ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือจดหมายเหตุ/เล่มที่ 1 (หลัง)/ใบที่ 16/ส่วนที่ 1

จาก วิกิซอร์ซ
๏ กระษัตริย์เมืองยูในติศเทศ ๚

คนที่ดูในหัวข้อนี้ก็คงจะถามว่า, เมืองยูในทิศเทศมีกระสัตริย์ฤๅ. ได้ยินข่าวเปนความปะรำปะราว่ามาว่า, ไม่มีกระสัตรีย์, มีแต่เปรศซิเดนต์ที่ฝูงราษฎรจัดเลือกตั้งขึ้นไว้, ให้เปนเจ้าเมืองสี่ปี, เมื่อครบแล้วก็จัดเลือกใหม่. ที่เข้าใจดั่งนั้นก็ถูกบ้างผิดบ้าง. แต่เมืองยูในทิศเทศไม่มีคนเปนกระสัตรรีย์ก็จริง, มีแต่กอนสติติวซัน คือ กดหมายอย่างหนึ่ง สั้น ๆ เปนแบบอย่างสำรับจะให้เจ้าเมืองรักษาตัวแลรักษาเมืองตามกดหมายนั้น. เมื่อตั้งขึ้นเปนเจ้าเมือง ก็ต้องษาบาลตัวว่า จะรักษาบทกอนสติติวซันให้ถี่ท่วนตามสติปัญญาแลกำลังอันครบรีบูรณของตัว. แลหัวเมืองยูในทิศเทศทั้งปวงก็ได้ปฏิญาณตัวไว้, เปนใจความว่า, จะให้บทกอนสตติติวซันตั้งไว้เปนต่างกระษัตรีย์. ถ้าแม้นเปรศซิเดนต์จะหักทำลายกอนสติติวซันเมื่อใด ก็คงจะเปนโทษใหญ่เมื่อนั้น. ถ้าหัวเมืองใด ๆ เอาใจออกหากจากกอนสติตัวซันนั้น ก็จัดได้ชื่อว่าเปนขบถ. ฝูงราษฎรหัวเมืองทั้งปวงนั้นเปนผู้จัดเลือกตั้งบทกอนสติติวซันขึ้นเปนใหญ่แทนกระษัตรีย์. แลราษฎรทั้งปวงได้เลือกคนตั้งเปนเปรศซิเดนต์, สำรับจะป้องกันรักษาบทกอนสติติวซันให้มั่นคง.

ที่นี้ ข้าพเจ้าจะสำแดงให้ท่านทั้งปวงรู้ว่า กอนสติติวซันนั้นเปนอย่างไร. ข้าพเจ้าได้แปลออกเปนภาษาไทยตรง ๆ. บางที่แปลยาก จะเข้าใจก็ยาก, แต่ข้าพเจ้านึกเหนว่า ท่านทั้งหลายจะภอใจอ่านตรึกตรองดูกระษัตรีย์เมืองยูในทิศเทศบ้างดอกกระมัง. ถ้าเหนข้อใดบทใดมีสำคัญเปนเล็บนิ้ววงกันฉนี้, () ก็ให้เข้าใจว่า เปนแต่คำอธิบายความดอก.

๏ กอนสติติวซัน

ข้าพเจ้าทั้งหลาย, คือ ฝูงราษฎรแห่งเมืองยูในติศเทศ, เพื่อประสงค์จะได้กระทำให้เมืองของเรา, เปนอันอนึ่งอันเดียวกันกว่าแต่ก่อน, แลให้ตั้งมั่นคงในการยุตติธรรม, แลให้ความศุขในบ้านเมืองเราจำเริญขึ้น, แลจัดแจงการเพื่อจะได้ปอ้งกันเมืองเราไว้ทุกเมือง, เปนธุระอันเดียวกัน, แลเพื่อจะได้บำรุงซึ่งความศุขทุก ๆ หัวเมือง, แลรักษาซึ่งความเจริญแห่งลิเบอติ, (คือ ความเปนอัครแก่ตัว) สำหรับตัวข้าพเจ้าทั้งหลาย, แลลูกหลานเหลนของข้าพเจ้าทั้งหลาย, เราจึ่งได้ตั้งบทกอนสติติวซันนี้ไว้, ให้มั่นคง, สำหรับเมืองยูในติศเทศแห่งอเมริกา.

๏ ส่วนที่ ๑

ข้อที่หนึ่ง. แต่บันดาอำนารถสำหรับเมือง, ที่บทกอนสติติวซันนี้จะยอมให้ตั้งนั้น, ก็คงจะให้อยู่ในคอนเคร็ศ, (คือ ที่ท่านผู้ว่าราชการทั้งหลาย, แห่งเมืองยูในติศเทศประชุมกัน.) แลคอนเคร็ศนั้น, จะแบ่งออกเปนสองจำพวก. คือ พวกเซ็นเอ็ด พวหนึ่ง, แลพวกเร็บรีเซ็นเตติฟ พวกหนึ่ง.

๏ ส่วนที่ ๒

ข้อที่หนึ่ง. พวกเร็บรีเซ็นเตติฟนั้น, จะเปนคนที่ราษฎรในหัวเมืองทั้งปวง, ได้ตั้งไว้ครบสองปีแล้วตั้งที่หนึ่งทุก ๆ ปี. แลผู้ที่สำหรับเลือกตั้งเร็ปรีเซ็นเตติฟนั้น, คือ พวกราษฎรที่หัวเมืองทั้งปวงเหนมีลักขณะภอควรที่จะให้เขาเข้าในการเลือกขุนนางจำพวกใหญ่, สำหรับที่ว่าราชการในหัวเมืองทุกหัวเมืองนั้นเอง.

ข้อที่สอง. ห้ามมิให้ผุ้ใดผู้หนึ่ง, เปนเร็บรีเซ็นเตติฟ, ที่อายุศม์ไม่ถึง ๒๕ ปีแล้ว, แลที่ไม่ได้เปนชาวเมืองยูในติศเทศท่วน ๗ ปี, แลที่ไม่ได้เปนชาวประเทศหัวเมืองอันนั้น, เมื่อขณะเขาเลือกตัวตั้งไว้นั้น.

ข้อที่สาม. ทุกหัวเมืองทั้งปวง, จะให้มีพวกเร็บรีเซ็นเตติฟ, แลจะให้เก็บภาษี, สำหรับไช้ในการเมืองยูในติศเทศนั้น, มากน้อยตามคนที่มากแลน้อยเท่าใด. ในทุกหัวเมืองนั้น, ครั้นเมื่อจะใคร่รู้ว่า, หัวเมืองได ๆ, ควรที่จะตั้งเร็บรีเซ็นเตติฟขึ้นขี่คน, แลจะต้องเก็บภาษีสำหรับใช้ในเมืองยูในติศเทศมากน้อยเท่าไดจึ่งจะควร, ก็ต้องนับผู้ชายทั่วไปทั้งเมือง, ตั้งแต่อายุ ๒๑ ปีขึ้นไป, กับคนทั้งปวงที่เปนผู้รับไช้ในรว่างหลายปี, เว้นแต่ชาวป่าทั้งหลายที่ไม่ได้ต้องเสียค่าสร่วยแลอากรนั้น. แลชายทั้งปวงนอกนั้น, (คือ พวกทาษทั้งหลาย,) แบ่งออกเปนห้าสว่น, ที่นับเข้านั้น ๓ สว่น, ที่มิได้นับนั้น ๒ สว่น. การที่นับผู้ชายทั้งหลายนั้น, ต้องให้แล้วในรว่างสามปี, ตั้งแต่คอนเคร็ศแห่งเมืองยูในติศเทศ, เมื่อจะประชุมกันหนแรกนั้น. การนับคนนั้น, เมื่อครบ ๑๐ ปีแล้ว, ได้นับทีหนึ่ง, เปนการนับต่อ ๆ ไป, ตามอย่างเมืองยูในติศเทศ, จะมีกฎหมายให้ทำ. แต่ผู้ชายนั้นนับได้ ๓๐๐๐๐ คนนั้น แลจะยอมให้มีผู้เร็บรีเซ็นเตติฟแต่คนหนึ่งเท่านั้น. หัวเมืองทั้งปวง ถึงจะนับผู้ชายได้น้อย, แต่จะต้องมีเร็บรีเซ็นเตติฟคนหนึ่ง. เมื่อแรกยังมีได้นับผู้ชาย, ต้องจัดให้หัวเมืองนิวแฮมซเรียมีเร็บรีเซ็นเตติฟ ๓ คน.

ข้อที่สี่. เมื่อคนขาดในจำนวรเร็บรีเซ็นเตติฟ, ที่หัวเมืองใด ๆ, ฝ่ายเจ้าเมืองยูในติศเทศต้องรับสั่ง, ให้เมืองนั้นเลือกคนตั้งขึ้น, เปนเร๊บรีเซ็นเตติฟแทนคนที่ขาดนั้น.

ข้อที่ห้า. พวกเร็บรีเซ็นเตติฟนั้น, จะต้องเลือกมาจากในจำพวกของตนคนหนึ่ง, ตั้งไว้สำหรับเปนคนใหญ่ว่ากล่าวไนข้อราชการ. แลจะได้เลือกตั้งเจ้าพนักงานอื่นต่าง ๆ, ที่จะต้องการในที่ประชุมกันนั้น. ฝ่ายพวกเร็บรีเซ็นเตติฟนั้น, แต่พวกเดียวได้มีอำนาถ, ที่จะฟอ้งหากล่าวโทษแก่คนใดคนหนึ่ง, ที่เปนผู้ว่าราชการในเมืองหลวงได้.

๏ ส่วนที่สาม

ข้อที่หนึ่ง. พวกที่เรียกว่า เซนเอด แห่งเมืองยูในติษเทศนั้น, เปนคนที่ลีชิศเลเชอ, (คือ ขุนนางพวกหนึ่งที่เปนพนักงาน, ทำกดหมายสำรับหัวเมืองนั้น,) ได้เลือกตั้งขึ้นเปนเซนเนตอร์, เมืองละสองคน ให้เปนขุนนางว่าราชการในที่เมืองหลวงครบ ๖ ปี. พวกเซเนตอร์จะมีโวดคนละโวดเดียว. (เคือ เมื่อจะใคร่รู้ว่า การใด ๆ นั้นเขาจะชอบหฤๅมิชอบมีสักคี่คน, เมื่อจะนับเซนเนตอร์นั้น ต้องนับทุกคน ๆ ว่าเปนคนหนึ่ง ๆ. อย่าให้นับซ้ำเปนสองได้.)

ข้อที่สอง. เมื่อเดิมที่พวกเซนเนตอร์จะประชุมกันนั้น, เขาต้องแบ่งออกเปนสามส่วนเท่า ๆ กัน, นับเปนพวกที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม. แต่พวกหนึ่งนั้น เมื่อครบสองปีแล้ว, จะเปลยี่นเซนเนตอร์ในพวกที่หนึ่งนั้น ตั้งผู้อื่นแทน. ครั้นครบ ๔ ปีแล้ว จะเปลี่ยนพวกที่สองเหมือนกัน. ครั้นถึงหกปีแล้ว, ต้องเปลี่ยนพวกที่สามด้วย. เพราะเหตุนี้ ทุกหัวเมืองต้องเลือกเซนเนตอร์สองปีเลือกที่หนึ่ง, เสมอมาดังนั้น. ถ้าแม้นเซนเนตอร์ผู้ใดผู้หนึ่ง, ได้ออกนอกราชการเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็ดี, แลพวกลีชิศเลเชอได้เลีกไปแล้ว, ฝ่ายเจ้าเมืองจะตั้งคนให้เปนเซ๊นเนตอร์แทนเซนเนตอร์ที่นอกราชการนั้นก็ได้, กว่าลีชิศเลเชอจะประชุมกันใหม่. เมื่อจะประชุมใหม่นั้น, ลิชิดเลเชอจะเลือกตั้งเซนเนตอร์ได้ตามชอบใจ.

ข้อที่ ๓. ห้ามว่ามิให้ผู้ใด ๆ เปนเซ๊นเนตอร์, ถ้ามิได้มีอายุถึง ๓๐ ปี, แลที่มิได้เปนชาวหัวเมืองอยู่ในติษเตศครบ ๙ ปีแล้ว, แลผู้ที่เมื่อขณะเขาเลือกนั้นหาได้เปนชาวหัวเมืองนั้นไม่, แต่เปนคนต่างเมือง.

ข้อที่ ๔. ผู้ที่เปนไวซีเปรศซิเดนต์แห่งเมืองยูในติษเตศ, จะเปนผู้ใหญ่เหนือพวกเซ๊นเอด. แต่เมื่อพวกเซ๊นเนต, หมายการใด ๆ จะนับดูว่า พวกเซ๊นเนต, เหนชอบด้วยและไม่เหนชอบด้วยขี่คนนั้น, ห้ามอย่าให้ไวซิเปรศซิเดนต์เข้าในที่นับกันเลย, เว้นไว้แต่พวกเซ๊นเนต, ทืั้งสองจะนับเปนเท่ากะน ถ้าเปนอย่างนั้น จะให้ไวซีเปรศซิเดนต์, เข้าฝ่ายข่้างหนึ่งตามที่จะเหนเ้วย, และจะนับตัวท่านว่าเปนคนหนึ่งในฝ่ายนั้นก็ได้.

ข้อที่ ๕. พวกเซนเอ็ศ, ต้องเลือกตั้งขึ้นซึ่งเจ้าพนักงานทั้งหลายที่เขาจะต้องการ, แลเปรศซิเด็นท์คนหนึ่ง, ที่จะว่ากล่าวบังคับแทนไวซิเปรศซิเด็นต์, เมื่อท่านไม่อยู่, ฤๅเมื่อท่านจะเลื่อนที่ขึ้นเปนเปรศซิเด็นต์แห่งเมืองยูในติศเทศ.

ข้อที่ ๖. พวกเซ๊นเอ็ดนั้น, คงมีอำนาทจะตัดสินโทาแต่พวกเซ๊นเอ็ดนั้นพวกเดียว, คือ โทษที่พวกเร็บรีเซ๊นตีติฟกล่าวมานั้น. แลเมื่อจะนั่งพิภาคษาความอยู่, เขาทั้งหลายจะต้องษาบาลตัวว่า, จะทำการโดยสุจริต. ครั้นเมื่อจะพิภากษาโทษของเปรศซิเด็นต์แห่งเมืองยูในติศเทศนั้น, ท่านผู้เปนที่ปฤกษาการสัจธรรมในแผ่นดิน, จะต้องเปนผู้ใหญ่ในการพิภาคษา, แลจะชี้ขาดว่า, ผู้ไดผู้หนึ่งเปนผิดแท้มิได้นั้น, ถ้าเว้นไว้แต่พวกเซ๊นเอ็ด, เมื่อแบ่งกันออกเปนสามส่วน, จะเหนพร้อมใจกันสองส่วน, จึ่งจะชี้ขาดลงแท้ได้.

ข้อที่ ๗. ความชี้ขาดผิดเปนแท้นั้น, พวกเซ๊นเอ็ดมีอำนาถแต่เพียงจะถอดผู้ผิดนั้นเสีย, จากตำแหน่งที่, แลห้ามมิให้อยู่ในที่ตำแหน่งใด ๆ ที่มิยศถาศักดิ์ฤๅวางใจ, ฦๅที่มีประโยชน์ได ๆ ใต้ร่มธงเมืองยูในติศเทศ. แต่ผู้ที่ทำผิดนั้น, ครั้นเมื่อถอดเสียงจากที่แลั้ว, ผู้อื่นจะมากล่าวโทษแลั้วเกาะตัวมาพิจารณาพิภาคษาตัดสินตามกฎหมายก็ได้.

ความนี้คงจะมีต่อไป.