หน้า:ตั๋วเงิน - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/128

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒๑
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตั๋วเงิน, ประกันภัย, บัญชีเดินสพัด

ผู้รับอาวัลมีสิทธิอย่างไร: มาตรา ๙๔๐ วรรค ๓ บัญญัติว่า "เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแลกเงินแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลซึงตนได้ประกันไว้ กับทั้งบุคคลทั้งหลายผู้รับผิดแทนตัวผู้นั้น" ตามมาตรานี้ เมื่อผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามตั๋วแล้ว ก็ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากบุคคลซึ่งตนประกันไว้นั้น เช่นเดียวกับผู้ค้ำประกันธรรมดาซึ่งมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เมื่อตนได้ชำระหนี้แทนไปแล้วได้ แต่นอกจากนั้น ผู้รับอาวัลยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ "บุคคลทั้งหลายผู้รับผิดแทนตัวผู้นั้น" ด้วย ควรสังเกตว่า ที่ใช้คำว่า "แทน" นั้น บางทีคงจะเนื่องมาจากภาษาอังกฤษใช้คำว่า "responsible for" ความจริงที่ถูกน่าจะเป็น "responsible to" หรือ "liable to" หรือ "รับผิดต่อ" อย่างที่ใช้ในมาตรา ๙๕๘ เรื่องใช้เงินเพื่อแก้หน้ามากกว่า

อุทาหรณ์

ก. เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินให้ ข. ข. สลักหลังให้ ค. ค. สลักหลังให้ ง. ซึ่งเป็นผู้ทรงในเวลานี้ ตั๋วแลกเงินฉะบับนี้มี ฮ. เป็นผู้รับอาวัลสำหรับ ค.

ถ้า ฮ. ใช้เงินไปตามตั๋ว ฮ. อาจจะไล่เบี้ยเอาจาก ค. ซึ่งตนประกันไว้ หรือจะไปไล่เบี้ยเอาจาก ก. และ ข. ซึ่งต้องรับผิดต่อ ค. ก็ได้.

ม.ธ.ก.