พระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก (ฉะบับที่ 3) พุทธศักราช 2487

จาก วิกิซอร์ซ
ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติ
กฎอัยยการศึก (ฉะบับที่ ๓)
พุทธศักราช ๒๔๘๗
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗)
ปรีดี พนมยงค์
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗
เป็นปีที่ ๙ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗

จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๗"

มาตรา  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๖ ในเขตต์ที่ประกาศใช้กฎอัยยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามคำเรียกร้องของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามความจำเป็นในการยุทธ"

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๗ ในเขตต์ที่ประกาศใช้กฎอัยยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอย่างปกติ แต่ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตต์ที่ประกาศใช้กฎอัยยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยยการศึก ตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทุกข้อหรือแต่บางข้อ และหรือบางส่วนของข้อใดข้อหนึ่งได้

ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในวรรคแรก ให้มีผลบังคับฉะเพาะคดีที่การกระทำผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันเวลาที่ระบุไว้ในประกาศ วันเวลาที่ระบุนั้นจะเป็นวันเวลาที่ออกประกาศนั้นเองหรือภายหลังก็ได้ ประกาศเช่นว่านี้ให้โฆษณาในราชกิจจาเบกษาด้วย"

มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗

"มาตรา ๗ ทวิ ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามความในมาตรา ๗ นั้น จะให้ศาลทหารในทุกท้องที่หรือแต่บางท้องที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามที่กล่าวในมาตรานั้นเท่ากันหรือมากน้อยกว่ากันก็ได้"

มาตรา  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗ ตรี แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗

"มาตรา ๗ ตรี เมื่อได้เลิกใช้กฎอัยยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังคงค้างอยู่ในศาลนั้น และให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังมิได้ฟ้องร้องในระหว่างเวลาที่ใช้กฎอัยยการศึกนั้นด้วย"

มาตรา  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

บทบัญญัติฉะเพาะกาล

มาตรา  บรรดาคดีอาญาที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลทหารในวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามความในพระราชบัญญัตินี้แล้วนั้น ให้โอนมาให้ศาลพลเรือนพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้พนักงานอัยยการเข้าเป็นโจทก์ในคดีเหล่านั้น ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยยการ และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช้บังคับตั้งแต่วันที่โอนคดีมานั้น

  • ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
  • ควง อภัยวงศ์
  • นายกรัฐมนตรี

บัญชีต่อท้าย
ก. คดีที่เกี่ยวกับตัวบุคคลบางจำพวก

๑. คดีที่ตำรวจกระทำความผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม

๒. คดีที่บุคคลพลเรือนสังกัดในราชการทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ไม่ว่าจะเกี่ยวกับหน้าที่ราชการหรือไม่ และไม่ว่าจะได้กระทำความผิดในที่ใด ๆ ในเขตต์ที่ใช้กฎอัยยการศึก

๓. คดีที่บุคคลใด ๆ เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือร่วมกับบุคคลดังกล่าวใน ๑ หรือ ๒ ไม่ว่าจะเป็นตัวการหรือผู้สมรู้

๔. คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ว่าจะเป็นตัวการหรือผู้สมรู้

ข. คดีที่เกี่ยวกับความผิดบางอย่าง

๑. คดีที่เป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

๒. คดีที่มีข้อกล่าวหาฐานประทุษร้ายต่อทรัพย์ซึ่งเป็นของใช้ในราชการทหารแห่งกองทัพไทยหรือกองทัพพันธมิตรแห่งประเทศไทย หรือประทุษร้ายต่อชีวิตหรือร่างกายทหารไทยหรือทหารพันธมิตรแห่งประเทศไทยในขณะกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุที่กระทำการตามหน้าที่

๓. ความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ดังต่อไปนี้

 (ก) ความผิดฐานประทุษร้ายแก่พระเจ้าอยู่หัวและราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๙๗ ถึงมาตรา ๑๑๑

 (ข) ความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๑๒ ถึงมาตรา ๑๑๕

 (ค) ความผิดต่อเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๑๗ และมาตรา ๑๑๘ ฉะเพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๙ ถึงมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๗ และมาตรา ๑๒๘

 (ง) ความผิดฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริต ตั้งแต่มาตรา ๑๒๙ ถึงมาตรา ๑๓๕ มาตรา ๑๓๗ ถึงมาตรา ๑๔๑ มาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๔ และ มาตรา ๑๔๖

 (จ) ความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล ตั้งแต่มาตรา ๑๔๗ ถึงมาตรา ๑๕๔ ฉะเพาะเมื่อศาลนั้นเป็นศาลทหาร

 (ฉ) ความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ ตั้งแต่มาตรา ๑๕๕ ถึงมาตรา ๑๖๒ ที่ได้กระทำในศาลทหาร

 (ช) ความผิดฐานสมคบกันเป็นอั้งยี่และเป็นซ่องโจรผู้ร้าย ตั้งแต่มาตรา ๑๗๗ ถึงมาตรา ๑๘๒

 (ซ) ความผิดฐานก่อการจลาจล ตามมาตรา ๑๘๓ และมาตรา ๑๘๔

 (ฌ) ความผิดฐานกระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน ฐานกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และฐานกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย ตั้งแต่มาตรา ๑๘๕ ถึงมาตรา ๑๙๔ มาตรา ๑๙๖ มาตรา ๑๙๙ และมาตรา ๒๐๐

 (ญ) ความผิดฐานปลอมดวงตรา ตั้งแต่มาตรา ๒๑๑ ถึงมาตรา ๒๑๓ ฉะเพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร

 (ฎ) ความผิดฐานปลอมหนังสือ ตั้งแต่มาตรา ๒๒๓ ถึงมาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๙ และมาตรา ๒๓๐ ทั้งนี้ ฉะเพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร

 (ฏ) ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และฐานโจรสลัด ตั้งแต่มาตรา ๒๙๗ ถึงมาตรา ๓๐๒

๔. ความผิดตามพระราชบัญญัติเกณฑ์พลเมืองอุดหนุนราชการทหาร พุทธศักราช ๒๔๖๔

๕. ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๗

๖. ความผิดตามพระราชบัญญัติเขตต์ปลอดภัยในราชการทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๘

๗. ความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ตั้งแต่มาตรา ๔๑ ถึงมาตรา ๔๕

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"