รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538

จาก วิกิซอร์ซ
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
ตราพระบรมราชโองการ
ตราพระบรมราชโองการ
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
  • พุทธศักราช ๒๕๓๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
  • ตราไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘
  • เป็นปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา  รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘"

มาตรา  รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา  ให้ยกเลิกหมวด ๓ ถึงหมวด ๑๑ มาตรา ๒๔ ถึงมาตรา ๒๑๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๓๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๓๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๓๕ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

สารบัญหมวดที่แก้ไขเพิ่มเติม
บทเฉพาะกาล

มาตรา  ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าจะครบวาระสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

มาตรา  สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐหรือหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือเป็นคู่สัญญากับรัฐหรือหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ถ้าได้รับสัมปทานหรือเป็นคู่สัญญาอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้คงถือไว้ซึ่งสัมปทานหรือเป็นคู่สัญญานั้นได้ต่อไปจนกว่าจะครบอายุสัมปทาน หรือครบอายุสัญญาหรือจนกว่าสมาชิกภาพจะได้สิ้นสุดลง

มาตรา  ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้

บทบัญญัติมาตรา ๑๐๕ มาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๐๕ (๒) ให้ใช้บังคับกับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่จะพึงมีขึ้นภายหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแทนตำแหน่งที่ว่างก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามวรรคสอง ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

มาตรา  ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๑๕ วรรคสองและวรรคสาม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมหน้า:รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๓๘.pdf/69หน้า:รัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๓๘.pdf/70

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ คือ โดยที่ในขณะนี้มีการเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในประเด็นต่าง ๆ หลายประเด็น และได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนหนึ่งเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นละฉบับ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้เกิดความขัดแย้งในบทบัญญัติต่างๆ ที่มิได้แก้ไขเพิ่มเติม และโดยเหตุที่ในปัจจุบันมีผู้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ ที่สมควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงเป็นการสมควรที่จะได้ดำเนินการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใหม่ในส่วนสำคัญๆ ทั้งฉบับให้เกิดความสมานฉันท์ เป็นการแสดงถึงความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ ดังกระแสพระราชดำรัสซึ่งได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยทั้งชาติ จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ขึ้น

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"