รายงานฯ ของคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา (14 มกราคม 2564)/รายงาน

จาก วิกิซอร์ซ
รายงานการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดฐานทําให้แท้งลูก)

ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๔/๒๕๒๓ วันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๓ ได้พิจารณามอบหมายให้คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ต้อยโอกาส พิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดฐานทําให้แห้งลูก) ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๑๕ และเสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษาต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภานั้น

คณะกรรมาธิการได้พิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดฐานทําให้แท้งลูก) เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้

คณะกรรมาธิการได้พิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ควบคู่กับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) โดยในการพิจารณา ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมิติทางสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีการกระทําความรุนแรง การล่วง ละเมิดทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว ล้วนเป็นปัญหาที่พบอยู่เสมอ ทั้งในครอบครัวและในสังคม และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นกับบุคคลที่อ่อนแอหรือต้อยโอกาส อาทิ เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และผู้มีปัญหาทางสภาพจิต ที่มักจะถูกกระทําในลักษณะต่าง ๆ ประกอบกับปัจจัยที่มี อิทธิพลในการกระตุ้นและก่อให้เกิดความรุบแรงดังกล่าวมีปรากฏให้เห็นในหลากหลายช่องทาง เพศหญิงจึงเป็นเพศที่ถูกกระทําความรุนแรงและได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมกันป้องกัน บําบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ถูกกระทําดังกล่าว โดยการบัญญัติกฎหมายหรือมาตรการใด ๆ ต้องคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยืดหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมบูญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งหลักบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ได้รับความคุ้มครองการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ

การเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดฐานทําให้แท้งลูก) มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นมิติทางสังคมในการคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเล็งเห็นถึงความสําคัญและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ที่จะเกิดมา ควบคู่กับการคุ้มครองสิทธิของหญิงผู้ตั้งครรภ์ให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกลิดรอนหรือจํากัดสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย ในขณะเดียวกัน ก็ต้องตระหนักถึงการคุ้มครองสิทธิของทารกในครรภ์และสิทธิของหญิงผู้ตั้งครรภ์ให้เกิดความสมดุล ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพโดยใช้มาตรการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่กระทบต่อการใช้สิทธิของหญิง ในขณะเดียวกัน ก็ต้องดูแลคุ้มครองชีวิตทารกในครรภ์มิให้ถูกกระทบสิทธิในชีวิตด้วยเช่นกัน

คณะกรรมาธิการได้พิจารณาถึงสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านควบคู่กับมาตรการยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมในปัจจุบัน โดยได้คํานึงถึงสิทธิและคุณค่าของทารกที่จะเกิดมา และการคุ้มครองสิทธิของหญิงผู้ตั้งครรภ์ให้ได้รับความเป็นธรรม เกิดความสมดุลกับทุกฝ่ายเป็นประการสําคัญ ประกอบกับข้อบ่งขี้ทางการแพทย์ในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยึดหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย รวมทั้งหลักบุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ได้รับความคุ้มครองการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ ตลอดจนหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เพื่อให้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมได้มีทางออกของปัญหา และเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่มีความปลอดภัยสูงสุด ลดอัตราการทําแท้งที่ผิดกฎหมาย หญิงดังกล่าวไม่ถูกสังคมตีตราหรือประณามจนไม่มีที่ยืนในสังคม เพื่อมีให้เป็นการปฏิเสธสิทธิของหญิงโดยปราศจากการกําหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่เหมาะสม

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นคณะกรรมาธิการจึงมีข้อสังเกตต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ความผิดฐานทําให้แท้งลูก) ดังนี้

๑. การกําหนดอายุครรภ์สําหรับความผิดฐานหญิงทําให้ตนแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตน แท้งลูก ขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์มีความผิดและต้องได้รับโทษ ถือว่ามีความเหมาะสม เนื่องจากการกําหนดระยะเวลาดังกล่าว มีข้อบ่งขี้ทางการแพทย์ยืนยันถึงความปลอดภัย

๒. การกําหนดเงื่อนไขและเหตุแห่งการยุติการตั้งครรภ์ของหญิงเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของ หญิงผู้ตั้งครรภ์และอํานาจในการตัดสินใจให้ได้รับความเป็นธรรม โดยไม่ถูกลิดรอนหรือจํากัดสิทธิ เมื่อมีเหตุจําเป็น เห็นว่ามีความเหมาะสมแล้ว แต่การยุติการตั้งครรภ์ดังกล่าวต้องกระทําโดยผู้ประกอบ วิชาซีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา และคํานึงถึงหลักความปลอดภัยต่อชีวิต และร่างกายเป็นสําคัญ

๓. การกําหนดเหตุจําเป็นที่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากหากทารกคลอดออกมา จะมีความ เสี่ยงอย่างมากที่จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรงนั้น ถือเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของทารกที่จะเกิดมาเป็นบุคคล ประกอบกับคําว่า "ทุพพลภาพ" เป็นคําที่มีความใกล้เคียงหรือทับซ้อนกับคําว่า "ความพิการ" และมีการใช้ถ้อยคําสลับไปมาในหลายกรณี จึงเห็นควรปรับเหตุแห่งการยุติการตั้งครรภ์จากถ้อยคําว่า "จากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพ" เป็นคําว่า "ต่อสุขภาพ" เนื่องจากเป็นถ้อยคําที่มีความหมายอย่างกว้างและไม่เกิดผลเสียต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยคํานึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ของทารกที่จะเกิดมาให้ได้รับความคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลโดยปราศจากอคติและการตีตราจากสังคมด้วยเหตุแห่งความผิดปกติทางร่างกาย ความพิการ หรือทุพพลภาพ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมาธิการจึงขอเสนอแก้ไขเป็นดังนี้

"มาตรา ๓๐๕ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๐๑ หรือมาตรา ๓๐๒ เป็นการกระทําของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทําไม่มีความผิด

(๑) จําเป็นต้องกระทํา เนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไป จะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น

(๒) จําเป็นต้องกระทํา เนื่องจากหากทารกคลอดออกมา จะมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะได้รับ ผลกระทบจากความผิดปกติทางกายหรือจิตใจถึงขนาดทุพพลภาพต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

(๓) หญิงมีครรภ์ เนื่องจากมีการกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ

(๔) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์"