ตนเป็นคนในบังคับของชาติต่าง ๆ ที่มีสัญญาทางพระราชไมตรีกับกรุงสยามท[1] และด้วยเหตุนี้จึงได้มีประกาศรัชชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๒๕ คือ พระราชบัญญัติสำหรับป้องกันการทุจริตว่าด้วยหนังสือสำคัญที่จดทะเบียนชื่อสำหรับตัว เนติบัณฑิตย์อเมริกันคนหนึ่งชื่อกุสตาวัสโอลิงเยอร์ได้กล่าวถึงการพลิกแพลงของคนพวกนี้ที่เซี่ยงไฮ้ว่า “ในเมืองจีนเราจะหลุดพ้นจากการลงโทษได้โดยเพียงอย่าเผยสัญชาติ มีเรื่องที่ขบขันเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในเซี่ยงไฮ้ คือ จำเลยเป็นนายบ่อนการพนันโรงใหญ่แห่งหนึ่งที่ตำรวจพยายามจับกุมมาเป็นเวลาช้านาน แต่จำเลยผู้นี้ฉลาดมาก โดยไม่ยอมเผยให้ใครทราบเลยว่าเขาเป็นคนชาติใด ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่เชื่อแน่ว่าเป็นชาติอเมริกัน จึงนำตัวไปฟ้องที่ศาลกงสุลอเมริกัน จำเลยก็เริ่มต่อสู้ว่า ความจริงเขาเป็นคนในบังคับเยอรมัน โจทก์ต้องถอนฟ้องและไปฟ้องใหม่ที่ศาลเยอรมัน ไปถึงศาลเยอรมัน จำเลยกลับให้การว่า เขาเป็นพลเมืองอเมริกัน ศาลเยอรมันต้องบังคับให้โจทก์ถอนฟ้อง คราวนี้โจทก์กลับนำตัวมาศาลอเมริกันอีก แต่จำเลยต่อสู้ใหม่ว่าเป็นชนชาติอเยนไตน “ในอารักขาของสเปญ⟨”⟩ เรื่องนี้เห็นได้ว่า จำเลยได้เล่นซ่อนหากับเจ้าหน้าที่เสียแล้ว⟨”⟩[2]
(๔)ตามสัญญาทางพระราชไมตรีเดิม ยอมให้ศาลกงสุลมีอำนาจแต่เพียงชำระคนของเขาที่ถูกกล่าวหาหรือเป็นจำเลยเท่านั้น เรื่องยุ่ง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โจทก์ผู้นำคดีไปฟ้องร้องในศาลกงสุลนั้นหมิ่นประมาทศาลหรือเบิกความเท็จต่อศาล ศาลกงสุลนั้นจะทำอะไรโจทก์ไม่ได้เลย เพราะโจทก์ไม่ได้