พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎอัยยการศึก พุทธศักราช 2457 พุทธศักราช 2488

ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗)
โดยที่เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกฎอัยยการศึก
และโดยที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้ให้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ พุทธศักราช ๒๔๘๘"
มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามและวรรคสี่ของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๗
"นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ถ้าคดีอาญาใดที่เกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยยการศึก มีเหตุพิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อแม่ทัพใหญ่ร้องขอ คณะกรรมการซึ่งได้ขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้จะสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญานั้นในศาลทหารก็ได้
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งโดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งนาย และกรรมการอื่นอีกสองนาย ในจำนวนนี้ ต้องแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการในหรือนอกราชการไม่น้อยกว่าหนึ่งนาย เพื่อพิจารณาสั่งตามความในวรรคก่อน"
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
- ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
- ควง อภัยวงศ์
- นายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๘๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๗๙ หน้า ๑๒๔๕
บรรณานุกรม[แก้ไข]
- "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎอัยยการศึก พุทธศักราช 2457 พุทธศักราช 2488". (2488, 7 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 62, ตอน 20 ก. หน้า 251–253.

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"
