ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือสัญญากรุงเทพมหานครกับกรุงอังกริษเปนทางไมตรีค้าขายกัน/ส่วนที่ 4

จาก วิกิซอร์ซ
ไขข้อสัญญาฮาริปาก ปีมโรง อัฐ ศักราช ๑๒๑๘ ๚ะ

หนังสือแสดงความยินยอมกันพร้อมในระหว่างพระเจ้านอ้งยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท แลพวกท่านเสนาบดี คือ ขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองไท ว่า แทนสว่นข้างท่านสองพระองคนั้น คือ พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองคเอก แลพระเจ้าประเทศสยามพระองคที่สอง แลมิศฮาริสมิตปากอิศแกวร์ในสว่นผู้ครองขององค์พระนางเจ้ากรุงบริตเตนใหญ่ มิศปากถือหนังสือสัญาญาทางไมตรีแลการค้าขายที่ตีตราหลวงฝ่ายอังกฤษแล้วในฉบัพที่ทำไว้ในเดือนเอปริล ๑๘ ค่ำ คฤษศักราช ๑๘๕๕ ปี โดยพระนามสมเดจ์พระนางราชินีพระเจ้ากรุงบริตเตนใหญ่แลอิริลาน กับสมเดจ์พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก แลสมเดจ์พระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่สอง เมื่อมิศปากเข้ามาถึงกรุงเทพฯ แล้วแจ้งความว่า ลอดกลาเรนดอน ผู้สำเรทราชการนา ๆ ประเทศของสมเดจ์พระนางราชินีพระเจ้าแผ่นดินบริตเตนใหญ่สั่งเข้ามาว่า ฃอให้ท่านเสนาบดีกรุงไทยอมให้นับชี้แจงข้อความในหนังสือสัญญาเดิมซึ่งออนอแรบเบออิสต์อินเดียกุมปันนีกับพระเจ้าแผ่นดินกรุงเทพฯ สำหรับก่อนสองพระองค์ คือ พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก แลพระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่สองได้ทำไว้เมื่อคฤษศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น เปนปีจอ อัฐศ ว่า ข้อใหนบ้างหนังสือสัญญาใหม่ครั้งนี้ล้างหนังสือสัญญาเก่า ๚ะ

อนึ่ง ฃอให้ยอมเหนดว้ยอธิบายบางอันที่ดูเปนตอ้งการจะหมายกำลังลว่งน่า แลเพิ่มเติมแก่เอกเทศบางสว่นของความในหนังสือสัญญาใหม่ บัดนี้ ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินทัง ๒ พระอค์ได้ทรงตั้งพระเจ้านอ้งยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท แลท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ทัง ๔ ที่มีชื่ออยู่ในท้ายหนังสือนี้ มาปฤกษาชี้แจ้งแลเรี่ยบเรียงกับมิศปากดว้ยเรื่องความทังนั้นท่านเสนาบดิพวกนั้นได้ตามรับสั่งได้ภบพูดจาปฤกษากับมิคปากเพื่อความประสงค์นี้หลายครั้งหลายเวลา แลได้คิดอ่านกันว่าดว้ยเนื้อความที่มิศปากนำมาชี้แจงข้อความเอาใจใส่ท่านเสนาบดี แล้วจึ่งได้สันนิฐานตกลงกันว่าดั่งนี้ เหนเปนสมควรเพื่อประโยชน์จะปอ้งกันวิวาทแลลว่งเกินที่จะมีในภายน่า ข้อความในหนังสือสัญญ่าเก่าข้อใดที่หนังสือสัญญาใหม่ล้าง ให้ว่าออกเปนจำพวกเสียให้ชัด แลหนังสือสัญญาใหม่ข้อใดที่ไม่สอาดมัวอยู่ ก็จะตอ้งว่าอธิบายเสียให้เตมบริบูรณ เหตุดั่งนี้ ท่านเสนาบดีก็ยอมเปนอันสุดลง ๑๒ ข้อ ๚ะ

เรื่องข้อ ๑ ว่าดว้ยหนังสือสัญญาเก่าที่ทำไว้ในกฤษศักราช ๑๘๒๖ ปี
ข้อว่า ท่านเสนาบดียอมว่า หนังสือสัญญาเก่าข้อ
ข้อ
ข้อ๑๑
๑๒
ข้อ๑๓
๑๔
คงไว้ตามเดิม แต่ความในข้อ ๖ ฝ่ายไทฃอเหลือไว้ว่า ถ้าลูกค้าไทแลลูกค้าอังกฤษก็ดี ซื้อฃายไม่สืบสวนให้แน่นอนว่าคนดีคนชั่ว คนในบังคับไทคนในบังคับอังกฤษ ซื้อฃายปะคนชั่วภาเอาของหนีไป เจ้าเมืองกรมการฝ่ายไทฝ่ายอังกฤษจะสืบสวนเอาตัวมาชำระให้โดยสุจริต ถ้าไม่ได้ตัวผู้ที่หนีไปฝ่ายเจ้าเมืองกรมการไท ฝ่ายเจ้าเมืองกรมการอังกฤษ ถ้ามีเงินมีของ จะใช้ให้ก็ได้ ถ้าไม่มีเงินไม่มีของให้ แลมิได้ตัวลูกนี่ ก็เพราะลูกค้าทำผิดเอง จะเอาใช้กับผู้ครองบ้านครองเมืองไม่ได้ กับความในข้อ ๑๐ ฝ่ายมิศปากฃอให้คงไว้ว่า ลูกค้าชาวอาเซียมิใช่มอญมิใช่พม่า แลบุตรหลานชาวยุรบอยู่ในเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตะนาว เมืองเย ซึ่งขึ้นกับอังกฤษ จะเข้ามาค้าฃายณเมืองไท อังกฤษจะมีหนังสือเข้ามาเปนสำคัญให้ได้ค้าฃายทางบกทางน้ำโดยสดวก มิศปากฃอแก้เข้าว่า ให้ลูกค้าทังปวงไม่เว้นใครซึ่งเปนคนในบังคับอังกฤษจะเข้ามาค้าฃายได้เหมือนกัน ท่านเสนาบดีฝ่ายไทยอมให้ลูกค้าอังกฤษ เมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตะนาว เมืองเย เมืองมอญ แลเมืองอื่น ๆ ซึ่งขึ้นกับอังกฤษ เข้ามาค้าฃายในเมืองซึ่งขึ้นกับเมืองไทโดยทางน้ำทางบกได้ แต่ให้อังกฤษมีหนังสือเบิกลอ่งสำรับตัวเข้ามาเปนสำคัญ แต่หนังสือเบิกลอ่งสำรับตัวนั้นตอ้งทำใหม่ทุกที แลข้อสัญญาค้าฃาย ๖ ข้อที่ติดกับสัญญาเก่านั้น หนังสือสัญญาใหม่ล้างเสียหมด เว้นแต่ระยะในข้อที่ ๑ แลที่ ๔ คือ ฝ่ายไทฃอเหลือเอาไว้ความในข้อที่ ๑ ว่า เมื่อลูกค้าในใต้บังคับอังกฤษจะเอาปืนกระสุนดินดำเข้ามาฃาย ห้ามมิให้ฃายกับลูกค้าในกรุงฯ ให้ฃายแต่ในหลวง ถ้าในหลวงไม่ตอ้งการ ก็ให้ลูกค้าบันทุกเอาปืนกระสุนดินดำกลับออกไป แลความในสัญญาเก่าข้อ ๔ ว่า เรือลำเลียงไม่ตอ้งเสียค่าธรรมเนียม ฝ่ายไทจะฃอล้างเสีย ดว้ยแต่กอ่นเรือใหญ่เสียค่าธรรมเนียมวาละ ๑๗๐๐ บาท เจ้าพนักงานได้ค่าธรรมเนียมอยู่ในนั้นแล้ว ครั้งนี้ ยกค่าธรรมเนียมปากเรือเสีย แล้วไทจะฃอเอาค่าธรรมเนียมเรือลำเลียงบันทุกของไปส่งถึทเลเที่ยวละแปดบาทสองสะลึงตามอย่างเรือลำเลียงลูกค้าเมืองไท ความข้อนี้มิศปากว่า จะไปบอกกับทูตของเฮอมายิศตีกวินวิกตอเรียที่เข้ามาณะกรุงเทพฯ กอ่น ๚ะ
เรื่องข้อ ๒ ว่าดว้ยกงซุลอังกฤษ
จะบังคับการงานของคนในใต้บังคับอังกฤษแต่ผู้เดียว ๚ะ

ข้อคือ ความในหนังสือสัญญาใหม่ที่ข้อไม่ชัด มิศปากฃอไขความออกไปให้ชัดนั้นว่า ในหนังสือสัญญาใหม่ ข้อที่ ๒ ว่า คนในใต้บังคับอังกฤษเกิดวิวาทกันกับคนในใต้บังคับไท กงซุลอังกฤษกับเจ้าพนันงานไทจะพร้อมกันฟังแลตัดสิน ถ้าอังกฤษทำผิด จะต้องทำโทษ กงซุลอังกฤษจะทำโทษตามกฎหมายอังกฤษ ถ้าคนในใต้บังคับไททำผิด เจ้าพนักงานฝ่ายไทจะทำโทษตามกฎหมายไท ถ้าคนในใต้บังคับไทต่อคนในใต้บังคับไทเปนความกันเอง กงซุลอังกฤษไม่เอาเปนธุระ ถ้าคนในใต้บังคับอังกฤษเปนความกันเอง เจ้าพนักงานฝ่ายไทจะไม่ถามไถ่แลว่ากะไรเลย ความข้อนี้มีอธิบายออกไปอีกว่า คนอยู่ในใต้บังคับไทวิวาทกันเอง กงซุลไม่เอาเปนธุระนั้น ก็ชอบแล้ว ดว้ยเปนบ้านเมืองของไท แต่อังกฤษต่ออังกฤษวิวาทกันในบ้านเมืองไท ถ้าวิวาทกันตัดเชือดแทงฟันให้เปนแผลแลทำอย่างอื่นเปนโทษใหญ่ในกายในตัวประเพณีบ้านเมืองไทห้าม ถ้าอังกฤษต่ออังกฤษวิวาทกันอย่างนี้ ฝ่ายไทจะไปบอกกงซุล ๆ จะตอ้งเอาตัวอังกฤษที่วิวาทกันนั้นมาชำระทำโทษ ถ้าเปนแต่วิวาทกันดว้ยเหตุอื่น ๆ ไทก็ไม่เอาเปนธุระ ๚ะ

มาตรามหันตโทษทังปวง คนในใต้บังคับอังกฤษเปนความกันเองก็ดี ฤๅคนในใต้บังคับอังกฤษเปนจำเลยของคนในใต้บังคับไท กงซุลอังกฤษจะชำระฝ่ายเดียว ถ้าคนในใต้บังคับไทเปนความกันเองก็ดี ฤๅคนในใต้บังคับไทเปนจำเลยของคนในใต้บังคับอังกฤษ ดว้ยความทังปวงที่เปนมหันตโทษ เจ้าพนักงานฝ่ายไทจะชำระฝ่ายเดียว ๚ะ

มาตราถ้าเปนความมะโนสาเร่ ฤๅความเล็กนอ้ย ถ้าคนในใต้บังคับอังกฤษเปนความกันเอง ฤๅคนในใต้บังคับอังกฤษเปนจำเลยของคนในใต้บังคับไท กงซุลอังกฤษจะชำระฝ่ายเดียว ถ้าคนในใต้บังคับไทเปนความกันเอง ฤๅคนในใต้บังคับไทนเปนจำเลยของคนในใต้บังคับอังกฤษ เจ้าพนักงานฝ่ายไทจะชำระฝ่ายเดียว ๚ะ

มาตราว่า ในความทังปวงนี้ ที่ข้างหนึ่งเปนไท ข้างหนึ่งเปนอังกริษ ที่อังกริษกับไทเปนความกัน ถ้าฝ่ายกงซุลอังกริษชำระคนในใต้บังคับไทเกี่ยวขอ้ง เจ้าพนักงานฝ่ายไทไปฟังความก็ได้ ถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายไทชำระคนในใต้บังคับอังกริษเกี่ยวขอ้ง กงซุลอังกริษไปฟังความก็ได้ ถ้ากงซุลอังกฤษอยากรู้ความ เจ้าพนักงานฝ่ายไทตอ้งคัดข้อความที่ชำระให้กงซุลอังกฤษรู้ ถ้าความชำระยังไม่แล้ว กงซุลอังกฤษอยากรู้เรื่องความที่ชำระต่อไป เจ้าพนักงานฝ่ายไทชำระได้ความประการใด ให้บอกกงซุลอังกฤษให้รู้กว่าความจะแล้ว ถ้ากงซุลอังกฤษชำระความคนในใต้บังคับไทเกี่ยวขอ้ง เจ้าพนักงานฝ่ายไทอยากรู้ความ กงซุลอังกฤษตอ้งคัดข้อความที่ชำระนั้นให้เจ้าพนักงานฝ่ายไทรู้ ถ้าความชำระกันยังไม่แล้ว เจ้าพนักงานฝ่ายไทอยากรู้เรื่องความที่ชำระนั้นต่อไป กงซุลอังกฤษชำระได้ความประการใด ให้บอกเจ้าพนักงานฝ่ายไทให้รู้กว่าความจะแล้ว ๚ะ

มาตราว่า ถึงว่าไทจะว่ากล่าวแทรกแทรงได้ในความอังกฤษดั่งว่าแล้วนี้ในความโทษผิดใหญ่จะให้ลงโทษกับผู้ผิด ถ้าคนในใต้บังคับอังกฤษตัวคนแลที่บ้านที่เรือนที่ดินทรัพยสิ่งของเรือกำปั่นแลของสิ่งใด ๆ ของคนในใต้บังคับอังกฤษ ฝ่ายไทแลคนในใต้บังคับไทไม่ทำอันตรายแลเกบริบเอาไป ถ้ามีผู้ทำเช่นนั้น เจ้าพนักงานฝ่ายไทจะชำระทำโทา ฝ่ายอังกฤษแลคนในใต้บังคับอังกฤษห้ามไม่ให้ทำอันตรายกับตัวคนแลเกบริบเอาทรัพยสิ่งของที่บ้านที่เรือนที่ดินของคนอยู่ในบังคับไทเหมือนกัน ถ้ามีผู้ทำขึ้นเช่นนั้น กงซุลจะชำระทำโทษ ๚ะ

เรื่องข้อ ๓ ว่าดว้ยคนในใต้บังคับ
อังกฤษจะให้ทรัพยมรดกกับผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ ตามใจของเขา ๚ะ

ข้อมีความในหนังสือสัญญาข้อ ๔ ว่า คนในใต้บังคับอังกฤษซื้อที่เรือนที่สวนที่นาได้ ความข้อนี้ ฃอไขความออกไปว่า ถ้าคนอยู่ในบังคับอังกฤษซื้อที่เรือนที่สวนที่นาไว้ จะฃายให้กับผู้ใด ก็ฃายได้ตามใจเขา ถ้าคนในใต้บังคับอังกฤษตายในกรุงไท คนที่ตายมีเรือนแลที่เรือนที่สวนที่นาแลสิ่งของใด ๆ พี่นอ้งฤๅคนที่มีกฎหมายอังกฤษควรจะได้มรดกเอาที่เรือนที่สวนที่นาแลสิ่งของ ๆ คนที่ตายนั้นได้ กงซุลอังกฤษฤๅคนซึ่งกงซุลอังกฤษจัดแจงรับมรดกไว้ให้กับคนที่ควรจะได้มรดกกอ่นก็ได้ ถ้าคนที่ตายมีลูกนี่เปนคนในใต้บังคับไทก็ดี กงซุลอังกฤษจะทวงเอาคืน ถ้าคนที่ตายเปนนี่ กงซุลอังกฤษจะเอาของ ๆ คนที่ตายใช้ให้เจ้านี่ตามมีของมากแลนอ้ย ๚ะ

เรืองข้อ ๔ ว่าดว้ยหนังสือ
เบิกลอ่งแลเรียกค่าธรรมเนียมกับคนในใต้บังคับอังกฤษ ๚ะ

ข้อความในหนังสือสัญญาข้อ ๔ ว่า คนในใต้บังคับอังกฤษซื้อที่ดินที่สวนตอ้งเสียค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างคนในใต้บังคับไทตามพิกัดที่ติดในท้ายตามพิกัดหนังสือนี้ ๏ ความในสัญญาข้อ ๘ มีว่า คนในใต้บังคับอังกฤษตอ้งเสียภาษีขาเข้าขาออกตามพิกัดที่ติดท้ายหนังสือสัญญา ๏ ความ ๒ ข้อนี้ ไม่ชัด ฃอไขความออกไปว่า ค่าที่แลภาษีขาเข้าขาออกที่ว่าไว้แต่กอ่น กับค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ท่านเสนาบดีฝ่ายกรุงฯ กับกงซุลอังกฤษจะยอมกันตั้งไว้อีกนั้น เรียกเอาไว้ นอกกว่านี้คนในใต้บังคับอังกฤษไม่ตอ้งเสียค่าอะไรอีก ๚ะ

เรืองข้อ ๕ ว่าดว้ยหนังสือเบิกลอ่งตัวคนแลเรือ ๚ะ

ข้อว่า หนังสือเบิกลอ่งซึ่งลูกค้าอังกฤษเข้ามาอาไศรยค้าขายณะกรุงฯ จะไปนอก ๒๔ ชั่วโมง ฤๅเรือใหญ่แลเรือลำเลียงบันทุกสินค้าเตมแล้วจะออกไป มิศปากฃอให้ได้ใน ๒๔ ชั่วโมง อย่าให้ลว่งไปหลายวันหลายคืน ๏ ความข้อนี้ ฝ่ายไทว่า ถ้ามีการขัดขวางควรจะห้ามเรือไว้ ฝ่ายไทจะไปบอกกงซุลอังกฤษให้งดเรือไว้กอ่น ถ้าไม่มีการขัดขวาง จะให้เบิกลอ่งใน ๒๔ ชั่วโมง แต่หนังสือเบิกลอ่งสำรับตัวคนเข้าคนออกในทางนอก ๒๔ ชั่วโมงนั้น ก็ไม่ตอ้งเสียสิ่งใด ๚ะ

เรื่องข้อ ๖ ว่าดว้ยประกาศห้าม
เข้าปลาเกลือ กับว่าดว้ยภาษีเข้าเปลือก ๚ะ

ข้อความในหนังสือสัญญาข้อ ๘ มีว่า เข้า ปลา เกลือ ของสามสิ่งนี้ ในกรุงไม่บริบูรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ ความข้อนี้ มิศปากฃอไขความออกไปว่า จะหมายประกาศห้ามเข้าแลสิ่งของที่ในหนังสือสัญญายกไว้นั้น ฃอให้บอกกงซุลให้รู้ความแต่เดือนหนึ่งกอ่น จึ่งห้ามกันขาดได้ ถ้าลูกค้าได้ฃอเข้าไว้ต่อเจ้าพนักงาน ๆ ยอมให้ไว้เท่าไร ตอ้งยอมให้ตามที่ว่ากันกว่าจะครบ แต่ภาษีเข้าเปลือกนั้น ฃอเสียให้เกียนละ ๒ บาท ความข้อนี้ ฝ่ายไทว่า ถ้ามีการศึกสงครามฤๅคนประทุฐร้ายต่อแผ่นดินก็ดี จะตอ้งห้ามมิให้ลูกค้าซื้อฃายเข้าในเวลานั้น ดว้ยเข้าเปนกำลังของไพ่รพล ถ้าเปนแต่เกิดเหตุอันใดอันหนึ่ง คือ ฝนแล้ง ฤๅน้ำนอ้ย น้ำมาก เหนว่า เข้าจะแพงราคาขึ้นไป ก็จะบอกให้กงซุลรู้กอ่นหมายประกาศเดือนหนึ่ง ถ้าลูกค้าได้ฃอเข้าต่อเจ้าพนักงาน จำนวนเข้าเท่าไร เจ้าพนักงานยอมให้แล้ว ถึงเวลาห้าม ก็จะตอ้งให้ ๆ ครบตามฃอไว้ ถ้าลูกค้าซื้อเอาเอง ไม่ฃอต่อเจ้าพนักงาน ถึงเวลากำหนดห้ามเมื่อไร ถึงซื้อไว้แล้ว ก็เอาเข้าไปไม่ได้ ถ้าสิ้นเหตุที่ห้ามแล้ว ตอ้งเปิดให้ลูกค้าซื้อออกไปได้ แลภาษีเข้าเปลือก ฃอเสียให้เกียนละ ๒ บาทนั้น ฝ่ายไทก็ยอม

เรื่องข้อ ๗ ว่าดว้ยเงินเหรียนเงินกอ้นแลทองกอ้นทองใบ ๚ะ

ข้อความในหนังสือสัญญาข้อ ๘ มีว่า เงินทองสำรับตัวเข้าสำรับตัวออกไม่ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสาม มิศปากฃอไขความออกไปว่า เงินเหรียนเงินกอ้นทองกอ้นทองใบนั้น ถ้าลูกค้าบันทุกมาไม่ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสาม ถ้าเงินถ้าทองทำเปนรูปประพรรณต่าง ๆ ฤๅก้าไหล่เงินก้าไหล่ทองก็ดี ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสาม แลเพร์พลอยของสิ่งอื่นทั้งสิ้น ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสามทุกสิ่ง ฝ่ายไทก็ยอมว่าชอบดีแล้ว ๚ะ

เรื่องข้อ ๘ ว่าดว้ยโรงเก็บภาษี ๚ะ

ข้อว่า ความในหนังสือสัญญาข้อ ๘ ว่าดว้ยเรื่องเก็บภาษีนั้น มิศปากฃอต่อท่านเสนาบดีว่า ให้ตั้งโรงสำรับเรียกภาษีแลตรวดของเข้าตรวดของออก โรงภาษีตอ้งตั้งอยู่ในบังคับขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายไท ให้ตั้งโรงเก็บภาษีตามกฎหมายที่ติดกับหนังสือนี้ ๚ะ

เรื่องข้อ ๙ ว่าดว้ยการตั้งภาษีสินค้าใหม่ที่ยังไม่เคยเรียก ๚ะ

ข้อว่า ฝ่ายไทฃอว่า การในบ้านในเมืองของไท การสิ่งไรที่ยังไม่มีภาษี ไทเหนว่า จะเปนประโยชนกับบ้านเมือง ควรจะตั้งเรียกเอาภาษีได้ ไทจะตั้งภาษีขึ้นใหม่ก็ได้ ฝ่ายมิศปากก็ยอมแต่ให้เรียกเอาภอสมควร อย่าให้มากนัก เรียกแต่ชั้นเดียว ๚ะ

เรื่องข้อ ๑๐ ว่าดว้ยกำหนดเขตรแดน ๔ ไมล์อังกฤษ ๚ะ

ข้อ๑๐ในหนังสือสัญญาข้อ ๔ ว่า คนอยู่ในใต้บังคับอังกฤษจะมาค้าฃายตามหัวเมืองชายทเลซึ่งขึ้นกับกรุงเทพฯ ก็ฃายได้โดยสดวก แต่จะอาไศรยอยู่ได้ทีเดียวก็แต่ในกรุงเทพฯ ตามจังหวัดซึ่งกำหนดไว้ในหนังสือสัญญา ประการหนึ่ง คนอยู่ในใต้บังคับอังกฤษจะมาเช่าที่ปลูกโรงปลูกเรือนปลูกตึก แลจะซื้อโรงซื้อเรือนซื้อตึก พ้นกำแพงออกไปในกำหนด ๒๐๐ เส้น คือ ๔ ไมล์อังกฤษ เช่าได้ แต่จะซื้อที่ซื้อไม่ได้ ถ้าอยู่ถึง ๑๐ ปีแล้ว จึ่งจะซื้อได้ ถ้าอยู่ยังไม่ถึง ๑๐ ปี ท่านเสนาบดีจะโปรดให้ซื้อ ก็ซื้อได้ แล ๔ ไมล์อังกฤษนั้น ข้างทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตวันออก ทิศตวันตก แลฟ่ากแม่น้ำใต้กรุง ๚ เจ้าพนักงานฝ่ายไทกับขุนนางฝ่ายอังกฤษได้ไปวัดที่แล้ว ท่านเสนาบดีฝ่ายไทกับมิศปากได้ปฤกษาตกลงกันแล้ว ได้ไปดูปักเสาหินไว้เปนสำคัญ ๚ะ

ข้างเหนือ ปักเสาหินไว้เหนือวัดเขมาภิรตาราม เส้นหนึ่ง

ข้างตวันออก ถึงบางนะปิห่างพระเจดีเข้ามา ๖ เส้น ๗ วา

ข้างใต้ ๆ บ้านบางปะแก้ว สิบหกเส้น

ข้างตวันตก ปักเสาหินไว้ปลายคลองบ้านบางพรมข้างตวันออกเฉียงใต้

ฝั่งแม่น้ำข้างซ้ายใต้บางกอกลงไป ได้ปักเสาหินไว้ที่ใต้บ้านบางมะนาวลงไป ๓ เส้น ฝั่งข้างขวา ปักไว้ที่ใต้บ้านบางลำภูเลื่อนห่างประมาณเส้นหนึ่ง ๚ะ

เรื่องข้อ ๑๑ ว่าดว้ยกำหนดเฃตรแดนทาง ๒๔ ชั่วโมง ๚ะ

ข้อ๑๑ในหนังสือสัญญาข้อ ๔ ว่า ที่นอกกำหนด ๒๐๐ เส้นนั้น คนอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อจะเช่าที่เรือนที่สวนที่ไร่ที่นาตั้งแต่กำแพงเมืงออกไปเดินดว้ยกำลังเรือแจวเรือพายทาง ๒๔ ชี่วโมง จะซื้อจะเช่าเมื่อไรก็ซื้อได้เช่าได้ ท่านเสนาบดีกรุงฯ กับมิศปากได้ปฤกษาดว่ยเรื่องความนี้แล้ว ได้ตกลงกันว่า เขตรแดนทาง ๒๔ ชั่วโมง ให้เปนตามนี้ ๚ะ

ข้อข้างเหนือ ตั้งแต่ปากคลองบางพุดทราที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงกำแพงเก่าเมืองลพบูรี ตั้งแต่เมืองลพบูรีตรงไปถึงท่าพระงามที่แม่น้ำเมืองสะระบูรี ๚ะ

ข้อข้างตวันออก ตั้งแต่ท่าพระงามตรงไปถึงบางกนากที่คลงองขุดกับแม่น้ำบางปะกิงติดกัน ตั้งแต่บางกนากตามลำแม่น้ำบางปะกงถึงปากน้ำบางปะกง แล้วตั้งแต่ปากน้ำบางปะกงถึงเกาะศรีมหาราชาแลเกาะศรีชังนั้น ถ้ายังไม่ครบ ๒๔ ชั่วโมง ก็ตอ้งเดินบกขึ้นไปอีกจนครบ ๒๔ ชั่วโมงถึงที่กำหนดไว้ ๚ะ

ข้อข้างใต้ ทิศตวันออก ถึงเกาะศรีมหาราชาแลเกาะศรีชัง ข้างตวันตก ถึงกำแพงเมืองเพชบูรี ๚ะ

ข้อตั้งแต่กำแพงเมืองเพชบูรีมาถึงปากน้ำแม่กลองนั้น เดินบกขึ้นไปอีกจนครบ ๒๔ ชั่วโมงถึงที่กำหนดไว้ ตั้งแต่ปากน้ำแม่กลองถึงกำแพงเมืองราชบูรี ตั้งแต่กำแพงเมืองราชบูรีตรงไปถึงเมืยงสุพันทบูรี ตั้งแต่เมืองสุพันบูรีตรงไปปากคลองบางพุดทราที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ๚ะ

เรื่อง ๑๒ ว่าดว้ยจะเอาหนังสือ
สัญญานี้เข้าในหนังสือสัญญาทางไมตรี ๚ะ

ข้อ๑๒ว่า ถ้าเซอยอนโบวริงอยากจะใคร่เอาข้อสัญญานี้ใส่ในหนังสือสัญญาที่เซอยอนโบวริงทำไว้ในเดือนเอบปริน ๑๘ ค่ำ คฤษศักราช ๑๘๕๕ ปี ท่านเสนาบดีฝ่ายไทก็ยอม ท่านเสนาบดีฝ่ายไทกับมิศฮาริสปากอิศแกวร์ทำหนังสือนี้ไว้เปน ๒ ฉบัพ ลงชื่อตีตราไว้เปนสำคัญณกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยาในวันเดือนเม ๑๓ ค่ำ คฤษศักราช ๑๘๕๖ ปีข้างไทเปนเดือนวิสาข คือ เดือนหก วันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ ปีมโรงนักษตร อัฐ จุลศักราช ๑๒๑๘ ปี เปนปีที่ ๑๙ ในแผ่นดินแห่งเฮอบริดแตนนิกมายิศตี เปนปีที่ ๖ ในราชสมบัติแห่งพระบาทสมเดจ์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๚ะ

ลงชื่อปิดตราฮารีสมิตปาก ๚ะ
ลงชื่อปิดตราท่านผู้สำเร็ธราชการฝ่ายไทห้าดวง ๚ะ