และกฎหมายที่ใช้ปรับแก่คดีเป็นกฎหมายกรีกด้วย ทั้งนี้เพราะพระเจ้าแผ่นดินแห่งอิยิปต์ทรงเห็นว่า ชาวกรีกมีธรรมเนียมประเพณีและหลักกฎหมายแตกต่างจากชาวพื้นเมืองอยู่มาก
ในมัชฌิมสมัย พวกตุลาการที่ตั้งขึ้นไว้สำหรับพิจารณาพวกของตนในอีกประเทศหนึ่งเรียกกันว่า Magistrate แต่พอถึงสตพรรษที่ ๑๑ แห่งฆริศตศักราช ได้เปลี่ยนชื่อเรียกกันว่า “กงสุล” น่าที่กงสุลจำพวกนี้ นอกจากในทางตุลาการแล้ว ยังมีหน้าที่ในทางพาณิชย์การอีกด้วย กล่าวคือ เป็นผู้วินิจฉัยข้อกฎหมายระวางชนชาติของตน แลคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์ในการค้าขายของประเทศตนในประเทศซึ่งตนเข้าไปประจำอยู่ ขอให้ระลึกด้วยว่า เดิม Magistrate หามีอำนาจเช่นนี้ไม่ ประเทศเยนัว, ปีซา, เวนิซ, แลฟลอเรนซ เป็นประเทศแรกที่เริ่มตั้งกงสุลให้มีอำนาจพร้อมบูรณ์ดังกล่าวมาแล้ว โดยให้เข้าประจำอยู่ในคอนสแตนติโนเปอล, ปาเลซไตน, ซีเรีย, และอิยิปต์
ต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๑๕๔ รัฐบาลปีซาได้ทำสัญญาพิเศษกับอิยิปต์ โดยอิยิปต์สัญญาจะไม่จับกุมคนของปีซาหรือยึดเรือปีซาเพื่อเป็นการชำระหนี้[1] กรีกกับเวนิซก็ได้ทำสัญญากันโดยกรีกยอมให้สิทธิพิเศษแก่เวนิซเกี่ยวกับการวินิจฉัยคดี ใน ค.ศ. ๑๒๕๑ อิยิปต์ได้ยอมให้ฝรั่งเศสเข้าไปตั้งศาลกงสุล และใน ค.ศ. ๑๒๗๐ ฝรั่งเศสได้ทำสัญญากับติวนิซโดยมีข้อความทำนองเดียวกัน
ในมหาอาณาจักรออตมัน (ตุรกี) ปรากฏว่า ได้ทำสัญญายอมให้สิทธิเช่นว่านี้แก่ประเทศต่าง ๆ มีลำดับก่อนและหลังดังต่อไปนี้ เมืองต่าง ๆ ในอิตาลี (ค.ศ. ๑๔๕๔, ๑๗๔๐)., ฝรั่งเศส (ค.ศ. ๑๕๓๕, ๑๗๔๐)., ออซเตรีย
- ↑ ดูหนังสือ Extra-territoriality in Siam หน้า ๑๔ ของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ The law affecting foreigner in Egypt ของเยมส ฮารีสกอต น่า ๒๓ กับหนังสือรวบรวมเอกสารระวางปีซาหรือฟลอเรนซกับผู้คอรงประเทศมหะหมัดต่าง ๆ ซึ่งมีเชลอมารีชาวอีตาเลียนรวบรวม ค.ศ. ๑๘๖๒ หน้า ๒๔๑