ประเภทที่ ๑ คนในบังคับเยอรมันนี ออสเตรีย สวิสส์[1] พลเมืองของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งคนในบังคับประเทศนั้น ๆ ด้วย ที่ไม่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับกรุงสยาม และชาวเอเซียในบังคับและอารักขาฝรั่งเศสที่สำนักอาศัยอยู่นอกมณฑลอุดรและอิสาณ แลได้จดทะเบียนที่สถานกงสุลฝรั่งเศสภายหลังวันที่ ๒๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๗ กับทั้งคนในอารักขาฝรั่งเศสที่ไม่ใช่ชาวเอเซีย จะต้องอยู่ใต้อำนาจศาลสยามธรรมดา เช่น ศาลโปริสภา, ศาลแพ่ง หรือศาลอาญา ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง มีฐานะอย่างคนไทยทุกประการ
ประเภทที่ ๒ ชนชาติหรือในบังคับประเทศเหล่านี้ คือ อิตาเลีย, ญี่ปุ่น⟨,⟩ ดันมาร์ก, โปรตุเกส, สเปญ, นอร์เวย์, สเวเดน⟨,⟩ สหปาลีรัฐอเมริกา, สหาปาลิเศรษ⟨ฐ⟩กิจเบลเยี่ยมและลูกซัมบูร์ก, เนเดรลันด์ ต้องอยู่ใต้อำนาจศาลสยามธรรมดาเหมือนคนไทยทุกประการ แต่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ฉะเพาะในปัญหาข้อกฎหมาย และประเทศเหล่านี้ยังคงมีสิทธิถอนคดีไปพิจารณาที่ศาลกงสุลได้ จนกว่าประเทศสยามจะได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายทุกลักษณะครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว และต่อนั้นไปอีก ๕ ปี อนึ่ง คดีที่ถอนไปพิจารณาที่สถานกงสุลนั้น จะต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายสยามซึ่งได้ประกาศและใช้แล้วตามระเบียบ และเนื้อความในบทกฎหมายนั้น ๆ ได้แจ้งความให้สถานทูตทราบแล้ว แต่สำหรับคนในบังคับประเทศดันมาร์ก นอร์เวอร์ และเนเดร์ลันด์ มีสัญญาพิเศษออกไปอีกว่า ถ้าลักษณะของคดีที่ถอนไปนั้นตกอยู่ในวิสัยบังคับแห่งประมวลกฎหมายอาชญาของประเทศเขาแล้ว ก็ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาชญาของเขาบังคับแก่คดี
ประเภทที่ ๓ กล่าวตามข้อความในสัญญาทางพระราชไมตรี คนในบังคับอังกฤษหรือในอารักขาของอังกฤษต้องอยู่ใต้ศาลสยามแผนกธรรมดา แต่
- ↑ ดูสัญญาทางพระราชไมตรีกับสหรัฐสวิส⟨ส์⟩ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ และแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ตามสัญญาฉะบับนี้มิได้กล่าวถึงเรื่องอำนาจศาล จึงเข้าใจว่า ชนชาติหรือในบังคับสหรัฐสวิสส์ต้องขึ้นศาลสยามธรรมดาเหมือนคนไทย