ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/13

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พระเจ้าแผ่นดินชั้นหลังได้เลิกการอย่างฝรั่งเสียมาก[1] ทางไมตรีกับฝรั่งเศสจึงหยุดชะงักตั้งแต่นั้นมา ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ (ค.ศ. ๑๗๖๗) กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก ไทยต้องทำสงครามกู้อิสสระภาพอยู่ในแผ่นดินพระเจ้าตากสิน ๑๕ ปี และต้องรบพุ่งกับพม่ารักษาอิสสระภาพ มาในรัชชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ อีก ๒๘ ปี ในสมัยนี้ประจวบกับเกิดการจลาจลในประเทศฝรั่งเศสแล้วเกิดมหาสงครามของพระเจ้านะโปเลียน การคมนาคมในระวางไทยกับชาวยุโรปจึงเป็นอันหยุดไปคราวหนึ่งประมาณ ๔๐ ปี มีแต่การค้าขายกับจีนเป็นสำคัญ[2]

ต่อมาจนถึง ค.ศ. ๑๘๒๖ ตรงกับจุลศักราช ๑๑๘๘ ปีจอ อัฐศก วันที่ ๒๐ มิถุนายน กรุงสยามจึงได้เริ่มเซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ ตามสัญญาฉะบับนี้อัครภาคีแห่งสัญญาต่างได้สิทธิและมีหน้าที่เสมอกัน ปรากฎในข้อ ๕ แห่งสัญญาดังนี้ “. . . . . . . . . .ไทยจะไปเมืองอังกฤษ ๆ จะไปเมืองไทย ให้ทำตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่รู้อย่างธรรมเนียม ให้ขุนนางไทยขุนนางอังกฤษบอกอย่างธรรมเนียมให้พวกไทยที่ไปเมืองอังกฤษต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมเมืองอังกฤษทุกสิ่ง”[3]

ข้อ (๖) “. . . . . . . . . .ถ้าลูกค้าไทยลูกค้าอังกฤษจะมีคดีข้อความสิ่งใดก็ดี ให้ฟ้องร้องต่อขุนนางเจ้าเมืองกรมการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษ ขุนนางเจ้าเมืองจะชำระตัดสินให้ตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย[4]

วันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๗๓ ตรงกับจุลศักราช ๑๑๙๔ ปีมะโรง กรุงสยามได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศสหะปาลีรัฐอเมริกาหนึ่งฉะบับ โดยมีลักษณะทำนองเดียวกับสัญญาอังกฤษฉะบับ ค.ศ. ๑๘๒๖ ดังจะเห็นได้จาก


  1. ดูคำแปลพระปาฐกถาเรื่องคติของฝรั่งเข้ามาเมืองไทย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงที่โรตารี่คลับเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ หน้า ๑๒
  2. ดูคำแปลพระปาฐกถา หน้า ๑๔
  3. สัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ ค.ศ. ๑๘๒๖ ข้อ ๕
  4. สัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ ค.ศ. ๑๘๒๖ ข้อ ๖