บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด และบุคคลภายนอก ตั้งแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๒๙ วรรคสาม
(๒)เมื่อปลายปี ๒๕๖๑ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ได้ปิดกิจการเพราะสภาพการณ์ของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป โดยทยอยปิดส่วนต่าง ๆ และเลิกจ้างพนักงานแทบทั้งหมดตามแผนเตรียมเลิกกิจการ แต่ยังต้องติดตามหนี้ค้างชำระ จึงยังมิได้ดำเนินการเลิกกิจการ ประกอบกับนายทวี จรุงสถิตพงศ์ และนายปิติ จรุงสถิตพงศ์ หลานชายของนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประสงค์จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตหนังสือ และนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ยังเห็นว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด มีกระแสเงินสดอยู่กว่า ๑๑ ล้านบาทเศษ จึงโอนหุ้นให้นายทวี จรุงสถิตพงศ์ และนายปิติ จรุงสถิตพงศ์ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ เพื่อให้เข้ามาดูแลกิจการ ต่อมา นายทวี จรุงสถิตพงศ์ และนายปิติ จรุงสถิตพงศ์ เห็นว่า สภาพการณ์ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป และผู้บริโภคหันไปใช้บริการสิ่งพิมพ์ออนไลน์แทบทั้งสิ้น จำนวนเงินสดหมุนเวียนที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้หมุนเวียนกิจการอีกครั้ง จึงได้รายงานต่อนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อดำเนินการเลิกบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด
(๓)เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ แต่ผู้ถูกร้อง และนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภริยาของผู้ถูกร้อง ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพราะไม่ใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด แล้ว ในการประชุมดังกล่าว ได้รับทราบว่า มีผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะโอนหุ้นให้แก่นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒ คือ นายทวี จรุงสถิตพงศ์ นายปิติ จรุงสถิตพงศ์ นายอรัญ วงศ์งามนิจ นายณรงค์ศักดิ์ โอปิลันธน์ และนางกมลฉัตร จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งต่อมาวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒ บุคคลดังกล่าวได้มีการโอนหุ้น และในวันเดียวกัน ได้มีการแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท และด้วยเหตุที่ในวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒ มีผู้ถือหุ้นจำนวน ๑๐ คน แต่ในวันที่แจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท คือ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒ มีผู้ถือหุ้นจำนวน ๕ คน การจดแจ้งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ. ๕) จึงไม่อาจอ้างอิงจำนวนผู้ถือหุ้นบริษัท ณ วันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้ และต้องจดแจ้งว่า คัดมาจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒