พจนานุกรมกฎหมาย/อ
หน้าตา
อ.
อคติ
⟨อคติ⟩ | ความลำเอียง | |
ตามกฎหมายลักษณะอินทภาษ ให้ผู้พิพากษาตัดสินคดีความโดยปราศจากอคติ ๔ ประการ คือ— | ||
(๑)ฉันทาคติ ความลำเอียงโดยเห็นแก่กันเพราะความรักใคร่ | ||
(๒)โทสาคติ ความลำเอียงโดยโกรธ | ||
(๓)ภยาคติ ความลำเอียงโดยกลัวเกรง | ||
(๔)โมหาคติ ความลำเอียงโดยหลงไม่รู้ทัน | ||
(ดู กฎห์ ลักษณะอินทภาษ ในกฎหมายราชบุรี หน้า ๓๕) | ||
องคมนตรี | ผู้เป็นที่ปรึกษาในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ดู พระราชปรารภ ใน พ.ร.บ. องคมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๐ และดู พ.ร.บ. ปรีวีเคานซิล จุลศักราช ๑๒๓๖ ซึ่งได้ยกเลิกแล้วโดย พ.ร.บ. องคมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๐) | |
อธิการ | อำนาจ, การปกครอง, ความบังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการอันยิ่งใหญ่ | |
แต่ตามความหมายในพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ หมายถึง สมณะศักดิ์ประจำตัวของเจ้าอาวาศที่ไม่มีสมณะศักดิ์อื่น (พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ มาตรา ๑๒ วรรค ๒) | ||
อธิบดี | ข้าราชการซึ่งเป็นหัวหน้าบังคับบัญชากิจราชการในกรมใหญ่กรมหนึ่ง ๆ | |
อนาจาร | สิ่งที่มนุสส์รังเกียจ โดยเห็นว่าเป็นของน่าอาย, ความประพฤติมิควร, ความประพฤติชั่ว | |
อนามัย | ความสุขกาย, ความไม่มีโรค | |
อนุกรรมการ | กรรมการรอง | |
อนุญาโตตุลาการ | ผู้ที่ตัดสินข้อพิพาท ซึ่งมิใช่ตัวผู้พิพากษาที่ตัดสินในศาลตามกระบวนความ | |
อนุญาโตตุลาการมี ๒ อย่าง คือ— | ||
(๑)อนุญาโตตุลาการที่คู่ความขอให้ศาลตั้ง คือว่า มีคดีขึ้นในศาลแล้ว แต่ยังอยู่ในระวางพิจารณา และศาลยังมิได้ตัดสิน คู่ความตกลงกันขอให้ศาลเชิญบุคคลคนเดียวหรือหลายคนมาเป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดคดีนั้นได้ (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๐๘) ถ้าศาลเชิญไม่ได้ คู่ความจะร้องขอให้ศาลเชิญคนอื่นเป็นอนุญาโตตุลาการอีกก็ได้ (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๐๙) ถ้าอนุญาโตตุลาการต้องการจะตรวจถ้อยคำสำนวนในคดีเรื่องนั้นที่ศาลได้พิจารณา หรือจะให้เรียกพะยานมาประกอบในการพิจารณา ให้ศาลเป็นธุระจัดการให้ตามอำนาจของศาล (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๑๑) เมื่ออนุญาตโตตุลาการทำการชี้ขาดแล้ว ให้เสนอรายงานต่อศาล แล้วให้ศาลตัดสินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๑๒) | ||
(๒)อนุญาโตตุลาการที่คู่ความตั้งกันเองนอกศาล คือ ยังไม่มีคดีปรากฏขึ้นในศาล คู่ความได้ตกลงกันตั้งให้ผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ชำระข้อพิพาทนั้น (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๑๓) คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการชะนิดนี้ไม่เด็ดขาด คือว่า ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประพฤติตาม ก็หามีผลอย่างใดไม่ จนกว่าผู้ชะนะจะนำคดีมาฟ้องยังศาลขอให้ยกคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาเป็นคำตัดสินของศาลอีกครั้งหนึ่ง (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๑๓) | ||
ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น ถ้าอนุญาโตตุลาการหลายคนด้วยกันมีความเห็นก้ำกึ่งกัน ก็ให้อนุญาโตตุลาการเลือกผู้เป็นประธานของอนุญาโตตุลาการอีกคนหนึ่งเพื่อชี้ขาดได้ ถ้าการเลือกผู้เป็นประธานไม่ตกลงกัน ก็ให้ผู้พิพากษาเลือกผู้เป็นประธานตั้งขึ้น (พ.ธ.ย. มาตรา ๑๑๐) | ||
คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการที่ศาลได้ตัดสินตามนั้นเป็นคำพิพากษาที่เด็ดขาด ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษานี้ต่อไป เว้นไว้แต่— | ||
(๑)เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลให้อุทธรณ์ในคดีที่มีคำพะยานอยู่บ้างว่า อนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดได้พิจารณาโดยทางทุจริต หรือมีพะยานว่า คำชี้ขาดนั้นไม่เป็นไปโดยสุจริต ฤๅ | ||
(๒)เมื่อศาลตัดสินไม่ถูกกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น | ||
(พ.ธ.ย. มาตรา ๑๑๔) | ||
อนุบาล | คอยเลี้ยง (ดู ผู้อนุบาล) | |
อนุภรรยา | เมียทีหลั่นเมียหลวงลงไป, เมียน้อย | |
อนุมาน | ความคาดหมาย | |
อนุมัติ | ความเห็นชอบ | |
อนุโลม | เป็นไปตาม | |
อนุวรรตน์ | ประพฤติตาม, เอาอย่าง, ทำตาม | |
อสักขิกา | หาพะยานมิได้ | |
อสมพะยาน | พะยานร่วมที่เบิกความมีพิรุธ (กฎห์ลักษณะพะยาน บทที่ ๕) | |
อสังกมะทรัพย์ | ทรัพย์เคลื่อนที่อันมิอาจจะใช้ของอื่นแทนกันได้ (ป.ก.พ. มาตรา ๑๐๒) | |
อสังหาริมทรัพย์ | ที่ดิน กับทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ซึ่งถ้าจะถอดถอน จะต้องถึงกับทำลายบุบฉลายเสียสภาพในส่วนสำคัญ รวมทั้งสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นด้วย (ป.ก.พ. มาตรา ๑๐๐) | |
อวิญญาณกทรัพย์ | ทรัพย์ที่ไม่มีชีวิต เช่น สิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น (ดู วิญญาณกทรัพย์) | |
อั้งยี่ | ผู้ที่เป็นสมาชิกในสมาคมที่ปกปิดวิธีการของสมาคม และเป็นสมาคมที่ตั้งขึ้นเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย (ป.ก.อ. มาตรา ๑๗๗) | |
อัญญัตระพะยาน | พะยานที่คู่ความอ้างแล้วนำตระลาการไปผะเชิญถึงบ้านเรือน ไม่พบพะยาน แต่ได้ปรากฎชื่อบ้านและเรือนพะยานแล้ว ภายหลัง คู่ความกลับนำตระลาการไปผะเชิญพะยานณเรือนอื่น ตระลาการหาพะยานออกมายังสถานที่อันควรแล้วถามพะยาน ๆ ว่าชื่ออื่น มิต้องชื่อปรากฎเมื่อไปหาคราวก่อน (กฎห์ลักษณะพะยาน บทที่ ๔๒) | |
อัญญมณี | ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง เครื่องแก้วแหวน (ดู ป.ก.พ. มาตรา ๖๒๐) แต่ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ หมายถึง ของที่ใช้ดินได้ (กฎห์ ลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ ๔๓) | |
อัธยาศัย | นิสสัยใจคอ, อารมณ์ความนิยม, ความประสงค์ | |
อับปาง | ล่ม, จม, ทำลาย (ใช้สำหรับเรือเดิรทะเล) | |
อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด | ความยิ่งหย่อนแห่งน้ำหนักและเนื้อเงินบริสุทธิ์ในเหรียญกระษาปณ์ (พ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ. ๒๔๗๑ มาตรา ๔ วรรค ๑๐) | |
อากร | เงินรายได้ของแผ่นดินซึ่งรัฐบาลเก็บจากราษฎร โดยกำหนดเอาจากบุคคลและสิ่งของภายในประเทศตามอัตราที่ตั้งขึ้นไว้ ดั่งที่เรียกกันว่า "ภาษีภายใน" (ดู ภาษี) | |
อากาศนาวา | อากาศยานซึ่งเบากว่าอากาศ (พ.ร.บ. การเดิรอากาศ พ.ศ. ๒๔๖๕ มาตรา ๓ วรรค ๑) | |
อากาศยานต่างประเทศ | อากาศยานต่างประเทศซึ่งมิได้ขึ้นทะเบียนตามวิธีที่พระราชบัญญัติการเดิรอากาศอนุมัติ และโดยปกติมิได้เก็บรักษาอยู่ในประเทศสยาม (พ.ร.บ. การเดิรอากาศ พ.ศ. ๒๔๖๕ มาตรา ๓ วรรค ๖) | |
อากาศยานบรรทุกของ | อากาศยานซึ่งรับส่งหรือมุ่งหมายไว้สำหรับรับส่งคนโดยสารหรือของ เพื่อค่าจ้างหรือค่าโดยสารหรือค่าบรรทุก (พ.ร.บ. การเดิรอากาศ พ.ศ. ๒๔๖๕ มาตรา ๓ วรรค ๗) | |
อากาศยานบรรทุกคนโดยสาร | อากาศยานซึ่งรับส่งหรือมุ่งหมายไว้สำหรับรับส่งคนโดยสารหรือของ เพื่อค่าจ้างหรือค่าโดยสารหรือค่าบรรทุก (พ.ร.บ. การเดิรอากาศ พ.ศ. ๒๔๖๕ มาตรา ๓ วรรค ๘) | |
อาชญา | โทษที่จะลงแก่บุคคลผู้กระทำความผิดในทางอาชญา | |
อาชญาที่จะลงนั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่ามี ๖ สฐาน คือ— | ||
(๑)ประหารชีวิต | ||
(๒)จำคุก | ||
(๓)ปรับ | ||
(๔)อยู่ภายในเขตต์ที่อันมีกำหนด | ||
(๕)ริบทรัพย์ | ||
(๖)เรียกประกันทานบน | ||
(ป.ก.อ. มาตรา ๑๒) | ||
อาชญาบัตร์ผูกขาดตรวจแร่ | หนังสือสำคัญซึ่งกรมราชโลหกิจได้ออกให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อให้ตรวจหาแร่ในที่ฉะเพาะซึ่งได้กำหนดไว้ในอาชญาบัตร์นั้นได้แต่ผู้นั้นผู้เดียว (พ.ร.บ. การทำเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๔๖๑ มาตรา ๓ (๓)) | |
อาชญาบัตร์ตรวจแร่ | หนังสือสำคัญซึ่งกรมราชโลหกิจได้ออกให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อการตรวจหาแร่ตลอดไปในท้องที่มีกำหนดอำเภอหนึ่งอำเภอใดหรือจังหวัดหนึ่งจังหวัดใด (พ.ร.บ. การทำเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๔๖๑ มาตรา ๓ (๒)) | |
อาธิปัตย์ | ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน | |
อาณาเขตต์ของประเทศ | ตามกฎหมายระวางประเทศ ถือเอาภายในเขตต์ของประเทศที่ประกอบด้วยพื้นแผ่นดิน ทะเลสาบ แม่น้ำ ทะเล ซึ่งอยู่ภายในเขตต์ ๓ ไมล์ไกลจากฝั่ง เกร็ดและอ่าวตามชายทะเล กับเกาะทั้งปวงซึ่งอยู่ริมชายทะเล | |
อายัด | ของที่ได้ร้องขอมอบหมายไว้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่หรือโรงศาล เพื่อมิให้เอาไปกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการกระทำให้ทรัพย์นั้นตกหรือโอนไปยังผู้อื่น จนกว่าจะพ้นกำหนดแห่งเวลาที่ได้อายัดไว้ หรือจนกว่าศาลจะได้พิเคราะห์ข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปแล้ว | |
อายุความ | กำหนดเวลาที่กฎหมายตั้งบัญญัติไว้ให้ฟ้องร้องกันได้ในคดีความ ถ้ามิได้ฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นอันฟ้องไม่ขึ้น (ป.ก.อ. มาตรา ๗๘ ป.ก.พ. มาตรา ๑๖๓ ถ้าจะดูความละเอียด ให้ดูตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเป็นอย่าง ๆ ไป) | |
อารามราษฎร์ | วัดซึ่งได้พระราชทานวิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้าบัญชีนับว่าเป็นวัดหลวง (พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ มาตรา ๕ ข้อ ๒) | |
อาเลอ | แปลง (ใช้สำหรับที่นา) เช่น ที่ ๑ อาเลอ คือ ที่ ๑ แปลง | |
อาว์ | น้องของพ่อ ใช้อย่างเดียวกับ "อา" | |
อาวัล | การค้ำประกันตั๋วแลกเงิน ซึ่งผู้ค้ำประกันได้เขียนคำว่า "ใช้ได้เป็นอาวัล" หรือใจความทำนองนี้ แล้วลงลายมือชื่อในตั๋วหรือใบประจำต่อ หรือลงลายมือชื่อเฉย ๆ แต่ไม่ใช่ลงในฐานที่เป็นผู้จ่ายหรือผู้สั่งจ่าย (ป.ก.พ. มาตรา ๙๓๘–๙๓๙) | |
อาวุธปืน | บรรดาปืนทุกชะนิด รวมทั้งปืนที่ใช้ยิงได้โดยวิธีอัดลมหรือเครื่องกลอย่างใด ๆ และตลอดถึงส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน แต่ไม่กินความถึงปืนสำหรับเด็กเล่นซึ่งไม่อาจทำอันตรายแก่บุคคลใด (พ.ร.บ. อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ร.ศ. ๑๓๑ มาตรา ๔ (๑) และประกาศแก้ไขเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ. อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน พ.ศ. ๒๔๕๘) | |
อำนาจ | แปลได้หลายนัย คือ จะแปลว่า "สิ่งที่บุคคลจะร้องขอหรือบังคับให้บุคคลคนหนึ่งกระทำสิ่งใดหรืองดเว้นไม่กระทำสิ่งใด" ก็ได้, จะแปลว่า "สิ่งที่คนหนึ่งจะยึดถือเป็นคู่มือสำหรับประโยชน์ที่จะได้มาจากความจำต้องทำหรือหน้าที่ของอีกคนหนึ่ง" ก็ได้, จะแปลว่า "ความสามารถที่จะร้องขอให้ผู้อื่นกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำสิ่งใด" ก็ได้, จะแปลว่า "สิ่งที่คนหนึ่งมีอำนาจเมื่อกฎหมายบังคับให้คนอื่นกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดแก่คนนั้น" ก็ได้, จะแปลว่า "บุคคลคนหนึ่งมีอำนาจเมื่ออีกคนหนึ่งหรือหลายคนจำต้องกระทำหรืองดเว้นการกระทำต่อคนนั้นโดยกฎหมายบังคับ" ก็ได้, หรือจะแปลว่า "ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและป้องกันให้" ก็ได้ (ดู สิทธิ) | |
อำนาจเดิรสะดวก | ตามกฎหมายระวางประเทศ หมายถึง กิริยาที่เรือทั้งปวงอาจเดิรไปมาในเกร็ดแห่งทะเลได้โดยไม่ต้องถูกคัดค้านในเวลาไม่มีสงคราม แต่เป็นหน้าที่ของเรือเหล่านั้นที่จะไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งนับเป็นกิริยาสำหรับเวลาสงคราม | |
อำนาจพร้อมบูรณ์ | อำนาจที่ทำให้เกิดหน้าที่ได้พร้อมบูรณ์ ถ้าผู้มีหน้าที่ละเมิด ผู้มีอำนาจฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่น เรื่องราษฎรบุกรุกที่ดินกันเองในเมื่อคดียังอยู่ภายในอายุความ เป็นต้น | |
อำนาจไม่พร้อมบูรณ์ | อำนาจที่จะทำให้เกิดหน้าที่ได้ไม่พร้อมบูรณ์ ถ้าผู้มีหน้าที่ละเมิด ผู้มีอำนาจฟ้องร้องไม่ได้ตามกฎหมาย เช่น เรื่องพะยานหลักฐานไม่มีตามที่กฎหมายต้องการ เรื่องขาดอายุความ เรื่องผู้มีหน้าที่ไม่อยู่ในกฎหมายหรืออำนาจศาล เป็นต้น | |
อำนาจชะนิดนี้มีผลแต่เพียง— | ||
(๑)อาจเป็นข้อต่อสู้ในคดีความ แต่จะใช้เป็นเหตุฟ้องร้องไม่ได้ | ||
(๒)อาจจะยึดของเป็นประกันไว้ได้ | ||
(๓)อาจจะกลายเป็นอำนาจพร้อมบูรณ์ได้ภายหลัง | ||
อำนาจห้าม | อำนาจที่ทำให้เกิดหน้าที่จำต้องงดเว้นการกระทำ | |
อำนาจเหนือของ | อำนาจที่จะขอร้องหรือบังคับคนใดคนหนึ่งทั่ว ๆ ไปให้งดเว้นหรือไม่กระทำสิ่งใด | |
อำนาจเหนือของแยกออกได้ดั่งนี้— | ||
(๑)อำนาจในทางปลอดภัยและเป็นไทยแก่ตน | ||
(๒)อำนาจในครอบครัว | ||
(๓)อำนาจในเกียรติยศ | ||
(๔)อำนาจที่จะได้รับประโยชน์ฐานเป็นไพร่บ้านพลเมืองของประเทศ | ||
(๕)อำนาจในทรัพย์สมบัติ | ||
อำนาจเหนือบุคคล | อำนาจที่จะร้องขอหรือบังคับคนใดคนหนึ่งโดยฉเพาะให้กระทำหรืองดเว้นไม่กระทำสิ่งใด | |
อำนาจชะนิดนี้ที่จะฟ้องร้องกันได้นั้น ตามธรรมดาอาจเกิดได้ด้วยประการเหล่านี้ คือ— | ||
(๑)ผิดสัญญา | ||
(๒)ระวางสัญญา (หรือคล้ายสัญญา) | ||
(๓)ละเมิด (ประทุษฐร้ายส่วนแพ่ง) | ||
(๔)กฎหมายบัญญัติ | ||
อำนาจอันชอบธรรม | สิ่งที่บุคคลคนหนึ่งมีอำนาจร้องขอหรือบังคับบุคคลอีกคนหนึ่งให้กระทำหรืองดเว้นไม่กระทำสิ่งใด โดยที่กฎหมายเห็นชอบด้วย | |
อำเภอ | ท้องที่ ๆ รวมตำบลหลาย ๆ ตำบลเข้าด้วยกัน อยู่ในความปกครองของนายอำเภอหนึ่ง ๆ | |
อิสเมนต์ | การใช้สิทธิในที่ดินของผู้อื่น เช่น ทางเดิรและแสงสว่าง | |
อำนาจชะนิดนี้เกิดขึ้นได้โดย— | ||
(๑)การสะแดงอนุญาต | ||
(๒)โดยกาลเวลา | ||
อิสสระประเทศ | ประเทศที่มีอำนาจที่จะจัดการงารต่าง ๆ ทั้งภายนอกเมืองและภายในเมืองได้โดยไม่มีประเทศอื่นขัดขืน เมื่อไม่ประพฤติอย่างไรให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ประเทศอื่น | |
อิสสระภาพ | ความเป็นใหญ่ในตัว, ความเป็นไทย | |
อุกฉกรรจ์ | ร้ายแรง, ร้ายกาจ | |
อุโฆษ | โด่งดัง, สนั่น, กึกก้อง, แพร่หลาย | |
อุกอาจ | ล่วงเกิน, รุกราญ, บุกรุก | |
อุกฤษฏ์ | เยี่ยม, ยิ่งใหญ่, เลิศลอย | |
อุกฤษฏ์โทษ | โทษใหญ่ยิ่ง ตามกฎหมายลักษณะโจรที่ยกเลิกแล้วหมายถึงโทษที่ทำร้ายต่อสาสนาหรือบางที่เป็นขบถ | |
อุดรพยาน | พะยานที่เป็นนายหัวพัน หัวปาก ภูดาษ พะทำมะรง จ่า เสมียน นัการ พ่อค้า แม่ค้า คนทำไร่ไถนา (กฎห์ลักษณะพะยาน บทที่ ๑) | |
อุตริพะยาน | พะยานที่เป็นพี่น้องพ้องพันธ์ญาติกาและมิตร์สหายเพื่อนกินอยู่สมเล คนผู้ยากเป็นวรรณิพกและคนพยาธิ์เรื้อนหูหนวกตาบอดอันอยู่รัถยาหาวงษามิได้ (กฎห์ลักษณะพะยาน บทที่ ๑) | |
อุตสาหกรรม | การทำสิ่งของให้เป็นสินค้า, การหาเลี้ยงชีพที่ต้องลงทุนและลงแรง | |
อุททิศ | สละให้, มุ่งหมาย, กำหนด | |
อุทธรณ์ | การฟ้องอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๙๖ ซึ่งได้แก้ไขตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๙ และดูประกาศห้ามไม่ให้อุทธรณ์ความระวางพิจารณา ร.ศ. ๑๑๔) | |
ในส่วนคำสั่งหรือคำชี้ขาดของศาลในระวางพิจารณาก่อนศาลได้พิพากษาคดีเรื่องนั้น ห้ามมิให้อุทธรณ์ เว้นไว้แต่คำสั่งหรือคำบังคับให้ปรับไหมหรือให้จำขังผู้หนึ่งผู้ใดในระวางพิจารณา จึงจะอุทธรณ์ได้ (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๙๖ ข้อ ๑ ซึ่งได้แก้ไขตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๙) | ||
ในส่วนคำพิพากษานั้น ถ้าเป็นคดีอาชญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับเป็นพินัยไม่เกิน ๒๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลเดิมพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ หรือให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับเป็นพินัยไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กับคดีแพ่งที่ฟ้องหากันด้วยทุนทรัพย์ไม่เกิน ๒๐๐ บาท จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่ได้ เว้นไว้แต่อธิบดีผู้พิพากษาหรือผู้ทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาของศาลซึ่งได้พิพากษาคดีนั้นในชั้นต้นจะอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรให้อุทธรณ์ หรือผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งซึ่งได้พิจารณาคดีนั้นในชั้นต้น หรืออธิบดีกรมอัยยการ ได้ลงชื่อรับรองว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย หรือผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งทำความเห็นแย้งไว้ จึงจะอุทธรณ์ได้ (พ.ร.บ. ลักษณะอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๓) | ||
กำหนดเวลาอุทธรณ์นั้น ๑ เดือนนับตั้งแต่วันได้ฟังหรือควรจะได้ฟังคำตัดสินเป็นต้นไป (พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ มาตรา ๙๖ ข้อ ๒ ซึ่งได้แก้ไขตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๙) | ||
อุทลุม | ผิดประเพณีและแบบธรรมเนียม, อำนาจที่บุตร์จะฟ้องบิดามารดาไม่ได้ | |
อุบาทว์ | ชั่วร้าย, อัปมงคล, สิ่งที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบัน, ภัยซึ่งลุกลามทั่วไป | |
อุบาย | วิธี, หนทาง, เล่ห์เหลี่ยม | |
อุบัติ | เกิด, การเกิดขึ้น | |
อุบัติเหตุ | ความบังเอิญเป็น | |
อุปกรณ์ | เครื่องประกอบ, เครื่องส่งเสริม | |
อุปกรณ์แห่งค่าระวางพาหนะ | ค่าใช้จ่ายอย่างใด ๆ ตามจารีตรประเพณีอันผู้ขนส่งได้เสียไปโดยควรในระวางขนสิ่งของ | |
อุปัชฌายะ | พระภิกษุผู้บวชกุลบุตร์ในพระพุทธสาสนา | |
ผู้ที่จะเป็นอุปัชฌายะต้องมีองคสมบัติดั่งต่อไปนี้— | ||
(๑)มีความประพฤติดี | ||
(๒)เป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย | ||
(๓)มีความรู้พอจะฝึกนิสสิตให้เป็นพระที่ดีได้ | ||
(๔)มีความรู้พอจะทำอุปสมบทกรรมให้ถูกระเบียบตามที่ใช้กันอยู่ | ||
(๕)มีพรรษาพ้น ๑๐ แล้ว | ||
(ข้ออาณัติของคณะสงฆ์เนื่องจากประกาศตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๑) | ||
อุปัชฌายะจะต้องได้รับตราตั้งจากเจ้าคณะกลางหรือเจ้าคณะมณฑล (ประกาศเรื่องตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๒) และจะต้องได้รับอนุมัติโดยลงชื่อประทับตราของเสนาบดีกระทรวงธรรมการหรือสมุหเทศาภิบาลด้วย (ประกาศเรื่องตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๔) | ||
พระภิกษุอยู่ในตำแหน่งเป็นหัวหน้าตั้งแต่ตำแหน่งสังฆปาโมกข์ขึ้นไป ไม่ถูกห้ามในพระวินัยหรือราชการ เมื่อจำเป็น จะเป็นอุปัชฌายะก่อนได้ แต่ภายหลังต้องขออนุมัติจากเจ้าคณะผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่ (ประกาศเรื่องตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๗) | ||
ประกาศเรื่องตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ให้นับว่าเป็นอนุโลมแห่งพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (ประกาศเรื่องตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๑๘) | ||
อุปโภค | การใช้สอย | |
อุปสมบท | การบวชในพระพุทธสาสนา | |
ผู้บวชนั้นนอกจากเป็นผู้ที่มีลักษณะที่ทางพุทธจักร์ต้องการ (ดูคดีเรื่องพนักงานอัยยการจังหวัดนนทบุรี โจทก์ นางสาวสาระกับพวก จำเลย) แล้ว ยังต้องมีลักษณะในทางที่อาณาจักร์ต้องการอีกดั่งนี้ คือ— | ||
(๑)ต้องเป็นผู้มีหลักถาน ถ้ามีบิดามารดา ให้ดูหลักถานของบิดามารดาว่าเป็นคนตั้งทำมาหากินโดยชอบหรือมีถิ่นถานอันมั่นคง ถ้าไม่มีผู้ใหญ่แล้ว หลักอันนี้ให้ตรวจดูในคนที่จะบวชนั้น | ||
(๒)ต้องเป็นคนดี ไม่ใช่เป็นนักเลง ไม่มีความเสียหายในทางอื่น เช่น สูบฝิ่น เป็นต้น | ||
(๓)มีความรู้เป็นพื้นมา เพื่อว่าเมื่อบวชแล้วมีทางจะศึกษาได้ เช่น อ่านหนังสือออก เป็นต้น (ใช้สำหรับตำบลที่มีคนอ่านหนังสือออกเป็นพื้นแล้ว) | ||
(ข้ออาณัติของคณะสงฆ์เนื่องจากประกาศตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๒ (๑)) | ||
คนที่ต้องห้ามไม่ให้บวชมีดั่งนี้ คือ— | ||
(๑)คนทำความผิดหลบหนีอาชญาแผ่นดินอยู่ | ||
(๒)คนหลบหนีราชการ | ||
(๓)คนมีคดีค้างในศาล | ||
(๔)ข้าราชการสัญญาบัตร์ที่มิได้กราบบังคมทูลลา | ||
(๕)คนเคยถูกอาชญาแผ่นดินโดยฐานเป็นผู้ร้ายอุกฉกรรจ์ หรือคนมีเครื่องหมายบอกโทษสักติดตัว | ||
(๖)คนถูกห้ามอุปสมบทเป็นเด็ดขาดในทางสาสนาก็ดี ในทางราชการก็ดี | ||
(๗)คนมีโรคอันจะลามติดกันได้ เช่น โรคกุฏฐัง | ||
(๘)คนพิการเสียอวยวะจนจะปฏิบัติพระสาสนาไม่สะดวก | ||
(ข้ออาณัติของคณะสงฆ์เนื่องจากประกาศตั้งอุปัชฌายะ พ.ศ. ๒๔๕๖ ข้อ ๒ (๒) และประกาศถอนอาณัติของคณะสงฆ์ในข้อห้ามไม่ให้อุปสมบทคนไม่มีใบอนุญาตในราชการ พ.ศ. ๒๔๖๑) | ||
เอก | ที่หนึ่ง, สูงสุด, ยอด | |
เอกอุ | เอกที่หนึ่ง | |
เอกมอ | เอกที่สอง | |
เอกสอ | เอกที่สาม | |
เอกสาร | หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร (ดู จดหมาย) |