สยามแพทยศาสตร์/ส่วนที่ 2
หน้าตา
สารบัญ
คำเดิม | คำแปล | คำอธิบาย | ||
กุญ. | หมู, ช้าง. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทยใน ๑๒ ชื่อ เปนชื่อดาวนักษัตรประจำปี. | ||
กุศล. | ตัดชั่ว, ตัดน่าเกลียด. | สิ่งซึ่งเปนของตัดความชั่วใน โรคทั้ง ๒ เสียได้. | ||
กาลปักษี. | โรคมีอาการเหมือนมี ปีกบินมาในกาล. |
ชื่อโรคซึ่งเกิดแก่เด็กอย่าง ๑. | ||
กรีสัง. | อาการที่น่าเกลียด. | อาหารเก่า. | ||
เกรี่ยวดำ. | อาการหนาวสั่นทันที. | เพราะเลือดไม่เดินปรกติ. | ||
กรรมชวาต. | ลมเกิดแต่กรรม. | ชื่อลมอย่าง ๑. | ||
ขาล. | เสือ. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
ขยโรคติกิจฉา. | การรักษาโรคขัย. | ที่เปนโรคตามอายุ หรือสิ้นอายุ หรือกษัย. | ||
ขสุททโรควณ- ภคันธระ- ติกิจฉา. |
ขสุทท น้ำแสบน้ำด่าง. วณะ แผล. ภคันธระ ฝี⟨.⟩ ติกิจฉา รักษา. |
กษุทปลายเข้าเล็ก ๆ ใช้ว่าฝีในท้อง. เปน ภคัณฑระ จึงถูก ที่เปนโรค ตามอายุหรือสิ้นอายุ. | ||
ครรภรักษา. | รักษาหญิงมีท้อง. | เปนชื่อตำรายาส่วน ๑. | ||
โค-รค. | โรคเกิดแต่โค. | ใช้เปนของประกอบยา. | ||
คุลุมโรค. | โรคคุลุม. | คลุม แปลว่า พุม, ตี, กลุ่ม⟨,⟩ แสบไป, แทรกไป, กลุ้มใจ. | ||
ฆานโรคกิจฉา. | โรคจมูก. | เหนจะเปนริดสีดวงจมูก. | ||
จอ. | หมา. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
เจ้าเรือน. | เจ้าของสำหรับขึ้น ประจำ. |
วันกำเนิดของกุมาร. | ||
ฉลู. | วัว. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
ชีวกโกมารภัจ. | เปนชื่อหมอผู้ประ เสริฐคน ๑. |
ผู้นี้เปนผู้วิเศษ ครั้งพระพุทธ เจ้ายังมีพระชนม์อยู่. | ||
ชาติ. | กำเนิด | ชาติของคนและสัตว์. | ||
ฌาน. | สิ่งที่เพ่งอารมณ์ เผา กิเลมใหม้ไป. |
เปนชื่อธรรมวิเศษอย่าง ๑. | ||
ญาณ. | ความรู้. | ปัญญาที่ได้เลือกฟั้นแล้ว. | ||
ดาบศ. | ผู้มีเพียนทำกิเลสให้ เร่าร้อน. |
เปนชื่อนักบวชผู้หนึ่ง. | ||
ตระกูล. | เชื้อ, สาย, วงศ์. | ที่ยึดที่พักอาศัย. | ||
ตรีกฎุก. | ของ ๓ อย่าง | พริกไทย, ดีปลี, ขิง. | ||
ตรีผลา. | ลูกไม้ ๓ อย่าง. | สมอไทย, สมอพิเภก, มะขาม ป้อม. | ||
ตโจ. | หนัง. | เปนเปลือกสำหรับหุ้มห่ออา- การภายใน. | ||
ตรีสาร. | แก่นสามอย่าง. | แสมสาร, แสมทเล, ขี้เหล็ก, เจตมูล, สค้าน, ชาพลู ก็ว่า. | ||
เถาะ. | กระต่าย. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
ทิพยโอสถ. | ยาของเทวดา ยาทิพย์. | เปนยาอย่างประเสริฐ. | ||
เทพีปักษา. | โรคเหมือนสัตว์มีปีก บินได้ ฤๅดังเทวดา ผู้หญิง. |
ชื่อโรคซึ่งเกิดกับเด็กอย่าง ๑. | ||
ธาตุ. | ธรรมดาที่ทรงไว้. | มีสี่อย่าง คือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ. | ||
ธาตุวิปริต. | ความแปรปรวนของ ธาตุ. |
ธาตุเสียหรือวิการไปต่าง ๆ. | ||
นมัสการ. | กราบไหว้. | แสดงกิริยาที่อ่อนน้อม. | ||
หน้าผากสวย. | หน้าผากเรียว. | คำที่เรียกภาษาลาวว่า สวย. | ||
นิลปัตต์. | ดำที่โคนแขนเปนแผ่น เดียว. |
เปนชื่อพิษขอทรางอย่าง ๑. | ||
นักขา. | เล็บ. | เปน นขา. | ||
นาหาโร. | เอ็น. | เปน นหารู. | ||
บริเฉท. | ขาดรอบตัวที่กำหนด. | ที่จบเรื่องหนึ่ง ๆ. | ||
เบญจกัลยาณี. | หญิงมีงาม ๕ อย่าง. | ผม, ฟัน, เนื้อ, ผิว, ทรง. | ||
บริบูรณ์. | เต็มรอบ. | ไม่พร่อง ไม่ยิ่ง ไม่หย่อน. | ||
เบญจโกฏ. | โกฎทั้ง ๕. | นับโกฐสอเปนต้นไปตามพิกัด. | ||
เบญจนารายน์. | รัศมี ๕. | เปนชื่อยาอย่าง ๑. | ||
บุศบกปักษี. | นก. | ชื่อโรคของเด็กอย่าง ๑. | ||
บานฑโรค. | โรคเปนแผลที่ขอบ ทวาร ควรตัดออกเสีย. |
เหนจะเปน บัณฑโรค. | ||
เบญจกูณฑ์. | ยาร้อน ๕ อย่าง. | เจตมูล, ดีปลี, ขิง, ชาพลู, สค้าน เปนเบญจกูณฑ์. | ||
ปถมจินดา. | ผู้คิดทีแรก คือ แก้ว. ดวงแรก. |
เปนชื่อคัมภีร์แพทย์อย่าง ๑. | ||
ปฏิสนธิ. | ต่อเนื่อง. | เปนมูลกำเนิดของคนและสัตว์ ทั่วไป. | ||
ประสิทธิ. | สำเร็จ. | สมประสงค์. | ||
ปรากฎ. | เปนชัด. | ให้แลเหนว่าขาวหรือแดงเปน ต้น. | ||
ปากเอื้อน. | เหมือนดังจะพูด. | เปนภาษาลาว เอื้อน พูด. | ||
ประโยธร. | เต้านม ทรงไว้ซึ่งน้ำนม. | นมผู้หญิงซึ่งกำลังมีน้ำนม. | ||
ปถวีธาตุ. | ธาตุดิน. | มี ๒๐ อย่าง มีผมเปนต้น. | ||
ปิศาจ. | เปรตมีรูปวิกล. | นับเข้าในปะระทัตตูปชีวี. | ||
ประธาน. | ทรงไว้ทั่ว. | เปนหัวหน้า เปนใหญ่. | ||
ปัสสฆาฏ. | กะทบข้าง. | ชื่อลมอย่าง ๑. | ||
พิสดาร. | กว้างขวาง. | ถ้อยคำที่พูดโดยสิ้นเชิง. | ||
พิษ. | สิ่งที่พึงซาบซ่านได้. | อบไอที่หนาวและร้อนเปนต้น. | ||
แพทย์. | หมอ. | ผู้รักษาและแก้ไขให้หาย. | ||
พยาบาล. | ผู้เลี้ยงรักษา. | คนผู้ดูแลเปนธุระ. | ||
พยาธิ. | ความเจ็บป่วย. | ไข้พิษและไข้หวัดเปนต้น. | ||
พิการ. | แปลก. | ผิดปรกติที่เปนอยู่. | ||
พานรรูป. | รูปลิง. | ไม่ดี. | ||
ภพ. | ที่เกิด. | มนุษย์, สวรรค์, นรก. | ||
มโรง. | งูใหญ่. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
มเสง. | งูเล็ก. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
มหาบุรุษราช. | บุรุษผู้เปนกษัตริย์. | เปนพระนามของพระพุทธเจ้า. | ||
มหัศรูป. | อันทระใหญ่เหมือนม้า. | เปนชื่อลักษณะกุมาร. | ||
มนุษยรูป. | รูปคนธรรมดา. | เปนชื่อลักษณะกุมาร. | ||
ยักขินี. | นางผีเสื้อ. | เปนชื่อปิศาจพวก ๑. | ||
ระกา. | ไก่. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
รส. | ของที่เส้นเอนพึงนำ ไป. |
สิ่งที่มีอาการหวานและเปรี้ยว เปนต้น. | ||
ฤทธิยากร. | ผู้ทรงฤทธิ. | เปนชื่อฤๅษีองค์หนึ่ง. | ||
ฤทธิ. | ความสำเร็จ. | สำเร็จปรอทและฌานสมบัติ. | ||
รัตตกฤต. | ทำให้แดง. | แดงดุจแสงพระอาทิตย์. | ||
ธารยักษ์. | ยักษ์ชื่อธาร. | ชื่อลมอย่าง ๑. | ||
โลหิต. | เลือด. | ธาตุน้ำมีสีแดงแล่นอยู่ตามตัว คนและสัตว์. | ||
วอก. | ลิง. | เปนชื่อสัตว์ภาษาไทย. | ||
วิสัชนา. | คำกล่าวแก้. | อธิบายแก้คำถาม. | ||
วินาศ. | ฉิบหาย. | สิ่งที่จะไม่พึงมีได้ในข้างหน้า. | ||
วิรูฬหะนาภี. | ทำให้สดืองอก. | เปนชื่อยาชำระน้ำนมอย่าง ๑. | ||
ศักดิ์ | อำนาจ, หอก. | ซึ่งว่าจะเปนไปเพื่อความเปน ใหญ่. | ||
สังโยชน์. | ประกอบพร้อม. | คือลักษณะดีและชั่วซึ่งมีอยู่ใน กายคนและสัตว์. | ||
สังเขป. | คำย่นย่อ. | ถ้อยคำอันมิได้กว้างขวางยืด ยาว. | ||
สงสาร. | ที่ท่องเที่ยว, แล่นไป. | มนุษย์, สวรรค์, นรก. | ||
สัณฐาน. | ทรวดทรง. | มีสูงต่ำและขาวเหลืองเปนต้น. | ||
สุนทรวาต. | ลมละเอียด ลมตาม ท้อง. |
เปนชื่อโรคลม. | ||
สุนันทปักษี. | นกโบราณ. | ชื่อโรคซึ่งเกิดกับเด็กอย่าง ๑. | ||
สุริยาวัตรโรค. | โรคตามอาทิตย์. | คือ โรคอาทิตย์ขึ้น ปวดหัวมัว ตา. | ||
หัศดี, หัสดี. | ช้าง. | เปนชื่อสัตว์สี่เท้าพวก ๑. | ||
หทยัง. | หัวใจ. | ม้า ก็ว่า สิงห์โต ก็ว่า เขียว ก็ เหลือง ก็ว่า. | ||
อภิญญา. | ความรู้เฉพาะ. | ธรรมวิเศษอย่าง ๑. | ||
อุบล. | ดอกบัว. | ดอกบัวหลวง. | ||
อาโปธาตุ. | ธาตุน้ำ. | มี ๑๒ อย่าง นับแต่ดีเปนต้นไป. | ||
อทิสรูป. | ไม่เห็นตัว. | เปนชื่อทรางอย่าง ๑. | ||
อุดมรูป. | รูปอย่างดี. | ต้องลักษณะงาม ๕ ประการ. | ||
อาตุรรูป. | รูปเดือดร้อน. | ไม่ดี. | ||
อัคนิชวา. | แล่นไปในไฟ. | ชื่อเครื่องยาอย่าง ๑. | ||
อติสาร. | ระลึกล่วงน่าฤๅแล่น ไปเกิน. |
เชื่ออาการที่ลงไปหนัก. |