ข้ามไปเนื้อหา

รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482

จาก วิกิซอร์ซ
วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๔๘๒
เล่ม ๕๖ หน้า ๙๘๐
ราชกิจจานุเบกษา

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศ
พุทธศักราช ๒๔๘๒

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ณวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒
เป็นปีที่ ๖ ในรัชชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรเรียกนามประเทศให้ต้องตามชื่อ เชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน

จึ่งมีพระบรมราชโองการให้ตรารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศ ขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้

มาตรารัฐธรรมนูญนี้ ให้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช ๒๔๘๒"

มาตราให้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรานามประเทศนี้ ให้เรียกว่า ประเทศไทย และบทแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใดซึ่งใช้คำว่า สยาม ให้ใช้คำว่า ไทย แทน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"