กฎหมายไทยฯ/เล่ม 1/เรื่อง 22

จาก วิกิซอร์ซ
พระราชบัญญัติ
เคาน์ซิลออฟสเตด คือ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน

ศุภมัศดุ จุลศักราช ๑๒๓๖ โสณสังวัจฉรบุพพาสาฬหมาศศุกปักษ์ปฏิบท รวิวารปริจเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัว สมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงษวรุตมพงษ์บริพัตร วรชัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตรพระจุลจอมเกล้า เจ้าแผ่นดินสยาม เปนพระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชวงษซึ่งประดิษฐาน แลดำรงกรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยาณประเทศบางกอก  เปนพระบรมราชธานีมหานครใหญ่ ในแผ่นดินสยามเหนือใต้ แลเปนพระบรมราชาธิราชในเมืองใกล้เคียง คือ ลาวเฉียง ลาวกาว มลายู กะเหรี่ยง และอื่นๆ ทรงพระราชดำริห์ว่าได้ทรงประกาศตั้งเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตด ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ไว้แต่วันศุกร เดือนหกแรมแปดค่ำ ปีจอศกเพื่อจะได้ช่วยคิดราชการแผ่นดิน ซึ่งจะให้มีคุณมีประโยชน ทำนุบำรุงพระนครทั่วพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เยนเปนศุข แต่ยังหาได้มีพระราชบัญญัติสำรับตัว ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินซึ่งจะประพฤติให้ถูกต้องตามแบบอย่าง ที่ปฤกษาราชการไม่ อนึ่งปรีวีเคาน์ซิล คือที่ปฤกษาราชการในพระองค์นั้น ก็จะโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นตามซึ่งมีมาในประกาศฉบับก่อนนั้น ก็ควรจะมีพระราชบัญญัติกฎหมายบังคับสำรับด้วย จึ่งทรงร่างข้อพระราชบัญญัติ แล้วปฤกษาด้วยพระบรมวงษานุวงษ ท่านเสนาบดี และที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ได้แก้ไขเพิ่มเติมตกลงกัน จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชบัญญัติ สำรับที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน แลที่ปฤกษาราชการในพระองค์ไว้เปนแบบฉบับสำรับแผ่นดินสืบไป

พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัว จะทรงตั้งราชตระกูล แลข้าราชการซึ่งมีตระกูล แลผู้มีสติปัญญาว่องไวเฉียบแหลมรอบรู้ในราชกิจการต่างๆ ที่มีชื่อเสียงปรากฏ เปนที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ซึ่งเรยกตามภาษาอังกฤษว่า เคาน์ซิลลอร์ออฟสเตด โดยกำหนดตั้งแต่ ๑๐ นายขึ้นไป ไม่ให้เกินยี่สิบนายออกไป ถ้าที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งในพวกที่ปฤกษาหมู่เดียวกัน ไม่เปนที่ชอบใจ เพราะทำการผิด ไม่สมควรเปนที่รังเกียจด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง จะใคร่คัดค้านผู้นั้นออกเสียจากที่ปฤกษา ก็ให้ผู้ที่มีความรังเกียจนั้นชุมนุมกันลงชื่อ ตั้งแต่หกนายขึ้นไป จดหมายข้อความที่เคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดนั้นทำผิดอย่างไร เปนที่รังเกียจด้วยเหตุไร นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ถ้าพระราชดำริห์ทรงเหนชอบด้วย จึ่งจะคัดผู้นั้นออกเสีย จากที่ปฤกษาได้

ท่านเสนาบดีซึ่งมีอำนาจอยู่ในตำแหน่ง มีราชการที่เกี่ยวข้อง ฤามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มาประชุมปฤกษาในที่ประชุมเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดก็มาได้ แต่มิได้นับเข้าในพวกที่ปฤกษา ๒๐ นาย ซึ่งพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งไว้ อนึ่งพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเลือกพระบรมวงษานุวงษต่างกรมตั้งไว้ในที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน นอกจากจำพวกที่ปฤกษา ๒๐ นายนั้นได้อีก ๖ พระองค์ พระบรมวงษานุวงษ ๖ พระองค์นั้นก็มีอำนาจจะเข้าไปนั่งประชุมปฤกษาในที่ประชุมปฤกษาราชการแผ่นดินได้ แลพระบรมวงษานุวงษซึ่งทรงตั้งไว้นี้ ถ้าในหมู่เคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดที่ปฤกษาราชการแผ่นดินมีความรังเกียจ ชุมนุมกันลงชื่อจดหมายกล่าวโทษกราบบังคมทูล ตั้งแต่ ๖ นายขึ้นไป ถ้าพระเจ้าแผ่นดินทรงเหนชอบด้วย ก็จะต้องห้ามพระบรมวงษานุวงษซึ่งเปนที่รังเกียจนั้น ไม่ให้เข้าไปนั่งในที่ประชุมที่ปฤกษาต่อไป

ข้าราชการผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงพระกรุณาโปรดยกย่องตั้งไว้ในที่ปฤกษาราชการแผ่นดินแล้ว ท่านผู้นั้นมียศบันดาศักดิ์ควรนับว่าเปนที่สองรองท่านเสนาบดี ท่านผู้นั้นได้ทำราชการเรียบร้อยดี จะพระราชทานเงินปีไม่ให้ต่ำกว่าปีละ ๔๕ ชั่ง แม้นถึงมิได้คงอยู่ในตำแหน่งราชการก็ดี ก็จะพระราชทานเปนส่วนเบี้ยเลี้ยงเสมอไปจนตลอดชีวิตร เพื่อเปนเครื่องประคับประคองรักษายศที่ได้ทรงยกย่องเปนที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน

ที่ปฤกษาราชการแผ่นดินทุกๆ นาย ต้องกระทำสัตยานุสัตยสาบาลตัวถวายตามคำสาบาล สำรับที่ปฤกษาราชการแผ่นดินก่อน แล้วจึ่งจะนับว่าเปนที่ปฤกษาราชการแผ่นดินได้ ถ้าผู้ใดยังไม่ได้สาบาลตัวแล้ว ผู้นั้นจะเข้านั่งในที่ปฤกษาราชการแผ่นดินไม่ได้

พระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินเปนเปรสิเดนหัวน่าปธานาธิบดี เปนที่แล้วที่จบ เปนผู้บำรุงในที่ปฤกษาราชการแผ่นดินจะเสดจมาในที่ประชุม ฤาจะไม่เสดจมาก็ได้ตามพระราชอัทธยาไศรย

เคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดที่ปฤกษาราชการแผ่นดินต้องเลือกผู้หนึ่งผู้ใดใน ๒๐ นายนั้นยกให้เปนไวซ์เปรสิเดน คือเปนผู้ระงับแลบังคับสิทธิ์ขาดในการปฤกษาราชการแผ่นดินนายหนึ่ง เพื่อไว้เปนที่สองฉลองพระองค์ พระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินในเวลาซึ่งไม่ได้เสดจออกปฤกษาราชการแผ่นดินทุกคราวประชุม แลตำแหน่งไวซ์เปสิเดนนั้น จะเลือกจัดขึ้นไว้ปีละนายหนึ่ง ฤาจะเลือกซ้ำผู้ที่ได้เปนในปีก่อนนั้น ให้ว่าการไปอีกก็ได้ แต่เมื่อพร้อมใจกันเลือก เหนว่าท่านผู้ใดควรเปนไวซ์เปสิเดนได้ ก็ให้ลงชื่อกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทก่อน ถ้าทรงพระราชดำริห์เหนชอบด้วย ท่านผู้นั้นจึงเปนตำแหน่งไวซ์เปสิเดนได้ ถ้าผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งไวเปนไวซ์เปรสิเดนแล้ว มีความผิดชอบไม่เปนที่พระราชหฤไทย ถึงยังไม่ครบกำหนดปี จะโปรดให้ออกจากเสียที่ไวซ์เปรสิเดนเวลาใดก็ได้

หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/166หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/167หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/168หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/169หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/170หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/171หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/172หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/173หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/174หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/175หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/176หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/177หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/178หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/179จะให้ได้ถึงความศุขความเจริญในภพนี้แลภพน่าทางนั้นขออย่าให้ข้าพระพุทธเจ้าได้ประสบภบเลย ๚ะ