พจนานุกรมกฎหมาย/ม
หน้าตา
ม.
มณฑล
มณฑล | เขตต์ท้องที่ ๆ รวมหลายจังหวัดเข้าด้วยกัน เช่น มณฑลพายัพ | |
มติ | ความเห็น | |
มติพิเศษ | การตกลงในที่ประชุมบริษัทจำกัดครั้งที่ ๒ ซึ่งตามกฎหมายเดิมเรียกว่า "ทวีวาระวินิจฉัย" (ดู ป.ก.พ. มาตรา ๑๑๙๔ และดู พ.ร.บ. ลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท ร.ศ. ๑๓๐ มาตรา ๑๙๕ ซึ่งได้ยกเลิกโดย ป.ก.พ. นี้แล้ว) | |
มโนสาร | ชื่อฤๅษีผู้แต่งกฎหมายธรรมศาสตร์เป็นคนแรก (ดู พระธรรมศาสตร์ ใน กฎหมายราชบุรี เล่ม ๑ หน้า ๑๐) | |
มโนสาเร่ | คดีความที่ฟ้องร้องกัน มีโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือเรียกเบี้ยปรับหรือทุนทรัพย์ไม่เกิน ๒๐๐ บาท เว้นแต่เรื่องที่ดิน ถึงจะฟ้องตั้งราคาน้อยเท่าใด ก็ไม่นับเป็นความมโนสาเร่ นอกจากฟ้องเรียกค่าเช่าซึ่งไม่เกินกว่า ๒๐๐ บาท หรือฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่เช่าอันมีราคาเช่าไม่เกินเดือนละ ๒๐๐ บาท (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๑๔) | |
มรณภาพ | ดู ตาย | |
ตามกฎหมายแต่เดิม ๆ นั้น ใช้คำว่า "มรณภาพ" โดยมาก แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบัดนี้ใช้คำว่า "วายชนม์" | ||
มฤดก | ทรัพย์สิ่งของ ๆ ผู้ตาย (ตามรูปศัพท์เดิมแปลว่า ผู้ตาย) | |
มหันตโทษ | โทษหนัก | |
มัดจำ | สิ่งใดซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้วางไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว และยังเป็นการประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย (ป.ก.อ. มาตรา ๓๗๗) | |
มัชฌิมโทษ | โทษปานกลาง | |
มูลนิธิ | ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้เป็นแผนกเพื่อบำเพ็ญทานการสาสนา วิทยาศาสตร์ วรรณคดี หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์อื่น ๆ โดยมิได้หมายค้ากำไร (ป.ก.พ. มาตรา ๘๑) | |
ต้องก่อตั้งขึ้นโดยทำตราสารข้อความดั่งนี้– | ||
(๑)ชื่อของมูลนิธิ | ||
(๒)วัดถุที่ประสงค์ของมูลนิธิ | ||
(๓)สำนักงารของมูลนิธิ แม้จะพึงมี | ||
(๔)ข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิ | ||
(๕)ข้อกำหนดว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการทั้งหลายของมูลนิธิ | ||
(ป.ก.พ. มาตรา ๘๒) | ||
เป็นนิติบุคคลโดยรัฐบาลให้อำนาจ (ป.ก.พ. มาตรา ๘๕) จะให้มีอำนาจอย่างไรนั้นแล้วแต่ใจของรัฐบาล (ป.ก.พ. มาตรา ๘๖) | ||
ย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุเหล่านี้– | ||
(๑)เลิกตามบทบัญญัติที่กล่าวไว้ในตราสารตั้งมูลนิธินั้น | ||
(๒)เมื่อวัตถุที่ประสงค์แห่งมูลนิธินั้นสำเร็จบูรณ์บริแล้ว หรือกลายเป็นการพ้นวิสัย | ||
(๓)เมื่อมูลนิธินั้นล้มละลาย | ||
(๔)เมื่อมีคำสั่งของศาลให้เลิก | ||
(ป.ก.พ. มาตรา ๙๒) | ||
มูลฝิ่น | มูลที่เหลืออยู่ภายหลังที่ได้สูบฝิ่นสุกแล้ว (พ.ร.บ. ฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๒ มาตรา ๓ วรรค ๓ และดู พ.ร.บ. ยาเสพย์ติดให้โทษ พ.ศ. ๒๔๖๕ มาตรา ๓ วรรค ๕) | |
เมีย | ดู ภรรยา | |
เมียกลางทาษี | เมียที่ได้มาโดยเป็นทาษมีสารกรมธรรม์, ทาษภรรยา (เมียชะนิดนี้ไม่มีต่อไปแล้ว ดู ทาษ) | |
เมียกลางนอก | เมียน้อย (ดู ภรรยา) | |
เมียกลางเมือง | เมียหลวง (ดู ภรรยา) | |
เมียขันหมากหลวง | เมียแต่งงาน, เมียหลวง (ดู ภรรยา) | |
เมียข้า | เมียของทาษ (เมียชะนิดนี้ไม่มีแล้ว ดู ทาษ) | |
เมียร้าง | เมียที่ผัวจากไป แต่ยังไม่ถึงขาดกัน | |
เมียลับ | ดู ภรรยาลับ | |
เมือง | จังหวัด (ดู จังหวัด), ประเทศ | |
แม่เจ้าเรือน | เมียผู้มีหน้าที่จัดกิจการบ้านแทนผัว | |
แม่ยั่วเมือง | เป็นคำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ บางทีเรียกว่า "แม่หยั่วเมือง" | |
แม่สื่อ | ดู ผู้ชักสื่อ | |
โมกขะพะยาน | พะยานที่พ้นแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สามเณรที่เป็นพะยาน มีอำนาจพิเศษกว่าพะยานธรรมดา กล่าวคือ ห้ามมิให้ออกหมายเรียกไปเป็นพะยานในศาล ให้เดิรผะเชิญสืบ และห้ามมิให้บังคับให้สาบาล ถ้าพระสงฆ์สามเณรนั้นไม่ยอมให้การก็ดี หรือนิ่งเสียก็ดี ศาลไม่มีอำนาจจะบังคับว่ากล่าว (พ.ร.บ. ลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ มาตรา ๑๔) | |
โมฆ | เปล่า, เสียใช้ไม่ได้ | |
โมฆสัญญา | สัญญาที่เสียใช้ไม่ได้ | |
โมฆีย | อาจจะเสียได้, พึงเป็นของเปล่าได้ | |
โมฆียสัญญา | สัญญาที่อาจจถูกปฏิเสธได้ | |
โมหาคติ | ความลำเอียงโดยหลง | |
ไม่เข็ดหลาบ | ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษ เพราะได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อพ้นโทษไปแล้ว กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ (ป.ก.อ. มาตรา ๗๒ ตอน ๑) | |
ผู้ไม่เข็ดหลาบ จะต้องถูกเพิ่มโทษ (ดู เพิ่มโทษ) | ||
ไม้ยืนต้น | ไม้ที่ปลูกอยู่ได้ถาวรนมนาน | |
ไม้ล้มลุก | ไม้ที่ปลูกชั่วคราวไม่ถาวร |