ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/12

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

คดีตามคำพิพากษาไว้ก่อน จนกว่าจะได้กราบทูลไปยังพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสและพระองค์มีพระราชโองการอย่างหนึ่งอย่างใดมาเสียก่อน ถ้าคนของบริษัททำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดต่อชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ฝรั่งเศสอันควรจะต้องพิจารณาถึงบทกฎหมายแล้ว จะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาก็ตาม ผู้พิพากษาไทยจะเป็นผู้พิจารณา แต่หัวหน้าฝ่ายฝรั่งเศสจะเข้ามานั่งร่วมพิจารณาด้วย และกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนั้นก็ต้องเป็นกฎหมายไทย สิทธิพิเศษซึ่งกรุงสยามให้แก่วิลันดาและฝรั่งเศษนี้มีอายุต่อมาไม่สู้นานนัก ได้ถึงที่สุดลงเมื่อต้นสตพรรษที่ ๑๘ แห่งคริสตศักราช[1]

ลุคริสตศักราช ๑๖๘๗ กรุงสยามได้เซ็นสัญญากับฝรั่งเศสอีกเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม สัญญาฉะบับนี้เปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาฉะบับเดิมบ้าง คือ กรุงสยามยอมให้บริษัทฝรั่งเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและอาชญาทุกประเภทในระวางคนของบริษัทด้วยกัน จะเป็นคนของฝรั่งเศษหรือไม่ก็ตาม ถ้าคู่ความฝ่ายหนึ่งไม่ใช่คนของบริษัท ฝ่ายฝรั่งเศสไม่มีอำนาจที่จะพิจารณา แต่หัวหน้าฝ่ายบริษัทมีสิทธิที่จะเข้ามานั่งในศาลสยาม และมีเสียงเด็ดขาดในคดีนั้น เมื่อสาบาลตัวแล้ว[2]

ในปลายรัชชกาลของสมเด็จพระนารายน์ เกิดบาดหมางกันขึ้นในเรื่องสาสนา ครั้นสมเด็จพระนารายน์สวรรคต จึงเกิดจลาจลขึ้นในเมือง ตั้งแต่นั้นมา


  1. ดูประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๔ ว่าด้วยหนังสือสัญญาค้าขายระวางประเทศสยามกับประเทศฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราช หน้า ๗ กับหนังสือราชการของอาณาจักร์สยาม (State Paper of the Kingdom of Siam) คริสตศักราช ๑๖๖๔–๑๘๘๖ หน้า ๒๓๙ หนังสือของพระยาวิทุร ฯลฯ ที่อ้างข้างต้นหน้า ๓๐–๓๑ ดอกเตอร์เยมส์ หน้า ๕๘๘
  2. ดูหนังสือ Journal of the Siam Society เล่ม ๑๔ ตอน ๒ หน้า ๒๓, ๓๐