(ลงนามวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ค.ศ. ๑๙๒๕ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๙) ดันมาร์ค[1] (ลงนามวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ค.ศ. ๑๙๒๕ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๑๑ มินาคม พ.ศ. ๒๔๖๘) สเวเดน[2] (ลงนามวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ค.ศ. ๑๙๒๕ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๙) อิตาเลีย[3] (ลงนามวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ค.ศ. ๑๙๒๖ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๒๘ มินาคม พ.ศ. ๒๔๖๙) สหปาลีรัฐ เศรษ⟨ฐ⟩กิจเบลเยียม และลุกซัมบุร์ก[4] (ลงนามวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ค.ศ. ๑๙๒๖ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๒๕ มินาคม พ.ศ. ๒๔๖๙⟨)⟩ นอร์เวอย์[5] (ลงนามวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ค.ศ. ๑๙๒๖ แลกเปลี่ยนสัตยาบันวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙)
สัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศเหล่านี้เดิรแนวเดียวกับสัญญาฉะบับที่สหปาลีรัฐอเมริกาทำให้แก่กรุงสยาม และเลิกกลับอำนาจศาลกงสุลเสียโดยเหตุผลที่ได้บรรยายมาแล้วในเบื้องต้น
ได้กล่าวแล้วว่า ระวาง พ.ศ. ๒๔๖๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๗ (ค.ศ. ๑๙๑๙ ถึง ค.ศ. ๑๙๒๖) เป็นสมัยที่กรุงสยามกำลังเปลี่ยนแปลงสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศจนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว โดยประเทศนั้น ๆ ยอมยกเลิกศาลกงสุลเสีย แต่ยังคงสงวนสิทธิบางอย่างไว้บ้าง ฉะนั้น ในยุคนี้ อำนาจศาลสยามที่จะพิจารณาคดีคนต่างประเทศจึงมีดังต่อไปนี้
- ↑ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๑๒ . . . . . . . ๔๔
- ↑ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๕๔๗ . . . . . ๕๗๓
- ↑ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๗๕๖ . . . . . ๗๙๐
- ↑ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๗๙๑ . . . . . ๘๒๓
- ↑ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ๖๖๖ . . . . . ๗๐๑