ข้ามไปเนื้อหา

พระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482

จาก วิกิซอร์ซ
ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
พระราชบัญญัติ
เครื่องหมายราชการ
พ.ศ. ๒๔๘๒

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
  • อาทิตย์ทิพอาภา
  • พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ณวันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
เป็นปีที่ ๖ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรให้มีกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายราชการ

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตราพระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒”

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตราเครื่องหมายราชการ ในพระราชบัญญัตินี้ หมายถึง บรรดาเครื่องหมายซึ่งทางราชการจัดทำขึ้นและประกาศตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตราเครื่องหมายราชการต้องเป็นเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นไว้ในราชการ มีลักษณะบ่งฉะเพาะและอาจเห็นได้ว่า เป็นเครื่องหมายของหน่วยราชการหน่วยใดหน่วยหนึ่ง

มาตราให้นายกรัฐมนตรีประกาศภาพเครื่องหมายราชการที่กำหนดขึ้นตามความในมาตราก่อนในราชกิจจานุเบกษา

มาตราห้ามมิให้บุคคลใดใช้เครื่องหมายราชการ เว้นแต่หน่วยราชการที่กำหนดเครื่องหมายนั้นจะได้อนุญาต

มาตราห้ามมิให้ผู้ใดปลอมหรือเลียนเครื่องหมายราชการ ไม่ว่าจะทำเปนสีใด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ หรือทำให้ปรากฏที่วัตถุหรือสินค้าใด ๆ ก็ตาม

มาตราผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตราเครื่องหมายหรือสังหาริมทรัพย์ที่มีเครื่องหมายฝ่าฝืนต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของ ๆ ผู้กระทำผิดหรือมิใช่ และไม่ให้ถือเอาเหตุที่คำพิพากษาว่า ผู้หนึ่งผู้ใดกระทำความผิดในคดีนั้นหรือไม่ผิด เป็นประมาณในการที่จะสั่งให้ริบทรัพย์ที่ว่ามานี้

มาตรา๑๐ให้นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

กฎนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

บรรณานุกรม

[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"