ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/17

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๓

ให้ใช้ถึงคนในบังคับเลย[1] แต่ต่อมาประเทศทั้งหลายต่างถือว่าใช้ถึงบุคคลเชื้อชาติเอเซียในบังคับของตนทั้งสิ้น ผลก็คือชนชาติเขมร ญวน ลาว ที่มาจากอินโดจีน ชะวา พม่า จีนที่เกิดที่หมาเก๊า ซึ่งเข้ามาพึ่งแผ่นดินสยาม ย่อมพลอยหลุดพ้นจากอำนาจศาลสยามไปด้วย กล่าวคือ แม้คนเหล่านี้จะทำผิดกฎหมายสยามให้ร้ายแรงปานใด ประเทศสยามก็ไม่มีอำนาจเข้าเกี่ยวข้องด้วยเป็นอันขาด การกระทำเช่นนี้เป็นการปลุกส่งเสริมชนชาวเอเซียทั้งหลายที่มีภูมิลำเนาในสยามให้เห็นลู่ทางที่จะหลีกเลี่ยงอาญาเป็นอันมาก พระยากัลยาณไมตรี (ดอกเตอร์แฟรนซิสบีแซยร์) กล่าวว่า “มีคนเชื้อชาวเอเซียเป็นอันมากถึงกับอาศัยแอบแฝงการเป็นคนในบังคับต่างประเทศเพื่อหากินในทางทุจริต”[2]

กรุงสยามได้รู้สึกในภัยทั้งหลายเหล่านี้ดี จึงได้พยายามบำรุงบ้านเมืองให้ดำเนินเจริญรอยตามประเทศต่าง ๆ ในตวันตก ผลก็คืออังกฤษยอมสละสิทธิบางอย่างให้แก่กรุงสยามตามสัญญาลงวันที่ ๑๔ มกราคม ค.ศ. ๑๘๗๔ ตรงกับปีระกา จุลศักราช ๑๒๓๕ ข้อ ๒ ความว่า . . . . . . . . . .ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดมีหนังสือเดิรทางตามในสัญญาข้อ ๔ หรือไม่มีหนังสือเดิรทาง เป็นโจรผู้ร้ายในเขตต์แดนอังกฤษเขตต์สยาม ถ้าจับตัวผู้ร้ายได้ ไม่ต้องถามว่าเป็นชาติของผู้ใด ต้องชำระตัดสินตามกฎหมายบ้านเมืองนั้น. . . . . . . . . .[3]

ข้อ ๗ “คนเกิดในฝ่ายอินเดียซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษมาแต่พม่าฝ่ายอังกฤษเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูน ที่ไม่มีหนังสือเดิรทางสำหรับตัวตามหนังสือสัญญาข้อ ๔ ถ้าทำความผิดในเขตต์แดนสยาม ต้องชำระตามศาลแลกฎหมายเมืองนั้น. . . . . . . . . .[4]


  1. ดูหนังสือ Extra-territorialty in Siam ของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ น่า ๒๔๘
  2. ดูหนังสือ American Journal of International Law เล่ม ๒๒ ฉะบับที่ ๑ น่า ๗๓
  3. ดูหนังสือสัญญาระวางสยามกับอังกฤษ ค.ศ. ๑๘๔๗ ข้อ ๒
  4. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .