ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

จาก วิกิซอร์ซ
สารบาญ

มาตรา
ภาค ๑ ข้อความเบื้องต้น
ลักษณะ หลักทั่วไป ๑–๑๕
ลักษณะ อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล
หมวด หลักทั่วไป ๑๖
หมวด อำนาจสืบสวนและสอบสวน ๑๗–๒๑
หมวด อำนาจศาล ๒๒–๒๗
ลักษณะ การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
หมวด การฟ้องคดีอาญา ๒๘–๓๙
หมวด การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ๔๐–๕๑
ลักษณะ หมายเรียกและหมายอาญา
หมวด หมายเรียก ๕๒–๕๖
หมวด หมายอาญา
ส่วนที่ หลักทั่วไป ๕๗–๖๕
ส่วนที่ หมายจับ ๖๖–๖๘
ส่วนที่ หมายค้น ๖๙–๗๐
ส่วนที่ หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย ๗๑–๗๖
ลักษณะ จับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อยชั่วคราว
หมวด จับ ขัง จำคุก ๗๗–๙๐
หมวด ค้น ๙๑–๑๐๕
หมวด ปล่อยชั่วคราว ๑๐๖–๑๑๙
ภาค ๒ สอบสวน
ลักษณะ หลักทั่วไป ๑๒๐–๑๒๙
ลักษณะ การสอบสวน
หมวด การสอบสวนสามัญ ๑๓๐–๑๔๗
หมวด การชัณสูตร์พลิกศพ ๑๔๘–๑๕๖
ภาค ๓ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น
ลักษณะ ฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้อง ๑๕๗–๑๗๑
ลักษณะ การพิจารณา ๑๗๒–๑๘๑
ลักษณะ คำพิพากษาและคำสั่ง ๑๘๒–๑๙๒
ภาค ๔ อุทธรณ์และฎีกา
ลักษณะ อุทธรณ์
หมวด หลักทั่วไป ๑๙๓–๒๐๒
หมวด การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นอุทธรณ์ ๒๐๓–๒๑๕
ลักษณะ ฎีกา
หมวด หลักทั่วไป ๒๑๖–๒๒๔
หมวด การพิจารณา คำพิพากษา และคำสั่งชั้นฎีกา ๒๒๕
ภาค ๕ พะยานหลักฐาน
หมวด หลักทั่วไป ๒๒๖–๒๓๑
หมวด พะยานบุคคล ๒๓๒–๒๓๗
หมวด พะยานเอกสาร ๒๓๘–๒๔๐
หมวด พะยานวัตถุ ๒๔๑–๒๔๒
หมวด ผู้ชำนาญการพิเศษ ๒๔๓–๒๔๔
ภาค ๖ การบังคับตามคำพิพากษา และค่าธรรมเนียม
หมวด การบังคับตามคำพิพากษา ๒๔๕–๒๕๑
หมวด ค่าธรรมเนียม ๒๕๒–๒๕๘
ภาค ๗ อภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษ
๒๕๙–๒๖๗




มาตรา  ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้ว ให้ถือตามความหมายดั่งได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น

มาตรา  ในประมวลกฎหมายนี้

(๑) "ศาล" หมายความถึง ศาลยุตติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา

(๒) "ผู้ต้องหา" หมายความถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล

(๓) "จำเลย" หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด

(๔) "ผู้เสียหาย" หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖

(๕) "พนักงานอัยยการ" หมายความถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในกรมอัยยการหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้

(๖) "พนักงานสอบสวน" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน

(๗) "คำร้องทุกข์" หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

(๘) "คำกล่าวโทษ" หมายความถึง การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคล รู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น

(๙) "หมายอาญา" หมายความถึง หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายเช่นนี้อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับแล้ว ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๗

(๑๐) "การสืบสวน" หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด

(๑๑) "การสอบสวน" หมายความถึง การรวบรวมพะยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ

(๑๒) "การไต่สวนมูลฟ้อง" หมายความถึง กระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา

(๑๓) "ที่ระโหฐาน" หมายความถึง ที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา

(๑๔) "โจทก์" หมายความถึง พนักงานอัยยการ หรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ ในเมื่อพนักงานอัยยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน

(๑๕) "คู่ความ" หมายความถึง โจทก์ฝ่ายหนึ่ง และจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง

(๑๖) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิตต์ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม

(๑๗) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่" หมายความถึง เจ้าพนักงานดั่งต่อไปนี้

(ก) ข้าหลวงประจำจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน

(ข) นายอำเภอ หรือผู้รักษาการแทน

(ค) อธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้รักษาการแทน

(ง) รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้รักษาการแทน

(จ) จเรตำรวจภูธรภาค หรือผู้รักษาการแทน

(ฉ) ผู้บังคับการตำรวจท้องถิ่น หรือผู้บังคับการตำรวจสันติบาล หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ

(ช) ผู้กำกับการตำรวจท้องถิ่น หรือผู้กำกับการตำรวจสันติบาลกอง ๑ กอง ๒ กอง ๔ หรือกอง ๕ หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ

(ซ) ผู้บังคับกองตำรวจท้องถิ่น หรือผู้บังคับกองตำรวจสันติบาล หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

(ญ) สารวัตรตำรวจท้องถิ่น หรือสารวัตรตำรวจสันติบาล หรือผู้รักษาการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ที่มียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

(ด) หัวหน้ากองตรวจตำรวจภูธรประจำสายผู้กำกับการ หรือผู้รักษาการแทนที่มียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

(ต) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือผู้รักษาการแทนที่มียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

(๑๘) "สิ่งของ" หมายความถึง สังหาริมทรัพย์ใดซึ่งอาจใช้เป็นพะยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ให้รวมทั้ง จดหมาย โทรเลข และเอกสารอย่างอื่น ๆ

(๑๙) "ถ้อยคำสำนวน" หมายความถึง หนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น

(๒๐) "บันทึก" หมายความถึง หนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย

(๒๑) "ควบคุม" หมายความถึง การคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน

(๒๒) "ขัง" หมายความถึง การกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล

มาตรา  บุคคลดั่งระบุในมาตรา ๔, ๕ และ ๖ มีอำนาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหาย ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ

(๑) ร้องทุกข์

(๒) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยยการ

(๓) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

(๔) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

(๕) ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว

มาตรา  ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิฟ้องคดีได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน

ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๕ (๒) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา

มาตรา  บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

(๑) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ฉะเพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล

(๒) ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยา ฉะเพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้

(๓) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล ฉะเพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น

มาตรา  ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนฉะเพาะคดีได้

เมื่อได้ไต่สวนแล้ว ให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่นซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนฉะเพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทน ให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน

ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนฉะเพาะคดี

มาตรา  ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้นให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี

ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อยชั่วคราว ขัง หรือจำคุก แก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลในคดีที่นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย

มาตรา  นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิ ดั่งต่อไปนี้

(๑) แต่งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา

(๒) พูดจากับทนายหรือผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง

(๓) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม

(๔) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพะยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ

ถ้าจำเลยมีทนาย ๆ นั้นย่อมมีสิทธิทำนองเดียวกับจำเลยดั่งกล่าวมาแล้วนั้นด้วย

มาตรา  บันทึกต้องระบุสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ นามและตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ทำ

เมื่อเจ้าพนักงานทำบันทึกโดยรับคำสั่งจากศาล หรือโดยคำสั่งหรือคำขอของเจ้าพนักงานอื่น ให้เจ้าพนักงานนั้นกล่าวไว้ด้วยว่า ได้รับคำสั่งหรือคำขอเช่นนั้น และแสดงด้วยว่า ได้ทำไปอย่างใด

ให้เจ้าพนักงานผู้ทำบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น

มาตรา ๑๐ ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่า ได้ทำไปอย่างใด

ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวน ต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น

มาตรา ๑๑ บันทึกหรือถ้อยคำสำนวนนั้น ให้เจ้าพนักงานหรือศาลอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้แก้ให้ถูกต้อง หรือมิฉะนั้น ก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อรับรองว่า ถูกต้องแล้ว

ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกหรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถหรือไม่ยอมลง ให้บันทึกหรือรายงานเหตุนั้นไว้

มาตรา ๑๒ เอกสารซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ คำให้การจำเลย หรือคำร้องซึ่งยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือศาล จักต้องเขียนด้วยน้ำหมึก หรือพิมพ์ดีด หรือพิมพ์ ถ้ามีผิดที่ใด ห้ามมิให้ลบออก ให้เพียงแต่ขีดฆ่าคำผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงาน หรือบุคคลผู้แก้ไขเช่นนั้น ต้องลงนามย่อรับรองไว้ที่ข้างกระดาษ

ถ้อยคำตกเติมในเอกสารดั่งบรรยายในมาตรานี้ ต้องลงนามย่อของผู้พิพากษา เจ้าพนักงาน หรือบุคคลผู้ซึ่งตกเติมนั้นกำกับไว้

มาตรา ๑๓ การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ให้ใช้ภาษาไทย แต่ถ้ามีการจำเป็นต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ก็ให้ใช้ล่ามแปล

เมื่อมีล่ามแปลคำให้การ คำพะยาน หรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่า จะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล

ให้ล่ามลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น

มาตรา ๑๔ ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำหรือให้การว่า ตรวจได้ผลประการใด

ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือมอบให้แก่ผู้อนุบาล ข้าหลวงประจำจังหวัด หรือผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร

กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดั่งบัญญัติไว้ในวรรคก่อน ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้

มาตรา ๑๕ วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยฉะเพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้




มาตรา ๑๖ อำนาจศาล อำนาจผู้พิพากษา อำนาจพนักงานอัยยการ และอำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยการจัดตั้งศาลยุตติธรรมและระบุอำนาจและหน้าที่ของผู้พิพากษา หรือซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยยการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ



มาตรา ๑๗ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้

มาตรา ๑๘ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และนายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ซึ่งความผิดอาญาได้เกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิด ภายในเขตต์อำนาจของเขา หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือต้องจับภายในเขตต์อำนาจของเขา มีอำนาจทำการสอบสวนความผิดนั้นได้

ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๑๙, ๒๐ และ ๒๑ ความผิดอาญาได้เกิดในเขตต์อำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ ๆ ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน

ในเขตต์ท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายนาย การดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน

มาตรา ๑๙ ในกรณีดั่งต่อไปนี้

(๑) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่

(๒) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง

(๓) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป

(๔) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน

(๕) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง

(๖) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง

พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้

ในกรณีข้างต้น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือ พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตต์อำนาจ

(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือ พนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตต์อำนาจ

มาตรา ๒๐ ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายสยามได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรสยาม ให้อธิบดีกรมอัยยการหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานสอบสวนคนใดก็ได้

ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่งจากอธิบดีกรมอัยยการหรือผู้รักษาการแทน

(๑) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตต์อำนาจ

(๒) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นมีอำนาจชี้ขาด แต่ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองอธิบดีกรมตำรวจขึ้นไปเป็นผู้ชี้ขาด

ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัดควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้อธิบดีกรมอัยยการ หรือผู้ทำการแทน เป็นผู้ชี้ขาด

การรอคำชี้ขาดนั้นไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน



มาตรา ๒๒ เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้น ในเขตต์อำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า

(๑) เมื่อจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่ง หรือเมื่อเจ้าพนักงานทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตต์ของศาลดั่งกล่าวแล้ว จะชำระที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตต์อำนาจก็ได้

(๒) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรสยาม ให้ชำระคดีนั้นที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตต์ของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นได้ด้วย

มาตรา ๒๓ เมื่อศาลแต่สองศาลขึ้นไปต่างมีอำนาจชำระคดี ถ้าได้ยื่นฟ้องคดีนั้นต่อศาลหนึ่งซึ่งตามฟ้องความผิดมิได้เกิดในเขตต์ โจทก์หรือจำเลยจะร้องขอให้โอนคดีไปชำระที่ศาลอื่นซึ่งความผิดได้เกิดในเขตต์ก็ได้

ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขตต์ แต่ต่อมา ความปรากฏแก่โจทก์ว่าการพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้น ถ้าให้อีกศาลหนึ่งซึ่งมีอำนาจชำระคดีได้พิจารณาคดีนั้น โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่งคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาขอโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้ แม้ว่าจำเลยจะคัดค้านก็ตาม เมื่อศาลเห็นสมควร จะโอนคดีไปหรือยกคำร้องเสียก็ได้

มาตรา ๒๔ เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใด เป็นต้นว่า

(๑) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิดคนเดียวกัน หรือผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้ หรือรับของโจรก็ตาม

(๒) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียวกัน หรือโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาแต่ก่อนแล้ว

(๓) ปรากฏว่าความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้นโดยมีเจตนาช่วยผู้กระทำผิดอื่นให้พ้นจากรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้

ดั่งนี้ จะฟ้องคดีทุกเรื่องหรือฟ้องผู้กระทำความผิดทั้งหมดต่อศาลซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้

ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ศาลซึ่งมีอำนาจชำระ ก็คือ ศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิดเกี่ยวพันกันนั้นไว้ก่อน

มาตรา ๒๕ ศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้ จะพิจารณาพิพากษารวมกันไปก็ได้

ถ้าศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้เห็นว่าเป็นการสมควรที่ความผิดฐานหนึ่งควรได้ชำระในศาลซึ่งตามปกติมีอำนาจจะชำระ ถ้าหากว่าคดีนั้นไม่เกี่ยวกับคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลเดิมได้ตกลงกับอีกศาลหนึ่งแล้ว จะสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอื่นนั้นก็ได้

มาตรา ๒๖ หากว่าตามลักษณะของความผิด ฐานะของจำเลย จำนวนจำเลย ความรู้สึกของประชาชนส่วนมากแห่งท้องถิ่นนั้น หรือเหตุผลอย่างอื่น อาจมีการขัดขวางต่อการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น เมื่อโจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่ออธิบดีศาลฎีกาขอให้โอนคดีไปศาลอื่น ถ้าอธิบดีศาลฎีกาอนุญาตตามคำขอนั้น ก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่อธิบดีศาลฎีการะบุไว้

คำสั่งของอธิบดีศาลฎีกาอย่างใดย่อมเด็ดขาดเพียงนั้น

มาตรา ๒๗ ผู้พิพากษาในศาลใดซึ่งชำระคดีอาญาจะถูกตั้งรังเกียจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในเรื่องนั้นก็ได้





มาตรา ๒๘ บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

(๑) พนักงานอัยยการ

(๒) ผู้เสียหาย

มาตรา ๒๙ เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามี หรือภริยา จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้

ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้แทนฉะเพาะคดี ได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้

มาตรา ๓๐ คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้

มาตรา ๓๑ คดีอาญาที่มิใช่ความผิดส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้

มาตรา ๓๒ เมื่อพนักงานอัยยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงานอัยยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้น ๆ ได้

มาตรา ๓๓ คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้น ๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการ หรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษา

แต่ทว่า จะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน

มาตรา ๓๔ คำสั่งไม่ฟ้องคดีหาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่

มาตรา ๓๕ คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา จะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย

คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย

มาตรา ๓๖ คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องอีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้

(๑) ถ้าพนักงานอัยยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่

(๒) ถ้าพนักงานอัยยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไปโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่

(๓) ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว

มาตรา ๓๗ คดีอาญาเลิกกันได้ ดั่งต่อไปนี้

(๑) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา

(๒) ในคดีลหุโทษ หรือความผิดต่อกฎหมายแผนกภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินกว่าสองร้อยบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่กรมการอำเภอได้เปรียบเทียบแล้วตามความในมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช ๒๔๕๗

(๓) ในคดีลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินสองร้อยบาท ซึ่งเกิดในจังหวัดพระนครและธนบุรี เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว

(๔) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

มาตรา ๓๘ ความผิดตามอนุมาตรา (๒) (๓) และ (๔) แห่งมาตราก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวในมาตรานั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบ ดั่งนี้

(๑) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด

ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป

(๒) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน

มาตรา ๓๙ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดั่งต่อไปนี้

(๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด

(๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย

(๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗

(๔) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง

(๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น

(๖) เมื่อคดีขาดอายุความ

(๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ



มาตรา ๔๐ การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา หรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา ๔๑ ถ้าการพิจารณาคดีแพ่งจักทำให้การพิจารณาคดีอาญาเนิ่นช้าหรือติดขัด ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา และพิจารณาต่างหากโดยศาลที่มีอำนาจชำระ

มาตรา ๔๒ ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถ้าพะยานหลักฐานที่นำสืบแล้วในคดีอาญายังไม่เพียงพอ ศาลจะเรียกพะยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมอีกก็ได้

ในกรณีเช่นนั้น ศาลจะพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้

มาตรา ๔๓ คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาศูนย์เสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย

มาตรา ๔๔ การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตามมาตราก่อน พนักงานอัยยการจะขอรวมไปกับคดีอาญา หรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้

คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ให้รวมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา

มาตรา ๔๕ คดีเรื่องใด ถึงแม้ว่าได้ฟ้องในทางอาญาแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องในทางแพ่งอีก

มาตรา ๔๖ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

มาตรา ๔๗ คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่

ราคาทรัพย์สินที่สั่งให้จำเลยใช้แก่ผู้เสียหาย ให้ศาลกำหนดตามราคาอันแท้จริง ส่วนจำนวนเงินค่าทดแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับนั้น ให้ศาลกำหนดให้ตามความเสียหาย แต่ต้องไม่เกินคำขอ

มาตรา ๔๘ เมื่อศาลพิพากษาให้คืนทรัพย์สิน แต่ยังไม่ปรากฏตัวเจ้าของ เมื่อใดปรากฏตัวเจ้าของแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาของคืนของนั้นให้แก่เจ้าของไป

ในกรณีที่ปรากฏตัวเจ้าของ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาของคืนของนั้นให้แก่เจ้าของไป

เมื่อมีการโต้แย้งกัน ให้บุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของอันแท้จริงในทรัพย์สินนั้นฟ้องเรียกร้องยังศาลที่มีอำนาจชำระ

มาตรา ๔๙ แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของก็ได้

มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๔๓ และ ๔๔ ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

มาตรา ๕๑ ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาดั่งที่กฎหมายลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา แม้ถึงว่าผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตในมาตรา ๑๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเป็นผู้ฟ้องหรือได้ฟ้องต่างหากจากคดีอาญาก็ตาม

ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้องต่อศาลแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตามมาตรา ๗๙ แห่งกฎหมายลักษณะอาญา

ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญา และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความในมาตรา ๑๖๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญา และศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้ว ก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์





มาตรา ๕๒ การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือมาศาล เนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ จักต้องมีหมายเรียกของพนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือของศาล แล้วแต่กรณี

แต่ในกรณีที่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกผู้ต้องหาหรือพะยานมาได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก

มาตรา ๕๓ หมายเรียกต้องทำเป็นหนังสือ และมีข้อความดั่งต่อไปนี้

(๑) สถานที่ที่ออกหมาย

(๒) วันเดือนปีที่ออกหมาย

(๓) ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา

(๔) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา

(๕) สถานที่ วันเดือนปี และเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง

(๖) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย

มาตรา ๕๔ ในการกำหนดวันและเวลาที่จะให้มาตามหมายเรียกนั้น ให้พึงระลึกถึงระยะทางใกล้ไกล เพื่อให้ผู้ถูกเรียกมีโอกาสมาถึงตามวันเวลากำหนดในหมาย

มาตรา ๕๕ การส่งหมายเรียกแก่ผู้ต้องหา จะส่งให้แก่บุคคลผู้อื่นซึ่งมิใช่สามี ภริยา ญาติ หรือผู้ปกครองของผู้รับหมาย รับแทนนั้นไม่ได้

มาตรา ๕๖ เมื่อบุคคลที่รับหมายเรียกอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ซึ่งออกหมาย เป็นหมายศาล ก็ให้ส่งไปศาล เป็นหมายพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้ส่งยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ที่มีอำนาจออกหมายเรียกซึ่งผู้ถูกเรียกอยู่ในท้องที่ เมื่อศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับหมายเช่นนั้นแล้ว ก็ให้สลักหลังหมายแล้วจัดการส่งแก่ผู้รับต่อไป  





มาตรา ๕๗ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๗๘, ๗๙, ๘๐, ๙๒ และ ๙๔ แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือค้นในที่ระโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีหมายอาญาสำหรับการนั้น

บุคคลที่ต้องขังหรือจำคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล

มาตรา ๕๘ เจ้าพนักงานและศาลมีอำนาจออกหมายอาญาได้ภายในเขตต์อำนาจ ดั่งต่อไปนี้

(๑) ถ้าเป็นหมายจับผู้ต้องหาที่มิได้อยู่ในอำนาจศาล ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่

(๒) ถ้าเป็นหมายจับจำเลยหรือผู้ต้องหาที่อยู่ในอำนาจศาล ได้แก่ ศาล

(๓) ถ้าเป็นหมายค้น ได้แก่ ศาล หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่

(๔) ถ้าเป็นหมายขัง จำคุก หรือปล่อย ได้แก่ ศาล

มาตรา ๕๙ เจ้าพนักงานหรือศาลผู้มีอำนาจออกหมายจับ หมายค้น หรือหมายขัง จะออกหมายนั้นโดยพลการหรือโดยมีผู้ร้องขอก็ได้

ในกรณีที่มีผู้ร้องขอ เจ้าพนักงานหรือศาลผู้ออกหมายจะต้องสอบให้ปรากฏเหตุผลสมควรที่จะออกหมายนั้นเสียเสียก่อน เหตุผลนี้จะได้มาจากคำแจ้งความโดยสาบานตัวหรือจากพฤตติการณ์อย่างอื่นก็ได้

มาตรา ๖๐ หมายจับ ค้น ขัง จำคุก หรือปล่อย ต้องทำเป็นหนังสือ และมีข้อความดั่งต่อไปนี้

(๑) สถานที่ที่ออกหมาย

(๒) วันเดือนปีที่ออกหมาย

(๓) เหตุที่ต้องออกหมาย

(๔) (ก) ในกรณีออกหมายจับ ต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคลที่จะจับ

 (ข) ในกรณีออกหมายขัง จำคุก หรือปล่อย ต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกขัง จำคุก หรือปล่อย

 (ค) ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้น และชื่อหรือรูปพรรณบุคคลหรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้น กำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้นนั้น

(๕) (ก) ในกรณีออกหมายจับ หมายขัง หรือหมายค้น ให้ระบุความผิด

 (ข) ในกรณีออกหมายจำคุก ให้ระบุความผิดและกำหนดโทษตามคำพิพากษา

 (ค) ในกรณีออกหมายขังหรือจำคุก ให้ระบุสถานที่ซึ่งให้ขังหรือจำคุก

 (ง) ในกรณีออกหมายปล่อย ให้ระบุเหตุที่ให้ปล่อย

(๖) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย

มาตรา ๖๑ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๙๗ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจและหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญาซึ่งได้มอบหรือส่งมาให้จัดการภายในอำนาจของเขา

หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออกหรือสลักหลัง จะมอบหรือส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตต์อำนาจของศาลดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจประจำจังหวัดหรืออำเภอซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้

ในกรณีหลัง เจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้องรับผิดชอบในการจัดการตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการให้ก็ได้ หรือจะมอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องให้แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมายซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้นได้มอบหรือส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกันก็ได้

หมายอาญาใดซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ออก เจ้าพนักงานนั้นจะจัดการตามหมายด้วยตนเองภายในเขตต์อำนาจหรือจะจัดการให้เป็นไปดั่งบัญญัติไว้ในวรรค ๒ และ ๓ ก็ได้

มาตรา ๖๒ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ซึ่งว่าด้วยการจับและค้น เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายนั้นต้องแจ้งข้อความในหมายให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ และถ้ามีคำขอร้อง ให้ส่งหมายนั้นให้เขาตรวจดู

การแจ้งข้อความในหมาย การส่งหมายให้ตรวจดู และวันเดือนปีที่จัดการเช่นนั้น ให้บันทึกไว้ในหมายนั้น

มาตรา ๖๓ เมื่อเจ้าพนักงานได้จัดการตามหมายอาญาแล้ว ให้บันทึกรายละเอียดในการจัดการนั้น ถ้าจัดการตามหมายไม่ได้ ให้บันทึกพฤตติการณ์ไว้ แล้วให้ส่งบันทึกนั้นไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ออกหมายโดยเร็ว

มาตรา ๖๔ ถ้าบุคคลที่มีชื่อในหมายอาญาถูกจับ หรือบุคคลหรือสิ่งของที่มีหมายให้ค้นได้ค้นพบแล้ว ถ้าสามารถจะทำได้ ก็ให้ส่งบุคคลหรือสิ่งของนั้นโดยด่วนไปยังผู้ออกหมาย เว้นแต่จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา ๖๕ ถ้าบุคคลที่ถูกจับตามหมายหลบหนีหรือมีผู้ช่วยให้หนีไปได้ เจ้าพนักงานผู้จับมีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นโดยไม่ต้องมีหมายอีก  



มาตรา ๖๖ เหตุที่จะออกหมายจับได้ มีดั่งต่อไปนี้

(๑) เมื่อผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือจำเลย เป็นผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

(๒) เมื่อความผิดที่ผู้ต้องหาถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือที่จำเลยถูกฟ้องนั้น มีอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป

(๓) เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งไม่ได้ถูกควบคุมหรือขังอยู่ไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรก็ดี ได้หนีไปก็ดี มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพะยานหลักฐานโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ดี

(๔) เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งถูกปล่อยชั่วคราวมิสามารถทำสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงกว่าเดิมหรือหาหลักประกันมาเพิ่มหรือให้ดีกว่าเดิมตามมาตรา ๑๑๕

มาตรา ๖๗ จะออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อก็ได้ แต่ต้องบอกรูปพรรณของผู้นั้นให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้

มาตรา ๖๘ หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือเจ้าพนักงานหรือศาลผู้ออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน



มาตรา ๖๙ เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดั่งต่อไปนี้

(๑) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพะยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา

(๒) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด

(๓) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(๔) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ

(๕) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว

มาตรา ๗๐ หมายค้นซึ่งออกเพื่อพบและจับบุคคลนั้น ห้ามมิให้ออก เว้นแต่จะมีหมายจับบุคคลนั้นด้วย และเจ้าพนักงานซึ่งจะจัดการตามหมายค้นนั้นต้องมีทั้งหมายค้นและหมายจับ



มาตรา ๗๑ เมื่อจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้มาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ได้

ในระหว่างสอบสวน พนักงานอัยยการหรือพนักงานสอบสวนมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังตามความในมาตรา ๘๗

ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องก็ได้

หมายขังคงใช้ได้อยู่จนกว่าศาลจะได้เพิกถอนโดยออกหมายปล่อยหรือออกหมายจำคุกแทน

มาตรา ๗๒ หมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ตามหมายศาล ให้ออกในกรณีต่อไปนี้

(๑) เมื่อศาลสั่งปล่อยชั่วคราว

(๒) เมื่อพนักงานอัยยการหรือพนักงานสอบสวนขอให้ศาลปล่อย โดยเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน

(๓) เมื่อพนักงานอัยยการร้องต่อศาลว่า ได้ยุตติการสอบสวนแล้วโดยคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา

(๔) เมื่อพนักงานอัยยการไม่ฟ้องผู้ต้องหาในเวลาที่ศาลกำหนด

(๕) เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีไม่มีมูล และสั่งให้ยกฟ้อง เว้นแต่เมื่อโจทก์ร้องขอและศาลเห็นสมควรให้ขังจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา

(๖) เมื่อโจทก์ถอนฟ้องหรือมีการยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว หรือเมื่อศาลพิจารณาแล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นสมควรให้ขังจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา

(๗) เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษจำเลยอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่โทษประหารชีวิต จำคุก หรือให้อยู่ภายในเขตต์ที่อันมีกำหนด ถ้าโทษอย่างอื่นนั้นเป็นโทษปรับ เมื่อจำเลยได้เสียค่าปรับแล้ว หรือศาลให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีกำหนดวันเพื่อให้จำเลยหาเงินค่าปรับมาชำระต่อศาล

มาตรา ๗๓ คดีใดอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยต้องควบคุมหรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่ากำหนดจำคุกหรือกำหนดจำคุกแทนตามคำพิพากษา ให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ

มาตรา ๗๔ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๗๓ และ ๑๘๕ วรรค ๒ เมื่อผู้ใดต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิต หรือจะต้องจำคุกแทนค่าปรับ ให้ศาลออกหมายจำคุกผู้นั้นไว้

มาตรา ๗๕ เมื่อผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกถูกจำครบกำหนดแล้ว หรือได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อย หรือมีคำวินิจฉัยให้ปล่อยตัวไปโดยมีเงื่อนไข หรือมีกฎหมายยกเว้นโทษ หรือโทษจำคุกนั้นหมดไปโดยเหตุอื่น ให้ศาลออกหมายปล่อยผู้นั้นไป

มาตรา ๗๖ หมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องจัดการตามนั้นโดยพลัน





มาตรา ๗๗ หมายจับใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร

การจัดการตามหมายจับนั้น จะจัดการตามสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องแล้วหรือตามโทรเลขแจ้งว่าได้ออกหมายแล้วก็ได้ แต่ในกรณีหลัง ให้ส่งหมายหรือสำเนาอันรับรองแล้วไปยังเจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายโดยพลัน

มาตรา ๗๘ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับนั้นไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้

(๑) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐

(๒) เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิด หรือพบโดยมีพฤตติการณ์อันควรสงสัยว่า ผู้นั้นจะกระทำความผิด โดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

(๓) เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้ว และจะหลบหนี

(๔) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่า บุคคลนั้นได้กระทำความผิด และแจ้งด้วยว่า ได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว

เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่จับด้วยตนเอง ไม่ต้องมีหมาย แต่ต้องเป็นในกรณีที่อาจออกหมายจับได้หรือจับได้ตามประมวลกฎหมายนี้

มาตรา ๗๙ ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา ๘๒ หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย

มาตรา ๘๐ ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ

อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่า ความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดั่งนี้

(๑) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ

(๒) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น

มาตรา ๘๑ จะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับ

(๑) ในที่ระโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่ระโหฐาน

(๒) ในพระราชวัง หรือในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระมเหษี หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรืออยู่ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน

มาตรา ๘๒ เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับจะขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้ แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

มาตรา ๘๓ ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่า เขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจพร้อมด้วยผู้จับ แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป

ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤตติการณ์แห่งเรื่องในการจับผู้นั้น

มาตรา ๘๔ เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยทันที และเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ถ้ามีหมายจับก็ให้เอาออกอ่านให้ผู้ถูกจับฟัง ทั้งให้แจ้งเหตุที่จับนั้นด้วย

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่งนั้นจะควบคุมผู้ถูกจับไว้หรือปล่อยชั่วคราวก็ได้ เมื่อจับโดยมีหมาย ให้รายงานต่อไปยังเจ้าหน้าที่ซึ่งออกหมายนั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ซึ่งออกหมายต้องการตัว ก็ให้จัดการส่งผู้ถูกจับไปให้

ถ้าราษฎรเป็นผู้จับ ให้บันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งข้อความและพฤตติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ แล้วให้ผู้จับลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นสำคัญ

ในกรณีที่จำเป็น เจ้าพนักงานหรือราษฎรที่ทำการจับจะจัดการพยาบาลผู้ถูกจับเสียก่อนนำตัวไปส่งตามมาตรานี้ก็ได้

มาตรา ๘๕ เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้จับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพะยานหลักฐานได้

การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น

สิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้ว ก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา ๘๖ ห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น

มาตรา ๘๗ ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤตติการณ์แห่งคดี ในกรณีซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ จะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การและที่จะรู้ตัวว่า เป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหน เท่านั้น เว้นแต่เจ้าพนักงานจะเห็นว่า ถ้าปล่อยไปจะหลบหนี

ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แต่มิให้นับเวลาเดินทางที่นำตัวผู้ถูกจับมาศาลรวมเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น จะยืดเวลาเกินกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก็ได้เท่าเหตุจำเป็น แต่มิให้เกินสิบห้าวัน

ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคก่อนเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้น ให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้

ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระทำลงมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หนเดียวมีกำหนดไม่เกินสิบห้าวัน

ในคดีอย่างอื่นศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้แต่คราวหนึ่งต้องไม่เกินสิบห้าวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสามเดือนเป็นอย่างช้า

ในกรณีที่กำหนดการสั่งขังหมดไป ให้ศาลออกหมายปล่อยผู้ต้องหา เว้นแต่พนักงานอัยยการได้ฟ้องผู้ต้องหาหรือพนักงานอัยยการหรือพนักงานสอบสวนได้ขอให้ขังต่อไปอีก

มาตรา ๘๘ นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องจำเลยที่ต้องขังตามหมายศาล ๆ จะขังจำเลยต่อไปหรือปล่อยชั่วคราวก็ได้

มาตรา ๘๙ หมายขังหรือหมายจำคุกต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้นในเขตต์ของศาลซึ่งออกหมาย

มาตรา ๙๐ เมื่อมีการอ้างว่า บุคคลใดต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย หรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล บุคคลเหล่านี้มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อย คือ

(๑) บุคคลที่ถูกเข้าเช่นนั้น

(๒) สามี ภริยา หรือญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

(๓) พนักงานอัยยการ

(๔) ผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดี

เมื่อได้รับคำร้องดั่งนั้น ให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดการควบคุม ขัง หรือจำคุก และผู้ที่ถูกควบคุม ขัง หรือจำคุกมาพร้อมกัน ถ้าเป็นที่พอใจศาลว่า การควบคุมหรือการขังนั้นผิดกฎหมาย หรือการจำคุกนั้นผิดจากคำพิพากษา ก็ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้นั้นไป



มาตรา ๙๑ ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๘๑ (๒) มาบังคับในเรื่องค้นโดยอนุโลม

มาตรา ๙๒ ห้ามมิให้ค้นในที่ระโหฐานโดยไม่มีหมายค้นเว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่ระโหฐาน

(๒) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่ระโหฐาน

(๓) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่ระโหฐานนั้น

(๔) เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่า สิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน

(๕) เมื่อที่ระโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา ๗๘

เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ค้นด้วยตนเอง ไม่ต้องมีหมายค้นก็ได้ แต่ต้องเป็นในกรณีที่อาจออกหมายค้นหรือค้นได้ตามประมวลกฎหมายนี้

มาตรา ๙๓ ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

มาตรา ๙๔ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นในที่ระโหฐาน สั่งเจ้าของหรือคนอยู่ในนั้นหรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้น ให้ยอมให้เข้าไปโดยมิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควรทุกประการในอันที่จะจัดการตามหมาย ทั้งนี้ให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมาย หรือถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ให้แสดงนามและตำแหน่ง

ถ้าบุคคลดั่งกล่าวในวรรคต้นมิยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป ในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตูเรือน หน้าต่าง รั้ว หรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันนั้นก็ได้

มาตรา ๙๕ ในกรณีค้นหาสิ่งของที่หาย ถ้าพอทำได้ จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งของนั้นหรือผู้แทนของเขาไปกับเจ้าพนักงานในการค้นนั้นด้วยก็ได้

มาตรา ๙๖ การค้นในที่ระโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดั่งนี้

(๑) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้

(๒) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งหรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้

(๓) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องมีอนุญาตพิเศษจากอธิบดีกรมตำรวจหรือข้าหลวงประจำจังหวัดเพื่อการค้นในจังหวัดนั้น ส่วนหัวหน้าในการค้นนั้น ต้องเป็นนายอำเภอหรือนายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

มาตรา ๙๗ ในกรณีที่ค้นโดยมีหมาย เจ้าพนักงานผู้มีชื่อในหมายค้นหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น มีอำนาจเป็นหัวหน้าไปจัดการให้เป็นไปตามหมายนั้น

มาตรา ๙๘ การค้นในที่ระโหฐานนั้นจะค้นได้แต่ฉะเพาะเพื่อหาตัวคนหรือสิ่งของที่ต้องการค้นเท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นดั่งนี้

(๑) ในกรณีที่ค้นหาสิ่งของโดยไม่จำกัดสิ่ง เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจยึดสิ่งของใด ๆ ซึ่งน่าจะใช้เป็นพะยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาหรือจำเลย

(๒) เจ้าพนักงานซึ่งทำการค้นมีอำนาจจับบุคคลหรือสิ่งของอื่นในที่ค้นนั้นได้เมื่อมีหมายอีกต่างหาก หรือในกรณีความผิดซึ่งหน้า

มาตรา ๙๙ ในการค้นนั้น เจ้าพนักงานต้องพยายามมิให้มีการเสียหายและกระจัดกระจายเท่าที่จะทำได้

มาตรา ๑๐๐ ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือจะถูกค้น จะขัดขวางถึงกับทำให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจเอาตัวผู้นั้นควบคุมไว้หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้ขัดขวางถึงกับทำให้การค้นนั้นไร้ผล

ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นได้เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อนในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ดั่งบัญญัติไว้ตามมาตรา ๘๕

มาตรา ๑๐๑ สิ่งของซึ่งยึดได้ในการค้น ให้ห่อหรือบรรจุหีบห่อตีตราไว้หรือให้ทำเครื่องหมายไว้เป็นสำคัญ

มาตรา ๑๐๒ การค้นในที่ระโหฐานนั้น ก่อนลงมือค้น ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นแสดงความบริสุทธิเสียก่อน และเท่าที่สามารถจะทำได้ ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น หรือถ้าหาบุคคลเช่นกล่าวนั้นไม่ได้ ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพะยาน

การค้นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้ทำต่อหน้าผู้นั้น ถ้าผู้นั้นไม่สามารถหรือไม่ติดใจมากำกับจะตั้งผู้แทนหรือให้พะยานมากำกับก็ได้ ถ้าผู้แทนหรือพะยานไม่มี ให้ค้นต่อหน้าบุคคลในครอบครัวหรือต่อหน้าพะยานดั่งกล่าวในวรรคก่อน

สิ่งของใดที่ยึดได้ ต้องให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทน หรือพะยานดูเพื่อให้รับรองว่าถูกต้อง ถ้าบุคคลเช่นกล่าวนั้นรับรองหรือไม่ยอมรับรอง ก็ให้บันทึกไว้

มาตรา ๑๐๓ ให้เจ้าพนักงานผู้ค้นบันทึกรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องมีบัญชีรายละเอียดไว้

บันทึกการค้นและบัญชีสิ่งของนั้น ให้อ่านให้ผู้ครอบครองสถานที่ บุคคลในครอบครัว ผู้ต้องหา จำเลย ผู้แทน หรือพะยานฟัง แล้วแต่กรณี แล้วให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อรับรองไว้

มาตรา ๑๐๔ เจ้าพนักงานที่ค้นโดยมีหมาย ต้องรีบส่งบันทึกและบัญชีดั่งกล่าวในมาตราก่อนพร้อมด้วยสิ่งของที่ยึดมา ถ้าพอจะส่งได้ ไปยังผู้ออกหมายหรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กำหนดไว้ในหมาย

ในกรณีที่ค้นโดยไม่มีหมายโดยเจ้าพนักงานอื่นซึ่งไม่ใช่พนักงานสอบสวน ให้ส่งบันทึก บัญชี และสิ่งของไปยังพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ใดซึ่งต้องการสิ่งเหล่านั้น

มาตรา ๑๐๕ จดหมาย ไปรษณีย์บัตร์ โทรเลข สิ่งพิมพ์ หรือเอกสารอื่นซึ่งส่งทางไปรษณีย์และโทรเลข จากหรือถึงผู้ต้องหาหรือจำเลย และยังมิได้ส่ง ถ้าเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณา หรือการกระทำอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายนี้ ให้ขอคำสั่งจากศาลถึงเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรเลขให้ส่งเอกสารนั้นมา

ถ้าอธิบดีกรมตำรวจหรือข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นว่า เอกสารนั้นต้องการใช้เพื่อการดั่งกล่าวแล้ว ระหว่างที่ขอคำสั่งต่อศาล มีอำนาจขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไปรษณีย์โทรเลขเก็บเอกสารนั้นไว้ก่อน

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ไม่ใช้ถึงเอกสารโต้ตอบระหว่างผู้ต้องหาหรือจำเลยกับทนายความของผู้นั้น



มาตรา ๑๐๖ คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ไม่ว่าผู้นั้นต้องควบคุมหรือขังตามหมายศาลย่อมยื่นได้โดยผู้ต้องหา จำเลยหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องดั่งนี้

(๑) เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยยการ แล้วแต่กรณี

(๒) เมื่อผู้ต้องหาต้องขังตามหมายศาลและยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นคำร้องต่อศาลนั้น

(๓) เมื่อผู้ต้องหาถูกฟ้องแล้ว ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น

(๔) ในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้นหรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้

มาตรา ๑๐๗ เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งโดยอาศัยหลักเกณฑ์ในหกมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๑๐๘ ในการวินิจฉัยคำร้องให้ปล่อยชั่วคราวให้พึงพิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบ

(๑) ความหนักเบาแห่งข้อหา

(๒) พะยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด

(๓) พฤตติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร

(๔) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด

(๕) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่

(๖) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่

(๗) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยยการ หรือโจทก์ แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

มาตรา ๑๐๙ ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ถ้ามีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลจะต้องถามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยยการหรือโจทก์ว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่

มาตรา ๑๑๐ ในคดีมีอัตราโทษจำคุกในอัตราอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้

ในคดีอย่างอื่นจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้

มาตรา ๑๑๑ เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย ก่อนที่จะปล่อยไป ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยสาบานหรือปฏิญาณตนว่า จะมาตามนัดหรือหมายเรียก

มาตรา ๑๑๒ เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน ก่อนปล่อยไปให้ผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันลงลายมือชื่อในสัญญาประกันนั้น

ในสัญญาประกัน นอกจากข้อความอย่างอื่นอันพึงมี ต้องมีข้อความดั่งนี้ด้วย

(๑) ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหรือผู้ประกัน แล้วแต่กรณี จะปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาลซึ่งให้ปล่อยชั่วคราว

(๒) เมื่อผิดสัญญา จะใช้เงินจำนวนที่ระบุไว้

มาตรา ๑๑๓ เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยยการสั่งปล่อยชั่วคราว สัญญาประกันนั้นใช้ได้ระหว่างสอบสวนหรือจนกว่าผู้ต้องหาถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนหรือตลอดไปจนถึงศาลประทับฟ้องเท่านั้น

มาตรา ๑๑๔ เมื่อจะปล่อยชั่วคราวโดยให้มีประกันและหลักประกันด้วย ก่อนปล่อยตัวไป ให้ผู้ร้องขอประกันจัดหาหลักประกันมาดั่งต้องการ

หลักประกันมี ๓ ชะนิด คือ

(๑) มีเงินสดมาวาง

(๒) มีหลักทรัพย์อื่นมาวาง

(๓) มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน โดยแสดงหลักทรัพย์

มาตรา ๑๑๕ โดยความปรากฏต่อมา หรือเนื่องจากกลฉ้อฉลหรือผิดหลง ปรากฏว่า สัญญาประกันต่ำไปหรือหลักประกันไม่เพียงพอ เจ้าพนักงานหรือศาลมีอำนาจเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันมาพร้อมกัน ในกรณีแรกให้เปลี่ยนสัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงขึ้น ในกรณีหลังให้เรียกหลักประกันเพิ่มหรือดีกว่าเดิม

ในกรณีที่ศาลปล่อยชั่วคราว และคดีขึ้นไปสู่ศาลสูง ๆ มีอำนาจแก้คำสั่งศาลล่างให้จำเลยทำหรือหาประกันเป็นจำนวนเงินสูงขึ้น หรือถ้าเห็นว่า หลักประกันไม่เพียงพอ จะสั่งให้หาหลักประกันเพิ่มหรือดีกว่าเดิมก็ได้

มาตรา ๑๑๖ การขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ย่อมทำได้เมื่อผู้ทำสัญญามอบตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยคืนต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

มาตรา ๑๑๗ เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยหนีหรือจะหลบหนี บุคคลซึ่งทำสัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันอาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ถ้ามิสามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานเช่นนั้นได้ทันท่วงที ก็ให้มีอำนาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นได้เอง แล้วส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ใกล้ที่สุด และให้พนักงานนั้นรีบจัดส่งผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นไปยังเจ้าพนักงานหรือศาล โดยคิดค่าพาหนะจากบุคคลนั้น

มาตรา ๑๑๘ เมื่อคดีถึงที่สุดหรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปตามมาตรา ๑๑๖ หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป

มาตรา ๑๑๙ ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นควรโดยมิต้องฟ้อง แต่เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยยการมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้





มาตรา ๑๒๐ ห้ามมิให้พนักงานอัยยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน

มาตรา ๑๒๑ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง

แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ

มาตรา ๑๒๒ พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีต่อไปนี้ก็ได้

(๑) เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ

(๒) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน

(๓) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ

มาตรา ๑๒๓ ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้

คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ ลักษณะแห่งความผิด พฤตติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความเสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณ์ของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้

คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็นหนังสือ ต้องมีวันเดือนปีและลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้องด้วยปาก ให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลงลายมือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น

มาตรา ๑๒๔ ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวนและเป็นผู้ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้

หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/69หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/70หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/71หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/72หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/73หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/74หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/75หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/76หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/77หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/78หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/79หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/80หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/81หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/82หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/83หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/84หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/85หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/86หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/87หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/88หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/89หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/90หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/91หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/92หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/93หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/94หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/95หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/96หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/97หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/98หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/99หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/100หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/101หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/102หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/103หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/104หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/105หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/106หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/107หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/108หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/109หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/110หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/111หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/112หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/113หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/114หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/115หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/116หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/117หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/118หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/119หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/120หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/121หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/122หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/123หน้า:พรบ ให้ใช้ ปวิอ ๒๔๗๗.pdf/124

บรรณานุกรม[แก้ไข]

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"