ประเทศอังกฤษมีผลประโยชน์ส่วนได้เสียในกรุงสยามอยู่เป็นอันมาก กระทรวงยุตติธรรมจึงได้ทำความตกลงกับอังกฤษจัดให้คดีที่เกี่ยวกับคนในบังคับอังกฤษ องค์คณะ บริษัท และสมาคม และบุคคลทั้งปวงที่อยู่ในอารักขาของอังกฤษ ได้รับความสดวกเป็นพิเศษในทางอรรถคดี เพื่อป้องกันการถอนคดี และเป็นการให้หลักประกันในความสามารถเที่ยงตรงแห่งศาลยุติธรรมของเราด้วยในตัว โดยให้มีเจ้าหน้าที่สำหรับชำระความเหล่านี้ (กล่าวคือ ศาลไทยแผนกเจ้าหน้าที่คดีคนในบังคับอังกฤษ) ให้มีที่ปรึกษากฎหมายชาวยุโรปนั่งฟังคดี และเมื่อเกิดคดีขึ้น ให้แจ้งให้เจ้าพนักงานกงสลทราบด้วย
ศาลแผนกเจ้าหน้าที่คดีคนในบังคับอังกฤษ ไดแก่ ศาลดังต่อไปนี้
ก)ในกรุงเทพฯ ๑) ศาลคดีต่างประเทศ (ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในเขตต์มณฑลกรุงเทพฯ นครไชยศรี ราชบุรี อยุธยา นครสวรรค์ พิศณุโลก นครราชสิมา อุดร ปราจีน และจันทบุรี
๒)ศาลโปริสภาที่ ๑ (แผนกอังกฤษ) ภายในขอบอำนาจของศาลนั้น และมีอำนาจครอบงำตลอดมาอาณาเขตต์ของศาลโปริสภาทั้งสามศาล
ข)ในหัวเมืองต่าง ๆ
๑)ศาลมณฑพายัพที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอำนาจตลอดเขตต์มณฑลพายัพ
๒)⟨ศาล⟩มณฑลนครศรีธรรมราชที่สงขลา มีอำนาจตลอดเขตต์มณฑลนครศรีธรรมราชและปัตตานี
๓)ศาลมณฑลภูเก็ต มีอำนาจตลอดเขตต์มณฑลภูเก็ต
ถ้าคดีเกิดขึ้นในศาลซึ่งไม่มีอำนาจรับพิจารณา ศาลที่รับฟ้องจะต้องรายงานขอคำสั่งต่อศาลเจ้าหน้าที่ ๆ จะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ
๑)ให้ส่งคดีมาพิจารณาและพิพากษาที่ศาลเจ้าหน้าที่ที่ได้รับรายงานนั้นเอง
๒)ให้ศาลจังหวัดที่รับฟ้องไว้พิจารณาและพิพากษาคดีเรื่องนั้นไป แต่เมื่อเป็นคดีซึ่งคนในบังคับอังกฤษซึ่งมิใช่เชื้อสายชาวเอเชีย หรือองค์คณะ หรือ