ข้ามไปเนื้อหา

สถานีย่อย:ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

จาก วิกิซอร์ซ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)

การประกาศใช้

[แก้ไข]

ประมวลกฎหมาย

[แก้ไข]

การแก้ไขเพิ่มเติม

[แก้ไข]
ที่ กฎหมาย ประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติม
1 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2483
2 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2487
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2487
พระราชบัญญัติไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2487 พุทธศักราช 2487
3 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490
4 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2493
5 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2496 นิยามของ "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่", พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน, ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ
6 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2499
7 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2501
8 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515
9 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 333 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
10 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517
11 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517
12 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2522
13 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2523
14 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2523
15 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525
16 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2525
17 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527
18 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2529
19 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532
20 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2535
21 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539
22 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2542
23 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542
24 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547
25 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2548
26 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2548
27 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
28 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550
29 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2550
30 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2550
31 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับพยานหลักฐานแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
32 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การสอบสวนความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรตามมาตรา ๒๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมีอำนาจมอบหมายหน้าที่การเป็นพนักงานสอบสวนให้แก่พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวน หรือจะมอบหมายให้พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ และเพื่อให้การสอบสวนความผิดดังกล่าวเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
33 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557
34 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบังคับตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สมควรให้นำอุปกรณ์ดังกล่าวไปใช้ในการติดตามตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ถ้ามีการทำลายอุปกรณ์ดังกล่าวหรือทำให้ใช้การไม่ได้ไม่ว่าโดยวิธีใด ให้สันนิษฐานว่าผู้ถูกปล่อยชั่วคราวนั้นหนีหรือจะหลบหนี และมิให้เรียกหลักประกันเกินสมควร เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยมีโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้น อีกทั้งสมควรกำหนดให้มีการสั่งงดการบังคับตามสัญญาประกันหรือลดจำนวนเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันโดยคำนึงถึงความพยายามของผู้ประกันในการติดตามผู้ที่หลบหนี รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ต้องมีการบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี เพื่อให้การบังคับตามสัญญาประกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
35 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 31) พ.ศ. 2559
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันการพิจารณาพิพากษาคดีบางเรื่องอาจเกิดผลกระทบต่อประโยชน์อันสำคัญของรัฐ ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรกำหนดให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งโอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีความเหมาะสมกว่าได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
36 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2559
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้กำหนดให้จำเลยต้องมาแสดงตนต่อศาลเมื่อประสงค์จะอุทธรณ์หรือฎีกา ส่งผลให้ศาลไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจำเลยยังมีตัวตนอยู่หรือไม่ และเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่อยู่ระหว่างการหลบหนียังคงสามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกากรณีที่จำเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์หรือฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
37 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 33) พ.ศ. 2562
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องในปัจจุบันยังไม่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิของจำเลย เนื่องจากจำเลยอาจไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือและไม่สามารถแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และในชั้นพิจารณาคดีหากจำเลยไม่มาศาล ศาลไม่สามารถสืบพยานต่อไปได้จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาหรือกรณีที่ไม่มีผู้แทนอื่นของนิติบุคคลมาดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นได้ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและส่งผลกระทบต่อหลักการอำนวยความยุติธรรมที่รวดเร็วและเป็นธรรม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความศรัทธาที่มีต่อระบบศาลยุติธรรม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องดังกล่าว และโดยที่เป็นการสมควรให้การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยมีจำนวนไม่สูงเกินสมควร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
38 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2562
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้การปล่อยชั่วคราวในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไปต้องมีประกัน อาจจะเป็นภาระแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น สมควรขยายอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเป็นสิบปีขึ้นไป เพื่อให้โอกาสผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้น อันจะเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติว่า ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และการควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี โดยคำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณา และจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมีได้ ทั้งยังให้เจ้าพนักงานศาลมีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นด้วย นอกจากนี้ หากปรากฏว่า มีการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยในหลายกรณี หรือฟ้องคดีโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้ตามปกติธรรมดา อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ที่ถูกฟ้องร้องและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ศาลมีอำนาจยกฟ้อง ดังนั้น เพื่อให้ระบบการปล่อยชั่วคราวและการพิจารณาพิพากษาคดีอาญามีความเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

[แก้ไข]
ที่ คำวินิจฉัยที่ วันที่ เรื่อง
1 2/2541 (แก้คำผิด) 2541-06-25 อำนาจหน้าที่ของตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ต้นฉบับภายนอก: 1, 2)
2 16/2541 2541-12-15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
3 16/2546 2546-05-13 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 175 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 223 หรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
4 17/2546 2546-05-20 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 175 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 241 หรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
5 48/2547 2548-07-13 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 (2) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
6 58/2547 2548-09-23 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
7 13/2549 2549-07-06 พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และมาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 162 วรรคหนึ่ง (1) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
8 9/2550 2550-07-26 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 มาตรา 219 และมาตรา 219 ตรี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
9 30/2554 2554-05-11 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
10 2/2562 2562-02-27 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 25 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)
11 16/2563 2563-09-30 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 มาตรา 227 และมาตรา 227/1 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (ต้นฉบับภายนอก)