ข้ามไปเนื้อหา

ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 4/แผ่นที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
สารบัญ
ราชกิจจานุเบกษา
  1. ประกาศมาที่ 7 ไม่ให้เรียกเงินค่านาที่ราษฎรถากถางทำขึ้นใหม่ในปีแรกทำ ลงวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (3 เมษายน พ.ศ. 2400)
  2. ประกาศที่ 8 ว่าด้วยค่าธรรมเนียมตราภูมิ ลงวันจันทร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (5 เมษายน พ.ศ. 2400)
  3. ประกาศที่ 9 ค่าธรรมเนียมหนังสือคุ้มศัก 10 ยก 12 ยก 15 ยก ลงวันจันทร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (5 เมษายน พ.ศ. 2400)
  4. ประกาศมาที่ 10 ว่าด้วยผู้ซึ่งจะถวายเรื่องราวฎีกา ลงวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย จ.ศ. 1219 (6 เมษายน พ.ศ. 2400)
  5. หมายประกาศที่ 3 โปรดให้ศักเลขไพร่หลวงหัวเมืองขึ้นแลเรื่องผู้ปลอมศักเลข ลงวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย จ.ศ. 1220 (14 เมษายน พ.ศ. 2401)
  6. แจ้งความมาที่ 6 จะโปรดยกเบี้ยค่าตลาดรายวัน

เล่ม ๑ แผ่นที่ ๔

คือหนังสือประกาศการพระราชประสงค์ฤๅประสงค์ท่านเสนาบดีซึ่งเปนการด่วนการสำคัญ ฤๅแจ้งข่าวแจ้งความที่ควนจะให้รู้ด้วยกันมากในเร็ว ๆ ก่อนแต่กำหนดในปักษนั้น ๆ ฉบับนี้มาในวันพฤหัศ เดือนหก ขึ้นสามค่ำ ปีมเมียสำเรทธิ เปนปีที่ ๘ ในราชกาลประจุบันนี้ ๚ะ

พระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระเมตตากรุณาพวกราษฎรอยู่ในพระราชอาณาจักร์นี้ ทรงเหนว่า ทุกวันนี้เพราะโปรดให้ลูกค้าต่างประเทศซื้อเข้าออกไปต่างเมืองบ้าง ราคาเข้าก็แพงขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อเปนอย่างนั้น ถึงเปนผลประโยชน์แก่ชาวนาแลพ่อค้าวานิชซึ่งค้าขายเข้าเจริญมากก็ดี ข้าราชการราษฎรที่ไม่ได้ทำนาค้าขายเปนแต่ซื้อเข้ากิน ต้องเสียเงินราคาเข้า เมื่อซื้อกินมากไปกว่าแต่ก่อน จะได้ความร้อนใจ จึ่งทรงพระราชดำริห์จะให้มีผู้ทำนาโค่นสร้างถางพงทำตอ ๆ ออกไปให้ได้ผลเมดเข้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งนาทุ่งแลนาสวน ราคาเข้าจะค่อยลดหย่อนผ่อนลง ผลประโยชน์แก่ผู้ทำนาแลลูกค้าขายเข้าก็คงจะมี ราษฎรที่ซื้อเข้ากินก็จะไม่เสียเงินมาก เพราะราคาเข้าแพงไปกว่าปรกตินั้น จึ่งได้ทรงปฤกษาท่านเสนาบดีเหนพร้อมตามกระแสพระราชดำริห์แล้ว โปรดให้มีประกาศนี้มาให้ผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการแลกำนันแลราษฎรทุกหัวเมืองทุกแขวงทุกอำเพอแลข้าหลวงเสนาผู้ที่เจ้าพนักงานกรมนาตั้งแต่งไปเรียกหางเข้าค่านาทั้งปวงให้ทราบทั่วกันแล้ว แลทำตามพระราชบัญญัตินี้ว่า ตั้งแต่ปีมเมียสัมเรทธิไปทุกปี ๆ ในภายน่า ในที่นาทุ่งนาหว่าน ถ้าราษฎรโค่นสร้างถางพงทำนาขึ้นใหม่ในปีมเมียสัมเรทธินี้แลปีอื่น ๆ ต่อไปภายน่า ปีแรกทำอย่าให้ข้าหลวงเสนาเรียกค่านาแก่ราษฎรเลย ด้วยผู้ทำนาโค่นสร้างถางพงลงใหม่ได้ความลำบากยากเหนื่อยมากแล้วในปีแรกทำ เมื่อต่อไปเปนปีที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นั้น ผู้โค่นสร้างถางพงจะทำก็ดี ให้ข้าหลวงเสนาเรียกค่านาแต่ไร่ละเฟื้องตามที่ได้ทำ ถ้าที่นั้นเปนนายืนอยู่ครบ ๓ ปีแล้ว เจ้าของนั้นทำก็ดี ผู้อื่นทำก็ดี ให้เรียกไร่ละสลึงบวกเปนนาคู่โค ถ้าเจ้าของจะทิ้งนาเสีย ก็ให้เวนแก่ผู้สำเร็จราชการเมืองแลกรมการตามอย่างนาคู่โค แต่ฝ่ายนาสวนนาปัก ถ้าราษฎรโค่นสร้างถางพงทำปีแรก ทำตั้งแต่ปีมเมียสำเรทธิไป ก็โปรดยกค่านาพระราชทานให้เหมือนกัน อย่าให้ข้าหลวงเสนาเรียกค่านาแก่ราษฎรในปีนั้นเลย เมื่อต่อไปปีที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ จึ่งให้ข้าหลวงเสนาเรียกค่านาแต่ไร่ละสลึงตามที่ได้ทำ ถ้าที่นั้นเปนนาเสมอไปสี่ปีอย่างนี้แล้ว จึ่งเรียกไร่ละสลึงเฟื้องตามธรรมเนียมนาปักนั้นเถิด ถ้านานั้นเปนนาเก่านาร้างคันนาเก่ายังปรากฎอยู่ จะมาตู่เอาว่าเปนนาโค่นสร้างถางพงนั้นไม่ได้ ให้คงเรียกค่านาตามเคยยอ่างแต่ก่อนนั้นเทอญ ๚ อนึ่ง เมื่อแรกจะโค่นสร้างถางพงลงนั้น ให้บอกกล่าวกับผู้สำเรจราชการเมืองแลกรมการให้รู้มีบาญชีไว้ให้แน่นอน อย่าให้เปนที่วิวาททุ่มเถียงกับเสนาข้าหลวงแลกำนันไปในภายน่าได้ ประกาศมาณวันเสาร์ เดือนห้า แรมห้าค่ำ ปีมเมียยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๕๑๕ ในราชกาลประจุบันนี้ ๚ ขุนสารประเสริฐเปนผู้รับสั่ง ประกาศมานี้ด้วยการนา ขอให้เข้าในนาอย่าเปนเช่นผมผู้รับสั่ง ให้เข้าในนางอกงามทุกแห่งทุกตำบลทั่วไปในพระราชอาณาเขตรเทอญ ๚ะ

มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแต่บันดาไพร่หลวงที่ได้รับพระราชทานตราภูมคุ้มห้ามให้รู้จงทั่วกัน ด้วยทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แก่หมู่ไพร่หลวงทั้งปวง ทรงแคลงพระราชหฤทัยอยู่ว่าเจ้าพนักงาแลเจ้าหมู่มุลนายจะเรียกค่าธรรมเนียมเหลือเกินไป จึ่งโปรดให้ประกาศให้ทราบทั่วกันเปนแน่เปนแบบเดียวว่า ไพร่หลวงที่จะไปรับตราภูมนั้นต้องเสียคาธรรมเนียมคนหนึ่ง ค่ากระดาษสลึงหนึ่ง ค่าพิมพเฟื้องหนึ่ง อาลักษณ์ลงชื่อสองไพ ๚ ค่าตราพระคชสีห์สองไพ ตราพระราชสีห์สองไพ ตราพระคลังมหาสมบัติสองไพ ๚ ค่าตรวจแม่กองสองไพ มหาดไทยสองไพ กลาโหมสองไพ มหาดเล็กสองไพแล ค่าหางว่าวแม่กองสลึง อาลักษณ์สลึง กลาโหมเสมียรตราสลึง มหาดไทยพระราชเสนาสลึง คลังมหาสมบัติเสมียรตราสลึง มหาดเล็กเจ้าหมื่นศรีสรรักษสลึง รวมกันตราภูมใบหนึ่งต้องเสียเงินเก้าสลึงเฟื้อง ๚ ถ้าเจ้าหมู่มุลนายแลเจ้าพนักงานจะเรียกเอาค่าธรรมเนียมเกินพิกัดนี้มากขึ้นไป อย่าให้หมู่ไพร่หลวงยอมให้ ถ้ามิฟังก็ให้ไปร้องทุกข์ณวังพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมสมเด็จพระเดชาดิศร ซึ่งเปนแม่กอง ถ้าการมิตลอดไปก็ให้มาร้องถวายฎีกาในหลวงเทอญ จะโปรดไห้ชำระเงินเดิมคืนให้ ประกาศมาณวันจันทร เดือนห้า แรมเจดค่ำ ปีมเมียยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๕๑๗ ในราชกาลประจุบันนี้ ๚

ขุนสารประเสริฐเปนผู้รับสั่ง

มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทให้ประกาษแต่บันดาขุนหมื่นในกรุงขุนหมื่นกรมการแลผู้ซึ่งได้รับพระราชทานหนังสือคุ้มศัก ๑๐ ยก ๑๒ ยก ๑๕ ยกให้รู้จงทั่วกัน ด้วยทรงพระมหากรุณาแก่พวกขุนหมื่นแลผู้ซึ่งได้หนังสือคุ้มศัก ๑๐ ยก ๑๒ ยก ๑๕ ยกทั้งปวง ทรงแคลงว่า เจ้าหมู่มุลนายเจ้าพนักงานจะเรียกค่าธรรมเนียมเหลือเกินไป จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ประกาษให้ทราบทั่วกันว่า ขุนหมื่นไนกรุงคนหนึ่งต้องเสีย ค่าหางว่าว ๖ หาง ๆ ละสลึง เปนเงิน ๖ สลึง ๚ ค่าตรา ๒ ดวง ๆ ละสลึง ค่าสอบเฟื้อง ๑ ค่ากระดาษสลึง ๑ ค่าพิมพ์เฟื้อง ๑ รวมเงิน ๑๐ สลึง ๚ ขุนหมื่นกรมการคนหนึ่งต้องเสีย ค่าหางว่าว ๖ หาง ๆ ละสลึง ๚ ค่าสอบหางว่าวยื่นเฟื้อง ๑ ค่ากระดาษ ๒ สลึง ค่าพิมพ์เฟื้อง ๑ รวมเงิน ๑๑ สลึง ๚ คนที่ ๑๐ ยก ๑๒ ยก ๑๕ ยก คนหนึ่งต้องเสีย ค่าหางว่าว ๖ หาง ๆ ละสลึง เปนเงิน ๖ สลึง ๚ ค่าตรา ๒ ดวง ๆ ละสลึง ค่าตรวจเฟื้อง ๑ ค่ากระดาษ ๒ สลึง ค่าพิมพ์เฟื้อง ๑ เปนเงิน ๕ สลึง ๚ รวมเงิน ๑๑ สลึง ๚ รวมกันหนังสือคุ้มศักใบหนึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างกันอย่างนี้ ถ้าเจ้าหมู่มุลนายเจ้าพนักงานจะเรียกค่าธรรมเนียมมากขึ้นไปกว่านี้ อย่าให้พวกขุนหมื่นแลผู้ซึ่งจะได้หนังสือคุ้มศัก ๑๐ ยก ๑๒ ยก ๑๕ ยกยอมให้ ถ้ามิฟังให้มาฟ้องกล่าวโทษยื่นฟ้องแก่พระยาราชสุภาวดีณะหอพระสัศดี ถ้าการมิตลอดไปไม่มีผู้ชำระเงินคืนให้ ก็ให้มาร้องถวายฎีกาในหลวงเทอญ ๚

ประกาษมาณวันจันทร เดือนห้า แรมเจดค่ำ ปีมเมียยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๕๑๗ ในราชกาลประจุบันนี้ ๚ะ

ขุนสารประเสริฐเปนผู้รับสั่ง

ขอข้าราชการแลราษฎรในกรุงนอกกรุงทั้งปวงจงทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวังทรงพระเมตตากรุณาแก่ไพร่บ้านพลเมืองทั้งปวงอยู่เปนนิตย ใคร ๆ มีคดีขัดขวางในโรงสาลใด ๆ ก็ให้ทำเรื่องราวเขียนใส่ในกระดาศพับเปนใบใบ อย่าให้ม้วนยาวให้ทรงยากต้องคลี่ยืดยาวไป แลเขียนแต่ข้อความที่จริง อย่าเอาเทจ์ใส่ให้ต้องชำระลำบากไป แลอย่าว่าเปนสำนวนแง่งอนค้อนคัดอ้อมค้อม แลอย่าว่าคำอยาบช้าต่อผู้มีบันดาศักดิตามโทโส แลถ้าฟ้องว่าด่าคำด่าอย่างไร อย่าเขียนลง ให้ว่าแต่ด่าทอยาบช้าต่าง ๆ ก็ภอเข้าใจ เมื่อเรืองราวเขียนแล้ว ถ้ามีตำแหน่งเฝ้า ก็ให้กราบทูลฤๅยกชูถวายเองน่าพระที่นั่ง ถ้าไม่มีตำแหน่งเฝ้า ก็จงฝากเรื่องราวนั้นแก่ข้าราชการฝ่ายน่าฝ่ายในผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเปนญาติพี่น้องเจ้าขุนมุลนายเปนนายน่านำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายในที่ใดที่หนึ่งเวลาใดเวลาหนึงก็ได้ไม่ห้าม ผู้นำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวาย ถ้าส่งตัวเจ้าของเรื่องราวได้แล้ว ก็ไม่มีความผิดดอก จงเอาธุระแก่ญาติพี่น้องบ่าวไพร่ด้วย ช่วยรับเรื่องราวมาทูลเกล้าฯ ถวายเถิด วันใดเมื่อใดไม่ว่าไม่ห้าม ๚ะ ถ้าไพร่ไม่มีใครจะอนุเคราะห์ถวายเรื่องราวให้ ก็ให้คอยที่น่าพระที่นั่งสุทไธสวริย์ในวันใกล้เปนเบื้องน่าวันพระวันศิล คือขึ้นเจตค่ำ แรมเจตค่ำ แลวันที่เรียกว่าวันโกน คือขึ้นสิบสี่แลแรมสิบสี่ค่ำในเดือนถ้วน ฤๅสิบสามค่ำในเดือนขาด เวลาบ่ายเอย็น ถ้าไม่มีราชการอื่นสำคัญ แลฝนไม่ตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จออกบนพระที่นั่งสุทไธสวริย์บ้าง ที่แท่นเบญจาน่าพระที่นั่งสุทไธสวริย์บ้าง แล้วจะให้ตีกลองวินิจฉัยเภรีเรียกคนมาถวายฎีกาเมื่อนั้น ให้ผู้ที่จะใคร่ถวายฎีกาถือเรื่องราวเข้ามาชูถวายเทอญ ๚ะ ถ้าบางวันใกล้วันพระ ไม่ได้เสด็จออก ก็จะโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ เสด็จไปคอยรับเรื่องราวมาทูลเกล้าฯ ถวาย แลให้ตีกลองวินิจฉัยเภรีเรียกคนถวายฎีกามา เมื่อนั้นจงยื่นเรื่องราวถวายแก่พระเจ้าลูกยาเธอเทอญ ตัวคนถวายฎีกาน่าพระที่นั่ง ให้กรมพระตำรวจรับตัวไว้ คนที่มายื่นถวายเรื่องราวร้องฎีกาแก่พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ที่น่าพระที่นั่งสุทไธสวริย์นั้น ให้กรมล้อมพระราชวังรับตัวไว้ อย่าให้ขุนโรงขุนศาลเดีมแลเจ้าหมู่มุลนายซึ่งเปนฝักฝ่ายจำเลอยในความฎีกาที่ร้องแล้วนั้นเกาะครองเอาไปเฆี่ยนตีจำจองได้กว่าจะได้ทรงเรื่องราวแล้วจะโปรดเกล้าฯ ประการใดโดยสมควรแก่เหตุแลการซึ่งมีในเรื่องราว ๚ะ ถ้าผู้ถวายเรื่องราวเลอะเทอะฟั่นเฟือนอ่านเข้าใจยาก จะต้องคืนเรื่องราวให้ไปแต่งใหม่ ถ้าผู้จะเรืองราวให้ไม่มี ก็ให้ผู้จะร้องฎีกามให้การแก่กรมล้อมพระราชวังขอให้ช่วยเขียนให้แล้วรับไปตรวจอ่านดู ถ้าชอบใจเหนว่าถูกความแล้ว ก็จงนำขึ้นทูลเกล้า ถวายฤๅให้ผู้ใดทูลเกล้าฯ ถวายเถิด ห้ามอย่าให้กรมล้อพระราชวังเรียกค่าธรรมเนียมค่าจ้างเขียนมากไปกว่าสองสลึ อนึ่ง อย่าให้กักความไว้ไม่เขียนให้นานกว่า ๑๕ วัน ถ้ากักไว้ช้าฤๅเรียกค่าธรรมเนียมเขียนมากไป ให้ผู้ร้องฎีการ้องกล่าวโทกรมล้อมพระราชวังเอง ถ้าทำดังนั้นจริง จะต้องมีเบี้ยปรับให้ทำขวันแก่ผู้ต้องกักความแลต้องเสียค่าธรรมเนียมเกินกำหนดนั้โดยโทษานุโทษ ๚ะ ผู้ที่ถวายฎีกาน่าพระที่นั่งนั้นก็ (ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก) พระราชทานเงินคนละสองสลึงทุกคนเปนค่ากะดาษดินสอแลค่าจ้างเขียน ๚ะ แต่คดีซึ่งร้องนั้น ถ้าควรจะชำระ ก็จะโปรดทรงเลือกตระลาการที่สมควรแก่ความเรื่องนั้นแลสั่งให้ชำระให้ แต่บางเรื่องไม่ควรจะชำระ คือเปนเรื่องราวของคนเสียจริตฤๅอย่างไร ก็จะต้องคืนเสียบ้าง ๚ะ ถ้าจำเลอยความฎีกานั้นเปนข้าหลวงในพระบวรราชวัง ก็จะต้องส่งไปถวายในพระบวรราชวัง ฤๅจะคืนเรื่องราวให้ไปร้องเอาเองในพระบวรราชวังบ้าง จะว่าให้ได้ก็จะว่าให้บ้างโดยสมควร ประกาศมาณวันอังคาร เดือนห้า แรมแปดค่ำ ปีมเมียยังเปนนพ เปนวันที่ ๒๕๑๘ ในราชกาลประจุบันนี้

พระศรีสุนทรโวหารเปนผู้รับสั่ง พระคนนี้กลัวเมียนักเหมือนบ่าวกลัวนาย แต่ได้ยินว่า ลักสมคบทาษหญิงของเมีย ๆ ร่ำเอาหน้าดำนักเข้า ไม่ใคร่สบาย

ด้วยออกยาพระราชสุภาวดีศรีสัจเทพนารายน์สมุหมาตยาธิบดีศรีสุเรนทราเมศวรจางวางกรมพระสุรัศวดีกลางรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง ๓ พระองค์ก็ทรงพระราชดำริห์การซึ่งจะรักษาพระราชอาณาจักร ด้วยจะเกบเอาจำนวนพลสกรรเพื่อจะได้ทราบว่า จะมีไพร่พลอยู่ในกรุงเทพมหานครแลหัวเมืองซึ่งขึ้นกับกรุงเทพมหานครจะเปนจำนวนคนสกรรควนใช้ราชการได้มากน้อยเมืองละเท่าใด จึ่งโปรดเกล้า ให้สักเลขไพร่หลวงสมกำลังณกรุงเทพมหานคร แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แต่งข้าหลวงกำกับกันออกไปสักเลขณหัวเมืองเอกเมืองโทเมืองตรีเมืองจัตวาปากไต้ฝ่ายเหนือซึ่งเปนเมืองขึ้นขอบขันธเสมาตามอย่างธรรมเนียมการแผ่นดินสยามมาแต่เดิมแต่ก่อน เมื่อการสักเลขเปนไปดังนี้ มีคนบางจำพวกที่เปนคนใจเบาเกียจคร้านในราชการไม่ภอใจให้กองสักสักท้องมือสักหลังมือ กลัวจะมีบาญชีย์เกนใช้ราชการ จึ่งคบคิดกันปลอมสักกันแลกัน หวังจะมีให้ใช้ราชการ ครั้นจะไม่สัก ก็กลัวจะจับกุมมาทำโทษ ครั้นมีผู้ร้องฟ้องว่ากล่าวพิจารณาเปนสัจว่าคบคิดกันปลอมสักจริง จึ่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีส่งไปจำไว้ณคุกบ้าง เปนตพุ่นหญ้าช้างบ้าง มีอย่างมาแต่ก่อน ๚ะ ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติบรมราชาภิเศกแล้ว จึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สักเลขไพร่หลวงสมกำลังณกรุงเทพมหานครแลหัวเมืองขึ้นกับกรุงเทพมหานครเหมือนอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๓ พระองค์แต่ก่อน ๚ะ ครั้งนี้มีอ้ายมีชื่อนายไพร่พวกลาวไพร่หลวงอาษาเมืองสุพรรณบุรี ๑๐๒ คนคบคิดกันปลอมสักเอาเอง หาให้กองสักสักไม่ ครันมีโจทร้องพองว่ากล่า ท่านเสนาบดีส่งมาใหีกรมพระสุรัศวดีชำระ ก็รับเปนสัจ จึงนำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา จึ่งทรงพระราชดำริห์ว่า จะให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีส่งไปจำณคุกแลศักเปนตพุ่นหญ้าช้างทุกคนเหมือนอย่างแต่ก่อน ก็ทรงพระมหากรุณาแก่ไพร่พลที่เปนคนโฉดเขลาพลอยผู้อื่นยอมให้ปลอมสักไปนั้นจะได้ความยากแค้นเดือดร้อนมากนัก จึ่งโปรดให้อาแต่ที่เปนต้นเหตุต้นคิด ๙ คนไปสักเปนไพร่หลวงตพุ่นหญ้าช้าง ไพร่นอกนั้นโปรดให้สักแปลงเปนไพร่หลวงคงกรมตามเดิม ให้เข้าเดือนหนึ่งออกสองเดือน ถึงสามปีจึ่งให้เข้าเดือนหนึ่งออกสามเดือนเหมือนไพร่หลวงทั้งปวง ๚ แล้วจึ่งทรงพระราชดำริห์ต่อไปว่า ไพร่หลวงไทยลาวสมข้าเจ้าบ่าวข้าราชการในกรุงเทพมหานครแลหัวเมืองทั้งปวงจะคบคิดกันปลอมสักหลังมือเหมือนไพร่หลวงลาวอาษาเมืองสุพรรณบุรีก็คงจะมีอยู่ยังหาสิ้นเชิงไม่ เพราะฉนั้น จึ่งให้หมายประกาศว่า แต่นี้สืบไปให้ข้าหลวงแลผู้สำเรจราชการเมืองกรมการนายบ้านนายอำเภอด่านคอยทุกตำบลแลราษฎรที่จงรักภักดีเห็นแก่แผ่นดินตรวจตราสืบสวนดู ถ้ารู้ว่า ไพร่หลวงสมกำลังพวกใดณบ้านเมืองใดคบคิดกันปลอมสักหลังมือตามอำเภอใจไม่เข้ามาศักณะกรุงเทพมหานครแลหัวเมืองที่มีกองสักออกไปดังนี้ ก็ให้นำข้อความมาร้องฟ้องต่อข้าหลวงแลผู้สำเรจราชการเมืองกรมการนายบ้านนายอำเภอ แลให้บอกส่งเข้ามาณะกรุงเทพมหานคร ถ้าชำระเปนสัจ จะเปนคนมากน้อยเท่าใด จะให้ลพระราชอาญาแก่ผู้กระทำผิดตามโทษานุโทษ แต่โจทยนั้นจะได้พระราชทานเงินตราเปนบำเหนจรางวัลไม่น้อยกว่าชั่งหนึ่ง ไม่มากกว่าสองชั่ง ตามมีความชอบมากแลน้อย คนที่เปนต้นเหตแลคนที่ยอมตัวให้สัก จะให้รับพระราชอาญาแลปรับใหมตาโทษานุโทษคล้ายกับตัวอย่างซึ่งเปนไปแล้วนั้น ได้มีหนังสือพิมพ์ประกาศออกมาแต่ณวันพุธ เดือนหก ขึ้นสองค่ำ ปีมเมียสำเรทธิศก เปนวันที่ ๒๕๒๖ ในราชกาลประจุบันนี้ ๚

บัดนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาแก่ราษฎรที่ยากจน ขายของเล็กน้อยที่เปนของเหน้าบูดในวันนั้น ต้องเสียค่าตลาดเปนเบี้ยรายวัน โปรดยพระราชทานให้ จะไม่ให้ราษฎรพวกนั้นต้องเสียเบี้ยค่าตลารายวันต่อไป ให้ราษฎรคอยฟังความหมายประกาศวิดถาซึ่งจะประกาศมาภายหลังเทอญ ๚