ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:จมห ประพาสต้น - ๒๔๗๗.pdf/118

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๙๔

พระพิมพ์ของโบราณซึ่งมีผู้ขุดค้นได้ในเมืองกำแพงเพชร์นี้ ได้ไว้หลายอย่าง ​พร้อมพิมพ์แบบทำพระ ๑ แบบ ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย

ข้าพระพุทธเจ้า ได้สืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ถึงตำนานพระพิมพ์เหล่านี้ อันเป็นที่เชื่อถือกันในแขวงเมืองกำแพงเพชร์สืบมาแต่ก่อน ได้ความว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชร์นี้ มีมหาชนเป็นอันมากนิยมนับถือลือชามาช้านาน ว่ามีคุณานิสงส์แก่ผู้สักการบูชาในปัจจุบัน หรือมีอานุภาพทำให้สำเร็จผลความปราถนา แห่งผู้สักการบูชาด้วยอเนกประการ

สัณฐานของพระพุทธรูปพิมพ์นี้ ตามที่มีผู้ได้พบเห็นแล้วมี ๓ อย่างคือ พระลีลาศ (ที่เรียกว่าพระเดิร) อย่าง ๑ พระยืนอย่าง ๑ พระนั่งสมาธิอย่าง ๑

วัตถุที่ทำเป็นองค์พระต่างกันเป็น ๔ อย่าง คือ:– ดีบุก (หรือตะกั่ว) อย่าง ๑ ว่านอย่าง ๑ เกสรอย่าง ๑ ดินอย่าง ๑ พระพิมพ์นี้ ครั้งแรกที่มหาชนจะได้พบเห็นนั้น ได้ในเจดีย์วัดพระธาตุฝั่งตะวันตกเป็นเดิม

แลการที่สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้นนั้น ตามสามัญนิยมว่า ณกาลครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขักธปรินิพพานแล้ว มีพระบรมกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ ทรงมหิทธิเดชานุภาพแผ่ไปในทิศานุทิศตลอดถึงทวีปลังกา ทรงอนุสรคำนึงในการสถาปนูปถัมภกพระพุทธสาสนา เพื่อให้แผ่ไพศาลยิ่งขึ้น จึงเสด็จสู่ลังกาทวีปรวบรวมพระบรมธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาสร้างเจดีย์บัญจุไว้ ในคำกล่าวว่าแควน้ำปิงแลน้ำยมเป็นต้น เป็นจำนวนพระเจดีย์ ๘๔๐๐๐ องค์