ข้ามไปเนื้อหา

ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 4/แผ่นที่ 3

จาก วิกิซอร์ซ
สารบัญ
ราชกิจจานุเบกษา
  1. ประกาษมาที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์พระราชวังแลพระที่นั่งที่เมืองลพบุรี แลทรงอนุญาตให้ผู้ซึ่งตามเสด็จไปเมืองลพบุรีสร้างที่อยู่แลที่ขังน้ำ แลพระราชทานนามวัด แลให้คงเรียกชื่อเมืองลพบุรี สระบุรี พรหมบุรี อินทรบุรี แลชื่อเมืองพรหมบุรี อินทร์บุรี ตามเดิม ลงวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมเมีย จ.ศ. 1219 (31 มีนาคม พ.ศ. 2400)
  2. ประกาศมาที่ 6 ตั้งเจ้าภาษีน้ำตาลทราย 3 นาย ลงวันวันพฤหัสบดี แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ปีมเมีย จ.ศ. 1219 (1 เมษายน พ.ศ. 2400)
  3. แจ้งความมาที่ 4 บอกเมืองสมุทปราการ เรื่องพวกสลัด
  4. เตือนสะติมาที่ 2 เตือนผู้ใช้คำผิด
  5. แจ้งความแนะทางมาที่ 4
    1. ขุนรุดอักษรใช้หนี้แทนอัญชัญ
    2. ต่อว่ามาเรื่องคำว่าทะแกล้วทหาร
    3. ตั้งตำแหน่งข้าราชการกรมมหาดเล็ก 1 หัวเมือง 3
    4. เกิดเพลิงริมฉางเข้าหลวงในพระบรมมหาราชวัง
    5. น้ำฝนปักษข้างแรมเดือนห้า

เล่ม ๑ แผ่นที่ ๓

คือหนังสือประกาศการเล็กน้อยต่าง ๆ แต่ผู้ครองแผ่นดินสยามมาในวันอังคาร เดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะเมียยังเปนนพ เปนปีที่ ๗ ในราชกาลประจุบันนี้ ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในกรุงนอกกรุงแลราษฎรทั้งปวงทราบทั่วกัน แลทำตาม ประพฤติตาม รู้ความตามโดยสมควร เพื่อจะมิให้ทำแลประพฤติผิดพระราชดำริห์พระราชประสงค์ แลเล่าฦๅถือการแลเข้าใจความผิด ๆ ไป

ที่ในพระนารายน์นิเวศวังเมืองลพบุรีนั้น ได้มีพระบรมราชโองการให้พระยาพิไชยสงคราม ๑ พระยาวิชิตนรงค์ ๑ พระนรินทรเสนี ๑ ขึ้นไปเปนแม่กองทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นไว้ เพื่อจะได้ให้เปนที่ประทับในกาลอันควร เปนที่สบาย แลจะให้เปนพระเกียรติยศซึ่งได้เชิดชูพระเกียรติยศพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ชื่อพระที่นั่งเก่าในพระราชวังนั้น ค้นได้ตามหนังสือพระราชพงษาวดารโบราณสองฉบับ แลโคลงสรเสริญพระเกียรติแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายน์มหาราชฉบับหนึ่ง ได้ความเปนแน่ว่า พระที่นั่งหลังกลางซึ่งมีท้องพระโรงออกมาจากผนังสี่ด้านดังพระมณฑปนั้นชื่อว่าพระที่นั่งดุสิดสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งซึ่งอยู่ข้างทิศใต้พระที่นั่งดุสิดสวรรค์ธัญญมหาปราสาทมีพื้นดินต่ำกำแพงคั่นอยู่นั่นชื่อพระที่นั่งสุธาไอสวรริย์ แลพระที่นั่งยาวด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิดสวรรค์ธัญญมหาปราสาทมีมุขเดจออกแจ้งนั้นชื่อพระที่นั่งจันทรพิศาลเปนแน่แล้ว ให้ข้าราชการทั้งปวงเรียกชื่อแลใช้บาทหมายตามชื่อทั้งสามนั้นเถิด ๚ะ

อนึ่ง พระที่นั่งซึ่งไปสร้างลงใหม่ในรหว่างพระที่นั่งดุสิดสวรรค์ธัญญมหาปราสาทแลพระที่นั่งจันทรพิศาลนั้น องค์ใหญ่สูงข้างตวันตกพระราชทานนามว่าพระที่นั่งพิมานมกุฎ องค์ตวันออกเปนท้องพระโรงนั้นพระราชทานนามว่าพระที่นั่งวิสุทธวินิจฉัย พระที่นั่งย่อมสององค์ต่อออกไปจากพระที่นั่งวิสุทธวินิจฉัยด้านตวันออกนั้น องค์ข้างใต้พระราชทานนามว่าพระที่นั่งไชยสาตรากร องค์ข้างเหนือพระราชทานนามว่าพระที่นั่งอักษรสาตราคม ให้นายงานแลกรมการผู้เขียนใบบอกรายงานแลข้าราชการอื่น ๆ ทุกตำแหน่งใช้ลงในใบบอกแลท้องตราแลบาทหมายทั้งปวงดันนามพระราชทานนี้เทอญ ๚

อนึ่ง เมื่อทรงพระราชดำริห์ให้ไปจับการปฏิสังขรณ์พระนารายน์ราชนิเวศวังเมืองลพบุรีนั้น ทรงพระราชวิตกนัก ด้วยกลัวจะไม่มีน้ำใช้ในรดูแล้ง ได้มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้นายงานคิดอ่านขุดสระเก่าในพระราชวังซึ่งดินขึ้นเสียแล้วแต่ก่อนนั้นลองดู ขุดฦกลงไปได้สี่วาเสศ ได้น้ำไหลซึมออกมามากเสมอ จะวิดไม่แห้งเลย น้ำก็ใสสอาดจืดสนิทกินแลอาบได้ ถึงในกำลังรดูแล้งนี้น้ำก็ไม่แห้ง เพราะฉนั้น ให้ท่านทั้งปวงทราบเถิด ถ้าแม้นเจ้านายใด ๆ มีข้าในกรมจะอยู่ได้ที่เมืองลพบุรี แลข้าราชการพวกใด ๆ จะมีญาติพี่น้องฤๅบ่าวไพร่จะอยู่ได้ที่เมืองลพบุรี ถ้าเจ้านายแลขุนนางพวกนั้นคิดว่า ถ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประพาษประทับอยู่ที่พระนารายน์ราชนิเวศวังเมืองลพบุรีนาน ๆ แล้ว จะต้องโดยเสด็จพระราชดำเนินไปอยู่ด้วย ถ้าเปนรดูแล้ง กลัวจะหาที่อาไศรยยาก เพราะเรือไปจอดไม่ได้ ก็ให้คิดหาที่ไร่สวนในเมืองลพบุรีเปนที่ของในกรมเจ้านายแลเปนของตัวท่านขุนนางนั้น ๆ เอง แล้วให้ข้าในกรมแลบาวไพร่อยู่รักษาปลูกพลับพลาฤๅตำหนักภักฤๅทำเนียบฤๅเรือนที่พักไว้ในที่นั้น ๆ แลคิดให้ขุดบ่อน้ำไว้ให้ฦก ๔ วา ๕ วา เอาไม้ตีแม่เตาไฟกันพังฝังลงไปทุกชั้น ก็จะได้น้ำใช้ในที่ใกล้ ๆ หลายแห่งหลายตำบลด้วยกันดอก ขอจงมีอุสาห์คิดอ่านเทอญ ๚ อนึ่ง วัดน้อยริมพระนารายน์นิเวศวังข้างใต้ข้างกำแพงริมพระที่นั่งสุทธาอัยสวริยออกไปนั้น คนเปนอันมากเรียกว่าวัดขวิงบ้าง วัดจันทรบ้าง บัดนี้โปรดพระราชทานนามให้เรียกว่าวัดกระวิศราราม มีพระราชประสงค์จะทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นเปนพระอารามน้อยสำหรับพระสงฆ์รามัญจำเริญพระปริต จะตามเสด็จไปจะได้อาไศรยใกล้พระราชสถาน อนึ่ง ชื่อเมืองนั้นว่าลพบุรีเปนแน่ เพราะแปลจากคำว่าเมืองละโว แต่ทุกวันนี้คนชาววัดอวดรู้อวดล้น ๆ ไป อุตริเขียนว่าเมืองนพบุรี แปลว่าเมืองใหม่ ฤๅนพเคราห์ นพคุณ นพรัตน อไร ๆ คิดเหลิงเจิ่งเลิงแมวไป ใคร ๆ อย่าเชื่ออย่าเขียนอย่าเรียกตาม ไห้คงใช้ว่าเมืองลพบุรีทั้งเรียกทั้งเขียนเทอญ ๚ อนึ่ง เมืองสระบุรีนั้น ในพระราชกำหนดกฎหมายมีมาแต่โบราณก็เรียกแลเขียนว่าเมืองสระบุรี แต่เดี๋ยวนี้ไคร่เล่าเปนตัวอุตริอวดรู้บาฬีบาฬ้น มาเรียกบ้างเขียนบ้างว่าเมืองสุระบุรี สุระแปลว่าคกล้าฤๅกล้าอไรกับลาว ไนหลวงก็ไมได้ตั้งได้แปลง ไครเล่าอวดรู้อวดดีมาตัดมาแปลงชื่อบ้านชื่อเมือง ตั้งแต่นี้ไปห้ามอย่าให้ไครเรียกแลเขียนไส่ตีนอุว่าสุระบุรีเลยเปนอันขาด ให้เรียกว่าสระบุรีแลเขียนว่าเมืองสระบุรีอยู่ตามเดิมเทอญ ๚ะ อนึ่ง เมืองพรหมเมืองอินทรสองเมืองนี้แต่ก่อนแม้นในพระราชกำหนดกฎหมายก็เขียนไว้ว่าเมืองพรหมบุรี เมืองอินทรบุรี เหมือนกัน ก็เปนอันถูกต้องอยู่แล้ว ก็มาบัดนี้ไครเล่าเปนเจ้าบทเจ้ากลอนมาอุตริเรียกเมืองพรหมบุรีว่าเมืองพรหมบุรินทร เพื่อจะให้กลอนติดกับเมืองอินทรบุรีเล่าอย่างนั้นไม่ถูกเลย เพราะคำว่าบุรีแปลว่าเมือง คำว่าบุรินทรแปลว่าเจ้าเมือง ผู้ครองเมือง ผู่ว่านั้นโง่นัก ใครอย่าเอาอย่าง คงให้เรียกว่าเมืองพรหมบุรี เมืองอินทรบุรี อยู่ตามเดิม ๚ะ แต่ผู้สำเร็จราชการเมืองพรหมบุรีนั้นมีนามว่าพระพรหมประสาธศิลป ผู้สำเร็จราชการเมืองอินทบุรีนั้นมีนามว่าพระอินทรประสิทธิสร ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งเรียกแลเขียนให้ต้องกันเทอญ ๚ะ ประกาศมาวันพุทธ เดือนห้า แรมสองค่ำ ปีมเมียยังเปนศพ เปนวันที่ ๒๕๑๒ ในรัชกาลประจุบันนี้ ขุนมหาสิทธิโวหารเปนผู้รับสั่ง ๚ะ

น้ำตาลทรายทุกเมืองในพระราชอาณาเขตรแต่ก่อนมีเจ้าภาษีเก็บภาษีอยู่คนเดียว เมื่อปีมโรงอัฐศกนั้นน้ำตาลทรายซื้อขายกันมีราคามากขึ้นกว่าแต่ก่อน สมเด็จเจ้าพระยาบรมพิไชยญาติ นรเนตรนารถราชสุริยวงษ จึ่งกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว ให้ทรงทราบใต้ฝ่าลอองทุลีพระบาทว่า น้ำตาลทรายมีราคาขึ้น โรงน้ำตาลทรายตั้งขึ้นอีกเปนหลายโรง ในงวดปีมเสงนพ เงินภาษีก็จะขึ้นได้อิกมาก เหนว่ามีเจ้าภาษีอยู่คนเดียวนั้น เงินจะมากนัก จะขอรับพระราชทานแยกออกเปนสามเจ้าภาษี ให้เก็บภาษีตามลำน้ำเจ้าพระยาภาษี ๑ เก็บตามหัวเมืองฝ่ายตวันออกภาษี ๑ เก็บตามเมืองฝ่ายตวันตกภาษี ๑ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัศว่า ชอบแล้ว ให้ปฤกษาเสนาบดีให้พร้อมกันก่อน จึ่งจะออกเปนสามเจ้าภาษีได้ ๚ะ สมเด็จเจ้าพระยาจึ่งปฤกษาเสนาบดีเหนพร้อมกันแล้ว จึ่งได้นำคำปฤกษาขึ้นกราบบังคมทูบพระกรุณาอีกครั้งหนึ่ง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งจีนสินเปนที่ขุนพิสุทธสินิภาษีเจ้าภาษี เก็บตามลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่เมืองสมุทปราการ เมืองนครเขื่อนขันธ์ ขึ้นไปจนถึงเมืองพิไชย เมืองสวรรคโลกย์ เมืองกำแพงเพชร ๑๙ หัวเมือง ตั้งจีนเกงหยูเปนขุนภักดีสินยากรเจ้าภาษี เก์บตามหัวเมืองฝ่ายตวันออก คือเมืองฉเชิงเทรา เมืองนครนายก เมืองปาจิณบุรี เมืองพนัศนิคม เมืองชลบุรี เมืองบางลมุง เมืองรยอง เมืองตราษ เมืองจันทบุรี รวมกัน ๙ หัวเมือง เปนเจ้าภาษีหนึ่ง ตั้งจีนเล็กเปนขุนสุนทรสินิพิทักษเจ้าภาษี เก็บตามหัวเมืองฝ่ายตวันตก เมืองสาครบูรี เมืองนครไชยศรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองสมุทสงคราม เมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองปรานบุรี รวมกัน ๘ หัวเมือง เจ้าภาษีทั้งสามคนนี้ขอรับพระราชทานทำสองปี ถึงจะเก็บภาษีขาด ก็ไม่ฟ้องขาด จะส่งเงินให้ครบทั้งสองปี จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยกเดือนอธิกมาศในจำนวนปีมเมียสัมเรทธินี้ให้เดือนหนึ่ง เจ้าภาษีทั้งสามคนนี้ได้รับทำภาษีตั้งแต่ณวันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมเสงนพ ต่อไป ถึงณวันอาทิตย เดือนสิบสอง แรมสิบห้าค่ำ ปีมเมียสัมเรทธิ ก็ครบงดปีหนึ่งแล้ว จะได้ทำต่อไปอีกงวดหนึ่งตั้งแต่วันจันทร เดือนอ้าย ขึ่นค่ำหนึ่ง ปีมเมียสัมเรทธิ ไปจนวันพฤหัศ เดือนสิบสอง แรมสิบห้าค่ำ ปีมแมเอกศก จึ่งครบอีกงวดหนึ่งตามสัญญากราบทูล เงินทั้งสองงวดเท่ากัน เพราะเดือนอธิกมาศได้โปรดเกล้าฯ ยกพระราชทานเสียแล้ว แลตั้งแต่วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมเสงนพ ไปจนพฤหัศ เดือนสิบสอง แรมสิบห้าค่ำ ปีมแมเอกศกนั้น ห้ามมิให้ผู้ใดทำประมูลชิงทำภาษีน้ำตาลทรายเลย ต่อตั้งแต่วันสุกร เดือนอ้าย ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมแมเอกศกไป จึ่งจะมีช่อง ถ้าใครจะประมูลชิงภาษีก็ได้ ฤๅถ้าไม่มีใครยื่นเรื่องราวประมูลชิง เจ้าภาษี ๓ คนจะร้องขาดบ้างก็ได้ แต่ภายในสองปีซึ่งกำหนดไว้แล้วนั้น เจ้าภาษีน้ำตาลทรายทั้ง ๓ คนจะร้องขาดไม่ได้ตามได้สัญญาไว้เรื่องราวแล้ว ประกาศมาณวันพฤหัศ เดือนห้า แรม ๓ ค่ำ ปีมเมียยังเปนนพ เปนวัน ๒๕๑๓ ในราชกาลประจุบันนี้ พระยาวรพงษพิพัทจางวางมหาดเล็กเปนผู้รับสั่ง

พระยามหาอัคนีกร พระยาสมุทบุรานุรักษ บอกขึ้นมาว่า เรือศีศะญวนยาว ๔ วา ๒ ศอก เสาไม้ใผ่ ใบผ้า แล่นเข้ามาถึงเมืองสมุทปราการ จีนซั่วไตก๋งแจ้งว่า จีนฮกเถ้าแก๋อยู่โรงปูนแต่งเรือยาว ๙ วา ๒ ศอกรับจ้างพระยาพิสาลสุภผลลำเลียงเข้าสาร ๕๔ เกวียนออกไปถ่ายขึ้นกำปั่นนอกสันดอน จีนฮกให้เงินตรา ๑๓๐ บาท เงินเหรียน ๑๒ เหรียน ว่าส่งลำเลียงแล้วให้เลยไปซื้อกระทราหอยที่บ้านศิลาเข้ามาด้วย ครั้นเดือน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ใช้ใบเรือออกจากเมืองสมุทปราการถึงรั้วแขวนเวลาเช้า ๓ โมง เรือศีศะญวนยาว ๔ วา ๒ ศอกแล่นเทียบเข้ามาที่เรือจีนซัว ๆ ไม่สำคัญว่าเปนเรือผู้ร้าย ผู้ร้ายประมาณ ๒๕ คน ๒๖ คน ถือปืนบ้าง ถือดาบบ้าง ถือมีดบ้าง ถือตรีบ้าง ทุกคนภากันตรูขึ้นไปบนเรือจีนซัว จีนลูกเรือกลัวโดดน้ำไปบ้าง อ้ายจีนผู้ร้ายแจวเรือของอ้ายผู้ร้ายไปเที่ยวรับเอาขึ้นมาบนเรือ แล้วอ้ายจีนผู้ร้ายจับพวกจีนซัวทั้ง ๑๐ คนใส่ดาดฟ้าขังไว้ข้างน่าเรือ อ้ายจีนผู้ร้ายถือดาบยืนรักษาประตูอยู่ แล้วอ้ายจีนผู้ร้ายเอาเรือของอ้ายจีนผู้ร้ายผูกกับเรือลำเลียงใช้ใบไปถึงเข้าสามร้อยยอด แล่นออกไปฦก ณวันพุทธ เดือนห้า แรมสองค่ำ เวลาบายโมงหนึ่ง อ้ายจีนผู้ร้ายให้พวกจีนซัวลงเรืออ้ายจีนผู้ร้าย อ้ายจีนผู้ร้ายถอนเสาเก็บเชือกเก็บใบขึ้นเสีย แล้วอ้ายจีนผู้ร้ายไห้แจว ๒ เล่มกับเข้าสารเปนเสบียงถัง ๑ ปล่อยให้มา อ้ายจีนผู้ร้ายแล่นเรือตั้งน่าไปข้างตวันออก พวกจีนซัวแจวเรือเข้ามาวันหนึ่งถึงคลองปราน แวะเข้าที่โรงภาษีฝาง ขอไม้ไผ่ทำเสาเพลาใบ เอาผ้าทำใบ แล่นเข้ามา ๒ วัน ณวันเสาร์ เดือนห้า แรมห้าค่ำ ถึงเมืองสมุทปราการ วันอาทิตย เดือนห้า แรมหกค่ำ มีใบบอกเมืองสมุทปราการขึ้นมาถึงกรุง ความในใบบอกนั้น พระยาพิพัธโกษาได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา จึ่งมีพระบรมราชโองการดำรัศสั่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงษว่าที่สมุหพระกระลาโหมให้จัดแจงเรือกำปั่นเปนเรือรบรีบเร่งออกไปติดตามค้นควาหาเรือที่จีนสลัดตีไปได้นั้นในฝั่งทเลตวันตกตวันออกเร็วให้ทัน ด้วยทรงพระพระราชดำริห์เห็นว่า อ้ายจีนผู้ร้ายได้เรือลำนั้นบันทุกเข้าไปถึงห้าสิบสี่เกวียน คงจะแวะเข้าขายเข้าที่แห่งใดแห่งหนึ่งช้าอยู่ ภอจะตามจับได้กระมัง จึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์รับพระบรมราชโองการแล้ว ได้จัดแจงหลวงศรีมหาราชาเจ้ากรม ขุนวิสุทธเดชปลัดกรมอาษาจาม ๒ นาย กับขุนหมื่นแลไพร่หลวงกรมอาษาจาม เปนคนร้อยเสศ ลงเรือกำปั่นศรีรัตนโกสินลำหนึ่ง ให้หลวงชุมพลภักดีผู้ช่วยราชการเมืองชุมพร กับขุนหมื่นแลไพร่เมืองชุมพรสี่สิบสี่คน ลงเรือกำปั่นตระเวนสำหรับเมืองชุมพรอีกลำหนึ่ง เรือทั้งสองลำนั้นพร้อมด้วยเสบียงอาหารปืนใหญ่น้อยกระสุนดินดำเครื่องสาตราวุธ จะได้ล่องจากกรุงเทพฯ ณวันจัน เดือนห้า แรมเจดค่ำ ตัวจีนที่เรือต้องสลัดตีบางคนที่จะจำตัวจำหน้าอ้ายจีนสลัดได้ ก็ให้ลงเรือสองลำนั้นไปด้วย

ไคร ๆ คือพระภิกษุไนสงฆ์ ฤๅนักปราช แลคนไช้หนังสือ แลข้าราชการผู้จะกราบทูล จงทราบแน่เถิดว่า คำเรียกซากผีว่าสพนั้นถูกต้องแล้ว ให้ไช้เขียนหนังสือแลกราบทูลว่าสพอยู่นั้นแล ไครอย่าอุตริคิดตามชาววัดคิดล้นไปเขียนบ้างกราบทูลบ้างว่าอสุภ อสภ อาสภ อย่างใดอย่างหนึ่งเลย ถ้าใครขืนว่าอสภ อาสภ ดังนั้น ในหลวงทรงแช่งไว้ว่า ให้ศีศะคนนั้นล้านเหมือนหลวงตาในวันโกนเปนนิจนิรันดรไป ถ้าใครเขียนแลกราบทูลว่าสพตรง ๆ แล้ว ทรงพระอธิฐานอวยพรผู้นั้นว่า ถ้าศีศะล้าน ให้ผมงอกดก ถ้าไม่ล้าน ก็อย่าได้ล้านเลย ๚ะ คำว่าสพนี้ออกจากคำมคธว่าฉโวเปนแท้ ไช่อื่น ๚ะ

ท่านทั้งปวงที่ควนจะทราบจงทราบ อัญชัญบุตรพระยาเวียงนนฤบาลแตก่อนเปนนี่อยู่มาก มีเกี่ยวข้องเงินทองอยู่ในพระบรมมหาราชวังแลที่อื่น ๆ เปนหลายรายด้วยกัน ขัดค้างอยู่มาก บัดนี้อัญชัญได้ขุนรุดอักษรเสมียนตรากรมพระเกษตรการ คือกรมนา เปนผัวแล้ว ขุนรุดอักษรรับไช้นี่อัญชัญทั้งสิ้นบันดาที่ควนจะไช้ ไครเกยี่วข้องอยู่อย่างไร ให้ไปต่อว่าเสียให้เปนเสรจแล้วกัน ครั้นนิ่งไว้จะล่วงกาล ถ้าเปนความจะหาพยานไม่ได้ จะต้องตัดสินเปนเลิก

ต่อว่ามา ๚ะ บัดนี้ข้าราชการแทบทุกตำแหน่งจะแต่งหนังสืออะไรอะไรก็ภอใจที่จะว่าทะแกล้วทหาร คำนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังไม่ทรงทราบแน่ในพระราชหฤไทยเลยว่าอะไรเปนทะแกล้ว ทรงทราบแต่ทะหานฤๅทหานว่าเปนคนที่ถืออาวุธสาตราเตรียมตัวจะสู้ข้าศึก แต่ทะแกล้วนั้นไม่ทราบว่าเปนคนอย่างไรเลย คนที่ไม่กลัวไครนั้นควนจะวาคนกล้าแกล้วก็ดี คนกล้าหานก็ดี คนแกล้วหารก็ดี ว่าได้ แต่ทะแกล้วนั้นคือคนจำพวกใด

ตั้งตำแหน่ง ๚ะ ปีมเมียยังเปนนพ วันสุกร เดือนห้า แรมสี่ค่ำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพลอยบุตรเจ้าหมื่นศรีสรรักษถัดให้เปนที่นายสุทจินดาหุ้มแพรนายยามมหาดเล็กเวรสิทธพนักงานสาตราคม ๚ะ ๏ วันสุกร เดือนห้า แรมสิบเอดค่ำ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนักองค์ศรีสวัสดิบุตรองค์พระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีให้เปนองค์พระหริราชคะไนยไกรแก้วฟ้าตามองค์พระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี บอกให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเข้ามาพระราชทานพานทองน้อย เต้าน้ำทอง กโกนทอง เปนเครืองยศ ๚ะ ตั้งนายน้อยหน่อคำบุตรเจ้าเชียงใหม่ช้างเผือกให้เปนเจ้าราชวงษเมืองเชียงใหม่ พระราชทานพานถมเครื่องในทองคำ ๘ สิ่ง เต้าน้ำทอง กะโถนทอง เปนเครื่องยศ ตั้งนานน้อยแผ่นฟ้บุตรพระยาราชบุตรเมืองเชียงใหม่ให้เปนเจ้าราชภาคิในยเมืองเชียงใหม่ พระราชทานถาดหมากกาไหล่ทอง คนโทกาไหล่ทอง เปนเครื่องยศ ๚ะ ตั้งเจ้าอินทรชิตบุตรเจ้าจำปาสักนากเปนเจ้าราชบุตรเมืองจำปาสัก พระราชทานถาดหมากเงิน เต้าน้ำเงิน กระโถนเงิน เปนเครื่องยศ แลให้เลื่อนหลวงบุรีพิทักษยกกระบัตรกรุงเก่าเปนพระนครศรีบริรักษยกกระบัตรกรุงเก่า ถือศักดินา ๖๐๐ ๚ะ

เกิดเพลิง ๚ วันอังคาร เดือนหก ขึ้นค่ำหนึ่ง เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ริมฉางเข้าหลวงในพระบรมมหาราชวังแลบ้านพระยาพิไชยบุรินทราธิบดีเวลาบ่าย ๕ โมง ไหม้บ้านเรือนนอกกำแพง ๔๐ หลังคาเรือน ไหม้สิ้นข้างไต้เพียงปากคลองโงใหม ข้างบนเพียงบ้านหลวงที่รับแขกเมืองลาว เพลิงก็หยุด ๚ะ

น้ำฝน ๚ะ ในปักษข้างแรม เดือนห้า ปีนี้ ฝนตก ๒ วัน วันแรมเก้าค่ำ ฝนตก รองได้น้ำทสางค์หนึ่ง วันแรมสิบสองค่ำ ตกวันหนึ่งตั้งแต่เวลาย่ำรุ่งจน ๒ โมงเช้า รองได้น้ำ ๓ ทสางค์ ๚ะ