นโทษใส่ตรุะไว้ ๓ ปี ผี้แลพระธินั่งฉุกลหุก ฆ่าเสียทังโคต

43

อนึ่ง เสดจ์วังช้าง ให้ตั้งเขื่อนตั้งค่ายพราง แลช้างอยู่ในเล้าไซ้ ให้ตั้งอาา คือว่า ห้ามปี่ขลุ่ยทับโทนฆ้องกลองเชลาะเบาะเถียงกันตีด่าข้าคนบ่าวไพร่แลโห่ร้องนี่นัน แลให้เจาะปากเอาด้ำหอกร้อยขาแลทเวนรอบค่ายทังบ่าวทังนาย อนึ่ง ถ้าค่ายทำแล้วมั่นคง แลช้างออกหน้าที่ใคร ให้ทะเวนเสียบเสีย ถ้าช้างสำคัญ ฆ่าเสียทังโคต

อนึ่ง ถ้าเสดจ์พานช้างในพเนียด ถ้ามหาดไทชาววังขาด โทษเท่าหนีศึก

44

อนึ่ง โขมดพรานพนจรอันพบช้างสำคัญ แลให้ข่าวแก่

ขุนโขลงแลให้กราบทูลไซ้ ให้พระราชทานขันทองหนัก ๑๐
ถ้าแลพบปลักแปลงที่อยู่แลให้กราบทูลไซ้ ให้พระราชทาน
ขันทองหนัก แหวนมีพลอยวงหนึ่ง แล เสื้อ
ผ้า
จึ่งใช้
ข้าหลวงไปข้าหลวงกลับมากราบทูลเปนมั่นแม่น พระราชทาน
ขันเงิน เสื้อ
ผ้า
แลเมื่อได้ตัวเข้ามาโขมด ได้รางวัน เงิน
ทอง
ลาก
ฝ่ายขุนโขลงรู้ด้วยเอาข่าวเข้ามาถวาย พระราชทานเงินลาก
ทองลากแลเมียนาง
45

ถ้าวางแลมิพบมิเหนโทษโขมดแลขุนโขลงใส่กลังจำเดิรป่าหา ๓ ปี เมื่อพบแล้วจะชักนำให้ทำพิทธี ๗ วันแล้วจึ่งเอาด้ายตีบาศทรงบาศ เมื่อคล้องติดหนัง ๘ โรงรำ ๘ โรงสมโพท ๗ วันเหล้นมหรรสพ ๑๕ วัน จึ่งเอาลงขนานเหล้นหนังรำรวดมาถึงพระนคร แลเมื่อถึงพระนครแล้ว เล่นมหรรสพสมโพท ๑๕ วัน

46

ไอยการพระราชสงคราม ยกไปศึกก็ดี ข้าศึกมาถึงเมืองก็ดี แลท้าวพญาหัวเมืองมนตรีมุกขเสนาโยธามาตผู้เปนนายทับนายกองยกช้างม้ารี้พลพลดั้งดาบเขนเสโลโตมรปืนไฟน่าไม้ธนูหอกทวนเปนปีกออกไปณกลางแปลงแลเปนนายกองออกไปก็ดี ได้รบแลมีไชยชำนะแก่ข้าศึกแลให้ยุกระบัดทับกฎหมายความชอบมา ได้รางวันเจียดทองเสื้อสนอบแล[17] เปลี่ยนที่อื่น ฝ่ายลูกหลานให้เลี้ยงตามบำเหนจ์

ถ้าผู้ใดถอยแต่ชั่วเส้าหนึ่ง ลงอาาตัดหัวตัดเท้าทเวนรอบทับ ลูกหลานอย่าเลี้ยงเมื่อหน้า

47

ถ้าผู้ใดชนช้างชะนะ บำเหนจ์หมวกทองเสื้อสนอบทองปลายแขน ยกที่ขึ้นถึงนา ๑๐๐๐๐ ถ้านา ๑๐๐๐๐ แล้ว ให้ร่มคันทองคานหามทอง

ผู้ใดชนช้างมีไชยแลข้าศึกขาดหัวช้าง บำเหนจ์ได้พานทองหมวกทองร่มคันทองคานหามทองแลเมียนาง ถ้าได้ตัวท้าวพญา บำเหนจ์เท่ากัน

48

ถ้าพลหอกดาบดั้งเสโลพลตีนได้ช่วยด้วยช้าง แลผู้ชนช้างนั้นมีไชยเพราะพลตีนไซ้ ให้ยกพลนั้นขึ้นเปนขุน รางวันเงินลากทองลาก ลูกหลานให้เลี้ยงสืบไป ฝ่ายผู้ชนช้างนั้น รางวันดุจเดียว

49

ถ้าผู้ขี่ม้ารบได้หัว บำเหนจ์ขันทองเสื้อผ้า ยกที่ขึ้น

ถ้าพลตีนได้หัว รางวันขันทองเสื้อผ้า

ถ้าพลตีนได้ม้า รางวันขันเงินเสื้อผ้า

50

ถ้าแต่พลไพร่องครักษนารายขึ้นไปถึงนา ๔๐๐ ได้ตัวท้าว

พญา บำเหนจ์ทองลากเงินลาก ได้กินเมือง ได้เมียนาง ถ้าได้
ตัวช้างบำเหนจ์เงิน ตะหลับทองเสื้อผ้า
51

ถ้าไพร่พลชาวเลือกชาวรองตัดช่องโจมทับทลวงฟัน

ข้าศึกแตกพ่ายจากทับ ให้เงิน ตะหลับทองเสื้อผ้า ตั้ง
ขึ้นเปนขุน
ถ้าผู้ใดได้ฟันแย้งด้วยข้าศึกแลชำนะ เงิน ตะหลับ
ทองเสื้อผ้า
52

ผู้ใดได้สู้สองคนแลแก้ตัวรอดออกมา รางวันขันทองเสื้อผ้า

ถ้าผู้ไปสู้สองคนรอดตัวออกมาได้ทังอาวุธข้าศึกมาด้วย บำเหนจ์ขันทองเสื้อผ้า ตั้งให้เปนขุน

53

อนึ่ง ขุนดาบขุนเรือขุนช้างขุนตำรวจอยู่ล้อมวง แลข้าศึกปลอมถึงพระพลาได้ ให้ตัดหัวตัดเท้าทเวนเสียบไว้ อนึ่ง ให้ข้าศึกเข้ามาเผาได้ถึงพระพลา ให้เสียบเสีย

อนึ่ง เข้าทับเข้าศึกตามกระบวนแล้วแลยกเข้าจะยุทด้วยราชศัตรูแลถอยออกมา ๓ ชั่วตัวช้าง ให้ฆ่าเสีย

54

อนึ่ง ผู้ใดบันดาชนช้างแลเกี่ยวช้างถอยหนี ให้ฟันลงกับหลังช้างแลตัดหัวประจาน ลูกหลานสืบไปอย่างเลี้ยง

อนึ่ง ถ้ารบหนเรือ ถอยมาชั่วลำเรือหนึ่ง โทษใส่ตรุะไว้ ถ้าถอยสองชั่วลำเรือ ริบเอาตัวลงหญ้าช้าง ถ้าถอยสามชั่วลำเรือ ให้ฆ่าเสีย

55

อนึ่ง ผู้ถือไอยการพึงปรนนิบัดิให้จำเริญพระราชเสมาสมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัวให้พระยศขจรทั่วทิศานุทิศควรประพฤฒิจินดาสดับสิ่งอันเปนประโยชนอันโบราณราชบัญญัติไว้แล้ว อย่าได้ละเสีย

56

มาตราหนึ่ง สมเดจ์บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ในพระโรงก็ดี ในพระราชสถานใด ๆ ก็ดี แลยังไม่เสด็จเข้าไซ้ ท่านมิให้ชาวเจ้าราชกุญหลวงเมืองขุนหมื่นหัวพันนายแวงสพกำนัลการอันบำเรอห์เฝ้าพระบาทนั้นลุกก่อน เมื่อใดเสดจ์เข้าแล้ว จึง[18] ให้ชาวเจ้าทังหลายลุกตาม

อนึ่ง เมื่อเฝ้าหอพระ ให้นุ่งขาวห่มขาว ดำแดงเขียวมิให้นุ่ง

57

อนึ่ง สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ในพระโรงก็ดี ในพระราชถานแห่งใด ๆ ก็ดี ไปมิได้เสดจ์ออกก็ดี แลเบิกท้าวพญามนตรีมุกขทังหลายเข้ามาชุมแล้วก็ดี อย่าให้ผู้ใดเจรจาด้วยกันเปนนี่นันในพระราชถาน ถ้ามีถ้อยความสิ่งใดจะควรเอากราบบังคมทูล ให้เจรจาด้วยกันแล้วเอากราบบังคมทูลพระกรรุณา ส่วนถ้อยความการนอกกว่านี้ไซ้ บมิพอให้เจรจากว่านั้นเลย ถ้าผู้ใดเจรจาให้เปนนี่นันในพระราชถานไซ้ แต่บันดาศักดิ์นา ๑๐๐๐๐
๕๐๐๐
๓๐๐๐
ถ้าเจรจาครั้งหนึ่งไซ้ ให้ว่าให้ผู้นั้นรู้โทษแห่งอาตมา ถ้าเจรจาถึงสองครั้ง ให้ภาคธรรม ถ้าเจรจาถึงสามครั้ง ให้ห้ามผู้นั้นอย่าให้เฝ้าพระบาทพระเจ้าอยู่หัว ถ้าแต่บันดาศักดิ์นา ๒๔๐๐
๒๐๐๐
๑๖๐๐
๑๒๐๐
ถ้าเจรจาครั้งหนึ่ง ให้ผู้นั้นรู้โทษแห่งอาตมา ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ ให้คร่ามือออกไปจากพระโรง แลให้ห้ามเฝ้าพระบาทพระเจ้าอยู่หัว ถ้าเจรจาถึงสามครั้งไซ้ ให้คร่ามือออกไปจากพระโรง แล้วให้ไหมลาหนึ่งตามบันดาศักดิ์ ถ้าแต่บันดาศักดิ์นา ๑๐๐๐
๘๐๐
๖๐๐
๔๐๐
ถ้าเจรจาครั้งหนึ่ง ให้ผู้นั้นรู้โทษแห่งอาตมา ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ ให้คร่ามือออกไปจากพระโรง แล้วลงพระราชอาาตี ๓๐ ที แล้วให้ไหมทวีคูนตามบันดาศักดิ์ แลอย่าให้เฝ้าพระบาทพระเจ้าอยู่หัว แต่บันดาศักดิ์นา ๓๐๐
๒๐๐
ถ้าเจรจาครั้งหนึ่ง ให้ลงโทษพระราชอาาตี ๑๐ ที ถ้าเจรจาถึง[19] ๒ ครั้ง ให้ลงพระราชอาาทวนด้วยลวดหนัง ๑๐ ที ถ้าเจรจาถึง ๓ ครั้งไซ้ ให้ลงพระราชอาาทวนด้วยลวดหนัง ๒๐ ที แต่บันดาศักดิ์ ๒๐๐ ลงไปถึงไพร่ ถ้าเจรจาครั้งหนึ่ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๑๕ ที ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๒๐ ที ถ้าเจรจาถึง ๓ ครั้ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๒๕ ที แลให้เจาะ[20] ปากภาคธรรมแก่ผู้เปนนายนั้นด้วย

58

อนึ่ง เมื่อเฝ้าพระบาทอยู่นั้น ผู้ใดเจรจากระซิบกัน โทษถึงตาย อนึ่ง มีผู้แต่งของถวาย ผู้ใดบังอาจช่วงชิงเอาก็ดี ตีด่ากันทำให้แตกหักหายก็ดี มีผู้ห้ามมิฟัง ให้ลงโทษ ๓ ประการ ๆ หนึ่ง ให้ตัดนิ้วมือเสียกึ่งหนึ่ง ประการหนึ่ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๒๕ ที ประการหนึ่ง ให้ไหมทวีคูน

59

อนึ่ง ผู้อยู่ประจำเวนในพระราชวัง ทรัพยสิ่งของแห่งพระเจ้าอยูหัวหายแลแตกหักเสียประการใด ให้ชาวเวนช่วยกันใช้ของท่านตามข้า[21] มากแลน้อย นายเวนเสียสามส่วน บลัดถัดรองสีย ๒ ส่วน ลูกเวนเสียส่วนหนึ่ง

60

อนึ่ง สมเดจ์พระพุทธเจ้าอยู่หัวเสดจ์ประภาษ ให้แจกทรัพยแลเครื่องประสาทสิ่งใดก็ดี ถ้าผู้ใดชิงช่วง[22] หยิบเอาเอง ของนั้นอย่าให้มัน ให้ลากข้อมือมันออกไปเสีย ถ้าดอกไม้ดอกหนึ่งก็ดี ของสิ่งหนึ่งก็ดี ให้ไหมทวีคูน ถ้าดอกไม้สองดอง ของสองสิ่งขึ้นไป ไหมจัตรุคูน

อนึ่ง ผู้จะแจกเครื่องสรรพประสาทนั้น ให้แจกโดยลำดับไป ถ้ามิแจกโดยลำดับ ให้ลงโทษโดยโทษาณุโทษ

61

อนึ่ง ผู้บันดาแจกมงคลแลดอกไม้แจกหมากแจกน้ำ ถ้าแลหยิบดอกไม้ยื่นให้แก่[23] พระราชกุมาร โทษตัดมือ ฝ่ายผู้แจกน้ำยื่นน้ำก่อนเชือกหนัง โทษตัดมือ

62

อนึ่ง ผู้ใดเถียงกันในวังเลมิดพระราชอาา ให้ตีด้วยไม้หวาย ๕๐ ที ถ้าด่ากัน ให้ตีด้วยไม้หวาย ๑๐๐ ที แล้วจึ่งให้ถามความเชลาะนั้น แลให้ไหมตามกระบิลเมืองท่าน

63

อนึ่ง ถ้านา ๑๐๐๐๐ ถึงนา ๘๐๐ วิวาทชกตีกันในพระราชวังศาลาลูกขุน โทษ ๔ สถาน ๆ หนึ่ง ให้ไหมตรีคูน สถานหนึ่ง ให้ไหวทวีคูน สถานหนึ่ง ให้ไหมลาหนึ่ง สถานหนึ่ง ให้ภาคธรรม อนึ่ง แต่หัวพันขึ้นไปถึงหัวหมื่นทนายผู้มีบันดาศักดิ์นา ๖๐๐ ลงมาถึงนา ๒๐๐ ถ้าชกตีกันทำอุบาทขาดเหลือในพระราชวังในศาลาลูกขุนไซ้ ให้ลงโทษ ๘ สถาน ๆ หนึ่ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๒๐ ที สถานหนึ่ง ให้จำไว้เดือนหนึ่ง สถานหนึ่ง ให้ถอดเสียจากราชการ สถานหนึ่ง ให้ไหมจัตรคูน สถานหนึ่ง ไหมตรีคูน สถานหนึ่ง ไหมทวีคูน สถานหนึ่ง ไหมลา ๑ สถานหนึ่ง ให้ภาคธรรม์

64

อนึ่ง วิวาทเถียงกันในพระราชวัง ให้จำใส่ขื่อไว้ ๓ วัน ถ้าด่ากันในพระราชวัง ให้ตีด้วยไม้หวาย ๕๐ ที ถ้าชกตีกัน ให้ปอกเลบมือข้างผู้ตีนั้นเสีย ๕ นิ้ว ถ้าจับมีดพร้าอาวุธฟันแทงกันมีบาดเจบไซ้ ให้ปอกเลบมือเสียทัง ๑๐ นิ้ว แล้วจึ่งให้ว่าเนื้อความซึ่งวิวาทนั้น แลให้ไหมโดยความเมืองท่าน

65

อนึ่ง วิวาทเถียงกันณะศาลาลูกขุน ให้ใส่ขื่อไว้หน้าศาลาลูกขุนวันหนึ่ง ถ้าด่าลูกขุน ให้มีโทษเท่าขัดพระบันทูล ถ้ามีผู้ด่าตีกันในประโคนแลผู้ร้องห้ามมิฟัง ให้ลงโทษโดยอาาดุจตีด่ากันณจวนนั้น

ถ้า ตี
ด่า
ช้างต้นม้าต้น ให้ตัด มือ
ปาก
เสีย

ถ้าตีนายประตูชั้นนอก ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๒๐ ที ถ้าตีนายประตูชั้นใน ให้ริบราชบาดเอาลงหญ้าช้าง

66

ถ้าถีบประตูวัง ให้ตัดตีนเสีย เอามือผลักประตูวังเข้าไปเอง ให้ตีด้วยไม้หวาย ๒๐ ที ถ้าปีนกำแพงวังชั้นนอก ให้ตัดตีนเสีย ถ้าปีนกำแพงชั้นใน ให้ฆ่าเสีย ถ้าถือเครื่องสาตราอาวุธเข้าไปในพระราชวัง ให้นายประตูถามดู ดี
ร้าย
ถ้าใช่งานที่จะเอาเข้ามา ให้ตัดมือผู้เอาเข้ามานั้นเสีย ถ้านายประตูมิได้ว่าละให้เอาเข้าไป ให้มีโทษแก่นายประตูดุจนั้น

อนึ่ง ไอยการกระบถปลอมมาต่างเมืองก็ดี แลราชศัตรู แลสุนักขม้าโคกระบือแล่นเข้าในพระราชวังถึงหน้าพระธินั่งก็ดี ถึงบนพระโรงก็ดี โทษชาววังถึงตาย ส่วนนายประตูไซ้ให้ควักตาเสีย

67

อนึ่ง ถ้าคบกันกินเล่าในพระราชวัง ให้ต้มเล่าให้ร้อนตรอกปากแล้วให้จำไว้ อนึ่ง ผู้ใดเล่นว่าวข้ามพระราชวังก็ดี ซัดไม้ค้อนก้อนดินอิดผาข้ามพระราชวัง โทษตัดมือ คว่างพระธินั่ง โทษถึงตาย อนึ่ง ใช่บันดาศักดิ์ นอนในพระราชวัง แลเข้ามานอนไซ้ ให้ตีผู้นอนแลผู้ฃอนอนคล ๑๐ ที

68

อนึ่ง ผู้ถือไอยการแลอาาทังปวง มีผู้ทำผิดไอยการซึ่งมิชอบ แลผู้ถือไอยการมิได้ว่าตามไอยการอันชอบไซ้ อันจะลงโทษแก่ผู้ทำผิดไอยการนั้นฉันใด แลให้ลงโทษแก่ผู้ถือไอยการอันมิได้ว่ากล่าวนั้นด้วย

69

อนึ่ง ผู้ใดทำลูกกุญแจแลเรียนมนต์คุณวุธิวิทยาคมเสดาะประตูวังแลเปิดโขลนทวารเข้าไปในพระราชมณเทียรสถานลักภาสาวใช้กำนัลแลลักพระราชทรัพย ให้ลงโทษโดยมหันตโทษแล้วให้ฆ่าเสีย ถ้าทรงพระกรรุณาบให้ฆ่าเสียไซ้ ให้ลงโทษ ๕ สถานโดยพระราชอาาท่านกล่าวไว้

70

อนึ่ง ผู้ใดลักเงินทองผ้าผ่อนท่อนแพรผู้คนแลพระราชทรัพยออกไปจากประตูไซ้ ให้ฆ่าผู้ลักแลนายประตูเสียด้วยกัน

71

อนึ่ง ผู้ใดบังอาจลักขุดเสาใต้เวียงในเมืองหลวงท่าน ๑๐ ต้น เอา ๓ ต้นตั้งไหมต้นล ๑๑๐๐๐๐ ถ้าหัวเมือง ๑๐ ต้น ให้ไหมแต่ ๓ ต้นต้นละ ๕๕๐๐๐

72

อนึ่ง ผู้ใดบังอาจขุดเรือพระราชพิทธีล้างทลายรุ้งเมืองขื่อเมืองเสาค่ายหอกลองกำแพงเมืองด้วยใจสาหัศสากัน ท่านว่า ให้ฆ่าผู้ร้ายนั้นเสีย สถานหนึ่ง ให้ตัดมือเสีย สถานหนึ่ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๑๐๐ ที ๕๐ ทีตามโทษานุโทษ

73

อนึ่ง ขุนดาบขุนเรือหัวหมื่นองครักษนารายหัวหมื่นเรือหัวพันนายแวงบันดาได้ถือดาบหลวงแลเข้ามาในราชการก็ดี นั่งในศาลาลูกขุนก็ดี แลมิได้รับเอาดาบเอาเจียดไซ้ ให้นายประตูนายศาลาเอาเจียดตีเสีย แลดาบนั้นให้เอาถวายให้ทำดาบอื่นใช้ เครื่องเจียดไซ้ให้ไถ่[24] แก่นายประตู แลฝ่ายผู้เลมิดนั้นให้ถอดลงเปนไพร่ เพราะมิควรถือดาบหลวง ถ้านายประตูมิเอาว่าตามพระไอยการไซ้ โทษนายประตูศักลงหญ้าช้าง

74

อนึ่ง ผู้ใดทัดดอกไม้ แลนุ่งผ้าแดงผ้าชมภูไพรำการะกำหาเชิงมิได้ ห่มผ้านอกเสื้อ ห่มผ้าบ่าเดียวนุ่ง ผ้าเหนบหน้าหิ้วชายลอยชาย แลเข้าในสนวนประตูสนวนตะพานสนวนในรั้วไก่ใบกะลาบาตแลหน้าพระธินั่งประตูทับเรือก็ดี พระตำหนักก็ดี ฝ่ายผ้าเสื้อไซ้ให้ฉีกเสีย ดอกไม้ไซ้ให้คลุกฝุ่นโพกหัว ตามโทษหนักโทษเบา

75

อนึ่ง แต่นา ๑๐๐๐๐ ลงมาถึงนา ๑๖๐๐ แลไปมาหากันถึงเรือนก็ดี ที่สงัดแห่งใด ๆ ก็ดี แลลอบเจรจากันก็ดี แลนั่งในศาลาลูกขุนเจรจากระซิบกันแต่สองต่อสองก็ดี โทษฟันฅอริบเรือน

76

อนึ่ง ลูกขุนผู้ใดคบคิดกันกินเล่าเล่นเบี้ยเล่นไก่ มีผู้รู้เหน ให้ศักลงถ้าดาบ ถ้าขุนสนมไปคบลูกขุนทหาร โทษถึงตาย

77

หนึ่ง หัวเหมือนหนึ่งกัน เจ้าเมืองหนึ่งกัน ไปหาเมืองหนึ่ง โทษถึงตาย

78

อนึ่ง ลูกขุนนา ๑๐๐๐๐ ถึงนา ๘๐๐ แลไปคบไปหาพระราชบุตรพระราชนัดดา โทษถึงตาย อนึ่ง ขุนหมื่นหัวพันผู้ใด ท่านมิให้เผื่อใจแก่พระราชกุมารพระราชนัดดาพระราชบุตรเลือกช้างดีม้าดีให้นั้นมิได้ ถ้ามีรับสั่งให้แก่ลูกเธอหลานเธอไซ้ ให้พิดทูนร่ำเรียน จึ่งพ้นพระราชอา

79

อนึ่ง ผู้ใดไปคบหาสื่อเมืองแลราชทูตเจรจา โทษถึงตาย

80

อนึ่ง แต่นา ๑๐๐๐๐ ลงมาถึงนา ๖๐๐ แลเหนความมิชอบ คือ คบกันผิดตระทรวงไอยการก็ดี บังพระราชทรัพย์ก็ดี แลลักพระราชทรัพย์ก็ดี แลคบด้วยสัตรีสิ่งใดอันต้องสัจาทิศถาน แลรู้เหนด้วยประการใด ๆ ก็ดี มีผู้เอามาว่ากล่าว มิได้พิดทูลแลมิได้เอามาว่ากล่าวถึงลูกเจ้าเหง้าขุนโดยไอยการว่า ถ้ามิได้พิดทูลไซ้ ให้ว่าแก่ตำรวจใน ถ้ามิได้ให้ว่าแก่ตำรวจวัง ถ้ามิได้ให้ว่าแก่มหาดเลก ให้เอากราบทูลพระกรรุณา ถ้างดความนั้นไว้มิได้ว่า ให้ทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายเอง ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระไอยการดั่งนี้ไซ้ ผู้นั้นคือกระบถ ให้ปรับตามโทษหนักโทษเบา ถ้าโทษหนัก ให้ฆ่าเสีย ถ้าโทษเบา ให้ใส่ตรุไว้ แลฝ่ายผู้มิได้เอาคดีมาพิดทูลนั้น โทษเท่ากัน

81

อนึ่ง ลูกขุนผู้ใดขาดถือน้ำพระพิพัท โทษถึงตาย ถ้าบอกป่วย คุ้ม ถ้าลูกขุนผู้ถือน้ำพิพท ห้ามถือแหวนนากแหวนทองแลกินเข้ากินปลากินน้ำยาแลเข้ายาคูก่อนน้ำพระพิพัท ถ้ากินน้ำพระพิพัทจอกหนึ่งแลยื่นให้แก่กันกิน กินแล้วแลมิได้ใส่ผม เหลือนั้นล้างเสีย โทษเท่านี้ในระวางกระบล[25]

82

อนึ่ง รับเครื่องแลมิได้กิน ดอกไม้มงคลมิได้ใส่หัว เอาใส่พานหมากใส่เจียดไว้ อนึ่ง ให้ตกกลางพระโรงกลางดิน อนึ่ง แลไปวบพระเนตรเจรจากระซิบกันเดิรออกมา แลจูงกันเจรจาในประตูสั่งกัน โทษในระวางกระบถ อนึ่ง ข้าเฝ้าทังปวงแลเข้าไปในพระราชวัง ทาน้ำมันคราดกระแจะอมเมี่ยงทัดดอกไม้ ผิดไอยการ

83

อนึ่ง ถ้านุ่งผ้า ปัก
ลาย
มีเชิงชาย ให้นายประตูนายพระโรงฉีกเสีย

84

ถ้าขาดเฝ้าหอพระก็ดี ขาดเฝ้าหน้าพระบัญชรก็ดี ให้ไหมอ้อยตามบันดาศักดิ์ส่งให้แก่ชาวช้าง ถ้าขาดโดยเสดจ์ โทษเท่ากัน

อนึ่ง ถ้าเสดจ์จากพระนคร ผู้บันดานอนรั้ง ถ้าขาดครั้งหนึ่ง ไหมทวีคูน ถ้าขาดสองครั้ง ไหมตรีคูน ถ้าขาด
ครั้งคุงเสดจ์มา ไหมจัตุรคูน

อนึ่ง ชาวบันดานอนงานแลประตูหับแล้ว แลปีนกำแพงเข้าออก โทษตัด มือ
เท้า

85

อนึ่ง พระวอจวนกัน บันดาชักม่านแลสายม่านเดียวกันก็ดี สายม่านขาดก็ดี สายม่านชักมิออกก็ดี ม่านหลุ้ยแลตระหลบก็ดี โทษฟันฅอริบเรือน

86

อนึ่ง หัวหมื่นเรือผู้ถือธงหัวเรือ แลทำให้คันหักขาดปลิวลงน้ำ แลเอาข้างบนลง เอาข้างล่างขึ้น โทษฟันฅอริบเรือนทังบ่อโทน ถ้าการพระราชพิทธีแขกเมืองถวายบังคม ฆ่าเสียทังโคต

87

อนึ่ง หัวหมื่นสนมสมุหประทานก็ดี นายแวงก็ดี ถืออภิรมให้คันหักให้หลุด โทษฟันฅอริบเรือน ถ้างานพระราชพิทธีแขกเมืองถวายบังคม ฆ่าเสียทังโคต

88

อนึ่ง ถ้าแขกเมืองถวายบังคม แลมิได้เฝ้า ให้ไหมตามบันดาศักดิ์

อนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวประสาทผ้าเสื้อสนอบแก่ทหารพ่อเรือนทังหลายเมื่อแขกเมืองมา แลเบีกเข้าไปถวายบังคม บมิได้นุ่งห่มเสื้อสนอบซึ่งพระราชทานนั้น แลนุ่งห่มเสื้อผ้าอื่น มิควรให้มา ดูร้าย

อนึ่ง เสื้อสนอบพระราชทานนั้น แลเอาไปนุ่งห่มแห่งอื่นด้วยประการอันมิชอบ นุ่งห่มให้เศร้าหมอง ครั้นแขกเมืองมาไซ้ นุ่งห่มเสื้อสนอบเก่านั้นให้ดูร้าย เมื่อเบีกแขกเมืองนั้นเข้าถวายบังคม ควรให้ผู้ร้ายออกจากพระโรงก่อน พิจารณาเปนสัจไซ้ ให้ลงโทษดั่งนี้ ถ้าทีหนึ่ง ควรภาคธรรม ถึงสองที ให้ลงโทษตี ถึงสามที ให้ใส่คาแก่ผู้นั้นเสีย

90

อนึ่ง เสื้อสนอบพระเจ้าอยู่หัวประสาท ควรเอาไปนุ่งห่มด้วยประการอันชอบ คือว่า การพระราชพิทธีตรุดสาทก็ดี คือว่า การมโหรสพแลโดยเสดจ์พระเจ้าอยู่หัวก็ดี ถ้าแลผ้านั้นเก่าไซ้ ให้เอาส่งแก่ขุนมุนนายอนาพยาบาลให้เอาถวายในที่ราชรโหถาน แลบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานเสื้อสนอบอื่นให้ อนึ่ง ถ้าจวนแลมิทันถวายก็ดี ควรหาเสื้อสนอบอันควรนุ่งห่มอย่าให้ดูร้าย อนึ่ง ขุนมุนนายอนาพยาบาลแห่งอาตมาบอกกำหนดว่าจะเบีกแขกเมืองถวายบังคมพระเจ้าอยู่หัวก็ดี รู้[27] เองก็ดี แลมิได้มาทัน ควรให้ลงโทษเอาออกจากราชการ ให้ไหมทวีคูนตามบันดาศักดิ์

91

อนึ่ง ลูกขุนมนตรีมุกขท้าวพญาพระหลวงหัวเมืองทังปวง แลทำยศศักดิ์พ้นตำแหน่งไซ้ ควรให้ริบเอาสมพลออก แลตัวนั้นอย่าเลี้ยง

92

อนึ่ง ราชกุญหัวหมื่นหัวพันทุกตระทรวงการซึ่งราชการอันท่านให้ไปทำก็ดี อนึ่ง ให้ไปชุมพิภากษาถ้อยความก็ดี ท่านให้ไปอยู่จงเสรจ์การนั้นแล้วจึ่งให้มาเฝ้าพระบาทพระผู้เปนเจ้า ถ้ามิแล้ว ท่านมิให้มา ถ้ามีถ้อยความจะพิดทูล ให้ผู้มาทูลตาง ถ้าว่าราชการเสรจ์แล้ว ถ้ามีพระบันทูลตรัสให้มา จึ่งมา ถ้าหากมาเองไซ้ ผู้นั้นเลมีดพระราชอาาท่าน

93

อนึ่ง แต่นี้ไปเมื่อหน้า ท่านมิให้มีนายสุภาวดีหลายคน ตั้งแต่นายภูดาษคนหนึ่ง เสมียรสองคน ฉบับพระราชประหยัษอันชอบดั่งนี้ คือ ผู้นั้นมีบำเหนดแก่ราชการ ผู้ใดทำขาดเหลือมิยำพระราชนิยมไซ้ คือ ผู้นั้นหาบำเหนดแก่ราชการมิได้

94

อนึ่ง ช้างต้นม้าต้นไข้ แลมิได้ถวายฎีกา ช้างต้นม้าต้นตาย ให้ศักลงหญ้าช้าง

อนึ่ง ช้างต้นม้าต้นไข้ แลมิได้อยู่รักษา ให้จำจงหนัก อนึ่ง ให้ไหมทวีคูน

95

อนึ่ง ข่าวศึกมาถึง ให้ท้าวพญามนตรีมุกขลูกขุนนั่งในศาลา ถ้าผู้ใดมิได้มาไซ้ โทษคือกระบถ ให้ปรับตามโทษ

96

อนึ่ง ตรัสใช้ผู้ใดไปราชการ แลถวายบังคมลาแล้ว แลอยู่เรือนเองก็ดี อยู่แห่งใด ๆ ก็ดี ถ้าสามวันแลมิได้ไปไซ้ โทษนั้นให้หามาแลใช้ผู้อื่นไปแทน ฝ่ายตัวผู้ทนงนั้นให้ใส่ตรุไว้กว่าผู้ไปราชการจะกลับคืนมาถึงจึง[28] เอาออก

97

อนึ่ง ท้าวพญาสามลราชแลท้าวพญาประเทษราชพระหลวงขุนหมื่นท่านให้ไปรั้งเมืองแลไปการณรงสงครามก็ดี แลทำหนังสือบอกศุขทุกขมามิได้แลมาเองก็ดี แลเอาทรัพยมาทอดแพละโลมเอาไพร่พลในราชธานีของท่านไปก็ดี ท่านว่า ธี่นั่งน้อยจะใคร่ฝ่ายที่นั่ง[29] อันใหญ่ ท่านให้ฟันฅอริบเรือน ถ้าธรงพระกรุณาบให้ฆ่าตีเสียไซ้ ให้ริบทรัพยพัทธยากรจงสิ้น ให้ศักถ้าดาบ เอาตัวลงเปนไพร่เกี่ยวหญ้าช้าง อนึ่ง มีหนังสือบอกศุขทุกขมา ยังมิได้มีหนังสือไปให้หา แลมาก่อนหนังสือ ให้มัดไว้หน้าศาลาลูกขุนสามวัน แล้วให้ไหม จตุรคูน[30]
ทวีคูน
ลาหนึ่ง
แลถอดจากราชการ ใส่ตรุะไว้เดือนหนึ่ง ถ้าธรงพระกรุณาจะให้คงที่ไซ้ ให้ใส่ตรุะไว้ ๑๕ วัน ถ้าหนังสือหาภบแต่กลางทาง ท่านว่า ให้ถ่ายธี่นั่ง ถ้านา ๑๐๐๐๐ ให้ถอยลงนา ๕๐๐๐ ถ้านา ๕๐๐๐ ให้ถอยลงมานั่งหลังนา ๓๐๐๐ นา เปนลำดับลงมา ให้ถอยเปนลำดับลงมาจนถึงนา ๔๐๐ แล้วให้ไหมตามบันดาศักดิ์ จตุรคูน[30]
ทวีคูน
ลาหนึ่ง
จำ ๑๕ วัน อย่าให้ดูเยี่ยงกัน

98
อนึ่ง ผู้อยู[31] ในราชการอันบันดาจำบำเรอห์ประดิทินจะหน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/103หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/104หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/105หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/106หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/107หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/108หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/109หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/110หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/111หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/112หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/113หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/114หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/115หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/116หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/117หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/118หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/119หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/120หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/121หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/122หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/123หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/124หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/125หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/126หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/127หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/128หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/129หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/130หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/131หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/132หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/133หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/134หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/135หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/136หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/137หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/138หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/139หน้า:Prachum Kotmai Ratchakan Thi Nueng 2482 (1).djvu/140
182

อนึ่ง พระเจ้าลูกเธอทังปวง ถ้าผู้ใดจะพิดทูลแต่พระเจ้าอยู่หัว ให้ทูลว่า พระเจ้าลูกเธอองคนั้น ๆ ตามชื่อ แลเมื่อพระเจ้าลูกเธอจมาเฝ้าในพระราชวัง ผู้มาด้วยถือเจียดหมากคนหนึ่ง เจียดน้ำคนหนึ่ง ผู้มานอกนั้นได้แต่สามคน ครั้นถึงพระราชวังแล้ว ให้อู้มเจียด หมาก
น้ำ
เสวยนั้นไว้วางให้เอาเตียงรองตะลุ่มรอง

183

อนึ่ง เครื่องอุประโภคทังปวง ให้เรียกว่า มาลาธรง ว่า ผ้าธรง เจียดหมากเสวย เจียดน้ำเสวย แป้งธรง ช้างธี่นั่ง ม้าธี่นั่ง เรือธี่นั่ง กันชิง คานหาม ยานุมาศ กันภิรุม เครื่องบริโภคนั้นให้เรียกว่า เข้าเสวย น้ำเสวย ของเสวย เมี่ยงหมากเสวยกัดต่อด้ำประดับมุกขใบทาชาติ์เขียนลายทอง จะขาน ให้ขานว่า พระพุทธิเจ้าคะ ถ้าจะทูล ให้ว่า ข้าพระพุทธิเจ้าขอทูล ถ้าจะเจรา ให้ว่า พระองคเจ้าตรัสสั่งตรัสใช้ ถ้าจะตั้งขุนตั้งหมื่นพันทนายในกรมพระเจ้าลูกเธอนั้น ให้ตั้งอย่าให้ต้องชื่อขุนหมื่นพันทนายในพระราชวังหลวง

184

อนึ่ง ข้างฝ่ายหลังนั้น พระเจ้าอยู่หัวให้เรียกตามขนบพระเจ้าลูกเธอ


  1. เขียนเป็นสองเล่ม ส่วนเล่ม ๑ นี้ พิมพ์ตามฉะบับหลวง L22.1x ยังเหลืออีกฉะบับหนึ่ง คือ L22.1 (ก)
  2. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "รุง" เป็น "รุ้ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. ก: เงินทอง
  4. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "กน" เป็น "กิน" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  5. ก: กับกันชิง
  6. ก: ลำโพง
  7. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "หนื่ง" เป็น "หนึ่ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  8. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "บัญชี" เป็น "บาญชี" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  9. ต้นฉะบับว่า หน้าพนักงาน แก้ตาม ก
  10. 10.0 10.1 มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ประเทศ" เป็น "ประเทษ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  11. ทั้งสองฉะบับว่า เรือแนบ
  12. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ภดาษ" เป็น "ภูดาษ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  13. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ขน" เป็น "ขึ้น" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  14. มีใบบอกแก้คำผิดให้เพิ่มเชิงอรรถว่า "ต้นฉะบับ: ลุกขุน" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  15. ต้นฉะบับเขียนว่า นัง
  16. ต้นฉะบับเขียนว่า ตำ
  17. ก: คำว่า แล ไม่มี
  18. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "จึง" เป็น "จึ่ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  19. ต้นฉะบับ: ถึ่ง
  20. ต้นฉะบับ: เจ้าะ แก้ตาม ก
  21. ก: ค่า
  22. ก: ช่วงชิง
  23. ก: คำว่า แก่ ไม่มี
  24. ต้นฉบับ: ใถ่ แก้ตาม ก
  25. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "กระบล" เป็น "กระบถ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  26. ต่อจากนี้เข้าอยู่ในเล่ม ๒ ยังเหลือฉะบับหลวงแต่ฉะบับเดียว คือ L 22.2
  27. ต้นฉะบับ: รู
  28. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "จึง" เป็น "จึ่ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  29. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ที่นั่ง" เป็น "ธีนั่ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  30. 30.0 30.1 มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "จตุรคูน" เป็น "จัตุรคูน " (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  31. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "อยู" เป็น "อยู่" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)