พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นฯ พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจําเป็นหรือซ้ําซ้อนกับกฎหมายอื่นเป็นการเพิ่มเติม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจําเป็นหรือซ้ําซ้อนกับกฎหมายอื่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐”
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ยกเลิกกฎหมายตามที่ระบุในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
- ผู้รับสนองพระราชโองการ
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- นายกรัฐมนตรี
๑. พระราชบัญญัติปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช ๒๔๘๓
๒. พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. ๒๕๑๔
๓. พระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก (ฉบุับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙
๔. พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๒๒
๕. พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๔
หมายเหตุ
[แก้ไข]เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจําเป็นหรือซ้ําซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. ๒๕๕๘ แต่เนื่องจากปรากฏว่ายังมีกฎหมายบางฉบับที่หมดความจําเป็นและไม่มีการใช้บังคับในสภาวการณ์ปัจจุบัน หรือมีความซ้ําซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ตราขึ้นในภายหลัง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรยกเลิกกฎหมายที่หมดความจําเป็นหรือซ้ําซ้อนกับกฎหมายอื่นเพิ่มเติม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เชิงอรรถ
[แก้ไข]- ↑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๓๔/ตอน ๖๑ ก/หน้า ๑/๘ มิถุนายน ๒๕๖๐
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"