ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:กม ร ๕ (๑) - ๒๔๓๖.pdf/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
12
เล่ม ๑
ลักษณตรวจคลอง

โทศก ศักราช ๑๒๓๒ เปนปีที่ ๒ ฤๅวันที่ ๕๒๐ ในรัชกาลประจุบันนี้

ประกาศในรัชกาลที่ ๕
พระราชบัญญัติธรรมเนียมคลอง มีอยู่ ๑๐ ข้อ

มีพระบรมราชโองการมารบัณฑูรสุรสิงหนาทให้ตั้งพระราชบัญญัติไว้เปนธรรมเนียมตรวจตรารักษาคลองเก่าใหม่ใหญ่น้อยในกรุงเทพฯ แลตลอดหัวเมืองใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ ลงพิมพ์ประกาศให้รู้ทั่วกันทั้งพระราชอาณาเฃตรประเทศสยามนี้ (เปนพนักงานแต่งตั้งผู้ตรวจตรารักษาคลอง) แล้วมีพระบรมราชโองการดำหรัสเหนือเกล้าฯ ให้พระชลธารวินิจฉัยเปนพนักงานแลแต่งตั้งผู้ตรวจตรารักษาคลอง แลมีอำนาจที่จะชำระตัดสินคดีของราษฎรซึ่งเกี่ยวข้องกันเกิดขึ้นเพราะเดินเรือไปมาตามคลองแลริมฝั่งคลองนั้น เปนธรรมเนียม ๑๐ ข้อดังนี้

มาตราห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเททิ้งสิ่งของสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงในลำคลองเปนอันขาดทีเดียว ถ้ามิฟังขืนจะทำให้ผิดธรรมเนียมห้าม นายคลองแลตรวจตรารักษาคลองพบปะจับได้ เหนว่าคลองจะตื้นจะเสียเพราะผู้นั้นเทถมทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ลงในลำคลอง นายคลองจะบังคับให้ผู้นั้นโกยขนขึ้นเสียจากในลำคลองให้หมดจดเรียบร้อย แล้วคิดเอาค่าจ้างกับผู้ซึ่งขัดขืนนั้น