พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. ๒๕๕๘

จาก วิกิซอร์ซ
แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
พระราชบัญญัติ
ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น
พ.ศ. ๒๕๕๘[1]

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรให้ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังต่อไปนี้

มาตรา ๑

พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. ๒๕๕๘”

มาตรา ๒

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓

ให้ยกเลิกกฎหมายตามที่ระบุในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

บัญชีท้าย
พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น
พ.ศ. ๒๕๕๘

๑. พระราชบัญญัติควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจำพวกในภาวะขับขัน พุทธศักราช ๒๔๘๔

๒. พระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก พ.ศ. ๒๕๐๓

๓. พระราชบัญญัติส่งเสริมสินค้าขาออก (ฉบุับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙

๔. พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. ๒๕๐๔

๕. พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙

๖. พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑

๗. พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำบางอย่างในการขนส่งสินค้าออกทางเรือ พ.ศ. ๒๕๑๑

๘. พระราชบัญญัติสถานสินเชื่อท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๑๘

๙. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๕ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๕

๑๐. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๖ ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๕

๑๑. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๕๒ ลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๕

หมายเหตุ[แก้ไข]

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี คือ โดยที่กฎหมายหลายฉบับตราขึ้นเพื่อใช้บังคับเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามและการฟื้นฟูประเทศหลังภาวะสงคราม ขณะที่กฎหมายหลายฉบับหมดความจ้าเป็นและไม่มีการใช้บังคับในสภาวการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายอื่นที่ตราขึ้นใช้บังคับในภายหลังมีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมากกว่า สมควรยกเลิกกฎหมายที่หมดความจ้าเป็นหรือที่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นเหล่านี้ จึงจ้าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เชิงอรรถ[แก้ไข]

  1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๓๒/ตอน ๔๗ ก/หน้า ๑/๒ มิถุนายน ๒๕๕๘

ขึ้น

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"