ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:การสิ้นสุดสภาพนอกอาณาเขต - ดิเรก ชัยนาม - ๒๔๗๙.pdf/44

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๐

ทราบไม่ได้ว่า จำเลยผู้นั้นได้รับโทษแล้วหรือเปล่า ซึ่งผิดหลักในในการลงโทษผู้ร้าย โดยจะต้องลงโทษในท้องถิ่นที่ผู้นั้นกระทำผิด

ง)คนไทยที่เข้าไปเป็นความในศาลกงสุลนั้น โดยปกติไม่รู้ภาษาต่างประเทศ จึงเป็นการลำบากไม่น้อย

(๖)การมีศาลกงสุล ใช่ว่าจะทำความลำบากและเดือดร้อนแก่ฝ่ายไทยฝ้ายเดียวก็หาไม่ แม้ชาวต่างประเทศเองก็ได้รับความเดือดร้อนเหมือนกัน เช่น คนฝรั่งเศสกับอังกฤษพิพาทกัน ฝ่ายฝรั่งเศสก็ไม่อยากจะไปฟ้องในศาลอังกฤษ ฝ่ายอังกฤษก็ไม่อยากจะไปฟ้องในศาลฝรั่งเศศ โดยต่างก็เกรงว่าอาจจะไม่ได้รับความยุตติธรรม เคยมีคดีเกิดขึ้นซึ่งคู่ความต้องตกลงตั้งนายยอชปาดูซ์ ซึ่งในเวลานั้นเป็นที่ปรึกษาในการร่างกฎหมายของรัฐบาลสยาม ให้เป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาด (คดีระหว่างบริษัทสแตนตาดออยล์ (บังคับอเมริกัน) กับบริษัทวินด์เซอร์ บังคับเยอรมัน)[1]

(๗)ในคดีแพ่ง โจทก์ที่เข้าไปฟ้องจำเลยในศาลกงสุล ถ้าจำเลยฟ้องแย้งขึ้นมา ศาลกงสุลจะพิจารณาคดีที่ฟ้องแย้งนั้นไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของศาลนั้น

(๘)กงสุลเหล่านี้ แม้จะมีความรู้ในวิชชากฎหมายมาบ้างก็ดี แต่ก็น่าจะไม่สดวกอย่างผู้ที่ได้รับการศึกษามาโดยฉะเพาะสำหรับหน้าที่ตุลาการ เพราะโดยมากกงสุลมีหน้าที่ในทางดูแลผลประโยชน์อันเกี่ยวกับการพาณิชย์ของชนชาติแห่งตนยิ่งกว่า เช่น รับพิจารณาคำคัดค้านหรือรายงานของนายเรือของชาติที่ตั้งตนเข้ามา ซึ่งเกี่ยวกับการเสียหายทางทะเล รับประทับตราหนังสือต่าง ๆ เกี่ยวกับบคนสัญชาติตน รับจดทะเบียนคนเกิดคนตายของชาติเขา รับจัดการทรัพย์มฤดก รับจดทะเบียนสมรส รับเป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างคนของเขา ฯลฯ[2] เมื่อหน้าที่ของกงสุลมีอยู่มากมายเช่นนี้แล้ว การงานแผนกตุลาการอันเป็นกิจสำคัญก็ไม่ควรให้กงสุลมีหน้าที่เลย อีกประการหนึ่ง 


  1. ดู Extra-territoriality in Siam ของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ หน้า ๓๑๒
  2. ดูคำอธิบายกฎหมายระวางประเทศ โดยฮอล หน้า ๓๓๐–๓๓๑ และของออปเปนไฮม์ หน้า ๕๗๙–๕๙๙ แลหนังสือนิติสาสน์ ปีที่ ๔ เล่ม ๑ หน้า ๗๐