พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช ๒๔๘๕/๓ มีนาคม ๒๕๕๑/หมวด ๓

จาก วิกิซอร์ซ


หมวด ๓
ทุนและเงินสำรอง[1]


มาตรา ๑๒[2] ให้กำหนดทุนประเดิมของ ธปท. เป็นจำนวนยี่สิบล้านบาท

การเพิ่มหรือลดทุนของ ธปท. ให้กระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

มาตรา ๑๓[3] ให้เงินสำรองของ ธปท. ประกอบด้วย

(๑) เงินสำรองธรรมดา ซึ่งตั้งไว้เผื่อขาดทุน

(๒) เงินสำรองอันเกิดจากการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สิน

(๓) เงินสำรองประเภทอื่นเพื่อความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะ ตามที่คณะกรรมการ ธปท. จะตั้งไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรี

มาตรา ๑๔[4] กำไรสุทธิของ ธปท. ในแต่ละปี เมื่อได้หักผลขาดทุนสะสมคงเหลือ หากมีแล้วให้กันเงินไว้สำหรับรายการดังต่อไปนี้ตามลำดับ

(๑) เงินสำรองธรรมดาเป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้า

(๒) เงินสำรองประเภทอื่นตามจำนวนที่คณะกรรมการ ธปท. กำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี

เมื่อ ธปท. ได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วหากมีเงินคงเหลืออีก ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

มาตรา ๑๕[5] หากผลการดำเนินงานของ ธปท. ขาดทุนในปีใด ให้นำเงินสำรองธรรมดาชดเชยผลขาดทุนนั้น

มาตรา ๑๖[6] ในการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สินของ ธปท. ให้นำกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการตีราคาดังกล่าวสะสมเข้าหรือหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา ๑๓ (๒)


เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. หมวด ๓ ทุนและเงินสำรอง มาตรา ๑๒ ถึง มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  2. มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  3. มาตรา ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  4. มาตรา ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  5. มาตรา ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
  6. มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑



ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"