คณะมนตรีความมั่นคง อาจสืบสวนกรณีพิพาทใดๆ หรือสถานการณ์ใดๆ ซึ่งอาจจะนําไปสู่การกระทบกันระหว่างประเทศหรือก่อให้เกิดกรณีพิพาท เพื่อกําหนดลงไปว่าการดําเนินอยู่ต่อไปของกรณีพิพาท หรือสถานการณ์นั้นๆ น่าจะเป็นอันตรายแก่การธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
๑. สมาชิกใดๆ ของสหประชาชาติอาจนํากรณีพิพาทใดๆ หรือสถานการณ์ใดๆ ตามลักษณะที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๔ มาเสนอคณะมนตรีความมั่นคง หรือสมัชชาได้
๒. รัฐที่มิได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ อาจนำกรณีพิพาทใดๆ ซึ่งตนเป็นฝ่ายมาเสนอคณะมนตรีความมั่นคง หรือสมัชชาได้ ถ้ารัฐนั้นยอมรับล่วงหน้าซึ่งข้อผูกพันแห่งการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรฉบับปัจจุบันเป็นความมุ่งหมายในการระงับกรณีพิพาท
๓. การดําเนินการพิจารณาของสมัชชาในเรื่องที่เสนอขึ้นมาตามมาตรานี้ต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา ๑๑ และ ๑๒
๑. คณะมนตรีความมั่นคง อาจแนะนําวิธีดําเนินการหรือวิธีการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม ได้ ไม่ว่าในระยะใดๆ แห่งการพิพาทอันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๓ หรือแห งสถานการณ์อันมีลักษณะทํานองเดียวกันนั้น
๒. คณะมนตรีความมั่นคงชอบที่จะพิจารณาถึงวิธีดําเนินใดๆ เพื่อการระงับข้อพิพาทซึ่งคู่พิพาทได้รับปฏิบัติแล้ว
๓. ในการทําคําแนะนําตามมาตรานี้ คณะมนตรีความมั่นคงชอบที่จะพิจารณาด้วยว่า กรณีพิพาทในทางกฎหมายนั้น ตามหลัก ทั่วไป ควรให้คู่พิพาทเสนอต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญของศาลนั้น
๑. หากผู้เป็นฝ่ายแห่งกรณีพิพาทอันมีลักษณะตามที่กล่าวถึงในมาตรา ๓๓ ไม่สามารถระงับกรณีพิพาทโดยวิธีที่ได้ระบุไว้ใน มาตรานั้นแล้ว ก็ให้ส่งเรื่องนั้นไปเสนอคณะมนตรีความมั่นคง
๒. ถ้าคณะมนตรีความมั่นคงเห็นว่า โดยพฤติการณ์ การคงดําเนินต่อไปแห่งกรณีพิพาทน่าจะเป็นอันตรายต่อการธํารงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแล้ว ก็ให้วินิจฉัยว่าจะดําเนินการตามมาตรา ๓๖ หรือจะแนะนําข้อตกลงระงับกรณีพิพาทเช่นที่จะพิจารณาเห็นเหมาะสม
คณะมนตรีความมั่นคงอาจทําคําแนะนําแก่คู่พิพาทเพื่อทําความตกลงระงับกรณีพิพาทโดยสันติวิธี หากผู้เป็นฝ่ายทั้งปวงในกรณีพิพาทร้องขอเช่นนั้น ทั้งนี้ โดยมิให้กระทบกระเทือนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา ๓๓ ถึง ๓๗