หน้า:กม ร ๕ - ๒๔๓๙.pdf/24

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
ศก ๑๑๕
19
 
เมื่อได้ชี้ขาดตามความซึ่งได้กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว เหนว่า จำเลยไม่ได้กระทำการผิดล่วงลเมิดต่อกฎหมายแล้ว ก็ให้มีคำสั่งเด็ดขาดในคำพิพากษาตัดสินให้ปล่อยจำเลยหลุดพ้นไปทีเดียว ถ้าชี้ขาดว่าจำเลยไม่ผิด ก็ให้สั่งปล่อย
ถ้าชี้ขาดว่าผิดโดยเหตุอย่างใด ก็ให้วางบทกฎหมายตามเหตุนั้น ให้มีกำหนดโทษด้วย
เมื่อได้ชี้ขาด เหนว่า จำเลยได้ทำการผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะทวีโทษให้หนักฤๅไม่ก็ดี แลกระทำผิดโดยมีเหตุต่าง ๆ อันควรจะลดหย่อนผ่อนโทษได้ฤๅไม่ก็ดี แลการผิดนั้นไม่มีข้อยกเว้นโทษไว้ในกฎหมาย ดังนี้แล้ว ก็ให้ผู้พิพากษาลงเนื้อเห็นชี้ขาดพิพากษาตัดสินว่าโทษจำเลยลงให้ชัดเจนโดยโทษานุโทษตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งคงใช้อยู่ในสมัยนั้น
มาตรา๒๓ในเวลาประชุมพิพากษาตัดสินคดีทุก ๆ เรื่องนั้น ให้อธิบดีผู้พิพากษาถามผู้พิพากษาทั้งปวงผู้นั่งประชุมอยู่ด้วยให้แสดงความเห็นของตนเรียงตัวไปทีละคนในข้อความซึ่งจะต้องวินิจฉัยให้ตกลงเด็ดขาด