พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙/ปรับปรุง ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์พิจารณาเห็นว่า ธงทุกอย่างตามพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ นั้น บางอย่างควรการ บางอย่างเกินการ แลบางอย่างไม่พอการ ควรที่จะเลิกถอนเสียบ้าง เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมขึ้นบ้าง ผสมกับของเก่าที่คงใช้ได้ เพื่อให้พอเพียงแก่การอันควรใช้ในสมัยนี้
จึ่งมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติธงเสียใหม่ ดังนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ ศก๑ ๑๒๙
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก๒ ๑๓๐ เปนต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ ซึ่งได้ตราไว้ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘ นั้น ให้ยกเลิกเสีย
มาตรา ๔ แต่นี้ต่อไป ธงสำหรับชาติแลธงเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งใช้ในราชการ จงทำใช้ ให้ถูกต้องตามแบบอย่างที่กำหนดไว้ต่อไปนี้
ที่ ๑ ธงมหาราชใหญ่ พื้นสีเหลือง ขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑ ส่วน ที่สูนย์กลางมีรูปครุธพ่าห์สีแดง เปนธงสำหรับพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อนายทหารคลี่เชิญไปในกระบวนใด เปนที่หมายว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยกระบวนนั้น หรือชักขึ้นในที่แห่งใด ก็เปนที่หมายว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าประทับอยู่ในเรือพระที่นั่ง หรือเรือลำหนึ่งลำใด ให้ชักธงมหาราชขึ้นไว้ที่ยอดเสาใหญ่เปนเครื่องหมาย
ที่ ๒ ธงมหาราชน้อย ตอนต้นมีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงมหาราชใหญ่ กว้างไม่เกินกว่า ๖๐ เซ็นติเมตร์ แลมีชายต่อสีขาวแปลงเปนรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้สำหรับชักขึ้นที่เสาใหญ่ในเรือพระที่นั่งหรือเรือลำหนึ่งลำใด เช่นเดียวกันกับธงมหาราชใหญ่ แต่ถ้าเวลาใดให้ชักธงมหาราชน้อยแทนธงมหาราชใหญ่แล้ว ห้ามมิให้เจ้าน่าที่ยิงสลูตถวายคำนับ
ที่ ๓ ธงราชินีใหญ่ พื้นนอกสีแดง ขนาดกว้าง ๑๐ ส่วน ยาว ๑๕ ส่วน ชายตัดเปนรูปอย่างหางนกแซงแซว ลึกเพียงส่วนที่ ๔ แห่งด้านยาว ที่สูนย์กฃางมีรูปครุธพ่าห์สีแดง เหมือนกันกับธงมหาราช ธงนี้เปนเครื่องหมายพระองค์สมเด็จพระราชินี สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่เรือพระที่นั่ง อันสมเด็จพระราชินี ได้เสด็จโดยพระราชอิศริยยศ เปนที่หมายให้ปรากฏว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น
ที่ ๔ ธงราชินีน้อย มีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงมหาราชน้อย ต่างกันแต่สีชายธงเปนสีแดง ธงนี้สำหรับใช้แทนธงราชินีใหญ่ในขณะที่โปรดเกล้าฯ มิให้มีการยิงสลูตคำนับ
ที่ ๕ ธงเยาวราชใหญ่ พื้นนอกสีขาบ กว้าง ๑ ส่วน ยาว ส่วน พื้นในสีเหลืองกว้างยาวกึ่งส่วนของพื้นนอก ธงนี้เปนเครื่องหมายในพระองค์ สมเด็จพระเยาวราช สำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ ในเรือพระที่นั่ง หรือเรือลำหนึ่งลำใด ซึ่งสมเด็จพระเยาวราช เสด็จโดยพระอิศริยยศ เปนที่หมายปรากฏว่า ได้เสด็จอยู่ในเรือลำนั้น
ที่ ๖ ธงเยาวราชน้อย ตอนต้นมีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงเยาวราชใหญ่ กว้างไม่เกินกว่า ๖๐ เซ็นติเมตร์ แลมีชายต่อสีขาวแปลงเปนรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียวส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้สำหรับใช้แทนธงเยาวราชใหญ่ ในขณะที่โปรดเกล้าฯ มิให้มีการยิงสลูตถวายคำนับ
ที่ ๗ ธงสำหรับพระองค์พระวรชายาแห่งพระเยาวราช มีลักษณแลสัณฐานเหมือนกันกับธงเยาวราชใหญ่น้อย เว้นแต่ธงใหญ่พื้นนอกต้องมีขนาดแลสัณฐานตัดชายเป็นแฉกเหมือนกันกับธงราชินีใหญ่ แลธงน้อยเปลี่ยนชายสีแดงเหมือนกันกับธงราชินีน้อย การใช้ธงทั้งสองนี้ ให้เปนไปในวิธีเดียวกันกับการใช้ธงเยาวราชใหญ่น้อยนั้นทุกประการ
ที่ ๘ ธงราชวงษ์ใหญ่ พื้นสีขาบขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑ ส่วน ที่สูนย์กลางมีวงกลมสีเหลือง เส้นตัดสูนย์กลางของวงกลมนั้น มีขนาดเท่ากับกึ่งส่วนกว้างของธง ภายในวงกลมมีรูครุธพ่าห์สีแดง ธงนี้สำหรับสำหรับชักขึ้นบนเสาใหญ่ ในเรือลำหนึ่งลำใด เปนเครื่องหมายให้ปรากฏว่า พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่าในรัชกาลใดๆ เสด็จในเรือนั้นโดยพระอิสริยยศ
ที่ ๙ ธงราชวงษ์น้อย ตอนต้นมีลักษณแลสัณฐานเหมือนกับธงราชวงษ์ใหญ่ กว้างไม่เกินกว่า ๖๐ เซ็นติเมตร์ แลมีชายต่อสีขาวแปลงเปนรูปธงยาวเรียวปลาย รวมทั้งธงมีขนาดกว้างข้างต้น ๑ ส่วน ข้างปลายกึ่งส่วน ยาว ๑๔ ส่วน ชายตัดเปนแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึกเพียวส่วนที่ ๒ แห่งด้านยาว ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชวงษ์ใหญ่เมื่อใด ห้ามมิให้เจ้าน่าที่ยิงสลูตถวายคำนับ
ที่ ๑๐ ธงสำหรับพระองค์พระราชวงษ์ฝ่ายใน คือ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่าในรัชกาลใดๆ มีลักษณแลสัณฐานเหมือนกับธงราชวงษ์ใหญ่น้อย เว้นแต่ธงใหญ่พื้นนอกต้องมีขนาดแลสัณฐานตัดชายเป็นแฉกเหมือนกันกับธงราชินีใหญ่ แลธงน้อยเปลี่ยนชายสีแดงเหมือนกันกับธงราชินีน้อย การใช้ธงทั้งสองนี้ ให้เปนไปในวิธีเดียวกันกับการใช้ธงราชวงษ์ใหญ่น้อยนั้นทุกประการ
ที่ ๑๑ ธงราชการ สีแดง กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักที่ในเรือหลวงทั้งปวง กับทั้งใช้ชักที่บรรดาสถานที่ราชการต่างๆ
ที่ ๑๒ ธงทหารเรือ เหมือนกับธงราชการ แต่ที่มุมบนข้างหน้าช้างมีรูปสมอไขว้กับจักร ข้างบนมีมหามงกุฎสีเหลือง สำหรับใช้ชักที่ท้านเรือแลสถานที่ราชการต่างๆ เปนที่หมายว่าเรือแลสถานที่นั้นๆ ขึ้นอยู่ในกระทรวงทหารเรือ
ที่ ๑๓ ธงเสนาบดี พื้นสีขาบ กลางมีรูปสมอไขว้กับจักร ข้างบนมีมหามงกุฎสีเหลือง ธงนี้เปนเครื่องหมายสำหรับตัวเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ สำหรับใช้ชักขึ้นไว้ ณ ที่ทำการของเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ แลใช้ชักขึ้นที่ยอดเสาใหญ่ในเรือ เปนเครื่องหมายว่า เสนาบดีกระทรวงทหารเรือได้อยู่ในเรือลำนั้น
อนึ่งในเวลาที่ชักธงมหาราชใหญ่หรือธงราชินีใหญ่ขึ้นที่เสาใหญ่เรือลำใด ให้ชักธงเสนาบดีนี้ขึ้นที่เสาน่าเรือลำนั้นด้วยเสมอไป
ที่ ๑๔ ธงฉาน พื้นสีขาบ กลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักขึ้นที่น่าเรือหลวงทั้งปวงซึ่งเปนเรือพระที่นั่งหรือเรือรบในขณะที่อยู่ในราชการ แลถ้าธงนี้ชักขึ้นที่ปลายพรวนเสาน่าเรือลำใด เปนเครื่องหมายว่า เรือนั้นเปนเรือยามประจำอ่าว
อนึ่ง ธงนี้ใช้เปนธงประจำกองสำหรับกองทหารเรือในเวลาขึ้นบก
ที่ ๑๕ ธงหมายยศตำแหน่งจอมพลเรือนั้น เหมือนกับธงฉาน แต่ข้างหน้าช้างมีรูปสมอไขว้ ๒ ตัว กับมหามงกุฎสีเหลือง ถ้าใช้ในเรือใหญ่ให้ชักขึ้นที่เสาใหญ่
ที่ ๑๖ ธงนายพลเรือ เหมือนกับธงฉาน เปนเครื่องหมายตำแหน่งยศนายพลเรือเอก ถ้าใช้ในเรือให้ชักขึ้นที่เสาใหญ่ ถ้าแลธงนี้มีรูปจักรสีขาวอยู่ที่มุมบนข้างหน้าช้าง เปนธงหมายยศตำแหน่งนายพลเรือโท ถ้ามีรูปจักรสีขาวอยู่ทั้งมุมข้างบนแลข้างล่างหน้าช้าง ๒ จักร เปนธงหมายตำแหน่งยศนายพลเรือตรี ธงนายพลเรือโท ถ้าใช้ในเรือให้ชักขึ้นที่เสาน่า ส่วนนายพลเรือตรีนั้น ถ้าเปนเรือ ๓ เสาให้ชักขึ้นที่เสาหลัง ถ้าเปนเรือ ๒ เสาให้ชักขึ้นที่เสาน่า
ธงฉานตัดชายเปนแฉกอย่างหางนกแซงแซว เปนเครื่องหมายตำแหน่งยศนายพลเรือจัตวา ถ้าใช้ในเรือให้ชักขึ้นบนเสาหลัง
ที่ ๑๗ ธงนายเรือ รูปธงหางจรเข้ ขนาดกว้างต้น ๑๘ เซ็นติเมตร์ เรียวปลายแหลม ยาว ๖ มิเตอร์ ส่วนหนึ่งข้างต้นพื้นสีแดง สองส่วนข้างพื้นปลายสีขาบ สำหรับชักขึ้นเสา เปนที่หมายเฉภาะนายเรือ
ที่ ๑๘ ธงผู้ใหญ่ ต้นกว้าง ๓๖ เซ็นติเมตร์ ยาว ๗๕ เซ็นติเมตร์ เรียวปลายแหลม ส่วนหนึ่งข้างต้นพื้นสีขาบ สองส่วนข้างปลายพื้นสีขาว มีจักรสีขาวอยู่กลางพื้นสีขาบ ชักขึ้นบนเสาหลังเรือลำใด เปนเครื่องหมายว่านายทหารผู้ใหญ่ในกระบวนเรืออยู่ในเรือลำนั้น เว้นไว้แต่ว่านายทหารผู้ใหญ่นั้นเปนนายพล จึงให้ใช้ธงนายพลตามตำแหน่งยศ
ที่ ๑๙ ธงชาติเปนพื้นสีแดง กลางเปนรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หน้าหันเข้าข้างเสา สำหรับเปนธงราชการ[2]
ที่ ๒๐ ธงค้าขายรูปสี่เหลี่ยมพื้นแดง มีขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑๑๒ ส่วน มีแถบขาว ๒ ผืน กว้าง ๑๖ ของส่วนกว้างของธง ทาบภายในติดตามยาว ห่างจากขอบล่างแลบนของธง ๑๖ ของส่วนกว้างของธง[3]
ที่ ๒๐ ธงนำร่อง เหมือนกับธงค้าขาย แต่มีแถบขาวโดยรอบเปนเครื่องหมายตำแหน่งพนักงานนำร่อง ถ้าเรือลำใดต้องการนำร่องให้ชักธงนี้ขึ้นบนเสาน่าเปนสัญญา[4]
มาตรา ๕ ข้าทูลลอองธุลีพระบาท บรรดาที่มีตำแหน่งน่าที่ราชการอันหนึ่งอันใดจะใช้ธงเปนที่หมายตำแหน่งน่าที่ให้ปรากฏ ให้ใช้ธงราชการ นั้นเปนเครื่องหมาย แต่ต้องเติมอย่างหนึ่งอย่างใดลงไว้ที่มุมธงข้างบนข้างหน้าช้างเปนสำคัญ เจ้าพนักงานกระทรวงใดกรมใดจะใช้เครื่องหมายเปนอย่างใด ต้องแจ้งความให้กระทรวงซึ่งเปนเจ้าน่าที่รักษาพระราชบัญญัติธงนี้ทราบ เพื่อนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต แลเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงให้เปนธงที่ใช้ได้ตามกฎหมาย แลให้เจ้าพนักงานผู้รักษาพระราชบัญญัติธงนี้จดลงทะเบียนไว้เปนสำคัญ
มาตรา ๖ ธงเครื่องหมายอย่างอื่นอันมิได้บ่งกล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้นั้น ถ้าหากว่าเปนธงที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชนุญาตโดยเฉภาะให้ใช้ในราชการได้แล้ว ก็ให้ถือว่าเปนธงที่ชอบด้วยกฎหมาย แลให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น แจ้งให้เจ้ากระทรวงผู้รักษาพระราชบัญญัติธงนี้ทราบเพื่อลงทะเบียนไว้เปนสำคัญ
มาตรา ๗ พระราชบัญญัตินี้ ให้กระทรวงทหารเรือเปนเจ้าน่าที่บังคับให้เปนไปตามพระราชกำหนดจงทุกประการ แลให้เจ้าน่าที่ทุกกระทรวงทุกกรมผู้ซึ่งจะต้องใช้ธงต่างๆ ตามน่าปฎิบัติการให้เปนไปตามพระราชบัญญัตินี้ อย่าให้ทำนอกเหนือเหลือขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เปนอันขาด๚
ประกาศมา ณ วันที่ ๒ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เปนวันที่ ๑๑๒ ในรัชกาลปัตยุบันนี้
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗/หน้า ๑๗๖ - ๑๘๕/๑๒ มีนาคม ๑๒๙.
- ↑ มาตรา ๔ ที่ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
- ↑ มาตรา ๔ ที่ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
- ↑ มาตรา ๔ ที่ ๒๑ เพิ่มโดยประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"