ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/16

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒

ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ตั้งให้เซอร์ยอนโบวริงเป็นราชทูตเข้ามาเจรจาทางพระราชไมตรี ในที่สุดได้ลงนามกันเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๘๕๕ โดยสัญญาฉะบับนี้ประเทศอังกฤษเริ่มมีอำนาจและได้สิทธิพิเศษอย่างเต็มเปี่ยม สัญญาอังกฤษได้จูงเอาประเทศต่าง ๆ เข้ามาทำสัญญาด้วยอีกหลายประเทศ โดยดำเนินแบบเดียวกับสัญญาอังกฤษแทบทั้งสิ้น มีลำดับก่อนและหลังต่อไปนี้ สหปาลีรัฐอเมริกา (วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๖) ฝรั่งเศษ (วันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๕๖) ดันมาร์ค (วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘) ประเทศแฮนซิเอติกริปุปบลิก (วันที่ ๒๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๕๗) โปรตุเกศ (วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๕๙) เยอรมันนี (วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๖๒) เนเดรลันด์ (วันที่ ๑๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๐) สเวเดนและนอรเวย์ (วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๘) สเปญ (วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๗๐)[1] ตามสัญญาเหล่านี้ประเทศสยามยอมให้ประเทศซึ่งเป็นอัครภาคีทั้งหลายมีสิทธิตั้งศาลกงสุลสำหรับชำระคดีคนของเขาได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา

การที่กรุงสยามยอมให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศทั้งหลายในยุคที่กล่าวมาแล้วนั้น ถ้าจะไตร่ตรองให้ดี ก็เห็นได้ว่าสมควรอยู่ คือ ฝ่ายเขาพอจะพูดได้ว่าประเทศเรายังไม่รู้จักเข้าใจบทกฎหมายและนิติประเพณีของชาวตะวันตกดี และก็ดูเหมือนจะจำเป็นอยู่ที่ชาวต่างประเทศเหล่านี้จะต้องขึ้นศาลกงสุล ประกอบทั้งกรุงสยามในสมัยนั้นรู้สึกว่าไม่สู้จะได้รับความยุ่งยากอย่างไรนัก ตรงกันข้ามดูก็ทำความสดวกให้ไม่น้อยในการที่ไม่ต้องกังวลกับคนของเขา แต่สภาพของประเทศสยามในยุคนั้นกับยุคที่ ๒ คือระวาง ค.ศ. ๑๘๔๗ ถึง ๑๙๐๗ นั้นต่างกันมาก หลักมีอยู่ว่าสิ่งใดเหมาะสำหรับสมัยหนึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับอีกสมัยหนึ่งก็ได้ อีกประการหนึ่งสัญญาเดิมทำกันไว้มุ่งหมายฉะเพาะชนผิวขาวเท่านั้น โดยต่างฝ่ายมิได้คิดว่าจะ


  1. ดูหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศนั้น ๆ กับหนังสือบริติชแนด์ฟอเรนสเตตเปเปอรส์ เล่ม ๔๖, ๔๗, ๕๐, ๗๒, ๕๘, ๕๓, ๖๙, และ ๕๙,